โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

วิศวกรรมโยธา

ดัชนี วิศวกรรมโยธา

Falkirk Wheel สิ่งก่อสร้างในสก็อตแลนด์สำหรับยกเรือข้ามแม่น้ำ วิศวกรรมโยธา (civil engineering) เป็นศาสตร์ของสาขาหนึ่งในทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ ครอบคลุมการก่อสร้างตึก ตึกระฟ้า อาคาร สะพาน ถนน และระบบขนส่งอื่น ๆ รวมถึงระบบสาธารณูปโภคต่าง ๆ เช่น เขื่อน คลอง ตลอดจนการทำรังวัดในงานสำรวจและแผนที่ รวมไปถึงการวิเคราะห์ทางธรณีและชลศาสตร์ และการบริหารจัดการการก่อสร้าง งานในทางด้านวิศวกรรมจะเน้นทางด้านการใช้วัสดุและทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด ผู้ที่ประกอบวิชาชีพในสาขานี้เรียกว่า วิศวกรโยธา หรือเรียกกันว่า นายช่าง ในการทำงานในประเทศไทย ผู้ที่ประกอบวิชาชีพจะขึ้นทะเบียนกับสภาวิศวกรเพื่อรับ ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรม (กว.) โดยมีการจัดสอบระบบใหม่เริ่มต้นเมื่อต้นปี..

21 ความสัมพันธ์: ชลศาสตร์การขนส่งยางมะตอยระบบกำหนดตำแหน่งบนโลกระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ระบบปรับอากาศวิศวกรรมชลศาสตร์วิศวกรรมศาสตร์วิศวกรรมสำรวจวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมวิศวกรรมธรณีวิศวกรรมขนส่งวิศวกรรมโครงสร้างสะพานสาธารณูปโภคธรณีวิทยาถนนคอนกรีตตึกระฟ้าประเทศสกอตแลนด์ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม (ประเทศไทย)

ชลศาสตร์

อุปกรณ์ไฮดรอลิกในรูปแบบต่าง ๆ ชลศาสตร์ (hydraulics) เป็นวิชาที่ศึกษาการเปลี่ยนพลังงานการไหลเป็นพลังงานกล โดยผ่านกลไกสำคัญต่าง ๆ อันประกอบไปด้วยลูกสูบไฮดรอลิก กระบอกสูบไฮดรอลิก และมอเตอร์ไฮดรอลิก และใช้หลักการตามทฤษฎีของแบลซ ปัสกาล นักฟิสิกส์ชาวฝรั่งเศส ชลศาสตร์เป็นหัวข้อที่มีอยู่ในวิทยาศาสตร์ประยุกต์และวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องกับคุณสมบัติเชิงกลของของเหลว ชลศาสตร์โดยพื้นฐานแล้วคือรูปของเหลวของนิวแมติกส์ กลศาสตร์ของไหลนั้นเป็นรากฐานทางทฤษฎีสำหรับวิชาชลศาสตร์ซึ่งมุ่งเน้นไปทางด้านวิศวกรรมการใช้ประโยชน์จากคุณสมบัติของของเหลว ส่วนคำ hydraulics ในภาษาอังกฤษมีรากศัพท์จากคำในภาษากรีกว่า hydraulikos ซึ่งมาจากคำ hydor (แปลว่า น้ำ) ประสมกับคำ aulos (แปลว่า ท่อ).

ใหม่!!: วิศวกรรมโยธาและชลศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

การขนส่ง

รถไฟฟ้า ระบบขนส่งมวลชน การขนส่ง คือการเคลื่อนย้ายคนและสิ่งของจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง การขนส่งแบ่งออกเป็นหมวดใหญ่ดังนี้ ทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ และ อื่น.

ใหม่!!: วิศวกรรมโยธาและการขนส่ง · ดูเพิ่มเติม »

ยางมะตอย

งมะตอย โรงงานยางมะตอยสำหรับการทำยางมะตอย ถนนลาดยาง มหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์ได้ทดลองระดับลดลงการแสดงให้เห็นความหนืดของยางมะตอย ยางมะตอยเป็นวัสดุที่สกัดจากน้ำมันดิบ มีสีดำ มีลักษณะเหนียวและความหนืดต่ำ ยางมะตอยนิยมมาใช้ในงานก่อสร้างถนน โดยใช้เป็นวัสดุผิวหน้า ซึ่งคุณสมบัติที่สำคัญของยางมะตอยทำหน้าที่ประสานระหว่างวัสดุเติมเช่นหินและทราย เข้าเป็นเนื้อเดียวกัน โดยวัสดุที่นำมาใช้ในการเทผิวหน้าถนนจะเรียกชื่อเต็มว่า แอสฟอลต์คอนกรีต (asphalt concrete) และมักย่อว่า แอสฟอลต์ ภาษาอังกฤษเรียกยางมะตอยว่า แอสฟอลต์ (อเมริกัน) หรือ แอสแฟลต์ (บริเตน) (asphalt) ซึ่งมาจากภาษากรีกคำว่า άσφαλτος (asphaltos) ส่วนภูมิภาคอื่นอาจเรียกว่า ไบทูเมน, ไบทิวเมน, บิทูเมน, บิชูเมน (bitumen).

ใหม่!!: วิศวกรรมโยธาและยางมะตอย · ดูเพิ่มเติม »

ระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก

วาดแสดงดาวเทียม NAVSTAR ของสหรัฐ เครื่องรับสัญญาณจีพีเอส KAMAZ NAAV450 เครื่องรับสัญญาณจีพีเอส แมเกลลัน เบลเซอร์ ระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก เรียกย่อว่า จีพีเอส (Global Positioning System: GPS) หรือรู้จักในชื่อ นาฟสตาร์ (Navstar) คือระบบดาวเทียมนำร่องโลก (์Global Navigation Satellite System: GNSS) เพื่อระบุข้อมูลของตำแหน่งและเวลาโดยอาศัยการคำนวณจากความถี่สัญญาณนาฬิกาที่ส่งมาจากตำแหน่งของดาวเทียมต่างๆ ที่โคจรอยู่รอบโลกทำให้สามารถระบุตำแหน่ง ณ จุดที่สามารถรับสัญญาณได้ทั่วโลกและในทุกสภาพอากาศ รวมถึงสามารถคำนวณความเร็วและทิศทางเพื่อนำมาใช้ร่วมกับแผนที่ในการนำทางได้.

ใหม่!!: วิศวกรรมโยธาและระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก · ดูเพิ่มเติม »

ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์

ตัวอย่างแผนที่ใช้ในการแบ่งโซนอาศัย สร้างโดยใช้ระบบจีไอเอส โดยโปรแกรม ชื่อ อาร์คจีไอเอส (ArcGIS) ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System: GIS) คือ กระบวนการทำงานเกี่ยวกับข้อมูลเชิงพื้นที่ (spatial data) ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ โดยการกำหนดข้อมูลเชิงบรรยายหรือข้อมูลคุณลักษณะ (attribute data) และสารสนเทศ เช่น ที่อยู่ บ้านเลขที่ ที่มีความสัมพันธ์กับตำแหน่งในเชิงพื้นที่ (spatial data) เช่น ตำแหน่งบ้าน ถนน แม่น้ำ เป็นต้น ในรูปของ ตารางข้อมูล และ ฐานข้อมูล ระบบ GIS ประกอบไปด้วยชุดของเครื่องมือที่มีความสามารถในการเก็บรวบรวม ปรับปรุงและการสืบค้นข้อมูล เพื่อจัดเตรียม ปรับแต่ง วิเคราะห์และการแสดงผลข้อมูลเชิงพื้นที่ เพื่อให้สอดคล้องตามวัตถุประสงค์การใช้งาน ซึ่งรูปแบบและความสัมพันธ์ของข้อมูลเชิงพื้นที่ทั้งหลาย จะสามารถนำมาวิเคราะห์ด้วย GIS ให้สื่อความหมายในเรื่องการเปลี่ยนแปลงที่สัมพันธ์กับช่วงเวลาได้ เช่น.

ใหม่!!: วิศวกรรมโยธาและระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ระบบปรับอากาศ

ระบบปรับอากาศ (Air Conditioning System) คือ ระบบที่ทำหน้าที่ปรับสภาพของอากาศให้เหมาะกับสภาวะที่ผู้ใช้ต้องการ อาจจะเป็นการปรับอากาศเพื่อการเก็บรักษาอาหาร หรือสิ่งของ และรวมถึงการปรับอากาศเพื่อการอยู่อาศัยในอาคารด้วย โดยอาจจะเป็นการปรับให้อุณหภูมิสูงขึ้นหรือต่ำลงก็ได้ และยังต้องมีการควบคุมปริมาณความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศ ความเร็วลม กลิ่นและสิ่งเจือปนในอากาศด้วย หมวดหมู่:ระบบปรับอากาศ.

ใหม่!!: วิศวกรรมโยธาและระบบปรับอากาศ · ดูเพิ่มเติม »

วิศวกรรมชลศาสตร์

วิศวกรรมชลศาสตร์ (hydraulic engineering) เป็นวิชาย่อยของวิศวกรรมโยธาที่ศึกษาการไหลและการเคลื่อนที่ของน้ำเป็นหลัก โดยอาศัยความรู้ด้านกลศาสตร์และแรงโน้มถ่วงในการคำนวณเพื่อหาการเคลื่อนที่และพฤติกรรมต่าง ๆ ของน้ำ ซึ่งสามารถนำไปเป็นเนื้อหาในการออกแบบสะพาน เขื่อน ทางน้ำเปิด หรือวิศวกรรมด้านสุขาภิบาลและสิ่งแวดล้อม วิศวกรรมชลศาสตร์เป็นวิชาที่สามารถนำหลักการกลศาสตร์ของไหลไปใช้ในการแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บข้อมูล การควบคุม การขนส่ง การควบคุม การวัด หรืออื่น ๆ ซึ่งนับว่ามีประโยชน์อย่างมากในโลกปัจจุบันที่มีการใช้ทรัพยากรน้ำอย่างสิ้นเปลือง.

ใหม่!!: วิศวกรรมโยธาและวิศวกรรมชลศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

วิศวกรรมศาสตร์

การจะออกแบบสร้างกังหันลมในทะเลต้องใช้ความรู้ทางวิศวกรรมในหลายๆสาขาประกอบเข้าด้วยกัน วิศวกรรมอาจจะหมายถึงพระวิศวกรรม วิศวกรรมศาสตร์ เป็นสาขาความรู้และวิชาชีพเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้ประยุกตวิทยา (เทคโนโลยี), วิทยาศาสตร์และความรู้ทางคณิตศาสตร์เพื่อการใช้ประโยชน์จากกฎทางธรรมชาติและทรัพยากรทางกายภาพให้เกิดประโยชน์สูงสุด, เพื่อช่วยในการออกแบบและประยุกต์ใช้ วัสดุ, โครงสร้าง, เครื่องจักร, เครื่องมือ, ระบบ และ กระบวนการ เพื่อการตอบสนองต่อจุดประสงค์ที่ต้องการได้อย่างปลอดภัยและเชื่อถือได้ American Engineers' Council for Professional Development (ECPD, ซึ่งต่อมาคือ ABET) ได้ให้นิยามเกี่ยวกับวิศวกรรมศาสตร์เอาไว้ดังนี้.

ใหม่!!: วิศวกรรมโยธาและวิศวกรรมศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

วิศวกรรมสำรวจ

วิศวกรรมสำรวจ Survey Engineering เป็นศาสตร์และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการสำรวจ บันทึก ประมวลผล วิเคราะห์ เผยแพร่ และ การใช้งานสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับตำแหน่ง ไม่ว่าจะเป็นเชิงภูมิศาสตร์ (ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นบนผิวโลก) อวกาศ และใต้ดิน วิศวกรรมสำรวจประกอบด้วยสาขาวิชาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกันเพื่อให้เข้าใจลักษณะแบบจำลองของปรากฏการณ์ทางกายภาพต่าง ๆ และสามารถถ่ายทอดสิ่งเหล่านั้นลงมาเป็นข้อมูลรูปแผนที่ที่มีความถูกต้องและ น่าเชื่อถือทางตำแหน่งและข้อมูลอธิบายปรากฏการณ์นั้น ๆ สาขาวิชาวิศวกรรมสำรวจประกอบด้ว.

ใหม่!!: วิศวกรรมโยธาและวิศวกรรมสำรวจ · ดูเพิ่มเติม »

วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม

วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม (Environmental Engineering) เป็นการบูรณาการของหลักการทางวิทยาศาสตร์และทางวิศวกรรมเพื่อปรับปรุงสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ, เพื่อให้มีน้ำ, อากาศ, และที่ดินที่มีสุขภาพดีสำหรับการอยู่อาศัยของมนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ, และเพื่อทำความสะอาดสถานที่มลพิษ.

ใหม่!!: วิศวกรรมโยธาและวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม · ดูเพิ่มเติม »

วิศวกรรมธรณี

วิศวกรรมธรณี (Geological Engineering) เป็นวิชาที่ใช้ความรู้พื้นฐานทางด้านธรณีวิทยา มาประยุกต์ใช้ในด้านวิศวกรรมโยธา และวิศวกรรมเหมืองแร่ เน้นวิชาด้าน Rock Mechanics หรือ Geomechanics ในประเทศไทยมีโปรแกรมหรือสาขาย่อย ที่เปิดสอนในสาขาวิชาเทคโนโลยีธรณี ที่สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีในระดับ ปริญญาตรี โท และเอก หมวดหมู่:สาขาทางวิศวกรรมศาสตร์ หมวดหมู่:ธรณีวิทยา en:Geological and geophysical engineering tr:Jeofizik mühendisliği.

ใหม่!!: วิศวกรรมโยธาและวิศวกรรมธรณี · ดูเพิ่มเติม »

วิศวกรรมขนส่ง

วิศวกรรมขนส่ง หรือ วิศวกรรมการขนส่ง (Transport engineering หรือ transportation engineering) เป็นการประยุกต์ใช้หลักการทางเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ในการวางแผน, การออกแบบการทำงาน, การดำเนินงานและการจัดการสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับโหมดของการขนส่งใดๆ เพื่อที่จะจัดให้มีความปลอดภัย, ประสิทธิภาพ, รวดเร็ว, สบาย, สะดวก, ประหยัด, และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในการไปมาห่สู่กันของผู้คนและสินค้า (ขนส่ง).

ใหม่!!: วิศวกรรมโยธาและวิศวกรรมขนส่ง · ดูเพิ่มเติม »

วิศวกรรมโครงสร้าง

วิศวกรรมโครงสร้างเกี่ยวข้องกับการสร้างระบบที่ซับซ้อนเช่นสถานีอวกาศนานาชาติ, ที่นี่จะเห็นจากกระสวยอวกาศแอตแลนติสที่แยกตัวออกไป วิศวกรโครงสร้างกำลังสืบสวนยานอวกาศที่มุ่งสู่ดาวอังคารของนาซา, Phoenix Mars Lander หอไอเฟลเป็นความสำเร็จทางประวัติศาสตร์ของวิศวกรรมโครงสร้าง วิศวกรรมโครงสร้าง (Structural engineering) เป็นสาขาหนึ่งของวิศวกรรม ที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์และการออกแบบโครงสร้างที่รองรับหรือต้านหน่วยแรงที่เกิดขึ้นในวัสดุ, อาคาร, เครื่องจักรกล, ยานพาหนะ, อากาศยาน, และแม้แต่ยานอวก.

ใหม่!!: วิศวกรรมโยธาและวิศวกรรมโครงสร้าง · ดูเพิ่มเติม »

สะพาน

น Akashi-Kaikyō ในญี่ปุ่นเป็นสะพานแขวนที่ยาวที่สุดในโลก สะพานจากท่อนซุง เชื่อมต่อเพื่อใช้ข้ามแม่น้ำ สะพาน คือโครงสร้างที่เชื่อมต่อระหว่างฝั่งสำหรับข้ามหุบเขา แม่น้ำ ถนน ทางรถไฟ หรือพื้นน้ำต่างๆ การออกแบบความสูงของสะพาน จะขึ้นอยู่กับสิ่งกีดขวางด้านล่าง รวมถึงการจราจรด้านล่าง (เช่น รถ เรือ สามารถผ่านได้) การก่อสร้างสะพานมีจุดประสงค์เพื่อให้การสัญจรมีการต่อเนื่องระหว่างทางที่มีการสร้างไว้แล้ว555.

ใหม่!!: วิศวกรรมโยธาและสะพาน · ดูเพิ่มเติม »

สาธารณูปโภค

รณูปโภค คือ บริการสาธารณะที่จัดทำเพื่ออำนวยประโยชน์แก่ประชาชนในสิ่งอุปโภคที่จำเป็นต่อการดำเนินชีวิต เช่น การไฟฟ้า การประปา การเดินรถประจำทาง โทรศัพท์ ในสหรัฐอเมริกา คำว่าสาธารณูปโภค (public utility หรือ utility) ยังหมายถึงหน่วยงานที่ให้บริการเหล่านี้ โดยบริการส่วนใหญ่จะดำเนินงานโดยรัฐบาลโดยตรง ซึ่งบริการเหล่านี้จะอยู่ในลักษณะของเศรษฐกิจผูกขาด หรือถ้าดำเนินงานโดยเอกชน หน่วยงานเหล่านั้นจัดการโดยคณะกรรมการสาธารณูป.

ใหม่!!: วิศวกรรมโยธาและสาธารณูปโภค · ดูเพิ่มเติม »

ธรณีวิทยา

The Blue Marble: ภาพนี้เป็นภาพถ่ายของโลก เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม ค.ศ. 1972 ที่ถ่ายโดยแฮร์ริสสัน ชมิตต์ (Harrison Schmitt) นักธรณีวิทยาคนแรกที่ร่วมเดินทางไปกับยานอวกาศอะพอลโล 17 (Apollo 17) ที่เดินทางไปยังดวงจันทร์ ธรณีวิทยา, ธรณีศาสตร์ (Geology จากγη- (''เก-'', โลก) และ λογος (''ลอกอส'', ถ้อยคำ หรือ เหตุผล).) เป็นวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับโลก สสารต่าง ๆ ที่เป็นส่วนประกอบของโลก เช่น แร่ หิน ดินและน้ำ รวมทั้งกระบวนการเปลี่ยนแปลงภายในโลก ที่เกิดขึ้นในธรรมชาติ ตั้งแต่กำเนิดโลกจนถึงปัจจุบัน เป็นการศึกษาทั้งในระดับโครงสร้าง ส่วนประกอบทางกายภาพ เคมี และชีววิทยา ทำให้รู้ถึงประวัติความเป็นมา และสภาวะแวดล้อมในอดีตจนถึงปัจจุบัน ศึกษาปัจจัยต่าง ๆ ทั้งภายใน และภายนอกที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพพื้นผิว วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ตลอดจนรูปแบบ และวิธีการนำเอาทรัพยากรธรรมชาติ มาใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนอีกด้วย นักธรณีวิทยาศึกษาพบว่าโลกมีอายุประมาณ 4,500 ล้านปี (4.5x109 ปี) และเห็นตรงกันว่าเปลือกโลกแยกออกเป็นหลายแผ่น เรียกว่าแผ่นเปลือกโลก แต่ละแผ่นเคลื่อนที่อยู่เหนือเนื้อโลกหรือแมนเทิลที่มีสภาวะกึ่งหลอมเหลว เรียกกระบวนการนี้ว่าการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก นอกจากนี้ นักธรณีวิทยายังทำหน้าที่ระบุตำแหน่งและจัดการกับทรัพยากรธรรมชาติ เช่น แหล่งหิน แหล่งแร่ แหล่งปิโตรเลียมเช่น น้ำมันและถ่านหิน รวมทั้งโลหะอย่างเหล็ก ทองแดง และยูเรเนียม วิชาธรณีวิทยา มีความเกี่ยวข้องกับหลากหลายสาขาวิชา เช่น ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา คณิตศาสตร์ มีการบูรณการความรู้จากหลากหลายวิชา เพื่อวิเคราะห์หาคำตอบเกี่ยวกับสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นบนโลก โดยสามารถแบ่งออกเป็นหลากหลายสาขาวิชา เช่น ธรณีวิทยากายภาพ (Physical Geology) ธรณีวิทยาโครงสร้าง (Structural Geology) ธรณีวิทยาแปรสัณฐาน (Geotectonics, Tectonics) ตะกอนวิทยา (Sedimentology) ธรณีสัณฐานวิทยา (Geomorphology) ธรณีเคมี (Geochemistry) ธรณีฟิสิกส์ (Geophysics) ธรณีอุทกวิทยา (Geohydrology) บรรพชีวินวิทยา (Paleontology) เป็นต้น '''การเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก''' วิชาธรณีวิทยานอกโลก ศึกษาองค์ประกอบทางธรณีวิทยาของวัตถุในระบบสุริยะ อย่างไรก็ตาม ยังมีศัพท์เฉพาะอื่น ๆ ที่ใช้เรียกธรณีวิทยานอกโลก เช่น "ศศิวิทยา" (selenology) ศึกษาธรณีวิทยาบนดวงจันทร์, areology ศึกษาธรณีวิทยาบนดาวอังคาร เป็นต้น วิชาธรณีวิทยา สามารถตอบปัญหาต่างๆ มากมาย ที่เกี่ยวข้องกับ วิวัฒนาการของโลก ดาวเคราะห์ และ จักรวาล ธรณีพิบัติภัย ภูเขาไฟ แผ่นดินไหว รอยเลื่อน สึนามิ อุทกภัย น้ำท่วม น้ำหลาก การกัดเซาะ ดินถล่ม หลุมยุบ ภูเขา แม่น้ำ ทะเล มหาสมุทร ทะเลทราย ไดโนเสาร์ ซากดึกดำบรรพ์หรือบรรพชีวินหรือฟอสซิล บั้งไฟพญานาค ไม้กลายเป็นหิน ถ่านหิน น้ำมัน ปิโตรเลียม เชื้อเพลิง แหล่งแร่ เหล็กไหล อุลกมณี โลกศาสตร.

ใหม่!!: วิศวกรรมโยธาและธรณีวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

ถนน

นน เป็นทางสัญจรทางบกระหว่างสถานที่สองแห่ง ที่ได้รับการปูพื้นผิว หรือได้รับการปรับปรุงเพื่อให้การเดินทางทางเท้าหรือยานพาหนะต่าง ๆ รวมถึงม้า เกวียน จักรยาน และยานยนต์ ถนนประกอบด้วยหนึ่งหรือสองช่องทาง ได้แก่ ทิศเดียวกัน กับทิศสวนทางกัน โดยแต่ละฝั่งมีช่องจราจรตั้งแต่หนึ่งช่องขึ้นไป และบางครั้งอาจมีทางเท้า ถนนที่สร้างขึ้นเพื่อส่วนรวมอาจเรียกว่าถนนสาธาณะ หรือทางหลวง.

ใหม่!!: วิศวกรรมโยธาและถนน · ดูเพิ่มเติม »

คอนกรีต

การเทคอนกรีต สำหรับหล่อพื้น คอนกรีต (คอน-กรีด) (Concrete ในภาษาอังกฤษอ่านว่า คอนครีท) เป็นวัสดุผสมที่นิยมใช้ในงานก่อสร้างประกอบด้วย 3 ส่วนหลักคือ ปูนซีเมนต์ วัสดุผสม (เช่น หิน ทราย หรือ กรวด) และ น้ำ โดยอาจจะมีสารเคมีเติมเพิ่มเข้าไปสำหรับคุณสมบัติด้านอื่น เมื่อผสมเสร็จคอนกรีตจะแข็งตัวอย่างช้าๆ ซึ่งน้ำและซีเมนต์จะทำปฏิกิริยาทางเคมีกันในลักษณะที่เรียกว่าการไฮเดรชัน โดยซีเมนต์จะเริ่มจับตัวกับวัสดุอื่นและแข็งตัว ซึ่งในสถานะนี้จะนิยมเรียกกันว่าคอนกรีต ความแข็งแรงของคอนกรีตจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆหลังจากที่ผสม และยังแข็งแรงขึ้นภายหลังจากการแข็งตัว โดยประมาณหลังจากแข็งตัวแล้ว 28 วัน ความแข็งแรงจะเริ่มคงที่ คอนกรีตมีใช้กันในงานก่อสร้างหลายชนิด ซึ่งรวมถึง อาคาร ถนน เขื่อน สะพาน อนุสาวรีย์ และงานก่อสร้างต่างๆ ซึ่งมีเห็นได้ทั่วไป คุณสมบัติหลักของคอนกรีตคือการรับแรงอัดสูง ในขณะที่สามารถรับแรงดึงได้ต่ำ (ประมาณ 10% ของแรงอัด) โดยเมื่อต้องการให้คอนกรีตสามารถรับแรงดึง จะมีการเสริมวัสดุอื่นเพิ่มเข้าไปในคอนกรีตโดยจะเรียกว่า คอนกรีตเสริมแรง หรือคอนกรีตเสริมเหล็กที่เรียกกัน (โดยเสริมแรงด้วยเหล็ก) วัสดุเหล่านี้จะช่วยรับแรงดึงภายในคอนกรีต ซึ่งงานโครงสร้างอาคารส่วนใหญ่นิยมใช้คอนกรีตเสริมแรงแทนที่คอนกรีตเปลือย นอกจากนี้ในงานก่อสร้างยังมีการใช้วิธีการที่เรียกว่า คอนกรีตอัดแรง โดยทำการใส่แรงเข้าไปในคอนกรีตหล่อสำเร็จที่หล่อมาจากโรงงาน โดยเมื่อนำไปใช้งาน แรงที่ใส่เข้าไปในคอนกรีตจะหักล้างกับน้ำหนักของตัวคอนกรีตเองและน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นมา ซึ่งวิธีการนี้จะทำให้คอนกรีตสามารถรับน้ำหนักได้เพิ่มมากขึ้น โดยงานสะพานและทางยกระดับ นิยมใช้คอนกรีตอัดแรง มนุษย์เริ่มใช้คอนกรีตในการก่อสร้างตั้งแต่สมัยกรีกโบราณ ในอดีต ชาวกรีกและชาวโรมันใช้คอนกรีตในการก่อสร้างป้อมปราการทางการทหารและสถานที่สำคัญต่างๆมากม.

ใหม่!!: วิศวกรรมโยธาและคอนกรีต · ดูเพิ่มเติม »

ตึกระฟ้า

ูร์จคาลิฟา ตึกระฟ้าที่สูงที่สุดของโลก ตั้งอยู่ที่ดูไบ ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ตึกระฟ้า (skyscraper) ในยุโรปจะหมายถึงตึกที่มีความสูง 152.4 เมตรขึ้นไป (แต่กับทวีปอื่นๆ จะใช้มาตรฐานที่แตกต่างกันไป) โดยตึกระฟ้าส่วนใหญ่จะเป็นสำนักงาน โรงแรม หรือที่อยู่อาศัย ในช่วงเวลาคริสต์ศตวรรษที่ 19 นั้น ยังไม่มีตึกที่สูงเกินกว่า 6 ชั้น เนื่องจากผู้คนไม่ต้องการเดินขึ้นบันไดสูง และไม่สามารถปั๊มน้ำให้สูงเกินกว่า 15 เมตรได้ ตึกระฟ้าเริ่มเป็นไปได้หลังจากความสำเร็จในการพัฒนาเหล็ก คอนกรีตเสริมเหล็ก และปั๊มน้ำ รวมถึงการสร้างลิฟต์ ในปัจจุบันสิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในโลกคือ ตึกบูร์จคาลิฟา ในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ มีความสูงทั้งสิ้น 828 เมตร (2,717 ฟุต) มีจำนวน 163 ชั้น โดยมีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2553.

ใหม่!!: วิศวกรรมโยธาและตึกระฟ้า · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศสกอตแลนด์

กอตแลนด์ (Scotland; Alba อาละเปอะ) เป็นชาติของชนชาวสก็อตและเป็นส่วนหนึ่งของประเทศสหราชอาณาจักร โดยครอบคลุมพื้นที่หนึ่งในสามทางตอนเหนือของเกาะบริเตนใหญ่ มีพรมแดนร่วมกับประเทศอังกฤษทางทิศใต้ ส่วนที่เหลือล้อมรอบด้วยมหาสมุทรแอตแลนติก ทางตะวันออกเป็นทะเลเหนือ และทิศตะวันตกเฉียงใต้จดช่องแคบเหนือและทะเลไอร์แลนด์ นอกเหนือจากแผ่นดินใหญ่แล้ว ประเทศสกอตแลนด์ยังมีเกาะอีกกว่า 790 เกาะ เอดินบะระ เมืองหลวงและนครใหญ่ที่สุดอันดับสองของประเทศ เป็นศูนย์กลางยุคเรืองปัญญาของชาวสกอตในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ซึ่งเปลี่ยนสกอตแลนด์มาเป็นมหาอำนาจทางพาณิชย์ ทางการศึกษา และทางอุตสาหกรรมเมืองหนึ่งของทวีปยุโรป ฯ กลาสโกว์ นครใหญ่สุดของสกอตแลนด์ เคยเป็นนครอุตสาหกรรมชั้นนำของโลกและปัจจุบันเป็นศูนย์กลางของเขตเมืองขยายเกรตเตอร์กลาสโกว์ น่านน้ำสกอตแลนด์ประกอบด้วยทะเลแอตแลนติกเหนือและทะเลเหนือ ซึ่งมีปริมาณน้ำมันสำรองใหญ่สุดในสหภาพยุโรป ทำให้เมืองแอเบอร์ดีน นครใหญ่สุดอันดับสามในสกอตแลนด์ ได้ชื่อว่าเป็นเมืองหลวงน้ำมันของทวีปยุโรป เดิมราชอาณาจักรสกอตแลนด์เป็นประเทศอิสระที่ไม่ขึ้นกับประเทศอังกฤษจนถึง..

ใหม่!!: วิศวกรรมโยธาและประเทศสกอตแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม (ประเทศไทย)

ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมในประเทศไทย เป็นใบอนุญาตให้บุคคลประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ออกโดยสภาวิศวกร เริ่มต้นในประเทศไทยครั้งแรกตามพระราชบัญญัติวิชาชีพวิศวกรรม..

ใหม่!!: วิศวกรรมโยธาและใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม (ประเทศไทย) · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Civil engineeringวิศวกรโยธา

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »