โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

วิลเลิม บาเรินตส์และสปิตส์เบอร์เกน

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง วิลเลิม บาเรินตส์และสปิตส์เบอร์เกน

วิลเลิม บาเรินตส์ vs. สปิตส์เบอร์เกน

วิลเลิม บาเรินตส์ (Willem Barentsz; ประมาณ ค.ศ. 1550 – 20 มิถุนายน ค.ศ. 1597) เป็นนักเดินเรือ นักทำแผนที่ และนักสำรวจแถบอาร์กติกชาวดัตช์ เขาเป็นหนึ่งในผู้บุกเบิกการเดินทางสู่ดินแดนอาร์กติกในยุคแรก ๆ ในปี ค.ศ. 1594 เรือของบาเรินตส์ออกจากเกาะเตเซิล พร้อมกับเรืออีก 2 ลำซึ่งแยกกันค้นหาเส้นทางเดินเรือทางเหนือผ่านทางด้านเหนือของไซบีเรียและด้านตะวันออกของเอเชีย เขาไปถึงชายฝั่งตะวันตกของกลุ่มเกาะโนวายาเซมลยาและแล่นเรือต่อไปทางทิศเหนือจนต้องกลับลงมาเมื่อเรือเดินทางไปเจอภูเขาน้ำแข็ง ในปีถัดมา บาเรินตส์ร่วมเดินทางไปกับเรือ 7 ลำ ผ่านช่องแคบระหว่างชายฝั่งไซบีเรียกับเกาะไวกัช แต่จำต้องเดินทางกลับหลังจากพบว่าทะเลคารากลายเป็นน้ำแข็ง ความพยายามครั้งที่ 3 ในปี ค.ศ. 1596 ก็ล้มเหลวอีก ครั้งนี้เขาออกเดินทางไปกับเรือ 2 ลำซึ่งมียัน ไรป์ และยาโกบ ฟัน เฮมส์แกร์ก เป็นกัปตัน พวกเขาได้พบกลุ่มเกาะสฟาลบาร์ จากนั้นมุ่งหน้าไปยังกลุ่มเกาะโนวายาเซมลยา แต่เรือของบาเรินตส์ซึ่งมีเฮมส์แกร์กเป็นกัปตันก็ติดน้ำแข็งอยู่ริมชายฝั่งเกาะเหนือของกลุ่มเกาะ ลูกเรือจึงต้องใช้ชีวิตอยู่บนน้ำแข็งตลอดฤดูหนาว เมื่อถึงเดือนมิถุนายนของปีถัดมา น้ำแข็งที่จับเรืออยู่ยังไม่คลายตัว พวกเขาจึงลงเรือเล็กออกไปในทะเล แต่บาเรินตส์ก็เสียชีวิตกลางทะเลขณะกำลังอ่านแผนที่ ไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดว่าร่างของเขาถูกฝังบนเกาะเหนือหรือถูกทิ้งในทะเล แม้ว่าความพยายามในการไปถึงโลกตะวันออกของบาเรินตส์จะไม่บรรลุผล แต่การเดินทางครั้งนี้ก็เป็นหนึ่งในการเดินทางครั้งสำคัญที่สุดของการสำรวจมหาสมุทรอาร์กติกในคริสต์ศตวรรษที่ 16 และเป็นการเดินทางครั้งแรกที่กลุ่มผู้สำรวจสามารถเผชิญหน้ากับฤดูหนาวในแถบขั้วโลกได้สำเร็จ ประสบการณ์ของพวกเขาเป็นประโยชน์แก่นักเดินเรือรุ่นหลังของเนเธอร์แลนด์ในการกำหนดเส้นทางการจับปลาและการล่าวาฬที่มีประสิทธิภาพ ทะเลแบเร็นตส์ (Barents Sea), เกาะแบเร็นตส์ (Barents Island) ในกลุ่มเกาะสฟาลบาร์ และบาเรนตส์บูร์ก (Barentsburg) นิคมชาวรัสเซียบนกลุ่มเกาะเดียวกันได้รับการตั้งชื่อดังกล่าวเพื่อเป็นเกียรติแก่วิลเลิม บาเรินต. ปิตส์เบอร์เกน (Spitsbergen หรือเดิมชื่อ West Spitsbergen; นอร์เวย์: Vest Spitsbergen, Vestspitsbergen) เป็นเกาะใหญ่ที่สุดและเกาะเดียวที่มีคนอาศัยอยู่ในหมู่เกาะสฟาลบาร์ ประเทศนอร์เวย์ ตั้งอยู่ทางตะวันตกสุดของหมู่เกาะ ติดกับมหาสมุทรอาร์กติก ทะเลนอร์วีเจียน และทะเลกรีนแลนด์ เกาะมีพื้นที่ 39,044 ตร.กม.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง วิลเลิม บาเรินตส์และสปิตส์เบอร์เกน

วิลเลิม บาเรินตส์และสปิตส์เบอร์เกน มี 2 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): มหาสมุทรอาร์กติกสฟาลบาร์

มหาสมุทรอาร์กติก

มหาสมุทรอาร์กติก (Arctic Ocean) ตั้งอยู่ในซีกโลกเหนือ และส่วนใหญ่อยู่ในเขตขั้วโลกเหนืออาร์กติก เป็นมหาสมุทรขนาดเล็กที่สุดและตื้นเขินที่สุดในห้ามหาสมุทรตามการแบ่งมหาสมุทรหลักของโลก องค์กรอุทกศาสตร์โลก (IHO) ยอมรับว่ามหาสมุทรอาร์กติกเป็นมหาสมุทร แม้นักอุทกศาสตร์บางคนจะเรียกบริเวณนี้ว่า ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนอาร์กติก หรือเรียกง่าย ๆ ว่า ทะเลอาร์กติก โดยจัดว่าบริเวณนี้เป็นหนึ่งในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนของมหาสมุทรแอตแลนติก หรืออาจมองว่า เป็นส่วนเหนือสุดของมหาสมุทรโลกที่ล้อมรอบทั้งหมด มหาสมุทรอาร์กติกมีรูปร่างคล้ายวงกลม ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ เกือบเท่ากับขนาดของทวีปแอนตาร์กติกา แนวชายฝั่งยาว ล้อมรอบด้วยทวีปยุโรป, ทวีปเอเชีย, ทวีปอเมริกาเหนือ และกรีนแลนด์ รวมทั้งเกาะต่างๆ และทะเลแบเร็นตส์, ทะเลโบฟอร์ต, ทะเลชุกชี, ทะเลคารา, ทะเลลัปเตฟ, ทะเลไซบีเรียตะวันออก, ทะเลลิงคอล์น, ทะเลแวนเดล, ทะเลกรีนแลนด์ และทะเลนอร์เวย์ เชื่อมกับมหาสมุทรแปซิฟิกที่ช่องแคบเบริง และเชื่อมกับมหาสมุทรแอตแลนติกที่ทะเลกรีนแลนด์ มหาสมุทรอาร์กติกบางส่วนปกคลุมด้วยทะเลน้ำแข็งตลอดทั้งปีและเกือบทั้งมหาสมุทรในฤดูหนาว อุณหภูมิและความเค็มของมหาสมุทรอาร์กติกแตกต่างกันไปตามฤดูกาล เมื่อน้ำแข็งหลอมเหลวและแข็งตัว ความเค็มของมหาสมุทรมีค่าเฉลี่ยต่ำสุดในมหาสมุทรหลักทั้งห้า เนื่องจากการระเหยที่ต่ำ กระแสไหลเข้าอย่างหนักของน้ำจืดจากแม่น้ำและลำธาร การเชื่อมโยงที่จำกัดและการไหลออกไปยังมหาสมุทรโดยรอบที่มีความเค็มสูงกว่า การหดตัวของน้ำแข็งในฤดูร้อนมีบันทึกว่าลดลงถึง 50% ศูนย์ข้อมูลหิมะและน้ำแข็งแห่งชาติสหรัฐ (NSIDC) ใช้ข้อมูลดาวเทียมเพื่อหาบันทึกประจำวันของน้ำแข็งที่ปกคลุมมหาสมุทรอาร์กติก และอัตราการหลอมเหลวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเฉลี่ยและปีที่ผ่านมา สันลอมอนอซอฟ (Lomonosov ridge) ซึ่งเป็นสันมหาสมุทรที่อยู่ใต้ทะเล แบ่งมหาสมุทรอาร์กติกออกเป็น 2 ส่วน คือ แอ่งยูเรเชีย (เรียกบริเวณนี้ว่าแนนสัน - Nansen) มีความลึก 4,000-4,500 เมตร และแอ่งอเมริกาเหนือ (เรียกบริเวณนี้ว่าไฮเพอร์โบเรียน - Hyperborean) มีความลึกประมาณ 4,000 เมตร ความลึกเฉลี่ยของมหาสมุทรอาร์กติก คือ 1,038 เมตร (3,407 ฟุต).

มหาสมุทรอาร์กติกและวิลเลิม บาเรินตส์ · มหาสมุทรอาร์กติกและสปิตส์เบอร์เกน · ดูเพิ่มเติม »

สฟาลบาร์

แผนที่สฟาลบาร์ สฟาลบาร์ (Svalbard; Шпицбе́рген, Свальбард) เป็นหมู่เกาะในมหาสมุทรอาร์กติก ตั้งอยู่ทางเหนือของยุโรปภาคพื้นทวีป ระหว่างนอร์เวย์และขั้วโลกเหนือ ตั้งแต่ละติจูด 74 ถึง 81 องศาเหนือ สฟาลบาร์เป็นส่วนหนึ่งของประเทศนอร์เวย์ โดยเป็นส่วนที่อยู่เหนือที่สุดของประเทศ มีประชากรอาศัยอยู่บนสามเกาะคือ สปิตส์เบอร์เกน บีเยอร์เนอยา และโฮเปน แรกเริ่ม สฟาลบาร์ได้ถูกใช้เป็นฐานล่าวาฬในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 17 และ 18 หลังจากนั้นหมู่เกาะดังกล่าวได้ถูกปล่อยร้าง การทำเหมืองถ่านหินเริ่มต้นขึ้นเมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 และชุมชนถาวรหลายแห่งได้รับการจัดตั้งขึ้น สนธิสัญญาสฟาลบาร์ ใน..

วิลเลิม บาเรินตส์และสฟาลบาร์ · สปิตส์เบอร์เกนและสฟาลบาร์ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง วิลเลิม บาเรินตส์และสปิตส์เบอร์เกน

วิลเลิม บาเรินตส์ มี 14 ความสัมพันธ์ขณะที่ สปิตส์เบอร์เกน มี 8 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 2, ดัชนี Jaccard คือ 9.09% = 2 / (14 + 8)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง วิลเลิม บาเรินตส์และสปิตส์เบอร์เกน หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »