โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

วิกิและเอชทีเอ็มแอล

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง วิกิและเอชทีเอ็มแอล

วิกิ vs. เอชทีเอ็มแอล

วิกิ หรือ วิกี (wiki) คือลักษณะของเว็บไซต์แบบหนึ่งที่อนุญาตให้ผู้ใช้ เพิ่มและแก้ไขเนื้อหาได้โดยง่าย ซึ่งบางครั้งไม่จำเป็นต้องมีการลงทะเบียนเพื่อแก้ไข ด้วยความง่ายในการแก้ไขและโต้ตอบ วิกิเว็บไซต์มักจะถูกนำมาใช้ในการร่วมเขียนบทความ คำว่า "วิกิ" นี่ยังสามารถหมายถึงวิกิซอฟต์แวร์ซึ่งเป็นตัวซอฟต์แวร์รองรับการทำงานระบบนี้ หรือยังสามารถหมายถึงตัวเว็บไซต์เองที่นำระบบนี้มาใช้งาน ระบบวิกิที่มีชื่อเสียงที่สุดคือ วิกิพีเดีย วิกิจะแตกต่างจากระบบการจัดการเนื้อหาอื่น ในส่วนของการโต้ตอบ ซึ่งเห็นได้จากระบบของกระดานสนทนาออนไลน์หรือบล็อก จะอนุญาตให้ผู้อื่นโต้ตอบโดยการส่งข้อความต่อท้าย และไม่สามารถมีส่วนร่วมในส่วนของเนื้อหาหลักได้. อชทีเอ็มแอล (HTML: Hypertext Markup Language ภาษามาร์กอัปข้อความหลายมิติ) เป็นภาษามาร์กอัปหลักในปจจุบันที่ใช้ในการสร้างเว็บเพจ หรือข้อมูลอื่นที่เรียกดูผ่านทางเว็บเบราว์เซอร์ ซึ่งตัวโค้ดจะแสดงโครงสร้างของข้อมูล ในการแสดง หัวข้อ ลิงก์ ย่อหน้า รายการ รวมถึงการสร้างแบบฟอร์ม เชื่อมโยงภาพหรือวิดีโอด้วย โครงสร้างของโค้ดเอชทีเอ็มแอลจะอยู่ในลักษณะภายในวงเล็บสามเหลี่ยม เอชทีเอ็มแอลเริ่มพัฒนาโดย ทิม เบอร์เนอรส์ ลี (Tim Berners Lee) สำหรับภาษา SGML ในปัจจุบัน HTML เป็นมาตรฐานหนึ่งของ ISO ซึ่งจัดการโดย World Wide Web Consortium (W3C) ในปัจจุบัน ทาง W3C ผลักดัน รูปแบบของ HTML แบบใหม่ ที่เรียกว่า XHTML ซึ่งเป็นลักษณะของโครงสร้าง XML แบบหนึ่งที่มีหลักเกณฑ์ในการกำหนดโครงสร้างของโปรแกรมที่มีรูปแบบที่มาตรฐานกว่า มาทดแทนใช้ HTML รุ่น 4.01 ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ขณะที่ HTML รุ่น 5 ยังคงยังอยู่ในระหว่างการพิจารณา โดยได้มีการออกดราฟต์มาเสนอเมื่อวันที่ 22 มกราคม 2551 HTML ยังคงเป็นรูปแบบไฟล์อย่างหนึ่ง สำหรั.html และ สำหรั.htm ที่ใช้ในระบบปฏิบัติการที่รองรับ รูปแบบนามสกุล 3 ตัวอักษร.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง วิกิและเอชทีเอ็มแอล

วิกิและเอชทีเอ็มแอล มี 5 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ภาษามาร์กอัปแคสเคดดิงสไตล์ชีตส์ไฮเปอร์ลิงก์เว็บเบราว์เซอร์เว็บเพจ

ภาษามาร์กอัป

ษามาร์กอัป (markup language) คือประเภทภาษาคอมพิวเตอร์ที่แสดงทั้งข้อมูล และข้อมูลรูปแบบเข้าด้วยกัน โดยข้อมูลรูปแบบอธิบายถึงโครงสร้างหรือการแสดงผลซึ่งส่วนนี้เรียกว่า มาร์กอัป โดยจะอยู่รวมกับข้อมูลปกติ ภาษามาร์กอัปที่รู้จักกันดีที่สุดคือ HTML ตามความเป็นมาแล้ว ภาษารูปแบบนี้ได้มีการใช้ในอุตสาหกรรมการพิมพ์ในการติดต่อสื่อสารงานพิมพ์ระหว่างผู้เขียน บรรณาธิการ และเครื่องพิม.

ภาษามาร์กอัปและวิกิ · ภาษามาร์กอัปและเอชทีเอ็มแอล · ดูเพิ่มเติม »

แคสเคดดิงสไตล์ชีตส์

แคสเคดดิงสไตล์ชีตส์ (Cascading Style Sheets: CSS) เป็นภาษาสไตล์ชีตใช้ในการจัดรูปแบบของเอกสารที่เขียนในภาษามาร์กอัป CSS เป็นภาษาที่สำคัญตัวหนึ่งในการเขียนเว็บเพจ ซึ่งเขียนในภาษา HTML และ XHTML แต่ก็ยังสามารถประยุกต์ใช้กับใน XML ซึ่งรวมถึง SVG และ XUL ด้วย มาตรฐาน CSS นั้น สร้างโดยกลุ่ม World Wide Web Consortium (W3C) แคสเคดดิงสไตล์ชีตส์ มักเรียกโดยย่อว่า สไตล์ชีต แต่ความจริงแล้วคำนี้อาจหมายถึงภาษาสไตล์ชีตอื่นก็ได้.

วิกิและแคสเคดดิงสไตล์ชีตส์ · เอชทีเอ็มแอลและแคสเคดดิงสไตล์ชีตส์ · ดูเพิ่มเติม »

ไฮเปอร์ลิงก์

การเชื่อมโยงหลายมิติ หรือ ไฮเปอร์ลิงก์ (hyperlink) นิยมเรียกโดยย่อว่า ลิงก์ (link) คือคำหรือวลีต่าง ๆ ที่ปรากฏอยู่ในเอกสารข้อความ ใช้สำหรับเปิดเอกสารอื่นที่เชื่อมโยงด้วยวิธีการคลิกลงบนคำหรือวลีนั้น โดยเฉพาะกับเว็บเพจซึ่งจะทำงานบนเว็บเบราว์เซอร์ ข้อความที่เป็นลิงก์มักจะปรากฏเป็นสีหรือรูปแบบที่โดดเด่นกว่าข้อความรอบข้าง ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตสามารถคลิกบนลิงก์เพื่อเปลี่ยนหน้าไปยังเว็บเพจที่กำหนดไว้ แทนที่จะพิมพ์ในแถบที่อยู่ของเว็บเบราว์เซอร์โดยตรง ไฮเปอร์ลิงก์สามารถใช้เป็นการอ้างอิงภายในเอกสารข้อความหลายมิติ นอกจากนี้การคลิกบนลิงก์อาจเป็นการเรียกใช้งานสคริปต์ที่เขียนไว้โดยผู้พัฒนาเว็บก็ได้.

วิกิและไฮเปอร์ลิงก์ · เอชทีเอ็มแอลและไฮเปอร์ลิงก์ · ดูเพิ่มเติม »

เว็บเบราว์เซอร์

วิลด์ไวด์เว็บ เว็บเบราว์เซอร์ตัวแรกของโลก ไม่มีข้อมูล เว็บเบราว์เซอร์ (web browser), เบราว์เซอร์ หรือ โปรแกรมค้นดูเว็บ คือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ผู้ใช้สามารถดูข้อมูลและโต้ตอบกับข้อมูลสารสนเทศที่จัดเก็บในหน้าเว็บที่สร้างด้วยภาษาเฉพาะ เช่น ภาษาเอชทีเอ็มแอล ที่จัดเก็บไว้ที่เว็บเซอร์วิซหรือเว็บเซิร์ฟเวอร์หรือระบบคลังข้อมูลอื่น ๆ โดยโปรแกรมค้นดูเว็บเปรียบเสมือนเครื่องมือในการติดต่อกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เรียกว่าเวิลด์ไวด์เว็บ เว็บเบราว์เซอร์ตัวแรกของโลกชื่อ เวิลด์ไวด์เว็บ ขณะเดียวกันเว็บเบราว์เซอร์ที่นิยมมากที่สุดในปัจจุบัน (พ.ศ. 2559) คือ กูเกิล โครม รองลงมาคือมอซิลลา ไฟร์ฟอกซ์ และอินเทอร์เน็ตเอกซ์พลอเรอร์ ตามลำดั.

วิกิและเว็บเบราว์เซอร์ · เว็บเบราว์เซอร์และเอชทีเอ็มแอล · ดูเพิ่มเติม »

เว็บเพจ

หน้าจอของเว็บเพจหนึ่งบนวิกิพีเดีย เว็บเพจ (web page, webpage) หรือแปลเป็นไทยว่า หน้าเว็บ คือเอกสารเว็บชนิดหนึ่งเหมาะสำหรับเวิลด์ไวด์เว็บและเว็บเบราว์เซอร์ เว็บเบราว์เซอร์จะแสดงเว็บเพจบนจอคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์เคลื่อนที่ เว็บเพจก็คือสิ่งที่ปรากฏออกมา แต่ศัพท์นี้ก็ยังหมายถึงแฟ้มคอมพิวเตอร์ที่มักจะเขียนเป็นเอชทีเอ็มแอลหรือภาษามาร์กอัปที่เทียบเคียงได้ ซึ่งมีลักษณะเด่นอันเป็นหลักก็คือ การจัดเตรียมข้อความหลายมิติที่จะนำไปสู่ เว็บเพจอื่น ผ่านทางลิงก์ เว็บเบราว์เซอร์จะประสานงานกับทรัพยากรเว็บที่อยู่โดยรอบเว็บเพจที่เขียน อาทิสไตล์ชีต สคริปต์ และรูปภาพ เพื่อนำเสนอเว็บเพจนั้น เว็บเบราว์เซอร์สามารถค้นคืนเว็บเพจจากเว็บเซิร์ฟเวอร์ระยะไกลบนเครือข่ายหนึ่ง ๆ ได้ ในระดับที่สูงขึ้น เว็บเซิร์ฟเวอร์อาจจำกัดการเข้าถึงให้เฉพาะเครือข่ายส่วนตัว เช่นอินทราเน็ตภายในองค์กร หรือจัดเตรียมการเข้าถึงสู่เวิลด์ไวด์เว็บ ส่วนในระดับที่ต่ำกว่า เว็บเบราว์เซอร์จะใช้เกณฑ์วิธีขนส่งข้อความหลายมิติ (เอชทีทีพี) เพื่อสร้างการร้องขอเช่นนั้น เว็บเพจสถิต (static web page) คือเว็บเพจที่ถูกส่งมาเป็นเนื้อหาเว็บเหมือนกับข้อมูลที่บันทึกอยู่ในระบบแฟ้มของเว็บเซิร์ฟเวอร์ ในขณะที่ เว็บเพจพลวัต (dynamic web page) จะถูกสร้างขึ้นโดยเว็บแอปพลิเคชัน ซึ่งขับเคลื่อนด้วยซอฟต์แวร์ด้านเซิร์ฟเวอร์หรือสคริปต์ด้านไคลเอนต์ เว็บเพจพลวัตช่วยให้เบราว์เซอร์ (ด้านไคลเอนต์) เพิ่มสมรรถนะของเว็บเพจผ่านทางอินพุตของผู้ใช้ไปยังเซิร์ฟเวอร.

วิกิและเว็บเพจ · เว็บเพจและเอชทีเอ็มแอล · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง วิกิและเอชทีเอ็มแอล

วิกิ มี 29 ความสัมพันธ์ขณะที่ เอชทีเอ็มแอล มี 11 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 5, ดัชนี Jaccard คือ 12.50% = 5 / (29 + 11)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง วิกิและเอชทีเอ็มแอล หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »