เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

วิศวกรรมกำลังไฟฟ้า

ดัชนี วิศวกรรมกำลังไฟฟ้า

กังหันไอน้ำ ถูกนำมาใช้เพื่อผลิตกำลังไฟฟ้า วิศวกรรมกำลังไฟฟ้า (Power engineering) หรือที่เรียกว่า วิศวกรรมระบบไฟฟ้า เป็นสาขาย่อยของ วิศวกรรมพลังงาน และ วิศวกรรมไฟฟ้า ที่เกี่ยวข้องกับ การผลิตไฟฟ้า, การส่งกำลังไฟฟ้า, การกระจายกำลังไฟฟ้า, การใช้ให้เป็นประโยชน์ (utilization) และอุปกรณ์ไฟฟ้าที่เชื่อมต่อกับระบบดังกล่าวจะรวมถึง เครื่องกำเนิดไฟฟ้า, มอเตอร์ และ หม้อแปลงไฟฟ้า แม้ว่าสาขานี้ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับปัญหาของ ไฟ AC สามเฟส - ซึ่งเป็นมาตรฐานสำหรับการจัดส่งและการจัดจำหน่ายไฟฟ้าขนาดใหญ่ทั่วโลกสมัยใหม่ - ชิ้นส่วนเล็ก ๆ ที่สำคัญของสาขานี้จะเกี่ยวข้องกับการแปลงระหว่าง กำลังไฟ AC และ DC และการพัฒนาระบบกำลังพิเศษเช่นที่ใช้ในยานอากาศหรือสำหรับเครือข่ายไฟฟ้าระบบราง วิศวกรรมกำลังไฟฟ้าดึงส่วนใหญ่ของฐานทฤษฎีของมันจากวิศวกรรมไฟฟ้าและในขณะที่วิศวกรกำลังไฟฟ้าบางคนอาจได้รับการพิจารณาว่าเป็นวิศวกรพลังงาน, วิศวกรพลังงานมักจะไม่มีพื้นหลังทางทฤษฎีของวิศวกรรมไฟฟ้าที่จะเข้าใจวิศวกรรมกำลังไฟฟ้าได้.

สารบัญ

  1. 21 ความสัมพันธ์: พลังงานไฟฟ้ากระแสไฟฟ้ากริด (ไฟฟ้า)มอเตอร์ระบบสายส่งกระแสตรงความดันสูงวิลเลียม กิลเบิร์ตวิศวกรรมไฟฟ้าสวิตช์เกียร์สารกึ่งตัวนำหม้อแปลงไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์กำลังทอมัส เอดิสันตัวเรียงกระแสแรงเคลื่อนไฟฟ้าโวลต์โซลิดสเตตไฟฟ้าไฟฟ้ากระแสสลับไฟฟ้ากระแสตรงไมเคิล ฟาราเดย์เครื่องกำเนิดไฟฟ้า

  2. วิศวกรรมพลังงาน
  3. วิศวกรรมเครื่องกล
  4. วิศวกรรมไฟฟ้า

พลังงานไฟฟ้า

รื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ทำงานได้เพราะกระแสไฟฟ้าเดินทางจากแหล่งกำเนิดผ่านสายไฟหรือลวดตัวนำ มายังหลอดไฟหรือเครื่องใช้ไฟฟ้าก่อนย้อนกลับสู่แหล่งกำเนิดไฟฟ้าครบเป็นวงจร ดังนั้นวงจรไฟฟ้าจึงประกอบด้วยแหล่งกำเนิดไฟฟ้า ลวดตัวนำ และเครื่องใช้ไฟฟ้.

ดู วิศวกรรมกำลังไฟฟ้าและพลังงานไฟฟ้า

กระแสไฟฟ้า

วงจรไฟฟ้าอย่างง่าย โดยที่กระแสถูกแสดงด้วยอักษร ''i'' ความสัมพันธ์ระหว่างแรงดันไฟฟ้า (V), ตัวต้านทาน (R), และกระแส (I) คือ V.

ดู วิศวกรรมกำลังไฟฟ้าและกระแสไฟฟ้า

กริด (ไฟฟ้า)

ผังทั่วไปของเครื่อข่ายไฟฟ้า แรงดันไฟฟ้าและการอธิบายภาพของสายส่งไฟฟ้าเป็นแบบทั่วไปของประเทศเยอรมันและระบบอื่นๆของยุโรป กริดไฟฟ้าหรือ (grid electrical)เป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อกันสำหรับการจ่าย ไฟฟ้าจากผู้ผลิตต่างๆไปยังผู้บริโภค มันประกอบไปด้วยสถานีผลิตพลังงานไฟฟ้า, สายส่งไฟฟ้าแรงสูงที่นำส่งพลังงานจากแหล่งที่ห่างไกลให้กับศูนย์ที่ต้องการใช้และสายกระจายแรงต่ำที่เชื่อมต่อลูกค้าแต่ละราย สถานีผลิตพลังงานอาจจะอยู่ใกล้ แหล่งเชื้อเพลิง, ที่ตั้งเขื่อนหรือการใช้ประโยชน์จากแหล่งพลังงานหมุนเวียน และมักจะตั้งอยู่ห่างจากพื้นที่ที่มีประชากรหนาแน่นมาก พวกมันมักจะค่อนข้างใหญ่เพื่อใช้ประโยชน์จากการประหยัดจากขนาด(economy of scale) พลังงานไฟฟ้าที่ถูกสร้างขึ้นจะถูกแปลงให้มีแรงดันที่สูงขึ้นในระดับแรงดันเดียวกับกับเครือข่ายการส่งเพื่อส่งเข้าไปในสายส่งนั้น เครือข่ายการส่งกำลังจะขนส่งไฟฟ้าระยะทางไกล บางครั้งข้ามเขตแดนระหว่างประเทศจนกระทั่งถึงลูกค้าขายส่งของมัน (โดยปกติจะเป็นบริษัทที่เป็นเจ้าของเครือข่ายการจัดจำหน่ายในพื้นที่) เมื่อมาถึงที่สถานีพลังงานย่อย พลังงานไฟฟ้าจะถูกลดระดับแรงดันไฟฟ้าลงสู่ระดับแรงดันไฟฟ้ากระจาย เมื่อออกจากสถานีย่อย ม้นจะเข้าสู่สายกระจาย ในที่สุดเมื่อมาถึงสถานที่บริการ กำลังจะถูกลดลงอีกครั้งจากแรงดันการกระจายไปเป็นแรงดันไฟฟ้าที่จะให้บริการที่จำเป็น.

ดู วิศวกรรมกำลังไฟฟ้าและกริด (ไฟฟ้า)

มอเตอร์

การทำงานของมอเตอร์ กระแสไฟฟ้าที่ป้อนเข้าในขดลวดที่พันรอบเหล็กอ่อนบนแกนหมุน(โรเตอร์) ทำให้เกิดอำนาจแม่เหล็กไปดูดหรือผลักกับอำนาจแม่เหล็กถาวรบนตัวนิ่ง(สเตเตอร์) หรือป้อนกลับกัน หรือป้อนทั้งสองที่ มอเตอร์ไฟฟ้าแบบต่างๆเมื่อเทียบกับแบตเตอรี 9V.

ดู วิศวกรรมกำลังไฟฟ้าและมอเตอร์

ระบบสายส่งกระแสตรงความดันสูง

ง HVDC ระยะไกล เพื่อส่งไฟฟ้าพลังน้ำจากแม่น้ำเนลสันของคานาดา มายังสถานีที่เห็นนี้ เพื่อเปลี่ยนให้เป็นไฟ AC ป้อนให้กริดสำหรับเมืองมานิโตบา ระบบสายส่งกระแสตรงความดันสูง (High Voltage Direct Current Transmission System: HVDC) ใช้กระแสตรงในการส่งพลังงานไฟฟ้า ซึ่งตรงกันข้ามกับระบบการส่งด้วยกระแสสลับที่ใช้กันอยู่ทั่วไป สำหรับการส่งทางไกลระบบ HVDC อาจจะถูกกว่าและประสบความสูญเสียไฟฟ้าน้อยกว่า แต่ยังเป็นเทคโนโลยีเฉพาะของแต่ละผู้ผลิตอยู่ สำหรับเคเบิ้ลใต้น้ำ HVDC หลีกเลี่ยงการใช้กระแสสูงที่จำเป็นในการ chargeและ discharge ตัว capacitor ของสายเคเบิลในแต่ละรอบคลื่น สำหรับระยะทางที่สั้นๆ อุปกรณ์แปลงไฟ DC มีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่าเมื่อเทียบกับระบบ AC แต่อาจยังคงพอรับได้เนื่องจากประโยชน์หลายๆอย่างของระบบ DC ในการเชื่อมโยงหลายระบบเข้าด้วยกัน Proposed HVDC ยอมให้ทำการส่งกำลังระหว่างระบบไฟฟ้า AC สองระบบที่ต่างกันได้ และสามารถขจัดสาเหตุหนึ่งของความล้มเหลวที่กริด, HVDC ยังยอมให้ทำการถ่ายโอนกำลังไฟระหว่างระบบที่มีความถี่แตกต่างกันได้ เช่นความถี่ 50 Hz กับ 60 Hz ความสัมพันธ์ดังกล่าวช่วยปรับปรุงเสถียรภาพของแต่ละกริด เนื่องจากทำให้สามารถดึงเอากำลังจากอีกระบบหนึ่งมาใช้ในคราวจำเป็นได้ รูปแบบใหม่ของการส่งด้วย HVDC ใช้เทคโนโลยีที่พัฒนาอย่างกว้างขวางในช่วงทศวรรษที่ 1930 ในประเทศสวีเดน (ASEA) และในประเทศเยอรมนี การติดตั้งในเชิงพาณิชย์ในช่วงต้นรวมถึงในสหภาพโซเวียตในปี ค.ศ.1951 ระหว่างมอสโกและ Kashira และ ระบบ 100 กิโลโวลต์, 20 MW ระหว่าง Gotland กับสวีเดนในปี ค.ศ.1954 การเชื่อมโยง HVDC ที่ยาวที่สุดในโลกในปัจจุบันคือ Xiangjiaba-เซี่ยงไฮ้ ระยะทาง 2,071 กิโลเมตร (1,287 ไมล์) เป็นระบบ± 800 kV 6400 เมกะวัตต์ ช่วงต้นปี ค.ศ.2013 การเชื่อมโยง HVDC ที่ยาวที่สุดจะเป็นที่ ริโอเดราในประเทศบราซิล ซึ่งประกอบด้วยสอง bipoles ของ± 600 กิโลโวลต์ 3,150 เมกะวัตต์เชื่อมต่อระหว่าง Porto Velho ในรัฐ Rondôniaไปยังพื้นที่ São เปาโล ด้วยความยาวของสาย DC มากกว่า 2,500 กิโลเมตร (1,600 ไมล์) ในประเทศไทย ได้การเชื่อมโยงกับประเทศมาเลเซีย ด้วยไฟฟ้ากระแสตรงแรงดันสูง ระหว่างสถานีไฟฟ้าแรงสูงคลองแงะ จังหวัดสงขลา กับสถานีกูรุน ประเทศมาเลเซีย ด้วยแรงดัน 300 KV.

ดู วิศวกรรมกำลังไฟฟ้าและระบบสายส่งกระแสตรงความดันสูง

วิลเลียม กิลเบิร์ต

วิลเลียม กิลเบิร์ต วิลเลียม กิลเบิร์ต (William Gilbert) เกิดเมื่อ 24 พฤษภาคม ค.ศ. 1544 โคลเชสเตอร์ ในอังกฤษ และถึงแก่กรรมเมื่อ 30 พฤศจิกายน ค.ศ.

ดู วิศวกรรมกำลังไฟฟ้าและวิลเลียม กิลเบิร์ต

วิศวกรรมไฟฟ้า

วิศวกรรมไฟฟ้า (Electrical Engineering) เป็นสาขาที่ศึกษาทฤษฏีและการประยุกต์ใช้ ไฟฟ้า, คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ผู้ที่ประกอบวิชาชีพในสาขานี้เรียกว่า วิศวกรไฟฟ้า สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าเป็นสาขาที่กว้างประกอบไปด้วยหลายสาขาย่อ.

ดู วิศวกรรมกำลังไฟฟ้าและวิศวกรรมไฟฟ้า

สวิตช์เกียร์

วิตช์เกียร์ไฟฟ้าแรงสูง ส่วนหนึ่งของแผงหน้าปัดสวิตช์เกียร์ขนาดใหญ่ที่ใช้ในการควบคุมการผลิตไฟฟ้าบนเรือคาสิโน สวิตช์เกียร์รถราง ตัวตัดวงจรนี้ใช้ทั้ง SF6 และอากาศเป็นฉนวนไฟฟ้า ในระบบพลังงานไฟฟ้า, สวิตช์เกียร์ (switchgear) คือการร่วมกันทำงานของสวิตช์ตัดต่อ (disconnecting switch) ฟิวส์ (fuse) หรือตัวตัดวงจร (circuit breaker) ไฟฟ้าเพื่อใช้ในการควบคุม ป้องกันและแยกอุปกรณ์ไฟฟ้าออกจากระบบ สวิตช์เกียร์จะถูกนำมาใช้ทั้งเพื่อตัดไฟออกจากอุปกรณ์เพื่อความสะดวกในระหว่างการทำงาน และเพื่อล้างความผิดพลาดที่ปลายทาง อุปกรณ์ประเภทนี้เกี่ยวข้องโดยตรงกับความน่าเชื่อถือของแหล่งจ่ายไฟฟ้า สวิทช์แบบมีดเปิด โรงไฟฟ้าส่วนกลางรุ่นใหม่สุดจะใช้ สวิทช์แบบมีดเปิด ธรรมดา ติดตั้งอยู่บนแผ่นฉนวนทำด้วยหินอ่อนหรือใยหิน ระดับพลังงานและแรงดันไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจะทำให้สวิตช์ที่เปิดปิดด้วยมืออันตรายเกินไป อุปกรณ์ที่บรรจุด้วยน้ำมันจะจำกัดพลังงานที่เป็นประกายไฟอาร์คและควบคุมให้ปลอดภัย ในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 แถวของสวิตช์เกียร์จะเป็นโครงสร้างที่ล้อมรอบด้วยโลหะที่มีชิ้นส่วนสวิตชิ่งที่ทำงานด้วยไฟฟ้า โดยใช้ตัวตัดวงจรที่ใช้น้ำมัน วันนี้อุปกรณ์ที่บรรจุด้วยน้ำมันได้ถูกแทนที่เป็นส่วนใหญ่ด้วยอุปกรณ์ระเบิดอากาศหรือสูญญากาศหรือ SF6 ทำให้กระแสและระดับพลังงานขนาดใหญ่สามารถที่จะควบคุมได้อย่างปลอดภัยโดยอุปกรณ์อัตโนมัติ สวิตช์เกียร์ไฟฟ้าแรงสูงถูกคิดค้นขึ้นในตอนปลายของศตวรรษที่ 19 สำหรับการดำเนินงานของมอเตอร์ไฟฟ้าและเครื่องไฟฟ้าอื่น ๆ เทคโนโลยีได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้นเมื่อเวลาผ่านไปและตอนนี้สามารถใช้ได้กับแรงดันไฟฟ้าสูงถึง 1,100 กิโลโวลต์Lin Jiming et al., Transient characteristics of 1 100 kV circuit-breakers, International Symposium on International Standards for Ultra High Voltage, Beijing, Juillet 2007.

ดู วิศวกรรมกำลังไฟฟ้าและสวิตช์เกียร์

สารกึ่งตัวนำ

รกึ่งตัวนำ (semiconductor) คือ วัสดุที่มีคุณสมบัติในการนำไฟฟ้าอยู่ระหว่างตัวนำและฉนวน เป็นวัสดุที่ใช้ทำอุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์ มักมีตัวประกอบของ germanium, selenium, silicon วัสดุเนื้อแข็งผลึกพวกหนึ่งที่มีสมบัติเป็นตัวนำ หรือสื่อไฟฟ้าก้ำกึ่งระหว่างโลหะกับอโลหะหรือฉนวน ความเป็นตัวนำไฟฟ้าขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ และสิ่งไม่บริสุทธิ์ที่มีเจือปนอยู่ในวัสดุพวกนี้ ซึ่งอาจเป็นธาตุหรือสารประกอบก็มี เช่น ธาตุเจอร์เมเนียม ซิลิคอน ซีลีเนียม และตะกั่วเทลลูไรด์ เป็นต้น วัสดุกึ่งตัวนำพวกนี้มีความต้านทานไฟฟ้าลดลงเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น ซึ่งเป็นลักษณะตรงข้ามกับโลหะทั้งปวง ที่อุณหภูมิ ศูนย์ เคลวิน วัสดุพวกนี้จะไม่ยอมให้ไฟฟ้าไหลผ่านเลย เพราะเนื้อวัสดุเป็นผลึกโควาเลนต์ ซึ่งอิเล็กตรอนทั้งหลายจะถูกตรึงอยู่ในพันธะโควาเลนต์หมด (พันธะที่หยึดเหนี่ยวระหว่างอะตอม) แต่ในอุณหภูมิธรรมดา อิเล็กตรอนบางส่วนมีพลังงาน เนื่องจากความร้อนมากพอที่จะหลุดไปจากพันธะ ทำให้เกิดที่ว่างขึ้น อิเล็กตรอนที่หลุดออกมาเป็นสาเหตุให้สารกึ่งตัวนำ นำไฟฟ้าได้เมื่อมีมีสนามไฟฟ้ามาต่อเข้ากับสารนี้ สารกึ่งตัวนำไม่บริสุทธิ์ เป็นสารที่เกิดขึ้นจากการเติมสารเจือปนลงไปในสารกึ่งตัวนำแท้ เช่น ซิลิกอน หรือเยอรมันเนียม เพื่อให้ได้สารกึ่งตัวนำที่มีสภาพการนำไฟฟ้าที่ดีขึ้น สารกึ่งตัวนำไม่บริสุทธิ์นี้แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ สารกึ่งตัวนำประเภทเอ็น (N-Type) และสารกึ่งตัวนำประเภทพี (P-Type).

ดู วิศวกรรมกำลังไฟฟ้าและสารกึ่งตัวนำ

หม้อแปลงไฟฟ้า

รงสร้างหลักของแม่เหล็กไฟฟ้า หม้อแปลง หรือหม้อแปลงไฟฟ้า (transformer) เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้า ที่ใช้ในการส่งผ่านพลังงานจากวงจรไฟฟ้าหนึ่งไปยังอีกวงจรโดยอาศัยหลักการของแม่เหล็กไฟฟ้า โดยปกติจะใช้เชื่อมโยงระหว่างระบบไฟฟ้าแรงสูง และไฟฟ้าแรงต่ำ หม้อแปลงเป็นอุปกรณ์หลักในระบบส่งกำลังไฟฟ้.

ดู วิศวกรรมกำลังไฟฟ้าและหม้อแปลงไฟฟ้า

อิเล็กทรอนิกส์กำลัง

high voltage DC (HVDC)) ในห้องโถงที่ Baltic Cable AB ในสวีเดน อิเล็กทรอนิกส์กำลัง (Power Electronics) เป็นการนำอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ โซลิดสเตต ไปใช้ในการควบคุมและการแปลงพลังงานไฟฟ้า นอกจากนี้ยังหมายถึงหัวข้อของการวิจัยในสาขาวิศวกรรมไฟฟ้าและวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบ, การควบคุม, การใช้คอมพิวเตอร์, และการบูรณาการของระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในการประมวลพลังงานตามเวลาที่เปลี่ยนแบบ ไม่เชิงเส้น ด้วยไดนามิกของความเร็ว.

ดู วิศวกรรมกำลังไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์กำลัง

ทอมัส เอดิสัน

''A Day with Thomas Edison'' (1922) ทอมัส แอลวา เอดิสัน (Thomas Alva Edison) เป็นนักประดิษฐ์และนักธุรกิจชาวอเมริกัน ผู้ซึ่งประดิษฐ์อุปกรณ์ที่สำคัญต่าง ๆ มากมาย ได้ฉายา "พ่อมดแห่งเมนโลพาร์ก" เป็นหนึ่งในผู้ริเริ่มนำหลักการของ การผลิตจำนวนมาก และ กระบวนการประดิษฐ์ มาประยุกต์รวมกัน ทอมัส เอดิสัน มักจะถูกเข้าใจผิดว่าเป็นผู้คิดค้นหลอดไฟ แต่ในความเป็นจริงเขาเป็นบุคคลแรกที่จดสิทธิบัตรในการประดิษฐ์หลอดไฟจากนักวิทยาศาสตร์กว่า 20 คนที่คิดค้นหลอดไฟ และสามารถนำมาทำเป็นธุรกิจได้ เอดิสันยังคงเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งบริษัทเจเนอรัลอิเล็กทริก (General Electric) บริษัทเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดใหญ่ของโลก และก่อตั้งอีกหลายบริษัทในด้านไฟฟ้า หนึ่งในบริษัทของเอดิสันยังเป็นผู้คิดค้นเก้าอี้ไฟฟ้าสำหรับประหารชีวิตนักโทษอีกด้วย เอดิสันยังคงเป็นบุคคลสำคัญในสงครามกระแสไฟฟ้า (War of Currents) โดยเอดิสันพยายามผลักดันระบบไฟฟ้ากระแสตรงของบริษัท แข่งกับระบบไฟฟ้ากระแสสลับของจอร์จ เวสติงเฮาส์ (George Westinghouse) โดยพนักงานในบริษัทของเขาได้โฆษณาชวนเชื่อความอันตรายของไฟฟ้ากระแสสลับโดยการฆ่าหมาแมวเป็นจำนวนหลายตัว.

ดู วิศวกรรมกำลังไฟฟ้าและทอมัส เอดิสัน

ตัวเรียงกระแส

ตัวเรียงกระแส (Rectifier) เป็นชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่เปลี่ยนไฟฟ้ากระแสสลับให้เป็นไฟฟ้ากระแสตรง.

ดู วิศวกรรมกำลังไฟฟ้าและตัวเรียงกระแส

แรงเคลื่อนไฟฟ้า

แรงเคลื่อนไฟฟ้า (Electromotive force) หรือที่เรียกว่า emf (สัญญลักษณ์ \mathcal และมีค่าเป็นโวลต์) เป็นแรงดันไฟฟ้าที่พัฒนาขึ้นมาจากแหล่งที่มาของพลังงานไฟฟ้าใด ๆ เช่นแบตเตอรี่หรือเครื่องกำเนิดไฟฟ้า โดยทั่วไปมันจะถูกกำหนดให้เป็นศักย์ไฟฟ้าสำหรับแหล่งจ่ายไฟในวงจร อุปกรณ์ที่จ่ายพลังงานไฟฟ้าจะถูกเรียกว่าแปลงแรงเคลื่อนไฟฟ้า (bed of emf) หรือ emf.

ดู วิศวกรรมกำลังไฟฟ้าและแรงเคลื่อนไฟฟ้า

โวลต์

วลต์ (สัญลักษณ์: V) คือหน่วยอนุพันธ์ในระบบเอสไอของความต่างศักย์ไฟฟ้า ปริมาณที่กำกับด้วยหน่วยโวลต์นั้นคือผลการวัดความเข้มของแหล่งจ่ายไฟฟ้าในแง่ที่ว่าจะสร้างพลังงานได้เท่าใดที่ระดับกระแสค่าหนึ่ง ๆ โวลต์ซึ่งเป็นชื่อของหน่วยนี้ตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติให้แก่ อาเลสซันโดร วอลตา (พ.ศ.

ดู วิศวกรรมกำลังไฟฟ้าและโวลต์

โซลิดสเตต

โซลิดสเตต (solid state) เป็นคำศัพท์ในทางอิเล็กทรอนิกส์ หมายถึงวงจรที่ไม่มีหลอดสุญญากาศนั่นเอง คำนี้มีการใช้เพื่อบรรยายการเปลี่ยนจากแอมปลิไฟร์ที่ใช้หลอดสุญญากาศ มาเป็นแอมปลิไฟร์แบบที่ใช้ทรานซิสเตอร์ ความหมายตามตัวอักษรของ "โซลิดสเตต" ก็คือ สภาพของแข็ง ซึ่งหมายความว่า อิเล็กตรอนจะไหลผ่านสารกึ่งตัวนำที่เป็นของแข็ง ได้แก่ วัสดุจำพวกเยอรมาเนียม (Ge) และซิลิกอน (Si) เป็นต้น โดยจะไม่ไหลผ่านที่ว่าง เช่น ในหลอดสุญญากาศ อุปกรณ์โซลิดสเตตนั้นมีอายุยืนยาว กว่าอุปกรณ์พวกที่มีความร้อน ทั้งนี้เพราะมีความทนทานต่อการสั่นสะเอน การกระชาก และการสึกกร่อนเชิงกลมากกว่าหลายเท่าตัว เมื่อการใช้หลอดสุญญากาศในเครื่องใช้ไฟฟ้าน้อยลง (ยกเว้นการใช้หลอด CRT ซึ่งยังคงใช้งานแพร่หลายเป็นหลอดภาพของโทรทัศน์ และจอคอมพิวเตอร์) คำว่า "โซลิดสเตต" จึงนิยมใช้มากขึ้น ในความหมายว่า "ไม่มีส่วนเคลื่อนไหว" ตัวอย่างเช่น เครื่องเล่นเสียงดิจิตอล ที่บันทึกเพลงไว้ในหน่วยความจำแบบแฟลช ก็มักจะเรียกว่า โซลิดสเตต ทั้งนี้เพื่อแยกแยะความแตกต่างจากเครื่องเล่นประเภทฮาร์ดดิสก์ อุปกรณ์โซลิดสเตตแบบนี้ มีความทนทานและต้านทานต่อการสั่นสะเทือนได้ดีเช่นเดียวกัน หมวดหมู่:สารกึ่งตัวนำ หมวดหมู่:อิเล็กทรอนิกส์.

ดู วิศวกรรมกำลังไฟฟ้าและโซลิดสเตต

ไฟฟ้า

ฟฟ้า (ήλεκτρον; electricity) เป็นชุดของปรากฏการณ์ทางฟิสิกส์ มีที่มาจากภาษากรีกซึ่งในสมัยนั้นหมายถึงผลจากสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติเนื่องจากการปรากฏตัวและการไหลของประจุไฟฟ้า เช่นฟ้าผ่า, ไฟฟ้าสถิต, การเหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้าและกระแสไฟฟ้า นอกจากนี้ ไฟฟ้ายังทำให้เกิดการผลิตและการรับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เช่นคลื่นวิทยุ พูดถึงไฟฟ้า ประจุจะผลิตสนามแม่เหล็กไฟฟ้าซึ่งจะกระทำกับประจุอื่น ๆ ไฟฟ้าเกิดขึ้นได้เนื่องจากหลายชนิดของฟิสิกซ์ดังต่อไปนี้.

ดู วิศวกรรมกำลังไฟฟ้าและไฟฟ้า

ไฟฟ้ากระแสสลับ

แสดงความแตกต่างระหว่างไฟฟ้ากระแสตรงและไฟฟ้ากระแสสลับ กระแสตรงอาจเป็นบวกหรือลบก็ได้อย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่ไปก็กลับ แต่กระแสสลับ วิ่งไปวิ่งกลับตลอดเวลา จำนวนรอบของไทยคือ 50 รอบต่อวินาที หรือ 50 Hz ไฟฟ้ากระแสสลับ (Alternating Current Electricity: AC หรือ ac) หมายถึงกระแสที่มีทิศทางไปและกลับตลอดระยะเวลา มีการสลับขั้วบวกและลบกันอยู่ตลอดเวลา ไม่เหมือนกระแสตรง (Direct Current, DC หรือ dc) ที่ไฟฟ้าจะไหลไปในทิศทางเดียวและไม่ไหลกลับ เช่น ไฟฟ้าที่ได้จากถ่านไฟฉาย แบตเตอรี่ของรถยนต์ เป็นต้น ไฟฟ้ากระแสสลับจึงเป็นไฟฟ้าที่เหมาะสำหรับบ้านเรือนหรือธุรกิจอุตสาหกรรมที่ใช้ไฟฟ้าปริมาณมากๆ รูปคลื่นเป็น sine wave ในบางกรณี รูปคลื่นอาจเป็นสามเหลี่ยมหรือสี่เหลี่ยม ภาพจำลองการส่งคลื่น AC จาก generator ซึ่งส่งพลังงานกลับทิศทางตลอดเวล.

ดู วิศวกรรมกำลังไฟฟ้าและไฟฟ้ากระแสสลับ

ไฟฟ้ากระแสตรง

ัญลักษณ์แทนไฟฟ้ากระแสตรง พบได้บนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หลายชนิดที่ผลิตหรือต้องการไฟฟ้ากระแสตรง ไฟฟ้ากระแสตรง (direct) แสดงเป็นเส้นตรงสีแดง แกนตั้งคือปริมาณกระแส (i) หรือความต่างศักย์ (v) และแกนนอนคือเวลา (t)pulsating — ไฟฟ้ากระแสตรงชนิดเป็นจังหวะvariable — ไฟฟ้ากระแสแปรผันalternating — ไฟฟ้ากระแสสลับ ไฟฟ้ากระแสตรงชนิดต่าง ๆ(บน) ชนิดสมบูรณ์(กลางและล่าง) ชนิดเป็นจังหวะเกิดจากการเรียงกระแส ไฟฟ้ากระแสตรง (direct current, อักษรย่อ: DC) เป็นไฟฟ้ากระแสที่มีทิศทางการเคลื่อนที่ของกระแสไฟฟ้าไปในทิศทางเดียวกันเป็นวงจร ในอดีตไฟฟ้ากระแสตรงเคยถูกเรียกว่า กระแสกัลวานิก (galvanic current) อุปกรณ์ที่สามารถผลิตไฟฟ้ากระแสตรงได้ เช่น เซลล์แสงอาทิตย์ แบตเตอรี่ ทั้งชนิดประจุไฟฟ้าใหม่ได้และชนิดใช้แล้วทิ้ง และเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสตรง ไฟฟ้ากระแสตรงสามารถไหลผ่านตัวนำไฟฟ้า เช่น สายไฟ สารกึ่งตัวนำ ฉนวนไฟฟ้า หรือแม้กระทั่งเคลื่อนที่ในภาวะสุญญากาศในรูปของลำอิเล็กตรอนหรือลำไอออน เราสามารถใช้ตัวเรียงกระแส เปลี่ยนไฟฟ้ากระแสสลับให้เป็นไฟฟ้ากระแสตรงได้ โดยส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ภายในตัวเรียงกระแสจะบังคับให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านได้ในทิศทางเดียว นอกจากนี้ยังสามารถเปลี่ยนไฟฟ้ากระแสตรงเป็นไฟฟ้ากระแสสลับได้โดยใช้อินเวอร์เตอร์หรือชุดไดนามอเตอร์ เครื่องมือวัดทางไฟฟ้าประเภทที่หนึ่งคือ -แอมมิเตอร์ โวลต์มิเตอร์ และโอห์มมิเตอร์ เป็นเครื่องวัดทางไฟฟ้า เพื่อใช้วัดปริมาณต่างๆ ทางไฟฟ้าเครื่องวัดทางไฟฟ้าต่างๆนี้สามารถสร้างขึ้นโดยดัดแปลงมาจาก แกลแวนอมิเตอร์ (Galvanometer) ชนิดขดลวดเคลื่อนที่ ซึ่งประกอบด้วยขดลวดวางระหว่างขั้วแม่เหล็กและประเภทที่สองคือ-แกลแวนอมิเตอร์ (Galvanometer) คือ เครื่องมือวัดพื้นฐานทางไฟฟ้าที่สามารถวัดได้ทั้งกระแสไฟฟ้าและความต่างศักย์ไฟฟ้า แต่จะวัดได้ปริมาณน้อยๆ ดังนั้นจึงนิยมนำไปดัดแปลงใช้วัดกระแสไฟฟ้าความต่างศักย์ไฟฟ้าและความต้านทาน.

ดู วิศวกรรมกำลังไฟฟ้าและไฟฟ้ากระแสตรง

ไมเคิล ฟาราเดย์

มเคิล ฟาราเดย์ (22 กันยายน ค.ศ. 1791 – 25 สิงหาคม ค.ศ. 1867) เป็นนักเคมีและนักฟิสิกส์ ชาวอังกฤษ เป็นผู้คิดค้นไดนาโมในปี..

ดู วิศวกรรมกำลังไฟฟ้าและไมเคิล ฟาราเดย์

เครื่องกำเนิดไฟฟ้า

รื่องกำเนิดไฟฟ้าแบบกังหันไอน้ำที่ทันสมัยของสหรัฐฯ เครื่องกำเนิดไฟฟ้า หรือ เครื่องปั่นไฟ (electric generator) คืออุปกรณ์ที่แปลงพลังงานกลเป็นพลังงานไฟฟ้า อุปกรณ์ดังกล่าวจะบังคับกระแสไฟฟ้าให้ไหลผ่านวงจรภายนอก แหล่งที่มาของพลังงานกลอาจจะเป็นลูกสูบหรือเครื่องยนต์กังหันไอน้ำ หรือแรงน้ำตกผ่านกังหันน้ำหรือล้อน้ำ หรือเครื่องยนต์สันดาปภายใน หรือกังหันลม หรือข้อเหวี่ยงมือ หรืออากาศอัด หรือแหล่งพลังงานกลอื่นๆ โดยเครื่องกำเนิดไฟฟ้านั้นจะเป็นวิธีหลักที่ใช้ในการกำเนิดไฟฟ้าเพื่อจ่ายเข้าโครงข่ายพลังงานไฟฟ้าของประเทศ เครื่องกำเนิดไฟฟ้าของ Ganz รุ่นแรกๆใน Zwevegem, West Flanders, Belgium การแปลงย้อนกลับของพลังงานไฟฟ้ากลับไปเป็นพลังงานกลจะกระทำโดยมอเตอร์ไฟฟ้า มอเตอร์และเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่มีความคล้ายคลึงกันมาก มอเตอร์หลายตัวสามารถขับเคลื่อนเครื่องจักรเพื่อผลิตไฟฟ้าและบ่อยครั้งที่ได้รับการยอมรับให้เป็นเครื่องกำเนิดไฟฟ้า alternator ในช่วงต้นของศตวรรษที่ 20 ในห้องโถงของสถานีผลิตไฟฟ้ากำลังน้ำ ทำในบูดาเปสท์ประเทศฮังการี.

ดู วิศวกรรมกำลังไฟฟ้าและเครื่องกำเนิดไฟฟ้า

ดูเพิ่มเติม

วิศวกรรมพลังงาน

วิศวกรรมเครื่องกล

วิศวกรรมไฟฟ้า