เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

วินสตัน เชอร์ชิล

ดัชนี วินสตัน เชอร์ชิล

ซอร์วินสตัน ลีโอนาร์ด สเปนเซอร์-เชอร์ชิล (Winston Leonard Spencer-Churchill) เป็นรัฐบุรุษชาวอังกฤษผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักรสองสมัย ระหว่างปี 1940 ถึง 1945 และปี 1951 ถึง 1955 ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นผู้นำที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในยุคสงครามของศตวรรษที่ 20 นอกจากนี้ วินสตันยังเป็นทหารในกองทัพอังกฤษ, นักประวัติศาสตร์, นักเขียน, ตลอดจนศิลปิน เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาอักษรศาสตร์ และยังเป็นบุคคลแรกที่ได้เป็น พลเมืองเกียรติยศแห่งสหรัฐอเมริกา ผู้คนมักนิยมเรียกเขาด้วยชื่อ "วินสตัน" แทนที่จะเรียกด้วยนามสกุล วินสตันเกิดในตระกูลชนชั้นสูงที่สืบเชื้อสายมาจากดยุกแห่งมาร์ลบะระ สาขาหนึ่งของตระกูลสเปนเซอร์ บิดาของเขาคือ ลอร์ดรันดอล์ฟ เชอร์ชิล นักการเมืองผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีคลัง ส่วนมารดาของเขาคือ เจนนี จีโรม นักสังคมสงเคราะห์ชาวอเมริกัน ในขณะที่ยังเป็นทหารหนุ่ม เขาได้ปฏิบัติภารกิจในบริติชอินเดีย และซูดาน และในสงครามโบเออร์ครั้งที่สอง เขามีชื่อเสียงขึ้นมาจากการเป็นนักข่าวสงครามและเขียนหนังสือเกี่ยวกับปฏิบัติการของเขา เขาเป็นผู้มีบทบาททางการเมืองแถวหน้ามาตลอดห้าสิบปี ได้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและตำแหน่งในคณะรัฐมนตรีมากมาย ก่อนสงครามโลกครั้งที่หนึ่งเขาเป็นหัวหน้ากรรมการการค้า, รัฐมนตรีปิตุภูมิ, และรัฐมนตรียุติธรรม ระหว่างสงคราม เขายังคงดำรงตำแหน่งรัฐมนตรียุติธรรม จนกระทั่งความพ่ายแพ้ของอังกฤษในการทัพกัลลิโพลี ทำให้เขาต้องออกจากคณะรัฐบาลและไปประจำการราชการทหารอยู่ที่แนวหน้าภาคตะวันตกในตำแหน่งผู้บัญชาการกองพันลูกเสือที่ 6 จนกระทั่งเขาได้กลับคืนคณะรัฐบาลในตำแหน่งรัฐมนตรียุทธภัณฑ์ รัฐมนตรีว่าการสงคราม และ รัฐมนตรีน่านฟ้า และในปี 1921-1922 เป็นรัฐมนตรีว่าการอาณานิคม และต่อมาในปี 1924-1929 เป็นรัฐมนตรีคลังหลวง โดยเขาได้กำหนดให้สกุลเงินปอนด์กลับไปอิงค่าทองคำเหมือนกับยุคก่อนสงคราม ซึ่งทำให้เกิดภาวะเงินฝืดแพร่ไปทั้งเศรษฐกิจของสหราชอาณาจักร ภายหลังห่างหายจากงานการเมืองไปในทศวรรษที่ 1930 วินสตันก็ได้กลับมาทำงานการเมืองอีกครั้งเมื่อนาซีเยอรมนีเริ่มที่จะสั่งสมกำลังทหารและดูจะเป็นภัยคุกคามต่ออังกฤษ และแล้วการอุบัติขึ้นอย่างฉับพลันของสงครามโลกครั้งที่สอง ก็ทำให้เขาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรียุติธรรมอีกครั้ง และภายหลังการลาออกของนายกรัฐมนตรี เนวิล เชมเบอร์ลิน ในวันที่ 10 พฤษภาคม 1940 วินสตันก็กลายเป็นนายกรัฐมนตรี คำประกาศหนักแน่นของเขาที่จะไม่เป็นผู้ยอมแพ้ได้ช่วยกระตุ้นให้ชาวอังกฤษหันมาต่อต้านนาซีเยอรมนี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงต้นสงครามซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ยากเย็นเมื่อสหราชอาณาจักรและอาณานิคมอังกฤษเป็นเพียงฝ่ายเดียวที่ลุกขึ้นอยู่ฝ่ายตรงข้ามกับอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ วินสตันได้กล่าวสุนทรพจน์ของเขาผ่านวิทยุกระจายเสียงปลุกขวัญกำลังใจชาวอังกฤษ เขาเป็นผู้นำของอังกฤษไปจนกระทั่งสามารถมีชัยเหนือนาซีเยอรมนีได้ แต่ทว่าการได้รับชัยชนะมาต้องแลกกับการสูญเสียการเป็นอภิมหาอำนาจของโลกให้กับสหรัฐอเมริกาไป เหล่าประเทศอาณานิคมที่ยึดครองได้แก่ อินเดีย มาเลเซีย พม่า เป็นต้นต่างก็ได้เรียกร้องเอกราชจนจำใจต้องยอมเป็นเหตุทำให้จักรวรรดิอังกฤษล่มสลายและกลายเป็นเครือจักรภพแห่งชาติแทน ภายหลังพรรคอนุรักษนิยมพ่ายการเลือกตั้งในปี 1945 เขาก็ทำหน้าที่เป็นผู้นำฝ่ายค้านต่อรัฐบาลพรรคแรงงาน เขาได้ออกมาเตือนอย่างเปิดเผยถึงอิทธิพลของโซเวียตในยุโรปผ่านมาตรการ "ม่านเหล็ก" และยังส่งเสริมความเป็นหนึ่งเดียวของยุโรป ภายหลังชนะเลือกตั้งในปี 1951 วินสตันก็กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง ในช่วงการดำรงตำแหน่งครั้งที่สองนี้ รัฐบาลของเขาเต็มไปด้วยข้อราชการต่างประเทศ ทั้งวิกฤตการณ์มาลายา, กบฎมาอูมาอูในเคนยา, สงครามเกาหลี ตลอดจนสนับสนุนการรัฐประหารในอิหร่าน ในปี 1953 เขาเริ่มเจ็บป่วยจากภาวะขาดเลือดในสมอง และลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในปี 1955 แต่เขายังคงเป็นสมาชิกสภาสามัญชนไปจนถึงปี 1964 วินสตันถึงแก่อสัญกรรมด้วยวัย 90 ปีในปี 1965 โดยสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 พระราชทานรัฐพิธีศพให้เป็นเกียรติ เขายังคงได้รับการกล่าวถึงว่าเป็นหนึ่งในกลุ่มคนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ชาติอังกฤษ ชื่อของเขาอยู่ในลำดับที่ 1 ของทำเนียบชาวอังกฤษผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาลจากการจัดอันดับในปี 2002.

สารบัญ

  1. 58 ความสัมพันธ์: บริติชราชบลิทซ์ครีกบังคาลอร์ชาวบริติชผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดหนึ่งร้อยลำดับบุคคลแห่งปีของนิตยสารไทม์พ.ศ. 2483พ.ศ. 2492พรรคอนุรักษนิยม (สหราชอาณาจักร)พรรคแรงงาน (สหราชอาณาจักร)พระราชวังเวสต์มินสเตอร์กลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำการอพยพดันเคิร์กการทัพกัลลิโพลีการทัพนอร์เวย์ภาวะเงินฝืดมหาตมา คานธีมุมไบม่านเหล็กยุทธการที่ฝรั่งเศสรัฐบุรุษรางวัลโนเบลวังเบลนิมวิกฤตการณ์มาลายาสภาสามัญชนแห่งสหราชอาณาจักรสภาขุนนางสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักรสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 แห่งสหราชอาณาจักรสหภาพโซเวียตสงครามลวงสงครามโบเออร์ครั้งที่สองสงครามโลกครั้งที่สองสงครามโลกครั้งที่หนึ่งสงครามเกาหลีสแตนลีย์ บอลดวินอดอล์ฟ ฮิตเลอร์อเมริกันจอห์น เชอร์ชิล ดยุกแห่งมาร์ลบะระทหารทะเลบอลติกดยุกแห่งมาร์ลบะระดับลินตระกูลสเปนเซอร์ปฏิบัติการวิลเฟรดนายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักรนาซีเยอรมนีแฟรงกลิน ดี. โรสเวลต์แองกลิคันแอนโทนี อีเดนแฮร์รี เอส. ทรูแมนโรงเรียนนายร้อยทหารบกแซนด์เฮิสต์... ขยายดัชนี (8 มากกว่า) »

  2. จักรวรรดิบริติชในสงครามโลกครั้งที่สอง
  3. ชาวอังกฤษเชื้อสายอเมริกัน
  4. ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม
  5. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยสหราชอาณาจักร
  6. หัวหน้าพรรคอนุรักษนิยม
  7. อัศวินแห่งอังกฤษ

บริติชราช

ริติชราช (British Raj; ब्रिटिश राज) หรือเรียกอย่างง่ายว่า อินเดีย หมายถึงการปกครองโดยพระมหากษัตริย์สหราชอาณาจักรในอนุทวีปอินเดียระหว่างปี..

ดู วินสตัน เชอร์ชิลและบริติชราช

บลิทซ์ครีก

วามเสียหายหลังจากบลิทซ์ครีก บลิทซ์ครีก (Blitzkrieg) การโจมตีสายฟ้าแลบ เป็นคำแผลงเป็นอังกฤษ เป็นปฏิบัติการร่วมทางยุทธวิธีของกองทัพนาซีเยอรมันนีในสงครามโลกครั้งที่สอง โดยรวมแสนยานุภาพทั้งทางภาคพื้นดินและในอากาศเข้าด้วยกัน คำว่า บลิทซ์ครีก เป็นอธิบายการโจมตีอย่างรวดเร็ว ประกอบด้วยการทิ้งระเบิดโดยเครื่องบินรบก่อนที่จะใช้ยานเกราะบุกเข้าโจมตีตามอย่างรวดเร็ว และสร้างความประหลาดใจให้กับฝ่ายข้าศึก ทำให้ฝ่ายตั้งรับไม่มีเวลาที่จะเตรียมการป้องกันใด ๆ เลย แนวคิดบลิทซ์ครีกนั้นได้รับการพัฒนาโดยชาติต่าง ๆ ระหว่างศตวรรษที่ 20 และถูกนำออกมาใช้หลายปีหลังจากสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง โดยเยอรมนีมากที่สุด เพื่อเป็นการป้องกันการทำศึกยืดเยื้อ บลิทซ์ครีกที่โดดเด่นในประวัติศาสตร์การทหาร คือ ช่วงต้นสงครามโลกครั้งที่สอง นำโดยพลเอกไฮนซ์ กูเดเรียน บลิทซ์ครีกของฝ่ายเยอรมนีนั้นมีประสิทธิภาพมากในแนวรบด้านตะวันตกและในแนวรบด้านตะวันออกช่วงแรก ๆ ทำให้กองทัพส่วนใหญ่ไม่ทันระวังตัว และขาดการป้องกันซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการรบของฝ่ายเยอรมนี.

ดู วินสตัน เชอร์ชิลและบลิทซ์ครีก

บังคาลอร์

ังคาลอร์ หรือ บังกาลอร์ (ಬೆಂಗಳೂರು เบงคาลูรุ) เป็นเมืองเอกและเมืองใหญ่สุดในรัฐกรณาฏกะ ประเทศอินเดีย บริเวณที่ราบสูงเดกกัน ระดับความสูง เหนือระดับน้ำทะเล เป็นเมืองที่มีประชากรมากเป็นอันดับที่ 3 ของประเทศ บังคาลอร์เป็นเมืองที่สะอาดและใส่ใจสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างดี ตามท้องถนนหรือสวนสาธารณะเต็มไปด้วยต้นไม้ขนาดใหญ่นานาชนิดที่ให้ความร่มรื่น แม้แต่ในช่วงฤดูร้อน ผู้คนที่เดินตามท้องถนนแทบไม่ต้องกางร่ม เนื่องจากได้ร่มเงาจากต้นไม้ เป็นเมืองที่เจริญก้าวหน้าเมืองหนึ่งของอินเดียหรือในระดับเอเชียใต้ เมืองนี้รู้จักกันในชื่อ หุบเขาซิลิกอนแห่งอินเดีย เนื่องจากเป็นเมืองส่งออกเทคโนโลยี ติด 1 ใน 10 อันดับเมืองที่มีผู้ประกอบการมากที่สุดในโลก.

ดู วินสตัน เชอร์ชิลและบังคาลอร์

ชาวบริติชผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดหนึ่งร้อยลำดับ

ันเดรดเกรตเตสต์บริทันส์ หรือ ชาวบริติชผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดหนึ่งร้อยลำดับ (100 Greatest Britons) คือรายการโทรทัศน์ที่ออกอากาศในปี..

ดู วินสตัน เชอร์ชิลและชาวบริติชผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดหนึ่งร้อยลำดับ

บุคคลแห่งปีของนิตยสารไทม์

ลแห่งปี (Person of the Year หรือเดิม Man of the Year) เป็นฉบับประจำปีของนิตยสารข่าวไทม์ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งเสนอและพรรณนาถึงบุคคล กลุ่ม แนวคิดหรือวัตถุซึ่ง "ไม่ว่าจะเกิดอะไรก็ตาม...ได้มีอิทธิพลมากที่สุดต่อเหตุการณ์ในปีนั้น".

ดู วินสตัน เชอร์ชิลและบุคคลแห่งปีของนิตยสารไทม์

พ.ศ. 2483

ทธศักราช 2483 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1940 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันจันทร์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ดู วินสตัน เชอร์ชิลและพ.ศ. 2483

พ.ศ. 2492

ทธศักราช 2492 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1949.

ดู วินสตัน เชอร์ชิลและพ.ศ. 2492

พรรคอนุรักษนิยม (สหราชอาณาจักร)

รรคอนุรักษนิยม (Conservative Party) หรือชื่อเดิมว่า พรรคอนุรักษนิยมและสหภาพนิยม คือพรรคการเมืองกลาง-ขวาในสหราชอาณาจักรที่ปฏิบัติตามหลักปรัชญาของลัทธิอนุรักษนิยมและลัทธิการรวมชาติบริเตน ซึ่งเป็นพรรคที่ใหญ่ที่สุดในสหราชอาณาจักรโดยมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในรัฐสภาจำนวน 330 คน สมาชิกสภาท้องถิ่นทั่วประเทศ 9,391 คน และเป็นพรรคการเมืองจากสหราชอาณาจักรที่มีที่นั่งในรัฐสภายุโรปมากที่สุดจำนวน 25 ที่นั่ง ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็นรัฐบาลเสียงข้างมากในสภาสามัญชนโดยมีหัวหน้าพรรคคือนางเทเรซา เมย์ เป็นนายกรัฐมนตรี พรรคมักถูกเรียกขานว่า พรรคขุนนาง (Tory Party) หรือ พวกขุนนาง (Tories) พรรคอนุรักษนิยมก่อตั้งขึ้นในปี..

ดู วินสตัน เชอร์ชิลและพรรคอนุรักษนิยม (สหราชอาณาจักร)

พรรคแรงงาน (สหราชอาณาจักร)

รรคแรงงาน (Labour Party) เป็น พรรคการเมืองกลาง-ซ้ายในสหราชอาณาจักร ซึ่งเป็นหนึ่งในสามพรรคการเมืองใหญ่ของประเทศ ก่อตั้งเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ.

ดู วินสตัน เชอร์ชิลและพรรคแรงงาน (สหราชอาณาจักร)

พระราชวังเวสต์มินสเตอร์

ระราชวังเวสต์มินสเตอร์ หรือ ตึกรัฐสภาเวสต์มินสเตอร์ (ภาษาอังกฤษ: Palace of Westminster หรือ Houses of Parliament หรือ Westminster Palace) เป็นสถานที่ที่สภาสองสภาของรัฐสภาแห่งสหราชอาณาจักร (สภาขุนนาง และสภาสามัญชน) ประชุม พระราชวังตั้งอยู่บนฝั่งเหนือของแม่น้ำเทมส์ในนครเวสต์มินสเตอร์ของลอนดอนบะระห์ไม่ไกลจากพระราชวังไวท์ฮอลล์ พระราชวังเวสต์มินสเตอร์ สร้างในปี..

ดู วินสตัน เชอร์ชิลและพระราชวังเวสต์มินสเตอร์

กลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำ

一 ประเทศแผ่นดินต่ำต่างๆ กลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำ (Low Countries) หมายถึง ภูมิภาคหนึ่งที่อยู่ทางด้านบนของทวีปยุโรป ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของยุโรป สาเหตุที่เรียกว่าประเทศแผ่นดินต่ำนี้ เนื่องจากประเทศเหล่านี้อยู่ในพื่นที่ที่ลาดต่ำมาก คือ ต่ำกว่าน้ำทะเล ทำให้เกิดอุทกภัยได้ง่าย จึงทำให้ประเทศเหล่านี้มีการจัดการกับอุทกภัยที่ดีที่สุด ของโลกก็ว่าได้ พื้นที่ของประเทศที่อยู่ในภูมิภาคประเทศแผ่นดินต่ำ มีดังนี้ เนเธอร์แลนด์ เบลเยียม ลักเซมเบิร์ก และ ฝรั่งเศส(ทางตอนเหนือ).

ดู วินสตัน เชอร์ชิลและกลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำ

การอพยพดันเคิร์ก

ทหารอังกฤษกำลังอพยพจากหาดของดันเคิร์ก ทหารจำนวนมากยืนหลายชั่วโมงในน้ำที่สูงถึงไหล่เพื่อรอขึ้นเรือ การอพยพดันเคิร์ก (Dunkirk evacuation) หรือชื่อเยอรมันคือ ปฏิบัติการไดนาโม (Operation Dynamo) หรือรู้จักกันในนาม ปาฏิหาริย์แห่งดันเคิร์ก เป็นการอพยพทหารฝ่ายสัมพันธมิตรจากหาดและท่าเรือดันเคิร์ก ประเทศฝรั่งเศส ระหว่างวันที่ 27 พฤษภาคมถึงเช้ามืดวันที่ 4 มิถุนายน..

ดู วินสตัน เชอร์ชิลและการอพยพดันเคิร์ก

การทัพกัลลิโพลี

การทัพกัลลิโพลี (Gallipoli Campaign, Dardanelles Campaign, Battle of Gallipoli หรือ Battle of Çanakkale; Çanakkale Savaşı) เป็นหนึ่งในสมรภูมิสำคัญในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เมื่อกองทัพผสมของจักรวรรดิบริติชยกพลขึ้นบกในคาบสมุทรกัลลิโพลี จุดหมายของการทัพกัลลิโพลีคือการไปช่วยเหลือจักรวรรดิรัสเซียในแนวรบด้านตะวันออกและยึดคอนสแตนติโนเปิลเมืองหลวงของจักรวรรดิออตโตมัน แต่การยกพลในกัลลิโพลีถูกกองทัพออตโตมันต้านทานอย่างหนักในที่สุดออตโตมันสามารถชนะได้ การทัพกัลลิโพลีเป็นหนึ่งในสมรภูมิสำคัญที่จักรวรรดิออตโตมันชนะได้โดยต่อสู้เพื่อปกป้องมาตุภูมิของจักรวรรดิออตโตมัน การทัพกัลลิโพลียังเป็นหนึ่งในการรบที่อัปยศของวินสตัน เชอร์ชิล ในขณะเดียวกันกองทัพออสเตรเลียและกองทัพนิวซีแลนด์ได้รำลึกการรบในกัลลิโพลีโดยยกเอาวันที่กองทัพของเครือจักรภพยกพลขึ้นบกคือในวันที่ 25 เมษายน ของทุกปีเป็นวันแอนแซกร่วมกับ Remembrance Day.

ดู วินสตัน เชอร์ชิลและการทัพกัลลิโพลี

การทัพนอร์เวย์

การทัพนอร์เวย์ หรือปฏิบัติการเวแซร์รืบุง (9 เมษายน - 10 มิถุนายน ค.ศ. 1940) นั้นเป็นการเผชิญหน้ากันอย่างเต็มรูปแบบเป็นครั้งแรกของสงครามโลกครั้งที่สอง ระหว่างฝ่ายสัมพันธมิตรกับนาซีเยอรมนี เยอรมนีนั้นต้องการที่จะครอบครองนอร์เวย์เพื่อเหล็กและโลหะจากสวีเดนอีกต่อหนึ่ง ซึ่งขนส่งทางเรือจากเมืองท่านาร์วิก ด้วยการยึดครองเมืองท่าอย่างสมบูรณ์ ก็จะทำให้การขนส่งทรัพยากรดังกล่าวเพื่อป้อนเข้าสู่โรงงานอุตสาหกรรม แม้ว่าจะถูกขัดขวางด้วยการปิดล้อมทางทะเลจากอังกฤษ นอกจากนั้นแล้ว มันยังทำให้ฝ่ายสัมพันธมิตรและเยอรมนีสามารถรบกันได้ด้วยการรบแบบสนามเพลาะซึ่งทั้งสองฝ่ายหวาดกลัว ต่อมาเมื่อยุทธนาวีมหาสมุทรแอตแลนติกขยายออกไป สนามบินของนอร์เวย์ เช่น สนามบินโซลา ในเมืองสตาแวนเจอร์ ซึ่งเครื่องบินสำรวจเยอรมันใช้เพื่อออกปฏิบัติการในภาคพื้นมหาสมุทรแอตแลนติก.

ดู วินสตัน เชอร์ชิลและการทัพนอร์เวย์

ภาวะเงินฝืด

วะเงินฝืด (deflation) เป็นภาวะที่ระดับราคาสินค้าและบริการทั่วไปลดต่ำลงเรื่อยๆ อันเนื่องมาจากอุปสงค์รวมมีน้อยเกินไป ไม่เพียงพอที่จะซื้อสินค้าและบริการทำให้ผู้ผลิตต้องลดราคาสินค้าเพื่อที่จะทำให้ขายได้ และลดการผลิตลงเพราะว่าถ้าผลิตออกมาเท่าเดิมก็ขายได้น้อย ผลที่ตามมาจะก่อให้เกิดผลเลวร้ายต่อเศรษฐกิจเพราะการจ้างงานจะลดลงตามไปด้วย ส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ต่อมาตรฐานความเป็นอยู่ของประชาชน ดังนั้นเมื่อเกิดภาวะเงินฝืด อำนาจซื้อของบุคคลทั่วไปจะสูงขึ้นด้วย เงินฝืด เป็นภาวะตรงข้ามกับภาวะเงินเฟ้อ มีปัจจัยการเกิดจากสาเหตุหลายประการ เช่น การเพิ่มขึ้นของอุปทาน การหดตัวของอุปสงค์ การลดลงของต้นทุนจากปัจจัยอัตราแลกเปลี่ยน หรือมาตรการปรับเพิ่มภาษี และการที่ปริมาณเงินหมุนเวียนมีไม่เพียงพอต่อขนาดของระบบเศรษฐกิจ เป็นต้น.

ดู วินสตัน เชอร์ชิลและภาวะเงินฝืด

มหาตมา คานธี

มหาตมา คานธี ใน ค.ศ. 1876 มหาตมา คานธี ใน ค.ศ. 1900 มหาตมา คานธี ใน ค.ศ. 1915 มหาตมา คานธี (Mahatma Gandhi) มีชื่อเต็มว่า โมหันทาส กะรัมจันท คานธี (મોહનદાસ કરમચંદ ગાંધી; Mohandas Karamchand Gandhi) เป็นผู้นำและนักการเมืองที่มีชื่อเสียงชาวอินเดียและศาสนาฮินดู.

ดู วินสตัน เชอร์ชิลและมหาตมา คานธี

มุมไบ

มุมไบ มุมไบ (Mumbai; มราฐี: मुंबई;สัท.: /'mumbəi/) เดิมชื่อ บอมเบย์ (Bombay) ที่ตั้งอยู่บนริมฝั่งทะเลอาหรับในประเทศอินเดีย ท่ามกลางชายฝั่งที่ทอดยาวกับภูเขาสูงที่ปกคลุมด้วยป่าเขตร้อนชื้นและป่าผลัดใบ มุมไบมีความสำคัญในฐานะเป็นเมืองท่า และเป็นศูนย์กลางทางการค้า การท่องเที่ยว บอมเบย์ (Bombay) หรือมุมไบ เป็นเมืองท่าที่สำคัญทางฝั่งทะเลอาหรับของอินเดีย และเป็นเมืองหลวงของรัฐมหาราษฏระ ในช่วงเวลาระหว่าง..

ดู วินสตัน เชอร์ชิลและมุมไบ

ม่านเหล็ก

การแตกแยกของจีน-โซเวียต ฉะนั้น จึงแรเส้นเงาสีเทา ม่านเหล็ก (Iron Curtain) เป็นสัญลักษณ์ของความขัดแย้งทางอุดมการณ์และพรมแดนเชิงกายภาพที่แบ่งทวีปยุโรปออกเป็นสองพื้นที่ นับแต่สงครามโลกครั้งที่สองยุติในปี 2488 ถึงสงครามเย็นสิ้นสุดในปี 2534 สหภาพโซเวียตตั้งม่านเหล็กขึ้นเพื่อปิดกั้นตนเอง รัฐในภาวะพึ่งพิง และพันธมิตรยุโรปกลางจากการติดต่ออย่างเปิดเผยกับตะวันตกและพื้นที่ที่มิใช่คอมมิวนิสต์ ด้านตะวันออกของม่านเหล็กเป็นประเทศที่เชื่อมต่อกับหรือได้รับอิทธิพลจากอดีตสหภาพโซเวียต ทั้งสองด้านของม่านเหล็ก รัฐต่าง ๆ พัฒนาพันธมิตรทางเศรษฐกิจและการทหารระหว่างประเทศของตนเอง ดังนี้.

ดู วินสตัน เชอร์ชิลและม่านเหล็ก

ยุทธการที่ฝรั่งเศส

ทธการที่ฝรั่งเศส ในสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นการบุกครองฝรั่งเศสและกลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำของเยอรมนีที่สัมฤทธิ์ผล เริ่มตั้งแต่วันที่ 10 พฤษภาคม..

ดู วินสตัน เชอร์ชิลและยุทธการที่ฝรั่งเศส

รัฐบุรุษ

รัฐบุรุษคือ บุคคลผู้ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งสำคัญในการบริหารราชการแผ่นดินในฐานะต่าง ๆ อาทิ ผู้นำทางการเมือง หรือผู้นำทางทหาร โดยตลอดระยะเวลาที่อยู่ในตำแหน่งได้ประกอบคุณงามความดี ปฏิบัติราชการอย่างเต็มกำลังความสามารถ ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต และได้ช่วยเหลือจงรักภักดีต่อชาตินั้น ๆ จนเป็นที่ประจักษ์กันโดยทั่วไป.

ดู วินสตัน เชอร์ชิลและรัฐบุรุษ

รางวัลโนเบล

หรียญรางวัลโนเบล รางวัลโนเบล (Nobelpriset; Nobel Prize) เป็นรางวัลประจำปีระดับนานาชาติ ซึ่งจัดโดยคณะกรรมการสแกนดิเนเวีย พิจารณาผลงานวิจัยหรือความอัจฉริยะและความเชี่ยวชาญที่โดดเด่น หรือสร้างคุณประโยชน์ให้กับมนุษยชาติ ทั้งในด้านวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรม ตามเจตจำนงของอัลเฟรด โนเบล นักเคมีชาวสวีเดน ผู้ประดิษฐ์ไดนาไมท์ โดยก่อตั้งขึ้นครั้งแรกในปี..

ดู วินสตัน เชอร์ชิลและรางวัลโนเบล

วังเบลนิม

วังเบลนิม (Blenheim Palace) หรือ คฤหาสน์เบลนิม เป็นคฤหาสน์ที่สร้างอย่างวังตั้งอยู่ที่เมืองเล็กๆ ชื่อวู้ดสต็อคในมลฑลอ๊อกซฟอร์ดเชอร์ในอังกฤษ สร้างโดยซาราห์ เชอร์ชิลผู้เป็นภรรยาของจอห์น เชอร์ชิล ดยุกแห่งมาร์ลบะระ และเป็นพระสหายสนิทของสมเด็จพระราชินีนาถแอนน์ ระหว่างปี ค.ศ.

ดู วินสตัน เชอร์ชิลและวังเบลนิม

วิกฤตการณ์มาลายา

วิกฤตการณ์มาลายา (อังกฤษ: Malayan Emergency) เป็นสงครามกองโจรต่อสู้กันระหว่างฝ่ายเครือจักรภพแห่งชาติและ กองทัพปลดปล่อยชนชาติมาลายาซึ่งเป็นกองกำลังของ พรรคคอมมิวนิสต์มาลายา ตั้งแต่ปี..

ดู วินสตัน เชอร์ชิลและวิกฤตการณ์มาลายา

สภาสามัญชนแห่งสหราชอาณาจักร

มัญชน (House of Commons) เป็นสภาล่างในรัฐสภาแห่งอังกฤษ ประกอบไปด้วยสมาชิกสภาสามัญชน หรืออีกชื่อหนึ่งว่า สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร อันมาจากการเลือกตั้งทุกห้าปี ในปัจจุบันมีสมาชิกสภาจำนวน 650 ที่นั่ง จากการเลือกตั้งทั่วไปในสหราชอาณาจักร พ.ศ.

ดู วินสตัน เชอร์ชิลและสภาสามัญชนแห่งสหราชอาณาจักร

สภาขุนนาง

นนาง (House of Lords) เป็น สภาสูงในรัฐสภาแห่งสหราชอาณาจักร ประกอบด้วยขุนนางมีบรรดาศักดิ์จำนวนเจ็ดถึงแปดร้อยคน ทุกคนมาจากการแต่งตั้งและสืบตระกูล ทำหน้าที่ร่วมกับกับสภาสามัญชนซึ่งเป็นสภาล่างซึ่งมีสมาชิกทั้งหมดจากการเลือกตั้ง สภาขุนนางจะแยกเป็นอิสระจากสภาสามัญชน โดยมีอำนาจถ่วงดุลและตรวจสอบการทำงานของรัฐสภา โดยเฉพาะการพิจารณาเพื่อผ่านร่างกฎหมาย โดยสภาขุนนางมีอำนาจที่จะระงับการบังคับใช้กฎหมายได้ในระยะเวลาหนึ่ง เพื่อให้รัฐบาล สภาสามัญชน และประชาชนร่วมกันพิจารณาถึงความจำเป็นของร่างกฎหมายนั้นๆอย่างรอบคอบ สภาขุนนางยังมีหน้าที่พิทักษ์รัฐธรรมนูญ และป้องกันมิให้มีกฎหมายใดขัดต่อรัฐธรรมนูญ และสิทธิมนุษยชน ซึ่งในประเทศอื่นๆ จะมีศาลรัฐธรรมนูญ ทำหน้าที่แทน สภาชิกสภาขุนนางแบ่งเป็นสี่ประเภท คือ.

ดู วินสตัน เชอร์ชิลและสภาขุนนาง

สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร

มเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 (Elizabeth II; พระราชสมภพ 21 เมษายน พ.ศ. 2469) เป็นพระประมุขของ 16 ประเทศ จาก 53 รัฐสมาชิกในเครือจักรภพแห่งชาติ พระองค์เป็นประธานเครือจักรภพและผู้ปกครองสูงสุดแห่งคริสตจักรแห่งอังกฤษ เมื่อสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ 6 กุมภาพัน..

ดู วินสตัน เชอร์ชิลและสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร

สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 แห่งสหราชอาณาจักร

ระเจ้าจอร์จที่ 6 (George VI of the United Kingdom; 14 ธันวาคม ค.ศ. 1895 — 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1952) เป็นพระมหากษัตริย์สหราชอาณาจักรในราชวงศ์วินด์เซอร์ และเครือจักรภพอังกฤษระหว่างปี..

ดู วินสตัน เชอร์ชิลและสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 แห่งสหราชอาณาจักร

สหภาพโซเวียต

หภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต (Сою́з Сове́тских Социалисти́ческих Респу́блик - CCCP; Union of Soviet Socialist Republics - USSR) หรือย่อเป็น สหภาพโซเวียต (Soviet Union) เป็นประเทศอภิมหาอำนาจในอดีตบนทวีปยูเรเชีย ระหว่างปี..

ดู วินสตัน เชอร์ชิลและสหภาพโซเวียต

สงครามลวง

ปสเตอร์ซึ่งถูกพบเห็นได้ทั่วไปในอังกฤษระหว่าง "สงครามลวง" สงครามลวง เป็นช่วงต้นของสงครามโลกครั้งที่สอง ตั้งแต่เดือนกันยายน..

ดู วินสตัน เชอร์ชิลและสงครามลวง

สงครามโบเออร์ครั้งที่สอง

งครามโบเออร์ครั้งที่สอง (Second Boer War) หรือ สงครามแอฟริกาใต้ (South African War) เริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม..

ดู วินสตัน เชอร์ชิลและสงครามโบเออร์ครั้งที่สอง

สงครามโลกครั้งที่สอง

งครามโลกครั้งที่สอง (World War II หรือ Second World Warคำว่าสงครามโลกครั้งที่สองในภาษาอังกฤษนั้น ในเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการของสหราชอาณาจักรและชาติตะวันตกใช้คำว่า "Second World War" ส่วนในสหรัฐใช้คำว่า "World War II" (ย่อเป็น "WWII" หรือ "WW2") ซึ่งเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการในประเทศส่วนใหญ่มักจะใช้ภาษาอังกฤษว่า "Second World War" (เช่น Zweiter Weltkrieg ในภาษาเยอรมัน; Segunda Guerra mundial ในภาษาสเปน; Seconde Guerre mondiale ในภาษาฝรั่งเศส) แต่ทั้งสองคำนี้โดยทั่วไปแล้วสามารถใช้แทนกันได้; แม้ในประวัติศาสตร์การทหารอย่างเป็นทางการ คำว่า "Second World War" ถูกสร้างขึ้นโดย แฟรงก์ บี.

ดู วินสตัน เชอร์ชิลและสงครามโลกครั้งที่สอง

สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

งครามโลกครั้งที่หนึ่ง (World War I หรือ First World War) หรือที่มักเรียกว่า "สงครามโลก" หรือ "มหาสงคราม" (Great War) ก่อน..

ดู วินสตัน เชอร์ชิลและสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

สงครามเกาหลี

งครามเกาหลี (25 มิถุนายน 1950 – 27 กรกฎาคม 1953) เป็นสงครามระหว่างสาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) โดยได้รับการสนับสนุนจากสหประชาชาติฝ่ายหนึ่ง กับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี (เกาหลีเหนือ) โดยได้รับการสนับสนุนจากสาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นหลัก อีกฝ่ายหนึ่ง สงครามเกาหลีเป็นผลจากเขตทางการเมืองของเกาหลีโดยความตกลงที่ฝ่ายสัมพันธมิตรผู้ชนะกระทำเมื่อสงครามแปซิฟิกยุติ คาบสมุทรเกาหลีถูกจักรวรรดิญี่ปุ่นปกครองตั้งแต่ปี 1910 กระทั่งสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุด หลังการยอมจำนนของจักรวรรดิญี่ปุ่นในเดือนกันยายน 1945 นักปกครองชาวอเมริกันได้แบ่งคาบสมุทรตามเส้นขนานที่ 38 โดยกองกำลังทหารสหรัฐยึดครองส่วนใต้ และกองกำลังทหารโซเวียตยึดครองส่วนเหนือ ความล้มเหลวในการจัดการเลือกตั้งเสรีทั่วคาบสมุทรเกาหลีในปี 1948 ยิ่งตอกลึกการแบ่งแยกระหว่างสองฝ่าย เกาหลีเหนือจึงสถาปนารัฐบาลคอมมิวนิสต์ ขณะที่เกาหลีใต้สถาปนารัฐบาลประชาธิปไตยในนาม เส้นขนานที่ 38 กลายเป็นพรมแดนทางการเมืองเพิ่มขึ้นระหว่างสองรัฐเกาหลี แม้การเจรจาเพื่อรวมประเทศยังคงดำเนินต่อมาหลายเดือนก่อนเกิดสงคราม แต่ความตึงเครียดยิ่งทวีขึ้น เกิดการรบปะทะและการตีโฉบฉวยข้ามพรมแดนเส้นขนานที่ 38 อยู่เนือง ๆ สถานการณ์บานปลายเป็นการสงครามเปิดเผยเมื่อกองกำลังเกาหลีเหนือบุกครองเกาหลีใต้เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 1950 ปีเดียวกัน สหภาพโซเวียตคว่ำบาตรคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ เพื่อเป็นการประท้วงที่รัฐบาลก๊กมินตั๋ง/สาธารณรัฐจีนเป็นผู้แทนของจีน ซึ่งลี้ภัยไปยังเกาะไต้หวันหลังปราชัยสงครามกลางเมืองจีน เมื่อขาดเสียงไม่เห็นพ้องจากสหภาพโซเวียต ซึ่งมีอำนาจยับยั้งข้อมติคณะมนตรีความมั่นคงฯ สหรัฐอเมริกาและประเทศอื่นจึงผ่านข้อมติที่อนุญาตให้แทรกแซงทางทหารในเกาหลี สหรัฐอเมริกาจัดหาทหารคิดเป็น 88% ของทหารนานาชาติ 341,000 นาย ที่ถูกส่งไปช่วยเหลือกองกำลังเกาหลีใต้ขับการบุกครอง โดยมีรัฐสมาชิกสหประชาชาติอื่นอีก 20 ประเทศเสนอความช่วยเหลือ หลังประสบความสูญเสียอย่างหนักในช่วงสองเดือนแรก ฝ่ายตั้งรับถูกผลักดันกลับไปยังพื้นที่เล็ก ๆ ทางใต้ของคาบสมุทรเกาหลี ซึ่งมีชื่อว่า วงรอบปูซาน จากนั้น การรุกโต้ตอบอย่างรวดเร็วของสหประชาชาติได้ขับทหารเกาหลีเหนือผ่านเส้นขนานที่ 38 ขึ้นไปเกือบถึงแม่น้ำยาลู เมื่อสาธารณรัฐประชาชนจีนเข้าสู่สงครามโดยอยู่ฝ่ายเดียวกับเกาหลีเหนือ การเข้าแทรกแซงของจีนบีบให้กองกำลังเกาหลีใต้และพันธมิตรถอยกลับไปใต้เส้นขนานที่ 38 อีกครั้ง แม้สหภาพโซเวียตจะมิได้ส่งทหารเข้าร่วมในความขัดแย้งโดยตรง แต่ก็ให้ความช่วยเหลือด้านยุทธปัจจัยแก่ทั้งกองทัพเกาหลีเหนือและจีน การสู้รบยุติลงเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 1953 เมื่อมีการลงนามในความตกลงการสงบศึก ความตกลงดังกล่าวฟื้นฟูพรมแดนระหว่างประเทศใกล้กับเส้นขนานที่ 38 และสถาปนาเขตปลอดทหารเกาหลี แนวกันชนที่มีการป้องกันกว้าง 4.0 กิโลเมตร ระหว่างสองชาติเกาหลี อุบัติการณ์ขนาดย่อมยังคงดำเนินต่อมาตราบจนปัจจุบัน ปัจจัยที่ทำให้สงครามเกาหลียุติเพราะ สตาลินเสียชีวิต และรัฐบาลใหม่โซเวียต ให้บอกให้จีนและเกาหลีเหนือยุติสงครามเกาหลี จากมุมมองวิทยาศาสตร์การทหาร สงครามเกาหลีเป็นการรวมยุทธศาสตร์และยุทธวิธีของสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและสงครามโลกครั้งที่สองเข้าด้วยกัน โดยเริ่มต้นจากการสงครามเคลื่อนที่ด้วยการเข้าตีของทหารราบอย่างรวดเร็ว ตามด้วยการตีโฉบฉวยทิ้งระเบิดทางอากาศ แต่กลายเป็นสงครามสนามเพลาะที่อยู่นิ่งเมื่อถึงเดือนกรกฎาคม 1951.

ดู วินสตัน เชอร์ชิลและสงครามเกาหลี

สแตนลีย์ บอลดวิน

แตนลีย์ บอลดวิน เอิร์ลบอลดวินแห่งบิวดลีย์ (Stanley Baldwin, 1st Earl Baldwin of Bewdley) เป็นนักการเมืองชาวอังกฤษจากพรรคอนุรักษนิยม เขาทำงานในรัฐบาลอังกฤษคาบเกี่ยวในช่วงเวลาตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่หนึ่งและสงครามโลกครั้งที่สอง และได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีถึงสามครั้ง และเป็นนายกรัฐมนตรีเพียงคนเดียวที่ดำรงตำแหน่งในสามรัชกาล (พระเจ้าจอร์จที่ 5, พระเจ้าเอดเวิร์ดที่ 8 และ พระเจ้าจอร์จที่ 6) เขาเข้าเป็นสมาชิกสภาสามัญชนใน..

ดู วินสตัน เชอร์ชิลและสแตนลีย์ บอลดวิน

อดอล์ฟ ฮิตเลอร์

อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ (Adolf Hitler) เป็นนักการเมืองเยอรมันเชื้อชาติออสเตรีย หัวหน้าพรรคกรรมกรชาติสังคมนิยมเยอรมัน หรือที่รู้จักกันทั่วไปในชื่อ พรรคนาซี ฮิตเลอร์ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเยอรมนี ระหว่าง..

ดู วินสตัน เชอร์ชิลและอดอล์ฟ ฮิตเลอร์

อเมริกัน

อเมริกัน อาจหมายถึง.

ดู วินสตัน เชอร์ชิลและอเมริกัน

จอห์น เชอร์ชิล ดยุกแห่งมาร์ลบะระ

อห์น เชอร์ชิล ดยุกแห่งมาร์ลบะระ (John Churchill, 1st Duke of Marlborough) เป็นแม่ทัพและรัฐบุรุษชาวอังกฤษผู้รับราชการในพระเจ้าแผ่นดิน 5 พระองค์ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ถึง 18 เขาเป็นแม่ทัพคนสำคัญในสงครามสืบราชบัลลังก์สเปน ซึ่งทำให้อังกฤษได้เข้าครอบครองช่องแคบยิบรอลตาร์และเกาะมินอร์กา จอห์น เชอร์ชิลเริ่มขีวิตการทำงานด้วยการเป็นมหาดเล็กในราชสำนักของราชวงศ์สจวตในราชอาณาจักรอังกฤษ แต่ความเก่งกล้าสามารถในสนามรบทำให้ได้รับการเลื่อนตำแหน่งขึ้นอย่างรวดเร็วจากเจ้าชายเจมส์ ดยุกแห่งยอร์ค เมื่อเจ้าชายเจมส์ขึ้นครองราชบัลลังก์ในปี ค.ศ.

ดู วินสตัน เชอร์ชิลและจอห์น เชอร์ชิล ดยุกแห่งมาร์ลบะระ

ทหาร

ทหารในประเทศเคนยา ทหาร หมายถึง ผู้มีหน้าที่ในเรื่องรบ นักรบ ผู้เป็นกำลังรักษาความมั่นคงและบำรุงประเทศและผู้เป็นกำลังรบและทำหน้าที่อื่นๆ ในยามสงคราม.

ดู วินสตัน เชอร์ชิลและทหาร

ทะเลบอลติก

ทะเลบอลติก (Baltic Sea) ตั้งอยู่ในภูมิภาคยุโรปเหนือ ห้อมล้อมด้วยคาบสมุทรสแกนดิเนเวีย แผ่นดินใหญ่ของภูมิภาคยุโรปเหนือ ภูมิภาคยุโรปตะวันออก ภูมิภาคยุโรปกลาง และหมู่เกาะของประเทศเดนมาร์ก ทะเลนี้เชื่อมเข้าสู่ช่องแคบแคตทีแกต (Kattegat) ผ่านทางช่องแคบเออเรซุนด์ (Öresund) ช่องแคบเกรตเบลต์ (Great Belt) และช่องแคบลิตเทิลเบลต์ (Little Belt) ซึ่งหากผ่านช่องแคบแคทีแกตต่อไปก็จะพบช่องแคบสแกเกอร์แรก (Skagerrak) ที่จะเข้าสู่ทะเลเหนือและมหาสมุทรแอตแลนติก ทะเลบอลติกยังเชื่อมต่อกับทะเลขาวด้วยคลองไวต์ซี (White Sea) และเชื่อมต่อกับทะเลเหนือโดยผ่านทางคลองคีล (Kiel).

ดู วินสตัน เชอร์ชิลและทะเลบอลติก

ดยุกแห่งมาร์ลบะระ

กแห่งมาร์ลบะระ (Duke of Marlborough) เป็นตำแหน่งขุนนางสหราชอาณาจักร ซึ่งถูกยกขึ้นมาจากตำแหน่งเอิร์ลแห่งมาร์ลบะระในปี..

ดู วินสตัน เชอร์ชิลและดยุกแห่งมาร์ลบะระ

ดับลิน

ับลิน (Dublin; ไอริช: Baile Átha Cliath) เป็นเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของสาธารณรัฐไอร์แลนด์ ชื่อดับลินนั้นมาจากคำว่า Dubh Linn ซึ่งในภาษาไอริชมีความหมายว่า "สระน้ำสีดำ" (Black Pool) ดับลินมีพื้นที่ประมาณ 114.99 ตารางกิโลเมตร มีประชากรประมาณ 495,781 คนในเขตตัวเมือง.

ดู วินสตัน เชอร์ชิลและดับลิน

ตระกูลสเปนเซอร์

ตระกูลสเปนเซอร์ (Spencer family) เป็นหนึ่งในตระกูลขุนนางและชนชั้นสูงเก่าแก่ของเกาะอังกฤษ สมาชิกในตระกูลนี้ได้รับแต่งตั้งเป็นอัศวิน, บารอเนต และขุนนางจำนวนมาก โดยตำแหน่งขุนนางสืบตระกูลที่ตระกูลนี้ถือครองอยู่ ได้แก่ ดยุกแห่งมาร์ลบะระ, เอิร์ลแห่งซันเดอร์แลนด์, เอิร์ลสเปนเซอร์ และไวเคานต์เชอร์ชิล สมาชิกตระกูลนี้ที่มีชื่อเสียงอย่างที่สุดในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ได้แก่ เซอร์ วินสตัน เชอร์ชิล และ ไดอานา เจ้าหญิงแห่งเวลส์ เฮนรี สเปนเซอร์ เป็นนายที่ดินเวิร์มเลกตันในมณฑลวาร์วิกเชอร์ และเป็นนายค่าเช่าของบ้านอัลทอร์ปในมณฑลนอร์แทมป์ตันเชอร์ ต่อมา จอร์จ สเปนเซอร์ ผู้เป็นหลาน ได้ค้าขายปศุศัตว์และสินค้าอื่นๆจนร่ำรวย เขาซื้อที่ดินเวิร์มเลกตันในปี 1506 และซื้อบ้านอัลทอร์ปในปี 1508 ที่ในอัลทอร์ปนี้กว้างนับพันไร่และทำให้การเลี้ยงแกะได้ผลดีมากH.

ดู วินสตัน เชอร์ชิลและตระกูลสเปนเซอร์

ปฏิบัติการวิลเฟรด

ปฏิบัติการวิลเฟรด (Operation Wilfred) เป็นแผนการของอังกฤษที่จะวางทุ่นระเบิดตามน่านน้ำระหว่างนอร์เวย์ไปจนถึงเกาะอังกฤษ เพื่อป้องกันไม่ให้กองเรือขนส่งสินค้าของเยอรมันขนส่งเหล็กอย่างดีจากสวีเดน ฝ่ายสัมพันธมิตรสันนิษฐานไว้ว่าการกระทำดังกล่าวอาจทำให้ฝ่ายเยอรมันตอบโต้ด้วยการยึดครองนอร์เวย์ และเมื่อถึงเวลานั้น ฝ่ายสัมพันธมิตรจะใช้แผนอาร์ 4 และยึดครองนอร์เวย์ หมวดหมู่:การทัพนอร์เวย์.

ดู วินสตัน เชอร์ชิลและปฏิบัติการวิลเฟรด

นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร

นายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ (Prime Minister of the United Kingdom of Great Britain and Northern Ireland) เป็นตำแหน่งหัวหน้ารัฐบาลในสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินแห่งสหราชอาณาจักร การกำหนดนโยบายและการบริหารราชการแผ่นดินต่างๆถือเป็นความรับผิดชอบของนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีต่อพระมหากษัตริย์, รัฐสภา, พรรคการเมือง และโดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีถือเป็นหนึ่งในสี่อำมาตย์นายก ซึ่งหมายถึงผู้บริหารสูงสุดทั้งสี่ของรัฐบาล นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันเป็น คนที่ 54 คือ เทเรซา เมย์ หัวหน้าพรรคอนุรักษนิยม ซึ่งได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม..

ดู วินสตัน เชอร์ชิลและนายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร

นาซีเยอรมนี

นาซีเยอรมนี (Nazi Germany) หรือ ไรช์ที่สาม (Drittes Reich) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ ไรช์เยอรมัน (Deutsches Reich) เป็นชื่อเรียกยุคหนึ่งในประวัติศาสตร์เยอรมนีระหว่างปี 1933 ถึง 1945 เมื่อประเทศเยอรมนีอยู่ภายใต้การควบคุมระบอบเผด็จการของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์และพรรคนาซี ในการปกครองของฮิตเลอร์ ประเทศเยอรมนีกลายเป็นรัฐฟาสซิสต์ซึ่งควบคุมแทบทุกแง่มุมของชีวิต นาซีเยอรมนีล่มสลายหลังฝ่ายสัมพันธมิตรพิชิตเยอรมนีในเดือนพฤษภาคม 1945 ซึ่งยุติสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐไวมาร์ เพาล์ ฟอน ฮินเดนบูร์กแต่งตั้งฮิตเลอร์เป็นนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 มกราคม 1933 จากนั้น พรรคนาซีเริ่มกำจัดคู่แข่งทางการเมืองและรวบอำนาจ ฮินเดนบูร์กถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 1934 และฮิตเลอร์เป็นผู้เผด็จการแห่งเยอรมนีโดยการรวมอำนาจและตำแหน่งของนายกรัฐมนตรีกับประธานาธิบดี มีการจัดการลงประชามติทั่วประเทศเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 1934 ทำให้ฮิตเลอร์เป็นฟือเรอร์ (ผู้นำ) เยอรมนีเพียงผู้เดียว อำนาจเบ็ดเสร็จทั้งหมดรวมอยู่ในมือของฮิตเลอร์ และคำของเขาอยู่เหนือกฎหมายทั้งปวง รัฐบาลมิได้เป็นหน่วยที่ร่วมมือประสานกัน หากแต่เป็นหมู่กลุ่มแยกต่าง ๆ ที่แก่งแย่งอำนาจและความนิยมจากฮิตเลอร์ ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ นาซีฟื้นฟูเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและยุติการว่างงานขนานใหญ่โดยใช้รายจ่ายทางทหารอย่างหนักและเศรษฐกิจแบบผสม มีการดำเนินการโยธาสาธารณะอย่างกว้างขวาง รวมการก่อสร้างเอาโทบาน การคืนเสถียรภาพทางเศรษฐกิจส่งเสริมความนิยมของรัฐบาลให้เพิ่มพูนขึ้น คตินิยมเชื้อชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การต่อต้านยิว เป็นลักษณะหัวใจของนาซีเยอรมนี โดยถือว่า กลุ่มชนเจอร์มานิค หรือเชื้อชาตินอร์ดิก (Nordic race) เป็นเชื้อชาติอารยันซึ่งบริสุทธิ์ที่สุด ฉะนั้นจึงเป็นเชื้อชาติปกครอง (master race) ชาวยิวและชนกลุ่มอื่นที่ถือว่าไม่พึงปรารถนาถูกเบียดเบียนหรือฆ่า และการค้านการปกครองของฮิตเลอร์ถูกปราบปรามอย่างโหดเหี้ยม สมาชิกฝ่ายค้านเสรีนิยม สังคมนิยมและคอมมิวนิสต์ถูกฆ่า จำคุกหรือเนรเทศ โบสถ์คริสต์ก็ถูกกดขี่เช่นกัน โดยผู้นำหลายคนถูกจำคุก การศึกษามุ่งเน้นชีววิทยาเชื้อชาติ นโยบายประชากร และสมรรถภาพทางกายสำหรับราชการทหาร โอกาสในอาชีพและการศึกษาของสตรีถูกตัดทอน มีการจัดนันทนาการและการท่องเที่ยวผ่านโครงการความแข็งแรงผ่านความรื่นเริง (Strength Through Joy) มีการใช้โอลิมปิกฤดูร้อน 1936 เป็นตัวนำเสนอไรช์ที่สามในเวทีระหว่างประเทศ รัฐมนตรีโฆษณาการ โยเซฟ เกิบเบิลส์ ใช้ภาพยนตร์ การชุมนุมมวลชน และวาทศิลป์จับจิตของฮิตเลอร์เพื่อควบคุมมติมหาชนอย่างได้ผล รัฐบาลควบคุมการแสดงออกทางศิลปะ โดยสนับสนุนศิลปะบางรูปแบบ แต่ขัดขวางหรือห้ามศิลปะรูปแบบอื่น เริ่มตั้งแต่ปลายคริสต์ทศวรรษ 1930 นาซีเยอรมนีเรียกร้องดินแดนอย่างก้าวร้าวมากขึ้นเรื่อย ๆ และขู่ทำสงครามหากไม่สนองข้อเรียกร้อง เยอรมนียึดออสเตรียและเชโกสโลวาเกียในปี 1938 และ 1939 ฮิตเลอร์ทำสนธิสัญญาไม่รุกรานกับโจเซฟ สตาลิน และบุกครองโปแลนด์ในเดือนกันยายน 1939 เป็นการเปิดฉากสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป เยอรมนีเข้าเป็นพันธมิตรกับอิตาลีและฝ่ายอักษะที่เล็กกว่าและพิชิตทวีปยุโรปส่วนใหญ่เมื่อถึงปี 1940 และคุกคามสหราชอาณาจักร ไรช์ซคอมมิสซารีอัทควบคุมพื้นที่ที่ถูกพิชิตอย่างโหดร้ายและมีการสถาปนาการปกครองของเยอรมนีในประเทศโปแลนด์ที่เหลืออยู่ ชาวยิวและกลุ่มอื่นที่ถือว่าไม่พึงปรารถนาถูกจำคุกในค่ายกักกันและค่ายกำจัดนาซี การนำนโยบายเชื้อชาติของระบอบไปปฏิบัติลงเอยด้วยการสังหารชาวยิวและชนกลุ่มน้อยอื่นเป็นอันมากในฮอโลคอสต์ หลังการรุกรานสหภาพโซเวียตในปี 1941 นาซีเยอรมนีก็เริ่มเป็นรอง และปราชัยทางทหารสำคัญหลายครั้งในปี 1943 การทิ้งระเบิดทางอากาศต่อประเทศเยอรมนีทวีขึ้นในปี 1944 และฝ่ายอักษะถอยจากยุโรปตะวันออกและยุโรปใต้ หลังการบุกครองฝรั่งเศสของสัมพันธมิตร ประเทศเยอรมนีถูกโซเวียตจากทิศตะวันออกและฝ่ายสัมพันธมิตรจากทิศตะวันตกพิชิตและยอมจำนนในหนึ่งปี การที่ฮิตเลอร์ปฏิเสธยอมรับความปราชัยนำให้โครงสร้างพื้นฐานของเยอรมนีถูกทำลายล้างขนานใหญ่และการเสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับสงครามเพิ่มในเดือนท้าย ๆ ของสงคราม ฝ่ายสัมพันธมิตรผู้กำชัยริเริ่มนโยบายขจัดความเป็นนาซี (denazification) และนำผู้นำนาซีที่เหลือรอดหลายคนมาพิจารณาคดีอาชญากรรมสงครามในการพิจารณาคดีเนือร์นแบร์ก ส่วนประเทศเยอรมนีถูกยึดครองโดยมหาอำนาจฝ่ายสัมพันธมิตรคือ ฝรั่งเศส สหภาพโซเวียต สหรัฐอเมริกา และสหราชอาณาจักร.

ดู วินสตัน เชอร์ชิลและนาซีเยอรมนี

แฟรงกลิน ดี. โรสเวลต์

แฟรงกลิน เดลาโน โรสเวลต์ (อังกฤษ: Franklin Delano Roosevelt) เกิดวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2425 (ค.ศ. 1882) เสียชีวิตวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2488 (ค.ศ. 1945) เป็นประธานาธิบดีคนที่ 32 ของสหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ยังเป็นประธานาธิบดีที่ดำรงตำแหน่งยาวนานที่สุด (พ.ศ.

ดู วินสตัน เชอร์ชิลและแฟรงกลิน ดี. โรสเวลต์

แองกลิคัน

นิกายแองกลิคัน (Anglicanism) คือคำที่กล่าวถึงความเชื่อหรือการปฏิบัติของนิกายศาสนาคริสต์ที่มีประวัติเกี่ยวข้องกับ หรือ มีการปฏิบัติที่คล้ายคลึงกับคริสตจักรแห่งอังกฤษ คำว่า “อังกลิคัน” มาจากคำว่า “ecclesia anglicana” ในภาษาละตินยุคกลางที่ใช้กันมาตั้งแต..

ดู วินสตัน เชอร์ชิลและแองกลิคัน

แอนโทนี อีเดน

แอนโทนี อีเดน เอิร์ลแห่งเอวอง (Anthony Eden, 1st Earl of Avon) เป็นนักการเมืองชาวอังกฤษจากพรรคอนุรักษนิยม เคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการต่างประเทศสามสมัย รัฐมนตรีว่าการสงคราม รัฐมนตรีว่าการอาณานิคม และนายกรัฐมนตรี เขาได้เข้าเป็นสมาชิกรัฐสภาตั้งแต่อายุยังน้อย โดยได้เป็นรัฐมนตรีว่าการต่างประเทศขณะมีอายุเพียง 38 ปี ก่อนที่จะลาออกเพื่อเป็นการประท้วงนายกรัฐมนตรีเนวิล เชมเบอร์ลิน จากนโยบายโอนอ่อนผ่อนปรณต่อมุสโสลินี ผู้นำอิตาลีขณะนั้น ต่อมาเขาได้กลับมารับตำแหน่งนี้อีกครั้งในรัฐบาลของวินสตัน เชอร์ชิล และอยู่ในตำแหน่งนี้ตลอดช่วงเวลาของสงครามโลกครั้งที่สอง เขายังเป็นผู้นำอันดับสองในรัฐบาลของเชอร์ชิลยาวนานกว่า 15 ปี ก่อนที่เขาจะได้สืบต่อตำแหน่งนายกรัฐมนตรีจากเชอร์ชิลในปี..

ดู วินสตัน เชอร์ชิลและแอนโทนี อีเดน

แฮร์รี เอส. ทรูแมน

ันเอก แฮร์รี เอส ทรูแมน (อังกฤษ: Harry S Truman) เกิดวันที่ 8 พฤษภาคม ค.ศ. 1884 เสียชีวิตวันที่ 26 ธันวาคม ค.ศ. 1972 เป็นรองประธานาธิบดีคนที่ 34 (ค.ศ.

ดู วินสตัน เชอร์ชิลและแฮร์รี เอส. ทรูแมน

โรงเรียนนายร้อยทหารบกแซนด์เฮิสต์

รงเรียนนายร้อยทหารบกแซนด์เฮิสต์ (Royal Military Academy Sandhurst) หรือชื่อในอดีตคือ ราชวิทยาลัยการทหารแซนด์เฮิสต์ (Royal Military College, Sandhurst) เป็นสถาบันฝึกสอนทางการทหารของกองทัพสหราชอาณาจักร ตั้งอยู่ใกล้กับเมืองแซนด์เฮิสต์ในเทศมณฑลบาร์กเชอร์ สหราชอาณาจักร.

ดู วินสตัน เชอร์ชิลและโรงเรียนนายร้อยทหารบกแซนด์เฮิสต์

โจเซฟ สตาลิน

ซฟ สตาลิน (รัสเซีย: Иосиф Виссарионович Сталин Iosif Vissarionovich Stalin อิโอซิฟ วิซซาริโอโนวิช สตาลิน; อังกฤษ: Joseph Stalin) (1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1878 - 5 มีนาคม ค.ศ.

ดู วินสตัน เชอร์ชิลและโจเซฟ สตาลิน

ไบรตัน

รตัน ไบรตัน (Brighton) เป็นแหล่งสถานที่พักตากอากาศทางริมชายฝั่งทะเลตอนใต้ ที่มีชื่อเสียงของประเทศอังกฤษ ตั้งอยู่ที่นครไบรตันและโฮฟ ในเทศมณฑลอีสต์ซัสเซกซ์ จากหลักฐานทางโบราณคดี ปรากฏร่องรอยการตั้งถิ่นฐานของประชากรในไบรตันตั้งแต่บริเตนยุคสัมริด, บริเตนสมัยโรมัน และในยุคอังกฤษสมัยแองโกล-แซกซัน โดยในบันทึกดูมสเดย์ของพระเจ้าวิลเลียมที่ 1 แห่งอังกฤษ (ค.ศ.

ดู วินสตัน เชอร์ชิลและไบรตัน

เกสตาโพ

รื่องแบบเกสตาโพ เกสตาโพ (Gestapo) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ ทบวงตำรวจลับของรัฐ (Geheime Staatspolizei) เป็นตำรวจลับอย่างเป็นทางการของนาซีเยอรมนี เริ่มตั้งแต่วันที่ 20 เมษายน..

ดู วินสตัน เชอร์ชิลและเกสตาโพ

เอ็ดเวิร์ด วูด เอิร์ลแห่งฮาลิแฟกซ์

อ็ดเวิร์ด เฟรเดริก ลินเลย์ วูด เอิร์ลแห่งฮาลิแฟกซ์ (Edward Frederick Lindley Wood, 1st Earl of Halifax) เป็นหนึ่งในนักการเมืองอาวุโสที่สุดในพรรคอนุรักษนิยมของสหราชอาณาจักรในทศวรรษที่ 1930 เขาได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีหลายกระทรวง และยังได้เป็นอุปราชแห่งอินเดียระหว่าง..

ดู วินสตัน เชอร์ชิลและเอ็ดเวิร์ด วูด เอิร์ลแห่งฮาลิแฟกซ์

เขตการค้าเสรี

MERCOSUR เป็นตัวอย่างของเขตการค้าเสรีระหว่างประเทศกรวยภาคใต้ เขตการค้าเสรี (Free trade area, FTA) เป็นกลุ่มประเทศที่ได้ทำข้อตกลงที่จะทำการค้าแบบเสรี โดยกำจัด การเก็บภาษีศุลกากร การจำกัดส่วนแบ่ง (โควตา) และการให้สิทธิพิเศษ กับสินค้าส่วนใหญ่ (ถ้าไม่ทั้งหมด) ที่ทำการค้าขายระหว่างกัน.

ดู วินสตัน เชอร์ชิลและเขตการค้าเสรี

เดอะไรต์ออนะระเบิล

เดอะไรต์ออนะระเบิล (The Right Honourable; ย่อว่า "The Rt Hon." หรือ "Rt Hon.") แปลว่า ผู้ทรงเกียรติอย่างยิ่ง เป็นคำเรียกขานตามประเพณีสำหรับบุคคลหรือกลุ่มบุคคลบางจำพวกในสหราชอาณาจักร แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และราชอาณาจักรบางแห่งในเครือจักรภพ ตลอดจนประเทศแถบแคริบเบียนที่ใช้ภาษาอังกฤษ มอริเชียส และประเทศอื่นในบางโอกาส คำเรียกขานนี้สำหรับผู้ยังมีชีวิตอยู่เท่านั้น ไม่ใช้แก่ผู้วายชนม์ หมวดหมู่:คำเรียกขาน.

ดู วินสตัน เชอร์ชิลและเดอะไรต์ออนะระเบิล

เครือจักรภพแห่งประชาชาติ

รือจักรภพแห่งประชาชาติ (Commonwealth of Nations) ชื่อเดิมคือ เครือจักรภพบริเตน (British Commonwealth) หรือเรียกอย่างง่ายว่า เครือจักรภพ เป็นองค์กรระหว่างประเทศในระดับรัฐบาล ประกอบด้วย 52 ชาติสมาชิกซึ่งส่วนมากเป็นอดีตอาณานิคมของจักรวรรดิบริเตน เครือจักรภพมีการดำเนินงานโดยยึดหลักฉันทามติของชาติสมาชิกจากที่ประชุม เครือจักรภพมีการดำเนินงานโดยสำนักเลขาธิการเครือจักรภพและองค์กรอิสระ ในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 อาณานิคมต่างๆของสหราชอาณาจักรเริ่มได้รับเอกราชเป็นของตนเอง เครือจักรภพแห่งประชาชาติกำเนิดขึ้นเมื่อมีปฏิญญาลอนดอนใน..

ดู วินสตัน เชอร์ชิลและเครือจักรภพแห่งประชาชาติ

เนวิล เชมเบอร์ลิน

อาร์เธอร์ เนวิล เชมเบอร์ลิน (Arthur Neville Chamberlain) เป็นนักการเมืองพรรคอนุรักษนิยมชาวอังกฤษ เป็นนายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักรตั้งแต่พฤษภาคม..

ดู วินสตัน เชอร์ชิลและเนวิล เชมเบอร์ลิน

ดูเพิ่มเติม

จักรวรรดิบริติชในสงครามโลกครั้งที่สอง

ชาวอังกฤษเชื้อสายอเมริกัน

ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยสหราชอาณาจักร

หัวหน้าพรรคอนุรักษนิยม

อัศวินแห่งอังกฤษ

หรือที่รู้จักกันในชื่อ Winston Churchillวินสตัน ลีโอนาร์ด สเปนเซอร์ เชอร์ชิลวินสตัน ลีโอนาร์ด สเปนเซอร์ เชอร์ชิลล์วินสตัน เชอร์ชิลล์เซอร์วินสตัน เชอร์ชิลล์

โจเซฟ สตาลินไบรตันเกสตาโพเอ็ดเวิร์ด วูด เอิร์ลแห่งฮาลิแฟกซ์เขตการค้าเสรีเดอะไรต์ออนะระเบิลเครือจักรภพแห่งประชาชาติเนวิล เชมเบอร์ลิน