โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

วาฬนาร์วาล

ดัชนี วาฬนาร์วาล

นาร์วาล (narwhal; ชื่อวิทยาศาสตร์: Monodon monoceros) เป็นวาฬมีฟันขนาดกลาง ซึ่งใช้ชีวิตตลอดทั้งปีที่บริเวณอาร์กติก เป็นหนึ่งในสองของสปีชีส์วาฬวงศ์โมโนดอนติแด เช่นเดียวกับวาฬเบลูกา นาร์วาลเพศผู้มีลักษณะที่โดดเด่นคือ มีงาที่ยาว, ตรง, เป็นเกลียวที่ยื่นมาจากกรามบนด้านซ้ายของพวกมัน ซึ่งแท้ที่จริงแล้วคือ ฟันเพียงซี่เดียวของพวกมันที่อาจยาวได้ถึง 3 เมตร สำหรับตัวผู้บางตัวอาจมีได้ถึงสองซี่ ขณะที่ตัวเมียเองก็อาจมีได้เหมือนกันแต่ทว่าไม่ยาวและไม่โดดเด่นเท่า ปัจจุบันยังไม่ทราบเป็นที่แน่ชัดว่ามีไว้สำหรับทำอะไร เพราะนาร์วาลไม่ได้ใช้งาตรงนี้ในการขุดเจาะหาอาหารหรือต่อสู้กันเอง ในยุคกลางงาของนาร์วาลถูกขายในราคาที่สูงให้แก่เชื้อพระวงศ์ชั้นสูง และถูกมองว่าเป็นยูนิคอร์นแห่งท้องทะเล นาร์วาลส่วนใหญ่พบในบริเวณอาร์กติกของแคนาดาและเขตทะเลของกรีนแลนด์ หาได้ยากในบริเวณละติจูด 65°เหนือ นาร์วาลเป็นนักล่าที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวในเขตอาร์กติก มันกินเหยื่อบริเวณพื้นใต้น้ำเป็นอาหาร โดยเป็นปลาซีกเดียวเป็นส่วนใหญ่ ที่ระดับความลึกถึง 1,500 เมตรใต้ก้อนน้ำแข็งหนา มีการล่านาร์วาลมากว่าหนึ่งพันปีโดยชาวอินูอิตในภาคเหนือของแคนาดาและกรีนแลนด์สำหรับเนื้อและงา รวมถึงล่าเพื่อการยังชีพแบบควบคุมยังคงดำเนินต่อไปจนถึงทุกวันนี้ ในขณะที่ประชากรต่างถือว่าพวกมันตกอยู่ในความเสี่ยง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมีช่วงที่แคบและอดอาหาร.

16 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2301กรีนแลนด์การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์การตั้งชื่อทวินามการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศละติจูดวาฬวาฬมีฟันวาฬเบลูกาสัตว์สัตว์มีแกนสันหลังสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมอันดับวาฬและโลมาอันดับปลาซีกเดียวอาร์กติกคาโรลัส ลินเนียส

พ.ศ. 2301

ทธศักราช 2301 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: วาฬนาร์วาลและพ.ศ. 2301 · ดูเพิ่มเติม »

กรีนแลนด์

กรีนแลนด์ (Kalaallit Nunaat; Grønland เกฺรินลันฺด) เป็นดินแดนทางเหนือสุดของโลก ตั้งอยู่ในมหาสมุทรอาร์กติกและเป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีพื้นที่ประมาณ 2,175,900 ตารางกิโลเมตร มีฐานะเป็นดินแดนปกครองตนเองของประเทศเดนมาร์ก ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2499.

ใหม่!!: วาฬนาร์วาลและกรีนแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ หรือ การจำแนกชั้นทางชีววิทยา (Systematics) หมายถึงการจัดกลุ่มและหมวดหมู่สปีชีส์ของสิ่งมีชีวิต ทั้งที่มีอยู่ในปัจจุบันและที่สูญพันธุ์ไปแล้ว การจำแนกในยุคปัจจุบันอาศัยรากฐานจากระบบการจำแนกของ คาโรลัส ลินเนียส นักพฤกษศาสตร์ผู้จัดกลุ่มสปีชีส์ต่าง ๆ โดยดูจากลักษณะเฉพาะทางกายภาพ การจัดกลุ่มแบบนี้ได้มีการปรับปรุงอยู่เสมอเพื่อให้สอดคล้องกับหลักดาร์วิน ส่วนมากเป็นผลมาจากการศึกษาอนุกรมวิธานระดับโมเลกุลด้วยการวิเคราะห์จีโนม ในการแบ่งอย่างกว้างๆจะแบ่งได้ 2 ระดับ คือ ลำดับขั้นสูง และ ลำดับขั้นต่ำ.

ใหม่!!: วาฬนาร์วาลและการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

การตั้งชื่อทวินาม

ระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแบบทวินาม (Binomial nomenclature) เป็นระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแต่ละสปีชีส์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ชื่อแต่ละชื่อในระบบนี้เรียกว่า ชื่อทวินาม (Binomial name) หรือ ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name) คือชื่อที่ใช้เรียกแทนสิ่งมีชีวิตในสปีชีส์ต่าง ๆ อย่างเป็นทางการ ชื่อทวินามจะเป็นภาษาละติน ประกอบด้วยคำศัพท์ 2 คำ คือ สกุล และ สปีชีส์ ซึ่งขึ้นอยู่กับสิ่งมีชีวิตที่ต้องการระบุ โดยรายละเอียดปลีกย่อยอาจแตกต่างกันออกไปบ้าง.

ใหม่!!: วาฬนาร์วาลและการตั้งชื่อทวินาม · ดูเพิ่มเติม »

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ คือ การเปลี่ยนแปลงการกระจายทางสถิติของรูปแบบสภาพอากาศเมื่อการเปลี่ยนแปลงนั้นกินเวลานาน (เช่น หลายสิบปีถึงหลายล้านปี) การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศอาจหมายถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศเฉลี่ย หรือความแปรผันของเวลาของสภาพอากาศเกี่ยวกับภาวะเฉลี่ยที่กินเวลานาน (คือ มีเหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้วมากขึ้นหรือน้อยลง) การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศมีสาเหตุจากปัจจัยอย่างกระบวนการชีวนะ ความแปรผันของรังสีดวงอาทิตย์ที่โลกได้รับ การแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาค และการปะทุของภูเขาไฟ กิจกรรมบางอย่างของมนุษย์ยังถูกระบุว่าเป็นสาเหตุสำคัญของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศล่าสุด มักเรียกว่า "โลกร้อน".

ใหม่!!: วาฬนาร์วาลและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ · ดูเพิ่มเติม »

ละติจูด

ละติจูด (latitude) หรือเดิมเรียกว่า เส้นรุ้ง แทนด้วยอักษรกรีก φ เป็นพิกัดที่ใช้บอกตำแหน่งบนพื้นโลกและแบ่งเขตสภาวะอากาศโดยวัดจากเส้นศูนย์สูตร พิกัดที่ใช้คู่กัน คือ ลองจิจูด พื้นที่ที่มีพิกัดละติจูดต่างกัน จะมีภูมิอากาศ (climate) และสภาพอากาศ (weather) ต่างกัน ละติจูดมีค่าตั้งแต่ 0 องศาที่เส้นศูนย์สูตร ไปจนถึง 90 องศาที่บริเวณขั้วโลก (นับเป็น 90 องศาเหนือหรือใต้) เนื่องจากเป็นการวัดมุมจากจุดสมมติที่เส้นศูนย์สูตรไปยังจุดขั้วโลกที่ 90 อง.

ใหม่!!: วาฬนาร์วาลและละติจูด · ดูเพิ่มเติม »

วาฬ

การพ่นน้ำของวาฬเพชฌฆาต (''Orcinus orca'') ครีบหางของวาฬหลังค่อม ซึ่งวาฬแต่ละตัวและมีลักษณะของครีบและหางแตกต่างกันออก ใช้เป็นสิ่งสำคัญในการจำแนก ตัวอย่างเสียงร้องของวาฬ วาฬ หรือที่นิยมเรียกกันติดปากว่า "ปลาวาฬ เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่อาศัยอยู่แต่เฉพาะในทะเลหรือมหาสมุทร เป็นสัตว์ที่มีรูปร่างคล้ายปลา คือ รูปร่างเพรียวยาว มีครีบและมีหางเหมือนปลา แต่หางของวาฬจะเป็นไปในลักษณะแนวนอน มิใช่แนวตั้งเหมือนปลา วาฬมิใช่ปลา แต่เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีสายรก ที่จัดอยู่ในอันดับวาฬและโลมา (Cetacea) บรรพบุรุษของวาฬ เป็นสัตว์กินเนื้อบนบกมี 4 ขา ในยุคพาลีโอจีน เมื่อประมาณ 65 ล้านปีก่อน มีชื่อว่า "มีโซนิก" จากนั้นก็วิวัฒนาการเริ่มใช้ชีวิตแบบสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำภายในเวลาเพียง 10 ล้านปีต่อมาในยุคอีโอซีน หรือเมื่อประมาณ 55 ล้านปีก่อน โดยจากสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำจากนั้นขาหลังก็ค่อยหดและเล็กลงจนต่อมาเมื่อประมาณ 24-26 ล้านปี ก่อนกระดูกและข้อต่อก็หดเล็กลงจนไม่มีโผล่ออกมาให้เห็น แต่ในปัจจุบันกระดูกส่วนของขาหลังก็ยังคงมีอยู่โดยเป็นอวัยวะภายในที่มีขนาดเล็ก และทำหน้าที่เพียงเป็นที่ยึดติดของอวัยวะสืบพันธุ์เท่านั้น วาฬ เป็นสัตว์ที่มีขนาดใหญ่ นับเป็นสัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก แม้จะอาศัยอยู่แต่เฉพาะในทะเล มีรูปร่างคล้ายปลา แต่มิใช่ปลา ด้วยเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม แม้จะไม่มีขนปกคลุมลำตัวเหมือนสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอันดับอื่น ๆ แต่วาฬจะรักษาความอบอุ่นในร่างกายด้วยไขมันในชั้นใต้ผิวหนัง วาฬ เป็นสัตว์ที่หายใจด้วยปอด เหมือนสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอันดับอื่น ๆ วาฬสามารถกลั้นหายใจใต้น้ำได้นานนับชั่วโมง (โดยเฉลี่ยประมาณ 20 นาที) ด้วยการเก็บออกซิเจนปริมาณมากไว้ในปอด เมื่อใช้ออกซิเจนหมด วาฬจะขึ้นมาหายใจบนผิวน้ำเพื่อปล่อยลมหายใจออก ซึ่งขณะที่ปล่อยลมหายใจออกนั้นจะมีไอน้ำและฝอยน้ำพ่นออกมาจากอวัยวะพิเศษที่อยู่ตรงส่วนหัวเป็นรูกลม ๆ เหมือนน้ำพุด้วย เพราะวาฬมีกล้ามเนื้อพิเศษปิดรูจมูกไว้แน่นเพื่อกันไม่ให้น้ำเข้าไปจมูกซึ่งเป็นอวัยวะที่ติดต่อกับปอดโดยตรง ส่วนปากนั้นไม่มีทางติดต่อกับปอดและจมูกเลย ทั้งนี้เพื่อจะกันไม่ให้น้ำเข้าสู่ปอดในขณะที่ดำน้ำ ในวาฬขนาดใหญ่อย่าง วาฬสีน้ำเงิน สามารถพ่นน้ำได้สูงถึง 9 เมตร วาฬ อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง ออกลูกครั้งละ 1 ตัว ลูกของวาฬจะกินนมจากเต้านมของแม่เหมือนสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทั่วไป เต้านมของวาฬมี 1 คู่ อยู่ในร่องท้องของวาฬตัวเมีย ขณะที่กินนมลูกวาฬจะว่ายน้ำเคียงข้างไปพร้อมกับแม่ จึงจำเป็นต้องใช้เวลาให้น้อยที่สุด โดยเพียงแค่จ่อปากที่หัวนม แม่วาฬจะปล่อยน้ำนมเข้าปากลูก เป็นระยะเวลาสั้น ๆ เพียงแค่ไม่กี่วินาทีเท่านั้น เมื่อลูกวาฬคลอดออกมาใหม่ ๆ จะพุ่งตัวขึ้นผิวน้ำเพื่อหายใจทันที แม่วาฬจะช่วยดันลูกขึ้นสู่ผิวน้ำด้วยส่วนหัว และขณะที่แม่วาฬคลอดลูกนั้น วาฬตัวอื่น ๆ ในฝูง โดยเฉพาะวาฬตัวเมียจะช่วยกันปกป้องแม่และลูกวาฬมิให้ได้รับอันตราย ลูกวาฬเมื่อแรกเกิดจะมีลำตัวประมาณร้อยละ 40 ของแม่วาฬ และในบางชนิดจะมีขนติดตัวมาด้วยในช่วงแนวปากบนเมื่อแรกเกิด และจะหายไปเมื่อโตขึ้น วาฬ เป็นสัตว์ที่มีนัยน์ตาขนาดเล็ก จึงไม่ได้ใช้ประสาทการมองเห็นเท่าใดนัก อีกทั้งระบบประสาทการรับกลิ่นก็ไม่มีประสิทธิภาพที่ดีด้วย หากแต่วาฬจะใช้ระบบการรับฟังเสียงเป็นประสาทสัมผัสเป็นหลัก คล้ายกับระบบโซนาร์ หรือเอคโคโลเคชั่น ที่ส่งคลื่นเสียงไปกระทบกับวัตถุต่าง ๆ แล้วสะท้อนกลับมาสู่ประสาทหูของวาฬเพื่อคำนวณระยะทางและขนาดของวัตถุ นอกจากนี้แล้ววาฬยังใช้เสียงต่าง ๆ ในการติดต่อสื่อสารกันในฝูงและในกลุ่มเดียวกัน สามารถร้องได้ด้วยเสียงต่าง ๆ กันมากมาย มีการศึกษาจากนักวิชาการพบว่า วาฬหลังค่อมสามารถส่งเสียงต่าง ๆ ได้มากถึง 34 ประเภท เหมือนกับการร้องเพลง และก้องกังวาลไปไกลนับเป็นร้อย ๆ กิโลเมตร และอยู่ได้นานถึงชั่วโมง และในการศึกษาวาฬนั้น ผู้ศึกษาจะสังเกตจากครีบหางและรอยแผลต่าง ๆ บนลำตัวซึ่งจะแตกต่างกันออกไปเป็นลักษณะเฉพาะ วาฬ เป็นสัตว์ที่มนุษย์รู้จักและผูกพันมาตั้งแต่สมัยโบราณ ในอดีตเคยมีความเชื่อว่าวาฬเป็นปลา เช่น นักปราชญ์อย่างอริสโตเติล แต่ในปี ค.ศ. 1693 จอห์น เรย์ นักชีววิทยาชาวอังกฤษเป็นนักวิทยาศาสตร์คนแรกที่ตระหนักว่าวาฬเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มิใช่ปลา ด้วยมีการคลอดลูกเป็นตัว และมีระยะเวลาตั้งท้องนานกว่าปี เหมือนสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ทั่วไป วาฬเป็นสัตว์ที่มนุษย์นิยมล่าเพื่อนำเนื้อ, หนัง, บาลีน, ฟัน, กระดูก รวมทั้งน้ำมันและไขมันในชั้นผิวหนังในการอุตสาหกรรมประเภทต่าง ๆ จนกระทั่งถึงในปี ค.ศ. 1966 ประชากรวาฬลดลงเหลือเพียง 12,000 ตัวเท่านั้น จึงมีกฎหมายและการอนุรักษ์วาฬขึ้นมาอย่างจริงจัง.

ใหม่!!: วาฬนาร์วาลและวาฬ · ดูเพิ่มเติม »

วาฬมีฟัน

ฟันของวาฬสเปิร์ม ซึ่งเป็นวาฬมีฟันที่มีขนาดใหญ่ที่สุด วาฬมีฟัน (Toothed whales) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมกลุ่มหนึ่งที่อาศัยอยู่ในน้ำทั้งทะเล, น้ำกร่อย และน้ำจืดบ้างบางส่วน เป็นอันดับย่อยของอันดับวาฬและโลมา (Cetacea) ใช้ชื่ออันดับย่อยว่า Odonceti (/โอ-ดอน-โต-เซ-เตส/) วาฬมีฟันนั้นประกอบไปด้วยวาฬและโลมา เป็นสัตว์กินเนื้อ ด้วยการไล่ล่าสัตว์น้ำต่าง ๆ เป็นอาหาร เช่น ปลา รวมถึงสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในทะเลบางจำพวก เช่น สิงโตทะเล หรือแมวน้ำ ได้ในบางชนิด ขณะที่บางชนิดกินสัตว์มีเปลือกแข็งอย่าง หอย หรือครัสเตเชียน ได้ด้วย มีขนาดลำตัวเล็กกว่าวาฬไม่มีฟันมาก วาฬมีฟัน บางชนิดมีฟันเพียง 2-3 ซี่ แต่ส่วนมากจะมีฟันแข็งแรงเรียงเป็นแถวทั้งขากรรไกรบนและล่าง โดยวาฬมีฟันที่มีขนาดใหญ่ที่สุด คือ วาฬสเปิร์ม ที่มีความยาวได้ถึง 60 ฟุต มีรูปร่างคล้ายลูกอ๊อดขนาดใหญ่ มีหัวเป็นสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่มากที่ภายในมีไขมันและน้ำมันอยู่เป็นจำนวนมาก วาฬสเปิร์มสามารถดำน้ำได้ลึกและกินหมึกเป็นอาหาร โดยเฉพาะอย่างหมึกยักษ์ ขณะที่วาฬมีฟันที่มีขนาดเล็กที่สุด คือ โลมาลาพลาตา อาศัยอยู่ตามแถบชายฝั่ง, ปากแม่น้ำ ของทวีปอเมริกาใต้ฝั่งแอตแลนติก ที่มีความยาวเต็มที่ไม่ถึง 2 เมตร นับเป็นสัตว์ในอันดับนี้ที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลกด้วย วาฬเพชฌฆาต หรือวาฬออร์กา นับเป็นวาฬมีฟันที่มีลำตัวยาวประมาณ 30 ฟุต เป็นวาฬที่มีศักยภาพในการไล่ล่าสูง โดยจะทำการล่าเป็นฝูงและสามัคคีกัน ซึ่งวาฬเพชฌฆาตนอกจากจะล่าปลาขนาดเล็กกินเป็นอาหารด้วยแล้ว ยังอาจจะกินปลาขนาดใหญ่และเป็นอันตรายอย่าง ปลาฉลามขาว รวมถึงสัตว์เลือดอุ่นทะเล เช่น นกทะเล, นกเพนกวิน, แมวน้ำ, สิงโตทะเล หรือแม้แต่วาฬหรือโลมาด้วยกันเป็นอาหารได้ด้วยวาฬและโลมา หน้า 37-42, "สัตว์สวยป่างาม" (ชมรมนิเวศวิทยา มหาวิทยาลัยมหิดล, สิงหาคม 2518) วาฬีมีฟันชนิดหนึ่ง คือ นาร์วาล เป็นวาฬที่อาศัยอยู่เป็นฝูงเฉพาะมหาสมุทรอาร์กติกในแถบขั้วโลกเหนือ มีลักษณะเฉพาะ คือ มีฟันที่แปลก วาฬนาร์วาลจะมีฟัน 2 ซี่เมื่อแรกเกิด แต่นาร์วาลตัวผู้เมื่อเจริญเติบโตขึ้นฟันข้างซ้ายจะยาวไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งกลายเป็นสิ่งที่แหลมยาวเหมือนงาช้างหรือเขาสัตว์ ลักษณะม้วนเป็นเกลียวที่ยาวได้ถึง 3 เมตร (10 ฟุต) เหมือนยูนิคอร์น ในเทพปกรณัมกรีก ซึ่งนาร์วาลจะใช้เขาแหลมนี้ในการเจาะเซาะน้ำแข็งในการว่ายน้ำ รวมถึงใช้ต่อสู้ป้องกันตัวและแย่งชิงตัวเมียด้วย ซึ่งตัวเมียจะมีเขานี้เพียงสั้น ๆ รวมถึงใช้ขุดหาอาหารตามพื้นน้ำเป็นอาหาร ส่วนใหญ่ได้แก่ ปลาลิ้นหมา และครัสเตเชียน และหอยต่าง ๆ มนุษย์จะใช้ประโยชน์จากวาฬมีฟันด้วยการใช้ฟันและเขี้ยวแกะสลักมาแต่โบราณ นับเป็นของหายาก ล้ำค่า ขณะที่เขาของนาร์วาล ในอดีตมีความเชื่อว่าเป็นเขาของยูนิคอร์นจริง ๆ ถือเป็นของล้ำค่าและเป็นเครื่องประดับที่มีร.

ใหม่!!: วาฬนาร์วาลและวาฬมีฟัน · ดูเพิ่มเติม »

วาฬเบลูกา

วาฬเบลูกา หรือ วาฬขาว (Beluga whale, White whale) เป็นวาฬที่จัดอยู่ในวงศ์ Monodontidae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับนาร์วาฬ และนับเป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Delphinapterus โดยถือเป็น 2 ชนิดเท่านั้นในวงศ์นี้ที่ยังคงสืบเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบัน จัดอยู่ในประเภทวาฬมีฟัน กินสัตว์น้ำเป็นอาหาร เช่น กุ้ง, หอยและปลา เป็นต้น ตัวผู้จะมีความยาวลำตัวมากกว่าเมื่อเทียบกับตัวเมีย โดยตัวผู้ตัวเต็มวัยจะมีความยาวลำตัวเฉลี่ย 3.5–5.5 เมตร ส่วนตัวเมียมีความยาวลำตัวเฉลี่ย 3–4.1 เมตร น้ำหนักกว่า 1 ตัน สำหรับลูกวาฬแรกเกิดจะมีสีเทา และสีเทาจะค่อย ๆ จางลงจนกลายเป็นสีขาวในตัวเต็มวัย และมีอายุเฉลี่ยประมาณ 10 ปี สูงสุดถึง 70 ปี พบกระจายพันธุ์ตามชายฝั่งทะเลและมหาสมุทรของซีกโลกทางเหนือ เช่น มหาสมุทรอาร์กติก, ทวีปอเมริกาเหนือ, อ่าวฮัดสัน, เกาะกรีนแลนด์, รัสเซีย, ทะเลสาบอิลลิมนา และปากแม่น้ำเซนต์ลอว์เรนซ์ ในแคนาดา อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง สามารถว่ายน้ำเดินทางไปในใต้น้ำที่ดำมืดได้ โดยใช้ระบบโซนาร์ในการนำทาง ที่ผลิตมาจากก้อนไขมันบนส่วนหัว และกลั้นหายใจได้นานถึง 20 นาที ตัวผู้สามารถดำน้ำได้ลึกถึง 500 เมตร เพื่อหาอาหาร ขณะที่ตัวเมียและลูกวาฬที่มีขนาดเล็กกว่าดำได้ลึกเพียง 350 เมตร วาฬเบลูกาไม่มีครีบหลัง เพื่อลดการสูญเสียความร้อนและปรับตัวให้สามารถว่ายน้ำภายใต้แผ่นน้ำแข็งFriedman, W.R. 2006.

ใหม่!!: วาฬนาร์วาลและวาฬเบลูกา · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: วาฬนาร์วาลและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ใหม่!!: วาฬนาร์วาลและสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม

ัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม (Mammalia) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง โดยคำว่า Mammalia มาจากคำว่า Mamma ที่มีความหมายว่า "หน้าอก" เป็นกลุ่มของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ที่มีการวิวัฒนาการและพัฒนาร่างกายที่ดีหลากหลายประการ รวมทั้งมีระบบประสาทที่เจริญก้าวหน้า สามารถดำรงชีวิตได้ในทุกสภาพสิ่งแวดล้อมสัตววิทยา (สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม), บพิธ-นันทพร จารุพันธุ์, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2547, หน้า 411 มีขนาดของร่างกายและรูปพรรณสัณฐานที่แตกต่างกันออกไป รวมถึงการทำงานของระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย ที่มีการปรับเปลี่ยนไปตามลักษณะของสายพันธุ์ มีลักษณะเด่นคือมีต่อมน้ำนมที่มีเฉพาะในเพศเมียเท่านั้น เพื่อผลิตน้ำนมเพื่อใช้เลี้ยงลูกวัยแรกเกิด เป็นสัตว์เลือดอุ่น มีขนเป็นเส้น ๆ (hair) หรือขนอ่อน (fur) ปกคลุมทั่วทั้งร่างกาย เพื่อเป็นการรักษาอุณหภูมิในร่างกาย ยกเว้นสัตว์น้ำที่ไม่มีขน สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ไม่จัดอยู่ในประเภทสัตว์กลุ่มใหญ่ คือมีจำนวนประชากรประมาณ 4,500 ชนิด ซึ่งถือว่าเป็นปริมาณน้อยมากเมื่อเทียบกับนก ที่มีประมาณ 9,200 ชนิด และปลาอีกประมาณ 20,000 ชนิด รวมทั้งแมลงอีกประมาณ 800,000 ชนิด ส่วนใหญ่เป็นสัตว์บก เช่น สุนัข ช้าง ลิง เสือ สิงโต จิงโจ้ เม่น หนู ฯลฯ สำหรับสัตว์น้ำที่จัดเป็นเลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ได้แก่ โลมา วาฬ มานาทีและพะยูน แต่สำหรับสัตว์ปีกประเภทเดียวที่เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมคือค้างคาว ซึ่งกระรอกบินและบ่างนั้น ไม่จัดอยู่ในประเภทของสัตว์ปีก เนื่องจากใช้ปีกในการร่อนไปได้เพียงแค่ระยะหนึ่งเท่านั้น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมส่วนใหญ่ออกลูกเป็นตัว ยกเว้นตุ่นปากเป็ดและอีคิดนาเท่านั้นที่ออกลูกเป็น.

ใหม่!!: วาฬนาร์วาลและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม · ดูเพิ่มเติม »

อันดับวาฬและโลมา

ซีทาเซีย (Order Cetacea) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง เป็นอันดับหนึ่งใน 18 อันดับของชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ซึ่งสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับซีทาเซีย ได้แก่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีลักษณะคล้ายปลา เช่นวาฬ โลมา เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีลักษณะภายนอกคล้ายปลา จนมักเรียกติดปลาว่า ปลาวาฬ และ ปลาโลมา ซึ่งผิดหลักอนุกรมภิธาน บรรพบุรุษของสัตว์ตระกูลนี้เป็นสัตว์บกที่วิวัฒนาการกลับลงไปในทะเล.

ใหม่!!: วาฬนาร์วาลและอันดับวาฬและโลมา · ดูเพิ่มเติม »

อันดับปลาซีกเดียว

อันดับปลาซีกเดียว (Flatfish) ปลากระดูกแข็งในกลุ่มปลาที่มีก้านครีบ พบได้ทั้งทะเล, น้ำกร่อย และน้ำจืด ในภาษาไทยมักเรียกปลาในอันดับนี้รวม ๆ กัน เช่น "ลิ้นหมา", "ซีกเดียว", "ยอดม่วง", "ลิ้นเสือ", "ลิ้นควาย", "ใบไม้" หรือ "จักรผาน" เป็นต้น โดยใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pleuronectiformes.

ใหม่!!: วาฬนาร์วาลและอันดับปลาซีกเดียว · ดูเพิ่มเติม »

อาร์กติก

้นสีแดงในภาพเป็นบริเวณของอาร์กติกที่มีอุณหภูมิเฉลี่ยเท่าๆกัน อาร์กติก (Arctic) เป็นพื้นที่ในบริเวณขั้วโลกเหนือ ซึ่งบริเวณของอาร์กติกนี้ประกอบไปด้วยพื้นที่บางส่วนของประเทศต่าง ๆ เช่น แคนาดา, กรีนแลนด์ (ดินแดนของเดนมาร์ก), รัสเซีย, สหรัฐอเมริกา (อะแลสกา), ไอซ์แลนด์, นอร์เวย์, สวีเดน และฟินแลนด์ รวมถึงบริเวณของมหาสมุทรอาร์กติกด้วย บริเวณพื้นที่ส่วนใหญ่ของอาร์กติกจะเป็นพื้นที่กว้าง มหาสมุทรปกคลุมไปด้วยน้ำแข็ง พื้นที่รอบ ๆ ปราศจากพืชพันธุ์และผืนดินก็ปกคลุมไปด้วยน้ำแข็งเช่นเดียวกัน แต่กลับอุดมไปด้วยสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ทั้งที่อาศัยอยู่ในน้ำแข็ง, ปลา,สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม, นก และรวมถึงมนุษย์ด้วย ตามธรรมชาติของบริเวณอาร์กติกจะเป็นที่ที่แตกต่างจากที่อื่นอย่างเห็นได้ชัด ผู้คนที่อาศัยอยู่ในอาร์กติกจะมีการปรับตัวและใช้ชีวิตอยู่ท่ามกลางความหนาวเหน็บและธรรมชาติอันโหดร้าย อาร์กติกจะมีความอ่อนไหวได้ง่ายมากจากการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นบนโลกของเรา เช่น อุณหภูมิบนโลกที่เปลี่ยนแปลงไป ความอ่อนไหวได้ง่ายนี้ทำให้อาร์กติกนี้ถูกมองเสมือนเป็นระบบเตือนภัยล่วงหน้าให้แก่โลกของเรา คำว่า อาร์กติก มากจากภาษากรีกโบราณ αρκτος ซึ่งมีความหมายว่า หมี และยังอ้างอิงไปถึงกลุ่มดาวหมีใหญ่และหมีเล็กที่อยู่ใกล้กับดาวเหนือด้ว.

ใหม่!!: วาฬนาร์วาลและอาร์กติก · ดูเพิ่มเติม »

คาโรลัส ลินเนียส

รลัส ลินเนียส (ภาษาละติน) หรือ คาร์ล ลินเนียส (ภาษาสวีเดน) ปัจจุบันภาพนี้จัดแสดงที่ราชวิทยาลัยวิทยาศาสตร์แห่งสวีเดน ลายมือชื่อของคาร์ล ลินเนียส คาโรลัส ลินเนียส (Carolus Linnaeus) หรือ คาร์ล ฟอน ลินเนีย บ้างก็เรียก คาร์ล ลินเนียส (Carl Linnaeus) (23 พฤษภาคม พ.ศ. 2250 - 10 มกราคม พ.ศ. 2321) เป็นนักพฤกษศาสตร์ชาวสวีเดน ผู้ริเริ่มการจัดแบ่งสิ่งมีชีวิตออกเป็นหมวดหมู่ และการประยุกต์ใช้ระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแบบทวินาม ซึ่งมีประโยชน์ในการศึกษาชีววิทยาต่อมาจวบจนปัจจุบัน อนึ่ง ชื่อวิทยาศาสตร์ของสิ่งมีชีวิตที่จัดจำแนกโดยเขา จะลงท้ายด้วย L. หรือ Linn.

ใหม่!!: วาฬนาร์วาลและคาโรลัส ลินเนียส · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

MonodonMonodon monocerosNarwhalนาร์วาลนาร์วาฬ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »