เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

วิลเลียม กิลเบิร์ตและแม่เหล็ก

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง วิลเลียม กิลเบิร์ตและแม่เหล็ก

วิลเลียม กิลเบิร์ต vs. แม่เหล็ก

วิลเลียม กิลเบิร์ต วิลเลียม กิลเบิร์ต (William Gilbert) เกิดเมื่อ 24 พฤษภาคม ค.ศ. 1544 โคลเชสเตอร์ ในอังกฤษ และถึงแก่กรรมเมื่อ 30 พฤศจิกายน ค.ศ. 1603 (อาจจะในลอนดอน) เป็นหมอหลวงประจำพระราชินี อะลิซาเบธที่ 1 และพระเจ้าเจมส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ ทั้งยังเป็นนักดาราศาสตร์และนักค้นคว้าวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ เกี่ยวกับแม่เหล็กและไฟฟ้า ที่สำคัญคือ เขาเป็นคนค้นคิดคำ "electricity" หรือ ไฟฟ้า นั่นเอง ผลงานชิ้นแรกของเขา คือ De Magnete, Magneticisque Corporibus, et de Magno Magnete Tellure (ว่าด้วยแม่เหล็ก และวัตถุสภาพแม่เหล็ก และว่าด้วยแม่เหล็กใหญ่ของโลก) ตีพิมพ์เมื่อ ค.ศ. 1600 ในงานชิ้นนี้ เขาได้บรรยายถึงการทดลองของเขามากมายด้วยลูกโลกจำลอง ที่เรียกว่า "เทอร์เรลลา" (terrella) จากการทดลองของเขา เขาสรุปได้ว่าโลกนั้น ก็คือตัวแม่เหล็กเอง และสรุปว่า นี่คือเหตุผลที่ทำให้เข็มทิศชี้ไปทางทิศเหนือ (ก่อนนี้บางคนเชื่อว่า เข็มทิศชี้ไปหาดาวเหนือ หรือเกาะแม่เหล็กขนาดใหญ่ทางขั้วโลกเหนือ ซึ่งเป็นตัวดึงดูดเข็มทิศ) ในหนังสือเล่มนี้ เขายังได้ศึกษาถึงไฟฟ้าสถิต โดยการใช้แท่งอำพัน (อำพัน เป็นยางไม้แข็ง สีเหลืองอมน้ำตาล ในภาษากรีกเรียกว่า เอเล็กตรอน (elektron) ด้วยเหตุนี้ กิลเบิร์ตจึงเรียกปรากฏการณ์ที่ตนค้นพบว่า "electric force" (แรงไฟฟ้า) สิ่งที่กิลเบิร์ตเรียกว่า สภาพแม่เหล็ก นั้น คือแรงที่มองไม่เห็น ที่นักปรัชญาธรรมชาติคนอื่นๆ จำนวนมาก เช่น โยฮันส์ เคปเลอร์ เคยเชื่อมั่น ว่าเป็นตัวควบคุมการเคลื่อนไหวต่างๆ ของสิ่งที่สังเกตเห็นได้ หน่วย "กิลเบิร์ต" อันเป็นหน่วยของ แรงเคลื่อนแม่เหล็ก (magnetomotive force) ซึ่งเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า magnetic potential นั้น ก็ตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่วิเลียม กิลเบิร์ตนี่เอง. แม่เหล็กรูปเกือกม้า ทำให้แม่เหล็กมีแรงดูดมากขึ้น รูปแสดงเส้นแรงแม่เหล็กจากขั้วเหนือไปขั้วใต้ บริเวณที่แรงนี้ส่งไปถึง เรียกว่าสนามแม่เหล็ก แม่เหล็ก เป็นแร่หรือโลหะที่มีสมบัติดูดเหล็กได้ ในประวัติศาสตร์ พบว่า สาร"Magnesian stone") ("หินแมกแนเซียน") เป็นวัตถุที่ดูดเหล็กได้ แม่เหล็ก (มาจากภาษากรีก λίθος) แม่เหล็กสามารถทำให้เกิดสนาม'''แม่เหล็ก'''ได้ นั่นคือมันสามารถส่งแรงดูดหรือแรงผลัก ออกไปรอบ ๆ ตัวมันได้ แม้ว่าสนามแม่เหล็กจะเป็นสิ่งที่ไม่สามารถมองเห็นได้แต่มันเป็นเกี่ยวข้องกับคุณสมบัติสำคัญของแม่เหล็กโดยตรง ได้แก่ คุณสมบัติการดูดและการผลักกันระหว่างแท่งแม่เหล็ก เราสามารถสร้างแม่เหล็กขึ้นมาได้ วิธีแรกคือ นำเหล็กมาถูกับแม่เหล็ก วิธีที่สองคือ ป้อนกระแสไฟฟ้าเข้าไปในขดลวดที่พันรอบเหล็ก แรงเหนี่ยวนำในขดลวดทำให้เหล็กนั้นกลายเป็นแม่เหล็กชั่วคราว และทำให้เกิด สนามแม่เหล็กรอบ ๆ เหล็กนั้น เราเรียกแม่เหล็กแบบนี้ว่า แม่เหล็กไฟฟ้า ปัจจุบัน มีสารอื่นที่ทำให้เป็นแม่เหล็กได้ เช่น นิเกิล โคบอล แมงกานีส รูปแสดงการเรียงตัวของผงตะไบเหล็กในสนามแม่เหล็ก.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง วิลเลียม กิลเบิร์ตและแม่เหล็ก

วิลเลียม กิลเบิร์ตและแม่เหล็ก มี 0 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย)

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง วิลเลียม กิลเบิร์ตและแม่เหล็ก

วิลเลียม กิลเบิร์ต มี 14 ความสัมพันธ์ขณะที่ แม่เหล็ก มี 5 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 0, ดัชนี Jaccard คือ 0.00% = 0 / (14 + 5)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง วิลเลียม กิลเบิร์ตและแม่เหล็ก หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: