โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

วิดีโอเกมและไฟร์เอมเบลม

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง วิดีโอเกมและไฟร์เอมเบลม

วิดีโอเกม vs. ไฟร์เอมเบลม

กม ''ป็อง'' ถือได้ว่าเป็นวิดีโอเกมส์ชนิดแรกที่เกิดขึ้น เกม ''Space Invaders'' เป็นอีกหนึ่งเกมดังในยุคกำลังพัฒนาของวิดีโอเกม เกม ''Pac-Man'' เป็นเกมที่โด่งดังที่สุดในขณะวิดีโอเกมกำลังพัฒนา วิดีโอเกม (Video game) คือ เครื่องเกมอิเล็กทรอนิกส์ที่มนุษย์ใช้ส่วนต่อประสานกับผู้ใช้ (user interface) ส่งผลการกระทำ (input) กลับเข้าไปยังหน่วยประมวลผลกลาง (Central Processor Unit) ในตัวเครื่อง ให้คิดคำนวณแล้วแสดงผลโต้ตอบกลับมาด้วย แสง-เสียง-การสั่น-หรือภาพบนจอภาพ วิดีโอ คำว่า วิดีโอ ในวิดีโอเกม แต่เดิมหมายถึงอุปกรณ์แสดงภาพแบบแรสเตอร์ แต่ปัจจุบันสามารถใช้เรียกอุปกรณ์แสดงภาพใด ๆ ก็ได้ที่สร้างภาพสองมิติหรือสามมิติขึ้นมา ตัวอย่างเช่นคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล และเครื่องเล่นวิดีโอเกม อุปกรณ์เหล่านี้เป็นไปได้ตั้งแต่เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ ไปจนถึงอุปกรณ์มือถือขนาดเล็ก วิดีโอเกมแบบเฉพาะอย่างเช่น เกมตู้ เคยมีแพร่หลายในอดีต แต่ปัจจุบันค่อย ๆ มีใช้น้อยลง วิดีโอเกมได้พัฒนาไปจนกลายเป็นอุตสาหกรรมและงานศิลปะ อุปกรณ์นำข้อมูลเข้าเป็นที่ใช้กันในการบังคับวิดีโอเกมเรียกว่า อุปกรณ์ควบคุมเกม (game controller) และแตกต่างกันไปในเครื่องเล่นแบบต่าง ๆ ตัวอย่างเช่น อุปกรณ์ควบคุมอาจประกอบด้วยเพียงแค่ปุ่มกดและก้านควบคุม (joystick) หรืออาจมีปุ่มกดถึงสิบปุ่ม และอาจจะมีมากกว่าหนึ่งก้านควบคุมก็ได้ เกมคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลยุคแรกจำเป็นต้องใช้คีย์บอร์ดในการเล่นเกม หรือต้องการให้ผู้ใช้ซื้อก้านควบคุมที่มีปุ่มกดอย่างน้อยหนึ่งปุ่มด้วย เกมคอมพิวเตอร์สมัยใหม่จำนวนมากให้ผู้เล่นหรือต้องการให้ผู้เล่นใช้คีย์บอร์ดควบคู่ไปกับเมาส์ อุปกรณ์ควบคุมเกมที่พบได้บ่อยกันคือ เกมแพด เมาส์ คีย์บอร์ด และก้านควบคุม ในหลายปีที่ผ่านมานี้ มีวิธีการนำข้อมูลเข้าเพิ่มเติมเช่น การให้ผู้เล่นสังเกตการณ์ในเครื่องเล่นที่ใช้กล้อง และระบบจอสัมผัสบนโทรศัพท์มือถือ วิดีโอเกมโดยทั่วไปใช้วิธีการเพิ่มเติมมากมายเพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์และสารสนเทศให้กับผู้เล่น เสียงออดิโอในวิดีเกมนั้นเกือบจะเป็นสากล คือใช้อุปกรณ์ผลิตเสียง อย่างเช่น ลำโพง และหูฟัง ผลป้อนกลับอาจมาจากอุปกรณ์ต่อพ่วงสัมผัส (haptic peripheral) เช่นระบบการสั่น หรือผลป้อนกลับโดยใช้กำลัง (force feedback) บางครั้งการสั่นใช้กระตุ้นผลป้อนกลับแบบใช้กำลัง ผู้เล่นบางส่วนเชื่อว่าวิดีโอเกมสามารถพัฒนาทักษะทางจิตใจได้. ฟร์เอมเบลม เป็นวิดีโอเกมแนวแท็กติกสวมบทบาท ซึ่งเป็นผลงานการพัฒนาของ Intelligent Systems(โดยเฉพาะ Shouzou Kaga) ผู้สร้างเกม Advance Wars (ซึ่งมีส่วนคล้ายคลึงกับ ไฟร์เอมเบลมในส่วนของการวางแผน), และจัดจำหน่ายโดย Nintendo เกมในชุดของ ไฟร์เอมเบลม เป็นที่รู้จักดีในในแง่ความคิดสร้างสรรค์ และ ในแง่ที่เป็นเกมในแนวแท็กติกสวมบทบาทเกมแรกๆที่เน้นเนื้อหาอิงไปทางยุคกลางของทางตะวันตก นอกจากน้นเกมในชุดนี้ยังเป็นที่รู้จัก ในแง่ของความลึกของมิติในการพัฒนาตัวละคร รวมทั้งในแง่ที่การตายของตัวละครส่วนใหญ่ การตายในการต่อสู้ นั้นหมายถึงการตายอย่างถาวรตลอดทั้งการเล่นในครั้งนั้น ปัจจุบันในชุดประกอบด้วยเกมทั้งหมด 11 ภาค ซึ่งมีทั้งในเครื่องแฟมิคอม,ซูเปอร์แฟมิคอม,เกมบอยแอ็ดวานซ์,นินเทนโดเกมคิวบ์,นินเทนโดดีเอส,และ วี ในเดือนสิงหาคม 2551, นินเทนโดจัดจำหน่ายไฟร์เอมเบลม: Shadow Dragon สำหรับเครื่องนินเทนโดดีเอส ซึ่งเป็นภาคที่นำกลับมาสร้างใหม่ของเกมภาคแรกในชุดคือ ไฟร์เอมเบลม: Ankoku Ryū to Hikari no Ken และเกมภาคใหม่นี้ยังเป็นภาคแรกในชุด "ไฟร์เอมเบลม" ที่มีระบบออนไลน์ เกมในชุดส่วนใหญ่จัดจำหน่ายเฉพาะในญี่ปุ่นเท่านั้น จนมาถึง Fire Emblem ซึ่งเป็นภาคที่เจ็ดในชุดที่ได้จัดจำหน่ายทั่วโลกในปี..

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง วิดีโอเกมและไฟร์เอมเบลม

วิดีโอเกมและไฟร์เอมเบลม มี 9 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): วี (เครื่องเล่นเกม)ซูเปอร์แฟมิคอมนินเท็นโด 64นินเท็นโด ดีเอสแฟมิคอมไฟนอลแฟนตาซี แทกติกส์เพลย์สเตชันเกมบอยอัดวานซ์เกมคิวบ์

วี (เครื่องเล่นเกม)

วี (Wii) เป็นเครื่องเล่นวิดีโอเกมรุ่นที่ 5 ของบริษัทนินเทนโด ภายใต้ชื่อรหัสพัฒนาว่า เรฟโวลูชัน (Revolution) ซึ่งเป็นรุ่นที่จะออกมาถัดจากเครื่อง เกมคิวบ์ โดยที่จอยแพดที่ใช้ควบคุม จะเป็นรูปทรงเหมือน รีโมตโทรทัศน์ และเกมที่ใช้เล่นก็จะใช้การควบคุม โดยการเคลื่อนไหวจอยแพดนี้ ไปในทิศทางต่าง ๆ อีกด้วย เครื่องเล่นวีสามารถเล่นเกมของ เกมคิวบ์ได้ทันที และยังสามารถเล่นเกมของแฟมิคอม ซูเปอร์แฟมิคอม และ นินเทนโด 64 ได้ผ่านระบบเกมที่สามารถ ดาวน์โหลดผ่านอินเทอร์เน็ต.

วิดีโอเกมและวี (เครื่องเล่นเกม) · วี (เครื่องเล่นเกม)และไฟร์เอมเบลม · ดูเพิ่มเติม »

ซูเปอร์แฟมิคอม

ซูเปอร์แฟมิคอม (Super Famicom) หรือ ซูเปอร์ฟามิคอม หรือชื่อที่วางจำหน่ายในสหรัฐอเมริกาคือ Super Nintendo Entertainment System (SNES) เป็นเครื่องเล่นวิดีโอเกมของบริษัทนินเทนโด ซูเปอร์แฟมิคอมเป็นเครื่องเล่นเกมรุ่นที่สองของนินเทนโด (นับเป็นเครื่องเล่นวิดีโอเกมยุคที่สี่) ถัดจากแฟมิคอมเครื่องซูเปอร์แฟมิคอมเป็นเครื่องเกมคอนโซลแบบ 16 บิทที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในยุคนั้น สามารถเอาชนะคู่แข่งอย่างเครื่องเมกะไดรฟ์ของเซก้าได้ แม้แต่หลังจากที่ยุคของเกม 16 บิทจะสิ้นสุดลงไปนานแล้ว เครื่องซูเปอร์แฟมิคอมก็ยังเป็นที่นิยมของนักสะสม และนักพัฒนาอีมูเลเตอร.

ซูเปอร์แฟมิคอมและวิดีโอเกม · ซูเปอร์แฟมิคอมและไฟร์เอมเบลม · ดูเพิ่มเติม »

นินเท็นโด 64

นินเท็นโด 64 (Nintendo 64 หรือ N64) เป็นเครื่องเล่นเกมคอนโซลรุ่นที่สามของบริษัทนินเท็นโด วางจำหน่ายครั้งแรกที่ญี่ปุ่น วันที่ 23 มิถุนายน ค.ศ. 1996 และที่สหรัฐอเมริกา วันที่ 29 สิงหาคม ค.ศ. 1996 ชื่อที่ใช้ในการพัฒนาคือ Project Reality ในภายหลังได้ใช้ชื่อ Nintendo Ultra 64 จากความสามารถในการประมวลผลแบบ 64 บิต ซึ่งนินเท็นโดได้นำคำว่า Ultra ออกเหลือเพียง Nintendo 64.

นินเท็นโด 64และวิดีโอเกม · นินเท็นโด 64และไฟร์เอมเบลม · ดูเพิ่มเติม »

นินเท็นโด ดีเอส

นินเท็นโด DS (Nintendo DS หรือตัวย่อ NDS) เป็นเครื่องเล่นเกมพกพาที่มี 2 จอ ของบริษัทนินเท็นโด ตัวอักษร DS ย่อมาจาก Dual Screen หรือ Developer's System ตามที่นินเท็นโดได้บอกไว้ รหัสในการพัฒนาคือ Project Nitro รูปทรงของ NDS เป็นแบบฝาพับ (clamshell) เช่นเดียวกับ Gameboy Advance SP DS ออกแบบมาเพื่อสร้างแนวคิดใหม่ๆ ในการเล่นเกม จอภาพด้านล่างของ DS เป็นระบบสัมผัส นอกจากนี้ยังมีไมโครโฟนในตัว และการเชื่อมต่อแบบไร้สายกับ DS เครื่องอื่นๆ โดยนินเท็นโดวางตำแหน่งของ DS แตกต่างจากเกมบอย และจับตลาดผู้เล่นที่เป็นผู้ใหญ่มากกว่า DS วางจำหน่ายในสหรัฐอเมริกาเมื่อ 21 พฤศจิกายน ค.ศ. 2004 และที่ญี่ปุ่น 2 ธันวาคม ปีเดียวกัน.

นินเท็นโด ดีเอสและวิดีโอเกม · นินเท็นโด ดีเอสและไฟร์เอมเบลม · ดูเพิ่มเติม »

แฟมิคอม

แฟมิคอม (Famicom) หรือ เครื่องเกมนินเทนโด (Nintendo Entertainment System: NES) เป็นเครื่องเล่นวิดีโอเกม 8 บิต ผลิตโดยบริษัทนินเทนโด ชื่อของแฟมิคอมมาจากคำเต็มว่า แฟมิลี่คอมพิวเตอร์ (Family Computer) คนไทยมักเรียกเครื่องเล่นเกมชนิดนี้ว่า เครื่องแฟมิลี่ มะซะยุกิ อุเอะมุระได้เป็นผู้ออกแบบระบบเกม และวางจำหน่ายในญี่ปุ่นเมื่อ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2526 ในราคา 14,800 เยน โดยมีเกม 3 เกมที่ออกมาพร้อมกัน คือ ดองกีคอง (Donkey Kong) ดองกีคองจูเนียร์ (Donkey Kong Jr.) และป็อปอาย (Popeye) ส่วนเกมที่ได้รับความนิยมในเครื่องเล่นเกมชนิดนี้คือซูเปอร์มาริโอบราเธอร์ส (Super Mario Bros.) และซูเปอร์มาริโอบราเธอร์ส 2 (Super Mario Bros. 2) และซูเปอร์มาริโอบราเธอร์ส 3 (Super Mario Bros. 3) และซูเปอร์มาริโอบราเธอส์: เดอะลอสต์เลเวลส์ (Super Mario Bros: The Lost Levels).

วิดีโอเกมและแฟมิคอม · แฟมิคอมและไฟร์เอมเบลม · ดูเพิ่มเติม »

ไฟนอลแฟนตาซี แทกติกส์

Final Fantasy Tastics ไฟนอลแฟนตาซี แทกติกส์ (Final Fantasy Tastics) หรือ FFT เป็นเกม แนววางแผนการรบผสมกับแนวภาษา สร้างโดยบริษัทสแควร์จำกัด มีทั้งรูปแบบที่เล่นบนเครื่องเกม เพลย์สเตชัน เกมไฟนอลแฟนตาซีภาคนี้วางจำหน่ายที่ประเทศญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา เท่านั้น ไม่มีจำหน่ายที่ประเทศในทวีปยุโรป ปัจจุบันตัวเกมมีการวางจำหน่ายซ้ำลง เพลยสเตชันพอร์ทเทเบิลและใช้ชื่อว่า ไฟนอนแฟนตาซี แทกติกซ์ ชิชิเซนโซ (ファイナルファンタジータクティクス 獅子戦争, ไฟนอลแฟนตาซี แทกติกส์ สงครามราชสีห์) ซึ่งได้มีการเสริมแต่งเรื่องราวให้เข้ากับเกมชุดอิวาลิซแอนไลแอนซ์ โดยมีการเพิ่มตัวละครได้แก่ บัลเธียร์ (จากไฟนอลแฟนตาซี XII, ลูโซ่ (จากไฟนอลแฟนตาซี แทกติกซ์ A2 ฟูเค็ทสึโนะกรีมอร์) เพิ่มอาชีพใหม่ได้แก่อัศวินดำและอัศวินหัวหอม.

วิดีโอเกมและไฟนอลแฟนตาซี แทกติกส์ · ไฟนอลแฟนตาซี แทกติกส์และไฟร์เอมเบลม · ดูเพิ่มเติม »

เพลย์สเตชัน

ลย์สเตชัน (อังกฤษ: PlayStation ญี่ปุ่น: プレイステーション) เป็นเครื่องเล่นวิดีโอเกม ระบบ 32 บิต ผลิตโดย Sony Computer Entertainment โดยได้มีออกมาหลายรุ่นในลักษณะหลักเดียวกันในช่วงปลายปี ทศวรรษ 2540 หลังจากที่ประสบความสำเร็จทางโซนี่ได้ออกเครื่องเล่นเกมในรุ่นต่อมาซึ่งได้แก่ พีเอสวัน (PSone), เพลย์สเตชัน 2, PSP (PlayStation Portable) และ เพลย์สเตชัน 3 ที่ออกจำหน่ายไปแล้วเมื่อปลายปี พ.ศ. 2549.

วิดีโอเกมและเพลย์สเตชัน · เพลย์สเตชันและไฟร์เอมเบลม · ดูเพิ่มเติม »

เกมบอยอัดวานซ์

กมบอยอัดวานซ์ เกมบอยอัดวานซ์ (Gameboy Advance หรือตัวย่อ GBA) เป็นเครื่องเล่นเกมพกพาของบริษัทนินเทนโด ถือว่าเป็นรุ่นล่าสุดในเครื่องเล่นเกมตระกูลเกมบอย วางจำหน่ายครั้งแรกในประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 21 มีนาคม ค.ศ. 2001 ในทวีปอเมริกาเหนือ วันที่ 11 มิถุนายน ค.ศ. 2001 และทวีปยุโรปเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน ค.ศ. 2001 มีรหัสระหว่างการพัฒนาว่า Project Atlantis เกมบอยอัดวานซ์สามารถเล่นเกมเก่าของเกมบอย และ เกมบอยคัลเลอร์ ได้.

วิดีโอเกมและเกมบอยอัดวานซ์ · เกมบอยอัดวานซ์และไฟร์เอมเบลม · ดูเพิ่มเติม »

เกมคิวบ์

นินเทนโด เกมคิวบ์ (Nintendo GameCube) เป็นเครื่องเล่นวิดีโอเกมรุ่นที่สี่ของบริษัทนินเทนโด จัดเป็น เครื่องเล่นวิดีโอเกมยุคที่หก ออกวางจำหน่ายครั้งแรกวันที่ 14 กันยายน ค.ศ. 2001 (ประเทศญี่ปุ่น) 18 พฤศจิกายน ค.ศ. 2001 (ทวีปอเมริกาเหนือ),3 พฤษภาคม ค.ศ. 2002 (สหภาพยุโรป) และ17 พฤษภาคม ค.ศ. 2002 (ออสเตรเลีย) ถัดจาก นินเทนโด 64 และเป็นคู่แข่งของ เพลย์สเตชัน 2, เอกซ์บอกซ์ และ ดรีมแคสต์ เกมคิวบ์เป็นเครื่องเล่นวิดีโอเกมเครื่องแรกของบริษัท นินเทนโด ที่ใช้แผ่น Optical Disk เป็นที่เก็บข้อมูลหลัก ซึ่งแผ่นมีความคล้ายคลึงกับ มินิดีวีดี หรือ ดีวีดีขนาดเล็ก และเพราะมีขนาดเล็กจึงไม่สามารถรองรับการใช้งานเล่น ดีวีดี หรือ ซีดีเพลงได้ นินเทนโดได้นำเสนอความหลากหลายในการเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆสำหรับเกมคิวบ์ เช่น รองรับการเล่นเกมออนไลน์ ผ่านอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงหรือโมเด็มอะแดปเตอร์ และสามารถเชื่อมต่อกับเกมบอยแอ็ดวานซ์ ให้ผู้เล่นสามารถเข้าถึงคุณลักษณะในเกมได้โดยใช้เกมบอยเป็นทั้งหน้าจอที่สองและตัวควบคุม กระแสและการต้อนรับของเกมคิวบ์ทำให้มีความนิยมมากขึ้น และได้รับสมญานามว่าเป็นห้องสะสมเกมต่างๆ แต่ก็มีการติเรื่องการออกแบบคอนโซลและคุณสมบัติของเกมคิวบ์ นินเทนโด ได้ขายเครื่องเกมคิวบ์ 21,740,000 เครื่องทั่วโลกก่อนที่จะยุติการสนับสนุนในปี 2007 และก่อนที่ Wii จะเปิดตัวและจัดวางจำหน่ายในปี 2006.

วิดีโอเกมและเกมคิวบ์ · เกมคิวบ์และไฟร์เอมเบลม · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง วิดีโอเกมและไฟร์เอมเบลม

วิดีโอเกม มี 98 ความสัมพันธ์ขณะที่ ไฟร์เอมเบลม มี 15 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 9, ดัชนี Jaccard คือ 7.96% = 9 / (98 + 15)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง วิดีโอเกมและไฟร์เอมเบลม หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »