โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ศาลพระกาฬ (จังหวัดพระนครศรีอยุธยา)และเทวสถานโบสถ์พราหมณ์

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ศาลพระกาฬ (จังหวัดพระนครศรีอยุธยา)และเทวสถานโบสถ์พราหมณ์

ศาลพระกาฬ (จังหวัดพระนครศรีอยุธยา) vs. เทวสถานโบสถ์พราหมณ์

ลพระกาฬ เป็นเทวสถานในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ก่อนถูกดัดแปลงเป็นพุทธสถานในยุคต่อมา ตั้งอยู่บริเวณสี่แยกตะแลงแกงบนเกาะเมือง อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ตั้งอยู่บริเวณเกือบกึ่งกลางเกาะเมืองและเป็นย่านตลาดที่มีผู้คนพลุกพล่านมาก และหากมีการประหารนักโทษก็จะมีการเสียบหัวประจานให้ประชาชีเห็นจะได้เกรงกลัวมิเอาเยี่ยงอย่าง ปัจจุบันศาลพระกาฬหลงเหลือเพียงรากฐานของอิฐเท่านั้น สุจิตต์ วงษ์เทศให้คำอธิบายว่าศาลพระกาฬในจังหวัดพระนครศรีอยุธยานี้เป็นแบบอย่างในการสร้างเทวสถานโบสถ์พราหมณ์และเสาชิงช้าหน้าวัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหารในกรุงเทพมหานครด้ว. ทวสถาน กรุงเทพมหานคร เทวสถาน สำหรับพระนคร (โบสถ์พราหมณ์) หรือที่นิยมเรียกกันว่า เทวสถานโบสถ์พราหมณ์ เป็นโบสถ์พราหมณ์ ตั้งอยู่ ณ เลขที่ 268 ถนนบ้านดินสอ แขวงเสาชิงช้า เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ใกล้เสาชิงช้า และศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ศาลพระกาฬ (จังหวัดพระนครศรีอยุธยา)และเทวสถานโบสถ์พราหมณ์

ศาลพระกาฬ (จังหวัดพระนครศรีอยุธยา)และเทวสถานโบสถ์พราหมณ์ มี 6 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): พระพิฆเนศพระศิวะพระนารายณ์กรุงเทพมหานครศาสนาฮินดูเสาชิงช้า

พระพิฆเนศ

ระคเณศ (गणेश பிள்ளையார் Ganesha) ชาวไทยนิยมเรียกว่า พระพิฆเนศ (विघ्नेश) พระพิฆเณศวร พระพิฆเณศ หรือ พระคณปติ ทรงเป็นเทพในศาสนาฮินดู ทรงเป็นเทพแห่งความสำเร็จ ทั้งยังทรงเป็นเทพแห่งศิลปวิทยาการและการประพันธ์ ทรงเป็นหัวหน้านำคณะข้ามความขัดข้อง (ผู้เป็นใหญ่เหนือความขัดข้อง).

พระพิฆเนศและศาลพระกาฬ (จังหวัดพระนครศรีอยุธยา) · พระพิฆเนศและเทวสถานโบสถ์พราหมณ์ · ดูเพิ่มเติม »

พระศิวะ

ระศิวะ หรือ พระอิศวร (शिव; Shiva) หนึ่งในตรีมูรติ หรือเทพเจ้าสูงสุดสามพระองค์ตามความเชื่อในศาสนาฮินดู (อีกสององค์ ได้แก่ พระพรหม และพระวิษณุ) พระแม่อุมาเทวีประดับโปุรัม ประเทศอินเดีย. พระแม่อุมาเทวีประดับโปุรัม ประเทศอินเดีย. พระศิวะ มีรูปกายเป็นชายหนุ่มร่างกำยำ วรรณะขาว (สีผิวขาว) นุ่งห่มหนังเสือเหมือนฤๅษี มีสังวาล์เป็นลูกประคำหรือกะโหลกมนุษย์ มีงูเห่าคล้องพระศอ ไว้พระเกศายาว ซึ่งจะม้วนเป็นจุฑา (มวยผม) มีพระจันทร์เป็นปิ่น มีคงคาอยู่บนยอดจุฑา ซึ่งพ่นน้ำมาตลอด และมีดวงพระเนตร (ตาที่ 3) กลางพระนลาฏ (หน้าผาก) ซึ่งโดยปกติจะปิดอยู่เสมอ เชื่อว่าหากเปิดขึ้นเมื่อไหร่ ไฟบรรลัยกัลป์จะเผาผลาญล้างโลก (บ้างว่าเป็นพระพรหม) ถือว่าเป็นการสิ้นสุดกัปหนึ่ง ก่อนที่พระพรหมจะสร้างโลกขึ้นมาใหม่ มีพาหนะ คือ โคอุศุภราช (วัวเพศผู้สีขาวล้วน) มีชายา คือ พระอุมา เทพีแห่งความกล้าหาญ มีโอรสสององค์ คือ พระขันทกุมารและพระพิฆเนศ ประทับอยู่ ณ เขาไกรลาส อันเป็นศูนย์กลางแห่งจักรวาล ชายาอีกองค์คือพระแม่คงคา มีธิดาคือพระแม่มนสาเทวีหรือพระยามี พระศิวะเป็นเทพที่จะคอยขับไล่สิ่งชั่วร้ายให้ห่างไกล และทำให้เกิดความดีงามเป็นศิริมงคลเกิดขึ้น ผู้ที่มีความทุกข์ไม่ว่าจะเป็นในทางใด หากบวงสรวงบูชา ขอพรให้พ้นทุกข์ พระศิวะก็จะประทานพรให้ผู้นั้นได้พ้นจากห้วงแห่งความทุกข์ พระศิวะมีท่าร่ายรำอันเป็นการร่ายรำของเทพเจ้า เรียกว่า "ปางนาฏราช" เมื่อแปลงกายลงไปปราบฤๅษีที่ไม่ประพฤติตนอยู่ในเพศดาบส ซึ่งต่อมาชาวฮินดูได้ถือเอาท่าร่ายรำนี้เป็นต้นแบบของการร่ายรำต่าง ๆ มาตราบจนปัจจุบัน นอกจากนี้แล้ว พระศิวะยังถือว่าเป็นเจ้าแห่งผีหรือปีศาจอีกด้วย โดยมีพระนามเรียกว่า "ปีศาจบดี" หรือ "ภูเตศวร" นอกจากนี้แล้วพระอิศวร ยังมีพระนามอื่นอีก เช่น "รุทร", "ศังกร", "ศุลี", "นิลกัณฐ์", "หระ" หรือ "อีสาน" และยังเป็นเทพประจำทิศตะวันออกเฉียงเหนือ หรือ อีสาน อีกด้วย นอกจากนี้แล้ว ยังเชื่อว่าพระศอของพระศิวะมีสีดำ ทั้งนี้เนื่องจากพระองค์ได้ยาพิษของพญานาคไว้เมื่อครั้งกวนเกษียรสมุทรทำน้ำอมฤตเพื่อช่วยโลก ซึ่งบทหนึ่งในกามนิต-วาสิฏฐี วรรณกรรมอิงพุทธศาสนาได้อ้างถึง สีของความรักว่าเป็นสีดำ เสมือนสีคอพระศิวะ พระศิวะ ที่ประเทศศรีลังกา อันเป็นประเทศที่ศาสนาพราหมณ์ได้เข้ามาเผยแพร่ก่อน ก่อนที่จะกลายมาเป็นศาสนาพุทธเป็นศาสนาหลักอย่างเช่นในปัจจุบัน พระศิวะในความเชื่อของที่นี่จะมีพาหนะเป็นนกยูง และกลายมาเป็นเทพเจ้าที่ทำหน้าที่ปกปักษ์รักษาพุทธศาสน.

พระศิวะและศาลพระกาฬ (จังหวัดพระนครศรีอยุธยา) · พระศิวะและเทวสถานโบสถ์พราหมณ์ · ดูเพิ่มเติม »

พระนารายณ์

ระนารายณ์บรรมบนหลังพญาอนันตนาคราช ณ เกษียรสมุทร และให้กำเนิดพระพรหม ดูบทความหลักที่ พระวิษณุ พระนารายณ์ (สันสกฤต: नारायण; Narayana; ความหมาย: ผู้ที่ได้เคลื่อนไหวอยู่ในน้ำ) เป็นเทพเจ้าสูงสุดหนึ่งในสามพระองค์ (ตรีมูรติ) ในความเชื่อของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู โดยมากถือว่าเป็นองค์เดียวกันกับพระวิษณุ แต่ทว่าชาวไทยส่วนใหญ่จะคุ้นเคยกับพระนาม พระนารายณ์ มากกว่า เหตุที่มีพระนามแตกต่างกัน เนื่องจากมีบางคัมภีร์ในศาสนาพราหมณ์-ฮินดูเล่าว่า เดิมทีมีเทพเจ้าเพียงองค์เดียว คือ พระนารายณ์ ซึ่งเรียกว่าปรพรหม ซึ่งเป็นพระผู้สร้างทุกสรรพสิ่ง เมื่อพระนารายณ์รำพึงถึงการสร้างโลก ก็ทรงคำนึงถึงการปกปักรักษา แต่พระปรพรหมนั้นเป็นอรูปกเทพ คือ ไม่มีตัวตน จึงไม่สามารถที่จะสร้างโลกได้ จึงแบ่งภาคแยกร่างออกมาเป็น พระวิษณุ ซึ่งทรงประทานพระนามให้ และเมื่อพระวิษณุบรรทมหลับในเกษียรสมุทร ก็ทรงสุบินถึงการสร้างทุกสรรพสิ่ง ซึ่งพระวิษณุเป็นเทพผู้สร้างโลก สิ่งมีชีวิต รวมถึงมนุษย์ และที่พระนาภีของพระองค์ก็บังเกิดมีดอกบัวหลวงผุดขึ้นมา และภายในดอกบัวนั้นก็มี พระพรหม ซึ่งเป็นหนึ่งในตรีมูรติอยู่ภายใน ซึ่งพระวิษณุก็เป็นผู้ให้กำเนิดพระพรหมด้วย บางตำราก็กล่าวว่าเดิมมีพระนามว่า วิษณุ หรือ พิษณุ และได้เปลี่ยนเป็น นารายณ์ ในระยะหลัง โดยพระองค์มีสีพระวรกายเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยของโลก ในกฤตยุค ยุคแรกของโลก ยุคที่คุณธรรมความดีของมนุษย์มีเต็มเปี่ยม สีกายพระนารายณ์สีขาว ยุคที่สอง ไตรดายุค ธรรมะและคุณธรรมมนุษย์เหลือสามในสี่ สีกายพระนารายณ์เป็นสีแดง ยุคที่สาม ทวาปรยุค คุณธรรมมนุษย์เหลือครึ่งเดียว สีกายเป็นสีเหลือง ยุคปัจจุบัน เป็นยุคที่สี่ กลียุค คุณธรรมของมนุษย์ลดลงเหลือหนึ่งในสี่ สีกายพระนารายณ์ เปลี่ยนเป็นสีนิลแก่หรือสีดำ.

พระนารายณ์และศาลพระกาฬ (จังหวัดพระนครศรีอยุธยา) · พระนารายณ์และเทวสถานโบสถ์พราหมณ์ · ดูเพิ่มเติม »

กรุงเทพมหานคร

กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองหลวงและนครที่มีประชากรมากที่สุดของประเทศไทย เป็นศูนย์กลางการปกครอง การศึกษา การคมนาคมขนส่ง การเงินการธนาคาร การพาณิชย์ การสื่อสาร และความเจริญของประเทศ เป็นเมืองที่มีชื่อยาวที่สุดในโลก ตั้งอยู่บนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยา มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านและแบ่งเมืองออกเป็น 2 ฝั่ง คือ ฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานครมีพื้นที่ทั้งหมด 1,568.737 ตร.กม.

กรุงเทพมหานครและศาลพระกาฬ (จังหวัดพระนครศรีอยุธยา) · กรุงเทพมหานครและเทวสถานโบสถ์พราหมณ์ · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาฮินดู

ัญลักษณ์ “โอม” สัญลักษณ์ของศาสนาฮินดู หมายถึงพระตรีมูรติ เทพเจ้าผู้เป็นใหญ่ทั้ง 3 ศาสนาฮินดู (Hinduism) หรือ สนาตนธรรม เป็นศาสนาแบบพหุเทวนิยมที่พัฒนาการต่อมาจากศาสนาพราหมณ์ จึงมักเรียกรวมกันว่าศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ไม่ปรากฏแน่ชัดว่าใครเป็นศาสดา มีพระเวทเป็นคัมภีร์หลัก มีศาสนิกชนมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก มีจำนวนประมาณ 900 ล้านคน ศาสนานี้นับถือเทพเจ้าหลายองค์ เรียกว่า "พหุเทวนิยม" เทพเจ้าแต่ละองค์ในแต่ละยุคสมัย มีบทบาท และตำนานต่างกันไป ในแต่ละท้องถิ่นยังมีความเชื่อเกี่ยวกับเทพเจ้าองค์หนึ่งๆ แตกต่างกันไปด้วย โดยทั่วไปถือว่าชาวฮินดูเชื่อว่ามีเทพเจ้าสูงสุด ที่ได้อวตารแยกร่างออกมาเป็น 3 องค์ เรียกว่า "ตรีมูรติ" คือ.

ศาลพระกาฬ (จังหวัดพระนครศรีอยุธยา)และศาสนาฮินดู · ศาสนาฮินดูและเทวสถานโบสถ์พราหมณ์ · ดูเพิ่มเติม »

เสาชิงช้า

งช้า เป็น สถาปัตยกรรม ที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ประกอบพิธีโล้ชิงช้า ใน พระราชพิธีตรียัมพวาย ตรีปวาย ของ ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู โดยทั่วไปหมายถึงเสาชิงช้าที่ตั้งอยู่หน้า วัดสุทัศน์เทพวราราม และลานหน้า ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (ลานคนเมือง) ใกล้กับ เทวสถานโบสถ์พราหมณ์ ในพื้นที่แขวงเสาชิงช้าและแขวงวัดราชบพิธ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของ กรุงเทพมหานคร แม้พิธีโล้ชิงช้าได้เลิกไปแล้วตั้งแต่สมัย พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ก็ตาม นอกจากนี้ ใน ประเทศไทย ยังมีเสาชิงช้าอีกแห่งหนึ่ง ตั้งอยู่ที่ หน้าหอพระอิศวร เมืองนครศรีธรรมราช ซึ่งมีการประกอบพิธีโล้ชิงช้ามาแต่โบราณเช่นกัน แต่ได้เลิกไปก่อนที่จะมีการก่อสร้างขึ้นใหม่ในภายหลัง โดยจำลองแบบมาจากเสาชิงช้าที่ กรุงเทพมหานคร เสาชิงช้าที่ กรุงเทพมหานคร แห่งนี้ มีลักษณะเป็นเสาชิงช้าขนาดใหญ่ ตั้งอยู่บนแท่นหินขนาดใหญ่ สูง 21.15 ม. เส้นผ่านศูนย์กลาง ฐานกลมประมาณ 10.50 ม. ฐานกลมก่อเป็นฐานปัทม์ทำด้วยหินล้างสีขาว พื้นบนปูกระเบื้องดินเผาสีแดง มีบันได 2 ขั้น ทั้ง 2 ด้าน ตามแนวโค้งของฐานติดแผ่นจารึกประวัติเสาชิงช้า เสาไม้แกนกลางคู่และเสาตะเกียบ 2 คู่ เป็นเสาหัวเม็ด ล้วนทำด้วยไม้สักกลึงกลม โครงยึดหัวเสาทั้งคู่แกะสลักอย่างสวยงาม กระจังและหูช้างไม้เป็นลวดลายไทย ทั้งหมดทา สีแดงชาด ติด สายล่อฟ้า จากลวดลายกระจังด้านบนลงดิน กรมศิลปากร ได้ประกาศขึ้นทะเบียนเสาชิงช้าเป็น โบราณสถาน สำคัญของชาติเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2492 นับตั้งแต่สร้างครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2327 จนถึงการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งล่าสุดซึ่งเสาชิงช้าคู่เดิมถูกถอดเปลี่ยนเมื่อปี พ.ศ. 2549 เสาชิงช้ามีอายุรวมประมาณ 222 ปี.

ศาลพระกาฬ (จังหวัดพระนครศรีอยุธยา)และเสาชิงช้า · เทวสถานโบสถ์พราหมณ์และเสาชิงช้า · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ศาลพระกาฬ (จังหวัดพระนครศรีอยุธยา)และเทวสถานโบสถ์พราหมณ์

ศาลพระกาฬ (จังหวัดพระนครศรีอยุธยา) มี 21 ความสัมพันธ์ขณะที่ เทวสถานโบสถ์พราหมณ์ มี 31 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 6, ดัชนี Jaccard คือ 11.54% = 6 / (21 + 31)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ศาลพระกาฬ (จังหวัดพระนครศรีอยุธยา)และเทวสถานโบสถ์พราหมณ์ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »