โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

วิทยาสัตว์ลึกลับและโอรังเป็นเดะก์

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง วิทยาสัตว์ลึกลับและโอรังเป็นเดะก์

วิทยาสัตว์ลึกลับ vs. โอรังเป็นเดะก์

วิทยาสัตว์ลึกลับ หรือ วิทยาสัตว์ประหลาด (Cryptozoology; มาจากภาษากรีก κρυπτός, (kryptos), "ซ่อนเร้น" รวมกับคำว่า สัตววิทยา อันหมายถึง "การศึกษาสัตว์ที่ซ่อนเร้น") เป็นศาสตร์ชนิดหนึ่ง ที่ศึกษาเกี่ยวกับสัตว์ที่ยังไม่เป็นที่รู้จักกันในทางวิทยาศาสตร์ หรือสัตว์ประหลาด อาทิ บิ๊กฟุต, ชูปาคาบรา ศาสตร์แขนงนี้ได้ถูกบัญญัติขึ้นโดย แบร์นาร์ด อูเวลมงส์ นักชีววิทยาชาวเบลเยียม จนได้รับการยกย่องว่าเป็น "บิดาแห่งวิทยาสัตว์ลึกลับ" วิทยาสัตว์ลึกลับ ได้มีผู้ที่ศึกษาศาสตร์ทางด้านนี้อย่างจริงจัง มีนักวิทยาศาสตร์หลายคนที่มีชื่อเสียงทางด้านนี้ อาทิ คาร์ล ชูเกอร์ ชาวอังกฤษ, รอย แมคคัล และลอเรน โคลแมน ชาวอเมริกัน เป็นต้น จนมีการก่อตั้งขึ้นเป็น สมาคมวิทยาสัตว์ลึกลับนานาชาติ (International society of Cryptozoology, ตัวย่อ: ISC) ขึ้นในปี ค.ศ. 1982 มีสำนักงานใหญ่ที่เมืองทูซอน รัฐแอริโซนา สหรัฐอเมริกา โดยทุกปีสมาคมจัดการประชุมใหญ่เพื่อให้สมาชิกแลกเปลี่ยนความรู้และยังมีการจัดส่งคณะออกสำรวจค้นหาสัตว์ลึกลับจากทั่วโลกเป็นประจำ เช่น การทดสอบดีเอ็นเอของเยติ เป็นต้น อย่างไรก็ดี ได้มีการวิจารณ์ว่า วิทยาสัตว์ลึกลับเป็นศาสตร์ที่ไม่ได้รับการยอมรับจากนักวิทยาศาสตร์อย่างแท้จริง และไม่ยอมรับให้เป็นแขนงหนึ่งของสัตววิทยา โดยถือเป็นวิทยาศาสตร์เทียม ด้วยหลายอย่างมิได้ใช้ระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์ แต่สำหรับผู้ที่ศึกษาศาสตร์ทางด้านนี้กลับมีความเชื่อมั่น ด้วยมีการค้นพบสัตว์หลายชนิดที่โลกไม่รู้จักหรือคิดว่าสูญพันธุ์ไปแล้วหลายอย่าง เช่น ปลาซีลาแคนท์ ที่แอฟริกา, ซาวลา ที่เวียดนาม เป็นต้น. วาดของโอรังเป็นเดะก์ตามจินตนาการของจิตรกร และความสูงเทียบกับมนุษย์ โอรังเป็นเดะก์ (orang pendek) เป็นสิ่งมีชีวิตลึกลับชนิดหนึ่งที่มีรูปร่างคล้ายมนุษย์หรือเอป เหมือนกับบิ๊กฟุตหรือแซสแควตช์ที่พบในอเมริกาเหนือ หรือเยติในเทือกเขาหิมาลัย "โอรังเป็นเดะก์" ในภาษาอินโดนีเซียมีความหมายว่า "คนเตี้ย" พบในป่าดิบชื้นใกล้ภูเขาหรือภูเขาไฟบนเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย ชาวพื้นเมืองของสุมาตรารู้จักโอรังเป็นเดะก์มาเป็นเวลาหลายศตวรรษแล้ว อย่างน้อยตั้งแต่ยุคของมาร์โคโปโล จนถึงกระทั่งยุคของอาณานิคมดัตช์ แต่เป็นที่รับรู้กันอย่างกว้างขวางมากขึ้นเมื่อต้นคริสต์ทศวรรษ 2000 โดยชาวตะวันตกที่เข้าไปสำรวจในพื้นที่ มีความเชื่อของชาวพื้นเมืองว่า โอรังเป็นเดะก์นั้นเป็นเจ้าแห่งป่า ยิ่งใหญ่กว่าเสือโคร่ง เพราะมีความสัมพันธ์กับป่าในเชิงวัฒนธรรมของชาวสุมาตรา ผู้ที่เคยพบเห็นโอรังเป็นเดะก์ต่างบอกว่า มันมีความสูงราว 3-4 ฟุต ซึ่งนับว่าเตี้ยกว่าสัตว์ประหลาดประเภทเดียวกันที่พบกันในส่วนอื่นของโลกมาก มีขนตามลำตัวสีอ่อน เช่น สีเทา ใบหน้ามีขนสีเทาเงิน และหลังมือมีขนสีขาว แม้จะมีความสูงไม่มาก แต่โอรังเป็นเดะก์ก็เป็นสัตว์ที่มีพละกำลังมาก มีช่วงบ่าที่กว้าง หน้าอกใหญ่ บึกบึน ขนาดแขนใหญ่เท่ากับขามนุษย์ มีแรงมากถึงขนาดที่จะถอนต้นไม้ออกจากพื้นทั้งต้นได้ และส่งเสียงร้องดังและยาว พฤติกรรมของโอรังเป็นเดะก์คล้ายคลึงกับบิ๊กฟุต คือ ชอบที่จะเข้าไปขโมยผลิตผลทางการเกษตรหรือข้าวของของมนุษย์ที่เข้าไปทำเกษตรกรรมใกล้กับถิ่นที่อยู่ของมัน โอรังเป็นเดะก์เป็นสัตว์ที่ขี้ตื่นตกใจ เมื่อเผชิญหน้ากับมนุษย์จะวิ่งหนีเข้าป่าไปอย่างรวดเร็ว โดยจะเอาแขนทั้ง 2 ข้าง ชูไว้เหนือหัว เป็นพฤติกรรมที่เชื่อกันโดยนักสัตว์ประหลาดวิทยาว่า ทำไปเพื่อป้องกันส่วนหัวจากการถูกทำร้ายจากข้างหลังหรือข้างบน หรือเป็นการทำให้ตัวแลดูใหญ่ขึ้น ผู้ที่พบโอรังเป็นเดะก์พบในเวลากลางวันเท่านั้น ยังไม่มีรายงานพบในเวลากลางคืน โอรังเป็นเดะก์เป็นสัตว์ที่กินพืชเป็นอาหารหลัก โดยหากินตามพื้นดินและขุดหาสัตว์เล็ก ๆ เช่น แมลงหรือสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังขนาดเล็กในพื้นดิน กินเป็นอาหารด้วย แต่ไม่พบว่าล่าหรือกินสัตว์ขนาดใหญ่ โอรังเป็นเดะก์เป็นสัตว์ที่หากินตามลำพัง เพราะยังไม่เคยมีใครพบโอรังเป็นเดะก์อยู่เป็นคู่หรือมากกว่าหนึ่งตัว ซึ่งพฤติกรรมนี้แตกต่างจากบิ๊กฟุตที่พบในอเมริกาเหนือ เมื่อโอรังเป็นเดะก์บุกรุกแปลงผัก นอกจากจากขโมยกินแล้ว จะหยิบเอาผักติดมือไปด้วย แม้แต่วิ่งหนีก็จะยังหยิบผักติดตัวไป รวมถึงเชื่อว่าชอบที่จะกินทุเรียน และมีผู้เคยพบเห็นโอรังเป็นเดะก์นอนกลางพื้นในไร่เหมือนกับการอาบแดดด้ว.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง วิทยาสัตว์ลึกลับและโอรังเป็นเดะก์

วิทยาสัตว์ลึกลับและโอรังเป็นเดะก์ มี 3 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): บิ๊กฟุตสัตว์ประหลาดเยติ

บิ๊กฟุต

กฟุตในภาพเคลื่อนไหวจากกล้องวิดีโอ ในปี ค.ศ. 1967 รู้จักกันดีในชื่อของภาพยนตร์ของแพตเตอร์สัน–กิมลิน (Patterson–Gimlin film) บิ๊กฟุต (Bigfoot) หรือ แซสแควตช์ (Sasquatch) หรือชื่อที่แปลตรงตัวว่า "ไอ้ตีนโต" เป็นสิ่งมีชีวิตลึกลับที่เชื่อว่ามีรูปร่างคล้ายมนุษย์หรือเอป แต่มีขนดก พบในสหรัฐอเมริกาและแคนาดาในทวีปอเมริกาเหนือ โดยชื่อที่เรียกมีที่จากรอยเท้าที่มีลักษณะคล้ายมนุษย์แต่ใหญ่โตกว่ามาก ส่วนใหญ่บรรยายว่ามีความสูงถึง 8 ฟุต หรือ 9 ฟุต น้ำหนักอาจถึง 800 ปอนด์ มีขนดกปกคลุมทั่วตัวสีเข้ม มีแขนยาว ไร้คอ และใบหน้าเหมือนมนุษย์ มีตาแหลมคม มีพละกำลังมหาศาลสามารถทุ่มก้อนหินขนาดเท่าลูกบาสเก็ตบอลไปไกลได้อย่างสบาย และมีสัตว์ลักษณะคล้ายเคียงกันที่พบในภูมิภาคอื่นของโลก เช่น ที่เทือกเขาหิมาลัยในเนปาล เรียกเป็นภาษาพื้นเมืองว่า "เยติ" (เนปาล: यती; Yeti) หรือ มนุษย์หิมะ ที่ออสเตรเลียเรียกว่า "ยาวี" (Yowie) เป็นต้น โดยบิ๊กฟุตยังมีชื่อเรียกอื่น ๆ ต่างกันไปตามแต่ละชนเผ่าของอินเดียนแดง ซึ่งเป็นกลุ่มปฐมชาติของทวีปอเมริกาเหนือ เช่น "มายาเด็กเท็ก" ที่แปลได้ว่า "มนุษย์ขนดก" หรือ "มนุษย์กิ่งไม้", "หญิงตะกร้า" หรือ "ยายาริ" และคำว่า "แซสแควตช์" ตั้งขึ้นมาเมื่อปี..

บิ๊กฟุตและวิทยาสัตว์ลึกลับ · บิ๊กฟุตและโอรังเป็นเดะก์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์ประหลาด

รา หนึ่งในสัตว์ประหลาดของเทพปกรณัมกรีกที่มีชื่อเสียง สัตว์ประหลาด หรือ อสูรกาย (Monster, Cryptid) หมายถึงสิ่งมีชีวิตที่ผิดแปลกจากสภาพแวดล้อมโดยทั่ว ๆ ไป หรือสัตว์ที่มนุษย์ไม่เป็นที่รู้จัก สัตว์ประหลาดถูกกล่าวถึงในตำนานหรือนิทานของชนชาติต่าง ๆ มาแต่อดีตแล้ว โดยคำว่า Monster ที่หมายถึง สัตว์ประหลาด หรือ อสูรกาย ในภาษาอังกฤษนั้นมาจากภาษาละตินคำว่า Monstrum ซึ่งหมายถึง การเกิดสิ่งผิดปกติทางชีววิทยามักจะที่ถูกนำมาเป็นสัญลักษณ์ว่าสิ่งที่ถูกต้องภายในเพื่อธรรมชาติ ความหมายของคำว่า Monster ไม่เหมือนกับปีศาจ ซึ่งหมายถึง ความชั่วร้าย โดยปกติแล้ว Monster หรือ สัตว์ประหลาด จะหมายถึงสิ่งที่น่ารังเกียจหรือผิดศีลธรรม หรือความผิดปกติทางร่างกายหรือจิตใจอย่างน่าเกลียด หรือความวิปริตทางธรรมชาติ นอกจากนี้แล้วยังนำมาใช้เปรียบเปรยกับผู้ที่มีลักษณะโลภโมโทสันหรือบุคคลที่แลดูน่ากลัวด้วย นอกจากนี้แล้ว สัตว์ประหลาดยังปรากฏตัวในสื่อวัฒนธรรมร่วมสมัยทั้งการ์ตูน ภาพยนตร์ และวิดีโอเกม โดยทั่วไปแล้ว สัตว์ประหลาดมักมีลักษณะน่ากลัวและดุร้าย แต่ในสื่อสารมวลชนยุคใหม่ก็มีสัตว์ประหลาดที่มีบทบาทในลักษณะของอสูรกายที่เป็นมิตรหรือถูกเข้าใจผิด เช่น คิงคอง หรือ อสูรกายของแฟรงเกนสไตน์ เป็นต้น ในภาพยนตร์มีเนื้อหาเกี่ยวกับสัตว์ประหลาดอยู่มากมาย อาทิ Godzilla ของฮอลลีวู้ดในปี ค.ศ. 1998 ที่ดัดแปลงมาจากตัวละครเอกคือ ก็อตซิลล่า ของญี่ปุ่น, The Mist ในปี ค.ศ. 2008 หรือแม้แต่ในภาพยนตร์ไทย เช่น มันมากับความมืด ในปี ค.ศ. 1971 จากการกำกับโดย หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล, มาห์ ในปี ค.ศ. 1991 หรือ ปักษาวายุ ในปี ค.ศ. 2004 เป็นต้น ในวัฒนธรรมไทย ก็มีสัตว์ประหลาดอยู่มากมาย ตามคติจักรวาลวิทยาทางศาสนาพราหมณ์-ฮินดูหรือพุทธศาสนา มีป่าหิมพานต์ซึ่งเป็นป่าศักดิ์สิทธิ์อยู่เชิงเขาไกรลาศ มีสัตว์ประหลาดมากมาย เรียกว่า สัตว์หิมพานต์ ซึ่งมักปรากฏภาพเป็นจิตรกรรมฝาผนังตามวัดต่าง ๆ ในเชิงวิชาการ มีศาสตร์แขนงหนึ่งของสัตววิทยาที่ศึกษาเกี่ยวกับสัตว์ประหลาดโดยเฉพาะ เรียกว่า สัตว์ประหลาดวิทยา หรือ สัตว์ลึกลับวิทยา (Cryptozoology) ซึ่งคำว่า Cryptozoology มาจากภาษากรีกคำว่า Kρυπτός (Kryptos) หมายถึง "ซ่อนอยู่" ผสมกับ Zoology ก็คือ สัตววิทยา นั่นเอง โดยนักวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับศาสตร์ประเภทนี้ เรียกว่า นักสัตว์ประหลาดวิทยา นักสัตว์ประหลาดวิทยาที่มีชื่อเสียง ได้แก่ คาร์ล ชูเกอร์ ชาวอังกฤษ, เบอร์นาร์ด ฮูเวลมานส์ ชาวเบลเยียม ที่ได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งศาสตร์แขนงนี้และเป็นผู้ตั้งศาสตร์แขนงนี้ด้ว.

วิทยาสัตว์ลึกลับและสัตว์ประหลาด · สัตว์ประหลาดและโอรังเป็นเดะก์ · ดูเพิ่มเติม »

เยติ

รคดี เยติ หรือ มนุษย์หิมะ (เนปาลี: हिममानव himamānav, คำแปล "มนุษย์หิมะ") เป็นชื่อที่ใช้เรียกสัตว์ประหลาดชนิดหนึ่ง ในความเชื่อของชาวเชอร์ปา ชนพื้นเมืองที่อาศัยอยู่แถบเทือกเขาหิมาลัย ในประเทศเนปาล, ภูฏาน, ธิเบต, จีน จนถึงบางพื้นที่ในมองโกเลียและรัสเซีย โดยเชื่อว่าเยติ เป็นสัตว์ขนาดใหญ่สูงตั้งแต่ 5–8 ฟุต น้ำหนักประมาณ 600 ปอนด์ ที่คล้ายมนุษย์ผสมกับลิงไม่มีหางคล้าย กอริลลา มีขนยาวสีน้ำตาลแดงหรือน้ำตาลดำหรือสีเทาหรือเทาเข้มปกคลุมทั้งลำตัว ยกเว้นใบหน้าที่มีสีคล้ำ มีเสียงร้องที่น่าสะพรึงกลัว โดยปรกติแล้ว เยติเป็นสัตว์ที่มีนิสัยสงบเสงี่ยม แต่อาจดุร้ายโจมตีใส่มนุษย์และสัตว์เลี้ยง เช่น จามรี ได้ในบางครั้ง เยติ ปรากฏอยู่ในวัฒนธรรมของชาวเชอร์ปามาอย่างช้านาน โดยถูกกล่าวถึงในนิทานและเพลงพื้นบ้าน และเรื่องเล่าขานต่อกันมาถึงผู้ที่เคยพบมัน นอกจากนี้แล้วยังปรากฏในศิลปะของพุทธศาสนานิกายมหายานแบบธิเบต โดยปรากฏเป็นภาพในพรมธิเบตที่แขวนไว้ที่ฝาผนังเหมือนจิตรกรรมฝาผนังในวัดลามะอายุกว่า 400 ปี เป็นภาพของสิ่งมีชีวิตประหลาดอย่างหนึ่งที่ขนดกอยู่ด้านมุมภาพและในมือถือกะโหลกมนุษย์อยู่ และปัจจุบันนี้ ก็มีสิ่งที่เชื่อว่าเป็นหนังหัวของเยติถูกเก็บรักษาไว้อย่างดีในวัดลามะแห่งหนึ่งในคุมจุง ซึ่งนับว่าเยติเป็นสัตว์ที่ถูกกล่าวอ้างถึงยาวนานกว่าสัตว์ประหลาดที่มีลักษณะคล้ายกันชนิดอื่นที่พบในอีกซีกโลก เช่น บิ๊กฟุต หรือ ซาสควาทช์ ในทวีปอเมริกาเหนือ, ยาวี ในทวีปออสเตรเลีย หรืออัลมาส์ ในเอเชียกลาง หากแต่หลักฐานเกี่ยวกับเยติเมื่อเทียบกับบิ๊กฟุตแล้วพบน้อยกว่ามาก แต่มีหลายกรณีที่บ่งชี้ว่าเป็นสัตว์ที่ดุร้าย ก้าวร้าวกว่ามาก นอกจากคำว่าเยติแล้ว ยังมีชื่อเรียกอื่น ๆ ที่เรียกเยติ เช่น เธลม่า (Thelma), แปลว่า "ชายตัวเล็ก" เชื่อว่ามีนิสัยรักสงบ ชอบสะสมกิ่งไม้และชอบร้องเพลงขณะที่เดินไป, ดซูท์เทห์ (Dzuteh) เป็นเยติขนาดใหญ่ มีขนหยาบกร้านรุงรัง มีนิสัยดุร้ายชอบโจมตีใส่มนุษย์, มิห์เทห์ (Mith-teh) มีนิสัยคล้ายดซูท์เทห์ คือ ดุร้าย มีขนสีน้ำตาลแดงหรือน้ำตาลดำ, เมียกา (Mirka) แปลว่า "คนป่า" เชื่อว่าหากมันพบเห็นสิ่งใดไม่ว่าจะเป็นมนุษย์หรือสัตว์ มันจะทำร้ายจนถึงแก่ความตาย, คัง แอดมี (Kang Admi) แปลว่า "มนุษย์หิมะ" และ โจบราน (JoBran) แปลว่า "ตัวกินคน" ขณะที่ในภูฏานเรียกว่า มิกอย (Migoi) หรือ นากอย (Nagoi) ส่วนชื่อ มนุษย์หิมะ นั้น ปรากฎขึ้นครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1921 เมื่อนักสำรวจชาวตะวันตกซึ่งเป็นผู้ที่ถ่ายภาพรอยเท้าของเยติไว้ได้เป็นภาพแรก เจอกับปัญหาการแปลภาษาเชอร์ปา ซึ่งมาจากคำว่า "ดซูท์เทห์" ที่แปลได้ว่า "มนุษย์ตัวเหม็นแห่งหิมะ" ซึ่งเขาได้เขียนลงในบันทึกในฐานที่พักว่า "มนุษย์ตัวเหม็นน่ารังเกียจแห่งหิมะ" ที่ภูฏาน ชาวพื้นเมืองต่างเชื่อว่าเยติมีจริง หลายคนเคยได้พบเจอตัวหรือได้ยินเสียงของเยติ โดยกล่าวว่าเยติเป็นสัตว์ดุร้าย ที่ฆ่ามนุษย์ได้ มีรูปร่างสูงใหญ่ มีพละกำลังมาก มีขนสีน้ำตาลแดงปกคลุมทั่วร่างรวมถึงมีใบหน้าคล้ายลิง มีเขี้ยวที่ยาวและแหลมคม เสียงร้องของเยติเป็นเสียงสูง เยติอาศัยอยู่ตามถ้ำหรือในป่าลึก ออกหากินในช่วงเวลาที่อากาศอบอุ่น ทำรังด้วยการใช้กิ่งไม้ขัดสานกันเหมือนเตียงนอน และเชื่อว่าหากผู้ใดต้องการพบเห็นตัวเยติต้องทำร่างกายให้สกปรก หากเนื้อตัวสะอาดก็จะไม่ได้พบเยติ มีรายงานการพบเห็นเยติเป็นจำนวนมากทางตอนเหนือของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสากเต็ง ในเขตตราชิกัง เรเน เดอ มีล์วีลล์ นักปีนเขาชาวฝรั่งเศสเมื่อเดือนมีนาคม ค.ศ. 1976 เรื่องราวของเยติที่โจมตีใส่มนุษย์นั้น ได้ถูกทำเป็นรายงานส่งไปยังเมืองกาฐมาณฑุ เมืองหลวงของเนปาล ซึ่งปากคำของผู้ที่ตกเป็นเหยื่อถูกบันทึกโดยอาสาสมัครชาวอเมริกันที่ทำงานในเนปาล โดยผู้ถูกทำร้ายเป็น เด็กหญิงชาวเชอร์ปาคนหนึ่ง ในปี..

วิทยาสัตว์ลึกลับและเยติ · เยติและโอรังเป็นเดะก์ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง วิทยาสัตว์ลึกลับและโอรังเป็นเดะก์

วิทยาสัตว์ลึกลับ มี 27 ความสัมพันธ์ขณะที่ โอรังเป็นเดะก์ มี 18 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 3, ดัชนี Jaccard คือ 6.67% = 3 / (27 + 18)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง วิทยาสัตว์ลึกลับและโอรังเป็นเดะก์ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »