โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

วิวัฒนาการของคอเคลียและเธอเรีย

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง วิวัฒนาการของคอเคลียและเธอเรีย

วิวัฒนาการของคอเคลีย vs. เธอเรีย

ำว่า คอเคลีย มาจากคำภาษาละตินที่แปลว่า "หอยโข่ง/หอยทาก, เปลือก, หรือเกลียว" ซึ่งก็มาจากคำกรีก คือ kohlias ส่วนคำปัจจุบันที่หมายถึง หูชั้นในรูปหอยโข่ง พึ่งเริ่มใช้ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 คอเคลียของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจะมีอวัยวะของคอร์ติ ซึ่งมีเซลล์ขนที่แปลแรงสั่นที่วิ่งไปในน้ำที่ล้อมรอบ ให้เป็นกระแสไฟฟ้าที่ส่งไปยังสมองเพื่อประมวลเสียง ส่วนอวัยวะที่มีรูปเป็นหอยโข่งประมาณว่าเกิดในต้นยุคครีเทเชียสราว ๆ 120 ล้านปีก่อน นอกจากนั้นแล้ว เส้นประสาทที่วิ่งไปยังคอเคลียก็เกิดในยุคครีเทเชียสเหมือนกัน วิวัฒนาการของคอเคลียในมนุษย์เป็นเรื่องสำคัญทางวิทยาศาสตร์เพราะว่าดำรงเป็นหลักฐานได้ดีในซากดึกดำบรรพ์ ในศตวรรษที่ผ่านมา ทั้งนักวิทยาศาสตร์ นักชีววิทยาเชิงวิวัฒนาการ และนักบรรพชีวินวิทยา ได้พยายามพัฒนาเทคนิคใหม่ ๆ เพื่อข้ามอุปสรรคในการทำงานกับวัตถุโบราณที่บอบบาง ในอดีต นักวิทยาศาสตร์จำกัดมากในการตรวจดูตัวอย่างโดยไม่ทำให้เสียหาย แต่ในปัจจุบัน เทคโนโลยีต่าง ๆ เช่น การถ่ายภาพรังสีส่วนตัดอาศัยคอมพิวเตอร์ระดับไมโคร (micro-CT scanning) ช่วยให้สามารถแยกแยะซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์จากซากตกตะกอนอื่น ๆ และเทคโนโลยีรังสีเอกซ์ ก็ช่วยให้ตรวจสมรรถภาพการได้ยินของสัตว์ที่สูญพันธุ์ไปแล้วได้ และช่วยสร้างความรู้ใหม่ ๆ เกี่ยวกับทั้งบรรพบุรุษมนุษย์และสัตว์อื่น ๆ ที่อยู่ในช่วงเวลาเดียวกัน. อเรีย (Theria) เป็นชั้นย่อยของชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ประกอบไปด้วยยูเธอเรีย (รวมทั้งสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่ตัวอ่อนอยู่ในมดลูก) และเมทาเธอเรีย (รวมถึงมาร์ซูเปียล) สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับย่อยเธอเรียให้กำเนิดลูกเป็นตัว อาจจะเป็นผลมาจากโปรตีนที่ชื่อ ซินไซทิน ซึ่งทำให้มีการแลกเปลี่ยนสารอาหารระหว่างแม่และตัวอ่อนผ่านทางรก ฟอสซิลเธอเรียที่เก่าแก่ที่สุด คือ Juramaia ซึ่งมีชีวิตอยู่ในช่วงกลางยุคจูแรสซิก บริเวณประเทศจีน แต่ข้อมูลทางโมเลกุลบอกว่าเธอเรียอาจจะวิวัฒนาการมาก่อนหน้านั้น ประมาณช่วงต้นยุคจูแรสซิก.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง วิวัฒนาการของคอเคลียและเธอเรีย

วิวัฒนาการของคอเคลียและเธอเรีย มี 3 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): สัตว์สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมอันดับสัตว์มีกระเป๋าหน้าท้อง

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

วิวัฒนาการของคอเคลียและสัตว์ · สัตว์และเธอเรีย · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม

ัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม (Mammalia) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง โดยคำว่า Mammalia มาจากคำว่า Mamma ที่มีความหมายว่า "หน้าอก" เป็นกลุ่มของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ที่มีการวิวัฒนาการและพัฒนาร่างกายที่ดีหลากหลายประการ รวมทั้งมีระบบประสาทที่เจริญก้าวหน้า สามารถดำรงชีวิตได้ในทุกสภาพสิ่งแวดล้อมสัตววิทยา (สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม), บพิธ-นันทพร จารุพันธุ์, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2547, หน้า 411 มีขนาดของร่างกายและรูปพรรณสัณฐานที่แตกต่างกันออกไป รวมถึงการทำงานของระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย ที่มีการปรับเปลี่ยนไปตามลักษณะของสายพันธุ์ มีลักษณะเด่นคือมีต่อมน้ำนมที่มีเฉพาะในเพศเมียเท่านั้น เพื่อผลิตน้ำนมเพื่อใช้เลี้ยงลูกวัยแรกเกิด เป็นสัตว์เลือดอุ่น มีขนเป็นเส้น ๆ (hair) หรือขนอ่อน (fur) ปกคลุมทั่วทั้งร่างกาย เพื่อเป็นการรักษาอุณหภูมิในร่างกาย ยกเว้นสัตว์น้ำที่ไม่มีขน สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ไม่จัดอยู่ในประเภทสัตว์กลุ่มใหญ่ คือมีจำนวนประชากรประมาณ 4,500 ชนิด ซึ่งถือว่าเป็นปริมาณน้อยมากเมื่อเทียบกับนก ที่มีประมาณ 9,200 ชนิด และปลาอีกประมาณ 20,000 ชนิด รวมทั้งแมลงอีกประมาณ 800,000 ชนิด ส่วนใหญ่เป็นสัตว์บก เช่น สุนัข ช้าง ลิง เสือ สิงโต จิงโจ้ เม่น หนู ฯลฯ สำหรับสัตว์น้ำที่จัดเป็นเลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ได้แก่ โลมา วาฬ มานาทีและพะยูน แต่สำหรับสัตว์ปีกประเภทเดียวที่เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมคือค้างคาว ซึ่งกระรอกบินและบ่างนั้น ไม่จัดอยู่ในประเภทของสัตว์ปีก เนื่องจากใช้ปีกในการร่อนไปได้เพียงแค่ระยะหนึ่งเท่านั้น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมส่วนใหญ่ออกลูกเป็นตัว ยกเว้นตุ่นปากเป็ดและอีคิดนาเท่านั้นที่ออกลูกเป็น.

วิวัฒนาการของคอเคลียและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม · สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมและเธอเรีย · ดูเพิ่มเติม »

อันดับสัตว์มีกระเป๋าหน้าท้อง

ัตว์มีกระเป๋าหน้าท้อง หรือ สัตว์มีถุงหน้าท้อง (อันดับ: Marsupialia; Marsupial) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับหนึ่ง ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็นอันดับต่าง ๆ ได้อีกจำนวนหนึ่ง (ดูในตาราง) สัตว์ในอันดับนี้ มีความแตกต่างและหลากหลายในแง่ของรูปร่าง ลักษณะ และขนาดเป็นอย่างมาก แต่มีลักษณะเด่นที่มีความเหมือนกันประการหนึ่ง คือ จะออกลูกเป็นตัว โดยตัวเมียมีถุงหน้าท้อง ตัวอ่อนของสัตว์ในอันดับนี้เจริญเติบโตในมดลูกในช่วงระยะเวลาสั้น มีสะดือและสายรกด้วย แล้วจะคลานย้ายมาอยู่ในถุงหน้าท้องดูดกินนมจากแม่ ก่อนจะเจริญเติบโตในถุงหน้าท้องหรือกระเป๋าหน้าท้องนี้จนโต บางครั้งเมื่อยังโตไม่เต็มที่ จะเข้า-ออกระหว่างข้างออกกับกระเป๋าหน้าท้องเป็นปกติ ซึ่งสัตว์ในอันดับนี้ที่เป็นที่รู้จักดี ได้แก่ จิงโจ้, โคอาลา, โอพอสซัม, ชูการ์ไกลเดอร์, วอมแบต, แทสเมเนียนเดวิล เป็นต้น ซึ่งสัตว์ในอันดับนี้ล้วนแต่จะพบเฉพาะในทวีปออสเตรเลียและบางส่วนของนิวกินี และพบในบางส่วนของทวีปอเมริกา ทั้งอเมริกาเหนือ, อเมริกากลาง และอเมริกาใต้ หลายชนิดก็สูญพันธุ์ไปแล้ว เช่น หมาป่าแทสมาเนีย (Thylacinus cynocephalus) หรือไดโปรโตดอน (Diprotodon spp.) เป็นต้น โดยคำว่า Marsupialia นั้นมาจากภาษาละติน แปลว่า "กระเป๋า หรือ ถุง".

วิวัฒนาการของคอเคลียและอันดับสัตว์มีกระเป๋าหน้าท้อง · อันดับสัตว์มีกระเป๋าหน้าท้องและเธอเรีย · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง วิวัฒนาการของคอเคลียและเธอเรีย

วิวัฒนาการของคอเคลีย มี 68 ความสัมพันธ์ขณะที่ เธอเรีย มี 7 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 3, ดัชนี Jaccard คือ 4.00% = 3 / (68 + 7)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง วิวัฒนาการของคอเคลียและเธอเรีย หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »