เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2548–2553และเครือข่าย 19 กันยา ต้านรัฐประหาร

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2548–2553และเครือข่าย 19 กันยา ต้านรัฐประหาร

วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2548–2553 vs. เครือข่าย 19 กันยา ต้านรัฐประหาร

วิกฤตการณ์การเมืองไท.. รือข่าย 19 กันยา ต้านรัฐประหาร เกิดขึ้นจากการรวมตัวของนักศึกษา นักกิจกรรม และนักเคลื่อนไหวที่ไม่เห็นด้วยกับการก่อรัฐประหารโดยคณะรัฐประหารที่เรียกตัวเองว่า คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข การเกิดขึ้นของเครือข่าย เริ่มจากการประชุมกันของนักกิจกรรม(รุ่นใหม่) และนักศึกษาประมาณ 70-80 ในวันที่ 20 กันยายน (หนึ่งวันหลังการต้านรัฐประหาร) ผ่านการบอกข่าวตามเครือข่ายและองค์กรของตัวเอง มีจำนวนหนึ่งที่เป็นปัจเจกไม่ได้สังกัดเครือข่ายอะไร แต่ส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาและนักกิจกรรมที่ทำงานอย่างต่อเนื่องและอาจจะเรียกได้ว่าเป็นกลุ่มที่มีความก้าวหน้าทางการเมืองกลุ่มหนึ่งในภาคประชาชนไทย สมาชิกส่วนใหญ่ได้มีการทำงานร่วมกันมาก่อน หลายๆส่วนได้ทำงานร่วมกันในองค์กรพัฒนาเอกชน และได้รณรงค์ร่วมกันในหลายๆ ครั้ง เครือข่ายต้องการสร้างพื้นที่ทางการเมืองให้สำหรับคนที่มีความเห็นต่างจากการก่อรัฐประหาร มุมมองในสังคมไทยไม่ได้มีแค่ “เอารัฐประหาร ไม่เอาทักษิณ” หรือ “เอาทักษิณ ไม่เอารัฐประหาร” และเนื่องจากการก่อรัฐประหารเป็นการแสดงทัศนะว่าประชาชนไม่สามารถเปลี่ยนแปลงอะไรได้เอง ไม่สามารถตัดสินใจอนาคตของตัวเองได้ พลังประชาชนไม่มีค่า แต่กลับต้องพึ่งทหารหรือ “พระเอกขี่ม้าขาว” ในการแก้ไขปัญหาวิกฤติอะไร ประเทศไทยได้ผ่านรัฐประหารมาแล้วเป็นเวลาหลายสิบครั้ง ถ้าการก่อรัฐประหารครั้งนี้ได้รับการตอบรับ ครั้งต่อไปเมื่อมีวิกฤติทหารก็สามารถสร้างความชอบธรรมโดยก่อรัฐประหารได้อีกในอนาคต อีกทั้งการรัฐประหารครั้งนี้ได้มีการเกิดขึ้นของวัฒนธรรมความรุนแรงที่ไม่คำนึงถึง “หลักการ” ทางประชาธิปไตย เช่น กลุ่มที่ ยอมรับการละเมิดสิทธิมนุษยชนและการทำผิดกฎหมายตามหลักสากลต่างๆ ยอมรับการปิดวิทยุชุมชนที่ภาคเหนือกว่า 300 สถานี ยอมรับการกักขังอดีตรัฐมนตรีในรัฐบาลทักษิณ.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2548–2553และเครือข่าย 19 กันยา ต้านรัฐประหาร

วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2548–2553และเครือข่าย 19 กันยา ต้านรัฐประหาร มี 5 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ระบอบเผด็จการรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549ทักษิณ ชินวัตรคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขประชาธิปไตย

ระบอบเผด็จการ

ระบอบเผด็จการ (Dictatorship) หมายถึง รูปแบบการปกครองแบบอัตตาธิปไตย ซึ่งรัฐบาลอยู่ภายใต้การบริหารของบุคคลเพียงคนเดียว หรือ ผู้เผด็จการ โดยไม่มีการสืบทอดตำแหน่งตามสายเลือด คำว่า เผด็จการ อาจมีได้หลายความหมายเช่น.

ระบอบเผด็จการและวิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2548–2553 · ระบอบเผด็จการและเครือข่าย 19 กันยา ต้านรัฐประหาร · ดูเพิ่มเติม »

รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549

รัฐประหารในประเทศไท..

รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549และวิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2548–2553 · รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549และเครือข่าย 19 กันยา ต้านรัฐประหาร · ดูเพิ่มเติม »

ทักษิณ ชินวัตร

ทักษิณ ชินวัตร (เกิด 26 กรกฎาคม 2492) เป็นนายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 23 ดำรงตำแหน่งระหว่างปี 2544 ถึง 2549 และเป็นพี่ชายของยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 28 เคยเป็นนักธุรกิจโทรคมนาคมและการสื่อสาร ผู้ก่อตั้งกลุ่มบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) บริษัทโทรคมนาคมและการสื่อสารขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย อดีตข้าราชการตำรวจ (ชั้นยศสูงสุดที่ พันตำรวจโท) อดีตเจ้าของและประธานสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตี อดีตที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจของรัฐบาลกัมพูชา และ ศาสตราจารย์อาคันตุกะแห่งมหาวิทยาลัยทากุโชกุ มีสัญชาติไทยโดยการเกิด ปัจจุบันถือสัญชาติมอนเตเนโกร ปี 2537 ทักษิณเข้าสู่วงการเมืองสังกัดพรรคพลังธรรม โดยการชักนำของพลตรี จำลอง ศรีเมือง ต่อมาก่อตั้งพรรคไทยรักไทย ในปี 2541 หลังการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 ซึ่งพรรคไทยรักไทยได้รับเสียงข้างมากในสภา จึงดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นสมัยแรก ทักษิณใช้หนี้กองทุนการเงินระหว่างประเทศได้ก่อนกำหนดเดิม และดำเนินนโยบายต่าง ๆ เพื่อลดความยากจนในชนบท โดยสามารถลดความยากจนได้ถึงครึ่งหนึ่งภายในสี่ปี ริเริ่มระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเป็นครั้งแรกของประเทศ ตลอดจนการกวาดล้างยาเสพติด ซึ่งทั้งหมดช่วยให้เขามีความนิยมอย่างสูง ทักษิณเริ่มดำเนินโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนานใหญ่ รวมทั้งท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ หนี้สาธารณะลดลงจากร้อยละ 57 ของจีดีพีในเดือนมกราคม 2544 เหลือร้อยละ 41 ในเดือนกันยายน 2549 รวมทั้งระดับการฉ้อราษฎร์บังหลวงลดลง โดยดัชนีภาพลักษณ์คอร์รัปชันขององค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ เพิ่มขึ้นจาก 3.2 เป็น 3.8 ระหว่างปี 2544 และ 2549 ทักษิณดำรงตำแหน่งจนครบวาระสี่ปี เป็นนายกรัฐมนตรีที่มาจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งดำรงตำแหน่งจนครบวาระคนแรก และจากผลการเลือกตั้งเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 ทำให้ทักษิณดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสมัยที่สอง ด้วยคะแนนเสียงสูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ อย่างไรก็ดี มีผู้กล่าวหารัฐบาลทักษิณหลายประการเช่น ละเมิดสิทธิมนุษยชน ฉ้อราษฎร์บังหลวง เป็นเผด็จการรัฐสภา มีผลประโยชน์ทับซ้อน และควบคุมสื่อ ส่วนข้อกล่าวหาของตัวทักษิณเอง ก็มีว่าหลีกเลี่ยงภาษี หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ตลอดจนขายทรัพย์สินของบริษัทไทยให้นักลงทุนต่างชาติThe Star,, 2 April 2006The Nation,, 23 March 2006 องค์การนิรโทษกรรมสากลวิจารณ์ทักษิณว่า มีประวัติเชิงสิทธิมนุษยชนไม่สู้ดี และเขายังถูกกล่าวหาว่าปกปิดทรัพย์สินระหว่างดำรงตำแหน่งการเมือง ฟอรีนพอลิซี ยกตัวอย่างว่า เขาเป็นอดีตผู้นำของโลกที่ประพฤติไม่ดี เกิดการประท้วงของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยในปี 2549 และวันที่ 19 กันยายน ปีเดียวกัน คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) รัฐประหารล้มรัฐบาลทักษิณ ศาลที่ คม.

ทักษิณ ชินวัตรและวิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2548–2553 · ทักษิณ ชินวัตรและเครือข่าย 19 กันยา ต้านรัฐประหาร · ดูเพิ่มเติม »

คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

ณะปฏิรูปการปกครอง ในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือ คป. เป็นคณะบุคคล อันประกอบด้วย กลุ่มทหาร ตำรวจ และ พลเรือน ซึ่งมีพลเอก สนธิ บุญยรัตกลินเป็นหัวหน้า ได้เข้ายึดอำนาจการปกครองราชอาณาจักรไทยไว้ได้ เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 มีที่ตั้ง ณ กองบัญชาการกองทัพบก ถนนราชดำเนินนอก เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร.

คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขและวิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2548–2553 · คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขและเครือข่าย 19 กันยา ต้านรัฐประหาร · ดูเพิ่มเติม »

ประชาธิปไตย

รัฐที่มิได้มองว่าตนปกครองระบอบประชาธิปไตย ได้แก่ นครรัฐวาติกัน ประเทศซาอุดิอาระเบีย UAE กาตาร์ โอมาน ฟิจิและบรูไน ประชาธิปไตยเป็นระบอบการปกครองแบบหนึ่งซึ่งการบริหารอำนาจรัฐมาจากเสียงข้างมากของพลเมือง ผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย โดยพลเมืองอาจใช้อำนาจของตนด้วยตนเองหรือผ่านผู้แทนที่เลือกไปใช้อำนาจแทนก็ได้ ประชาธิปไตยยังเป็นอุดมคติที่ว่าพลเมืองทุกคนในชาติร่วมกันพิจารณากฎหมายและการปฏิบัติของรัฐ และกำหนดให้พลเมืองทุกคนมีโอกาสแสดงความยินยอมและเจตนาของตนเท่าเทียมกัน ประชาธิปไตยเกิดขึ้นในบางนครรัฐกรีกโบราณช่วงศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสตกาล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในเอเธนส์หลังการก่อการกำเริบเมื่อ 508 ปีก่อนคริสตกาล ประชาธิปไตยแบบนี้เรียกว่า ประชาธิปไตยทางตรง ซึ่งพลเมืองเกี่ยวข้องในกระบวนการทางการเมืองโดยตรง แต่ประชาธิปไตยในปัจจุบันเป็นประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน โดยสาธารณะออกเสียงในการเลือกตั้งและเลือกนักการเมืองเป็นผู้แทนตนในรัฐสภา จากนั้น สมาชิกสภาจะเป็นผู้ตัดสินใจด้วยเสียงข้างมาก ประชาธิปไตยทางตรงยังมีอยู่ในระดับท้องถิ่นหลายประเทศ เช่น การเลือกตั้งสมาชิกเทศบาล อย่างไรก็ดี ในระดับชาติ ความเป็นประชาธิปไตยทางตรงมีเพียงการลงประชามติ การริเริ่มออกกฎหมายและการถอดถอนผู้ได้รับเลือกตั้ง แม้ในปัจจุบัน ประชาธิปไตยจะยังไม่มีนิยามที่ได้รับการยอมรับโดยทั่วกันก็ตาม แต่มีการระบุว่าความเสมอภาคและอิสรภาพเป็นคุณลักษณะสำคัญของประชาธิปไตยนับแต่โบราณกาลR.

ประชาธิปไตยและวิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2548–2553 · ประชาธิปไตยและเครือข่าย 19 กันยา ต้านรัฐประหาร · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2548–2553และเครือข่าย 19 กันยา ต้านรัฐประหาร

วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2548–2553 มี 157 ความสัมพันธ์ขณะที่ เครือข่าย 19 กันยา ต้านรัฐประหาร มี 16 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 5, ดัชนี Jaccard คือ 2.89% = 5 / (157 + 16)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2548–2553และเครือข่าย 19 กันยา ต้านรัฐประหาร หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: