โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

นรินทร ณ บางช้างและศรัณยู วงษ์กระจ่าง

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง นรินทร ณ บางช้างและศรัณยู วงษ์กระจ่าง

นรินทร ณ บางช้าง vs. ศรัณยู วงษ์กระจ่าง

นรินทร ณ บางช้าง หรือ เอ๋ เป็นนักร้อง นักแสดง นักเขียนชาวไทย เธอมีผลงานเป็นที่รู้จักจากการเป็นศิลปินเดี่ยวภายใต้สังกัดจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ เธอได้รับฉายาว่า "ร็อคเกอร์หญิง" โดยมีเพลงฮิตสร้างชื่อเสียงได้แก่ เพื่อนไม่ทิ้งกัน, กลับมาสักครั้ง และเพลง ขออภัยไว้ก่อน เป็นต้น. รัณยู วงศ์กระจ่าง (ชื่อเล่น: ตั้ว) มีชื่อจริงว่า นรัณยู วงษ์กระจ่าง (เปลี่ยนมาจาก ศรัณยู วงศ์กระจ่าง) เกิดเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2503 ที่ตำบลกระดังงา อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม ศรัณยู เป็นนักแสดง พิธีกร ผู้กำกับการแสดงละครและภาพยนตร์ที่มีชื่อเสียงคนหนึ่งในวงการบันเทิงของไทย ก่อนจะเข้ามาในวงการบันเทิง ประกอบอาชีพเป็นสถาปนิกมาก่อน แต่เนื่องจากอาชีพสถาปนิกในเวลานั้น ยังไม่เป็นที่นิยมอย่างในปัจจุบัน ซึ่งศรัณยูได้ร่วมกิจการการแสดงโดยแสดงละครของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2522 เมื่อยังเป็นนักศึกษาอยู่แล้ว เมื่อจบออกมามีผลงานชิ้นแรกทางโทรทัศน์ โดยแสดงเป็นตัวประกอบในรายการเพชฌฆาตความเครียด ทางช่อง 9 ในปี พ.ศ. 2527 โดยแสดงร่วมกับนักแสดงรุ่นพี่ที่เป็นศิษย์เก่าคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เช่นเดียวกัน เช่น ปัญญา นิรันดร์กุล, เกียรติ กิจเจริญ, วัชระ ปานเอี่ยม เป็นต้น ศรัณยูรักอาชีพนักแสดงที่สุด เขามีผลงานทางด้านการแสดงมากกว่า 100 เรื่อง ทั้งละครโทรทัศน์ ภาพยนตร์ และละครเวที เป็นพระเอกที่ครองความนิยมในประเทศไทยในช่วงยุค 80-90 มีผลงานละครโทรทัศน์โด่งดังมากมาย ได้แก่ เก้าอี้ขาวในห้องแดง (2527) ระนาดเอก (2528) มัสยา (2528) บ้านทรายทอง และ พจมาน สว่างวงศ์ (2530) เกมกามเทพ (2531) เจ้าสาวของอานนท์ (2531) ดอกฟ้าและโดมผู้จองหอง (2532) รัตติกาลยอดรัก (2532) วนาลี (2533) รอยมาร (2533) วนิดา (2534) ไฟโชนแสง (2535) น้ำเซาะทราย (2536) ทวิภพ (2537) มนต์รักลูกทุ่ง (2538) ด้วยแรงอธิษฐาน (2539) และ นายฮ้อยทมิฬ (2544) ซึ่งแทบทุกเรื่องถูกนำมาสร้างใหม่ในภายหลัง ส่วนผลงานละครเวทีที่เป็นที่จดจำมากที่สุด คือ สู่ฝันอันยิ่งใหญ่ (2530) นอกจากนั้นแล้ว ศรัณยูยังมีผลงานพิธีกร ผู้กำกับละครโทรทัศน์ และผู้กำกับภาพยนตร์ มากมายหลายเรื่อง อาทิเช่น เป็นผู้กำกับละครโทรทัศน์เรื่อง "เทพนิยายนายเสนาะ" (2541), ละครพีเรียดเรื่อง "น้ำพุ" (2545), ละครสั้นสองตอนจบเรื่อง "ลูกบ้าเที่ยวล่าสุด" (2545), ละครเรื่อง "สุภาพบุรุษลูกผู้ชาย" (2546), ละครเรื่อง "หลังคาแดง" (2547), ละครเรื่อง "ตราบสิ้นดินฟ้า" (2551) ผลงานการกำกับภาพยนตร์เรื่อง "อำมหิตพิศวาส" (2550) และ "คนโขน" (2554) อีกทั้งศรัณยูยังได้นำบทประพันธ์เรื่อง "หลังคาแดง" มาดัดแปลงและนำเสนอในรูปแบบละครเวทีเรื่อง "หลังคาแดง เดอะมิวสิคัล" (2555) อีกด้วย ปัจจุบัน ศรัณยูเป็นผู้จัดละครและผู้กำกับการแสดง ผลิตละครโทรทัศน์ ในนาม "สามัญการละคร" มีผลงานการกำกับละครเรื่อง "สุภาพบุรุษลูกผู้ชาย" (2556), หัวใจเถื่อน (2557), รอยรักแรงแค้น (2558) และล่าสุดเรื่อง บัลลังก์หงส์ (2559).

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง นรินทร ณ บางช้างและศรัณยู วงษ์กระจ่าง

นรินทร ณ บางช้างและศรัณยู วงษ์กระจ่าง มี 5 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ช่อง 9 เอ็มคอตเอชดีสู่ฝันอันยิ่งใหญ่จีเอ็มเอ็ม 25ไดอารีตุ๊ดซีส์ เดอะซีรีส์เทพธิดาบาร์ 21

ช่อง 9 เอ็มคอตเอชดี

นีโทรทัศน์ช่อง 9 เอ็มคอตเอชดี (Channel 9 MCOT HD; ชื่อเดิม: สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4 บางขุนพรหม, สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 บางลำพู, สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 อ.ส.ม.ท., สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ทีวี) เป็นสถานีโทรทัศน์ภาคพื้นดิน (Terrestrial Television) แห่งแรกของประเทศไทย ของบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) เริ่มแพร่ภาพเป็นปฐมฤกษ์ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2498 ในระบบวีเอชเอฟ เดิมออกอากาศเป็นภาพขาวดำ ทางช่องสัญญาณที่ 4 ต่อมาในปี พ.ศ. 2517 จึงย้ายมาออกอากาศด้วยภาพสี ทางช่องสัญญาณที่ 9 จนถึงปัจจุบัน สังกัด สำนักนายกรัฐมนตรี โดยมีนายกอบศักดิ์ ภูตระกูล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นผู้กำกับดูแล มีพลเอก ฉัตรเฉลิม เฉลิมสุข เป็นประธานกรรมการบริษัท และนายเขมทัตต์ พลเดชเป็นกรรมการผู้อำนวยการใหญ.

ช่อง 9 เอ็มคอตเอชดีและนรินทร ณ บางช้าง · ช่อง 9 เอ็มคอตเอชดีและศรัณยู วงษ์กระจ่าง · ดูเพิ่มเติม »

สู่ฝันอันยิ่งใหญ่

ู่ฝันอันยิ่งใหญ่ บทละครภาษาไทย มัทนี เกษกมล, ยุทธนา มุกดาสนิท คำร้องภาษาไทย ชาลี อินทรวิจิตร, วิสา คัญทัพ, สุรชัย จันทิมาธร, ยุทธนา มุกดาสนิท ที่มา ละครเพลง Man of La Mancha โปรดักชั่น สิงหาคม – กันยายน 2530, คณะละครสองแปด และกรมศิลปากร / มิถุนายน 2551, คณะละครสองแปด แล.ซีนาริโอ จก.

นรินทร ณ บางช้างและสู่ฝันอันยิ่งใหญ่ · ศรัณยู วงษ์กระจ่างและสู่ฝันอันยิ่งใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

จีเอ็มเอ็ม 25

ีเอ็มเอ็ม 25 (GMM 25) เป็นช่องโทรทัศน์ระบบดิจิทัล ภาพคมชัดมาตรฐาน บริหารงานโดยบริษัท จีเอ็มเอ็ม แชนแนล จำกัด และมีบุษบา ดาวเรือง รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการ เป็นช่องโทรทัศน์ในเครือจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ เช่นเดียวกับช่องวัน 31.

จีเอ็มเอ็ม 25และนรินทร ณ บางช้าง · จีเอ็มเอ็ม 25และศรัณยู วงษ์กระจ่าง · ดูเพิ่มเติม »

ไดอารีตุ๊ดซีส์ เดอะซีรีส์

อารี่ตุ๊ดซี่ส์ เดอะซีรีส์ (Diary of Tootsies) เป็นรายการโทรทัศน์ประเภทละครชุดคอมเมดี้ ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์จีเอ็มเอ็ม 25 ตั้งแต่วันที่ 23 มกราคม..

นรินทร ณ บางช้างและไดอารีตุ๊ดซีส์ เดอะซีรีส์ · ศรัณยู วงษ์กระจ่างและไดอารีตุ๊ดซีส์ เดอะซีรีส์ · ดูเพิ่มเติม »

เทพธิดาบาร์ 21

ทพธิดาบาร์ 21 เป็นภาพยนตร์ไทยแนวมิวสิเคิลที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2521 กำกับโดย ยุทธนา มุกดาสนิท โดยดัดแปลงมาจากบทละครเรื่อง เกียรติโสเภณี (The Respectable Prostitute) ของ ฌอง ปอล ชาร์ต (Jean-Paul Sartre) นำแสดงโดย จันทรา ชัยนาม, ไกรลาศ เกรียงไกร, วสันต์ อุตตมะโยธิน ซึ่งเป็นนักแสดงหน้าใหม่ ร่วมด้วย สุเชาว์ พงษ์วิไล, สุดา ชื่นบาน, ศิริพงษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา และ จุรี โอศิริ โดยมี ม.ล. พันธุ์เทวนพ เทวกุล เป็นผู้ออกแบบท่าเต้นนักแสดง และร่วมเขียนบทกับ ยุทธนา สร้างโดย บริษัทไฟว์สตาร์โปรดักชั่น ถ่ายทำด้วยระบบฟลิ์ม 35 มม.สโคป เสียงพากย์ในฟิล์ม, โดย จันทรา ชัยนาม และ วสันต์ อุตตมะโยธิน เป็นผู้พากย์เสียงของตัวเองในหนัง ก่อนหน้านี้ ยุทธนาเคยเสนอโปรเจกต์นี้ให้กับนายทุนค่ายอื่นมาก่อน แต่นายทุนขอให้ลดฉากมิวสิคคัล เนื่องจากเนื้อเรื่องมีฉากมิวสิคคัลเยอะ กลัวดูไม่รู้เรื่อง,จึงเปลี่ยนนายทุนมาเป็นไฟว์สตาร์ฯ ในที่สุด ใช้ทุนสร้างประมาณ 3 ล้านบาท, แต่รายได้กลับไม่ประสบความสำเร็จ ได้เพียง3 แสนบาทเท่านั้น (รายได้จากโรงภาพยนตร์เอเธนส์), ถึงแม้ว่าจะไม่ประสบความสำเร็จ แต่ได้รับคำชมจากนักวิจารณ์ในยุคนั้น ภาพยนตร์ได้รับรางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี (ตุ๊กตาทอง) ประจำปี พ.ศ. 2522 จำนวน 2 รางวัล คือ ดาราประกอบชายยอดเยี่ยม (ไกรลาศ เกรียงไกร) และ ดารานำฝ่ายหญิงยอดเยี่ยม (จันทรา ชัยนาม) โดยเป็นผลงานการแสดงทางจอเงินเพียงเรื่องเดียวในชีวิตของ จันทรา ชัยนาม ในปี พ.ศ. 2533 ได้มีการสร้างเป็นละครโทรทัศน์มินิซีรีส์ทางช่อง 3 ออกอากาศในเดือนธันวาคม นำแสดงโดย นรินทร ณ บางช้าง และ ศรัณยู วงษ์กระจ่าง กำกับการแสดงโดย ม.ล. พันธุ์เทวนพ เทวกุล.

นรินทร ณ บางช้างและเทพธิดาบาร์ 21 · ศรัณยู วงษ์กระจ่างและเทพธิดาบาร์ 21 · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง นรินทร ณ บางช้างและศรัณยู วงษ์กระจ่าง

นรินทร ณ บางช้าง มี 28 ความสัมพันธ์ขณะที่ ศรัณยู วงษ์กระจ่าง มี 270 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 5, ดัชนี Jaccard คือ 1.68% = 5 / (28 + 270)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง นรินทร ณ บางช้างและศรัณยู วงษ์กระจ่าง หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »