โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

วงศ์ย่อยกวางและสมัน

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง วงศ์ย่อยกวางและสมัน

วงศ์ย่อยกวาง vs. สมัน

วงศ์ย่อยกวาง หรือ วงศ์ย่อยกวางโลกเก่า (Old World deer, Plesiometacarpal deer) เป็นวงศ์ย่อยของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมกีบคู่ ในวงศ์ Cervidae หรือ กวาง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cervinae โดยกวางในวงศ์ย่อยนี้ จะเป็นกวางชนิดที่พบในซีกโลกที่เรียกว่าโลกเก่า คือ ทวีปเอเชีย, แอฟริกา, ยุโรป โดยเป็นสัตว์ที่อาศัยและปรับตัวอยู่ได้ในหลายภูมิประเทศ เช่น ทุ่งหญ้า, ทะเลทราย, ที่ราบต่ำ หรือแม้แต่พื้นที่ชุ่มน้ำ สมาชิกในวงศ์ย่อยนี้ แบ่งออกได้เป็น 2 เผ่าใหญ่ ๆ คือ Cervini หรือ กวางแท้ และ Muntiacini หรือ เก้ง. มัน หรือ ฉมัน หรือ เนื้อสมัน หรือ กวางเขาสุ่ม (Schomburgk's deer) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจำพวกสัตว์กีบคู่ชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Rucervus schomburgki เป็นกวางขนาดกลาง ขนตามลำตัวสีน้ำตาลเข้ม ท้องมีสีอ่อนกว่า ริมฝีปากล่างและด้านล่างของหางเป็นสีขาว มีลักษณะเด่นคือ ตัวผู้จะมีเขาแตกแขนงออกไปมากมายเหมือนกิ่งไม้ แลดูสวยงาม จึงได้ชื่อว่าเป็นกวางที่มีเขาสวยที่สุดในโลก มีกิ่งรับหมาหรือกิ่งเขาที่ยื่นออกไปข้างหน้ายาวกว่ากิ่งรับหมาของกวางชนิดอื่น ๆ สมันมีความยาวลำตัว 180 เซนติเมตร ความยาวหาง 10 เซนติเมตร มีความสูงจากพื้นดินถึงหัวไหล่ 100-110 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 100-120 กิโลกรัมสมันนั้นวิ่งเร็วประมาณ 100 กิโลเมตร ต่อชั่วโมง มีการกระจายพันธุ์เฉพาะในที่ราบลุ่มภาคกลางของไทยเท่านั้น รวมถึงบริเวณกรุงเทพมหานครในปัจจุบันด้วย โดยอาศัยอยู่ในที่ทุ่งโล่งกว้าง ไม่สามารถหลบหนีเข้าป่าทึบได้เนื่องจากกิ่งก้านของเขาจะไปติดพันกับกิ่งไม้ จึงเป็นจุดอ่อนให้ถูกล่าได้อย่างง่ายดาย ในสมัยอดีต ชาวบ้านจะล่าสมันด้วยการสวมเขาปลอมเป็นตัวผู้เพื่อล่อตัวเมียออกมา จากนั้นจึงใช้ปืนหรือหอกพุ่งยิง ปัจจุบัน สมันสูญพันธุ์แล้ว สมันในธรรมชาติตัวสุดท้ายถูกนายตำรวจคนหนึ่งยิงตายเมื่อ พ.ศ. 2475 ที่จังหวัดกาญจนบุรี สมันตัวสุดท้ายในที่เลี้ยงถูกชายขี้เมาตีตายที่วัดแห่งหนึ่งในตำบลมหาชัย จังหวัดสมุทรสาคร เมื่อ พ.ศ. 2481 ในปี พ.ศ. 2534 มีรายงานว่าพบซากเขาสมันสดขายในร้านขายยาใจกลางเมืองพงสาลี และแขวงหลวงพระบาง ทางภาคเหนือของลาว ทำให้สันนิษฐานว่าอาจจะมีสมันหลงเหลืออยู่ในประเทศลาวก็เป็นได้ แต่เรื่องนี้ยังไม่มีหลักฐานยืนยันเพียงพอ โดยที่ทั้งชื่อสามัญในภาษาอังกฤษและชื่อวิทยาศาสตร์ของสมันตั้งเพื่อเป็นเกียรติแก่ เซอร์โรเบิร์ต แฮร์มันน์ โชมบวร์ก ผู้เป็นกงสุลอังกฤษประจำราชอาณาจักรสยามที่นำสมันเข้าไปเผยแพร่ในยุโรปเป็นคนแรก.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง วงศ์ย่อยกวางและสมัน

วงศ์ย่อยกวางและสมัน มี 8 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): กวางการตั้งชื่อทวินามวงศ์ย่อยกวางสัตว์สัตว์มีแกนสันหลังสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมอันดับสัตว์กีบคู่Rucervus

กวาง

กวางเรนเดียร์ หรือกวางแคริบู (''Rangifer tarandus'') ซึ่งเป็นกวางที่มีขนาดใหญ่พบกระจายพันธุ์ในซีกโลกทางเหนือ กวาง เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับสัตว์กีบคู่ (อันดับย่อยสัตว์เคี้ยวเอื้อง) ที่จัดอยู่ในวงศ์ Cervidae มีลักษณะขนยาวหยาบสีน้ำตาล ตัวผู้มีเขาเป็นแขนง ผลัดเขาปีละครั้ง ตัวเมียมีขนาดเล็กกว่าและไม่มีเขา ลักษณะเขาตัน ไม่กลวง เป็นเกลียว บางชนิดอาจแตกแขนงได้มากเหมือนกิ่งไม้ ไม่มีถุงน้ำดี ชอบอยู่ตามลำพังตัวเดียวยกเว้นฤดูผสมพันธุ์ กินใบไม้อ่อน หญ้าอ่อน.

กวางและวงศ์ย่อยกวาง · กวางและสมัน · ดูเพิ่มเติม »

การตั้งชื่อทวินาม

ระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแบบทวินาม (Binomial nomenclature) เป็นระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแต่ละสปีชีส์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ชื่อแต่ละชื่อในระบบนี้เรียกว่า ชื่อทวินาม (Binomial name) หรือ ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name) คือชื่อที่ใช้เรียกแทนสิ่งมีชีวิตในสปีชีส์ต่าง ๆ อย่างเป็นทางการ ชื่อทวินามจะเป็นภาษาละติน ประกอบด้วยคำศัพท์ 2 คำ คือ สกุล และ สปีชีส์ ซึ่งขึ้นอยู่กับสิ่งมีชีวิตที่ต้องการระบุ โดยรายละเอียดปลีกย่อยอาจแตกต่างกันออกไปบ้าง.

การตั้งชื่อทวินามและวงศ์ย่อยกวาง · การตั้งชื่อทวินามและสมัน · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ย่อยกวาง

วงศ์ย่อยกวาง หรือ วงศ์ย่อยกวางโลกเก่า (Old World deer, Plesiometacarpal deer) เป็นวงศ์ย่อยของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมกีบคู่ ในวงศ์ Cervidae หรือ กวาง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cervinae โดยกวางในวงศ์ย่อยนี้ จะเป็นกวางชนิดที่พบในซีกโลกที่เรียกว่าโลกเก่า คือ ทวีปเอเชีย, แอฟริกา, ยุโรป โดยเป็นสัตว์ที่อาศัยและปรับตัวอยู่ได้ในหลายภูมิประเทศ เช่น ทุ่งหญ้า, ทะเลทราย, ที่ราบต่ำ หรือแม้แต่พื้นที่ชุ่มน้ำ สมาชิกในวงศ์ย่อยนี้ แบ่งออกได้เป็น 2 เผ่าใหญ่ ๆ คือ Cervini หรือ กวางแท้ และ Muntiacini หรือ เก้ง.

วงศ์ย่อยกวางและวงศ์ย่อยกวาง · วงศ์ย่อยกวางและสมัน · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

วงศ์ย่อยกวางและสัตว์ · สมันและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

วงศ์ย่อยกวางและสัตว์มีแกนสันหลัง · สมันและสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม

ัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม (Mammalia) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง โดยคำว่า Mammalia มาจากคำว่า Mamma ที่มีความหมายว่า "หน้าอก" เป็นกลุ่มของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ที่มีการวิวัฒนาการและพัฒนาร่างกายที่ดีหลากหลายประการ รวมทั้งมีระบบประสาทที่เจริญก้าวหน้า สามารถดำรงชีวิตได้ในทุกสภาพสิ่งแวดล้อมสัตววิทยา (สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม), บพิธ-นันทพร จารุพันธุ์, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2547, หน้า 411 มีขนาดของร่างกายและรูปพรรณสัณฐานที่แตกต่างกันออกไป รวมถึงการทำงานของระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย ที่มีการปรับเปลี่ยนไปตามลักษณะของสายพันธุ์ มีลักษณะเด่นคือมีต่อมน้ำนมที่มีเฉพาะในเพศเมียเท่านั้น เพื่อผลิตน้ำนมเพื่อใช้เลี้ยงลูกวัยแรกเกิด เป็นสัตว์เลือดอุ่น มีขนเป็นเส้น ๆ (hair) หรือขนอ่อน (fur) ปกคลุมทั่วทั้งร่างกาย เพื่อเป็นการรักษาอุณหภูมิในร่างกาย ยกเว้นสัตว์น้ำที่ไม่มีขน สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ไม่จัดอยู่ในประเภทสัตว์กลุ่มใหญ่ คือมีจำนวนประชากรประมาณ 4,500 ชนิด ซึ่งถือว่าเป็นปริมาณน้อยมากเมื่อเทียบกับนก ที่มีประมาณ 9,200 ชนิด และปลาอีกประมาณ 20,000 ชนิด รวมทั้งแมลงอีกประมาณ 800,000 ชนิด ส่วนใหญ่เป็นสัตว์บก เช่น สุนัข ช้าง ลิง เสือ สิงโต จิงโจ้ เม่น หนู ฯลฯ สำหรับสัตว์น้ำที่จัดเป็นเลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ได้แก่ โลมา วาฬ มานาทีและพะยูน แต่สำหรับสัตว์ปีกประเภทเดียวที่เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมคือค้างคาว ซึ่งกระรอกบินและบ่างนั้น ไม่จัดอยู่ในประเภทของสัตว์ปีก เนื่องจากใช้ปีกในการร่อนไปได้เพียงแค่ระยะหนึ่งเท่านั้น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมส่วนใหญ่ออกลูกเป็นตัว ยกเว้นตุ่นปากเป็ดและอีคิดนาเท่านั้นที่ออกลูกเป็น.

วงศ์ย่อยกวางและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม · สมันและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม · ดูเพิ่มเติม »

อันดับสัตว์กีบคู่

อันดับสัตว์กีบคู่ เป็นอันดับของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอันดับหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Artiodactyla (/อา-ทิ-โอ-แดค-ทิ-ล่า/) มีลักษณะเด่น คือ มีนิ้วเท้าที่เป็นกีบที่เป็นคู่ แตกต่างไปจากสัตว์ที่อยู่ในอันดับสัตว์กีบคี่ (Perissodactyla) ซึ่งมีกีบนิ้วเท้าเป็นจำนวนคี่ ทั้งสองอันดับล้วนแต่เป็นสัตว์กินพืช ที่จะกินพืชลักษณะแตกต่างกันออกไปตามสกุลและวงศ์ หรือชนิด กระจายพันธุ์ออกไปในทุกทวีปทั่วโลก ยกเว้นโอเชียเนีย ปัจจุบัน แบ่งออกเป็น 10 วงศ์ ราว 220 ชนิด โดยแบ่งออกได้เป็น 3 อันดับย่อย โดยแบ่งตามลักษณะของกระเพาะอาหาร โดยแบ่งออกเป็นห้อง ๆ หรือส่วน คือ.

วงศ์ย่อยกวางและอันดับสัตว์กีบคู่ · สมันและอันดับสัตว์กีบคู่ · ดูเพิ่มเติม »

Rucervus

Rucervus (/รู-เซอ-วัส/) เป็นสกุลของกวางที่กระจายพันธุ์ในอินเดีย, เนปาล, อินโดจีน และเกาะไหหลำ ของจีน ส่วนใหญ่สูญเสียถิ่นที่อยู่อาศัยจากการทำลายป่า รวมทั้งถูกล่า และมีบางชนิดที่สูญพันธุ์ไปแล้ว กวางในสกุลนี้เคยถูกรวมเป็นสกุลเดียวกันกับสกุล Cervus แต่ถูกจัดให้เป็นสกุลต่างหาก ตามหลักของความแตกต่างทางสัณฐานวิทยา ตามหลักฐานทางพันธุกรรมแล้ว ละองละมั่งควรจะใช้สกุล Cervus ขณะที่ทั้ง 2 ชนิดที่เหลือยังใช้ที่สกุล Rucervus อยู่ หรืออย่างน้อยก็ย้ายไปในสกุล AxisPitraa, Fickela, Meijaard, Groves (2004).

Rucervusและวงศ์ย่อยกวาง · Rucervusและสมัน · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง วงศ์ย่อยกวางและสมัน

วงศ์ย่อยกวาง มี 26 ความสัมพันธ์ขณะที่ สมัน มี 35 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 8, ดัชนี Jaccard คือ 13.11% = 8 / (26 + 35)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง วงศ์ย่อยกวางและสมัน หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »