เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

วิชคิงและเซารอน

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง วิชคิงและเซารอน

วิชคิง vs. เซารอน

วิชคิงแห่งอังก์มาร์ (Witch King of Angmar) หรือ ราชาภูติ หรือ พญาโหงแห่งอังก์มาร์ เป็นตัวละครตัวหนึ่งในปกรณัมชุดมิดเดิลเอิร์ธของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ในเรื่อง เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ เป็นหัวหน้าของเหล่านาซกูล หรือภูตแหวน ที่ทำหน้าที่รับใช้จอมมารเซารอน เนื่องจากตกอยู่ใต้อำนาจของเซารอนหลังจากยอมรับแหวนแห่งอำนาจของมนุษย์ทั้งเก้าวงมาไว้ในครอบครองด้วยความโลภ ในปกรณัมของโทลคีนไม่ได้เอ่ยถึงชื่อจริงของเขา รวมถึงเหล่านาซกูลอื่น ๆ ด้วย แต่จากข้อมูลบางส่วนในงานเขียนที่ยังไม่เสร็จของเขา บ่งชี้ว่ามีแม่ทัพนูเมนอร์อย่างน้อย 3 คนที่ได้รับแหวนแห่งอำนาจ และหนึ่งในสามคนนี้น่าจะได้เป็นวิชคิงในเวลาต่อมา เขาได้ชื่อว่าเป็น วิชคิง "แห่งอังก์มาร์" เนื่องจากสามารถโจมตีอาณาจักรอาร์นอร์ ยึดดินแดนมาส่วนหนึ่งก่อตั้งเป็นอาณาจักรอังก์มาร์ได้ จากนั้นก็โจมตีดินแดนส่วนอื่นของอาร์นอร์จนอาณาจักรล่มสลายลงในที่สุด แม้ภายหลังเหล่านาซกูลจะย้ายมายังมินัสมอร์กูลแล้ว ก็ยังคงเรียกชื่อราชันขมังเวทว่า "วิชคิงแห่งอังก์มาร์" อยู่ ในช่วงศึกที่ฟอร์นอสต์ครั้งอังมาร์แตก กลอร์ฟินเดลได้ทำนายชะตาของวิชคิงไว้ว่า "อวสานของเขาจะไม่เกิดขึ้นด้วยน้ำมือของบุรุษใด" ซึ่งผลลัพธ์ก็เป็นดังที่ว่า เมื่อเอโอวีน (นางเป็นสตรี) พร้อมด้วยฮอบบิท เมอเรียด็อค แบรนดี้บั๊ก ได้สังหารเขาในศึกที่ทุ่งเพลานอร์ หน้ามินาสทิริธ ครั้งสงครามแหวน. ซารอน (Sauron) เป็นตัวละครหลักฝ่ายอธรรมในนิยายเรื่องเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน เดิมเป็นเทพไมอา ซึ่งทำงานรับใช้จอมมารมอร์กอธ ภายหลังตั้งตัวเป็นใหญ่ เซารอนเป็นผู้หลอมสร้างแหวนเอก ซึ่งบรรจุพลังอำนาจมหาศาลเอาไว้ภายใน และสามารถบังคับควบคุมใครก็ตามที่สวมแหวนแห่งอำนาจวงอื่น.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง วิชคิงและเซารอน

วิชคิงและเซารอน มี 13 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): มอร์ดอร์มิดเดิลเอิร์ธมินัสมอร์กูลมินัสทิริธมนุษย์ (มิดเดิลเอิร์ธ)ยุคที่สองแห่งอาร์ดายุคที่สามแห่งอาร์ดาอังก์มาร์อาร์นอร์นูเมนอร์แหวนแห่งอำนาจเจ. อาร์. อาร์. โทลคีนเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์

มอร์ดอร์

มอร์ดอร์ จากภาพยนตร์ไตรภาค ลอร์ดออฟเดอะริงส์ มอร์ดอร์ (Mordor) เป็นชื่อดินแดนแห่งหนึ่งในจินตนิยายชุด เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ซึ่งเป็นที่ตั้งอาณาจักรอันชั่วร้ายของ เซารอน คำว่า มอร์ดอร์ เป็นภาษาซินดาริน มีความหมายว่า 'แผ่นดินแห่งความมืด' มอร์ดอร์ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของมิดเดิลเอิร์ธ ในกำบังของเทือกเขาเอเฟลดูอัธ และเอเร็ดลิธุย ข้างตะวันออกของแม่น้ำอันดูอิน จึงตั้งประชิดอยู่ทางตะวันออกของอาณาจักรกอนดอร์ ภายในมอร์ดอร์เป็นที่ตั้งของ บารัดดูร์ หอคอยทมิฬ ซึ่งเป็นที่อยู่ของเซารอน นอกจากนี้ยังมีเมาท์ดูม หรือ โอโรดรูอิน หรือภูมรณะ ซึ่งเป็นภูเขาไฟที่เปิดสู่แหล่งลาวาใต้พิภพ เป็นที่ที่มีอัคคีความร้อนสูงที่สุดบนมิดเดิลเอิร์ธ เป็นสถานที่เพียงแห่งเดียวที่สามารถหลอมสร้างแหวนเอกธำมรงค์ และเป็นที่เดียวที่ทำลายมันลงได้ เมาท์ดูมคือจุดหมายในการเดินทางของโฟรโด แบ๊กกิ้นส์ และ แซมไวส์ แกมจี ในภารกิจทำลายแหวนเอกในเรื่อง เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ การเข้าสู่มอร์ดอร์ สามารถเข้าได้จากทางทิศเหนือ ผ่านประตูดำแห่งมอร์ดอร์ ชื่อว่า 'โมรันนอน' ซึ่งตั้งอยู่ที่ช่องแคบเชิงเขาระหว่างเอเฟลดูอัธกับเอเร็ดลิธุย อีกทางหนึ่งคือผ่านช่องเขาบนเอเร็ดลิธุย ซึ่งมีเมืองปราการแห่งหนึ่งตั้งอยู่ ชื่อ มินัสมอร์กูล เมืองนี้แต่เดิมเป็นเมืองของชาวกอนดอร์ ซึ่งสร้างขึ้นสำหรับคอยเฝ้าระวังการเคลื่อนไหวของเซารอน ต่อภายหลังถูกพวกภูตแหวนยึดไปได้ และกลายเป็นที่อยู่ของวิชคิง หรือราชันขมังเวท ด้านหน้าประตูดำเป็นทุ่งราบกว้างใหญ่ ชื่อทุ่งดาร์กอลัด หรือ ทุ่งสมรภูมิ เป็นสถานที่ซึ่งเกิดสงครามครั้งยิ่งใหญ่ในช่วงปลายยุคที่สอง คือ สงครามแห่งพันธมิตรครั้งสุดท้าย เป็นที่สิ้นพระชนม์ของกิล-กาลัด และ เอเลนดิล ในยุคที่สามทุ่งกว้างใหญ่แห่งนี้กลายเป็นบึงน้ำเฉอะแฉะ เรียกกันว่า 'บึงมรณะ' ข้างใต้บึงเป็นหลุมศพของเอลฟ์และมนุษย์ที่เสียชีวิตในสงครามแห่งพันธมิตรครั้งสุดท้.

มอร์ดอร์และวิชคิง · มอร์ดอร์และเซารอน · ดูเพิ่มเติม »

มิดเดิลเอิร์ธ

แผนที่มิดเดิลเอิร์ธในช่วงยุคที่หนึ่ง แสดงแผ่นดินเบเลริอันด์ ซึ่งเป็นสถานที่เกิดเหตุการณ์ต่างๆ ที่บันทึกในซิลมาริลลิออน ทางด้านขวามือสุดของแผนที่เป็นที่ตั้งของ 'เทือกเขาสีน้ำเงิน' แผนที่มิดเดิลเอิร์ธในช่วงปลายของยุคที่สาม ซึ่งปรากฏอยู่ในหนังสือ ลอร์ดออฟเดอะริงส์ สังเกตจะเห็น 'เทือกเขาสีน้ำเงิน' อยู่ทางด้านซ้ายมือสุดของแผนที่ มิดเดิ้ลเอิร์ธ (Middle-earth) หรือ มัชฌิมโลก หมายถึงสถานที่ในนิยายของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน อันเป็นฉากหลังของเรื่องราวตำนานทั้งหลายในงานเขียนของโทลคีน ปกรณัมของโทลคีนมีเนื้อหาเกี่ยวกับการเข้าควบคุมและครอบครองโลก (ในตำนานเรียกว่า "อาร์ดา") ซึ่งมีทวีปหลักชื่อว่า "มิดเดิลเอิร์ธ" เป็นที่อยู่อาศัยของพวก 'มรรตัยชน' (คือมนุษย์ที่รู้ตาย) เป็นสถานที่ตรงข้ามกับ "อามัน" หรือ 'แดนอมตะ' อันเป็นถิ่นที่อยู่ของพวกวาลาร์ กับพวกเอลฟ์ คำนี้มีรากมาจากคำภาษาอังกฤษกลางว่า middel-erde ซึ่งพัฒนามาจากคำในภาษาอังกฤษเก่าว่า middangeard แก่นสำคัญของงานเขียนของโทลคีนคือเรื่องของการช่วงชิง ควบคุม และครอบครองอำนาจหรือของวิเศษ ทำให้เกิดสงครามขึ้นบนมิดเดิลเอิร์ธหลายครั้งหลายหน คือสงครามระหว่างเหล่าเทพวาลาร์ เอลฟ์ และพันธมิตรชาวมนุษย์ฝ่ายหนึ่ง กับเทพอสูรเมลคอร์กับบริวาร ได้แก่พวกออร์ค มังกร และมนุษย์ที่เป็นทาสอีกฝ่ายหนึ่ง ในตำนานยุคหลัง เมื่อเมลคอร์สิ้นอำนาจและถูกขับไล่ออกไปจากอาร์ดาแล้ว บทบาทการช่วงชิงนี้ก็ตกไปอยู่กับเซารอน สมุนเอกของเขา เหล่าเทพวาลาร์ได้ยุติบทบาทของตนลงหลังจากที่เมลคอร์สิ้นอำนาจ เพราะการสงครามระหว่างพวกพระองค์ครั้งนั้นได้ทำให้โลกพินาศเสียหายไปมาก อย่างไรก็ดีพวกพระองค์ก็ยังส่ง อิสตาริ หรือเหล่าพ่อมด เข้ามาให้ความช่วยเหลือในการต่อต้านอำนาจของเซารอน อิสตาริที่มีบทบาทมากคือ แกนดัล์ฟพ่อมดเทา และซารูมานพ่อมดขาว แกนดัล์ฟได้ทำงานบรรลุวัตถุประสงค์เป็นอย่างดี โดยได้ช่วยเหลือชาวมิดเดิลเอิร์ธอย่างถึงที่สุดเพื่อโค่นอำนาจเซารอนลงให้ได้ แต่ซารูมานกลับพ่ายแพ้ต่อความคิดฉ้อฉลแล้วตั้งตนขึ้นเป็นใหญ่ ช่วงชิงอำนาจบนมิดเดิลเอิร์ธแข่งกับเซารอนเสียเอง สำหรับพลเมืองชาวมิดเดิลเอิร์ธพวกอื่นๆ ได้แก่ คนแคระ เอนท์ และฮอบบิท อันเป็นเผ่าพันธุ์ที่มีชื่อเสียงมากที่สุด ในการสร้างสรรค์งานของโทลคีน เขาได้จัดทำแผนที่ของมิดเดิลเอิร์ธขึ้นเป็นจำนวนมาก แสดงถึงดินแดนและสถานที่ต่างๆ ที่ตำนานของเขาเอ่ยถึง แผนที่บางส่วนได้รับการตีพิมพ์ในช่วงชีวิตของเขา แต่ก็ยังมีแผนที่อีกจำนวนมากที่ไม่ได้ตีพิมพ์เลยจนกระทั่งเขาเสียชีวิตไปแล้ว แผนที่ส่วนใหญ่จะปรากฏอยู่ในเรื่อง เดอะฮอบบิท เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ และ ซิลมาริลลิออน เหตุการณ์ส่วนใหญ่ในยุคที่หนึ่งเกิดขึ้นบนดินแดนที่เรียกชื่อว่า เบเลริอันด์ ดินแดนนี้ต่อมาได้จมลงสู่ทะเลหลังสงครามครั้งใหญ่ระหว่างเทพวาลาร์กับเมลคอร์ คงเหลือแต่เทือกเขาสีน้ำเงินที่ปรากฏอยู่ทางขวาสุดของแผนที่ เป็นจุดเชื่อมต่อเดียวกันกับเทือกเขาสีน้ำเงินที่อยู่ทางด้านซ้ายสุดของแผนที่ในเรื่องเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ดินแดนทางด้านตะวันออกของเทือกเขาสีน้ำเงินเป็นที่เกิดเหตุการณ์ต่างๆ ในยุคที่สองและสาม โทลคีนบอกว่ามิดเดิ้ลเอิร์ธนั้นคือโลกของเรา เพียงแต่เป็นช่วงเวลาในอดีต โดยประมาณว่าปลายยุคที่สามคือช่วงระยะประมาณ 6,000 ปีก่อนยุคของโทลคีน เขายังบรรยายเขตแดนที่ฮอบบิทอาศัยว่าอยู่ที่ "ตะวันตกเฉียงเหนือของโลกเก่า ทางตะวันออกของทะเลใหญ่",เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์, บทนำ, หน้า 2 ซึ่งอ้างอิงถึงอังกฤษและเขตตะวันตกเฉียงเหนือของยุโรปอย่างชัดเจน ประวัติศาสตร์มิดเดิลเอิร์ธของโทลคีน ถูกแบ่งออกเป็นหลายยุค เรื่องราวที่ปรากฏใน เดอะฮอบบิท และเรื่องราวใน ลอร์ดออฟเดอะริงส์ เกิดขึ้นในราวปลายยุคที่สาม และนำไปสู่ช่วงเริ่มต้นของยุคที่สี่ ในขณะที่เรื่องราวใน ซิลมาริลลิออน ซึ่งเป็นงานเขียนของโทลคีนเกี่ยวกับมิดเดิลเอิร์ธที่เก่าแก่ที่สุด เป็นเรื่องที่เกิดตั้งแต่ยุคสร้างโลกและยุคที่หนึ่งเป็นส่วนใหญ.

มิดเดิลเอิร์ธและวิชคิง · มิดเดิลเอิร์ธและเซารอน · ดูเพิ่มเติม »

มินัสมอร์กูล

มินัสมอร์กูล (Minas Morgul) เป็นชื่อหอคอยในปกรณัมชุด มิดเดิลเอิร์ธ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ชื่อเป็นคำในภาษาซินดาริน แปลว่า "หอคอยแห่งมนต์ดำ" เดิมชื่อว่า มินัสอิธิล หรือ หอคอยจันทร์รุ่ง ตั้งชื่อตามชื่อผู้สร้างและเจ้าของคนแรก คืออิซิลดูร์ ซึ่งสร้างหอคอยแห่งนี้ขึ้นในระหว่างการก่อตั้งอาณาจักรกอนดอร์ พร้อมกับเมืองออสกิเลียธ และหอคอยมินัสอะนอร์ ในช่วงปลายของยุคที่สองเพื่อป้องกันฝั่งตะวันตกของเมืองออสกิเลียส มินัสอิธิลตั้งอยู่ในหุบเขามอร์กูล บนเทือกเขาเอเฟลดูอัธ ซึ่งอยู่ติดชายอาณาเขตมอร์ดอร์ เมื่อแรกสร้างเป็นนครที่งดงามดั่งแสงจันทร์ กำแพงและถนนถูกสร้างด้วยหินอ่อนและประดับประดาอย่างสวยงามปลูกประดับด้วยพฤกษาต่างๆ มีหอคอยที่งดงามอยู่กลางเมือง และอิซิลดูร์ได้นำหน่ออ่อนของพฤกษาขาว ที่เขาลอบนำออกมาจากเกาะนูเมนอร์ได้ทันก่อนเกาะจะจมสมุทร มาปลูกไว้ที่นี่ด้วย มินัสอิธิลถูกเซารอนตีแตกครั้งแรกเมื่อปีที่ 3429 ของยุคที่สอง อิซิลดูร์หนีออกจากนครเพื่อไปขอความช่วยเหลือจากเอเลนดิล นำทัพกลับมาร่วมกับทัพของอนาริออน สามารถขับไล่เซารอนกลับไปอยู่หลังแนวเทือกเขาได้ ในระหว่างสงครามแห่งพันธมิตรครั้งสุดท้าย โอรสองค์ที่ 2 และ 3 ของอิซิลดูร์ คือเคียร์ยอนและอาราทัน รับหน้าที่เฝ้าพิทักษ์หอคอยแห่งนี้ หลังสิ้นสุดสงคราม เคียร์ยอนและอาราทันเดินทางขึ้นเหนือพร้อมอิซิลดูร์ผู้บิดา มินัสอิธิลก็กลับมาอยู่ในความดูแลของกอนดอร์ ปีที่ 1636 ของยุคที่สาม เกิดโรคระบาดครั้งใหญ่แพร่มาพร้อมกับสายลมดำมืดจากแดนมอร์ดอร์ มินัสอิธิลได้รับความเสียหายมากที่สุด ทหารและพลเมืองล้มตายไปเป็นจำนวนมากจนเกือบเป็นเมืองร้าง ปีที่ 1980 เหล่านาซกูลพ่ายแพ้ที่อังก์มาร์ ถูกกองทัพพันธมิตรของเอลฟ์ ทัพดูเนไดน์ และทัพกอนดอร์ของเจ้าชายเออาร์นัวร์ตีแตกจนต้องหนีกลับมายังมอร์ดอร์ แต่พวกมันหันมายึดมินัสอิธิลไปเป็นที่มั่นใหม่ และยึดไปได้สำเร็จในปีที่ 2002 พาลันเทียร์ประจำเมืองนี้จึงตกไปอยู่ในมือของเซารอน และถูกย้ายไปยังหอคอยบารัดดูร์ นับแต่นั้นมินัสอิธิลจึงถูกเรียกว่า 'มินัสมอร์กูล' ซึ่งหมายถึง 'หอคอยแห่งเวทมนตร์อันมืดดำ' ส่วนมินัสอะนอร์ก็เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น 'มินัสทิริธ' หมายถึง 'หอคอยระวังภัย' ทว่าหลังจากสงครามแห่งแหวนจบ แหวนเอกได้ถูกทำลาย เซารอนสิ้นอำนาจ รวมทั้งอาณาจักรมอรดอร์ล่มสลายลง หอคอยนี้ถูกทิ้งร้างไว้เป็นเวลานานหลายปีด้วยความหวาดกลัวจากเรื่องราวในอดีต จนกษัตริย์แห่งกอนดอร์มีพระบัญชาให้บูรณะหอคอยนี้เป็นนครมินัสอิธิลอันงดงามอีกครั้ง.

มินัสมอร์กูลและวิชคิง · มินัสมอร์กูลและเซารอน · ดูเพิ่มเติม »

มินัสทิริธ

มินัสทิริธ (Minas Tirith) เป็นชื่อหอคอยในตำนานชุด มิดเดิลเอิร์ธ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ชื่อเป็นคำในภาษาซินดาริน แปลว่า "หอคอยระวังภัย" ในปกรณัมปรากฏชื่อหอคอย มินัสทิริธ ทั้งในยุคที่หนึ่ง และยุคที่สาม ของอาร์ดา มินัสทิริธ จากภาพยนตร์ไตรภาค เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ในปี 3320 ของยุคที่สอง ในขณะนั้นเมืองหลวงของอาณาจักร กอนดอร์ยังคงเป็น ออสกิเลียธ (Osgiliath) อิซิลดูร์ และ อนาริออน บุตรแห่งเอเลนดิล ทั้งสองได้ร่วมกันปกครอง ออสกิเลียธ แต่พวกเขาก็ยังสร้างปราการที่เป็นของตนเองด้วย โดยปราการทั้งสองนั้นตั้งอยู่คนละฟากของแม่น้ำอันดูอิน อิซิลดูร์ สร้างหอคอยจันทร์รุ่งเรียกว่า มินัสอิธิล ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำ ส่วนอนาริออน สร้างหอคอยตะวันรอนเรียกว่า มินัสอะนอร์ ทางตะวันตกของแม่น้ำ มินัสอะนอร์ถูกสร้างขึ้นเป็นป้อมปราการอย่างแข็งแกร่งและงดงาม แบ่งเป็น 7 ชั้น โดยมีประตูใหญ่ด้านหน้าและประตูชั้นต่อๆไปอยู่ด้านข้างสลับไปมาส่วนประตูชั้นบนสุดจะหันไปด้านหน้า กำแพงชั้นแรกสร้างด้วยวัสดุสีดำแบบเดียวกับที่ใช้ในออร์ธังค์ และชั้นอื่นๆทำด้วยหินอ่อน ในชั้นที่หกจะมีทางออกไปยังสุสานกษัตริย์และผู้พิทักษ์ส่วนชั้นที่เจ็ดเป็นที่ตั้งของท้องพระโรงและที่ปลูกพฤกษาขาว และด้านบนคือหอคอยที่เก็บรักษาดวงพาลันเทียร์ประจำมินัสอะนอร์หรือมินัสทิริธต่อมา ต่อมาในปี 3429 ของยุคที่สอง เซารอนโจมตีกอนดอร์ มินัสอิธิลถูกยึดไปได้ แต่กอนดอร์ยังสามารถรักษา ออสกิเลียธ และมินัสอะนอร์ไว้ได้ หลังจากนั้นก็สามารถขับไล่กองทัพเซารอนกลับไปยังมอร์ดอร์ได้ก่อนที่คณะพันธมิตรของมนุษย์และเอลฟ์กลุ่มสุดท้ายมาถึง อนาริออนเสียชีวิตในระหว่างสงครามแห่งพันธมิตรครั้งสุดท้าย ในปี 3440 และสงครามจบลงด้วยการพ่ายแพ้ของเซารอนในอีกปีต่อมา ในปีที่ 2 ของยุคที่สาม อิซิลดูร์ นำหน่ออ่อนของพฤกษาขาวที่นำออกมาจากมินัสอิธิลได้ทัน และนำมาปลูกไว้ที่ มินัสอะนอร์ เพื่อเป็นการรำลึกถึง อนาริออน ต่อมา ออสโตเฮอร์ (Ostoher) กษัตริย์ลำดับที่เจ็ดแห่งกอนดอร์ ได้ปรับปรุงและขยายมินัสอะนอร์ให้กว้างขึ้น หลังจากนั้นก็เกิดธรรมเนียมที่กษัตริย์แห่งกอนดอร์ จะเสด็จมาประทับที่มินัสอะนอร์ ในช่วงฤดูร้อน แต่อย่างไรก็ตาม ออสกิเลียธก็ยังคงเป็นเมืองหลวงอยู่ ในปี 1437 ของยุคที่สาม เกิดสงครามกบฏที่เรียกว่า กบฏราชวงศ์ ทำให้ออสกิเลียธได้รับความเสียหาย และเกิดโรคระบาดอย่างรุนแรง ทำให้เมืองถูกทิ้งร้าง จากนั้นมินัสอะนอร์จึงได้กลายมาเป็นเมืองหลวงของกอนดอร์แทนที่ และได้มีการสร้างหอคอยสีขาวขึ้นในส่วนยอดของมินัสอะนอร์ เพื่อเป็นที่เก็บ พาลันเทียร์ ในปี 2002 มินัสอิธิล ถูกยึดอีกครั้งโดยพวกนาซกูล และถูกเปลี่ยนชื่อเป็น มินัสมอร์กูล หลังจากนั้นมินัสอะนอร์ก็ถูกเปลี่ยนชื่อใหม่เช่นกันว่า มินัสทิริธ ซึ่งหมายถึง 'หอคอยระวังภัย' เมื่อเซารอนกลับมาปรากฏตัวอีกครั้ง ในช่วงปลายยุคที่สาม กองทัพมอร์ดอร์ยกข้ามแม่น้ำอันดูอิน เช้าโจมตีมินัสทิริธ ซึ่งมี วิชคิง เป็นแม่ทัพ โดยทหารกอนดอร์ป้องกันกำแพงอยู่ภายในเมือง เกิดการรบกันอยู่เป็นเวลานาน จนกระทั่งกองทัพมอร์ดอร์ใช้ กรอนด์ ทำลายประตูเมืองลงได้ ทหารมอร์ดอร์เคลื่อนพลหลั่งไหลเข้าเมือง (แต่ในฉบับนิยาย กรอนด์ไม่สามารถทำลายประตูเมืองได้ จนกระทั่งวิชคิงต้องมาร่ายเวทย์ทำลายประตูเมืองด้วยตัวเอง ประตูเมืองจึงถูกทำลาย แต่ทว่าทหารมอร์ดอร์ก็ยังไม่สามารถยกพลเข้าประตูเมืองได้เนื่องจากกองทัพโรฮันนำกองทัพกำลังเสริมมาช่วยเหลือกอนดอร์) ไม่นานนักทหารจากโรฮันก็เคลื่อนทัพมาถึงและเข้ามาช่วยไว้ได้ทัน เกิดการพุ่งรบกันบนสมรภูมิแห่งทุ่งพาเลนเนอร์ และในที่สุดอารากอร์นนำพลจากทางแม่น้ำอันดูอินขึ้นมาช่วยรบ จนได้รับชัยชนะ หลังจากสงครามมินัสทิริธได้รับการบูรณะใหม่โดยคนแคระจากเอเรบอร์ได้สร้างประตูเมืองขึ้นใหม่ด้วยมิธริลและมอบให้เป็นของขวัญแก่นคร ทั้งยังบูรณะถนนอาคารต่างๆด้วยหินอ่อนสีขาว และชาวเอลฟ์ได้นำต้นไม้มาประดับท้องถนนต่างๆและสร้างน้ำพุขึ้นจนเมืองถือได้ว่างดงามยิ่งกว่าที่เคยเป็นม.

มินัสทิริธและวิชคิง · มินัสทิริธและเซารอน · ดูเพิ่มเติม »

มนุษย์ (มิดเดิลเอิร์ธ)

มนุษย์ ตามความหมายในจินตนิยายของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน เป็นสิ่งมีชีวิตที่ถูกสร้างขึ้นโดยมหาเทพอิลูวาทาร์ โดยสร้างขึ้นภายหลังเผ่าพันธุ์เอลฟ์ จึงได้ชื่อว่าเป็น บุตรคนเล็กแห่งอิลูวาทาร์ เหตุการณ์ในเรื่องเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ เป็นเหตุการณ์ในตอนท้ายของยุคสมัยอันรุ่งเรืองของพวกเอลฟ์ เมื่อพ้นจากยุคของเอลฟ์แล้ว เผ่าพันธุ์มนุษย์จึงรุ่งเรืองขึ้นและได้ครอบครองโลกทั้งหมดดังเช่นปัจจุบัน.

มนุษย์ (มิดเดิลเอิร์ธ)และวิชคิง · มนุษย์ (มิดเดิลเอิร์ธ)และเซารอน · ดูเพิ่มเติม »

ยุคที่สองแห่งอาร์ดา

ที่สอง แห่งอาร์ดา เป็นช่วงเวลาหนึ่งในจักรวาลของเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน เริ่มนับตั้งแต่การจับกุมคุมขังเทพอสูรมอร์กอธไว้ในสุญญภูมิ หลังจากการล่มจมสมุทรของแผ่นดินเบเลริอันด์ ซึ่งเป็นผลจากสงครามแห่งความโกรธา อันเป็นสงครามระหว่างปวงเทพแห่งแดนประจิมกับมอร์กอธ การรุ่งเรืองและล่มสลายของอาณาจักรนูเมนอร์ ไปจนถึงการปราบปรามเซารอนลงสำเร็จในสงครามแห่งพันธมิตรครั้งสุดท้าย กินเวลายาวนานถึง 3,441 ปี เหตุการณ์ในยุคที่สองของอาร์ดา มิได้มีการบรรยายไว้โดยละเอียดเหมือนยุคที่หนึ่ง ซึ่งปรากฏเนื้อหาอยู่ในตำนานเรื่อง ซิลมาริลลิออน แต่ได้มีการบรรยายสรุปโดยย่ออยู่ในภาคผนวกของหนังสือเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ และในตำนานอคัลลาเบธ อันเป็นตำนานว่าด้วยการรุ่งเรืองและล่มสลายของอาณาจักรนูเมนอร์ นอกจากนี้ยังมีเนื้อหาจำนวนมากที่โทลคีนประพันธ์ค้างไว้ และคริสโตเฟอร์ โทลคีน ได้รวบรวมไว้ในหนังสือ Unfinished Tales.

ยุคที่สองแห่งอาร์ดาและวิชคิง · ยุคที่สองแห่งอาร์ดาและเซารอน · ดูเพิ่มเติม »

ยุคที่สามแห่งอาร์ดา

ที่สามแห่งอาร์ดา เป็นช่วงเวลาหนึ่งในจักรวาลของเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน เริ่มนับตั้งแต่การพ่ายแพ้ของเซารอนต่อกองทัพพันธมิตรครั้งสุดท้ายของมนุษย์และพราย (สงครามตอนต้นเรื่องในภาพยนตร์) เอกลักษณ์ของยุคนี้คือความเสื่อมถอยของพวกพราย หรือ เอลฟ์ การเจริญรุ่งเรืองและเสื่อมถอยของอาณาจักรกอนดอร์และอาร์นอร์ และการฟื้นอำนาจของเซารอน ยุคที่สามกินเวลา 3,021 ปี จนถึงความพ่ายแพ้อีกครั้งของเซารอน เมื่อแหวนถูกทำลาย เมื่อโฟรโด แบ๊กกิ้นส์, บิลโบ แบ๊กกิ้นส์ และแกนดัล์ฟ เดินทางออกจากมิดเดิลเอิร์ธ จึงเริ่มนับเป็นยุคที่สี.

ยุคที่สามแห่งอาร์ดาและวิชคิง · ยุคที่สามแห่งอาร์ดาและเซารอน · ดูเพิ่มเติม »

อังก์มาร์

ร์นดูม เมืองหลวงของอังก์มาร์ อังก์มาร์ (Angmar) คือชื่อดินแดนแห่งหนึ่งบนทวีปมิดเดิลเอิร์ธ ในจินตนิยายของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ชุด เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของทวีปในอาณาจักรอาร์นอร์ของชาวมนุษย์ดูเนไดน์ ภายหลังตกไปอยู่ใต้อำนาจของเหล่านาซกูล อังก์มาร์ตั้งอยู่ในแคว้นรูห์เดาร์ ซึ่งเป็นหนึ่งในสามแคว้นใหญ่ของอาณาจักรอาร์นอร์ ช่วงกลางยุคที่สาม ประมาณปีที่ 1300 อาณาจักรอาร์นอร์อ่อนแอ นาซกูลจึงมาตียึดเอาดินแดนบางส่วนในรูห์เดาร์ไปได้ และก่อตั้งอาณาจักรอังก์มาร์ขึ้น มีเมืองหลวงชื่อ "คาร์นดูม" (Carn Dûm) จากนั้นใช้ที่แห่งนี้เป็นที่มั่นในการบุกโจมตีดินแดนส่วนอื่นๆ ของอาร์นอร์ต่อไปอีกจนกระทั่งอาณาจักรล่มสลายลงในที่สุด ต่อมาเมื่อเหล่านาซกูลยกลงมาโจมตีอาณาจักรกอนดอร์ และยึดเอามินัสอิธิลไปได้ จึงทิ้งให้อังก์มาร์กลายเป็นเมืองร้าง แล้วย้ายมายังมินัสอิธิลซึ่งเปลี่ยนชื่อเป็น มินัสมอร์กูล แทน.

วิชคิงและอังก์มาร์ · อังก์มาร์และเซารอน · ดูเพิ่มเติม »

อาร์นอร์

ในปกรณัมชุด มิดเดิลเอิร์ธ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน อาร์นอร์ (Arnor) หรือ อาณาจักรเหนือ เป็นอาณาจักรของมนุษย์ชาวดูเนไดน์ ในดินแดนแห่ง เอเรียดอร์ ในมิดเดิลเอิร์ธ ชื่อดังกล่าวน่าจะแปลว่า "ดินแดนแห่งกษัตริย์" มาจากภาษาซินดารินว่า อารา (Ara-) (แปลว่า สูงส่ง, เกี่ยวกับกษัตริย์) + (น)ดอร์ ((n) dor) (แปลว่า ดินแดน) ปรากฏอยู่ในนิยายทั้ง ซิลมาริลลิออน และ เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ในช่วงที่ยิ่งใหญ่ที่สุดนั้น อาณาจักรอาร์นอร์แผ่กว้างไกลครอบคลุมดินแดนเกือบทั้งหมดของเอเรียดอร์ ตั้งแต่แม่น้ำบรุยเนน กวาโธล ไปจนถึงแม่น้ำลูห์น รวมทั้งดินแดนซึ่งต่อมารู้จักในนามว่า ไชร์ ด้วย ประชากรของอาร์นอร์ประกอบด้วยชาวดูเนไดน์ในดินแดนตะวันตกตอนกลางของอาณาจักร และชาวพื้นเมืองหรือลูกครึ่ง (รวมทั้งพวกต่อต้าน).

วิชคิงและอาร์นอร์ · อาร์นอร์และเซารอน · ดูเพิ่มเติม »

นูเมนอร์

นูเมนอร์ (Númenor) เป็นชื่อเกาะแห่งหนึ่งในโลกจินตนาการของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ชุด เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ เป็นแผ่นดินที่แยกต่างหากออกมาจาก มิดเดิลเอิร์ธ มีแนวคิดในการประพันธ์มาจากแผ่นดินจมสมุทรแอตแลนติส ชื่อนูเมนอร์มาจากภาษาเควนยา ว่า Númenórë ซึ่งมีความหมายว่า แผ่นดินตะวันตก โทลคีนเขียนไว้ว่า เมื่อแปลงจากคำภาษาเควนยาเป็นภาษานูเมนอเรียน ชื่อนี้ออกเสียงเป็น อนาดูเน (Anadûnê).

นูเมนอร์และวิชคิง · นูเมนอร์และเซารอน · ดูเพิ่มเติม »

แหวนแห่งอำนาจ

333px แหวนแห่งอำนาจ เป็นแหวนในจินตนาการของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ในนิยายชุด เดอะลอร์ดออฟเดอะริง.

วิชคิงและแหวนแห่งอำนาจ · เซารอนและแหวนแห่งอำนาจ · ดูเพิ่มเติม »

เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน

. อาร.

วิชคิงและเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน · เจ. อาร์. อาร์. โทลคีนและเซารอน · ดูเพิ่มเติม »

เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์

อะลอร์ดออฟเดอะริงส์ (The Lord of the Rings) เป็นนิยายแฟนตาซีขนาดยาว ประพันธ์โดยศาสตราจารย์ชาวอังกฤษ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน เป็นนิยายที่ต่อเนื่องกับนิยายชุดก่อนหน้านี้ของโทลคีน คือ เรื่อง There and Back Again หรือที่รู้จักกันดีอีกชื่อหนึ่งว่า เดอะฮอบบิท แต่ได้ขยายโครงเรื่องซับซ้อนไปกว่า เดอะฮอบบิท มาก โทลคีนแต่งเรื่องนี้ขึ้นในช่วงปี..

วิชคิงและเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ · เซารอนและเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง วิชคิงและเซารอน

วิชคิง มี 22 ความสัมพันธ์ขณะที่ เซารอน มี 48 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 13, ดัชนี Jaccard คือ 18.57% = 13 / (22 + 48)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง วิชคิงและเซารอน หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: