เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

วาฬสเปิร์มและสมอง

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง วาฬสเปิร์มและสมอง

วาฬสเปิร์ม vs. สมอง

วาฬสเปิร์ม หรือ วาฬหัวทุย (Sperm whale) เป็นวาฬขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง จัดเป็นวาฬมีฟัน (Odontoceti) ชนิดที่ใหญ่ที่สุด วาฬสเปิร์มมีลักษณะเด่น คือ มีส่วนหัวใหญ่และยาวมากเกือบร้อยละ 40 ของลำตัว ลำตัวสีเทาดำผิวหนังเป็นรอยย่นตลอดลำตัว ส่วนหน้าผากตั้งฉากตรงขึ้นจากปลายปากบน และเป็นแนวหักลาดไปทางส่วนหลัง ท่อหายใจรูเดียว อยู่ส่วนบนเยื้องไปด้านซ้ายของหัวครีบหลัง มีลักษณะเป็นสันนูนขึ้นมาตั้งอยู่ค่อนไปทางท้ายลำตัว และมีสันเป็นลอน ๆ ไปจนเกือบถึงโคนหาง ครีบข้างค่อนข้างเล็กปลายมนเหมือนใบพาย ไม่มีครีบหลัง ขากรรไกรล่างแคบยาวและเล็กมากเมื่อเทียบกับส่วนหัว ฟันเป็นเขี้ยวจำนวน 16-30 คู่ บนขากรรไกรล่าง ขากรรไกรบนไม่มีฟัน แต่จะมีช่องสำหรับรองรับฟันล่างเวลาหุบปากเท่านั้น อย่างไรก็ตามอาจพบฟัน 10-16 คู่ ในกระดูกขากรรไกรบนของวาฬที่มีอายุมาก ๆ นอกจากนี้แล้วบริเวณรอบ ๆ ปากจะเป็นสีขาว ซึ่งเชื่อกันว่าในที่ ๆ น้ำลึกสีขาวนี้จะเรืองแสงในความมืด ใช้เป็นเครื่องล่อเหยื่อต่าง ๆ ของวาฬสเปิร์ม มีขนาดโตเต็มที่ยาวประมาณ 15-20 เมตร ลูกแรกเกิดยาว 3.5-4.5 เมตร แม่วาฬใช้เวลาตั้งท้องนาน 16-17 เดือน ลูกจะอาศัยอยู่กับแม่เป็นเวลาประมาณ 13 เดือนจึงแยกออกหากินอิสระ ขนาดโตเต็มที่ยาว 12-18 เมตร น้ำหนักมากถึง 28 ตัน วาฬสเปิร์ม เป็นวาฬที่อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง และเป็นวาฬชนิดที่ดำน้ำได้ลึกที่สุด มีรายงานว่าสามารถดำน้ำได้ลึกถึง 1,000 เมตร โดยใช้เวลาประมาณ 40 นาที มีรายงานจากการติดตามวาฬที่ติดเครื่องหมายด้วยระบบโซน่า พบว่าสามารถดำน้ำได้ลึกถึง 2,800-3,000 เมตร โดยใช้เวลากว่า 1 ชั่วโมง จากการสูดหายใจเพียงครั้งเดียวที่ผิวน้ำที่มีแรงกดดันเท่ากับที่มนุษย์หายใจ ซึ่งในระดับความลึกกว่า 1,000 เมตร แรงกดของอากาศมากกว่าที่ผิวน้ำ 100 เท่า บีบอัดปอดของวาฬให้เหลือเพียงร้อยละ 1 ของปริมาตรทั้งหมด แต่ขณะที่ยังเป็นวาฬวัยอ่อนอยู่ จะยังไม่สามารถดำน้ำลึกได้เหมือนตัวที่โตเต็มวัย นอกจากนี้แล้ววาฬสเปิร์มยังเป็นวาฬชนิดที่ชอบกินหมึกเป็นอาหารมากที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งหมึกมหึมา (Mesonychoteuthis hamiltoni) ซึ่งเป็นหมึกชนิดที่ใหญ่ที่สุดในโลก ที่มีความยาวได้ถึง 14 เมตร ในระดับความลึกระดับ 1,000 เมตร หรือหมึกกล้วยยักษ์ (Architeuthis dux) ที่มีขนาดรองลงมา โดยอาจยาวได้ถึง 12 เมตร โดยมีการพบซากจะงอยปากของหมึกในกระเพาะของวาฬสเปิร์ม ซึ่งวาฬบางตัวจะมีผิวหนังที่เป็นรอยแผลจากปุ่มดูดของหนวดหมึกปรากฏอยู่ รอยแผลเป็นบนผิวหนังวาฬสเปิร์มจากปุ่มดูดของหมึกมหึมา วาฬสเปิร์ม เป็นวาฬที่พบได้ในทะเลและมหาสมุทรทั่วโลก ในน่านน้ำไทยพบรายงานเพียง 3 จังหวัด คือ พังงา, ภูเก็ต และสตูล และถูกจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามกฎหมาย วาฬสเปิร์ม นับเป็นวาฬอีกชนิดหนึ่งที่ถูกล่าจากมนุษย์มาตั้งแต่สมัยโบราณ ด้วยการนำเขี้ยวและฟันมาเป็นทำเครื่องประดับ ไขมันในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เนื้อสำหรับรับประทาน นอกจากนี้แล้วอาเจียนหรือมูลของวาฬสเปิร์มยังมีลักษณะแข็งเหมือนอำพัน และมีกลิ่นหอมเป็นลักษณะพิเศษ เป็นของหายาก ราคาแพง ใช้เป็นส่วนสำคัญในการผลิตหัวน้ำหอมและยาไทยได้ด้วย เรียกว่า "อำพันขี้ปลา" หรือ "อำพันทะเล" หรือ "ขี้ปลาวาฬ" และที่ส่วนหัวยังมีสารพิเศษคล้ายไขมันหรือขี้ผึ้ง เรียกว่า "ไขปลาวาฬ" ซึ่งใช้ในการผลิตโลชั่น และเวชภัณฑ์ชนิดต่าง ๆ อันเป็นที่มาของชื่อสามัญ ซึ่งวาฬสเปิร์มได้ถูกอ้างอิงถึงในวรรณกรรมที่มีชื่อเสียงระดับโลก คือ "โมบิดิก" ของเฮอร์มัน เมลวิลล์ ในปี ค.ศ. 1855 ที่เป็นเรื่องราวของการล่าวาฬสเปิร์มเผือกตัวหนึ่งที่มีนิสัยดุร้าย ชื่อ โมบิดิก หรือในวรรณกรรมเยาวชนเรื่อง "พินอคคิโอ" ที่ตอนท้ายเรื่องพินอคคิโอผจญภัยเข้าไปอยู่ในท้องของวาฬ ซึ่งก็คือ วาฬสเปิร์ม เป็นต้น ในปัจจุบัน มีผลการศึกษาทางวิทยาศาสตร์พบว่า วาฬสเปิร์มรวมถึงวาฬชนิดอื่น ๆ มีขนาดลำตัวที่เล็กลงจากอดีต บ่งบอกว่าเป็นสัตว์ที่อยู่ในสถานะใกล้สูญพันธุ์ โดยเฉพาะวาฬสเปิร์มนั้นในปี.. มอง thumb สมอง คืออวัยวะสำคัญในสัตว์หลายชนิดตามลักษณะทางกายวิภาค หรือที่เรียกว่า encephalon จัดว่าเป็นส่วนกลางของระบบประสาท คำว่า สมอง นั้นส่วนใหญ่จะเรียกระบบประสาทบริเวณหัวของสัตว์มีกระดูกสันหลัง คำนี้บางทีก็ใช้เรียกอวัยวะในระบบประสาทบริเวณหัวของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังอีกด้วย สมองมีหน้าที่ควบคุมและสั่งการการเคลื่อนไหว, พฤติกรรม และภาวะธำรงดุล (homeostasis) เช่น การเต้นของหัวใจ, ความดันโลหิต, สมดุลของเหลวในร่างกาย และอุณหภูมิ เป็นต้น หน้าที่ของสมองยังมีเกี่ยวข้องกับการรู้ (cognition) อารมณ์ ความจำ การเรียนรู้การเคลื่อนไหว (motor learning) และความสามารถอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ สมองประกอบด้วยเซลล์สองชนิด คือ เซลล์ประสาท และเซลล์เกลีย เกลียมีหน้าที่ในการดูแลและปกป้องนิวรอน นิวรอนหรือเซลล์ประสาทเป็นเซลล์หลักที่ทำหน้าที่ส่งข้อมูลในรูปแบบของสัญญาณไฟฟ้าที่เรียกว่า ศักยะงาน (action potential) การติดต่อระหว่างนิวรอนนั้นเกิดขึ้นได้โดยการหลั่งของสารเคมีชนิดต่าง ๆ ที่รวมเรียกว่า สารสื่อประสาท (neurotransmitter) ข้ามบริเวณระหว่างนิวรอนสองตัวที่เรียกว่า ไซแนปส์ สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เช่น แมลงต่าง ๆ ก็มีนิวรอนอยู่นับล้านในสมอง สัตว์มีกระดูกสันหลังขนาดใหญ่มักจะมีนิวรอนมากกว่าหนึ่งร้อยล้านตัวในสมอง สมองของมนุษย์นั้นมีความพิเศษกว่าสัตว์ตรงที่ว่ามีความซับซ้อนและใหญ่กว่าเมื่อเทียบกับขนาดตัวของมนุษ.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง วาฬสเปิร์มและสมอง

วาฬสเปิร์มและสมอง มี 1 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): สัตว์

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

วาฬสเปิร์มและสัตว์ · สมองและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง วาฬสเปิร์มและสมอง

วาฬสเปิร์ม มี 35 ความสัมพันธ์ขณะที่ สมอง มี 46 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 1, ดัชนี Jaccard คือ 1.23% = 1 / (35 + 46)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง วาฬสเปิร์มและสมอง หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: