โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

วงศ์เต่าทะเลและเต่าหญ้า

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง วงศ์เต่าทะเลและเต่าหญ้า

วงศ์เต่าทะเล vs. เต่าหญ้า

วงศ์เต่าทะเล (Marine turtle, Sea turtle, Modern sea turtle; ชื่อวิทยาศาสตร์: Cheloniidae) เป็นวงศ์ของเต่าในวงศ์ใหญ่ Chelonioidea หรือ เต่าทะเล ใช้ชื่อวงศ์ว่า Cheloniidae มีกระดองที่แบนและยาว เมื่อมองจากด้านหน้าทางตรงจะเห็นเป็นรูปสามเหลี่ยม ขาคู่หน้าและหลังเปลี่ยนรูปเป็นใบพายเพื่อใช้สำหรับว่ายน้ำ โดยเฉพาะขาคู่หนาที่ยาวกว่าคู่หลัง เพราะใช้ในการเคลื่อนที่ ส่วนขาคู่หลังใช้ควบคุมทิศทางเหมือนหางเสือ การหุบขากรรไกรล่างเกิดจากการทำงานของกล้ามเนื้อที่ผ่านไปบนกระดูกโพรโอติก และขากรรไกรติดกับพื้นผิวของก้านกระดูกโพรโอติกที่อยู่ในซัยโนเวียลแคปซูล กระดูกท้องไม่มีกระดูกมีโสพลาสทรอน กระดูกพลาสทรอนที่เชื่อมต่อกับขอบนอกของกระดองหลังอาจมั่นคงหรือไม่มั่นคง ขอบนอกของกระดองหลังมีร่องที่แบ่งเป็นกระดูกชิ้นเล็กจำนวน 11 คู่ กระดูกเชิงกรานเชื่อมติดกับกระดองท้องในลักษณะยืดหยุ่นได้ เต่าทะเลจะใช้ชีวิตตลอดทั้งชีวิตอยู่ในทะเล จะขึ้นมาบนบกก็เพียงเพื่อวางไข่เท่านั้น และไม่มีพฤติกรรมผึ่งแดดเหมือนเต่าน้ำจืด อีกทั้งไม่สามารถหดหัวหรือขาเข้าไปในกระดองได้เหมือนเต่าบกหรือเต่าน้ำจืด เต่าทะเลจะวางไข่ได้เมื่ออายุถึง 25 ปี หรือมากกว่านั้น ทุกชนิดจะวางไข่บนหาดทรายที่เงียบสงบ ปราศจากแสงสี ส่งรบกวน ในเวลากลางคืน ยกเว้นในสกุล Lepidochelys ที่มีพฤติกรรมวางไข่ในเวลากลางวัน เมื่อขึ้นมาบนบกจะไม่สามารถยกตัวเองให้สูงพ้นพื้นได้ ตัวเมียจะวางไข่ได้หลายครั้ง อาจถึง 2-5 ครั้ง ภายในปีเดียว แต่ปริมาณไข่จะมากที่สุดอยู่ในช่วงฤดูสืบพันธุ์ เต่าทะเลสามารถพบได้ในทะเลและมหาสมุทรทั่วโลก ยกเว้นในแถบอาร์กติกเท่านั้น ปัจจุบันพบทั้งหมด 6 ชนิด 5 สกุล. ต่าหญ้า หรือ เต่าสังกะสี หรือ เต่าหญ้าแปซิฟิก (Olive ridley sea turtle, Pacific ridley) เป็นเต่าทะเลชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Lepidochelys olivacea เป็นเต่าทะเลขนาดเล็ก มีความยาวเต็มที่ประมาณ 60-70 เซนติเมตร น้ำหนักเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 30-40 กิโลกรัม กระดองมีสีเขียวมะกอกหรือสีน้ำตาล เกล็ดบนกระดองมีลักษณะซ้อนกันเหมือนสังกะสีมุงหลังคา อันเป็นที่มาของอีกชื่อเรียกหนึ่ง ส่วนท้องมีสีเหลืองออกขาว หัวค่อนข้างโต ดวงตาปูนโปนออกมา กระดองมีความแข็งมาก ริมฝีปากสั้นทู่และคมแข็งแรงมากเพื่อใช้สำหรับขบกัดกินสัตว์มีกระดองซึ่งเป็นอาหารหลัก ส่วนของกระดองและท้องเชื่อมต่อกัน เป็นเต่าทะเลที่ว่ายน้ำได้เร็วมาก โดยอาจว่ายได้ถึง 35 กิโลเมตรต่อหนึ่งชั่วโมง พบกระจายพันธุ์ในมหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรอินเดีย ในมหาสมุทรแอตแลนติกพบน้อยมาก กินอาหารได้ทั้งพืชและสัตว์ เช่น กุ้ง, ปลา, แมงกะพรุน, ปู, หอย, สาหร่ายทะเลและหญ้าทะเล ในน่านน้ำไทยจะพบได้ในฝั่งทะเลอันดามัน ในอ่าวไทยจะพบได้น้อยกว่า จัดเป็นเต่าทะเลอีกชนิดหนึ่งที่พบได้น้อบมากในน่านน้ำไทย โดยการวางไข่มีรายงานว่าพบที่ฝั่งทะเลอันดามันเท่านั้น โดยไม่พบในฝั่งอ่าวไทย และจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง วงศ์เต่าทะเลและเต่าหญ้า

วงศ์เต่าทะเลและเต่าหญ้า มี 8 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): การตั้งชื่อทวินามสัตว์สัตว์มีแกนสันหลังสัตว์เลื้อยคลานสปีชีส์เต่าเต่าริดลีย์เต่าทะเล

การตั้งชื่อทวินาม

ระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแบบทวินาม (Binomial nomenclature) เป็นระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแต่ละสปีชีส์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ชื่อแต่ละชื่อในระบบนี้เรียกว่า ชื่อทวินาม (Binomial name) หรือ ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name) คือชื่อที่ใช้เรียกแทนสิ่งมีชีวิตในสปีชีส์ต่าง ๆ อย่างเป็นทางการ ชื่อทวินามจะเป็นภาษาละติน ประกอบด้วยคำศัพท์ 2 คำ คือ สกุล และ สปีชีส์ ซึ่งขึ้นอยู่กับสิ่งมีชีวิตที่ต้องการระบุ โดยรายละเอียดปลีกย่อยอาจแตกต่างกันออกไปบ้าง.

การตั้งชื่อทวินามและวงศ์เต่าทะเล · การตั้งชื่อทวินามและเต่าหญ้า · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

วงศ์เต่าทะเลและสัตว์ · สัตว์และเต่าหญ้า · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

วงศ์เต่าทะเลและสัตว์มีแกนสันหลัง · สัตว์มีแกนสันหลังและเต่าหญ้า · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์เลื้อยคลาน

ัตว์เลื้อยคลาน (reptile) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง โดยคำว่า Reptilia มาจากคำว่า Repera ที่มีความหมายว่า "คลาน" เป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังที่จัดเป็นสัตว์ในกลุ่มแรก ๆ ของโลกที่มีการดำรงชีวิตบนบกอย่างแท้จริง สัตว์เลื้อยคลานในยุคดึกดำบรรพ์ที่รอดชีวิตจากการสูญพันธุ์และยังดำรงชีวิตในปัจจุบัน มีจำนวนมากถึง 7,000 ชนิดชนิดของสัตว์เลื้อยคลาน, สัตววิทยา, บพิธ-นันทพร จารุพันธุ์, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2547, หน้า 364 กระจายอยู่ทั่วโลกทั้งชนิดอาศัยในแหล่งน้ำและบนบก จัดเป็นกลุ่มของสัตว์ที่ประสบความสำเร็จในการปรับเปลี่ยนสภาพร่างกายในการเอาตัวรอดจากเหตุการณ์หินอุกกาบาตพุ่งชนโลกมามากกว่า 100 ล้านปีมาแล้ว ในยุคจูแรสซิกที่อยู่ในมหายุคมีโซโซอิก ซึ่งมีอายุของยุคที่ยาวนานถึง 100 ล้านปี จัดเป็นยุคที่สัตว์เลื้อยคลานมีวิวัฒนาการจนถึงขีดสุด มีสัตว์เลื้อยคลานมากมายหลากหลายขนาด ตั้งแต่กิ้งก่าตัวเล็ก ๆ จนถึงไทรันโนซอรัส เร็กซ์ซึ่งเป็นไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดใหญ่ ที่มีจำนวนมากมายครอบครองพื้นที่ทั่วทุกแห่งในโลก ยุคจูแรสซิกจึงถือเป็นยุคของสัตว์เลื้อยคลานอย่างแท้จริง ต่อมาภายหลังเกิดเหตุการณ์อุกกาบาตพุ่งชนโลก ทำให้กลุ่มสัตว์บกที่อาศัยในยุคจูแรสซิก เกิดล้มตายและสูญพันธุ์อย่างกะทันหันโดยไม่ทราบสาเหตุของการสูญพันธุ์ที่ชัดเจนและแน่นอน.

วงศ์เต่าทะเลและสัตว์เลื้อยคลาน · สัตว์เลื้อยคลานและเต่าหญ้า · ดูเพิ่มเติม »

สปีชีส์

ในวิชาชีววิทยา ชนิด หรือทับศัพท์ว่า สปีชีส์ (species, ย่อ: sp., รูปพหูพจน์ย่อ: spp.) เป็นหน่วยการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานและอันดับอนุกรมวิธานหนึ่ง มักนิยามว่า สปีชีส์เป็นกลุ่มอินทรีย์ใหญ่สุดที่สามารถสืบพันธุ์แล้วออกลูกที่สืบพันธุ์ได้ การมีลักษณะปรับตัวเฉพาะบางท้องถิ่นอาจแบ่งสปีชีส์ต่ออีกได้เป็น "ชื่อต่ำกว่าระดับชนิด" (infraspecific taxa) เช่น ชนิดย่อย (ในทางพฤกษศาสตร์ มีใช้คำอื่น เช่น พันธุ์ (variety) พันธุ์ย่อยและแบบ (forma)).

วงศ์เต่าทะเลและสปีชีส์ · สปีชีส์และเต่าหญ้า · ดูเพิ่มเติม »

เต่า

ต่า คือ สัตว์จำพวกหนึ่งในอันดับ Testudines จัดอยู่ในจำพวกสัตว์เลือดเย็น ในชั้นสัตว์เลื้อยคลาน เป็นสัตว์ที่มีวิวัฒนาการมาแล้วกว่า 200 ล้านปี ซึ่งเต่านั้นถือเป็นสัตว์ที่มีอายุยืนมากที่สุดชนิดหนึ่ง โดยเต่าจะมีกระดูกที่แข็งคลุมบริเวณหลังที่เรียกว่า "กระดอง" ซึ่งประกอบด้วยแคลเซียมเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งจะสามารถหดหัว ขา และหางเข้าในกระดองเพื่อป้องกันตัวได้ แต่เต่าบางชนิดก็ไม่อาจจะทำได้ เต่าเป็นสัตว์ที่ไม่มีฟัน แต่มีริมฝีปากที่แข็งแรงและคม ใช้ขบกัดอาหารแทนฟัน โดยมากแล้ว เต่า เป็นสัตว์ที่เคลื่อนไหวและเคลื่อนที่ได้ช้า อาศัยและใช้ช่วงชีวิตหนึ่งอยู่ในน้ำ ซึ่งมีอาศัยทั้งน้ำจืด และทะเล แต่เต่าบางจำพวกก็ไม่ต้องอาศัยน้ำเลย เรียกว่า "เต่าบก" (Testudinidae) ซึ่งเต่าบกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก คือ เต่ายักษ์กาลาปากอส (Geochelone nigra) ที่อาศัยอยู่ตามเกาะต่าง ๆ ในหมู่เกาะกาลาปากอส ในเอกวาดอร์ (มีทั้งหมด 15 ชนิดย่อย) ในขณะที่เต่าน้ำที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก คือ เต่าอัลลิเกเตอร์ (Macrochelys temminckii) อาศัยอยู่ตามหนองน้ำในทวีปอเมริกาเหนือ.

วงศ์เต่าทะเลและเต่า · เต่าและเต่าหญ้า · ดูเพิ่มเติม »

เต่าริดลีย์

ต่าริดลีย์ (Ridley sea turtle) เป็นสกุลของสัตว์เลื้อยคลานทางทะเลจำพวกเต่าสกุลหนึ่ง ใช้ชื่อว่า Lepidochelys ในวงศ์เต่าทะเล (Cheloniidae) เต่าริดลีย์ มีความยาวของกระดอง 70 เซนติเมตร จัดเป็นเต่าทะเลขนาดเล็ก และเป็นเต่าทะเลเพียงสกุลเดียวที่มีพฤติกรรมวางไข่ในเวลากลางวันด้วย ส่วนการวางไข่ในเวลากลางคืนมีปรากฏการณ์พิเศษ โดยเฉพาะที่ชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกของคอสตาริกา ในคืนข้างแรมที่น้ำขึ้นสูงสุด เต่าริดลีย์จะมารวมตัวกันวางไข่เป็นจำนวนมากได้ถึง 400,000 ตัว ภายในเวลา 6 วัน ในอัตราเฉลี่ยนาทีละ 5,000 ตัว ทั้งไปและมา ถึงขนาดที่ชายหาดเต็มไปด้วยเต่าจนต้องปีนป่ายบนหลังตัวอื่น คิดเป็นประชากรเต่าริดลีย์ 1 ใน 4 โลก ซึ่งการรวมตัวกันวางไข่มากถึงขนาดนี้เรียกว่า "อารีบาดา" (Arribada) ชื่อ "ริดลีย์" มาจาก อาร์ชีย์ คารร์ นักอนุรักษ์และนักวิทยาสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกชาวอเมริกัน เป็นผู้เรียกขาน โดยอธิบายว่าเป็นศัพท์ที่ใช้เรียกทั่วไปในแถบฟลอริดา เต่าริดลีย์ จำแนกออกได้เป็น 2 ชนิด คือ.

วงศ์เต่าทะเลและเต่าริดลีย์ · เต่าริดลีย์และเต่าหญ้า · ดูเพิ่มเติม »

เต่าทะเล

ต่าทะเล (Sea turtle) เป็นเต่าที่อยู่ในวงศ์ใหญ่ Chelonioidea ซึ่งวิวัฒนาการจนสามารถอาศัยอยู่ได้ในทะเลตลอดเวลา โดยจะไม่ขึ้นมาบนบกเลย นอกจากการวางไข่ของตัวเมียเท่านั้น.

วงศ์เต่าทะเลและเต่าทะเล · เต่าทะเลและเต่าหญ้า · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง วงศ์เต่าทะเลและเต่าหญ้า

วงศ์เต่าทะเล มี 22 ความสัมพันธ์ขณะที่ เต่าหญ้า มี 23 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 8, ดัชนี Jaccard คือ 17.78% = 8 / (22 + 23)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง วงศ์เต่าทะเลและเต่าหญ้า หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »