โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

วงศ์เต่านาและเต่านาอีสาน

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง วงศ์เต่านาและเต่านาอีสาน

วงศ์เต่านา vs. เต่านาอีสาน

วงศ์เต่านา (Terrapin, Pond turtle; ชื่อวิทยาศาสตร์: Geoemydidae หรือ ในอดีตใช้ Bataguridae) เป็นวงศ์ของเต่า ที่ส่วนมากอาศัยอยู่ในน้ำทั้งน้ำจืดและน้ำกร่อย หรือบางส่วนอาศัยบนพื้นที่มีความชุ่มชื้นหรือชื้นแฉะ หรืออยู่บนบกแห้ง ๆ เลยก็มี เป็นเต่าที่มีกระดองทรงกลมหรือโค้งนูนเล็กน้อย กระดองท้องใหญ่ กระดูกแอนกูลาร์ของขากรรไกรล่างไม่เชื่อมติดกับกระดูกอ่อนเมคเคล กระดูกเบสิคออคซิพิทัลเป็นชิ้นกว้าง การหุบขากรรไกรล่างเกิดจากการทำงานของกล้ามเนื้อที่ผ่านไปกระดูกโพรโอติก และขากรรไกรติดกับพื้นผิวของก้านกระดูกโพรโอติกที่อยู่ในซัยโนเวียลแคปซูล กระดองท้องไม่มีกระดูกมีโสพลาสทรอน มีกระดูกพลาสทรอนไปเชื่อมต่อกับขอบนอกของกระดองหลังที่มีร่องแบ่งเป็นกระดูกชิ้นเล็กจำนวน 11 คู่ กระดูกเชิงกรานเชื่อมติดกับกระดองท้องในลักษณะที่ยืดหยุ่นได้ เต่าในวงศ์นี้ถือเป็นวงศ์ใหญ่ สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 วงศ์ย่อย (ดูในตาราง) มีทั้งหมด 23 สกุล พบราว 65 ชนิด แพร่กระจายพันธุ์ในทวีปยุโรปตอนใต้, เอเชียอาคเนย์, อเมริกากลาง และบางส่วนของทวีปอเมริกาใต้ ในประเทศไทยมีเต่าในวงศ์นี้มากถึง 16 ชนิด อาทิ เต่าลายตีนเป็ด (Callagur borneoensis), เต่ากระอาน (Batagur baska), เต่านา (Malayemys macrocephala และM. subtrijuga), เต่าหับ (Cuora amboinensis), เต่าดำ (Siebenrockiella crassicollis) เป็นต้น โดยเต่าชนิดที่ใหญ่ที่สุดในวงศ์นี้คือ เต่าน้ำบอร์เนียว (Orlitia borneensis) ที่มีความยาวของกระดองได้ถึง 80 เซนติเมตร พบในบึงน้ำและแม่น้ำของมาเลเซียและเกาะบอร์เนียว ซึ่งเป็นเต่าชนิดหนึ่งที่ใกล้สูญพันธุ์มากแล้วชนิดหนึ่ง. ต่านาอีสาน (Mekong snail-eating turtle) เป็นสัตว์เลื้อยคลานชนิดหนึ่ง ในวงศ์เต่านา (Geoemydidae) เป็นเต่านาชนิดหนึ่ง ที่เพิ่งแยกออกมาในปี ค.ศ. 2004 มีรูปร่างลักษณะคล้ายกับเต่านาหัวใหญ่ (M. macrocephala) ซึ่งเป็นเต่านาอีกชนิด แต่มีลักษณะที่แตกต่างออกไป คือ มีขีดตามแนวตั้งใต้จมูก 4-5 ขีด ซึ่งมีมากกว่าเต่านาหัวใหญ่ และเส้นขีดที่นัยน์ตาจะเล็กกว่า รวมทั้งมีรูปร่างที่เล็กกว่าด้วย เต่านาอีสาน มีถิ่นกระจายพันธุ์ที่ภาคอีสานของประเทศไทย และพบไปจนถึงลาว, กัมพูชา และเวียดนาม เป็นเต่าที่กินหอยฝาเดียวและหอยสองฝาเป็นอาหารหลัก โดยใช้ปากขบกัดเปลือกหอยให้แตก แล้วใช้เล็บฉีกเอาเนื้อของหอยออกมา พบได้ทั่วไปในพื้นที่ชุ่มน้ำต่าง ๆ รวมทั้งพื้นที่ทำการเกษตร เช่น นาข้าว, ท้องร่องสวน ด้ว.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง วงศ์เต่านาและเต่านาอีสาน

วงศ์เต่านาและเต่านาอีสาน มี 8 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): วงศ์เต่านาสัตว์สัตว์มีแกนสันหลังสัตว์เลื้อยคลานสปีชีส์ประเทศไทยเต่าเต่านา

วงศ์เต่านา

วงศ์เต่านา (Terrapin, Pond turtle; ชื่อวิทยาศาสตร์: Geoemydidae หรือ ในอดีตใช้ Bataguridae) เป็นวงศ์ของเต่า ที่ส่วนมากอาศัยอยู่ในน้ำทั้งน้ำจืดและน้ำกร่อย หรือบางส่วนอาศัยบนพื้นที่มีความชุ่มชื้นหรือชื้นแฉะ หรืออยู่บนบกแห้ง ๆ เลยก็มี เป็นเต่าที่มีกระดองทรงกลมหรือโค้งนูนเล็กน้อย กระดองท้องใหญ่ กระดูกแอนกูลาร์ของขากรรไกรล่างไม่เชื่อมติดกับกระดูกอ่อนเมคเคล กระดูกเบสิคออคซิพิทัลเป็นชิ้นกว้าง การหุบขากรรไกรล่างเกิดจากการทำงานของกล้ามเนื้อที่ผ่านไปกระดูกโพรโอติก และขากรรไกรติดกับพื้นผิวของก้านกระดูกโพรโอติกที่อยู่ในซัยโนเวียลแคปซูล กระดองท้องไม่มีกระดูกมีโสพลาสทรอน มีกระดูกพลาสทรอนไปเชื่อมต่อกับขอบนอกของกระดองหลังที่มีร่องแบ่งเป็นกระดูกชิ้นเล็กจำนวน 11 คู่ กระดูกเชิงกรานเชื่อมติดกับกระดองท้องในลักษณะที่ยืดหยุ่นได้ เต่าในวงศ์นี้ถือเป็นวงศ์ใหญ่ สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 วงศ์ย่อย (ดูในตาราง) มีทั้งหมด 23 สกุล พบราว 65 ชนิด แพร่กระจายพันธุ์ในทวีปยุโรปตอนใต้, เอเชียอาคเนย์, อเมริกากลาง และบางส่วนของทวีปอเมริกาใต้ ในประเทศไทยมีเต่าในวงศ์นี้มากถึง 16 ชนิด อาทิ เต่าลายตีนเป็ด (Callagur borneoensis), เต่ากระอาน (Batagur baska), เต่านา (Malayemys macrocephala และM. subtrijuga), เต่าหับ (Cuora amboinensis), เต่าดำ (Siebenrockiella crassicollis) เป็นต้น โดยเต่าชนิดที่ใหญ่ที่สุดในวงศ์นี้คือ เต่าน้ำบอร์เนียว (Orlitia borneensis) ที่มีความยาวของกระดองได้ถึง 80 เซนติเมตร พบในบึงน้ำและแม่น้ำของมาเลเซียและเกาะบอร์เนียว ซึ่งเป็นเต่าชนิดหนึ่งที่ใกล้สูญพันธุ์มากแล้วชนิดหนึ่ง.

วงศ์เต่านาและวงศ์เต่านา · วงศ์เต่านาและเต่านาอีสาน · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

วงศ์เต่านาและสัตว์ · สัตว์และเต่านาอีสาน · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

วงศ์เต่านาและสัตว์มีแกนสันหลัง · สัตว์มีแกนสันหลังและเต่านาอีสาน · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์เลื้อยคลาน

ัตว์เลื้อยคลาน (reptile) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง โดยคำว่า Reptilia มาจากคำว่า Repera ที่มีความหมายว่า "คลาน" เป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังที่จัดเป็นสัตว์ในกลุ่มแรก ๆ ของโลกที่มีการดำรงชีวิตบนบกอย่างแท้จริง สัตว์เลื้อยคลานในยุคดึกดำบรรพ์ที่รอดชีวิตจากการสูญพันธุ์และยังดำรงชีวิตในปัจจุบัน มีจำนวนมากถึง 7,000 ชนิดชนิดของสัตว์เลื้อยคลาน, สัตววิทยา, บพิธ-นันทพร จารุพันธุ์, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2547, หน้า 364 กระจายอยู่ทั่วโลกทั้งชนิดอาศัยในแหล่งน้ำและบนบก จัดเป็นกลุ่มของสัตว์ที่ประสบความสำเร็จในการปรับเปลี่ยนสภาพร่างกายในการเอาตัวรอดจากเหตุการณ์หินอุกกาบาตพุ่งชนโลกมามากกว่า 100 ล้านปีมาแล้ว ในยุคจูแรสซิกที่อยู่ในมหายุคมีโซโซอิก ซึ่งมีอายุของยุคที่ยาวนานถึง 100 ล้านปี จัดเป็นยุคที่สัตว์เลื้อยคลานมีวิวัฒนาการจนถึงขีดสุด มีสัตว์เลื้อยคลานมากมายหลากหลายขนาด ตั้งแต่กิ้งก่าตัวเล็ก ๆ จนถึงไทรันโนซอรัส เร็กซ์ซึ่งเป็นไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดใหญ่ ที่มีจำนวนมากมายครอบครองพื้นที่ทั่วทุกแห่งในโลก ยุคจูแรสซิกจึงถือเป็นยุคของสัตว์เลื้อยคลานอย่างแท้จริง ต่อมาภายหลังเกิดเหตุการณ์อุกกาบาตพุ่งชนโลก ทำให้กลุ่มสัตว์บกที่อาศัยในยุคจูแรสซิก เกิดล้มตายและสูญพันธุ์อย่างกะทันหันโดยไม่ทราบสาเหตุของการสูญพันธุ์ที่ชัดเจนและแน่นอน.

วงศ์เต่านาและสัตว์เลื้อยคลาน · สัตว์เลื้อยคลานและเต่านาอีสาน · ดูเพิ่มเติม »

สปีชีส์

ในวิชาชีววิทยา ชนิด หรือทับศัพท์ว่า สปีชีส์ (species, ย่อ: sp., รูปพหูพจน์ย่อ: spp.) เป็นหน่วยการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานและอันดับอนุกรมวิธานหนึ่ง มักนิยามว่า สปีชีส์เป็นกลุ่มอินทรีย์ใหญ่สุดที่สามารถสืบพันธุ์แล้วออกลูกที่สืบพันธุ์ได้ การมีลักษณะปรับตัวเฉพาะบางท้องถิ่นอาจแบ่งสปีชีส์ต่ออีกได้เป็น "ชื่อต่ำกว่าระดับชนิด" (infraspecific taxa) เช่น ชนิดย่อย (ในทางพฤกษศาสตร์ มีใช้คำอื่น เช่น พันธุ์ (variety) พันธุ์ย่อยและแบบ (forma)).

วงศ์เต่านาและสปีชีส์ · สปีชีส์และเต่านาอีสาน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไทย

ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปี 2054 อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี 2199–2231) แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มีการนองเลือดหลายรัชกาล จนสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออกเป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่การสำเร็จโทษพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยามทันสมัยและรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี 2411–53) สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 2460; ในปี 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และในพุทธทศวรรษ 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศสงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทหารมาก รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะในปี 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและมีมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตยระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531 หลังพุทธทศวรรษ 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิดรัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังมีการลงประชามติรับร่างเมื่อหนึ่งปีก่อน ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เอเปก อีกทั้งเป็นร่วมผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยเป็นพันธมิตรของสหรัฐตั้งแต่สนธิสัญญาซีโต้ในปี 2497 ถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอำนาจปานกลางในเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูงและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีการอพยพเข้าสู่เมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามประมาณการในปี 2560 จีดีพีของประเทศไทยมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก.

ประเทศไทยและวงศ์เต่านา · ประเทศไทยและเต่านาอีสาน · ดูเพิ่มเติม »

เต่า

ต่า คือ สัตว์จำพวกหนึ่งในอันดับ Testudines จัดอยู่ในจำพวกสัตว์เลือดเย็น ในชั้นสัตว์เลื้อยคลาน เป็นสัตว์ที่มีวิวัฒนาการมาแล้วกว่า 200 ล้านปี ซึ่งเต่านั้นถือเป็นสัตว์ที่มีอายุยืนมากที่สุดชนิดหนึ่ง โดยเต่าจะมีกระดูกที่แข็งคลุมบริเวณหลังที่เรียกว่า "กระดอง" ซึ่งประกอบด้วยแคลเซียมเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งจะสามารถหดหัว ขา และหางเข้าในกระดองเพื่อป้องกันตัวได้ แต่เต่าบางชนิดก็ไม่อาจจะทำได้ เต่าเป็นสัตว์ที่ไม่มีฟัน แต่มีริมฝีปากที่แข็งแรงและคม ใช้ขบกัดอาหารแทนฟัน โดยมากแล้ว เต่า เป็นสัตว์ที่เคลื่อนไหวและเคลื่อนที่ได้ช้า อาศัยและใช้ช่วงชีวิตหนึ่งอยู่ในน้ำ ซึ่งมีอาศัยทั้งน้ำจืด และทะเล แต่เต่าบางจำพวกก็ไม่ต้องอาศัยน้ำเลย เรียกว่า "เต่าบก" (Testudinidae) ซึ่งเต่าบกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก คือ เต่ายักษ์กาลาปากอส (Geochelone nigra) ที่อาศัยอยู่ตามเกาะต่าง ๆ ในหมู่เกาะกาลาปากอส ในเอกวาดอร์ (มีทั้งหมด 15 ชนิดย่อย) ในขณะที่เต่าน้ำที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก คือ เต่าอัลลิเกเตอร์ (Macrochelys temminckii) อาศัยอยู่ตามหนองน้ำในทวีปอเมริกาเหนือ.

วงศ์เต่านาและเต่า · เต่าและเต่านาอีสาน · ดูเพิ่มเติม »

เต่านา

ำหรับบุคคลดูที่ หม่อมหลวงมิ่งมงคล โสณกุล เต่านา หรือ เต่าสามสัน (Snail-eating turtles) เป็นสกุลของสัตว์เลื้อยคลาน 2 ชนิดจำพวกเต่าที่อยู่ในสกุล Malayemys ในวงศ์ Bataguridae เป็นเต่าน้ำจืดขนาดเล็ก มีลักษณะเด่น คือ กระดองส่วนบนมีสันนูน 3 เส้น เห็นได้ชัดเจน อันเป็นที่มาของชื่อสามัญ และมีขอบเรียบ ส่วนหัวมีขนาดใหญ่และมีลายเส้นสีเหลืองหรือสีขาว กระดองส่วนบนมีสีน้ำตาลและขอบสีครีมหรือสีเหลือง กระดองส่วนล่างมีสีเหลือง และแต้มสีดำบนแผ่นเกล็ด ขณะที่สีผิวทั่วไปเป็นสีน้ำตาลเทาหรือดำ บริเวณส่วนหน้าและจมูกมีลายเส้นขีดสีขาว เป็นเต่าที่พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในแหล่งน้ำของภูมิภาคอินโดจีนและแหลมมลายู พบเห็นได้ทั่วไปทั้งนาข้าว, สวนสาธารณะ หรือท้องร่องสวนผลไม้ พื้นที่การเกษตรทั่วไป เป็นเต่าที่กินหอยเป็นอาหารหลักทั้งหอยฝาเดียวและหอยสองฝา โดยใช้ริมฝีปากขบกัดเปลือกหอยให้แตก แล้วใช้เล็บจิกเนื้อหอยออกมากิน และยังกินสัตว์น้ำอย่างอื่นได้ด้วย เดิมทีเต่านาถูกจำแนกไว้เพียงชนิดเดียว แต่ต่อมาได้มีการศึกษาเพิ่มขึ้นโดยนักวิชาการชาวตะวันตก เมื่อปี ค.ศ. 2004 พบว่าแท้จริงแล้วมี 2 ชนิด โดยมีลักษณะแตกต่างกันทางกายวิภาคบางประการ และถิ่นที่แพร่กระจายพันธุ์ คือ.

วงศ์เต่านาและเต่านา · เต่านาและเต่านาอีสาน · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง วงศ์เต่านาและเต่านาอีสาน

วงศ์เต่านา มี 39 ความสัมพันธ์ขณะที่ เต่านาอีสาน มี 24 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 8, ดัชนี Jaccard คือ 12.70% = 8 / (39 + 24)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง วงศ์เต่านาและเต่านาอีสาน หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »