โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

วงศ์เหยี่ยวและอินทรี

ดัชนี วงศ์เหยี่ยวและอินทรี

วงศ์เหยี่ยวและอินทรี (วงศ์: Accipitridae) เป็นหนึ่งในสองวงศ์หลักของอันดับ Accipitriformes (นกล่าเหยื่อในเวลากลางวัน) นกในวงศ์มีขนาดเล็กถึงใหญ่ มีปากเป็นตะขอแข็งแรง มีสัณฐานต่างกันไปตามอาหารการกิน เหยื่อเป็นตั้งแต่แมลงถึงสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดกลาง บางชนิดกินซากสัตว์ และสองสามชนิดกินผลไม้เป็นอาหาร วงศ์เหยี่ยวและอินทรีสามารถพบได้ทั่วโลก ยกเว้นทวีปแอนตาร์กติกา บางชนิดพบได้บนหมู่เกาะ และบางชนิดเป็นนกอพยพ นกในวงศ์นี้ ประกอบไปด้วย เหยี่ยวนกเขา, อินทรี, เหยี่ยวรุ้ง, เหยี่ยวไคต์ และ แร้งโลกเก่า, เหยี่ยวออสเปรนั้นโดยปกติแล้วจะถูกวางไว้ในอีกวงศ์ (Pandionidae) รวมถึง นกเลขานุการ (Sagittariidae), และ แร้งโลกใหม่ที่ปัจจุบันได้รับการพิจารณาเป็นวงศ์และอันดับที่แยกออกไป ข้อมูลแคริโอไทป์แสดงว่า การวิเคราะห์เหยี่ยวและนกอินทรีจนบัดนี้เป็นกลุ่มจากชาติพันธุ์เดียวที่แยกกันอย่างเด่นชัด แต่ถึงกระนั้นกลุ่มนี้ควรพิจารณาวงศ์ของอันดับเหยี่ยวปีกแหลมหรือหลายอันดับแยกออกมาเป็นของตัวเอง.

24 ความสัมพันธ์: พญาแร้งการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์วงศ์ย่อยเหยี่ยวสกุลแร้งสมัยอีโอซีนสัตว์สัตว์มีแกนสันหลังสัตว์ปีกอันดับเหยี่ยวอินทรีอินทรีกินงูอินทรีทะเลอินทรีดำทวีปแอนตาร์กติกานกเลขานุการแร้งดำหิมาลัยแร้งโลกใหม่แร้งโลกเก่าแร้งเคราแคริโอไทป์เหยี่ยวรุ้งเหยี่ยวออสเปรเหยี่ยวปลาเหยี่ยวนกเขา

พญาแร้ง

ญาแร้ง (อังกฤษ: Red-headed vulture, Asian king vulture, Indian black vulture, Pondicherry vulture; ชื่อวิทยาศาสตร์: Sarcogyps calvus) นกจำพวกอีแร้งชนิดหนึ่ง จัดเป็นอีแร้งขนาดใหญ่ และเป็นนกเพียงชนิดเดียวที่อยู่ในสกุล Sarcogyps.

ใหม่!!: วงศ์เหยี่ยวและอินทรีและพญาแร้ง · ดูเพิ่มเติม »

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ หรือ การจำแนกชั้นทางชีววิทยา (Systematics) หมายถึงการจัดกลุ่มและหมวดหมู่สปีชีส์ของสิ่งมีชีวิต ทั้งที่มีอยู่ในปัจจุบันและที่สูญพันธุ์ไปแล้ว การจำแนกในยุคปัจจุบันอาศัยรากฐานจากระบบการจำแนกของ คาโรลัส ลินเนียส นักพฤกษศาสตร์ผู้จัดกลุ่มสปีชีส์ต่าง ๆ โดยดูจากลักษณะเฉพาะทางกายภาพ การจัดกลุ่มแบบนี้ได้มีการปรับปรุงอยู่เสมอเพื่อให้สอดคล้องกับหลักดาร์วิน ส่วนมากเป็นผลมาจากการศึกษาอนุกรมวิธานระดับโมเลกุลด้วยการวิเคราะห์จีโนม ในการแบ่งอย่างกว้างๆจะแบ่งได้ 2 ระดับ คือ ลำดับขั้นสูง และ ลำดับขั้นต่ำ.

ใหม่!!: วงศ์เหยี่ยวและอินทรีและการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ย่อยเหยี่ยว

วงศ์ย่อยเหยี่ยว เป็นวงศ์ย่อยของนกล่าเหยื่อประเภทเหยี่ยว และอินทรี ใช้ชื่อวงศ์ว่า Accipitrinae อยู่ในวงศ์เหยี่ยวและอินทรี (Accipitridae) มีลักษณะทั่วไปไม่ต่างกับนกที่อยู่ที่วงศ์ใหญ่ ทั่วโลกพบทั้งสิ้น 4 สกุล 55 ชนิด (ในข้อมูลเก่าจำแนกออกเป็น 64 สกุล ในประเทศไทยพบ 21 สกุล).

ใหม่!!: วงศ์เหยี่ยวและอินทรีและวงศ์ย่อยเหยี่ยว · ดูเพิ่มเติม »

สกุลแร้ง

กุลแร้ง (Gyps) เป็นนกล่าเหยื่อในวงศ์ Accipitridae จัดเป็นแร้งโลกเก่าสกุลหนึ่ง เป็นแร้งที่พบได้ทั่วไป มีส่วนหัวโล้นเลี่ยน มีช่วงปีกกว้างและมีขนสีเข้มส่วนใหญ่ เมื่อเวลาจะกินอาหารซึ่งได้แก่ ซากศพต่าง ๆ จะไล่นกชนิดอื่น หรือสัตว์อื่นให้พ้นไปจากอาหาร โดยใช้วิธีหาอหาารจากสายตาเมื่อยามบินวนบนท้องฟ้า พบกระจายพันธุ์ในเขตร้อนหรือเขตอบอุ่นของซีกโลกเก่า เมื่อเทียบกับแร้งสกุลอื่น แร้งในสกุลนี้มีขนรอบลำคอค่อนข้างมีลักษณะนุ่มครอบคลุม เชื่อว่ามีเพื่อควบคุมอุณหภูม.

ใหม่!!: วงศ์เหยี่ยวและอินทรีและสกุลแร้ง · ดูเพิ่มเติม »

สมัยอีโอซีน

''Basilosaurus'' ''Prorastomus'', an early sirenian สมัยอีโอซีน (Eocene) เป็นสมัยหนึ่งของยุคพาลีโอจีนในธรณีกาลระหว่าง 56 ถึง 33.9 ล้านปีก่อนถึงปัจจุบัน สมัยอีโอซีนเป็นสมัยที่สองของยุคพาลีโอจีน ซึ่งเป็นยุคแรกของมหายุคซีโนโซอิก สมัยอีโอซีนต่อมาจากสมัยพาลีโอซีนและตามด้วยสมัยโอลิโกซีน ชื่อ Eocene มาจากกรีกโบราณἠώς (ēṓs, "รุ่งอรุณ") และκαινός (kainós, "ใหม่") และหมายถึง "รุ่งอรุณ" ของสัตว์สมัยใหม่ที่ปรากฏในช่วงยุคนี้.

ใหม่!!: วงศ์เหยี่ยวและอินทรีและสมัยอีโอซีน · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: วงศ์เหยี่ยวและอินทรีและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ใหม่!!: วงศ์เหยี่ยวและอินทรีและสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์ปีก

ัตว์ปีก หรือ นก (รวมถึง ไก่, เป็ด, ห่าน, ไก่ฟ้า) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้น Aves (คำว่า Aves เป็นภาษาละติน หมายถึง นก) โดยมีลักษณะทั่วไปคือ เป็นสัตว์ทวิบาท เลือดอุ่น ออกลูกเป็นไข่ รยางค์คู่หน้าเปลี่ยนแปลงไปเป็นปีก มีขนนก และมีกระดูกที่กลวงเบา ในปัจจุบันทั่วโลกมีนกอยู่ประมาณ 8,800 ถึง 9,800 ชนิด (ตามการจัดอนุกรมวิธานที่ต่างกัน) ซึ่งนับว่านกเป็นชั้นของสัตว์มีกระดูกสันหลังที่มีความหลากหลายมากที่สุด ในบรรดาชั้นของสัตว์มีกระดูกสันหลังทั้งหลายที่อาศัยอยู่บนพื้นดิน ความหลากหลายของนกนับเนื่องไปตั้งแต่ในเรื่องของขนาดตัว สีสัน เสียงร้อง อาหารการกิน และถิ่นที่อยู่อาศัย นกเป็นสัตว์ที่มีความสำคัญเป็นอันมากทั้งต่อระบบนิเวศและต่อชีวิตมนุษย์ ความสัมพันธ์ระหว่างคนกับนกเป็นไปอย่างแน่นแฟ้น และการเกื้อกูลกันระหว่างนกกับสรรพสิ่งต่างๆ ตามธรรมชาติก็เป็นไปอย่างแนบแน่น ถ้าหากปราศจากนก คงเป็นเรื่องยากที่จะจินตนาการถึงการดำรงอยู่ต่อไปของชีวภาคใบนี้.

ใหม่!!: วงศ์เหยี่ยวและอินทรีและสัตว์ปีก · ดูเพิ่มเติม »

อันดับเหยี่ยว

อันดับเหยี่ยว (Accipitriformes) เป็นอันดับที่ประกอบด้วยนกล่าเหยื่อเวลากลางวันส่วนมาก เช่น เหยี่ยวนกเขา, อินทรี และ แร้ง มีประมาณ 225 ชนิด ในอดีตจะรวมเหยี่ยวในอันดับ Falconiformes แต่ผู้แต่งบางคนแยกมาไว้ในอันดับ Accipitriformes การศึกษา DNA ในปัจจุบันแสดงว่า เหยี่ยวปีกแหลมไม่ได้เป็นญาติใกล้ชิดกับนกในอันดับ Accipitriformes แต่ใกล้ชิดกับนกแก้วและนกเกาะคอน ตั้งแต่การแบ่งแยก (แต่ก็ไม่ได้วางเหยี่ยวถัดจากนกแก้วหรือนกเกาะคอน) ได้รับการยอมรับโดยคณะกรรมการการการจัดแบ่งประเภทอเมริกาใต้แห่งสมาคมนักปักษีวิทยาแห่งอเมริกา (American Ornithologists' Union) (SACC), คณะกรรมการการจัดแบ่งประเภทอเมริกาเหนือ (NACC), และ การประชุมปักษีนานาชาติ (IOC) บนพื้นฐานของ DNA และการจัดประเภทของ NACC และ IOC ได้จัดแร้งโลกใหม่ใน Accipitriformes, ขณะที่ SACC ได้จัดแร้งโลกใหม่อยู่ในอันดับอื่น การจัดวางแร้งโลกใหม่นั้นยังคงเป็นปัญหามาตั้งแต่ก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 1990.

ใหม่!!: วงศ์เหยี่ยวและอินทรีและอันดับเหยี่ยว · ดูเพิ่มเติม »

อินทรี

อินทรี เป็นนกจำพวกนกล่าเหยื่อขนาดใหญ่ ในวงศ์ Accipitridae อันดับ Accipitriformes (วงศ์และอันดับเดียวกับ เหยี่ยว) มีโครงสร้างทางกายภาพที่แข็งแรง ประกอบด้วยโครงกระดูก กล้ามเนื้อ ส่วนต่าง ๆ ขน และกรงเล็บเป็นหลัก จัดอยู่ในประเภทนกที่ล่าเหยื่อเป็นอาหาร มีขนาด ปีก และ หาง ที่กว้าง ลักษณะปลายปีกแหลมหรือปีกแตก จะงอยปากงองุ้มเป็นตะขอ อินทรีเป็นนกที่มีลักษณะสวยงาม แข็งแรง สายตาคม บินเร็ว โจมตีแม่นยำ มองเห็นเป้าหมายได้จากระยะไกล มีเพดานบินตั้งแต่พื้นราบจนถึงความสูง 2,100 เมตร และจัดได้ว่าเป็นสัตว์ที่มีสายตาดีที่สุดในโลก อีกทั้งยังถือเป็นนกหรือสัตว์ปีกที่มีอายุยืนยาวที่สุดในโลกอีกด้วย โดยมีอายุได้มากถึง 70 ปี ส่วนใหญ่จะมีสีเข้มและสร้างรังบนหน้าผาที่สูงชัน อินทรีเป็นนกที่มีขนาดใหญ่และแข็งแรง เป็นนกที่กินเนื้อเป็นอาหาร ซึ่งได้แก่ ปลา, งู, สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ขนาดเล็กเช่น หนู และเป็นนกนักล่าซึ่งล่านกด้วยกัน และไข่นกที่มีขนาดเล็กกว่าเป็นอาหาร อินทรีพบอาศัยกระจัดกระจายอยู่ตามพื้นที่เขตต่าง ๆ ทั่วทุกแห่งในโลก ยกเว้นพื้นที่ในทวีปแอนตาร์กติก ที่มีอากาศหนาวเย็น ในประเทศไทย มีอินทรีอยู่ด้วยกันจำนวนหนึ่ง อาทิ นกออก (Haliaeetus leucogaster), อินทรีหัวนวล (H. leucoryphus), อินทรีดำ (Ictinaetus malaiensis), อินทรีปีกลาย (Clanga clanga) เป็นต้น เนื่องจากเป็นนกขนาดใหญ่ น่าเกรงขาม และบินได้สูงและกว้างไกล ทำให้มีความสง่างาม ในเชิงของการเป็นสัญลักษณ์แล้ว อินทรีถูกมนุษย์ใช้ในเชิงสัญลักษณ์เป็นระยะเวลายาวนาน ในหลายวัฒนธรรมของทุกมุมโลก เช่น เป็นสัตว์ในป่าหิมพานต์ชนิดหนึ่งของไทย หรือ สหรัฐอเมริกาได้ใช้อินทรีหัวขาว (Haliaeetus leucocephalus) เป็นสัญลักษณ์ของประเทศ เป็นต้น.

ใหม่!!: วงศ์เหยี่ยวและอินทรีและอินทรี · ดูเพิ่มเติม »

อินทรีกินงู

อินทรีกินงู หรือ เหยี่ยวรุ้ง (Serpent eagle) เป็นสกุลของนกล่าเหยื่อจำพวกเหยี่ยวหรืออินทรีสกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Spilornis ในวงศ์เหยี่ยวและอินทรี (Accipitridae) นกที่โตเต็มที่จะมีกระหม่อมสีคล้ำ มีดวงตาสดใสสีเหลือง เป็นนกล่าเหยื่อขนาดกลางพบกระจายพันธุ์ได้ในป่าของทวีปเอเชียตอนใต้และเอเชียอาคเนย์ เป็นนกที่ล่างูเป็นอาหารหลัก แม้กระทั่งงูพิษ จึงเป็นที่มาของชื่อในภาษาอังกฤษที่ว่า "Serpent eagle".

ใหม่!!: วงศ์เหยี่ยวและอินทรีและอินทรีกินงู · ดูเพิ่มเติม »

อินทรีทะเล

ระวังสับสนกับ: เหยี่ยวปลา อินทรีทะเล (Sea eagle, Fish eagle บางครั้งเรียก Erne หรือ Ern ซึ่งมาจากอินทรีหางขาว) เป็นนกล่าเหยื่อในสกุล Haliaeetus ในวงศ์ Accipitridae อินทรีทะเลมีหลายขนาด ตั้งแต่อินทรีทะเลแซนฟอร์ดซึ่งมีน้ำหนักประมาณ 2–2.7 กิโลกรัม ถึงอินทรีทะเลสเตลเลอร์ซึ่งหนักถึง 9 กิโลกรัมdel Hoyo, J., Elliott, A., & Sargatal, J., eds.

ใหม่!!: วงศ์เหยี่ยวและอินทรีและอินทรีทะเล · ดูเพิ่มเติม »

อินทรีดำ

อินทรีดำ (Black eagle, Indian black eagle) เป็นนกล่าเหยื่อขนาดใหญ่จำพวกอินทรี และจัดเป็นนกเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Ictinaetus (แบ่งออกได้เป็น 2 ชนิดย่อย-ดูในตาราง) มีขนปกคลุมลำตัวสีดำสนิท ขนคลุมทั้งจมูก และตีนมีสีเหลือง หางมีลายแถบสีอ่อนคาด ขณะบินปีกกว้าง ปลายปกแตกเป็นรูปนิ้วมือชัดเจน หางยาวมาก ขณะที่ยังเป็นนกที่โตไม่เต็มวัยจะมีสีน้ำตาลหม่น ปากสั้นปลายแหลม มีเล็บนิ้วเท้าแหลมคมและแข็งแรงมาก ขนาดเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 69-81 เซนติเมตร ตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะเหมือนกัน พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่อนุทวีปอินเดียและภูมิภาคอินโดจีน ในประเทศไทยจะพบได้ตามป่าในแนวเขาตั้งแต่เหนือจรดใต้ได้ไม่ยากนัก โดยเฉพาะทางป่าตะวันตก แต่ปัจจุบันก็มีจำนวนลดน้อยลงจากเดิมเนื่องจากถิ่นที่อยู่ถูกทำลาย อินทรีดำ มีพฤติกรรมล่าเหยื่อที่แตกต่างไปจากอินทรีหรือเหยี่ยวชนิดอื่น คือ การบินมาเกาะใกล้รังนกเล็กหรือกระรอก แล้วไต่กิ่งไปล่าเหยื่อในรัง รวมทั้งไข่นก นอกเหนือจากจากโฉบเหยื่อที่เป็นพฤติกรรมโดยปกติ จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535.

ใหม่!!: วงศ์เหยี่ยวและอินทรีและอินทรีดำ · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปแอนตาร์กติกา

วเทียมของทวีปแอนตาร์กติกา แอนตาร์กติกา (Antarctica) เป็นทวีปที่อยู่ใต้สุดของโลกตั้งอยู่ในภูมิภาคแอนตาร์กติกในซีกโลกใต้และเป็นที่ตั้งขั้วโลกใต้ทางภูมิศาสตร์ เกือบทั้งหมดอยู่ในวงกลมแอนตาร์กติกและล้อมลอบด้วยมหาสมุทรใต้ มีพื้นที่ประมาณ 14,000,000 ตารางกิโลเมตร เป็นทวีปที่ใหญ่เป็นอันดับ 5 ของโลกใหญ่กว่าทวีปออสเตรเลียถึง 2 เท่า พื้นที่ 98% ของทวีปปกคลุมด้วยน้ำแข็งหนาเฉลี่ย 1.9 กิโลเมตร ซึ่งครอบคลุมพื้นที่เกือบจะถึงเหนือสุดของคาบสมุทรแอนตาร์กติก โดยค่าเฉลี่ยแล้วแอนตาร์กติกาเป็นทวีปที่หนาวที่สุด แห้งแล้งที่สุด ลมแรงที่สุดและมีความสูงโดยเฉลี่ยมากที่สุด แอนตาร์กติกาเป็นทะเลทรายที่มีหยาดน้ำฟ้าเฉลี่ย 200 มิลลิเมตรต่อปีตามแนวชายฝั่งและพื้นที่ภายใน แม้ว่าช่วงที่หนาวสุดของปีจะมีอุณหภูมิเฉลี่ย −63 °C แต่อุณหภูมิอาจต่ำถึง −89.2 °C (และอาจถึง -94.7 ° C หากวัดจากอากาศ) บางสถานที่มีคนราว 1,000 ถึง 5,000 คนอาศัยในสถานีวิจัยที่กระจายอยู่ทั่วที้งทวีปตลอดทั้งปี สิ่งมีชีวิตในแอนตาร์กติกาจะเป็นพวกสาหร่าย แบคทีเรีย เห็ดรา พืช โพรทิสต์และสัตว์บางชนิดเช่นตัวเห็บ ตัวไร นีมาโทดา เพนกวิน สัตว์ตีนครีบและหมีน้ำส่วนพืชก็จะเป็นพวกทันดรา แม้ว่ามีตำนานเล่าขานเกี่ยวกับการมีอยู่ของดินแดนใต้ตั้งแต่ยุคโบราณ แอนตาร์กติกาถูกระบุว่าเป็นดินแดนสุดท้ายบนโลกในประวัติศาสตร์ที่ถูกค้นพบเพราะไม่มีใครเคยพบเลยจนกระทั่ง..

ใหม่!!: วงศ์เหยี่ยวและอินทรีและทวีปแอนตาร์กติกา · ดูเพิ่มเติม »

นกเลขานุการ

ำหรับ Sagittarius ความหมายอื่น ดูที่: ราศีธนู และกลุ่มดาวคนยิงธนู นกเลขานุการ หรือ นกเลขานุการินี (Secretarybird, Secretary bird) นกล่าเหยื่อชนิดหนึ่ง มีถิ่นกำเนิดและแพร่กระจายพันธุ์ในทวีปแอฟริกา จัดอยู่ในอันดับ Accipitriformes อันเป็นอันดับเดียวกับอินทรี, เหยี่ยว และแร้ง และจัดเป็นเพียงชนิดเดียวและสกุลเดียว ในวงศ์ Sagittariidae เท่านั้น นกเลขานุการเป็นนกขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง มีน้ำหนักประมาณ 4 กิโลกรัม และมีความสูงกว่า 1 เมตร (ประมาณ 1.2-1.3 เมตร) เมื่อสยายปีกกว้างได้ถึง 2 เมตร ซึ่งชื่อ "นกเลขานุการ" แปลตรงตัวมาจากภาษาอังกฤษ คือ "Secretary bird" ซึ่งชื่อนี้ได้ดัดแปลงมาจากภาษาอาหรับคำว่า "saqr-et-tair" ซึ่งมีความหมายว่า "นกนักล่า" และต่อมาได้เพี้ยนจนกลายเป็น "Secretary" อย่างในปัจจุบัน แต่บางข้อมูลก็ระบุว่ามาจากขนหลังหัวที่เป็นซี่ ๆ ชี้ตั้งขึ้นเห็นได้ชัดเจน ซึ่งเหมือนขนนกที่ชาวตะวันตกในศตวรรษก่อนใช้ทัดหูและใช้แทนปากกา นกเลขานุการ มีลักษณะทั่วไปคล้ายอินทรี แต่มีส่วนขาที่ยาวมาก เป็นนกที่วิ่งและหากินตามพื้นดิน โดยไม่ค่อยบิน มีพฤติกรรมมักหากินอยู่เป็นคู่ตามทุ่งหญ้าและพุ่มไม้ต่าง ๆ โดย อาหาร คือ แมลงขนาดใหญ่โดยเฉพาะอย่างยิ่งตั๊กแตน, หนูชนิดต่าง ๆ นกที่ทำรังบนพื้นดินรวมทั้งไข่นก และสัตว์เลื้อยคลาน และมีรายงานว่าสามารถล้มสัตว์ขนาดใหญ่ อย่างแอนทิโลปขนาดเล็กหรือที่เป็นลูกอ่อนได้ด้วย ทั้งนี้ นกเลขานุการจะสร้างรังขนาดใหญ่บนต้นไม้ พบแพร่กระจายพันธุ์ตั้งแต่ตอนใต้ของทะเลทรายสะฮาราลงไป ซึ่งปัจจุบันจะพบได้ตามเขตอนุรักษ์และอุทยานแห่งชาติต่าง.

ใหม่!!: วงศ์เหยี่ยวและอินทรีและนกเลขานุการ · ดูเพิ่มเติม »

แร้งดำหิมาลัย

แร้งดำหิมาลัย (Black Vulture, European Black Vulture, Cinereous Vulture) เป็นนกล่าเหยื่อจำพวกอีแร้งขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง เป็นนกเพียงชนิดเดียวที่อยู่ในสกุล Aegypius.

ใหม่!!: วงศ์เหยี่ยวและอินทรีและแร้งดำหิมาลัย · ดูเพิ่มเติม »

แร้งโลกใหม่

แร้งโลกใหม่ (New world vulture) เป็นวงศ์ของนกล่าเหยื่อขนาดใหญ่ ในวงศ์ Cathartidae โดยนกในวงศ์นี้จะพบแพร่กระจายพันธุ์เฉพาะซีกโลกที่เรียกว่า "โลกใหม่" เท่านั้น คือ ทวีปอเมริกา ทั้ง อเมริกาเหนือ, อเมริกากลาง และอเมริกาใต้ แร้งโลกใหม่ เป็นนกที่กินซากสัตว์เป็นอาหารเช่นเดียวกับแร้งโลกเก่า (Aegypiinae) ที่พบในทวีปเอเชีย, แอฟริกา และบางส่วนของยุโรป แต่ทว่ามีลักษณะหลายประการที่แตกต่างกัน คือ แร้งโลกใหม่ในหลายชนิดจะหาอาหารด้วยการใช้ประสาทการดมกลิ่นแทนที่จะการมองเห็น เช่นเดียวกับแร้งโลก หรือนกล่าเหยื่อจำพวกอื่น ๆ และทำให้การจัดอันดับของแร้งโลกใหม่นั้นไม่มีข้อยุติ โดยบางข้อมูลจะจัดให้อยู่ในอันดับ Accipitriformes เช่นเดียวกับนกล่าเหยื่อจำพวกอื่น แต่ในบางข้อมูลก็จัดให้อยู่ในอันดับ Ciconiiformes อันเป็นอันดับเดียวกับพวกนกกระสา โดยเชื่อว่ามีวิวัฒนาการมาจากนกกระสา หรือกระทั่งอยู่ในอันดับ Cathartiformes ซึ่งเป็นอันดับของตนเองไปเลยก็มี.

ใหม่!!: วงศ์เหยี่ยวและอินทรีและแร้งโลกใหม่ · ดูเพิ่มเติม »

แร้งโลกเก่า

แร้งโลกเก่า (Old world vulture) เป็นวงศ์ย่อยของนกล่าเหยื่อในอันดับเหยี่ยว (Accipitriformes) ในวงศ์เหยี่ยวและอินทรี (Accipitridae) ใช้ชื่อวงศ์ย่อยว่า Aegypiinae จัดเป็นแร้งจำพวกหนึ่ง นกในวงศ์ย่อยนี้ มีความแตกต่างไปจากนกจำพวกอื่นในวงศ์เดียวกัน คือ จะไม่กินสัตว์ที่มียังมีชีวิตอยู่ แต่จะกินเฉพาะสัตว์ที่ตายไปแล้ว หรือซากสัตว์ มีรูปร่างโดยรวมคือ ปีกกว้าง หางสั้น มีคอที่ยาว หัวเล็ก บริเวณต้นคอมีขนสีขาวรอบเหมือนสวมพวงมาลัย มีลักษณะเด่นคือ ขนที่หัวและลำคอแทบไม่มีเลยจนดูเหมือนโล้นเลี่ยน สันนิษฐานว่าคงเป็นเพราะพฤติกรรมการกินซากสัตว์ จึงไม่มีขนเพื่อไม่ให้เป็นที่สะสมของเชื้อโรค และเพื่อความสะดวกในการในการมุดกินซากด้วย แต่ก็มีบางชนิดที่ชอบกินลูกปาล์ม ขนาดลำตัวและปีกเฉลี่ยแล้วนับว่ามีขนาดใหญ่ที่สุดในบรรดานกในวงศ์นี้ วางไข่ทำรังบนหน้าผาสูงหรือบนกิ่งไม้ของต้นไม้ใหญ่ วางไข่ครั้งละ 1 ฟอง มีพฤติกรรมอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ บนอยู่เหนือท้องฟ้า และมองหาอาหารด้วยสายตา ด้วยการบินวนเป็นวงกลม เมื่อร่อนลงเพื่อกินซาก อาจจะแย่งกันและส่งเสียงดังเอะอะกันในฝูง แต่เมื่อเวลาบินขึ้น ด้วยขนาดตัวที่ใหญ่และปีกที่กว้าง จำต้องวิ่งไปไกลถึง 20 ฟุต เหมือนเครื่งบินเวลาทะยานขึ้น และความเป็นสัตว์กินซา่ก แร้งโลกเก่าจึงเป็นนกที่ใช้เวลานอกเหนือจากการกินอาหารไซ้ขน รวมทั้งกางปีก ผึ่งแดด เพื่อเป็นการฆ่าเชื้อโรค พบกระจายพันธุ์ในซีกโลกเก่า ได้แก่ ทวีปเอเชีย, แอฟริกา และบางส่วนของยุโรป ในช่วงฤดูหนาวมีการอพยพลงซีกโลกทางใต้เพื่อหนีหนา่ว ปัจจุบัน แร้งโลกเก่าหลายชนิดอยู่ในภาวะวิกฤตใกล้สูญพันธุ์ เนื่องจากถิ่นที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติถูกรุกราน และสภาพแวดล้อมก็เปลี่ยนไป ทำให้จำนวนหนึ่งต้องตายลงเนื่องจากไม่มีอาหารกิน ในอนุทวีปอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีหลายตัวต้องตายลงเนื่องจากไปกินซากสัตว์ที่ปนเปื้อนสารเคมีและเชื้อโรคชนิดต่าง ๆ แร้ง - ชีวิตพิศดารของสัตว์ (๒) โดย ประพันธ์ บุญกลิ่นขจร: ต่วยตูน เดือนพฤษภาคม ๒๕๓๐ ปีที่ ๑๖ ฉบับที่ ๙ ไข่ของแร้งโลกเก.

ใหม่!!: วงศ์เหยี่ยวและอินทรีและแร้งโลกเก่า · ดูเพิ่มเติม »

แร้งเครา

แร้งเครา (Bearded vulture, Lammergeier, Ossifrage) นกล่าเหยื่อขนาดใหญ่จำพวกแร้งชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในประเภทแร้งโลกเก่า โดยเป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Gypaetus แร้งเครา เป็นแร้งขนาดใหญ่เมื่อเทียบกับแร้งชนิดอื่น ๆ จะมีขนาดใหญ่กว่า และมีลักษณะที่แตกออกไปจากแร้งทั่วไปอย่างเห็นได้ชัด คือ ส่วนหัวจะมีขนปุกปุยต่างจากแร้งทั่วไปที่หัวและลำคอจะล้านเลี่ยน สีของขนตามลำตัวเป็นสีเหลือง ส่วนหัวสีขาวเป็นสัญลักษณะบ่งบอกว่า แร้งตัวนั้นโตเต็มวัยแล้ว และมีกระจุกขนสีดำบริเวณจะงอยปากล่างแลดูคล้ายเครา อันเป็นที่มาของชื่อ แร้งเครา มีขนาดลำตัวยาวประมาณ 95–125 เซนติเมตร น้ำหนักตั้งแต่ 4.5–9.9 กิโลกรัม ความยาวปีกเมื่อกางเต็มที่เกือบ 10 ฟุต มีเอกลักษณะในการบินเฉพาะตัว มีสายตารวมถึงประสาทในการดมกลิ่นอย่างดีเยี่ยม กระจายพันธุ์ตามเทือกเขาสูงในทวีปยุโรปตอนใต้, แอฟริกา จนถึงอินเดีย และทิเบต เช่น เทือกเขาแอลป์ ทำรังและวางไข่บนหน้าผาสูงสำหรับใช้หลบหลีกจากสัตว์นักล่าชนิดต่าง ๆ ที่มารังควาญได้ นอกจากจะกินเนื้อและซากสัตว์ต่าง ๆ เหมือนแร้งชนิดอื่นแล้ว แร้งเครายังมีพฤติกรรมและชื่นชอบอย่างมากในการกินกระดูกด้วย สันนิษฐานว่าคงเป็นเพราะอาหารขาดแคลนด้วยปัจจัยของถิ่นที่อยู่อาศัยที่ทำให้หาอาหารได้ยากและสภาพอากาศที่หนาวเย็น เคยมีผู้พบแร้งเคราคาบกระดูกสัตว์ชิ้นใหญ่ เชื่อว่าเป็นกระดูกของแกะบินขึ้นไปในอากาศที่จุดสูงสุด และทิ้งลงไปให้แตกเป็นชิ้นละเอียดกับพื้น ก่อนจะบินลงมากินทั้งหมดลงไปในกร.

ใหม่!!: วงศ์เหยี่ยวและอินทรีและแร้งเครา · ดูเพิ่มเติม »

แคริโอไทป์

ียมซา แคริโอไทป์หรือคาริโอไทป์ (karyotype) หมายถึงจำนวนและลักษณะของโครโมโซมในนิวเคลียสของเซลล์ยูคาริโอต นอกจากนี้ยังใช้เวลากล่าวถึงชุดของโครโมโซมทั้งหมดของสิ่งมีชีวิตสายพันธุ์หนึ่งๆ หรือสิ่งมีชีวิตหนึ่งๆ อีกด้ว.

ใหม่!!: วงศ์เหยี่ยวและอินทรีและแคริโอไทป์ · ดูเพิ่มเติม »

เหยี่ยวรุ้ง

หยี่ยวรุ้ง หรือ อีรุ้ง (Crested serpent-eagle; ชื่อวิทยาศาสตร์: Spilornis cheela) เป็นนกล่าเหยื่อขนาดกลางจำพวกเหยี่ยวที่พบได้ในป่าในทวีปเอเชียเขตร้อน มีการกระจายพันธุ์กว้าง ด้วยความที่นกในสกุลนี้กินอาหารหลัก คือ งู จึงได้ชื่อสามัญในภาษาอังกฤษว่า "Serpent-eagle" (เหยี่ยวงู หรือ อินทรีงู).

ใหม่!!: วงศ์เหยี่ยวและอินทรีและเหยี่ยวรุ้ง · ดูเพิ่มเติม »

เหยี่ยวออสเปร

หยี่ยวออสเปร (Osprey, Sea hawk, Fish eagle) เป็นนกล่าเหยื่อที่กินปลาเป็นอาหาร มีขนาดใหญ่ ยาว 60 เซนติเมตร ช่วงปีกกว้าง 2 เมตร ขนส่วนบนเป็นสีน้ำตาล ศีรษะและส่วนล่างมีสีค่อนข้างเทา มีสีดำบริเวณตาและปีก เหยี่ยวออสเปรมีการกระจายพันธุ์เป็นวงกว้าง ชอบทำรังใกล้กับแหล่งน้ำ แม้ว่าในทวีปอเมริกาใต้จะเป็นเพียงแค่นกอพยพนอกฤดูผสมพันธุ์ แต่ก็ถือว่าสามารถพบได้ทุกทวีปยกเว้นทวีปแอนตาร์กติกา เหยี่ยวออสเปรกินปลาเป็นอาหาร จึงพัฒนาลักษณะทางกายภาพเฉพาะและแสดงพฤติกรรมที่เป็นเอกลักษณ์เพื่อช่วยในการล่าและการจับเหยื่อ จึงส่งผลให้มีสกุลและวงศ์เป็นของตนเองคือ สกุล Pandion และ วงศ์ Pandionidae มี 4 สปีชีส์ย่อยที่ได้รับการยอมรับ แม้จะมีนิสัยชอบในการทำรังใกล้แหล่งน้ำ แต่เหยี่ยวออสเปรก็ไม่ใช่อินทรีทะเล.

ใหม่!!: วงศ์เหยี่ยวและอินทรีและเหยี่ยวออสเปร · ดูเพิ่มเติม »

เหยี่ยวปลา

ระวังสับสนกับ: อินทรีกินปลา เหยี่ยวปลา (Fish-eagle, Fishing eagle) เป็นสกุลของนกล่าเหยื่อสกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Ichthyophaga เหยี่ยวปลา มีลักษณะคล้ายกับอินทรีหรือเหยี่ยวในสกุล Haliaeetus หรืออินทรีทะเล แต่มีขนาดเล็กกว่า แบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด ทั้งหมดพบในทวีปเอเชียในแต่ละภูมิภาค คือ อนุทวีปอินเดีย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จนถึงสุลาเวสี มีลักษณะเด่น คือ ขนส่วนหัวเป็นสีเทา หน้าแข้งขาว เหยี่ยวปลาเล็กหัวเทามีน้ำหนักน้อยกว่าเหยี่ยวปลาใหญ่หัวเทาถึงครึ่งเท่าตัว.

ใหม่!!: วงศ์เหยี่ยวและอินทรีและเหยี่ยวปลา · ดูเพิ่มเติม »

เหยี่ยวนกเขา

หยี่ยวนกเขา (Bird hawk, Sparrow hawk) เป็นสกุลของนกล่าเหยื่อสกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Accipiter จัดอยู่ในวงศ์เหยี่ยวและอินทรี (Accipitridae) มีลักษณะโดยรวม คือ ลำตัวมีขนสีเทาน้ำตาล มีลายตลอดตัว อกสีน้ำตาลลายกระขาว มีพฤติกรรมอาศัยอยู่ตามลำพังหรือเป็นคู่ มักล่าเหยื่อด้วยการซ่อนตัวเงียบ ๆ ในพุ่มไม้บนต้นเพื่อโฉบเหยื่อไม่ให้รู้ตัว มีขนาดเล็กที่สุด คือ เหยี่ยวนกกระจอกเล็ก (A. minullus) ที่พบในทวีปแอฟริกา มีความยาวลำตัวน้อยกว่า 20 เซนติเมตร (7.9 นิ้ว) ความกว้างของปีก 39 เซนติเมตร (15 นิ้ว) น้ำหนัก 68 กรัม (2.4 ออนซ์) จนถึงเหยี่ยวนกเขาท้องขาว (A. gentilis) ที่ตัวเมียขนาดใหญ่สุด ความยาวลำตัว 64 เซนติเมตร (25 นิ้ว) ความยาวปีก 127 เซนติเมตร (50 นิ้ว) น้ำหนัก 2,200 กรัม (4.9 ปอนด์) สำหรับในประเทศไทย พบได้ทั้งสิ้น 7 ชนิด เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองทั้งหมด เช่น เหยี่ยวนกเขาชิครา (A. badius), เหยี่ยวนกเขาหงอน (A. trivirgatus) และเหยี่ยวนกเขาพันธุ์ญี่ปุ่น (A. gularis) เป็นต้น.

ใหม่!!: วงศ์เหยี่ยวและอินทรีและเหยี่ยวนกเขา · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Accipitridae

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »