เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

วงศ์ย่อยกิ้งก่าและเบียร์ดดราก้อน (สกุล)

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง วงศ์ย่อยกิ้งก่าและเบียร์ดดราก้อน (สกุล)

วงศ์ย่อยกิ้งก่า vs. เบียร์ดดราก้อน (สกุล)

วงศ์ย่อยกิ้งก่า (Agamid lizards, Old world arboreal lizards; ชื่อวิทยาศาสตร์: Agaminae) เป็นวงศ์ย่อยของกิ้งก่าในวงศ์ Agamidae เป็นวงศ์ย่อยที่มีจำนวนสมาชิกหลากหลายที่สุดของวงศ์นี้ มีประมาณ 52 สกุล 421 ชนิด มีลักษณะโดยรวม คือ มีช่องเปิดบริเวณแอ่งเบ้าตาใหญ่ และมีช่องเปิดบริเวณกล่องหูใหญ่ มีความยาวของลำตัวแตกต่างกันมากตั้งแต่เพียงไม่กี่เซนติเมตรจนถึง 1.1 เมตร บางชนิดก็มีส่วนหางที่ยาวมาก รูปร่างมีแตกต่างกันตั้งแต่อ้วนป้อมและขาสั้นในสกุล Moloch และเรียวยาวและขายาวในสกุล Sitana เกล็ดปกคลุมลำตัวในหลายชนิดเปลี่ยนสภาพเป็นโครงสร้างอื่น เช่น กิ้งก่าแผงคอ (Chlamydosaurus kingii) ที่เป็นแผงคอที่สามารถกางแผ่ออกได้เมื่อตกใจหรือขู่ศัตรูให้กลัว หรือเป็นหนามในสกุล Moloch และ Acanthosaura โครงสร้างเหล่านี้เป็นลักษณะแตกต่างระหว่างเพศของหลายชนิด ส่วนใหญ่อาศัยอยู่บนพื้นดินหรือบนต้นไม้หรือแม้แต่ใช้ชีวิตแบบครึ่งบกครึ่งน้ำ อย่าง ตะกอง (Physignathus cocincinus) ที่มีพฤติกรรมอาศัยในป่าดิบชื้นที่ใกล้แหล่งน้ำในป่า เช่น ลำธารหรือน้ำตก ว่ายน้ำเก่งมาก แต่ไม่มีชนิดใดที่อาศัยอยู่ในโพรงดิน ในสกุล Draco ที่พบในป่าดิบในแหลมมลายู ที่มีแผ่นหนังข้างลำตัวกางออกเพื่อร่อนได้ในอากาศ ส่วนใหญ่หากินในเวลากลางวัน และเปลี่ยนอุณหภูมิในร่างกายให้อบอุ่นขึ้นด้วยการนอนผึ่งแดด บางสกุล เช่น Agama มีพฤติกรรมอยู่รวมกันเป็นสังคม และมีการจัดลำดับในสังคมด้วย กินอาหารโดยเฉพาะสัตว์ขาปล้องเป็นอาหาร โดยรอให้เหยื่อเข้ามาหาเอง ขยายพันธุ์ด้วยการวางไข่ในโพรงดินหรือทราย แต่ในสกุล Phrynocephalus ตกลูกเป็นตัว. ียร์ดดราก้อน (อังกฤษ: Bearded dragons; มังกรเครา) ชื่อสามัญที่ใช้เรียกกิ้งก่าในสกุล Pogona มีรูปร่างเหมือนกิ้งก่าทั่วไป แต่มีจุดเด่นอยู่ที่ถุงใต้คอซึ่งเป็นหนามแหลม อันเป็นที่มาของชื่อ ยิ่งโดยเฉพาะในตัวผู้ในวัยเจริญพันธุ์จะมีถุงนี้เห็นได้ชัดเจน ซึ่งจะแผ่ขยายออกเป็นสีดำเวลาตื่นเต้นหรือตกใจ เบียร์ดดราก้อน มีขนาดความยาวโดยเฉลี่ยเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 18 นิ้ว มีทั้งสิ้น 7 ชนิด (ดูในตาราง) สามารถแยกเพศได้ชัดเจนเมื่ออายุได้ 1 ปี พบกระจายพันธุ์ในทะเลทรายทางตอนเหนือของออสเตรเลีย สามารถเปลี่ยนสีได้ตามสภาพแวดล้อม กินอาหารได้ทั้งพืช,แมลงและ หนอนนก หากินในเวลากลางวัน โดยกินผักได้หลากหลายชนิด เช่น ข้าวโพด, ผักกาดขาว, ผักกาดหอม, ฟักทอง, ผักกวางตุ้ง, แครอท มีอุปนิสัยที่ไม่ดุร้าย เชื่องต่อมนุษย์ จึงนิยมนำมาเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงสำหรับผู้ที่นิยมเลี้ยงสัตว์เลื้อยคลาน ยิ่งโดยเฉพาะในตัวที่มีสีสันแปลกแตกต่างไปจากปกติ สนนราคาก็จะยิ่งแพงขึ้น.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง วงศ์ย่อยกิ้งก่าและเบียร์ดดราก้อน (สกุล)

วงศ์ย่อยกิ้งก่าและเบียร์ดดราก้อน (สกุล) มี 14 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): บริเวณแห้งแล้งกลางวันกิ้งก่าวงศ์กิ้งก่าสกุล (ชีววิทยา)สัตว์สัตว์มีแกนสันหลังสัตว์เลื้อยคลานสัตว์เลี้ยงสปีชีส์อันดับกิ้งก่าและงูประเทศออสเตรเลียเบียร์ดดราก้อนเบียร์ดดราก้อน (สกุล)

บริเวณแห้งแล้ง

ทะเลทราย ทะเลทรายอาตากามา บริเวณแห้งแล้ง หรือ ทะเลทราย (desert) เป็นบริเวณแผ่นดินแห้งแล้งซึ่งเกิดหยาดน้ำฟ้าน้อยและทำให้สภาพการดำรงชีพไม่เอื้อสำหรับพืชและสัตว์ ประมาณหนึ่งในสามของพื้นผิวดินของโลกแห้งแล้งหรือกึ่งแห้งแล้ง ซึ่งรวมเขตขั้วโลกด้วยซึ่งเกิดหยาดน้ำฟ้าน้อย และบ้างเรียก "บริเวณแห้งแล้งเย็น" บริเวณแห้งแล้งสามารถจำแนกได้โดยปริมาณหยาดน้ำฟ้าที่ตก อุณหภูมิ สาเหตุของการกลายเป็นบริเวณแห้งแล้ง (desertification) หรือโดยที่ตั้งภูมิศาสตร.

บริเวณแห้งแล้งและวงศ์ย่อยกิ้งก่า · บริเวณแห้งแล้งและเบียร์ดดราก้อน (สกุล) · ดูเพิ่มเติม »

กลางวัน

วลา 13:00 UTC ของวันที่ 2 เมษายน กลางวันคือพื้นที่สว่างในภาพ กลางวัน (Daytime) โดยทั่วไปหมายถึงช่วงเวลาที่แสงอาทิตย์ได้ฉายลงบนพื้นผิวโลก หรือเท่ากับช่วงเวลาที่ดวงอาทิตย์ขึ้นไปจนถึงดวงอาทิตย์ตก เมื่อโลกหมุนไปตำแหน่งของกลางวันก็จะเปลี่ยนไป ความยาวนานของกลางวันขึ้นอยู่กับตำแหน่งบนโลกและความเอียงของแกนโลกที่หันเข้าหาดวงอาทิตย์ ส่วนด้านที่แสงอาทิตย์ไม่ได้ฉายลงบนโลกเรียกว่ากลางคืน ทำนองเดียวกับดาวเคราะห์อื่นๆ กลางวันคือช่วงเวลาที่พื้นผิวของดาวเคราะห์นั้นได้รับแสงสว่างจากดาวฤกษ์ในระบบสุริยะของตนเอง.

กลางวันและวงศ์ย่อยกิ้งก่า · กลางวันและเบียร์ดดราก้อน (สกุล) · ดูเพิ่มเติม »

กิ้งก่า

กิ้งก่า (Lizard, Iguana, Gecko, Skink; ภาษาไทยถิ่นเหนือ: จั๊กก่า; ภาษาไทยถิ่นอีสาน: กะปอม) เป็นสัตว์เลื้อยคลานในอันดับย่อย Lacertilia หรือ Sauria ในอันดับใหญ่ Squamata หรือ อันดับกิ้งก่าและงู โดยสัตว์ในอันดับนี้รวมถึงงูที่อยู่ในอันดับย่อย Serpentes ด้วย เหตุที่จัดอยู่ในอันดับเดียวกันเพราะมีลักษณะร่วมบางประการมากถึง 70 อย่าง คำว่า "Lacertilia" มาจากภาษาละตินคำว่า "lacerta" ในความหมายเดียวกัน โดยทั่วไปแล้วกิ้งก่ามี 4 ขา มีเกล็ดปกคลุมลำตัว แต่บางสกุลหรือบางชนิดก็ไม่มีขาหรือมีแต่ก็เล็กมากจนสังเกตได้ยาก เช่น จิ้งเหลนด้วง ในวงศ์จิ้งเหลน (Scincidae) หรือในวงศ์ Amphisbaenidae กิ้งก่าโดยมากแล้วเป็นสัตว์กินเนื้อ โดยจะกินแมลงและสัตว์ขาปล้องเป็นหลัก แต่สำหรับในวงศ์ที่มีขนาดใหญ่ เช่น วงศ์เหี้ย (Varanidae) จะกินสัตว์มีกระดูกสันหลังด้วย แต่ขณะที่บางชนิด เช่น อีกัวน่าเขียว (Iguana iguana) ที่พบในอเมริกากลางและทวีปอเมริกาใต้ กินพืชและผักเป็นอาหารหลัก กิ้งก่าพบกระจายพันธุ์อยู่ทั่วทุกมุมโลก ยกเว้นในบริเวณอาร์กติก แถบขั้วโลกเหนือและทวีปแอนตาร์กติกา แถบขั้วโลกใต้ มีขนาดแตกต่างกันมากตั้งแต่เพียงไม่กี่เซนติเมตร จนถึงเกือบ 3 เมตร ในมังกรโคโมโด (Varanus komodoensis) ที่หนักได้ถึงเกือบ 100 กิโลกรัม ซึ่งนับเป็นชนิดที่ใหญ่ที่สุดในอันดับย่อยนี้ ปัจจุบันมีการอนุกรมวิธานไว้แล้วกว่า 19 วงศ์ ประมาณ 555 สกุล รวมทั้งหมดราว 4,184 ชนิด ซึ่งจำนวนนี้ไม่แน่นอน เพราะมีการสำรวจค้นพบชนิดใหม่ ๆ ขึ้นทุกปี โดยวงศ์ที่มีจำนวนสมาชิกมากที่สุด คือ Scincidae ที่มีประมาณ 1,000 ชนิด รองลงไป คือ Gekkonidae หรือ ตุ๊กแกกับจิ้งจก มีประมาณ 900 ชนิด ส่วนในวงศ์ Agamidae ก็มีประมาณเกือบ 500 ชน.

กิ้งก่าและวงศ์ย่อยกิ้งก่า · กิ้งก่าและเบียร์ดดราก้อน (สกุล) · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์กิ้งก่า

วงศ์กิ้งก่า (Dragon lizards, Old Wolrd lizards, ชื่อวิทยาศาสตร์: Agamidae) เป็นวงศ์ของสัตว์เลื้อยคลานในอันดับย่อยกิ้งก่า วงศ์หนึ่ง ที่มีจำนวนสมาชิกมากและมีความหลากหลายมาก ประมาณเกือบ 500 ชนิด จนสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 วงศ์ย่อย (ดูในตาราง) มีลักษณะโดยรวม คือ มีขา 4 ข้างเห็นชัดเจน มีเกล็ดปกคลุมด้านหลังและด้านท้องของลำตัว เกล็ดมีขนาดเล็กเรียงตัวซ้อนเหลื่อมกันหรือต่อเนื่องกัน ไม่มีกระดูกในชั้นหนัง กระดูกหัวไหล่มีกระดูกอินเตอร์คลาวิเคิลเป็นรูปตัวอักษรที และกระดูกไหปลาร้ามีรูปร่างโค้ง มีหางยาว แต่โดยทั่วไปน้อยกว่า 1.4 เท่าของความยาวจากปลายจมูกถึงรูก้น ไม่สามารถสะบัดหางให้หลุดจากลำตัวได้ ยกเว้นในสกุล Uromystax พื้นผิวด้านบนของลิ้นมีตุ่ม ฟันที่ขากรรไกรเกาะติดกับพื้นผิวกระดูกโดยตรง กระดูกพเทอรีกอยด์ไม่มีฟัน พบกระจายพันธุ์อย่างกว้างขวางในทวีปเอเชีย, แอฟริกา, ออสเตรเลีย ส่วนใหญ่ออกลูกเป็นไข่ มีเพียงบางสกุลเท่านั้นที่ตกลูกเป็นตัว สำหรับในประเทศไทย มีอยู่ด้วยกันหลายชนิด อาทิ ตะกอง (Physignathus cocincinus) ซึ่งเป็นกิ้งก่าขนาดใหญ่ พบได้ในป่าดิบชื้นใกล้แหล่งน้ำในป่า เช่น น้ำตก ในภูมิภาคอินโดจีน, กิ้งก่าบินคอแดง (Draco blanfordii), กิ้งก่าสวน (Calotes mystaceus), หรือ แย้เส้น (Leiolepis belliana) ที่พบได้ทั่วไปตามพื้นดินภาคอีสาน.

วงศ์กิ้งก่าและวงศ์ย่อยกิ้งก่า · วงศ์กิ้งก่าและเบียร์ดดราก้อน (สกุล) · ดูเพิ่มเติม »

สกุล (ชีววิทยา)

ในทางชีววิทยา สกุล (อังกฤษ genus) เป็นการจัดกลุ่มเอาสิ่งมีชีวิตสปีชีส์ที่มีลักษณะใกล้เคียงเข้ามารวมกัน ในการตั้งชื่อแบบทวินาม ชื่อสิ่งมีชีวิตประกอบขึ้นจากสองส่วน คือ สกุล ซึ่งต้องขึ้นต้นด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ และ สปีชีส์ ตัวอย่างหนึ่งคือ Homo sapiens เป็นชื่อเรียกมนุษย์ อยู่ในสกุล Homo ชื่อสกุลในอาณาจักรหนึ่งสามารถซ้ำกับชื่อสกุลหรือชื่อในอนุกรมวิธานของอาณาจักรอื่นได้ ตัวอย่างเช่น Anura เป็นชื่อสกุลของพืชในวงศ์ และเป็นชื่ออันดับของกบ Aotus เป็นชื่อสกุลของถั่วและลิง เป็นต้น แต่ชื่อสกุลในอาณาจักรหนึ่ง ๆ ต้องห้ามซ้ำกัน หมวดหมู่:ชีววิทยา หมวดหมู่:การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์.

วงศ์ย่อยกิ้งก่าและสกุล (ชีววิทยา) · สกุล (ชีววิทยา)และเบียร์ดดราก้อน (สกุล) · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

วงศ์ย่อยกิ้งก่าและสัตว์ · สัตว์และเบียร์ดดราก้อน (สกุล) · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

วงศ์ย่อยกิ้งก่าและสัตว์มีแกนสันหลัง · สัตว์มีแกนสันหลังและเบียร์ดดราก้อน (สกุล) · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์เลื้อยคลาน

ัตว์เลื้อยคลาน (reptile) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง โดยคำว่า Reptilia มาจากคำว่า Repera ที่มีความหมายว่า "คลาน" เป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังที่จัดเป็นสัตว์ในกลุ่มแรก ๆ ของโลกที่มีการดำรงชีวิตบนบกอย่างแท้จริง สัตว์เลื้อยคลานในยุคดึกดำบรรพ์ที่รอดชีวิตจากการสูญพันธุ์และยังดำรงชีวิตในปัจจุบัน มีจำนวนมากถึง 7,000 ชนิดชนิดของสัตว์เลื้อยคลาน, สัตววิทยา, บพิธ-นันทพร จารุพันธุ์, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2547, หน้า 364 กระจายอยู่ทั่วโลกทั้งชนิดอาศัยในแหล่งน้ำและบนบก จัดเป็นกลุ่มของสัตว์ที่ประสบความสำเร็จในการปรับเปลี่ยนสภาพร่างกายในการเอาตัวรอดจากเหตุการณ์หินอุกกาบาตพุ่งชนโลกมามากกว่า 100 ล้านปีมาแล้ว ในยุคจูแรสซิกที่อยู่ในมหายุคมีโซโซอิก ซึ่งมีอายุของยุคที่ยาวนานถึง 100 ล้านปี จัดเป็นยุคที่สัตว์เลื้อยคลานมีวิวัฒนาการจนถึงขีดสุด มีสัตว์เลื้อยคลานมากมายหลากหลายขนาด ตั้งแต่กิ้งก่าตัวเล็ก ๆ จนถึงไทรันโนซอรัส เร็กซ์ซึ่งเป็นไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดใหญ่ ที่มีจำนวนมากมายครอบครองพื้นที่ทั่วทุกแห่งในโลก ยุคจูแรสซิกจึงถือเป็นยุคของสัตว์เลื้อยคลานอย่างแท้จริง ต่อมาภายหลังเกิดเหตุการณ์อุกกาบาตพุ่งชนโลก ทำให้กลุ่มสัตว์บกที่อาศัยในยุคจูแรสซิก เกิดล้มตายและสูญพันธุ์อย่างกะทันหันโดยไม่ทราบสาเหตุของการสูญพันธุ์ที่ชัดเจนและแน่นอน.

วงศ์ย่อยกิ้งก่าและสัตว์เลื้อยคลาน · สัตว์เลื้อยคลานและเบียร์ดดราก้อน (สกุล) · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์เลี้ยง

ัตว์เลี้ยง (สุนัข) ในภาพจิตรกรรม ''A Highland Breakfast'' โดย Edwin Landseer สัตว์เลี้ยง เป็นสัตว์ที่เลี้ยงไว้เพื่อเป็นเพื่อนหรือเพื่อคุ้มครองบุคคลเป็นหลัก ต่งจากสัตว์ใช้งาน สัตว์กีฬา ปศุสัตว์และสัตว์ทดลอง เพื่อเลี้ยงไว้เพื่อการแสดง ใช้ในเกษตรกรรมหรือการวิจัยเป็นหลัก.

วงศ์ย่อยกิ้งก่าและสัตว์เลี้ยง · สัตว์เลี้ยงและเบียร์ดดราก้อน (สกุล) · ดูเพิ่มเติม »

สปีชีส์

ในวิชาชีววิทยา ชนิด หรือทับศัพท์ว่า สปีชีส์ (species, ย่อ: sp., รูปพหูพจน์ย่อ: spp.) เป็นหน่วยการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานและอันดับอนุกรมวิธานหนึ่ง มักนิยามว่า สปีชีส์เป็นกลุ่มอินทรีย์ใหญ่สุดที่สามารถสืบพันธุ์แล้วออกลูกที่สืบพันธุ์ได้ การมีลักษณะปรับตัวเฉพาะบางท้องถิ่นอาจแบ่งสปีชีส์ต่ออีกได้เป็น "ชื่อต่ำกว่าระดับชนิด" (infraspecific taxa) เช่น ชนิดย่อย (ในทางพฤกษศาสตร์ มีใช้คำอื่น เช่น พันธุ์ (variety) พันธุ์ย่อยและแบบ (forma)).

วงศ์ย่อยกิ้งก่าและสปีชีส์ · สปีชีส์และเบียร์ดดราก้อน (สกุล) · ดูเพิ่มเติม »

อันดับกิ้งก่าและงู

อันดับกิ้งก่าและงู (Lizard and Snake) เป็นอันดับของสัตว์เลื้อยคลานที่ยังคงสืบเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบันนี้ ใช้ชื่อว่า Squamata (/สะ-ควอ-มา-ตา/) นับเป็นอันดับที่มีจำนวนสมาชิกมากที่สุดและพบได้หลากหลายกว้างขวางมากที่สุด โดยอันดับนี้แบ่งได้เป็น 2 อันดับย่อย คือ Lacertilia หรือ อันดับย่อยกิ้งก่า กับ Serpentes หรือ อันดับย่อยงู การที่รวมสัตว์เลื้อยคลานทั้ง 2 ประเภทนี้ไว้ด้วยกัน เหตุเพราะมีโครงสร้างบางอย่างที่ร่วมกันถึง 70 ประการ โดยงูนั้นมีวิวัฒนาการมาจากกิ้งก่าในวงศ์ Amphisbaenidae ที่มีการลดรูปของขา นอกจากนั้นแล้วยังมีกล้ามเนื้อ, กระดูก, กะโหลก, อวัยวะถ่ายอสุจิที่เป็นถุงพีนิสคู่ แต่มีความแตกต่างกันทางด้านสรีระ พฤติกรรม และการทำงานของโครงสร้างอวัยวะ ทั้งกิ้งก่าและงูมีเกล็ดปกคลุมลำตัว โดยมีปริมาณ ลักษณะ และจำนวนที่ปกคลุมอวัยวะแต่ละส่วนแตกต่างกันตามลักษณะทางอนุกรมวิธาน กิ้งก่าบางชนิดมีกระดูกในชั้นหนังซ้อนอยู่ใต้เกล็ดซึ่งไม่มีในงู พื้นผิวลำตัวของกิ้งก่ามีต่อมผิวหนังไม่มากแต่บริเวณด้านหน้าช่องเปิดทวารร่วมและทางด้านในของต้นขาหลังของกิ้งก่าหลายชนิดมีต่อมผิวหนังค่อนข้างมาก ซึ่งสังเคราะห์สารเคมีเพื่อใช้ในการกำหนดอาณาเขตและหน้าที่ประการต่าง ๆ ซึ่งจำนวนต่อมดังกล่าวนี้อีกทั้งตำแหน่งที่ตั้งแตกต่างกันระหว่างเพศ โดยตัวผู้จะมีมากกว่าและใหญ่กว่า ซึ่งต่อมดังกล่าวนี้ยังใช้เป็นลักษณะในการจำแนกประเภทอีกด้วย กิ้งก่าและงูหลายชนิดสามารถปล่อยท่อนหางให้หลุดจากลำตัวเพื่อหนีเอาตัวรอดจากศัตรูได้ เช่น ในวงศ์จิ้งเหลน (Scincidae) บางตัวอาจหลุดได้หลายครั้งในช่วงชีวิต เหตุที่หลุดและงอกใหม่ได้เนื่องจากลักษณะการเรียงตัวของกล้ามเนื้อกับเนื้อเยื่อที่เกี่ยวพันซึ่งอาจมีตำแหน่งเดียวหรือหลายตำแหน่ง เมื่อหางหลุดไปแล้วอาจงอกขึ้นมาใหม่สั้นกว่าเดิมหรือใช้เวลานานกว่าจะเท่าเดิม เพราะมีแกนเป็นแท่งกระดูกอ่อนทดแทนปล้องของกระดูกสันหลังแทน แต่ส่วนของงูแล้วเมื่อหลุดไปแล้วไม่อาจงอกใหม่ได้ กิ้งก่าในหลายวงศ์ ได้ลดรูปของขาลงจนหดเล็กสั้นจนดูเหมือนไม่มีขา รวมทั้งนิ้วด้วย เพื่อเป็นประโยชน์ในการอาศัยอยู่ในโพรงดิน เช่น จิ้งเหลนด้วง เป็นต้น อวัยวะถ่ายอสุจิของตัวผู้ของกิ้งก่าและงูจะมีลักษณะเป็นถุงพีนิสอยู่ทางด้านท้ายของช่องเปิดทวารร่วม พื้นผิวด้นนอกจะเป็นร่องเพื่อใช้เป็นเส้นทางในการลำเลียงตัวอสุจิเข้าสู่ช่องทวารร่วมของตัวเมียขณะผสมพันธุ์ ซึ่งถุงนี้มีลักษณะเป็นหนามและเป็นสันซึ่งอยู่ทางด้านหน้าของถุง ซึ่งลักษณะรูปร่างและหนามของถุงนี้จะแตกต่างกันไปตามวงศ์ เช่น กิ้งก่าในวงศ์เหี้ย (Varanidae) มีแท่งกระดูกอยู่ภายในถุงเพื่อเสริมให้มั่นคงขณะผสมพันธุ์ ขณะเดียวกันในตัวเมียก็มีกระดูกดังกล่าว แต่มีขนาดเล็กมาก ขยายพันธุ์ได้ด้วยการวางไข่และตกลูกเป็นตัว ซึ่งปริมาณและจำนวนที่ออกมาแตกต่างกันไปตามวงศ์, สกุล และชนิด แต่ในส่วนของกิ้งก่าแล้วมีเพียงร้อยละ 20 เท่านั้นที่ตกลูกเป็นตัว อีกทั้งยังมีบางส่วนที่เกิดได้โดยไม่ผ่านการผสมพันธุ์ด้วย เช่น ในวงศ์เหี้ย, Leiolepidinae หรือ แย้ หรืองูในวงศ์ Typhlopidae.

วงศ์ย่อยกิ้งก่าและอันดับกิ้งก่าและงู · อันดับกิ้งก่าและงูและเบียร์ดดราก้อน (สกุล) · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศออสเตรเลีย

ออสเตรเลีย (Australia) หรือชื่อทางการคือ เครือรัฐออสเตรเลีย เป็นประเทศซึ่งประกอบด้วยแผ่นดินหลักของทวีปออสเตรเลีย, เกาะแทสเมเนีย และเกาะอื่น ๆ ในมหาสมุทรอินเดีย แปซิฟิก และมหาสมุทรใต้ มันเป็นประเทศที่ใหญ่เป็นอันดับหกของโลกเมื่อนับพื้นที่ทั้งหมด ประเทศเพื่อนบ้านของออสเตรเลียประกอบด้วย อินโดนีเซีย ปาปัวนิวกินีและติมอร์-เลสเตทางเหนือ หมู่เกาะโซโลมอน วานูอาตู และนิวแคลิโดเนียทางตะวันออกเฉียงเหนือ และนิวซีแลนด์ทางตะวันออกเฉียงใต้ เป็นเวลาอย่างน้อย 40,000 ปี ก่อนที่จะตั้งถิ่นฐานครั้งแรกของอังกฤษในศตวรรษที่ 18,Davison, Hirst and Macintyre, pp.

ประเทศออสเตรเลียและวงศ์ย่อยกิ้งก่า · ประเทศออสเตรเลียและเบียร์ดดราก้อน (สกุล) · ดูเพิ่มเติม »

เบียร์ดดราก้อน

ียร์ดดราก้อน หรือ มังกรเครา (Bearded dragon, Inland bearded dragon, Central bearded dragon) สัตว์เลื้อยคลานชนิดหนึ่ง จำพวกกิ้งก่า ในวงศ์กิ้งก่า (Agamidae) เบียร์ดดราก้อน มีสีลำตัวตามธรรมชาติสีน้ำตาลสลับกับลายสีครีมเข้ม ตามลำตัวจะเต็มไปด้วยเกล็ดและหนามเล็ก ๆ ใช้สำหรับป้องกันตัวจากศัตรูผู้ล่า แต่ไม่อาจทำอันตรายสัตว์อื่นใดก่อนได้ ขนาดเมื่อโตเต็มที่จะมีความยาวรวมหางประมาณ 16-18 นิ้ว มีจุดเด่นที่ถุงใต้คอซึ่งเป็นหนามแหลม แลดูคล้ายเครา อันเป็นที่มาของชื่อสามัญ ยิ่งโดยเฉพาะในตัวผู้ในวัยเจริญพันธุ์จะมีถุงนี้เห็นได้ชัดเจน ซึ่งจะแผ่ขยายออกเป็นสีดำเวลาตื่นเต้น ตกใจ ต่อสู้ หรือใช้ในการเกี้ยวพาราสีตัวเมีย กระจายพันธุ์อยู่ในทะเลทราย ที่มีภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสลับกับเนินทรายเตี้ย ๆ ในประเทศออสเตรเลีย แถบรัฐควีนส์แลนด์, นอร์เทิร์นเทร์ริทอรี, นิวเซาท์เวลส์ และวิกตอเรีย โดยหากินและอาศัยอยู่บนพื้นมากกว่าจะปีนป่ายตามก้อนหินหรือต้นไม้ กินอาหารได้ทั้งพืชและสัตว์ เช่น หนอน, แมลง, กิ้งก่าขนาดเล็ก, ผักชนิดต่าง ๆ เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุได้ 8-12 เดือน ในช่วงผสมพันธุ์ ตัวผู้อาจจะผสมพันธุ์กับตัวเมียได้หลายตัว อาจถึงหลักสิบ ใช้เวลาตั้งท้องนาน 20-28 วัน เมื่อวางไข่ ตัวเมียจะไม่กินอาหารก่อน 2-4 วัน ซึ่งตัวเมียจะขุดหลุมกับพื้นทราย ก่อนที่จะวางไข่ในหลุมประมาณ 20-30 ฟองต่อครั้ง หลังจากวางไข่เรียบร้อยแล้ว ตัวเมียสามารถตั้งท้องได้อีกโดยที่ไม่ต้องผ่านการผสมพันธุ์อีกราว 2-4 ท้อง โดยทิ้งช่วงระยะเวลาประมาณ 20-28 วัน เท่ากับการตั้งท้อง ไข่เบียร์ดดราก้อนใช้เวลา 55-65 วัน ในการฟักเป็นตัว อุณหภูมิเป็นส่วนสำคัญในการกำหนดเพศเหมือนเช่นสัตว์เลื้อยคลานอีกหลายประเภท อุปนิสัยและพฤติกรรมของเบียร์ดดราก้อนนั้นในธรรมชาติของเบียร์ดดราก้อนเป็นสัตว์ที่หวงถิ่นที่อยู่มาก เบียร์ดดราก้อนไม่ว่าเพศผู้หรือเพศเมียนั้นเป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่อย่างสันโดษในธรรมชาติ เบียร์ดดราก้อนไม่จับคู่อยู่ร่วมกันเป็นคู่หรือเป็นกลุ่มแต่อย่างใด เบียร์ดดราก้อนนั้นไม่มีความผูกพันธ์ุทางสายเลือดและไม่อาจมีความรู้สึกรักหรือว่ารับรู้ถึงการมีความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมสายพันธ์ุได้ การที่ผู้เลี้ยงไม่ศึกษาพฤติกรรมที่ของเบียร์ดดราก้อนให้รอบคอบ อาจจะทำให้เกิดการบาดเจ็บและสูญเสียชีวิตของสัตว์เลี้ยงได้ เบียร์ดดราก้อนเพศผู้นั้นจะเข้าขู่เบียร์ดดราก้อนผู้รุกรานในทันทีที่พบเห็นโดยการฉีดสีไปในส่วนเคราให้เป็นสีดำและการยักหัวขึ้นลงอย่างรุนแรง ก่อนที่เพศผู้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งที่ตัวเล็กกว่าจะโบกมือขึ้นลงอย่างช้าๆแสดงความยอมแพ้และถอยหนี แต่ถ้าหากว่าเพศผู้ทั้งคู่มีความเหี้ยนกระหือรือทั้งคู่ การเข้าขู่และวิ่งไล่กัดกันย่อมเกิดขึ้น ตามมาด้วยความตายหรือบาดเจ็บของทั้งสองฝ่าย เบียร์ดดราก้อนจำนวนไม่น้อยนั้นได้สูญเสียนิ้ว ขา หรือหาง มาจากการต่อสู้ไม่ว่าในวัยเด็กเล็กหรือโตเต็มวัย หรือแย่กว่านั้นอาจทำให้แผลเกิดการติดเชื้อตามมาด้วยการเน่าและถึงแก่ความตายได้ เบียร์ดดราก้อนไม่ควรนำมาเลี้ยงด้วยกันไม่ว่าจะเพศผู้หรือเพศเมีย ช่วงเวลาที่เหมาะที่สุดที่จะให้มันมาอยู่ร่วมกันคือช่วงการผสมพันธุ์ชั่วคราวเท่านั้น การที่เบียร์ดดราก้อนสองตัวเอาตัวทับกันนั้นไม่ได้เป็นการแสดงออกถึงความรักแต่อย่างใด แต่หากเป็นการแสดงถึงความเป็นใหญ่ในอาณาเขตของตน ตัวที่เป็นใหญ่นั้นจะเอาร่างตัวมันเองบังแสงและความร้อนจากดวงอาทิตย์ทำให้อีกตัวไม่สามารถได้รับแสงได้อย่างเหมาะสม ลักษณะพฤติกรรมแบบนี้ไม่ใช่การแสดงออกทางความรักแต่อย่างใด เนื่องจากเบียร์ดดราก้อนเป็นสัตว์เลือดเย็นไม่สามารถสร้างความร้อนเองได้ อาจส่งผลทำให้ตัวที่ด้อยกว่านั้นส่งผลเสียทางสุขภาพและความเครียดในระยะยาวอาทิ ซึมเศร้า ขาดน้ำและขาดสารอาหาร ซึ่งสามารถทำให้ถึงตายได้ เบียร์ดดราก้อนเป็นสัตว์ที่ไม่ค่อยแสดงออกทางอาการ ไม่ว่าจะเจ็บ หรือป่วย แต่จะตายทันทีเมื่อถึงขีดสุดที่มันจะทนได้ เบียร์ดดราก้อนที่มีอาการเครียดนั้น จะแสดงออกโดยการฉีดสีดำเข้าไปที่ใต้ท้อง มีลักษณะเป็นเส้นลายวงๆ เบียร์ดดราก้อนที่ไม่มีอาการเครียดจะมีท้องลักษณะขาวโพลน ไม่มีเส้นดำ หรือลายใดๆใต้ท้องลำตัว หากมีอาการดังกล่าวเกิดขึ้น ควรที่จะนำเบียร์ดดราก้อนไปในที่ที่มันรู้สึกปลอยภัยเช่นตู้ที่อยู่ของมันในทันที มักจะทำให้อาการเหล่านี้หายไปได้ เบียร์ดดราก้อนเป็นสัตว์ที่ขี้เกียจ ไม่ค่อยชอบเดินและมักจะอยู่เฉยๆตากแดดตลอดวัน เมื่อเบียร์ดดราก้อนรู้สึกร้อน มันจะอ้าปากเพื่อเป็นการคลายความร้อน เนื่องจากเบียร์ดดราก้อนเป็นสัตว์เลื้อยคลาน พวกมันไม่สามารถระบายความร้อนทางเหงื่อได้เฉกเช่นมนุษย์ เบียร์ดดราก้อนที่ตากแดด ควรจะมีที่กำบังขณะตากแดดบ้าง จะทำให้เบียร์ดดราก้อนสามารถเข้าไปหลบแดดได้ เพื่อหลีกเลี่ยงการช็อกตายโดยความร้อนจัดในเวลากลางวัน เบียร์ดดราก้อนเป็นสัตว์ที่เก็บน้ำในร่างกาย พวกมันกินน้ำน้อยมากต่อวันหรือไม่กินเลย เบียร์ดดราก้อนบางตัวมักไม่ยอมกินน้ำจากถ้วย แต่พวกมันสามารถได้รับน้ำจากอาหารที่กินเช่นผักหรือผลไม้ได้ ลักษณะของเบียร์ดดราก้อนที่แข็งแรงนั้นควรจะหัวเชิดตรง ดวงตาเปิดเป็นวงกลมเต็มที่ ไม่ง่วงซึมช่วงตอนกลางวันแต่อย่างใด เบียร์ดดราก้อน นิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยง เพราะมีอุปนิสัยไม่ดุร้าย ไม่กัดหรือทำร้ายมนุษย์ โดยสามารถเพาะขยายพันธุ์ในที่เลี้ยงได้ โดยมักจะเป็นตู้ปลาที่ปูพื้นด้วยทรายหรือกรวดแห้ง ๆ เหมือนสภาพที่อยู่ในธรรมชาติ ซึ่งปัจจุบัน สามารถเพาะเบียร์ดดราก้อนที่มีความยาวถึง 22 นิ้วได้ ซึ่งนับว่ามีความใหญ่กว่าขนาดในธรรมชาติ หรือมีสีต่าง ๆ ผิดไปจากธรรมชาติด้วย เช่น สีแดง, สีเหลืองทั้งตัว หรือหนามบนตัวหายไปหมด หรือแม้แต่ลำตัวโปร่งใสจนมองเห็นอวัยวะต่าง ๆ ภายในได้ลาง ๆ ดวงตามีแต่ส่วนตาดำ ไม่มีตาขาว เป็นต้น.

วงศ์ย่อยกิ้งก่าและเบียร์ดดราก้อน · เบียร์ดดราก้อนและเบียร์ดดราก้อน (สกุล) · ดูเพิ่มเติม »

เบียร์ดดราก้อน (สกุล)

ียร์ดดราก้อน (อังกฤษ: Bearded dragons; มังกรเครา) ชื่อสามัญที่ใช้เรียกกิ้งก่าในสกุล Pogona มีรูปร่างเหมือนกิ้งก่าทั่วไป แต่มีจุดเด่นอยู่ที่ถุงใต้คอซึ่งเป็นหนามแหลม อันเป็นที่มาของชื่อ ยิ่งโดยเฉพาะในตัวผู้ในวัยเจริญพันธุ์จะมีถุงนี้เห็นได้ชัดเจน ซึ่งจะแผ่ขยายออกเป็นสีดำเวลาตื่นเต้นหรือตกใจ เบียร์ดดราก้อน มีขนาดความยาวโดยเฉลี่ยเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 18 นิ้ว มีทั้งสิ้น 7 ชนิด (ดูในตาราง) สามารถแยกเพศได้ชัดเจนเมื่ออายุได้ 1 ปี พบกระจายพันธุ์ในทะเลทรายทางตอนเหนือของออสเตรเลีย สามารถเปลี่ยนสีได้ตามสภาพแวดล้อม กินอาหารได้ทั้งพืช,แมลงและ หนอนนก หากินในเวลากลางวัน โดยกินผักได้หลากหลายชนิด เช่น ข้าวโพด, ผักกาดขาว, ผักกาดหอม, ฟักทอง, ผักกวางตุ้ง, แครอท มีอุปนิสัยที่ไม่ดุร้าย เชื่องต่อมนุษย์ จึงนิยมนำมาเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงสำหรับผู้ที่นิยมเลี้ยงสัตว์เลื้อยคลาน ยิ่งโดยเฉพาะในตัวที่มีสีสันแปลกแตกต่างไปจากปกติ สนนราคาก็จะยิ่งแพงขึ้น.

วงศ์ย่อยกิ้งก่าและเบียร์ดดราก้อน (สกุล) · เบียร์ดดราก้อน (สกุล)และเบียร์ดดราก้อน (สกุล) · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง วงศ์ย่อยกิ้งก่าและเบียร์ดดราก้อน (สกุล)

วงศ์ย่อยกิ้งก่า มี 35 ความสัมพันธ์ขณะที่ เบียร์ดดราก้อน (สกุล) มี 32 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 14, ดัชนี Jaccard คือ 20.90% = 14 / (35 + 32)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง วงศ์ย่อยกิ้งก่าและเบียร์ดดราก้อน (สกุล) หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: