โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ศาลอาญาระหว่างประเทศและอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ศาลอาญาระหว่างประเทศและอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ

ศาลอาญาระหว่างประเทศ vs. อาชญากรรมต่อมนุษยชาติ

ลอาญาระหว่างประเทศ (International Criminal Court: ICC/ICCt; Cour Pénale Internationale) เป็นศาลระหว่างประเทศซึ่งมีที่ทำการอยู่ในกรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ มีเขตอำนาจดำเนินคดีผู้กระทำความผิดอาญาระหว่างประเทศ 3 ฐาน คือ การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์, อาชญากรรมต่อมนุษนชาติ, และอาชญากรรมสงคราม ก่อตั้งขึ้นโดยประสงค์จะให้เป็นส่วนเสริมของระบบยุติธรรมที่แต่ละประเทศมีอยู่ จึงมีเขตอำนาจเมื่อเป็นไปตามเงื่อนไขเท่านั้น เช่น เมื่อศาลระดับประเทศไม่สามารถหรือไม่ประสงค์จะดำเนินคดีแล้ว หรือเมื่อคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติหรือรัฐหนึ่ง ๆ เสนอคดีมาให้พิจารณา ศาลนี้เริ่มปฏิบัติงานในวันที่ 1 กรกฎาคม.. อาชญากรรมต่อมนุษยชาติ (crime against humanity) เป็นการซึ่งกระทำลงโดยไตร่ตรองไว้ก่อน เป็นส่วนหนึ่งของการโจมตีอย่างเป็นระบบหรือเป็นวงกว้าง หรือการโจมตีแบบเอกเทศ ต่อบุคคลพลเรือนคนใด ๆ หรือต่อกลุ่มคนที่ระบุตัวได้ในหมู่ประชากรพลเรือน การดำเนินคดีอาชญากรรมต่อมนุษยชาติเกิดขึ้นครั้งแรกในคดีเนือร์นแบร์ก และนับแต่นั้น การดำเนินคดีอาชญากรรมดังกล่าวก็กลายเป็นหน้าที่ของศาลระหว่างประเทศ เช่น ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ, คณะตุลาการอาญาระหว่างประเทศสำหรับอดีตยูโกสลาเวีย, และศาลอาญาระหว่างประเทศ แต่การดำเนินคดีโดยศาลในประเทศก็มีบ้าง กฎหมายเกี่ยวกับอาชญากรรมต่อมนุษยชาตินั้นพัฒนาขึ้นผ่านวิวัฒนาการของกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศ อาชญากรรมต่าง ๆ ที่กระทำต่อมนุษยชาตินั้นยังไม่มีประมวลไว้ในกฎหมายระหว่างประเทศฉบับใด ๆ แต่องค์การระหว่างประเทศ ซึ่งมีโครงการริเริ่มกฎหมายอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ (Crimes Against Humanity Initiative) เป็นโต้โผ พยายามที่จะสร้างกฎหมายดังกล่าวให้ได้ในเร็ววัน อาชญากรรมต่อมนุษยชาติต่างจากอาชญากรรมสงครามตรงที่อาชญากรรมต่อมนุษยชาติจะเกิดในยามสงครามหรือในเวลาอื่นก็ได้ แต่ไม่ใช่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นด้วยตัวเองหรือเกิดนานทีปีหน หากแต่เป็นเหตุการณ์ซึ่งอาจเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายของรัฐ หรือเป็นส่วนหนึ่งของความโหดร้ายป่าเถื่อนที่กระทำเป็นวงกว้าง แล้วรัฐเพิกเฉยหรือไม่เอาโทษ ความผิดอาญา อย่างเช่น อาชญากรรมสงคราม, การฆ่าคน, การสังหารหมู่, การลดความเป็นมนุษย์, การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์, การกวาดล้างชาติพันธุ์, การเนรเทศ, การทดลองมนุษย์โดยผิดจรรยาบรรณ, วิสามัญฆาตกรรม, การประหารแบบรวบรัด, การใช้อาวุธทำลายล้างสูง, การก่อการร้ายของรัฐ, การก่อการร้ายที่รัฐสนับสนุน, การใช้หมู่สังหาร, การลักพา, การบังคับให้บุคคลสูญหาย, การใช้เด็กทางทหาร, การกักกัน, การเอาคนลงเป็นทาส, การกินเนื้อมนุษย์, การทรมาน, การข่มขืนกระทำชำเรา, การเบียดเบียนทางการเมือง, การเลือกปฏิบัติเพราะเหตุแห่งเชื้อชาติ, และการละเมิดสิทธิมนุษยชน อาจเข้าข่ายอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ ถ้าเป็นส่วนหนึ่งของการกระทำอย่างเป็นระบบหรือเป็นวงกว้าง.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ศาลอาญาระหว่างประเทศและอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ

ศาลอาญาระหว่างประเทศและอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ มี 4 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศอาชญากรรมสงครามคณะตุลาการอาญาระหว่างประเทศสำหรับอดีตยูโกสลาเวีย

การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์

การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ (genocide) คือ การกระทำอย่างเป็นระบบและไตร่ตรองไว้ก่อนเพื่อทำลายกลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มเชื้อชาติ กลุ่มชนในชาติ หรือกลุ่มชนทางศาสนาทั้งกลุ่มหรือส่วนใหญ่ ถึงแม้จะมีผู้ให้นิยามของ "ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์" ไว้มากมายและบางทีก็แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง แต่ทางนิติศาสตร์นั้น สหประชาชาติได้กำหนดนิยามของพฤติการณ์นี้ในข้อ 2 แห่งอนุสัญญาว่าด้วยการป้องกันและลงโทษความผิดอาญาฐานฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ (United Nations Convention on the Prevention and Punishment of the Crime of Genocide) ว่า ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ หมายถึง "การกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทำลายกลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มเชื้อชาติ กลุ่มชนในชาติ หรือกลุ่มชนทางศาสนาทั้งกลุ่มหรือส่วนใหญ่ เป็นต้นว่า ฆ่าสมาชิกของกลุ่ม กระทำให้สมาชิกของกลุ่มถึงแก่พิกลพิการอย่างหนักทางกายภาพหรือจิตภาวะ กระทำโดยไตร่ตรองหรือโดยคาดการณ์ไว้แล้วเพื่อให้เกิดแก่หรือนำพามาสู่สมาชิกของกลุ่มซึ่งทุกขเวทนาในสภาพความเป็นอยู่ กระทำโดยมาตรการใด ๆ เพื่อกันมิให้มีการถือกำเนิดของทารกภายในกลุ่ม หรือใช้กำลังนำพาผู้เยาว์ในกลุ่มไปยังอีกกลุ่มหนึ่ง"Office of the High Commissioner for Human Rights.

การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์และศาลอาญาระหว่างประเทศ · การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์และอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ · ดูเพิ่มเติม »

ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ

ลยุติธรรมระหว่างประเทศ (International Court of Justice; ICJ) หรือภาษาปากว่า ศาลโลก (World Court) เป็นศาลซึ่งตั้งขึ้นโดยกฎบัตรสหประชาชาติ เมื่อ..

ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศและศาลอาญาระหว่างประเทศ · ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศและอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ · ดูเพิ่มเติม »

อาชญากรรมสงคราม

อาชญากรรมสงคราม (war crime) คือ การกระทำอันฝ่าฝืนกฎหมายสงครามอย่างร้ายแรง ทำให้ผู้กระทำต้องรับผิดทางอาญาเป็นการเฉพาะตัว เช่น การฆ่าพลเรือนหรือนักโทษโดยเจตนา, การทรมาน, การทำลายทรัพย์สินพลเรือน, การจับเป็นตัวประกัน, การล่อลวง, การข่มขืนกระทำชำเรา, การใช้เด็กทางทหาร, การปล้นทรัพย์, การไม่ไว้ชีวิต, และการละเมิดอย่างร้ายแรงซึ่งหลักการแยกแยะและหลักความได้สัดส่วน เป็นต้นว่า การทำลายประชากรพลเรือนด้วยระเบิดยุทธศาสตร์ แนวคิดเรื่องอาชญากรรมสงครามปรากฏขึ้นในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของคริสต์ศตวรรษที่ 20 เมื่อมีการประมวลกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศที่ใช้บังคับได้สำหรับการทำสงครามระหว่างรัฐอธิปไตย การประมวลกฎหมายดังกล่าวเกิดขึ้นในระดับชาติ เช่น การเผยแพร่ประมวลกฎหมายลีแบร์ในสหรัฐเมื่อ..

ศาลอาญาระหว่างประเทศและอาชญากรรมสงคราม · อาชญากรรมต่อมนุษยชาติและอาชญากรรมสงคราม · ดูเพิ่มเติม »

คณะตุลาการอาญาระหว่างประเทศสำหรับอดีตยูโกสลาเวีย

อาคารที่ทำการของคณะตุลาการในกรุงเฮก คณะตุลาการระหว่างประเทศเพื่อดำเนินคดีผู้ต้องรับผิดชอบการละเมิดกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศอย่างร้ายแรงซึ่งกระทำลงในดินแดนอดีตยูโกสลาเวียตั้งแต..

คณะตุลาการอาญาระหว่างประเทศสำหรับอดีตยูโกสลาเวียและศาลอาญาระหว่างประเทศ · คณะตุลาการอาญาระหว่างประเทศสำหรับอดีตยูโกสลาเวียและอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ศาลอาญาระหว่างประเทศและอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ

ศาลอาญาระหว่างประเทศ มี 18 ความสัมพันธ์ขณะที่ อาชญากรรมต่อมนุษยชาติ มี 15 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 4, ดัชนี Jaccard คือ 12.12% = 4 / (18 + 15)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ศาลอาญาระหว่างประเทศและอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »