โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

วอมแบตและไดโปรโตดอน

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง วอมแบตและไดโปรโตดอน

วอมแบต vs. ไดโปรโตดอน

วอมแบต (wombat) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับสัตว์มีกระเป๋าหน้าท้อง ในวงศ์ Vombatidae มีทั้งหมด 3 ชนิด ใน 2 สกุล มีรูปร่างโดยรวม อ้วนป้อม มีขนนุ่มละเอียด มีสีน้ำตาลอ่อนหรือเทาหรือดำ หางสั้น มีส่วนขาที่สั้น ขาหน้าที่มีเล็บแหลมคมและข้อขาที่แข็งแรง ใช้สำหรับขุดโพรงเพื่ออยู่อาศัย ซึ่งโพรงมีทางยาวและมีหลายห้องหลายทาง เป็นสัตว์ที่หากินในเวลากลางคืน ในยามปกติตัวผู้และตัวเมียจะแยกกันอยู่ จะอยู่ด้วยกันเฉพาะในฤดูผสมพันธุ์เท่านั้น ขนาดโตเต็มที่โดยเฉลี่ยยาวประมาณ 1 เมตร น้ำหนักเกือบ 40 กิโลกรัม กินพืชเป็นอาหาร โดยเฉพาะหญ้าที่เป็นอาหารหลัก มีฟันที่แหลมคม ที่เขียนเป็นสูตรได้ดังนี้ วอมแบตเป็นสัตว์ที่มีกระเป๋าหน้าท้องคว่ำ เพื่อป้องกันลูกตกลงมา ให้ลูกครั้งละ 1 ตัวเท่านั้น ใช้เวลาตั้งท้องนาน 22 วัน มีทั้งหมด 3 ชนิด 2 สกุล พบในประเทศออสเตรเลียทางตอนใต้และเกาะแทสเมเนียเท่านั้น ได้แก. ปรโตดอน หรือ วอมแบตยักษ์ หรือ วอมแบตแรด (giant wombat, rhinoceros wombat) เป็นชื่อเรียกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่จำพวกหนึ่ง ในอันดับสัตว์มีกระเป๋าหน้าท้อง ซึ่งเคยได้พบที่ทวีปออสเตรเลียเมื่อกว่า 40,000 ปีก่อน แต่ปัจจุบันนี้ได้สูญพันธุ์ไปหมดแล้วไดโปรโตดอนเป็นสัตว์เลีี้ยงลูกด้วยนมมีกระเป๋าหน้าท้องที่ใหญ่ที่สุดและมันเป็นอาหารของนักล่าอย่าง สิงโตมาซูเฟียว และ เมกะลาเนีย ไดโปรโตดอน จัดอยู่ในสกุล Diprotodon มีรูปร่างลักษณะคล้ายตัววอมแบต แต่มีขนาดใหญ่กว่ามาก กล่าวคือ มีความสูงจากพื้นดินถึงหัวไหล่ประมาณ 2 เมตร ลำตัวยาว 3 เมตร น้ำหนักราว 3 ตัน ขณะที่วอมแบตทั่วไปสูงเพียง 25 เซนติเมตร ยาวเกือบ 1 เมตร และมีน้ำหนักราว 20-45 กิโลกรัมเท่านั้น ไดโปรโตดอน อาศัยอยู่ในพื้นที่ชุ่มน้ำเช่น ห้วยหนองคลองบึง ทั่วไป สาเหตุการสูญพันธุ์ของไดโปรโตดอน ปัจจุบันไม่มีข้อสรุปที่แน่นอน เนื่องจากนักบรรพชีวินวิทยามีทฤษฎีอยู่ 2 ทฤษฎี โดยทฤษฎีแรกเชื่อว่า มันสูญพันธุ์ไปเองโดยสาเหตุธรรมชาติ แต่อีกกลุ่มหนึ่งเชื่อว่าสูญพันธุ์เพราะถูกล่าจากมนุษย์ซึ่งเป็นบรรพบุรุษของชาวอะบอริจินส์ ซึ่งเป็นชนเผ่าพื้นเมืองของออสเตรเลีย ทั้งที่มีหลักฐานบ่งว่ามนุษย์เพิ่งอพยพมาสู่ออสเตรเลียครั้งแรกเมื่อ 5,000 ปีก่อนนี้เอง อย่างไรก็ดี มีความเชื่อของชาวอะบอริจินส์อยู่ประการหนึ่ง ถึงสัตว์ประหลาดขนาดใหญ่ที่ดุร้ายและกินมนุษย์โดยเฉพาะผู้หญิงเป็นอาหาร ที่มีชื่อว่า "บันยิป" (Bunyip) โดยเชื่อว่า บันยิปเป็นวิญญาณของสิ่งชั่วร้ายต่าง ๆ ที่มารวมกัน และเชื่ออีกว่าบันยิปจะอาศัยอยู่ตามพื้นที่ชุ่มน้ำต่าง ๆ ทั่วออสเตรเลีย จึงมีการสันนิษฐานว่า หากบันยิปมีอยู่จริง ก็อาจจะเป็นไดโปรโตดอนที่ยังหลงเหลือเผ่าพันธุ์มาจนปัจจุบัน ก็เป็นได้.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง วอมแบตและไดโปรโตดอน

วอมแบตและไดโปรโตดอน มี 8 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): การสูญพันธุ์สมัยไพลสโตซีนสัตว์สัตว์มีแกนสันหลังสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมสปีชีส์อันดับสัตว์มีกระเป๋าหน้าท้องเอเอสทีวีผู้จัดการ

การสูญพันธุ์

ียน นกโดโด้ ตัวอย่างของการสูญพันธุ์ยุคใกล้ การสูญพันธุ์ (Extinction) ในทางชีววิทยาและนิเวศวิทยา คือการสิ้นสุดของการดำรงอยู่ของสปีชีส์หรือของสิ่งมีชีวิต ซึ่งทำให้ความหลากหลายทางชีวภาพลดลง โดยทั่วไปแล้ว ถือว่าชั่วขณะของการสูญพันธุ์คือชั่วขณะความตายของสิ่งมีชีวิตตัวสุดท้ายในสปีชีส์นั้น แม้ว่าความสามารถในการผสมพันธุ์และฟื้นตัวอาจจะสูญเสียไปแล้วก่อนหน้านั้นก็ตาม.

การสูญพันธุ์และวอมแบต · การสูญพันธุ์และไดโปรโตดอน · ดูเพิ่มเติม »

สมัยไพลสโตซีน

มัยไพลสโตซีน (Pleistocene เครื่องหมาย PS) เป็นธรณีกาลระหว่าง 2,588,000-11,700 ปีก่อนที่มียุคน้ำแข็งเกิดขึ้นซ้ำ ๆ กัน ชาลส์ ไลเอลล์ บัญญัติคำนี้ขึ้นในปี..

วอมแบตและสมัยไพลสโตซีน · สมัยไพลสโตซีนและไดโปรโตดอน · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

วอมแบตและสัตว์ · สัตว์และไดโปรโตดอน · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

วอมแบตและสัตว์มีแกนสันหลัง · สัตว์มีแกนสันหลังและไดโปรโตดอน · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม

ัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม (Mammalia) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง โดยคำว่า Mammalia มาจากคำว่า Mamma ที่มีความหมายว่า "หน้าอก" เป็นกลุ่มของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ที่มีการวิวัฒนาการและพัฒนาร่างกายที่ดีหลากหลายประการ รวมทั้งมีระบบประสาทที่เจริญก้าวหน้า สามารถดำรงชีวิตได้ในทุกสภาพสิ่งแวดล้อมสัตววิทยา (สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม), บพิธ-นันทพร จารุพันธุ์, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2547, หน้า 411 มีขนาดของร่างกายและรูปพรรณสัณฐานที่แตกต่างกันออกไป รวมถึงการทำงานของระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย ที่มีการปรับเปลี่ยนไปตามลักษณะของสายพันธุ์ มีลักษณะเด่นคือมีต่อมน้ำนมที่มีเฉพาะในเพศเมียเท่านั้น เพื่อผลิตน้ำนมเพื่อใช้เลี้ยงลูกวัยแรกเกิด เป็นสัตว์เลือดอุ่น มีขนเป็นเส้น ๆ (hair) หรือขนอ่อน (fur) ปกคลุมทั่วทั้งร่างกาย เพื่อเป็นการรักษาอุณหภูมิในร่างกาย ยกเว้นสัตว์น้ำที่ไม่มีขน สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ไม่จัดอยู่ในประเภทสัตว์กลุ่มใหญ่ คือมีจำนวนประชากรประมาณ 4,500 ชนิด ซึ่งถือว่าเป็นปริมาณน้อยมากเมื่อเทียบกับนก ที่มีประมาณ 9,200 ชนิด และปลาอีกประมาณ 20,000 ชนิด รวมทั้งแมลงอีกประมาณ 800,000 ชนิด ส่วนใหญ่เป็นสัตว์บก เช่น สุนัข ช้าง ลิง เสือ สิงโต จิงโจ้ เม่น หนู ฯลฯ สำหรับสัตว์น้ำที่จัดเป็นเลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ได้แก่ โลมา วาฬ มานาทีและพะยูน แต่สำหรับสัตว์ปีกประเภทเดียวที่เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมคือค้างคาว ซึ่งกระรอกบินและบ่างนั้น ไม่จัดอยู่ในประเภทของสัตว์ปีก เนื่องจากใช้ปีกในการร่อนไปได้เพียงแค่ระยะหนึ่งเท่านั้น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมส่วนใหญ่ออกลูกเป็นตัว ยกเว้นตุ่นปากเป็ดและอีคิดนาเท่านั้นที่ออกลูกเป็น.

วอมแบตและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม · สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมและไดโปรโตดอน · ดูเพิ่มเติม »

สปีชีส์

ในวิชาชีววิทยา ชนิด หรือทับศัพท์ว่า สปีชีส์ (species, ย่อ: sp., รูปพหูพจน์ย่อ: spp.) เป็นหน่วยการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานและอันดับอนุกรมวิธานหนึ่ง มักนิยามว่า สปีชีส์เป็นกลุ่มอินทรีย์ใหญ่สุดที่สามารถสืบพันธุ์แล้วออกลูกที่สืบพันธุ์ได้ การมีลักษณะปรับตัวเฉพาะบางท้องถิ่นอาจแบ่งสปีชีส์ต่ออีกได้เป็น "ชื่อต่ำกว่าระดับชนิด" (infraspecific taxa) เช่น ชนิดย่อย (ในทางพฤกษศาสตร์ มีใช้คำอื่น เช่น พันธุ์ (variety) พันธุ์ย่อยและแบบ (forma)).

วอมแบตและสปีชีส์ · สปีชีส์และไดโปรโตดอน · ดูเพิ่มเติม »

อันดับสัตว์มีกระเป๋าหน้าท้อง

ัตว์มีกระเป๋าหน้าท้อง หรือ สัตว์มีถุงหน้าท้อง (อันดับ: Marsupialia; Marsupial) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับหนึ่ง ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็นอันดับต่าง ๆ ได้อีกจำนวนหนึ่ง (ดูในตาราง) สัตว์ในอันดับนี้ มีความแตกต่างและหลากหลายในแง่ของรูปร่าง ลักษณะ และขนาดเป็นอย่างมาก แต่มีลักษณะเด่นที่มีความเหมือนกันประการหนึ่ง คือ จะออกลูกเป็นตัว โดยตัวเมียมีถุงหน้าท้อง ตัวอ่อนของสัตว์ในอันดับนี้เจริญเติบโตในมดลูกในช่วงระยะเวลาสั้น มีสะดือและสายรกด้วย แล้วจะคลานย้ายมาอยู่ในถุงหน้าท้องดูดกินนมจากแม่ ก่อนจะเจริญเติบโตในถุงหน้าท้องหรือกระเป๋าหน้าท้องนี้จนโต บางครั้งเมื่อยังโตไม่เต็มที่ จะเข้า-ออกระหว่างข้างออกกับกระเป๋าหน้าท้องเป็นปกติ ซึ่งสัตว์ในอันดับนี้ที่เป็นที่รู้จักดี ได้แก่ จิงโจ้, โคอาลา, โอพอสซัม, ชูการ์ไกลเดอร์, วอมแบต, แทสเมเนียนเดวิล เป็นต้น ซึ่งสัตว์ในอันดับนี้ล้วนแต่จะพบเฉพาะในทวีปออสเตรเลียและบางส่วนของนิวกินี และพบในบางส่วนของทวีปอเมริกา ทั้งอเมริกาเหนือ, อเมริกากลาง และอเมริกาใต้ หลายชนิดก็สูญพันธุ์ไปแล้ว เช่น หมาป่าแทสมาเนีย (Thylacinus cynocephalus) หรือไดโปรโตดอน (Diprotodon spp.) เป็นต้น โดยคำว่า Marsupialia นั้นมาจากภาษาละติน แปลว่า "กระเป๋า หรือ ถุง".

วอมแบตและอันดับสัตว์มีกระเป๋าหน้าท้อง · อันดับสัตว์มีกระเป๋าหน้าท้องและไดโปรโตดอน · ดูเพิ่มเติม »

เอเอสทีวีผู้จัดการ

ผู้จัดการ 360° เป็นหนังสือพิมพ์ธุรกิจรายวันภาษาไทย ในเครือผู้จัดการ วางแผง(วันจันทร์-วันเสาร์)โดยฉบับ(วันเสาร์จะควบวันอาทิตย์) วางจำหน่ายฉบับปฐมฤกษ์ (ในชื่อเอเอสทีวีผู้จัดการ) เมื่อวันศุกร์ที่ 21 พฤศจิกายน..

วอมแบตและเอเอสทีวีผู้จัดการ · เอเอสทีวีผู้จัดการและไดโปรโตดอน · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง วอมแบตและไดโปรโตดอน

วอมแบต มี 19 ความสัมพันธ์ขณะที่ ไดโปรโตดอน มี 28 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 8, ดัชนี Jaccard คือ 17.02% = 8 / (19 + 28)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง วอมแบตและไดโปรโตดอน หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »