โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

วรรณกรรมล้อ

ดัชนี วรรณกรรมล้อ

วรรณกรรมล้อ เป็นชิ้นงานที่สร้างขึ้นเพื่อเลียนแบบ ล้อเลียน หรือออกความเห็นต่อชิ้นงานดั้งเดิม ประเด็น ผู้เขียน รูปแบบ หรือเป้าหมายอื่น ๆ โดยจะเป็นการเลียนแบบเชิงเสียดสีหรือแฝงนัย นักทฤษฎี ลินดา ฮัตเชียน ให้ความหมายว่า "วรรณกรรมล้อ คือการเลียนแบบ แต่ไม่จำเป็นต้องเป็นการล้อเลียนข้อความเสมอไป" นักวิจารณ์อีกท่านหนึ่ง ไซมอน เด็นทิธ นิยามวรรณกรรมล้อว่า "การประกอบกิจใจ ๆ เชิงวัฒนธรรมที่เลียนแบบ พาดพิงอีกผลงานหรือการประกอบกิจหนึ่งอย่างมีศิลปะ" วรรณกรรมล้อพบได้ในศิลปะหรือวัฒนธรรม รวมถึง วรรณกรรม ดนตรี (แม้ว่าก่อนหน้านี้ "วรรณกรรมล้อ" ในดนตรีจะมีความหมายแตกต่างออกไป) แอนิเมชัน วิดีโอเกม และภาพยนตร์ นักเขียนและนักวิจารณ์ จอห์น โกรส สังเกตในหนังสือ Oxford Book of Parodies ของเขาว่าวรรณกรรมล้อดูจะเฟื่องฟูในดินแดนระหว่าง แพสติช ("ผลงานอีกแบบของศิลปิน โดยไม่มีเนื้อหาเสียดสี") และ เบอร์เลสก์ (ซึ่งหลอกเกี่ยวกับชิ้นงานวรรณกรรมชั้นสูงและดัดแปลงให้ดูต่ำลง) ขณะเดียวกับ หนังสือ Encyclopédie ของเดอนี ดีเดอโร แยกความแตกต่างระหว่างวรรณกรรมล้อกับเบอร์เลสก์ว่า "วรรณกรรมล้อที่ดีคือการขบขันที่ทำให้บุคคลที่มีสติปัญญาเฉลียวฉลาดและไร้มลทินรู้สึกสนุกสนานได้ ส่วนเบอร์เลสก์เป็นการเล่นตลกร้ายที่ทำให้คนรู้สึกพอใจเท่านั้น" จากประวัติศาสตร์ เมื่อสูตรสำเร็จเริ่มน่าเบื่อ อย่างเช่นในกรณีละครประโลมโลกเกี่ยวกับศีลธรรมในยุค 1910 ยังคงเป็นได้แค่วรรณกรรมล้อ ดังที่เรื่องสั้นของบัสเตอร์ คีตันเคยล้อเลียนไว้Balducci, Anthony (2011) The Funny Parts: A History of Film Comedy Routines and Gags.

9 ความสัมพันธ์: บัสเตอร์ คีตันการเสียดสีภาพยนตร์วรรณกรรมวิดีโอเกมสารานุกรม หรือพจนานุกรมอันเป็นระบบว่าด้วยวิทยาศาสตร์ ศิลปกรรม และหัตถกรรมดนตรีแอนิเมชันเดอนี ดีเดอโร

บัสเตอร์ คีตัน

ซฟ แฟรงก์ "บัสเตอร์" คีตัน ที่ 6 (Joseph Frank "Buster" Keaton VI) (4 ตุลาคม ค.ศ. 1895 - 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1966) เป็นนักแสดงตลกชาวอเมริกันและผู้สร้างภาพยนตร์ เป็นที่รู้จักในภาพยนตร์เงียบ กับเอกลักษณ์ตลกท่าทาง โดยมีฉายาว่า "ตลกหน้าตายผู้ยิ่งใหญ่" คีตันยังติดอันดับ 7 ของผู้กำกับยอดเยี่ยมที่สุดตลอดกาลของนิตยสาร เอนเตอร์เทนเมนต์วีกลี ในปี 1999 สถาบันภาพยนตร์อเมริกัน จัดอันดับให้คีตันอยู่อันดับ 21 ในหัวข้อนักแสดงชายที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล และในปี 2002 จากแบบสำรวจของนิตยสารไซต์แอนด์ซาวด์ จัดอันดับภาพยนตร์ของคีตันเรื่อง The General ว่าเป็นภาพยนตร์ที่ดีที่สุดตลอดกาลที่อันดับ 15.

ใหม่!!: วรรณกรรมล้อและบัสเตอร์ คีตัน · ดูเพิ่มเติม »

การเสียดสี

"Le satire e l'epistole di Q. Orazio Flacco", พิมพ์ใน 1814. การเสียดสี เป็นงานวรรณกรรมรูปแบบหนึ่ง มีจุดมุ่งหมายเพื่อวิจารณ์ถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ส่วนใหญ่มักไปในแนวขบขัน นอกจากนี้ แนวการเสียดสียังพบได้ในภาพกราฟิกต่างๆ และศิลปะการแสดงต่างๆ หมวดหมู่:วรรณกรรม หมวดหมู่:ประเภทวรรณกรรม หมวดหมู่:วาทศาสตร์ หมวดหมู่:ประเภทของสื่อ หมวดหมู่:มนุษยศาสตร์ หมวดหมู่:ประเภทของภาพยนตร์.

ใหม่!!: วรรณกรรมล้อและการเสียดสี · ดูเพิ่มเติม »

ภาพยนตร์

กล้องถ่ายภาพเคลื่อนไหวของฟ็อกซ์ในยุคแรก ๆ ภาพยนตร์ หรือ หนัง คือ กระบวนการบันทึกภาพด้วยฟิล์ม แล้วนำออกฉายให้เห็นภาพเคลื่อนไหว ภาพที่ปรากฏบนฟิล์มภาพยนตร์หลังจากผ่านกระบวนการถ่ายทำแล้วเป็นเพียงภาพนิ่งจำนวนมาก ที่มีอิริยาบถหรือแสดงอาการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงไปทีละน้อยต่อเนื่องกันเป็นช่วงๆ ตามเรื่องราวที่ได้รับการถ่ายทำและตัดต่อมา ซึ่งอาจเป็นเรื่องราวหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง หรือเป็นการแสดงให้เหมือนจริง หรืออาจเป็นการแสดงและสร้างภาพจากจินตนาการของผู้สร้างก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นชนิดฟิล์มเนกาทีฟ (negative) หรือฟิล์มโพซิทีฟ (positive) ซึ่งได้ถูกถ่าย อัด หรือกระทำด้วยวิธีใด ๆ ให้ปรากฏรูปหรือเสียงหรือทั้งรูปและเสียง เป็นเรื่องหรือเหตุการณ์ หรือข้อความอันจักถ่ายทอดรูปหรือเสียง หรือทั้งรูปและเสียงได้ด้วยเครื่องฉายภาพยนตร์หรือเครื่องอย่างอื่นทำนองเดียวกัน และหมายความตลอดถึงฟิล์มซึ่งได้ถูกถ่าย อัด หรือทำด้วยวิธีใด ๆ ให้ปรากฏสี เพื่ออัดลงในฟิลม์ชนิดดังกล่าว เป็นสาขาที่สร้างสรรค์ผลงานทางศิลปะในรูปของภาพเคลื่อนไหว และเป็นส่วนหนึ่งของอุตสาหกรรมบันเทิง.

ใหม่!!: วรรณกรรมล้อและภาพยนตร์ · ดูเพิ่มเติม »

วรรณกรรม

วรรณกรรมนี้แบ่งออกเป็น 2 ประเภท.

ใหม่!!: วรรณกรรมล้อและวรรณกรรม · ดูเพิ่มเติม »

วิดีโอเกม

กม ''ป็อง'' ถือได้ว่าเป็นวิดีโอเกมส์ชนิดแรกที่เกิดขึ้น เกม ''Space Invaders'' เป็นอีกหนึ่งเกมดังในยุคกำลังพัฒนาของวิดีโอเกม เกม ''Pac-Man'' เป็นเกมที่โด่งดังที่สุดในขณะวิดีโอเกมกำลังพัฒนา วิดีโอเกม (Video game) คือ เครื่องเกมอิเล็กทรอนิกส์ที่มนุษย์ใช้ส่วนต่อประสานกับผู้ใช้ (user interface) ส่งผลการกระทำ (input) กลับเข้าไปยังหน่วยประมวลผลกลาง (Central Processor Unit) ในตัวเครื่อง ให้คิดคำนวณแล้วแสดงผลโต้ตอบกลับมาด้วย แสง-เสียง-การสั่น-หรือภาพบนจอภาพ วิดีโอ คำว่า วิดีโอ ในวิดีโอเกม แต่เดิมหมายถึงอุปกรณ์แสดงภาพแบบแรสเตอร์ แต่ปัจจุบันสามารถใช้เรียกอุปกรณ์แสดงภาพใด ๆ ก็ได้ที่สร้างภาพสองมิติหรือสามมิติขึ้นมา ตัวอย่างเช่นคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล และเครื่องเล่นวิดีโอเกม อุปกรณ์เหล่านี้เป็นไปได้ตั้งแต่เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ ไปจนถึงอุปกรณ์มือถือขนาดเล็ก วิดีโอเกมแบบเฉพาะอย่างเช่น เกมตู้ เคยมีแพร่หลายในอดีต แต่ปัจจุบันค่อย ๆ มีใช้น้อยลง วิดีโอเกมได้พัฒนาไปจนกลายเป็นอุตสาหกรรมและงานศิลปะ อุปกรณ์นำข้อมูลเข้าเป็นที่ใช้กันในการบังคับวิดีโอเกมเรียกว่า อุปกรณ์ควบคุมเกม (game controller) และแตกต่างกันไปในเครื่องเล่นแบบต่าง ๆ ตัวอย่างเช่น อุปกรณ์ควบคุมอาจประกอบด้วยเพียงแค่ปุ่มกดและก้านควบคุม (joystick) หรืออาจมีปุ่มกดถึงสิบปุ่ม และอาจจะมีมากกว่าหนึ่งก้านควบคุมก็ได้ เกมคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลยุคแรกจำเป็นต้องใช้คีย์บอร์ดในการเล่นเกม หรือต้องการให้ผู้ใช้ซื้อก้านควบคุมที่มีปุ่มกดอย่างน้อยหนึ่งปุ่มด้วย เกมคอมพิวเตอร์สมัยใหม่จำนวนมากให้ผู้เล่นหรือต้องการให้ผู้เล่นใช้คีย์บอร์ดควบคู่ไปกับเมาส์ อุปกรณ์ควบคุมเกมที่พบได้บ่อยกันคือ เกมแพด เมาส์ คีย์บอร์ด และก้านควบคุม ในหลายปีที่ผ่านมานี้ มีวิธีการนำข้อมูลเข้าเพิ่มเติมเช่น การให้ผู้เล่นสังเกตการณ์ในเครื่องเล่นที่ใช้กล้อง และระบบจอสัมผัสบนโทรศัพท์มือถือ วิดีโอเกมโดยทั่วไปใช้วิธีการเพิ่มเติมมากมายเพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์และสารสนเทศให้กับผู้เล่น เสียงออดิโอในวิดีเกมนั้นเกือบจะเป็นสากล คือใช้อุปกรณ์ผลิตเสียง อย่างเช่น ลำโพง และหูฟัง ผลป้อนกลับอาจมาจากอุปกรณ์ต่อพ่วงสัมผัส (haptic peripheral) เช่นระบบการสั่น หรือผลป้อนกลับโดยใช้กำลัง (force feedback) บางครั้งการสั่นใช้กระตุ้นผลป้อนกลับแบบใช้กำลัง ผู้เล่นบางส่วนเชื่อว่าวิดีโอเกมสามารถพัฒนาทักษะทางจิตใจได้.

ใหม่!!: วรรณกรรมล้อและวิดีโอเกม · ดูเพิ่มเติม »

สารานุกรม หรือพจนานุกรมอันเป็นระบบว่าด้วยวิทยาศาสตร์ ศิลปกรรม และหัตถกรรม

รานุกรม หรือพจนานุกรมอันเป็นระบบว่าด้วยวิทยาศาสตร์ ศิลปกรรม และหัตถกรรม (Encyclopédie, ou dictionnaire raisonné des sciences, des arts et des métiers; Encyclopedia, or Systematic Dictionary, on Sciences, Arts and Crafts) หรือมักเรียกโดยย่อว่า "สารานุกรมฯ" (Encyclopédie; "อองซีโกฺลเปดี") เป็นชื่อของสารานุกรมสามัญ ซึ่งเผยแพร่ในประเทศฝรั่งเศส ระหว่าง..

ใหม่!!: วรรณกรรมล้อและสารานุกรม หรือพจนานุกรมอันเป็นระบบว่าด้วยวิทยาศาสตร์ ศิลปกรรม และหัตถกรรม · ดูเพิ่มเติม »

ดนตรี

น้ตเพลง ดนตรี (music) คือ เสียงและโครงสร้างที่จัดเรียงอย่างเป็นระเบียบแบบแผน ซึ่งมนุษย์ใช้ประกอบกิจกรรมศิลปะที่เกี่ยวข้องกับเสียง โดยดนตรีนั้นแสดงออกมาในด้านระดับเสียง (ซึ่งรวมถึงท่วงทำนองและเสียงประสาน) จังหวะ และคุณภาพเสียง (ความต่อเนื่องของเสียง พื้นผิวของเสียง ความดังค่อย) นอกจากดนตรีจะใช้ในด้านศิลปะได้แล้ว ยังสามารถใช้ในด้านสุนทรียศาสตร์ การสื่อสาร ความบันเทิง รวมถึงใช้ในงานพิธีการต่าง ๆ ได้.

ใหม่!!: วรรณกรรมล้อและดนตรี · ดูเพิ่มเติม »

แอนิเมชัน

ตัวอย่างแอนิเมชันของเครื่องจักรรูปทรงวงกลม แอนิเมชัน (animation) หมายถึง การสร้างภาพเคลื่อนไหวโดยการฉายภาพนิ่งหลาย ๆ ภาพต่อเนื่องกันด้วยความเร็วสูงโดยการนำภาพนิ่งมาเรียงต่อกัน การใช้คอมพิวเตอร์กราฟิกส์ในการคำนวณสร้างภาพจะเรียกการสร้างภาพเคลื่อนไหวด้วยคอมพิวเตอร์หรือคอมพิวเตอร์แอนิเมชัน หากใช้เทคนิคการถ่ายภาพหรือวาดรูป หรือหรือรูปถ่ายแต่ละขณะของหุ่นจำลองที่ค่อย ๆ ขยับ จะเรียกว่า ภาพเคลื่อนไหวแบบการเคลื่อนที่หยุดหรือสตอปโมชัน (stop motion) โดยหลักการแล้ว ไม่ว่าจะสร้างภาพ หรือเฟรมด้วยวิธีใดก็ตาม เมื่อนำภาพดังกล่าวมาฉายต่อกันด้วยความเร็ว ตั้งแต่ 16 เฟรมต่อวินาทีขึ้นไป เราจะเห็นเหมือนว่า ภาพดังกล่าวเคลื่อนไหวได้ต่อเนื่องกัน ทั้งนี้เนื่องจากการเห็นภาพติดตา ในทางคอมพิวเตอร์ การจัดเก็บภาพแบบแอนิเมชันที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในอินเทอร์เน็ต มีหลายรูปแบบไฟล์เช่น GIF APNG MNG SVG แฟลช และไฟล์สำหรับเก็บวีดิทัศน์ประเภทอื่น.

ใหม่!!: วรรณกรรมล้อและแอนิเมชัน · ดูเพิ่มเติม »

เดอนี ดีเดอโร

อนี ดีเดอโร (Denis Diderot; 5 ตุลาคม ค.ศ. 1713 - 31 กรกฎาคม ค.ศ. 1784) นักปรัชญาและนักวิจารณ์ศิลปะชาวฝรั่งเศส ประมาณกลางศตวรรษที่ 18 ได้มีการจัดงานแสดงนิทรรศการด้านจิตรกรรม ประติมากรรม การวาดภาพ และการแกะสลักที่ Salon Carré, Louvre โดยสมาชิกของ l’Académie royale de peinture ในกรุงปารีส ซึ่งงานแสดงผลงานเหล่านี้จัดขึ้นทุก 2 ปี ดีเดอโรซึ่งเป็นผู้ที่ให้ความสนใจต่อจิตรกรรมเป็นอย่างมากของยุคแห่งความรู้แจ้ง เขาจึงติดตามชมภาพเขียนต่าง ๆ ที่จิตรกรนำมาแสดงในงานแล้วเขียนเป็นบทวิจารณ์ลงในวารสาร La Correspondance littéraire ตามคำขอของเพื่อนสนิทของเขา Grimm ซึ่งบทวิจารณ์เหล่านั้นเรียกรวม ๆ ว่า “บทวิจารณ์ภาพเขียน” (Les Salons) ดีเดอโรเริ่มช่วยเขียนบทวิจารณ์ศิลปะตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: วรรณกรรมล้อและเดอนี ดีเดอโร · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »