เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

วิดีโอเกมและไฟนอลแฟนตาซี V

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง วิดีโอเกมและไฟนอลแฟนตาซี V

วิดีโอเกม vs. ไฟนอลแฟนตาซี V

กม ''ป็อง'' ถือได้ว่าเป็นวิดีโอเกมส์ชนิดแรกที่เกิดขึ้น เกม ''Space Invaders'' เป็นอีกหนึ่งเกมดังในยุคกำลังพัฒนาของวิดีโอเกม เกม ''Pac-Man'' เป็นเกมที่โด่งดังที่สุดในขณะวิดีโอเกมกำลังพัฒนา วิดีโอเกม (Video game) คือ เครื่องเกมอิเล็กทรอนิกส์ที่มนุษย์ใช้ส่วนต่อประสานกับผู้ใช้ (user interface) ส่งผลการกระทำ (input) กลับเข้าไปยังหน่วยประมวลผลกลาง (Central Processor Unit) ในตัวเครื่อง ให้คิดคำนวณแล้วแสดงผลโต้ตอบกลับมาด้วย แสง-เสียง-การสั่น-หรือภาพบนจอภาพ วิดีโอ คำว่า วิดีโอ ในวิดีโอเกม แต่เดิมหมายถึงอุปกรณ์แสดงภาพแบบแรสเตอร์ แต่ปัจจุบันสามารถใช้เรียกอุปกรณ์แสดงภาพใด ๆ ก็ได้ที่สร้างภาพสองมิติหรือสามมิติขึ้นมา ตัวอย่างเช่นคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล และเครื่องเล่นวิดีโอเกม อุปกรณ์เหล่านี้เป็นไปได้ตั้งแต่เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ ไปจนถึงอุปกรณ์มือถือขนาดเล็ก วิดีโอเกมแบบเฉพาะอย่างเช่น เกมตู้ เคยมีแพร่หลายในอดีต แต่ปัจจุบันค่อย ๆ มีใช้น้อยลง วิดีโอเกมได้พัฒนาไปจนกลายเป็นอุตสาหกรรมและงานศิลปะ อุปกรณ์นำข้อมูลเข้าเป็นที่ใช้กันในการบังคับวิดีโอเกมเรียกว่า อุปกรณ์ควบคุมเกม (game controller) และแตกต่างกันไปในเครื่องเล่นแบบต่าง ๆ ตัวอย่างเช่น อุปกรณ์ควบคุมอาจประกอบด้วยเพียงแค่ปุ่มกดและก้านควบคุม (joystick) หรืออาจมีปุ่มกดถึงสิบปุ่ม และอาจจะมีมากกว่าหนึ่งก้านควบคุมก็ได้ เกมคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลยุคแรกจำเป็นต้องใช้คีย์บอร์ดในการเล่นเกม หรือต้องการให้ผู้ใช้ซื้อก้านควบคุมที่มีปุ่มกดอย่างน้อยหนึ่งปุ่มด้วย เกมคอมพิวเตอร์สมัยใหม่จำนวนมากให้ผู้เล่นหรือต้องการให้ผู้เล่นใช้คีย์บอร์ดควบคู่ไปกับเมาส์ อุปกรณ์ควบคุมเกมที่พบได้บ่อยกันคือ เกมแพด เมาส์ คีย์บอร์ด และก้านควบคุม ในหลายปีที่ผ่านมานี้ มีวิธีการนำข้อมูลเข้าเพิ่มเติมเช่น การให้ผู้เล่นสังเกตการณ์ในเครื่องเล่นที่ใช้กล้อง และระบบจอสัมผัสบนโทรศัพท์มือถือ วิดีโอเกมโดยทั่วไปใช้วิธีการเพิ่มเติมมากมายเพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์และสารสนเทศให้กับผู้เล่น เสียงออดิโอในวิดีเกมนั้นเกือบจะเป็นสากล คือใช้อุปกรณ์ผลิตเสียง อย่างเช่น ลำโพง และหูฟัง ผลป้อนกลับอาจมาจากอุปกรณ์ต่อพ่วงสัมผัส (haptic peripheral) เช่นระบบการสั่น หรือผลป้อนกลับโดยใช้กำลัง (force feedback) บางครั้งการสั่นใช้กระตุ้นผลป้อนกลับแบบใช้กำลัง ผู้เล่นบางส่วนเชื่อว่าวิดีโอเกมสามารถพัฒนาทักษะทางจิตใจได้. ลโก้เกม ไฟนอลแฟนตาซี V ไฟนอลแฟนตาซี V (ファイナルファンタジーV; Final Fantasy V) เป็นเกมแนวเกมเล่นตามบทบาท พัฒนาและจัดจำหน่ายโดยบริษัท สแควร์ (ปัจจุบันคือ สแควร์อีนิกซ์) ในปี พ.ศ. 2535 ภายหลังได้ถูกรีเมค ลงบนเครื่องเพลย์สเตชัน ในปี พ.ศ. 2541 และเกมบอยแอดวานซ์ ในปี พ.ศ. 2549 ไฟนอลแฟนตาซี V ไม่มีการจำหน่ายภาคภาษาอังกฤษบนซูเปอร์ฟามิคอม เพราะทีมงานใช้เวลาแปลไม่ทัน.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง วิดีโอเกมและไฟนอลแฟนตาซี V

วิดีโอเกมและไฟนอลแฟนตาซี V มี 4 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ซูเปอร์แฟมิคอมเพลย์สเตชันเกมบอยอัดวานซ์เกมเล่นตามบทบาท

ซูเปอร์แฟมิคอม

ซูเปอร์แฟมิคอม (Super Famicom) หรือ ซูเปอร์ฟามิคอม หรือชื่อที่วางจำหน่ายในสหรัฐอเมริกาคือ Super Nintendo Entertainment System (SNES) เป็นเครื่องเล่นวิดีโอเกมของบริษัทนินเทนโด ซูเปอร์แฟมิคอมเป็นเครื่องเล่นเกมรุ่นที่สองของนินเทนโด (นับเป็นเครื่องเล่นวิดีโอเกมยุคที่สี่) ถัดจากแฟมิคอมเครื่องซูเปอร์แฟมิคอมเป็นเครื่องเกมคอนโซลแบบ 16 บิทที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในยุคนั้น สามารถเอาชนะคู่แข่งอย่างเครื่องเมกะไดรฟ์ของเซก้าได้ แม้แต่หลังจากที่ยุคของเกม 16 บิทจะสิ้นสุดลงไปนานแล้ว เครื่องซูเปอร์แฟมิคอมก็ยังเป็นที่นิยมของนักสะสม และนักพัฒนาอีมูเลเตอร.

ซูเปอร์แฟมิคอมและวิดีโอเกม · ซูเปอร์แฟมิคอมและไฟนอลแฟนตาซี V · ดูเพิ่มเติม »

เพลย์สเตชัน

ลย์สเตชัน (อังกฤษ: PlayStation ญี่ปุ่น: プレイステーション) เป็นเครื่องเล่นวิดีโอเกม ระบบ 32 บิต ผลิตโดย Sony Computer Entertainment โดยได้มีออกมาหลายรุ่นในลักษณะหลักเดียวกันในช่วงปลายปี ทศวรรษ 2540 หลังจากที่ประสบความสำเร็จทางโซนี่ได้ออกเครื่องเล่นเกมในรุ่นต่อมาซึ่งได้แก่ พีเอสวัน (PSone), เพลย์สเตชัน 2, PSP (PlayStation Portable) และ เพลย์สเตชัน 3 ที่ออกจำหน่ายไปแล้วเมื่อปลายปี พ.ศ. 2549.

วิดีโอเกมและเพลย์สเตชัน · เพลย์สเตชันและไฟนอลแฟนตาซี V · ดูเพิ่มเติม »

เกมบอยอัดวานซ์

กมบอยอัดวานซ์ เกมบอยอัดวานซ์ (Gameboy Advance หรือตัวย่อ GBA) เป็นเครื่องเล่นเกมพกพาของบริษัทนินเทนโด ถือว่าเป็นรุ่นล่าสุดในเครื่องเล่นเกมตระกูลเกมบอย วางจำหน่ายครั้งแรกในประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 21 มีนาคม ค.ศ. 2001 ในทวีปอเมริกาเหนือ วันที่ 11 มิถุนายน ค.ศ. 2001 และทวีปยุโรปเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน ค.ศ. 2001 มีรหัสระหว่างการพัฒนาว่า Project Atlantis เกมบอยอัดวานซ์สามารถเล่นเกมเก่าของเกมบอย และ เกมบอยคัลเลอร์ ได้.

วิดีโอเกมและเกมบอยอัดวานซ์ · เกมบอยอัดวานซ์และไฟนอลแฟนตาซี V · ดูเพิ่มเติม »

เกมเล่นตามบทบาท

กมเล่นตามบทบาท หรือ เกมอาร์พีจี (Role-playing game: RPG) คือเกมประเภทหนึ่งที่ผู้เล่นสมมุติรับบทเป็นตัวละครหนึ่งในเกม โดยเล่นตามกฎกติกาของเกมผ่านการป้อนคำสั่งและเลือกเงื่อนไขที่เกมกำหนดมา โดยผลลัพธ์ที่เกิดจะแตกต่างกัน ตามเงื่อนไขที่เลือก โดยเกมอาจจะเป็นทั้งลักษณะ การเล่นโดยเขียนในกระดาษ วิดีโอเกมหรือคอมพิวเตอร์เกมก็ได้ ในยุคแรกๆเกมเล่นตามบทบาทจะเป็นลักษณะของเกมกระดาน ที่ผู้เล่นจะแบ่งฝ่ายเป็นสองฝ่าย ฝ่ายหนึ่งจะเป็นผู้นำในเกม ทำหน้าที่บอกเล่าเรื่องราวต่างๆผ่านกระดานในเกม ขณะที่ผู้เล่นอีกฝ่ายจะเป็นผู้เล่นต้องสร้างตัวละครและทอยเต๋ากำหนดค่าต่างๆ รวมถึงกระทำตามกฎต่างๆ เช่น การพูดคุยหาข้อมูล, การต่อสู้กับสัตว์ประหลาด, การเก็บวัตถุและอาวุธ, เก็บสะสมค่าประสบการณ์และเลื่อนระดับ (เลเวล) จุดเด่นที่ทำให้เกมเล่นตามบทบาทได้รับความนิยม เพราะเกมเล่นตามบทบาทจะมีอิสระในกฎกติกา ทำให้การเล่นในแต่ละครั้งจะเปลี่ยนไปขึ้นอยู่กับที่ผู้นำเกมเลือก เกมเล่นตามบทบาทแบบกระดานที่ได้รับความนิยมในต่างประเทศมีมาก แต่ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคือ ดันเจี้ยนส์แอนด์ดราก้อน และ วอร์แฮมเมอร์ เมื่อถึงยุคที่เครื่องเกมคอมพิวเตอร์และวิดีโอเกมเริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้น เกมเล่นตามบทบาทหลายๆเกมก็พัฒนากลายมาเป็นวิดีโอเกมแนวเล่นตามบทบาท โดยยังคงลักษณะเดิมของตัวเกมไว้ เช่น การให้ผู้เล่นสร้างตัวละครขึ้นเอง การต่อสู้ที่อ้างอิงหลักการทอยลูกเต๋า และอิสรภาพในเกม แต่เมื่อความนิยมเกมเล่นตามบทบาทได้เข้าในประเทศญี่ปุ่นได้เกิดเกมเล่นตามบทบาทแบบญี่ปุ่นขึ้น หรือที่เรียกว่า คอนโซล-โรลเพลย์อิงเกม (Console-Roleplaying Game) ซึ่งจะตัดทอนเสรีภาพในการเล่นลง แต่จะเสริมเนื้อหาที่เรื่องราวและตัวละครให้มากขึ้น ส่วนเกมของฝั่งอเมริกาจะเรียกว่า คอมพิวเตอร์-โรลเพลย์อิงเกม (Computer-Roleplaying Game) และฝ่ายเกมกระดานก็ถูกเรียกว่า เทเบิ้ลทอป-โรลเพลย์อิงเกม (Tabletop-Roleplaying Game) ในปัจจุบันคำจัดการความของคำว่า เกมเล่นตามบทบาท หรือ RPG นั้น ในฝั่งประเทศแถบเอเชียจะหมายถึง เกมที่มีการเก็บค่าประสบการณ์, การต่อสู้กับสัตว์ประหลาด, ฉากต่อสู้แบบตัดฉากจากฉากสนาม และเนื้อเรื่องที่สวยงามและสนุกสนาน แต่ในเกมฝั่งอเมริกาจะหมายถึง เกมที่มีเสริภาพในการเล่น, การสรรค์สร้างตัวละครได้ตามต้องการ ในประเทศไทย นักเล่นเกมคอมพิวเตอร์บางส่วนเรียกเกมเล่นตามบทบาทบนเครื่องคอมพิวเตอร์และเครื่องคอนโซลว่า เกมภาษา เนื่องจาก ผู้เล่นรู้สึกว่าเกมเล่นตามบทบาทมีใช้การเลือกคำสั่ง ผ่านบทสนทนาของตัวละคร (ในช่วงแรกเป็นภาษาญี่ปุ่น) สำหรับการดำเนินเกม ในปัจจุบันถึงแม้ว่าเกมเล่นตามบทบาทบนเครื่องคอมพิวเตอร์และเครื่องคอนโซลยังเป็นที่นิยม แต่ก็ยังมีการจำหน่ายเกมเล่นตามบทบาทแบบกระดานอยู่ เกมเล่นตามบทบาทแบบเกมกระดานที่ได้รับความนิยมในปัจจุบันได้แก่ ดันเจี้ยนส์แอนด์ดราก้อน และ วอร์แฮมเมอร์ เกมเล่นตามบทบาทของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ได้รับความนิยมในปัจจุบันได้แก่ เดียอาโบล และ ดิเอลเดอร์สครอลส์ เกมเล่นตามบทบาทของเครื่องคอมโซลที่ได้รับความนิยมในปัจจุบันได้แก่ ไฟนอลแฟนตาซี และ ดราก้อนเควสต.

วิดีโอเกมและเกมเล่นตามบทบาท · เกมเล่นตามบทบาทและไฟนอลแฟนตาซี V · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง วิดีโอเกมและไฟนอลแฟนตาซี V

วิดีโอเกม มี 98 ความสัมพันธ์ขณะที่ ไฟนอลแฟนตาซี V มี 24 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 4, ดัชนี Jaccard คือ 3.28% = 4 / (98 + 24)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง วิดีโอเกมและไฟนอลแฟนตาซี V หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: