เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

วันลอยกระทงและหมากสง

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง วันลอยกระทงและหมากสง

วันลอยกระทง vs. หมากสง

วันลอยกระทง เป็นวันสำคัญทางศาสนาฮินดูวันหนึ่งของไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ตามปฏิทินจันทรคติไทย ตามปฏิทินจันทรคติล้านนา มักจะตกอยู่ในราวเดือนพฤศจิกายน ตามปฏิทินสุริยคติ บางปีเทศกาลลอยกระทงก็จะมาตรงกับเดือนตุลาคมด้วย เช่นปี พ.ศ. 2544วันลอยกระทงปีนั้นตรงกับวันที่ 31 ตุลาคม และจะมาตรงกันอีกครั้งในปี พ.ศ. 2563 ประเพณีนี้กำหนดขึ้นเพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์และขอขมาต่อพระแม่คงคา บางหลักฐานเชื่อว่าเป็นการบูชารอยพระพุทธบาทที่ริมฝั่งแม่น้ำนัมทามหานที และบางหลักฐานก็ว่าเป็นการบูชาพระอุปคุตอรหันต์หรือพระมหาสาวก สำหรับประเทศไทยประเพณีลอยกระทงได้กำหนดจัดในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ โดยเฉพาะบริเวณที่ติดกับแม่น้ำ ลำคลอง หรือ แหล่งน้ำต่าง ๆ ซึ่งแต่ละพื้นที่ก็จะมีเอกลักษณ์ที่น่าสนใจแตกต่างกันไป นอกจากนี้บางประเทศก็มีเทศกาลลอยกระทงด้วย เช่น ประเทศลาวมักจะลอยกระทงในวันออกพรรษา (ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11) ในงานไหลเฮือไฟของลาว ประเทศกัมพูชา มีการลอยกระทง 2 ครั้ง คือลอยกระทงหลวงกลางเดือน 11 ราษฎรจะทำกระทงเล็กและบรรจุอาหารลงไปด้วย ส่วนกลางเดือน 12 จะมีกระทงหลวงเป็นกระทงใหญ่ ราษฎรจะไม่ได้ทำและกระทงนี้จะมีอาหารบรรจุลงไปด้วยเช่นกัน โดยมีคติว่าเพื่อส่งส่วนบุญไปให้เปรต เทศกาลน้ำจะมีการเฉลิมฉลองด้วยการแข่งเรือยาว การแสดงพุลดอกไม้ไฟ จัดขึ้นทุกปีตั้งแต่วันขึ้น 14 ค่ำ 15 ค่ำ จนถึงแรม 1 ค่ำ เดือนพฤศจิกายน ประเทศพม่า ในวันลอยกระทง ผู้คนจะพากันทำกระทงตกแต่งเป็นรูปคล้ายดอกบัวบาน ปักธูปเทียน และนิยมตัดเล็บ เส้นผม หรือใส่เหรียญกษาปณ์ลงไปในกระทง แล้วนำไปลอยในแหล่งน้ำ ส่วนในพื้นที่ติดทะเลก็นิยมลอยกระทงริมฝั่งทะเล เชื่อว่าเป็นการลอยเคราะห์ไป นอกจากนี้ยังเชื่อว่าการลอยกระทงเป็นการบูชาและขอขมาพระแม่คง. หมากสง หรือที่เรียกทั่วไปว่า "หมาก" (พืชที่เรียกว่า "หมาก" นั้น มีด้วยกันหลายชนิด นักพฤกษศาสตร์จึงเรียกหมากที่ใช้กินกับใบพลูว่า "หมากสง") เป็นพืชจำพวกปาล์ม เป็นชนิดหนึ่งในสกุล Arecaceae นับว่ามีความสำคัญมากทั้งในด้านเศรษฐกิจและวัฒนธรรมในหลายท้องถิ่น ในทวีปเอเชีย รวมทั้งประเทศไทยด้วย ส่วนสำคัญของพืชชนิดนี้ คือ เมล็ด ซึ่งมีสารจำพวก อัลคาลอยด์ (alkaloid) อันประกอบด้วย อาเรเคน (arecaine) และ อาเรโคลีน (arecoline) นิยมนำมาเคี้ยวกับหมากใบและใบพลู ซึ่งนับว่าเป็นสารเสพติดอย่างอ่อน หมากพบได้ในหลายประเทศของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียใต้ แถบมหาสมุทรแปซิฟิกในส่วนที่เป็นเขตร้อน และบางส่วนของทวีปแอฟริกา ในภาษาอังกฤษ เรียกหมากว่า "Betel palm" หรือ "Betel nut" ทั้งๆ ที่ คำว่า " betel" แปลว่า พลู ที่เรียกเช่นนี้ เพราะชาวอังกฤษ (ในสมัยโบราณ) เห็นว่าหมากนิยมเคี้ยวกับพลูนั่นเอง.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง วันลอยกระทงและหมากสง

วันลอยกระทงและหมากสง มี 0 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย)

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง วันลอยกระทงและหมากสง

วันลอยกระทง มี 39 ความสัมพันธ์ขณะที่ หมากสง มี 15 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 0, ดัชนี Jaccard คือ 0.00% = 0 / (39 + 15)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง วันลอยกระทงและหมากสง หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: