โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

วงศ์ปลาหมอสี

ดัชนี วงศ์ปลาหมอสี

วงศ์ปลาหมอสี (Cichlids) เป็นวงศ์ปลาที่มีจำนวนชนิดมากกว่า 1,000 ชนิด นับเป็นวงศ์ของปลาน้ำจืดที่มีจำนวนชนิดมากเป็นอันดับสาม รองมาจากวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) และวงศ์ปลาบู่ (Gobiidae) ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cichlidae (/ซิค-ลิด-เด/) ชื่อสามัญในภาษาไทยนิยมเรียกว่า "ปลาหมอสี" ปลาในวงศ์นี้ส่วนใหญ่จึงมักมีชื่อขึ้นต้นว่า "ปลาหมอ" ปลาในวงศ์ปลาหมอสีมีลักษณะหลายหลากแตกต่างกันไปตามสภาพแวดล้อมของถิ่นกำเนิด ปลาหมอสีส่วนใหญ่เป็นปลาน้ำจืด แต่มีบางชนิดพบในน้ำกร่อย ปลาในวงศ์นี้พบมากที่สุดในทวีปแอฟริกา และทวีปอเมริกาใต้ ซึ่งมีประมาณ 900 และ 290 ชนิดตามลำดับ นอกจากนี้ยังมีบางชนิดพบได้ในตอนล่างของทวีปอเมริกาเหนือ อีกสี่ชนิดพบในตะวันออกกลาง และอีกสามชนิดพบในอินเดีย ปลาในวงศ์ปลาหมอสีมีความสำคัญต่อมนุษย์ในหลายลักษณะ ปลาบางชนิด เช่น ปลานิล จัดเป็นปลาเศรษฐกิจที่เลี้ยงง่าย โตเร็ว ในขณะที่ปลาอีกหลายชนิดเป็นปลาตู้สวยงาม เช่น ปลาเทวดา, ปลาปอมปาดัวร์ และ ปลาออสการ์ เป็นต้น.

58 ความสัมพันธ์: ชื่อสามัญพ.ศ. 2383พ.ศ. 2547การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์การตั้งชื่อทวินามภาษาไทยวงศ์ย่อยปลาพีค็อกแบสวงศ์ย่อยปลาหมอสีวงศ์ย่อยปลาหมอสีแอฟริกาวงศ์ย่อยปลาหมอเอิร์ธอีเตอร์วงศ์ย่อยปลาออสการ์วงศ์ปลาบู่วงศ์ปลาตะเพียนสกุลสกุล (ชีววิทยา)สกุลเพลวิคาโครมิสสมโภชน์ อัคคะทวีวัฒน์สัตว์สัตว์มีแกนสันหลังสปีชีส์อันดับย่อยปลานกขุนทองอันดับปลากะพงอเมริกากลางทวีปอเมริกาใต้ทวีปแอฟริกาปลาพีค็อกแบสปลาสวยงามปลาหมอฟรอนโตซ่าปลาหมอฟรอนโตซ่า (สกุล)ปลาหมอฟลามิงโก้ปลาหมอริวูเลตัสปลาหมอลายเมฆปลาหมอออสเซลาริสปลาหมอคอนวิคปลาหมอซินสไปลุ่มปลาหมอนกแก้วปลาหมอแรมปลาหมอแคระอพิสโตแกรมมาปลาหมอแคระคาเคทอยเดสปลาหมอแคระแรมเจ็ดสีปลาหมอแตงไทยปลาหมอไตรมาคูปลาหมอเฮโรสปลาหมอเทศปลาหมอเท็กซัสปลาหมอเท็กซัส (สกุล)ปลาหมอเท็กซัสแดงปลาหมอเท็กซัสเขียวปลาหมอเซวารุ่มปลาออสการ์...ปลาออสการ์ (สกุล)ปลาที่มีก้านครีบปลาปอมปาดัวร์ปลานิลปลานิล (สกุล)ปลาน้ำจืดปลาเทวดาแผนที่ ขยายดัชนี (8 มากกว่า) »

ชื่อสามัญ

ื่อสามัญ (Common name) หมายถึง ชื่อที่เรียกกันทั่วไปในการอนุกรมวิธานสิ่งมีชีวิต ใช้ชื่ออาจให้ชื่อตามลักษณะรูปร่างของสิ่งมีชีวิตชนิดนั้น ๆ เช่น ต้นแปรงขวด, ว่านหางจระเข้ หรืออาจเรียกชื่อตามถิ่นกำเนิด เช่น ผักตบชวา, มันฝรั่ง หรืออาจเรียกตามชื่อที่อยู่ เช่น ดาวทะเล, ทากบก นอกจากนี้ในแต่ละถิ่นยังเรียกชื่อต่างกันเช่น แมลงปอ ภาคใต้เรียกว่า "แมงพี้" ภาคเหนือเรียก "แมงกะบี้" เป็นต้น ซึ่งชื่อสามัญอาจจะซ้ำซ้อนกันได้ จึงเป็นที่มาของการตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ เพื่อระบุให้ถูกต้อง.

ใหม่!!: วงศ์ปลาหมอสีและชื่อสามัญ · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2383

ทธศักราช 2383 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1840.

ใหม่!!: วงศ์ปลาหมอสีและพ.ศ. 2383 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2547

ทธศักราช 2547 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2004 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันพฤหัสบดีตามปฏิทินเกรกอเรียน เป็นปีอธิกมาส ปกติวาร ตามปฏิทินไทยจันทรคติ และกำหนดให้เป็น.

ใหม่!!: วงศ์ปลาหมอสีและพ.ศ. 2547 · ดูเพิ่มเติม »

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ หรือ การจำแนกชั้นทางชีววิทยา (Systematics) หมายถึงการจัดกลุ่มและหมวดหมู่สปีชีส์ของสิ่งมีชีวิต ทั้งที่มีอยู่ในปัจจุบันและที่สูญพันธุ์ไปแล้ว การจำแนกในยุคปัจจุบันอาศัยรากฐานจากระบบการจำแนกของ คาโรลัส ลินเนียส นักพฤกษศาสตร์ผู้จัดกลุ่มสปีชีส์ต่าง ๆ โดยดูจากลักษณะเฉพาะทางกายภาพ การจัดกลุ่มแบบนี้ได้มีการปรับปรุงอยู่เสมอเพื่อให้สอดคล้องกับหลักดาร์วิน ส่วนมากเป็นผลมาจากการศึกษาอนุกรมวิธานระดับโมเลกุลด้วยการวิเคราะห์จีโนม ในการแบ่งอย่างกว้างๆจะแบ่งได้ 2 ระดับ คือ ลำดับขั้นสูง และ ลำดับขั้นต่ำ.

ใหม่!!: วงศ์ปลาหมอสีและการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

การตั้งชื่อทวินาม

ระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแบบทวินาม (Binomial nomenclature) เป็นระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแต่ละสปีชีส์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ชื่อแต่ละชื่อในระบบนี้เรียกว่า ชื่อทวินาม (Binomial name) หรือ ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name) คือชื่อที่ใช้เรียกแทนสิ่งมีชีวิตในสปีชีส์ต่าง ๆ อย่างเป็นทางการ ชื่อทวินามจะเป็นภาษาละติน ประกอบด้วยคำศัพท์ 2 คำ คือ สกุล และ สปีชีส์ ซึ่งขึ้นอยู่กับสิ่งมีชีวิตที่ต้องการระบุ โดยรายละเอียดปลีกย่อยอาจแตกต่างกันออกไปบ้าง.

ใหม่!!: วงศ์ปลาหมอสีและการตั้งชื่อทวินาม · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาไทย

ษาไทย เป็นภาษาราชการของประเทศไทย ภาษาไทยเป็นภาษาในกลุ่มภาษาไท ซึ่งเป็นกลุ่มย่อยของตระกูลภาษาไท-กะได สันนิษฐานว่า ภาษาในตระกูลนี้มีถิ่นกำเนิดจากทางตอนใต้ของประเทศจีน และนักภาษาศาสตร์บางส่วนเสนอว่า ภาษาไทยน่าจะมีความเชื่อมโยงกับตระกูลภาษาออสโตร-เอเชียติก ตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน และตระกูลภาษาจีน-ทิเบต ภาษาไทยเป็นภาษาที่มีระดับเสียงของคำแน่นอนหรือวรรณยุกต์เช่นเดียวกับภาษาจีน และออกเสียงแยกคำต่อคำ.

ใหม่!!: วงศ์ปลาหมอสีและภาษาไทย · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ย่อยปลาพีค็อกแบส

วงศ์ย่อยปลาพีค็อกแบส (Peacock bass) เป็นวงศ์ย่อยของปลาน้ำจืดในวงศ์ปลาหมอสี (Cichlidae) ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cichlinae (/ซิค-ลิค-เน่/) เป็นปลากินเนื้อ ที่มีขนาดแตกต่างออกไปตั้งแต่ 1 เมตร จนถึงขนาดเพียงไม่กี่เซนติเมตร มีลำตัวเรียวยาว กรามแข็งแรง กระจายพันธุ์ในทวีปอเมริกาใต้ แบ่งออกเป็นสกุลต่าง ๆ ได้ 3 สกุล ดังนี้.

ใหม่!!: วงศ์ปลาหมอสีและวงศ์ย่อยปลาพีค็อกแบส · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ย่อยปลาหมอสี

วงศ์ย่อยปลาหมอสี เป็นวงศ์ย่อยของปลาน้ำจืดในวงศ์ปลาหมอสี (Cichlidae) ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cichlasomatinae ปลาที่ถูกจัดให้อยู่ในวงศ์ย่อยนี้ เป็นปลาที่พบแพร่กระจายพันธุ์ตั้งแต่รัฐเท็กซัส ในตอนใต้ของสหรัฐอเมริกา, หมู่เกาะแคริบเบียน, อเมริกากลาง จนถึงอเมริกาใต้ โดยแบ่งได้ทั้งหมด 37 สกุล.

ใหม่!!: วงศ์ปลาหมอสีและวงศ์ย่อยปลาหมอสี · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ย่อยปลาหมอสีแอฟริกา

วงศ์ย่อยปลาหมอสีแอฟริกา (African cichlid) เป็นวงศ์ย่อยของปลาน้ำจืดและปลาน้ำกร่อยกระดูกแข็งในวงศ์ Cichlidae หรือปลาหมอสี ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pseudocrenilabrinae เป็นปลาที่พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่ภูมิภาคตะวันออกกลางจนถึงแอฟริกากลาง สามารถแบ่งออกได้เป็นเผ่าต่าง ๆ หลายเผ่า และหลายสกุล โดยแหล่งที่พบที่ใหญ่ที่สุด คือ ทะเลสาบมาลาวี และทะเลสาบแทนกันยีกา รวมถึงทะเลสาบวิกตอเรีย ซึ่งเป็นปลาที่ใช้รับประทานเป็นอาหารในท้องถิ่น และส่งออกไปจำหน่ายเป็นปลาเศรษฐกิจทั่วโลก รวมถึงการเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย ซึ่งปลาในวงศ์นี้ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด คือ ปลาไจแอนท์แทนกันยีกา (Boulengerochromis microlepis) ที่มีความยาวได้ถึง 90 เซนติเมตร ก็อยู่รวมในวงศ์ย่อยนี้ด้วย ปลาที่อยู่ในวงศ์ย่อยนี้มีความหลากหลายมากมายทั้งสกุล และชนิด (คาดว่ามีประมาณ 1,900 ชนิด และ 400 ชนิด กินสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ และสาหร่ายหรือตะไคร่น้ำเป็นอาหาร) มีพฤติกรรมความเป็นอยู่แตกต่างกันออกไป หลายสกุล หลายชนิดวางไข่ไว้ในเปลือกหอยฝาเดียว บางชนิดก็แทะเล็มตะไคร่น้ำและสาหร่ายตามโขดหินเป็นอาหาร ด้วยฟันขนาดเล็ก ๆ แหลมคมหลายชุด ที่มีความแตกต่างกัน ซึ่งทำให้มีการกินอาหารแตกต่างกันไป เช่น กัด, ขูด, ดูด และกลืน บางชนิดก็ล่าปลาขนาดเล็กและปลาหมอสีด้วยกันเป็นอาหาร ด้วยการอยู่นิ่ง ๆ กับที่ หรือฝังตัวอยู่ใต้ทราย หรือแม้กระทั่งแกล้งทำเป็นตาย ด้วยการหยุดการทำงานของช่องเหงือกเพื่อหายใจ บางชนิดก็กินเกล็ดปลาอื่นเป็นอาหาร ขณะที่หลายชนิดมีพฤติกรรมฟักลูกปลาไว้ในปาก แต่ก็ต้องเลี้ยงลูกจำพวกอื่นไปด้วย เช่น ปลาหนังขนาดใหญ่บางชนิด โดยเฉพาะในวงศ์ปลากดคัดคู (Mochokidae) โดยที่ไม่รู้เลยว่านั่นไม่ใช่ลูกของตัว และลูกปลาหนังนั้นก็จะกินลูกปลาหมอสีขณะที่อยู่ในปากด้วยMutant Planet: African Rift Valley Lakes, "Mutant Planet".

ใหม่!!: วงศ์ปลาหมอสีและวงศ์ย่อยปลาหมอสีแอฟริกา · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ย่อยปลาหมอเอิร์ธอีเตอร์

วงศ์ย่อยปลาหมอเอิร์ธอีเตอร์ (Eath-eater) เป็นวงศ์ย่อยของวงศ์ปลาหมอสี (Cichilidae) ในอันดับปลากะพง (Perciformes) ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Geophaginae ปลาที่อยู่ในวงศ์ย่อยนี้ มีลักษณะโดยรวม คือ เป็นปลาที่กระจายพันธุ์ในทวีปอเมริกาใต้ มีส่วนหัวและปากที่โค้งงอลงด้านล่าง เพื่อใช้ปากสำหรับคุ้ยเขี่ยหาอาหารตามพื้นท้องน้ำ และรวมถึงปลาหมอแคระในหลายสกุลด้ว.

ใหม่!!: วงศ์ปลาหมอสีและวงศ์ย่อยปลาหมอเอิร์ธอีเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ย่อยปลาออสการ์

วงศ์ย่อยปลาออสการ์ เป็นวงศ์ย่อยของปลาน้ำจืดขนาดกลาง ค่อนไปทางใหญ่วงศ์ย่อยหนึ่ง ในวงศ์ปลาหมอสี (Cichlidae) ใช้ชื่อวงศ์ย่อยว่า Astronotinae เป็นปลากินเนื้อเป็นอาหาร พบกระจายพันธุ์ในทวีปอเมริกาใต้ เป็นปลาที่ชนพื้นเมืองใช้รับประทานเป็นอาหาร.

ใหม่!!: วงศ์ปลาหมอสีและวงศ์ย่อยปลาออสการ์ · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาบู่

วงศ์ปลาบู่ (Goby) เป็นวงศ์ปลาที่มีจำนวนชนิดมากที่สุดในโลก พบอาศัยอยู่ทั้งในทะเลลึกกว่า 60 เมตร จนถึงลำธารบนภูเขาสูงกว่า 1,000 เมตร พบทั่วโลกในเขตร้อนและเขตอบอุ่นมากกว่า 1,950 ชนิด และพบในประเทศไทยมากกว่า 30 ชนิด ใช้ชื่อวงศ์ว่า Gobiidae (/โก-บิ-ดี้/) มีลักษณะแตกต่างจากปลาอื่น คือ มีลำตัวยาวทรงกระบอก มีส่วนหัวและจะงอยปากมน มีเส้นข้างลำตัวและแถวของเส้นประสาทอยู่บนหัวหลายแถว ครีบหลังแยกเป็น 2 ตอนชัดเจน ครีบหางกลมมน ครีบก้นยาว ครีบอกใหญ่ ครีบท้องส่วนมากจะแยกออกจากกัน แต่ก็มีในบางชนิดที่เชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย เกล็ดมีทั้งขนาดเล็กและใหญ่ เป็นปลากินเนื้อ กินแมลง, สัตว์น้ำขนาดเล็ก และปลาอื่นเป็นอาหาร วางไข่โดยตัวผู้และตัวเมียช่วยกันดูแล ไข่มีรูปร่างคล้ายผลองุ่นติดกับวัสุดเป็นแพ เมื่อฟักเป็นตัวจะปล่อยให้หากินเอง ส่วนมากมีขนาดเล็กยาวไม่เกิน 20 เซนติเมตร มักอาศัยอยู่ในทะเลและน้ำกร่อย พบในน้ำจืดเพียงไม่กี่ชนิด เป็นปลาเศรษฐกิจที่สำคัญ นิยมบริโภคด้วยการปรุงสด โดยเฉพาะเมนูอาหารจีน เป็นปลาที่มีรสชาติอร่อย ราคาแพง รวมทั้งมีสรรพคุณในการปรุงยา ในปลาชนิดที่มีขนาดเล็กและสีสันสวยงาม นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม.

ใหม่!!: วงศ์ปลาหมอสีและวงศ์ปลาบู่ · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาตะเพียน

วงศ์ปลาตะเพียน (ชื่อวิทยาศาสตร์: Cyprinidae, barb, carp, minnow, goldfish) โดยคำว่า Cyprinidae มาจากคำว่า kyprînos ในภาษากรีกโบราณ (κυπρῖνος แปลว่า "ปลาทอง") ประกอบด้วยปลาจำพวกปลาไน, ปลาตะเพียน, ปลาทอง และปลาซิว ถือเป็นวงศ์ที่ใหญ่ที่สุดในปลาน้ำจืด ประกอบไปด้วยชนิด มากกว่า 2,000 ชนิดใน 200 สกุล แบ่งออกได้เป็นหลายวงศ์ย่อย โดยจัดอยู่ในอันดับ Cypriniformes เป็นวงศ์ที่มีชนิดและจำนวนปลามากที่สุดในปลาน้ำจืดของไทย และมีความหลากหลายเป็นอันดับสามของโลก ปัจจุบันพบแล้วอย่างน้อย 204 ชน.

ใหม่!!: วงศ์ปลาหมอสีและวงศ์ปลาตะเพียน · ดูเพิ่มเติม »

สกุล

กุล อาจหมายถึง.

ใหม่!!: วงศ์ปลาหมอสีและสกุล · ดูเพิ่มเติม »

สกุล (ชีววิทยา)

ในทางชีววิทยา สกุล (อังกฤษ genus) เป็นการจัดกลุ่มเอาสิ่งมีชีวิตสปีชีส์ที่มีลักษณะใกล้เคียงเข้ามารวมกัน ในการตั้งชื่อแบบทวินาม ชื่อสิ่งมีชีวิตประกอบขึ้นจากสองส่วน คือ สกุล ซึ่งต้องขึ้นต้นด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ และ สปีชีส์ ตัวอย่างหนึ่งคือ Homo sapiens เป็นชื่อเรียกมนุษย์ อยู่ในสกุล Homo ชื่อสกุลในอาณาจักรหนึ่งสามารถซ้ำกับชื่อสกุลหรือชื่อในอนุกรมวิธานของอาณาจักรอื่นได้ ตัวอย่างเช่น Anura เป็นชื่อสกุลของพืชในวงศ์ และเป็นชื่ออันดับของกบ Aotus เป็นชื่อสกุลของถั่วและลิง เป็นต้น แต่ชื่อสกุลในอาณาจักรหนึ่ง ๆ ต้องห้ามซ้ำกัน หมวดหมู่:ชีววิทยา หมวดหมู่:การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์.

ใหม่!!: วงศ์ปลาหมอสีและสกุล (ชีววิทยา) · ดูเพิ่มเติม »

สกุลเพลวิคาโครมิส

กุลเพลวิคาโครมิส เป็นสกุลปลาน้ำจืดสกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Pelvicachromis อยู่ในวงศ์ปลาหมอสี (Cichlidae) เป็นปลาขนาดเล็ก จัดเป็นปลาหมอแคระอีกสกุลหนึ่ง มีถิ่นกำเนิดในแอฟริกากลางและแอฟริกาตะวันตก ตั้งแต่แม่น้ำในประเทศไนจีเรียจนถึงทิศตะวันออกของประเทศแคเมอรูน มีขนาดความยาวลำตัวไม่เกิน 10 เซนติเมตร ตัวผู้มีขนาดใหญ่และลำตัวยาวกว่าตัวเมีย ขณะที่ตัวเมียมีขนาดเล็กกว่าและท้องอูมป้อมกลม จุดเด่นของปลาในสกุลนี้คือ ตัวเมียจะมีสีสันที่สวยกว่าตัวผู้ โดยเฉพาะในช่วงฤดูผสมพันธุ์ ช่วงท้องของปลาตัวเมียจะเป็นสีชมพูอมม่วง ปลาสกุลเพลวิคาโครมิสนี้มีพฤติกรรมคล้ายกับปลาสกุลอพิสโตแกรมมา โดยอาศัยอยู่ในน้ำที่มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างประมาณ 5.8-6.5 (pH) มีพฤติกรรมการวางไข่ในถ้ำที่ตีลังกาเช่นเดียวกัน สามารถวางไข่ได้ถึง 300-500 ฟอง โดยปกติแล้ว ปลาตัวเมียจะเป็นผู้ดูแลไข่ แต่บางครั้งตัวผู้อาจจะเข้ามาช่วยดูแลด้วยได้.

ใหม่!!: วงศ์ปลาหมอสีและสกุลเพลวิคาโครมิส · ดูเพิ่มเติม »

สมโภชน์ อัคคะทวีวัฒน์

มโภชน์ อัคคะทวีวัฒน์ เกิดเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2486 ที่จังหวัดนครปฐม จบการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนประชาบาลวัดสรรเพชญ (ทวีวิทยาคม) จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จากโรงเรียนวัดไร่ขิงวิทยา มัธยมศึกษาปีที่ 6 จากโรงเรียนอำนวยศิลป์ และโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพญาไท ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 8 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจากคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อปี พ.ศ. 2511 เริ่มรับราชการที่กรมประมงตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม..

ใหม่!!: วงศ์ปลาหมอสีและสมโภชน์ อัคคะทวีวัฒน์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: วงศ์ปลาหมอสีและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ใหม่!!: วงศ์ปลาหมอสีและสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

สปีชีส์

ในวิชาชีววิทยา ชนิด หรือทับศัพท์ว่า สปีชีส์ (species, ย่อ: sp., รูปพหูพจน์ย่อ: spp.) เป็นหน่วยการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานและอันดับอนุกรมวิธานหนึ่ง มักนิยามว่า สปีชีส์เป็นกลุ่มอินทรีย์ใหญ่สุดที่สามารถสืบพันธุ์แล้วออกลูกที่สืบพันธุ์ได้ การมีลักษณะปรับตัวเฉพาะบางท้องถิ่นอาจแบ่งสปีชีส์ต่ออีกได้เป็น "ชื่อต่ำกว่าระดับชนิด" (infraspecific taxa) เช่น ชนิดย่อย (ในทางพฤกษศาสตร์ มีใช้คำอื่น เช่น พันธุ์ (variety) พันธุ์ย่อยและแบบ (forma)).

ใหม่!!: วงศ์ปลาหมอสีและสปีชีส์ · ดูเพิ่มเติม »

อันดับย่อยปลานกขุนทอง

อันดับย่อยปลานกขุนทอง (Wrasse, Cichlid, Parrotfish, Damsel) เป็นอันดับย่อยของปลาทะเลกระดูกแข็ง ในอันดับปลากะพง (Perciformes) ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Labroidei เป็นปลาที่มีลักษณะร่วมกัน คือ มีริมฝีปากหนา พบได้ทั้งน้ำจืด, น้ำกร่อย และทะเล ซึ่งปลาในอันดับย่อยนี้ ที่เป็นที่รู้จักดี คือ ปลานกขุนทอง, ปลานกแก้ว, ปลาสลิดหิน, ปลาการ์ตูน และปลาหมอสี.

ใหม่!!: วงศ์ปลาหมอสีและอันดับย่อยปลานกขุนทอง · ดูเพิ่มเติม »

อันดับปลากะพง

อันดับปลากะพง (อันดับ: Perciformes; Bass, Snapper, Perch, Jack, Grunter) เป็นการจำแนกอันดับของปลาจำพวกหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Perciformes (/เพอร์-ซิ-ฟอร์-เมส/) ซึ่งเป็นปลากระดูกแข็ง คิดเป็นร้อยละ 40 ของปลากระดูกแข็งทั้งหมด ลักษณะเด่นของปลาในอันดับนี้คือ เป็นปลากินเนื้อ เกล็ดมีลักษณะสากขอบเป็นหยักแข็ง ปากยาวมีลักษณะยืดหดได้ มีก้านครีบแข็ง หรือ Spine ที่ครีบหลังตอนหน้า พบได้ทั้ง น้ำจืด, น้ำกร่อย และทะเล สำหรับวงศ์ปลาที่อยู่ในอันดับนี้มีอยู่มากมายถึง 156 วงศ์ (ดูในเนื้อหา) โดยสามารถแบ่งได้เป็นอันดับย่อยลงไปอีก (ดูในตาราง).

ใหม่!!: วงศ์ปลาหมอสีและอันดับปลากะพง · ดูเพิ่มเติม »

อเมริกากลาง

แผนที่อเมริกากลาง อเมริกากลาง (Central America) เป็นภูมิภาคย่อยที่หมายถึงกลุ่มประเทศที่อยู่ทางตอนใต้ของทวีปอเมริกาเหนือ ซึ่งตามความหมายส่วนใหญ่แล้วจะนับจาก ทางใต้ของ อ่าวเม็กซิโก ไปถึงพรมแดนระหว่างปานามากับโคลัมเบีย (หรือประเทศต่าง ๆ ระหว่างเม็กซิโกกับโคลัมเบีย) ได้แก.

ใหม่!!: วงศ์ปลาหมอสีและอเมริกากลาง · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปอเมริกาใต้

แผนที่ดาวเทียมแสดงส่วนประกอบทางภูมิศาสตร์ของทวีปอเมริกาใต้ แผนที่ทวีปอเมริกาใต้ ทวีปอเมริกาใต้ เป็นทวีปที่เส้นศูนย์สูตรโลกพาดผ่าน พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในซีกโลกใต้ ขนาบข้างด้วยมหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรแอตแลนติก ในทางภูมิศาสตร์ ทวีปอเมริกาใต้เพิ่งจะเคลื่อนมาบรรจบกับทวีปอเมริกาเหนือเมื่อไม่นานมานี้ ทำให้เกิดคอคอดปานามา เทือกเขาแอนดีสที่มีอายุน้อยและไม่หยุดนิ่งพาดผ่านเขตด้านตะวันตกของทวีป ดินแดนทางตะวันออกของเทือกเขาแอนดีส คือ แอ่งแม่น้ำแอมะซอน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเขตป่าดิบชื้น ทวีปอเมริกาใต้มีพื้นที่กว้างใหญ่เป็นอันดับ 4 รองจากเอเชีย แอฟริกา และอเมริกาเหนือตามลำดับ ส่วนจำนวนประชากรเป็นอันดับ 5 รองจากเอเชีย แอฟริกา ยุโรป และอเมริกาเหนือ.

ใหม่!!: วงศ์ปลาหมอสีและทวีปอเมริกาใต้ · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปแอฟริกา

แผนที่ดาวเทียมแสดงส่วนประกอบทางภูมิศาสตร์ของทวีปแอฟริกา ภาพถ่ายทวีปแอฟริกาจากนอกโลก แอฟริกา (Africa) เป็นทวีปที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากทวีปเอเชีย ทั้งในแง่ของพื้นที่และจำนวนประชากร ด้วยพื้นที่ประมาณ 30.2 ล้านตารางกิโลเมตร (11.7 ล้านตารางไมล์) รวมทั้งเกาะต่าง ๆ ที่อยู่ข้างเคียง ทวีปแอฟริกามีพื้นที่ประมาณร้อยละ 6 ของพื้นผิวโลกทั้งหมด และนับเป็นพื้นที่ประมาณร้อยละ 20.4 ของพื้นดินทั้งหมดSayre, April Pulley.

ใหม่!!: วงศ์ปลาหมอสีและทวีปแอฟริกา · ดูเพิ่มเติม »

ปลาพีค็อกแบส

ปลาพีค็อกแบส (Peacock bass, Eyetail cichlids) เป็นสกุลของปลาน้ำจืดขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่ ในวงศ์ปลาหมอสี (Cichlidae) โดยชื่อสามัญที่ว่า "Peacock bass" ที่หมายถึง "ปลากะพงนกยูง" นั้นมาจากลักษณะของลวดลายตามลำตัวและโคนครีบหางที่เป็นจุดสีทึบขนาดใหญ่คล้ายกับรำแพนหางของนกยูง โดยเฉพาะโคนครีบหางทั้ง 2 ข้าง ใช้ชื่อสกุลว่า Cichla (/ซิค-คลา/) ซึ่งมาจากภาษากรีก (Kichle) หมายถึง "ปลาทะเลที่มีฟันแหลมและสีสวยแถบทะเลเขตร้อน" มีลักษณะลำตัวทั่วไป มีส่วนหัวขนาดใหญ่ ริมฝีปากหนา ลำตัวยาว พื้นลำตัวเป็นสีเขียวอมส้ม เป็นปลาที่ดวงตาขนาดใหญ่ และสายตาดี มีพละกำลังมากมาย เป็นปลากินเนื้อที่มีขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่ โดยชนิดที่ใหญ่ที่สุด อาจยาวได้ถึง 30 นิ้ว จัดเป็นปลากินเนื้อน้ำจืดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดจำพวกหนึ่งที่พบได้ในทวีปอเมริกาใต้ ขณะที่ยังเป็นลูกปลาวัยอ่อนอยู่ จะมีสีอ่อนกว่าปลาที่เต็มวัย และมีแถบสีดำขนานกับลำตัวของตั้งแต่แก้มไปจนถึงหาง เมื่อโต แถบดังกล่าวจะหายไป กระจายพันธุ์ในแม่น้ำสายหลักต่าง ๆ ในทวีปอเมริกาใต้ เช่น แม่น้ำโอรีโนโก และแม่น้ำอเมซอน เป็นต้น เดิมได้มีการจำแนกออกเป็นชนิดต่าง ๆ ได้ 5 ชนิด โดยใช้เกณฑ์พิจารณาจากลวดลายและโครงสร้างของร่างกาย ได้แก.

ใหม่!!: วงศ์ปลาหมอสีและปลาพีค็อกแบส · ดูเพิ่มเติม »

ปลาสวยงาม

ตู้ ปลาสวยงาม หรือ ปลาตู้ (Ornamental fish) คือ ปลาที่มนุษย์เลี้ยงไว้เป็นสัตว์เลี้ยงเพื่อความเพลิดเพลินหรือเพื่อความสวยงาม ไม่ใช่เพื่อการบริโภค หรือสัตว์น้ำจำพวกอื่น ที่ไม่ใช่ปลาแต่มีการนำมาเลี้ยงเพื้อการเดียวกัน เช่น เครย์ฟิช นิยมเลี้ยงไว้ในสถานที่ต่าง ๆ ในบ้านพักอาศัย อาทิ ตู้ปลา, บ่อ หรือสระ ถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของการประมง ความเป็นอยู่ของปลามีความแตกต่างจากสัตว์บกหรือสัตว์เลือดอุ่นค่อนข้างมาก การเลี้ยงสัตว์บกสามารถปรับปรุงคอกเลี้ยง ทำให้สามารถทำความสะอาดกำจัดเศษอาหาร และมูลสัตว์ออกจากคอกได้อย่างง่ายดาย แต่ปลามีน้ำเป็นบ้านอย่างถาวรและจำเป็นต้องอยู่ร่วมกับสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ อีกหลายชนิด คุณภาพน้ำอาจเปลี่ยนแปลงได้ทั้งสาเหตุจากสภาพแวดล้อมและจากตัวปลาเอง เพราะปลาก็มีการขับถ่ายอยู่ตลอดเวลา แต่ในแหล่งน้ำธรรมชาติจะเกิดการปรับปรุงหรือปรับสภาพให้น้ำมีคุณสมบัติที่เหมาะสม โดยขบวนการต่าง ๆ จากสิ่งมีชีวิตหลายชนิด เพื่อให้สิ่งมีชีวิตทั้งหลายในน้ำอยู่ร่วมกันได้อย่างสมดุล.

ใหม่!!: วงศ์ปลาหมอสีและปลาสวยงาม · ดูเพิ่มเติม »

ปลาหมอฟรอนโตซ่า

ปลาหมอฟรอนโตซ่า มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cyphotilapia frontosa อยู่ในวงศ์ปลาหมอสี (Cichlidae) มีรูปร่างแบนข้าง ริมฝีปากหนา ลำตัวสีขาวคาดด้วยแถบสีดำเป็นปล้อง ๆ ตลอดลำตัว ครีบต่าง ๆ ปลายครีบยาวแหลมโดยเฉพาะตัวผู้ เมื่อโตขึ้นหัวของตัวผู้จะโหนกนูนเห็นได้ชัดเจน มีความยาวเต็มที่ราว 30 เซนติเมตร มักอาศัยอยู่รวมเป็นฝูง อาศัยอยู่ในบริเวณน้ำลึก มีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกาบริเวณแอฟริกาตอนกลางและแอฟริกาตะวันออก โดยเฉพาะในทะเลสาบแทนกันยีกา อาหารหลักได้แก่ ลูกปลาขนาดเล็กกว่า ปลาหมอฟรอนโตซ่าจัดเป็นปลาที่มีความสวยงามมากชนิดหนึ่งในวงศ์ปลาหมอสี จึงนิยมเลี้ยงเป็นปลาตู้สวยงามมาช้านาน จนอาจกล่าวได้ว่า เป็น "ราชาของปลาหมอสี" เช่นเดียวกับปลาปอมปาดัวร์ที่ถูกจัดเป็น "ราชินีแห่งปลาตู้" ในแวดวงปลาสวยงามจะจำแนกปลาหมอฟรอนโตซ่าเป็นสายพันธุ์ย่อยต่าง ๆ โดยแบ่งตามเกณฑ์ที่พบในแหล่งน้ำหรือภูมิภาคต่าง ๆ ซึ่งสามารถแบ่งได้นับ 10 สายพันธุ์ แต่ไม่จัดว่าเป็นการแบ่งตามหลักอนุกรมวิธาน ปลาหมอฟรอนโตซ่าจะเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ได้เมื่อถึงอายุ 3-4 ปี โดยตัวเมียจะมีพฤติกรรมอมไข่หลังจากไข่ได้รับการปฏิสนธิแล้ว ใช้เวลาฟักเป็นตัวราว 4 สัปดาห์ จัดเป็นปลาอีกชนิดหนึ่งที่มีอายุยาวนาน โดยสามารถมีอายุยาวได้ถึง 25 ปี.

ใหม่!!: วงศ์ปลาหมอสีและปลาหมอฟรอนโตซ่า · ดูเพิ่มเติม »

ปลาหมอฟรอนโตซ่า (สกุล)

ปลาหมอฟรอนโตซ่า (Frontosa cichilds, Humphead cichlids) เป็นสกุลของปลาน้ำจืดในวงศ์ปลาหมอสี (Cichlidae) สกุลหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cyphotilapia เป็นปลาหมอสีที่พบอาศัยอยู่ในทะเลสาบแทนกันยีกาในทวีปแอฟริกาเท่านั้น โดยกระจายพันธุ์ไปทั่วทะเลสาบ ในความลึกตั้งแต่ 10-50 เมตร ซึ่งตามแนวความลึกนั้นจะมีภูมิประเทศและสภาพแวดล้อมที่ต่างกัน เป็นปลาที่มีขนาดโตเต็มที่ได้ราว 14 นิ้ว มีอายุยืนยาวถึง 25 ปี ลำตัวมีแถบสีดำ 6 แถบ หรือ 7 แถบ (ในบางสายพันธุ์) ซึ่งจะแตกต่างกันไปตามแหล่งอาศัย บ้างก็เป็นขีดเส้นตัดตรงพาดจากหน้าผากผ่านมาที่แก้ม บ้างก็มีลักษณะเป็นหน้ากากสามเหลี่ยมครอบบริเวณดวงตา บ้างก็เป็นปื้นสีดำเหมือนเคราของมนุษย์ เป็นต้น เป็นปลาที่กินเนื้อเป็นอาหาร นิยมอยู่รวมกันเป็นฝูง ล่าปลาและสัตว์น้ำขนาดเล็กเป็นอาหาร รวมทั้งสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังตามพื้นน้ำด้วย มีพฤติกรรมเมื่อว่ายน้ำจะกางครีบ ทำตัวอยู่นิ่ง ๆ ในแนวหินในระดับความลึกตั้งแต่ 10 เมตรลงไป โดยมักไม่ค่อยเคลื่อนไหวเพื่อเป็นการออมการเผาผลาญพลังงาน ซึ่งในบางครั้งทำให้สามารถอดอาหารได้เป็นเดือน แต่เมื่อเวลากินหรือล่าเหยื่อนั้นจะว่องไวมาก มีตัวผู้ตัวใหญ่สุดเป็นจ่าฝูง ซึ่งในฝูงจะประกอบด้วยปลาตัวเมีย และปลาตัวผู้ที่เล็กกว่าตัวอื่น ปลาที่เป็นจ่าฝูงมักจะขับสีตัวเองให้เป็นสีเข้มเหมือนสีดำเพื่อเป็นการข่มปลาตัวอื่น เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุได้ 4 ปี โดยปลาตัวผู้จะเป็นฝ่ายต้อนปลาตัวเมียมายังรังที่สร้างไว้เพื่อวางไข่ พร้อมกับขับไล่ปลาตัวอื่น ไม่ให้เข้าใกล้ เมื่อตัวเมียวางไข่จะอมไข่ไว้ในปาก ปลาตัวผู้จะฉีดน้ำเชื้อ เพื่อให้ตัวเมียเก็บน้ำเชื้อเข้าปากเพื่อปฏิสนธิ และหลังจากนั้นปลาตัวเมียจะไม่กินอาหารเลย เป็นระยะเวลาราว 21 วัน ซึ่งปลาจะฟักเป็นตัว จึงคายลูกปลาออกมา ได้รับความนิยมอย่างมากในแง่ของการเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม โดยแบ่งเป็นสายพันธุ์ต่าง ๆ ซึ่งไม่ใช่เป็นหลักในการอนุกรมวิธาน โดยเรียกชื่อกันตามลักษณะภายนอกของปลาและถิ่นที่อยู่อาศัยตามพื้นที่ต่าง ๆ ของทะเลสาบ แต่โดยหลักของการอนุกรมวิธานแล้ว จะแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ.

ใหม่!!: วงศ์ปลาหมอสีและปลาหมอฟรอนโตซ่า (สกุล) · ดูเพิ่มเติม »

ปลาหมอฟลามิงโก้

ปลาหมอฟลามิงโก้ หรือ ปลาหมอไมดาส (Red devil cichild, Midas cichlid) เป็นปลาชนิดหนึ่งในวงศ์ปลาหมอสี (Cichlidae) พบกระจายพันธุ์ในทวีปอเมริกาใต้ จัดเป็นปลาหมอสีที่มีรูปร่างใหญ่ เมื่อโตเต็มที่จะยาวได้ 25-30 เซนติเมตร มีลักษณะลำตัวค่อนข้างแบนกว้าง ส่วนหัวจะมีโหนกนูนอย่างเห็นได้ชัดเจนเมื่อโตเต็มที่ ริมฝีปากหนา ตาสีดำ ครีบอกแผ่กว้างปลายมนเล็กน้อย ครีบกระโดงหลังจะเรียวยาวแผ่กว้างไปทางด้านหลัง ครีบท้อง 2 อันเท่ากัน ขณะที่ครีบทวารจะแผ่กว้างคล้ายครีบกระโดงแต่ไม่ยาวมาก ครีบหางแผ่กว้างปลายมนเล็กน้อย ลำตัวมีสีหลากหลายทั้งสีส้ม, เหลือง, ขาว ปนอยู่ โดยมีแถบสีดำแซม ขึ้นอยู่กับที่การเปลี่ยนสี หรือ "การลอก" ในภาษาเฉพาะของวงการปลาสวยงามว่าจะออกมาเป็นอย่างไร ซึ่งปลาที่มีสีส้มหรือแดง นิยมเรียกว่า ปลาหมอเรดเดวิล หรือ ปลาหมอเรดอเมริกา ปลาหมอฟลามิงโก้เป็นปลาที่มีนิสัยก้าวร้าว หวงอาณาเขตเป็นปลาที่อยู่ตามลำพังเพียงตัวเดียว ชอบขุดคุ้ยซอกหิน ซอกไม้ ในการหลบซ่อนตัว โดยเฉพาะปลาตัวผู้ที่มีโหนกใหญ่บนหัวจะก้าวร้าวมาก ปลาหมอฟลามิงโก้ นั้นสามารถเพาะขยายพันธุ์ได้ในตู้เลี้ยงตั้งแต่ขนาด 24 นิ้วขึ้นไป โดยวางไข่ติดไว้กับพื้นหรือหิน ตัวเมียเมื่อมีความสมบูรณ์เต็มที่จะออกไข่ได้ครั้งละ 400-800 ฟอง ลักษณะไข่มีสีเหลืองนวล ไข่ใช้เวลา 3 วัน ในการฟักเป็นตัว แยกเพศโดยการสังเกตที่ส่วนท้อง ช่องเพศของตัวเมียจะมีลักษณะกลมใหญ่กว่า ขณะที่ตัวผู้จะยาวแหลมยื่นออกมา และมีลำตัวและส่วนหัวใหญ่กว่าตัวเมียอย่างเห็นได้ชัด ปลาหมอฟลามิงโก้ ถือเป็นปลาชนิดที่เป็นต้นแบบของปลาหมอลูกผสม หรือที่เรียกกันว่า ครอสบรีด เช่น ปลาหมอฟลาวเวอร์ฮอร์น เป็นต้น.

ใหม่!!: วงศ์ปลาหมอสีและปลาหมอฟลามิงโก้ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาหมอริวูเลตัส

ปลาหมอริวูเลตัส (Green terror) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาหมอสี (Cichlidae) มีลักษณะเด่น คือ มีลวดลายสีฟ้าสะท้อนแสงที่หน้า เมื่อปลาโตเต็มที่ลวดลายดังกล่าวจะยิ่งแตกเป็นลายพร้อยมากขึ้น รวมถึงบริเวณริมฝีปากด้วย ขอบครีบหลังและครีบก้นมีขลิบสีแดงพาดยาวไปจนถึงความยาวสุดของครีบหลัง บริเวณลำตัวมีลายเหมือนตาข่ายและมีจุดสีดำขนาดใหญ่ที่กลางลำตัว ในบางตัวอาจจะเป็นลายยาว และบริเวณแผ่นปิดเหงือกจะมีแถบสีดำยาวตั้งแต่ตาไปจนถึงแก้ม แต่สีดังกล่าวจะซีดลงได้เมื่อปลาตกใจหรืออยู่ในภาวะเครียด ปลาหมอริวูเลตัส มีความยาวเมื่อโตเต็มที่ราว 25-30 เซนติเมตร โดยเฉพาะในปลาตัวผู้จะมีสีสันและลำตัวขนาดใหญ่กว่าตัวเมียมาก และมีส่วนหัวที่โหนก ขณะที่ตัวเมียมีความยาวได้แค่ครึ่งของตัวผู้ คือ ราว ๆ 12 เซนติเมตร และไม่มีโหนกที่ส่วนหัว แพร่กระจายพันธุ์ในแหล่งน้ำต่าง ๆ บริเวณภาคตะวันตกของประเทศเอกวาดอร์ และทางตอนเหนือของเปรู ซึ่งปลาหมอริวูเลตัสในแต่ละแหล่งอาจมีสีและลักษณะต่าง ๆ แตกต่างกันได้ตามภูมิประเทศที่อาศัย เป็นปลาที่นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม เป็นปลาที่มีอุปนิสัยไม่ดุร้ายก้าวร้าวมากนักเมื่อเทียบกับปลาหมอสีชนิดอื่น สามารถเพาะขยายพันธุ์ได้ในตู้เลี้ยง เมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์ ปลาตัวผู้จะมีสีสันและลวดลายต่าง ๆ สวยกว่าปกติ ช่องเพศจะขยายใหญ่ขึ้น รวมถึงปลาตัวเมียก็จะมีสีเข้มขึ้น และจะมีอุปนิสัยดุร้ายก้าวร้าวมากขึ้น โดยตัวเมียจะเป็นฝ่ายขุดหลุมและวางไข่ ซึ่งบางครั้งอาจวางไข่ติดกับวัสดุต่าง ๆ ใต้น้ำ จากนั้นตัวผู้จะเข้าไปฉีดน้ำเชื้อปฏิสนธิ และทั้งคู่จะช่วยกันดูแลไข่ ตัวเมียจะวางไข่ได้ครั้งละ 200-300 ฟอง ลูกปลาจะฟักเป็นตัวในวันที่ 3 และวันที่ 4 ก็จะเริ่มว่ายน้ำได้.

ใหม่!!: วงศ์ปลาหมอสีและปลาหมอริวูเลตัส · ดูเพิ่มเติม »

ปลาหมอลายเมฆ

ปลาหมอลายเมฆ หรือ ปลาหมอนิมโบโครมิส (Sleeper cichlid) เป็นปลาน้ำจืดในสกุล Nimbochromis (/นิม-โบ-โคร-มิส/) ในวงศ์ปลาหมอสี (Cichlidae) จัดเป็นปลาหมอสีที่พบได้เฉพาะในทะเลสาบมาลาวี รวมถึงแหล่งน้ำอื่นใกล้เคียงเท่านั้น ปลาหมอลายเมฆ มีลักษณะเฉพาะ คือ ตามลำตัวมีลวดลายที่ดูแปลก เป็นจ้ำ ๆ มีสีน้ำตาลอยู่บนพื้นสีเหลือง ดูคล้ายกากบาทหรือตัวอักษร X หรือลายพรางของทหาร สีบริเวณส่วนหัวเป็นสีน้ำเงิน มีขนาดประมาณ 25-30 เซนติเมตร โดยที่คำว่า Nimbochromis ที่ใช้เป็นชื่อสกุลนั้นมาจากภาษาละติน 2 คำ คือ Nimbo ที่หมายถึง "เมฆในฤดูฝน" และ chromis ที่หมายถึง "ปลาหมอสี" อันหมายถึง ลวดลายบนตัวปล.

ใหม่!!: วงศ์ปลาหมอสีและปลาหมอลายเมฆ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาหมอออสเซลาริส

ปลาหมอออสเซลาริส (Peacock cichlid, Butterfly peacock bass) ปลาน้ำจืดขนาดกลางค่อนไปทางใหญ่ชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาหมอสี (Cichlidae) มีรูปร่างยาวปานกลาง ลำตัวแบนข้างเหมือนปลากะพง ริมฝีปากหนา มีกรามแข็งแรง ดวงตากลมโต เมื่อขนาดโตเต็มที่แล้วจะมีโหนกขึ้นบริเวณส่วนหัวด้านบน พื้นลำตัวมีสีเหลืองเขียวอมส้ม มีลักษณะเด่น คือ มีแถบสีดำที่ลำตัวและโคนหาง และมีจุดสีดำเหนือแผ่นปิดเหงือก และที่บริเวณครีบอก มีขนาดโตเต็มที่ยาวได้ถึง 75 เซนติเมตร กระจายพันธุ์ในแหล่งน้ำขนาดใหญ่ในหลายประเทศในทวีปอเมริกาใต้ เป็นปลาที่กินปลาขนาดเล็ก และสัตว์น้ำต่าง ๆ เป็นอาหาร รวมถึงแมลงด้วย เป็นปลาที่นิยมตกกันเป็นเกมกีฬา ใช้บริโภคเป็นปลาเศรษฐกิจในท้องถิ่น และนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม ซึ่งปัจจุบันได้เพาะขยายพันธุ์ได้เป็นที่สำเร็จแล้ว จนกลายเป็นปัญหาทางสิ่งแวดล้อมในเรื่องชนิดพันธุ์ต่างถิ่นเช่น สหรัฐอเมริกา, ญี่ปุ่น, สิงคโปร์, มาเลเซีย และประเทศไทย ซึ่งปลาสามารถที่จะปรับตัวและแพร่ขยายพันธุ์ได้เองในธรรมชาติ โดยตัวเมียสามารถวางไข่ได้ครั้งละ 5,000 ถึง 15,000 ฟอง.

ใหม่!!: วงศ์ปลาหมอสีและปลาหมอออสเซลาริส · ดูเพิ่มเติม »

ปลาหมอคอนวิค

ปลาหมอคอนวิค หรือ ปลาหมอม้าลาย (Convict cichlid, Zebra cichlid) เป็นปลาน้ำจืดในวงศ์ปลาหมอสี (Cichlidae) ชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Amatitlania nigrofasciata มีถิ่นกำเนิดในอเมริกากลาง จัดเป็นปลาหมอสีขนาดเล็ก มีขนาดความยาวเต็มที่ไม่เกิน 6 นิ้ว ตัวผู้และตัวเมียสามารถแยกได้อย่างชัดเจน โดยตัวผู้จะมีลายสลับขาวดำ 8-9 ปล้อง หัวโหนก ครีบแหลมยาว และมีลำตัวใหญ่กว่าตัวเมีย ในขณะที่ตัวเมียครีบก้นมีสีเหลือบเขียว ส่วนท้องมีสีส้ม และขนาดเล็กกว่าตัวผู้ นอกจากนี้ยังมีปลาที่มนุษย์คัดสายพันธุ์จนเป็นสีขาวจากการขาดเมลานิน ซึ่งพบเห็นเป็นปลาสวยงามได้ทั่วไปเช่นเดียวกับปลาสีดั้งเดิม ปลาหมอคอนวิค เป็นปลาหมอสีชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม ถึงแม้จะเป็นปลาหวงถิ่นที่ก้าวร้าว แต่ก็มีขนาดเล็กและเลี้ยงง่ายมีความทนทาน สามารถเพาะขยายพันธุ์ในที่เลี้ยงได้ โดยปลาจะสามารถแพร่พันธุ์ได้ตั้งแต่มีความยาว 1.5 นิ้ว ปลาในที่เลี้ยงที่จับคู่กันแล้ว มักวางไข่ในภาชนะดินเผา โดยปลาทั้งตัวผู้และตัวเมียจะช่วยกันดูแลไข่และลูกอ่อน.

ใหม่!!: วงศ์ปลาหมอสีและปลาหมอคอนวิค · ดูเพิ่มเติม »

ปลาหมอซินสไปลุ่ม

ปลาหมอซินสไปลุ่ม (Quetzel cichlid, Redhead cichlid, Firehead cichlid) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาหมอสี (Cichlidae) มีถิ่นกำเนิดเดิมที่ภูมิภาคอเมริกากลาง มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 30 เซนติเมตร ปลาตัวผู้เมื่อโตเต็มวัย มีโหนกใหญ่บนหัวและมีสีสันสวยงาม มีสีแดงเข้มบริเวณส่วนหัว และมีปื้นสีดำยาว 3 แถบที่ลำตัว ปลาหมอซินสไปลุ่มมักถูกนำมาผสมพันธุ์กับปลาหมอสีชนิดอื่น ๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งปลาชนิดผสมที่มีลักษณะสวยงาม เช่น ปลาหมอนกแก้ว และ ปลาหมอฟลาวเวอร์ฮอร์น เป็นต้น.

ใหม่!!: วงศ์ปลาหมอสีและปลาหมอซินสไปลุ่ม · ดูเพิ่มเติม »

ปลาหมอนกแก้ว

ฝูงปลาหมอนกแก้ว จัดแสดงที่ ศูนย์แสดงพันธุ์สัตว์น้ำบึงฉวากเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสุพรรณบุรี ปลาหมอนกแก้ว (Blood parrot cichlid) เป็นพันธุ์ลูกผสมระหว่างปลาหมอฟลามิงโก้ และปลาหมอซินสไปลุ่ม มีปากคล้ายกับนกแก้ว เป็นปลาที่ไม่มีในธรรมชาติ แต่ถูกผสมพันธุ์ขึ้นมาครั้งแรกที่ประเทศไต้หวัน ขนาดโตเต็มที่ 10-15 เซนติเมตร มีดวงตาโต ม่านตาใหญ่จนบางคราวดูไม่เหมือนทรงกลม เป็นวงรีหรือไม่ก็เป็นขีด ดำ ๆ หนา ๆ พาด ผ่านตามแนวนอนของ ลูกตา ตู้ที่เหมาะสม ไม่ควรต่ำกว่า 30 นิ้ว เป็น ปลาที่ค่อนข้าง ก้าวร้าว อันที่จริง เป็นปลาที่ไม่ค่อยดุนัก และสามารถเลี้ยงรวมกับปลาอื่นที่ ขนาดเท่ากันได้ สามารถให้อาหารสำเร็จรูปและสัตว์น้ำขนาดเล็กเป็นอาหารได้.

ใหม่!!: วงศ์ปลาหมอสีและปลาหมอนกแก้ว · ดูเพิ่มเติม »

ปลาหมอแรม

ปลาหมอแรม หรือ ปลาหมอไมโครจีโอฟากัส (Ram cichlid) เป็นปลาสกุลหนึ่ง ในวงศ์ปลาหมอสี (Cichlidae) จัดเป็นปลาหมอแคระสกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Mikrogeophagus หรือ Microgeophagus (ชื่อพ้อง-/ไม-โคร-จี-โอ-ฟา-กัส/) เป็นปลาที่มีสีสันสวยงามทั้งตัวผู้และตัวเมีย มีขนาดโตเต็มที่ยาวประมาณ 8 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ในแม่น้ำอเมซอนและโอริโนโค ในทวีปอเมริกาใต้ นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม โดยเฉพาะการเลี้ยงในตู้ไม้น้ำ ซึ่งปัจจุบันได้มีการเพาะขยายพันธุ์จนมีความหลากหลายไปจากดั้งเดิมในธรรมชาติ เช่น ปลาบอลลูน ที่มีลำตัวอ้วนกลมและสั้นเหมือนลูกบอล ปลาหางยาวที่ดูคล้ายปลาทอง หรือที่มีสีฟ้าแวววาวทั้งตัว มีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด คือ.

ใหม่!!: วงศ์ปลาหมอสีและปลาหมอแรม · ดูเพิ่มเติม »

ปลาหมอแคระอพิสโตแกรมมา

ปลาหมอแคระอพิสโตแกรมมา เป็นปลาในวงศ์ปลาหมอสี (Cichlidae) สกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Apistogramma (/อะ-พิส-โต-แกรม-มา/) จัดเป็นปลาขนาดเล็กในวงศ์นี้ จัดได้เป็นว่าปลาหมอแคระสกุลหนึ่ง มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาใต้ แพร่กระจายพันธุ์และอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำที่มีค่าความเป็นกรดของน้ำค่อนข้างต่ำ (ต่ำกว่า 6.5 pH) จัดเป็นปลาที่มีความหลากหลายทางพันธุกรรมอย่างมาก สามารถแบ่งออกได้เป็นหลายชนิด มีลักษณะรูปร่างโดยรวมคือ ลำตัวเพรียวยาว สีสันสดใสมากโดยเฉพาะในปลาเพศผู้ ครีบอกเรียวยาวปลายแหลม รวมทั้งครีบหลังที่ดูโดดเด่น ปลายหางแหลม มีความแตกต่างอย่างมากระหว่างเพศผู้กับเพศเมีย กล่าวคือ เพศผู้มีสีสันที่สดสวยกว่าและมีขนาดลำตัวที่สวยกว่า แต่เมื่อตกใจสีจะซีดได้ ขนาดเมื่อโตเต็มที่แล้วจะมีความยาวโดยเฉลี่ยประมาณ 2 นิ้ว เป็นปลาที่นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม โดยสามารถเพาะขยายพันธุ์ได้ในตู้เลี้ยง โดยเฉพาะการเลี้ยงในตู้ไม้น้ำ มีอุปนิสัยเรียบร้อย ไม่ก้าวร้าว และไม่ทำลายต้นไม้ในตู้ มีพฤติกรรมในการขยายพันธุ์ โดยวางไข่ติดกับผนังถ้ำหรือโขดหินในแบบกลับหัว ซึ่งรูปแบบการวางไข่อาจจะแตกต่างไปตามชนิด ซึ่งในฤดูผสมพันธุ์ ปลาเพศผู้จะอวดสีและครีบแข่งกันเพื่อดึงดูดความสนใจจากปลาเพศเมีย ปลาเพศเมียอายุน้อยอาจวางไข่ได้ประมาณ 20 ฟอง ขณะที่ตัวที่มีอายุมากและสมบูรณ์พร้อมจะวางไข่ได้ถึง 100 ฟอง เมื่อฟักออกเป็นตัวแล้ว เพศเมียจะเป็นฝ่ายดูแลลูก โดยไม่ให้ปลาเพศผู้เข้ามายุ่งเกี่ยว ถึงแม้ว่าอาจมีเพศผู้บางตัวสามารถเลี้ยงลูกได้เช่นกัน ในหลายชนิดสามารถผสมพันธุ์แบบหมู่ คือ เพศผู้หนึ่งตัวต่อเพศเมียหลายตัวได้ ในขณะที่บางชนิดจะผสมพันธุ์กันแบบคู่ต่อคู่ ปลาในสกุลนี้ชนิดที่นิยมเลี้ยงได้แก่ชนิด A. agassizii, A. hongsloi และ A. viejita เป็นต้น ปลาหมอสีในสกุลนี้ จัดเป็นปลาที่มีวงจรชีวิตสั้น หลายชนิดสามารถผสมพันธุ์ได้ตั้งแต่มีอายุเพียง 3-4 เดือน.

ใหม่!!: วงศ์ปลาหมอสีและปลาหมอแคระอพิสโตแกรมมา · ดูเพิ่มเติม »

ปลาหมอแคระคาเคทอยเดส

ปลาหมอแคระคาเคทอยเดส หรือ ปลาหมอแคระคาเคทอย (Cockatoo cichlid, Cockatoo dwarf cichlid) เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาหมอสี (Cichlidae) จัดเป็นปลาหมอแคระชนิดหนึ่ง ในสกุลอพิสโตแกรมมา มีลักษณะเหมือนกับปลาชนิดอื่นในสกุลเดียวกันนี้ทั่วไป แต่มีลักษณะเด่น คือ มีครีบกระโดงหลังที่ตั้งชูงอนเหมือนนกกระตั้ว อันเป็นที่มาของชื่อสามัญในภาษาอังกฤษ และมีสีลำตัวและครีบต่าง ๆ เป็นโทนเข้ม เช่น สีส้มหรือสีแดง โดยมีลวดลายบนครีบต่าง ๆ สดเข้มตลอดเวลาไม่ว่าปลาจะอยู่ในอารมณ์หรือสภาพแวดล้อมใด มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 5 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ในทวีปอเมริกาใต้ ในสาขาของแม่น้ำอเมซอน ที่มีกระแสน้ำไหลเอื่อย ๆ มีใบไม้หล่นร่วงมาพื้นท้องน้ำ โดยปลาจะใช้เป็นที่หลบซ่อน โดยน้ำจะมีค่าความเป็นกรดเป็นด่างต่ำ (ต่ำกว่า 6.5 pH) กินอาหารจำพวก สัตว์น้ำขนาดเล็กต่าง ๆ เป็นปลาที่นิยมอย่างมากในการเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม โดยเฉพาะในตู้ไม้น้ำ โดยถือเป็นชนิดที่นิยมเป็นอันดับต้น ๆ ของสกุลนี้ เนื่องจากคุณสมบัติที่ว่า จะมีสีสันสดสวยตลอดรวมทั้งครีบหลังที่ตั้งสูง และนิยมที่จะเพาะขยายพันธุ์กันในตู้เลี้ยง โดยปลาตัวเมียจะวางไข่ไว้กับซอกหลีบหรือเพดานของวัสดุต่าง ๆ ใต้น้ำ และเป็นฝ่ายดูแลลูก.

ใหม่!!: วงศ์ปลาหมอสีและปลาหมอแคระคาเคทอยเดส · ดูเพิ่มเติม »

ปลาหมอแคระแรมเจ็ดสี

ปลาหมอแคระแรมเจ็ดสี หรือ ปลาหมอแรมเจ็ดสี (Ram, Blue ram, German blue ram, Asian ram, Butterfly cichlid, Ramirez's dwarf cichlid, Dwarf butterfly cichlid, Ram cichlid, Ramirezi) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Mikrogeophagus ramirezi อยู่ในวงศ์ปลาหมอสี (Cichlidae) จัดเป็นปลาหมอแคระชนิดหนึ่ง ปลาตัวผู้เมื่อโตเต็มที่จะมีความยาวประมาณ 7 เซนติเมตร ส่วนตัวเมีย 4-5 เซนติเมตร ลักษณะรูปร่างแบนข้าง ลำตัวกว้าง ส่วนหัวค่อนข้างใหญ่เมื่อเทียบสัดส่วนกับลำตัว ครีบหางสั้นเป็นรูปสามเหลี่ยม ครีบหลังเชื่อมยาวต่อกันตั้งสูงชันคล้ายกำแพง ก้านครีบแข็ง 3-4 ก้านแรกของครีบหลังมีสีดำตั้งสูงชันขึ้นมาคล้ายหงอนของนกกระตั้ว ดวงตามีสีแดง มีเส้นสีดำพาดตาจากบนหัวลงมาเกือบถึงใต้คอ มีจุดดำขนาดค่อนข้างใหญ่อยู่บริเวณปลายตัวเห็นเด่นชัด สีของปลาหมอแคระแรมเจ็ดสี มีสีสันที่สวยสด โดยเป็นสีเหลือบเขียวและเหลือง มีจุดฟ้าแวววาว และจะยิ่งสดสวยขึ้นเมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์ ซึ่งปลาตัวผู้จะขับสีออกมาเพื่อเรียกร้องความสนใจจากปลาตัวเมีย อันเป็นที่มาของชื่อเรียก พบกระจายพันธุ์ในแม่น้ำโอรีโนโก ในเขตประเทศเวเนซุเอลาและโคลัมเบีย เป็นปลาที่นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม กันมาอย่างยาวนาน โดยเฉพาะในตู้ไม้น้ำ แต่เป็นปลาที่มีนิสัยก้าวร้าวกว่าปลาหมอแคระจำพวกอื่น ๆ มักจะข่มขู่และกัดกันเองอยู่ในฝูงอยู่เสมอ ปัจจุบัน เป็นปลาที่ได้รับการเพาะขยายพันธุ์จากมนุษย์จนมีความหลากหลายทางสายพันธุ์มากกว่าปลาที่พบในธรรมชาติ เช่น ปลาที่มีลำตัวสั้นกว่าปกติ หรือ ปลาบอลลูน และปลาที่มีหางยาวเหมือนปลาทอง หรือ ปลาที่มีสีฟ้าแวววาวตลอดทั้งตัว หรือสีเหลืองตลอดทั้งตัว.

ใหม่!!: วงศ์ปลาหมอสีและปลาหมอแคระแรมเจ็ดสี · ดูเพิ่มเติม »

ปลาหมอแตงไทย

ปลาหมอแตงไทย (Auratus cichlid, Golden mbuna, Malawi golden cichlid, Turquoise-gold cichlid) เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาหมอสี (Cichlidae) มีลำตัวลักษณะเรียวยาวค่อนข้างกลม มีสีสันสวยงามเมื่อมีขนาดโตปานกลาง เมื่อโตเต็มที่ยาวประมาณ 13 เซนติเมตร ตัวผู้เมื่อโตเต็มที่มีสีคล้ำค่อนข้างดำ ลำตัวมีสีดำบริเวณใต้ท้อง และกลางลำตัววิ่งเป็นทางยาวตั้งแต่ปลายลูกตาไปจรดโคนหาง มีสีขาวคั่นกลางระหว่างสีดำวิ่งเป็นแนวเช่นเดียวกัน คล้ายกับสีของแตงไทยอันเป็นที่มาของชื่อเรียก ด้านหลังมีสีน้ำตาลอมเหลืองตลอดทั้งสองข้าง ครีบกระโดงหลังมีสีเหลืองอ่อน ๆ ปลายครีบมน และมีสีดำวิ่งเป็นริ้วไปตามเส้นครีบ หางแผ่ปลายหางมน ทั้งสองข้างมีสีดำวิ่งสลับกับสีฟ้าอ่อน ตามีสีดำขอบตามีสีเหลืองวิ่งโดยรอบ ปลายครีบใต้ท้องมีสีฟ้าอมขาว บริเวณปลายครีบส่วนล่างที่ติดโคนหางมีสีเหลือง และสีฟ้าอ่อนแต้มเป็นจุด ๆ ปากของปลาหมอแตงไทยค่อนข้างสั้น ริมฝีปากมีขอบสีดำ ตัวเมียมีความสดสวยกว่าตัวผู้ เกล็ดเล็กมีสีเหลืองสด ตามแนวยาวของลำตัวมีสีดำวิ่งเป็นแนวตั้งแต่กลางลำตัวจรดโคนหาง แนวสีดำนี้วิ่งตั้งแต่บริเวณหน้าผ่านตา และวิ่งทั้งสองข้างของลำตัว เหนือจากแนวเส้นดำก็มีแนวสีเหลืองสดคั่นแนวสีดำอีกแนวหนึ่ง ใต้ท้อง และบริเวณเหนือท้องที่ชนเส้น แนวสีดำมีสีเหลืองสดมองดูมีเงาเล็กน้อย ครีบกระโดงหลังสูงน้อยกว่าตัวผู้ และมีสีดำขอบครีบกระโดงมีสีเหลืองสดตลอดแนวขอบริมฝีปากบนมีสีน้ำตาลอมดำ ขอบริมฝีปากล่างมีสีเหลือง หางมีสีเหลืองสดมีแต้มสีดำเข้มเป็นจุด ๆ ครีบคู่ใต้ท้องมีสีเหลือง มีสีดำแซมเล็กน้อย บริเวณปลายครีบล่างใต้ท้องที่ติดกับโคนหางครีบมน และช่วงปลายมีสีเหลืองสด พบกระจายพันธุ์อยู่ในทะเลสาบมาลาวี ในทวีปแอฟริกา ปลาหมอแตงไทย เป็นปลาที่ขยายพันธุ์ด้วยการอมไข่ไว้ในปากปลาทั้งตัวผู้และตัวเมีย ซึ่งในช่วงผสมพันธุ์นี้ทั้งปลาตัวผู้และตัวเมียจะมีสีคล้ำขึ้นกว่าเดิม โดยตัวผู้เข้าไปเคล้าเคลียตัวเมียที่มีไข่พร้อมที่ผสม ว่ายวนไปมาต้อนปลาตัวเมียให้เข้ามาวางไข่ โดยตัวเมียวางไข่ครั้งละ 1 ฟอง ตัวผู้จะปล่อยน้ำเชื้อ ตัวเมียอมไข่ที่ผสมน้ำเชื้อแล้วเข้าไปในปาก ตัวเมียไข่ออกมาให้ตัวผู้ผสมให้หมดและอมไว้ ปากที่อมไข่สามารถมองได้ชัดเจนแก้มทั้งสองข้าง ไข่ใช้เวลาฟักประมาณ 8-10 วัน ลูกปลาแรกฟักมีความยาวประมาณ 1 เซนติเมตร ปลาที่สมบูรณ์พร้อมจะให้ลูกครอกละประมาณ 50-60 ตัว ปลาหมอแตงไทย เป็นปลาหมอสีอีกชนิดหนึ่งที่นิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงาม ด้วยมีสีสันลวดลายที่สดใส และพฤติกรรมที่ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงไม่อยู่นิ่ง มักจะว่ายน้ำไปมาตลอด โดยผู้เลี้ยงมักจะเลี้ยงรวมกับปลาหมอสีขนาดไล่เลี่ยกันชนิดอื่น ๆ ร่วมกัน จัดเป็นปลาที่เลี้ยงง่ายมากและมีราคาซื้อขายที่ถูก.

ใหม่!!: วงศ์ปลาหมอสีและปลาหมอแตงไทย · ดูเพิ่มเติม »

ปลาหมอไตรมาคู

ปลาหมอไตรมาคู หรือ ปลาหมอตาแดง (Three-spot cichlid, Trimac cichild) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาหมอสี (Cichlidae) ปลาหมอไตรมาคู เป็นปลาหมอสีชนิดหนึ่งที่เมื่อโตเต็มที่แล้วมีขนาดใหญ่ ถือเป็นต้นสายพันธุ์ของปลาหมอฟลาวเวอร์ฮอร์น ซึ่งเป็นปลาหมอลูกผสมหรือครอสบรีดในปัจจุบัน และถือเป็นปลาหมอสีชนิดที่มีลักษณะใกล้เคียงกับปลาหมอฟลาวเวอร์ฮอร์นมากที่สุด ปลาหมอไตรมาคู ถูกค้นพบและตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ โดย อัลเบิร์ต กึนเธอร์ นักมีนวิทยาชาวเยอรมัน ในปี ค.ศ. 1896 มีถิ่นกระจายพันธุ์ในแถบอเมริกากลาง ในประเทศเม็กซิโกและเอลซัลวาดอร์ มีลักษณะเด่น คือ หัวมีความโหนกนูน ซึ่งจะเริ่มปรากฏเมื่อปลามีความยาวได้ 9-10 นิ้ว ซึ่งเป็นช่วงที่ปลาจะเจริญเติบโตเร็วมาก จนกระทั่งถึง 14 นิ้ว จึงจะชะลอลง สีลำตัวมี 2 สี สีเหลืองออกส้มอ่อน ๆ โดยบริเวณลำคอเป็นสีแดงเล็กน้อย และอีกสีหนึ่ง คือ เหลือบสีเขียวออกดำ และบริเวณคอจะเป็นสีแดงเข้ม มีจุดสีดำคาดกลางลำตัว และมีจุดลักษณะคล้ายมุกอยู่รอบ ๆ จุดดำนั้น ดวงตาสีแดงสดใส มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 35 เซนติเมตร ปลาตัวเมียจะมีครีบกระโดงหลังเป็นจุดสีดำ 2 จุด ขณะที่ปลาตัวผู้จะไม่มีจุดดังกล่าว เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุได้ 6 เดือน โดยปลาจะวางไข่ติดไว้กับพื้นหรือวัสดุต่าง ๆ ใต้น้ำ ซึ่งการวางไข่แต่ละครั้งจะออกโดยเฉลี่ยครั้งละ 1,000 ฟอง มากน้อยขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของตัวแม่ปลา ซึ่งสัมพันธ์กับอายุแล.

ใหม่!!: วงศ์ปลาหมอสีและปลาหมอไตรมาคู · ดูเพิ่มเติม »

ปลาหมอเฮโรส

ปลาหมอเฮโรส (Severum, Banded cichlid) เป็นสกุลของปลาน้ำจืดสกุลหนึ่ง ในวงศ์ปลาหมอสี (Cichlidae) ในวงศ์ย่อย Cichlasomatinae ใช้ชื่อสกุลว่า Heros (/เฮ-โรส/) ซึ่งมาจากภาษากรีก (ἥρως) หมายถึง "วีรบุรุษ" หรือ "ฮีโร่" ในภาษาอังกฤษ ตั้งชื่อสกุลโดย โยฮานน์ ยาค็อบ แฮ็คเคล นักสัตววิทยาชาวออสเตรีย ปลาหมอสีในสกุลนี้ มีรูปร่างโดยรวม คือ กลมรี ลำตัวแบนข้างมาก หน้าผากลาดโค้งลงมากถึงปาก ปากมีขนาดเล็ก ภายในปากมีฟันเรียงรายอยู่มากมาย ในตัวเต็มวัยหน้าผากจะมีลักษณะโหนกนูนเล็กน้อย ดวงตามีขนาดใหญ่อยู่ด้านข้างของส่วนหน้า หากมองด้านตรงจะเห็นดวงตาปูดออกมาเล็กน้อย มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 10-12 นิ้ว แพร่กระจายพันธุ์ในลุ่มแม่น้ำสายใหญ่ ๆ ในทวีปอเมริกาใต้ เช่น แม่น้ำโอรีโนโก, แม่น้ำอเมซอน ในแหล่งน้ำสภาพที่นิ่ง ลึก และมีวัสดุต่าง ๆ ให้หลบซ่อนตัว เช่น ตอไม้หรือโขดหิน เป็นปลาที่ใช้บริโภคกันในท้องถิ่น และนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม มีการเพาะขยายพันธุ์ต่าง ๆ มากมาย จนได้สีที่สวยกว่าปลาที่มีอยู่ดั้งเดิมในธรรมชาต.

ใหม่!!: วงศ์ปลาหมอสีและปลาหมอเฮโรส · ดูเพิ่มเติม »

ปลาหมอเทศ

ปลาหมอเทศ (Mozambique tilapia, Three spotted tilapia) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาหมอสี (Cichlidae) มีลักษณะรูปร่างทั่วไปคล้ายปลานิล (O. niloticus) ซึ่งเป็นปลาที่อยู่ในวงศ์เดียวกันและสกุลเดียวกัน แต่ว่า ปลาหมอเทศมีรูปร่างที่เล็กกว่า มีลำตัวแบนข้าง หัวสั้น ปากกว้าง มีฟันซี่เล็กละเอียด ครีบอกยาวแหลม ครีบก้นมีก้านแข็ง 3 ชิ้น ปลายครีบหางตัดตรง มีเกล็ดตั้งแต่บริเวณแก้ม, หัว ถึงโคนหาง เกล็ดเป็นแบบเกล็ดสาก เส้นข้างลำตัวขาดช่วง ด้านบนลำตัวมีสีคล้ำอมเขียวหรือน้ำเงิน แก้มมีสีจางเป็นปื้น ลำตัวมีแถบสีคล้ำ 8–9 แถบ พาดตามแนวตั้ง ท้องสีจางหรือเหลืองอ่อน ขอบครีบมีสีแดงหรือน้ำตาลรวมถึงครีบอก ปลาขนาดเล็กมีสีคล้ำหรือสีเทา มีความแตกต่างจากปลานิล คือ ปากยาวกว่า และไม่มีแถบหรือลายบนครีบ แต่มีปื้นสีจางบนแก้มของปลาตัวผู้ มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 40 เซนติเมตร โดยเฉลี่ยประมาณ 20–30 เซนติเมตร เป็นปลาที่กินได้ทั้งพืชและสัตว์ รวมถึงตะกอนอินทรียสาร ขยายพันธุ์โดยปลาตัวผู้ขุดหลุมบนพื้นท้องน้ำเหมือนหลุมขนมครก ปลาตัวเมียอมไข่ในปากไว้ประมาณ 10–15 วัน ก่อนจะปล่อยลูกปลาให้ออกมาว่ายวนรอบ ๆ ตัวแม่ปลา มีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปแอฟริกา แถบแอฟริกาตะวันออกเฉียงใต้ ในแหล่งน้ำต่าง ๆ และถูกนำเข้าไปในประเทศใกล้เคียง ก่อนจะกลายเป็นปลาเศรษฐกิจที่ถูกนำเข้าไปในหลายประเทศในหลายทวีปทั่วโลก ในประเทศไทยถูกนำเข้ามาในปี พ.ศ. 2492.(พิเศษ) บุญ อินทรัมพรรย์ แห่งคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยนำผ่านมาจากปีนัง เพื่อส่งเสริมเกษตรกรเลี้ยงเป็นอาชีพ แต่ทว่า ความนิยมในการบริโภคสู้ปลานิลไม่ได้ เนื่องจากเนื้อค่อนข้างแข็งและมีขนาดตัวเล็ก ดังนั้น จึงมีราคาจำหน่ายที่ต่ำกว่าปลานิล และถูกปล่อยลงตามแหล่งน้ำต่าง ๆ ทั้งน้ำจืดและน้ำกร่อย กลายเป็นผลพลอยได้จากการเลี้ยงกุ้ง ในปี..

ใหม่!!: วงศ์ปลาหมอสีและปลาหมอเทศ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาหมอเท็กซัส

ปลาหมอเท็กซัส (Texas cichlid, Rio Grande cichlid) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาหมอสี (Cichlidae) มีลักษณะลำตัวสีเขียวอมเทา มีจุดกลมกลมเล็กเล็กละะเอียดคล้ายไข่มุกทั่วตัว เมื่อโตเต็มที่แล้ว ตัวผู้จะมีโหนกขึ้นเหนือหัว ขนาดโตเต็มที่ได้ 12 นิ้ว ขณะที่ตัวเมียจะมีขนาดเล็กกว่า พบกระจายพันธุ์ในแม่น้ำรีโอแกรนด์ ในรัฐเท็กซัส ทางตอนใต้ของสหรัฐอเมริกา จนถึงตอนเหนือของเม็กซิโก ปลาหมอเท็กซัส นิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงาม และถือเป็นต้นสายพันธุ์ให้แก่ปลาหมอสีลูกผสมหรือครอสบรีดสายพันธุ์ ปลาหมอเท็กซัสแดง เช่นเดียวกับปลาหมอเท็กซัสเขียว (H. carpintis) ซึ่งอยู่ในสกุลเดียวกัน ซึ่งบางครั้งอาจใช้ปลาทั้ง 2 ชนิดนี้ผสมข้ามสายพันธุ์กัน เป็นปลาที่เพาะขยายพันธุ์ได้ง่ายมาก จนมีคำกล่าวกันว่าเพียงแค่พ่อพันธุ์ แม่พันธุ์ปลาหมอเท็กซัสแค่คู่เดียว ก็สามารถเพาะให้ลูกแก่ผู้นิยมเลี้ยงปลาสวยงามได้ทั้งรัฐเท็กซัส ซึ่งเป็นรัฐที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกาได้แล้ว.

ใหม่!!: วงศ์ปลาหมอสีและปลาหมอเท็กซัส · ดูเพิ่มเติม »

ปลาหมอเท็กซัส (สกุล)

ปลาหมอเท็กซัส (Texas cichlid) เป็นสกุลของปลาน้ำจืดกระดูกแข็งสกุลหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Herichthys (มาจากภาษากรีกคำว่า "eri" หมายถึง "มาก" และคำว่า "ichthys" หมายถึง "ปลา") อยู่ในวงศ์ Cichlasomatinae ในวงศ์ใหญ่ Cichlidae หรือปลาหมอสี มีลักษณะโดยรวม มีพื้นลำตัวสีเขียว ตามตัวมีจุดกลมเล็ก ๆ สีคล้ายไข่มุกกระจายอยู่ทั่วตัว เมื่อโตเต็มที่โดยเฉพาะตัวผู้ส่วนหัวจะมีโหนกเนื้อนูนขึ้นมา มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 10-12 นิ้ว เป็นปลาที่มีอุปนิสัยดุร้ายก้าวร้าว กินอาหารได้ทั้งพืชและสัตว์ กระจายพันธุ์ตั้งแต่ทางตอนใต้ของสหรัฐอเมริกา เช่น รัฐเท็กซัสและฟลอริดา จนถึงอเมริกากลาง เช่น เม็กซิโก เป็นปลาสกุลที่ได้รับความนิยมในการเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม โดยมักจะนำมาผสมข้ามสายพันธุ์กับปลาชนิดอื่นในสกุลเดียวกัน หรือแม้แต่ต่างสกุลกัน จนกลายมาเป็นปลาสายพันธุ์ใหม่ที่มีความสวยกว่าสายพันธุ์ดั้งเดิมในธรรมชาติ คือ ปลาหมอเท็กซัสแดง.

ใหม่!!: วงศ์ปลาหมอสีและปลาหมอเท็กซัส (สกุล) · ดูเพิ่มเติม »

ปลาหมอเท็กซัสแดง

ปลาหมอเท็กซัสแดง ปลาหมอเท็กซัสแดง หรือที่นิยมเรียกกันสั้น ๆ ว่า เท็กซัสแดง (Red texas cichlid) เป็นปลาหมอสีข้ามชนิดระหว่างปลาหมอเท็กซัสเขียว ซึ่งเป็นปลาที่มีถิ่นกำเนิดจากทางอเมริกากลางถึงเม็กซิโก โดยทั่วไปการเพาะพันธุ์มักนิยมใช้ปลาหมอเท็กซัสเขียวตัวผู้กับปลาหมอสีที่ลอกสีผิวเป็นสีแดง เช่น ปลาหมอเรดอเมริกา, ปลาหมอนกแก้ว, ปลาซินสไปลุ่ม หรือปลาพื้นแดงลอกที่ผสมข้ามชนิดมาแล้วก็ได้ ซึ่งก็จะได้ลูกปลาที่เป็นเท็กซัสแดง แต่ในปัจจุบันมักใช้แม่ปลาหมอนกแก้วเนื่องจากลูกปลาเวลาลอกสีผิวแล้วมักมีสีแดงมากกว่าแม่ปลาชนิดอื่น.

ใหม่!!: วงศ์ปลาหมอสีและปลาหมอเท็กซัสแดง · ดูเพิ่มเติม »

ปลาหมอเท็กซัสเขียว

ปลาหมอเท็กซัสเขียว (Pearlscale cichlid, Lowland cichlid, Green texas cichlid) ปลาน้ำจืดกระดูกแข็งชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาหมอสี (Cichlidae) ปลาหมอเท็กซัสเขียว ลักษณะคือ มีลักษณะเด่นเป็นปื้นสีดำหรือมาร์คกิ้ง ที่ลำตัวประมาณ 1-3 จุด และมีจุดกลมเล็ก ๆ คล้ายมุกกระจายทั่วตัว สีลำตัวออกเขียวหรือสีฟ้า ตัวผู้มีส่วนหัวที่โหนกนูน เป็นปลาหมอสีชนิดหนึ่งที่มีนิสัยก้าวร้าวหวงถิ่น มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 6-10 นิ้ว พบกระจายพันธุ์ในตอนเหนือของประเทศเม็กซิโก ในแม่น้ำเวอร์เต้ตามปากแม่น้ำพีนูโกที่ลาดลงสู่มหาสมุทรแอตแลนติก ปลาหมอเท็กซัสเขียว นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามทั่วไป ในประเทศไทยมีการเลี้ยงกันมาไม่ต่ำกว่า 20 ปี และเป็นปลาที่ได้รับการพัฒนาสายพันธุ์หรือผสมข้ามพันธุ์กับปลาหมอเท็กซัสในสกุลเดียวกัน เช่น ปลาหมอเท็กซัส (H. cyanoguttatus) หรือผสมกับปลาหมอสีในสกุล Amphilophus ซึ่งต่างสกุลกัน เป็นปลาสายพันธุ์ใหม่ที่มีความสวยงามขึ้นและมีพื้นลำตัวสีแดงสด คือ ปลาหมอเท็กซัสแดง.

ใหม่!!: วงศ์ปลาหมอสีและปลาหมอเท็กซัสเขียว · ดูเพิ่มเติม »

ปลาหมอเซวารุ่ม

ปลาหมอเซวารุ่ม หรือ ปลาหมอเซวาลุ่ม (Severum, Banded cichlid) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Heros severus อยู่ในวงศ์ปลาหมอสี (Cichlidae) มีรูปร่างป้อมแบนข้างข้างปานกลาง หน้าผากมีความลาดชั้นมาก ปากอยู่ด้านล่าง มีริมฝีปากที่หนา ปลายครีบหลังและครีบก้นยาวแหลม ลำตัวมีสีน้ำตาลอ่อนอมเขียวมีสีส้มปน บริเวณใบหน้ามีลายประสีแดงกระจายอยู่ทั่ว ลำตัวมีสีดำพาดตามขวางประมาณ 6-8 แถบ ซึ่งลายนี้จะจางลงเมื่อปลาโตขึ้น มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 20 เซนติเมตร อาศัยอยู่ในแม่น้ำโอริโนโคและแม่น้ำอเมซอน ในประเทศโคลัมเบียและเวเนซุเอลา โดยจะพบได้ในแหล่งน้ำที่มีความหลากหลายของสภาพ ทั้งน้ำใส น้ำขุ่น หรือน้ำที่มีสีเหมือนสีกาแฟ โดยทั่วไปปลาที่มีขนาดเล็กจะพบมากในบริเวณแหล่งน้ำที่ไหลช้า และมีพื้นเป็นกรวดทราย หรือทรายปนโคลน ส่วนปลาที่โตเต็มวัยจะพบในบริเวณที่น้ำไหลแรงและมีพรรณไม้น้ำขึ้นหนาแน่น อุณหภูมิของน้ำประมาณ 23-29 องศาเซลเซียส ค่าความเป็นกรดเป็นด่างของน้ำ (pH) 5.0-6.5 เป็นปลาที่กินอาหารได้หลากหลายทั้งพืชและสัตว์ ทั้งสัตว์น้ำชนิดต่าง ๆ รวมทั้งแมลง ปลาหมอเซลารุ่ม เป็นปลาที่นิยมเพาะเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงามมาอย่างยาวนานแล้ว เป็นปลาที่นิยมเลี้ยงกันอย่างแพร่หลาย เพราะเป็นปลาที่มีนิสัยเรียบร้อย ไม่ดุร้ายก้าวร้าวเหมือนปลาในวงศ์ปลาหมอสีชนิดอื่น ๆ อีกทั้งสามารถที่จะเพาะขยายพันธุ์ได้ในตู้ปลาด้วย ซึ่งปัจจุบันได้มีการเพาะขยายพันธุ์ได้มีสีสันที่หลากหลายไปจากปลาสายพันธุ์เดิมในธรรมชาติมาก เช่น สีทองหรือสีแดง เป็นต้น นอกจากนี้แล้ว ยังเป็นปลาที่ใช้บริโภคกันในท้องถิ่นของทวีปอเมริกาใต้ โดยมีชื่อเรียกในภาษาถิ่นว่า Acará-peba.

ใหม่!!: วงศ์ปลาหมอสีและปลาหมอเซวารุ่ม · ดูเพิ่มเติม »

ปลาออสการ์

ปลาออสการ์ (Oscar fish, Red belvet, Velvet cichlid, Marbled cichlid, Peacock-eyed cichilld, Tiger oscar, Peacock cichilld) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาหมอสี (Cichlidae) เป็นปลาพันธุ์พื้นเมืองของลุ่มแม่น้ำโอริโนโก, แม่น้ำอะเมซอน และแม่น้ำลา พลาตา ในทวีปอเมริกาใต้อย่างกว้างขวาง เช่น ประเทศบราซิล, โคลอมเบีย, เปรู, เฟรนช์เกียนา, อุรุกวัย, เวเนซุเอลา และอาร์เจนตินา เป็นปลาที่หากินในบริเวณแหล่งน้ำที่เป็นน้ำตื้นทีมีพื้นท้องน้ำเป็นโคลนปนทรายหรือกรวดทราย ขนาดเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 45.7 เซนติเมตร คุณภาพของน้ำในแหล่งที่พบอาศัยมีอุณหภูมิระหว่าง 22-25 องศาเซลเซียส ค่าความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) ประมาณ 6.0-8.0 มีรูปร่างแบนข้างและลำตัวป้อม ส่วนหัวค่อนข้างใหญ่ ตาโต ปากกว้าง ริมฝีปากหนา ลำตัวมีสีน้ำตาลอมเขียว ที่ขอบของแผ่นกระดูกปิดเหงือกและด้านล่างของลำตัวมีสีส้มอมแดงหรือส้มจาง ๆ ที่ด้านบนของคอดหางมีจุดกลมสีดำคล้ายลูกตาดำและมีวงสีส้มอมแดงล้อมรอบ เป็นปลาที่ว่ายน้ำช้า กินสัตว์อื่นเป็นอาหารได้หลากหลาย ทั้งสัตว์น้ำชนิดต่าง ๆ และแมลงด้วย ปลาออสการ์ เป็นปลาที่ใช้บริโภคกันในพื้นถิ่น โดยจะพบวางขายกันในตลาดสด มีชื่อเรียกในภาษาถิ่นว่า Acará-acu และเป็นที่รู้จักกันดีในฐานะการเป็นปลาสวยงาม ซึ่งนิยมเลี้ยงกันมาอย่างยาวนาน จัดเป็นปลาที่มีนิสัยดุร้ายก้าวร้าวชนิดหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่เลี้ยงดูลูกอ่อน ทั้งเพศผู้และเพศเมีย ในราวต้นพุทธทศวรรษ 2500 ถือเป็นปลาหมอสีชนิดแรก ๆ ที่นำเข้ามาสู่ประเทศไทย ในฐานะปลาสวยงาม ซึ่งมีราคาซื้อขายแพงมาก โดยตกคู่ละ 500 บาท (ราคาทองคำแท่งในขณะนั้นบาทละ 400 บาท) ปัจจุบัน มีการเพาะเลี้ยงกันจนมีสีสันที่สวยงามกว่าสายพันธุ์ดั้งเดิมมาก เช่น ปลาเผือก, สีเหลืองสดหรือสีทองหรือสีแดงสดทั้งตัว รวมทั้งมีแบบที่มีครีบยาวกว่าปกติด้วย โดยชื่อ "ออสการ์" นั้นมาจากชื่อกลางของนักมีนวิทยาชาวสวีเดน สเวน ออสการ์ คูลเลนเดอร์ ที่ศึกษาโดยเฉพาะกับปลาในวงศ์ปลาหมอสี.

ใหม่!!: วงศ์ปลาหมอสีและปลาออสการ์ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาออสการ์ (สกุล)

ปลาออสการ์ เป็นชื่อสกุลของปลาน้ำจืดสกุลหนึ่ง ในวงศ์ปลาหมอสี (Cichlidae) ในวงศ์ย่อยปลาออสการ์ (Astronotinae) โดยใช้ชื่อสกุลว่า Astronotus (/แอส-โตร-โน-ตัส/) ซึ่งมาจากภาษากรีกคำว่า astra.

ใหม่!!: วงศ์ปลาหมอสีและปลาออสการ์ (สกุล) · ดูเพิ่มเติม »

ปลาที่มีก้านครีบ

ปลาที่มีก้านครีบ (Ray-finned fishes) เป็นชั้นย่อยของปลากระดูกแข็ง (Osteichthyes) ชั้นหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Actinopterygii (/แอก-ติ-โน-เทอ-ริ-กิ-ไอ/) เป็นปลาที่เคลื่อนไหวโดยอาศัยครีบและกล้ามเนื้อลำตัวเป็นสำคัญ ซึ่งแบ่งออกได้เป็น ก้านครีบแข็ง และก้านครีบอ่อน ซึ่งปลาส่วนใหญ่ในปัจจุบัน จะถูกจัดอยู่ในชั้นนี้ บรรพบุรุษของปลาในชั้นนี้จะมีขนาดเล็ก มีเกราะหุ้มตัวหนา มีปอดและเหงือก ชื่อ Andreolepis hedei โดยพบเป็นฟอสซิลอยู่ในยุคปลายซิลลูเรียนเมื่อกว่า 420 ล้านปีก่อนที่รัสเซีย, สวีเดน และเอสโตเนีย ปลาชั้นนี้มีการวิวัฒนาการอยู่ 3 ขั้นตอน คือ.

ใหม่!!: วงศ์ปลาหมอสีและปลาที่มีก้านครีบ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาปอมปาดัวร์

ปลาปอมปาดัวร์ (Pompadour, Discus) เป็นปลาน้ำจืดในสกุล Symphysodon (/ซิม-ฟี-โซ-ดอน/) ในวงศ์ปลาหมอสี (Cichlidae) ซึ่งเป็นปลาวงศ์ใหญ่ มีจำนวนสมาชิกที่หลากหลายมากกว่า 1,000 ชน.

ใหม่!!: วงศ์ปลาหมอสีและปลาปอมปาดัวร์ · ดูเพิ่มเติม »

ปลานิล

ปลานิล เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งในวงศ์ปลาหมอสี (Cichlidae) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Oreochromis niloticus เป็นปลาเศรษฐกิจ แพร่ขยายพันธุ์ง่าย และมีรสชาติดี.

ใหม่!!: วงศ์ปลาหมอสีและปลานิล · ดูเพิ่มเติม »

ปลานิล (สกุล)

ปลานิล (Tilapia) เป็นชื่อสกุลของปลาน้ำจืดในวงศ์ปลาหมอสี (Cichilidae) พบกระจายพันธุ์ในทวีปแอฟริกาจนถึงภูมิภาคตะวันออกกลาง ใช้ชื่อสกุลว่า Oreochromis (/ออ-เร-โอ-โคร-มิส/) โดยที่มาของสกุลนี้ อัลเบิร์ต กึนเธอร์ นักสัตววิทยาชาวเยอรมันได้ตั้งสกุลนี้ขึ้นในปี ค.ศ. 1889 โดยมีลักษณะทางอนุกรมวิธานของสกุลนี้โดยย่อ คือ มีลำตัวป้อมสั้นและแบนข้าง เกล็ดเป็นแบบบางเรียบ มีเส้นข้างลำตัวที่ไม่สมบูรณ์ 2 เส้น มีฟัน 2 หรือหลายแถวที่ขากรรไกรบนและล่าง รูปร่างของฟันแตกต่างกันไปตามแต่ละชนิด ครีบหลังมีก้านครีบเดี่ยวที่เป็นซี่แข็งปลายแหลม จำนวน 14-17 ก้าน ครีบก้นมีก้านครีบเดี่ยวที่เป็นซี่แข็งปลายแหลมจำนวน 3 ก้าน คอดหางมีความกว้างและความยาวใกล้เคียงกัน มีกระดูกสันหลัง 29-32 ข้อ ต่อมาในปี ค.ศ. 1915 จอร์จ อัลเบิร์ต บุนเลเยอร์ นักสัตววิทยาและนักอนุกรมวิธานชาวเบลเยี่ยมได้ตั้งสกุล Tilapia ขึ้น และได้รวมปลาหลายสกุลในวงศ์นี้เข้ามาอยู่ในสกุลนี้ รวมทั้งสกุลปลานิลนี้ด้วย ซึ่งทำให้ครั้งหนึ่งปลาที่อยู่ในสกุลนี้ใช้ได้ชื่อชื่อสกุลว่า Tilapia นำหน้าชื่อชนิดกัน และกลายเป็นชื่อพ้องในเวลาต่อมา ต่อมาในปี ค.ศ. 1983 อีเทลเวนน์ เทรวาวาส นักมีนวิทยาชาวอังกฤษได้ศึกษาลักษณะของปลาในสกุล Tilapia เห็นว่าสกุลปลานิลที่กึนเธอร์ตั้งขึ้นมานั้น มีลักษณะทางอนุกรมวิธานที่มีข้อจำกัดเฉพาะและเหมาะสมมากกว่า จึงได้ให้ใช้ชื่อสกุลนี้ตราบมาจนปัจจุบัน โดยปรากฏเป็นผลงานในหนังสือชื่อ Tilapia fishes of the genera Sarotherodon, Oreochromis and Danakilia โดยปัจจุบันพบปลาที่อยู่ในสกุลปลานิลนี้มากกว่า 30 ชนิด มีชนิดที่สำคัญ ๆ ได้แก่ ปลานิล (Oreochromis miloticus), ปลาหมอเทศ (O. mossambicus), ปลาหมอเทศข้างลาย (O. aureus) เป็นต้น ซึ่งเป็นปลาเศรษฐกิจที่สำคัญของทวีปแอฟริกาและในอีกหลายภูมิภาคทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยด้ว.

ใหม่!!: วงศ์ปลาหมอสีและปลานิล (สกุล) · ดูเพิ่มเติม »

ปลาน้ำจืด

วงศ์นี้ล้วนแต่เป็นปลาน้ำจืดทั้งหมด ปลาน้ำจืด (Freshwater fish) หมายถึง ปลาที่อาศัยอยู่ได้ในเฉพาะแหล่งน้ำที่เป็นน้ำจืด คือ น้ำที่มีปริมาณเกลือหรือความเค็มละลายน้อยกว่าร้อยละ 00.5 เท่านั้น โดยอาศัยอยู่ในแม่น้ำ, คลอง พื้นที่ชุ่มน้ำต่าง ๆ ที่เป็นน้ำจืด เช่น ทะเลสาบน้ำจืด, บึง หนอง หรือลำธารน้ำตกบนภูเขาหรือในป่าดิบ โดยโครงสร้างของปลาน้ำจืดนั้น จะมีแรงดันออสโมซิสในเลือดอยู่ในระดับสูงกว่าน้ำที่อาศัยอยู่มาก จึงทำให้มีการไหลของน้ำเข้าสู่ร่างกายและเกลือแร่แพร่ออกสู่น้ำภายนอกได้ง่าย โดยไม่ให้น้ำซึมผ่านเข้าสู่ร่างกายและออกจากร่างกายได้ แต่ทว่ากระบวนการดังกล่าวก็ยังไม่ดีพอ เพราะเหงือกซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญที่ปลาใช้หายใจมีน้ำไหลผ่าน เมื่อมีเหงือก น้ำก็มีโอกาสไหลผ่านเข้าสู่ภายในร่างกายได้ จึงกำจัดน้ำส่วนที่เกินที่ถูกดูดเข้าสู่ร่างกายออกสู่นอกร่างกายได้วิธีการขับถ่ายนำเอาปัสสาวะซึ่งมีความดันออสโมซิสต่ำกว่าเลือดออกสู่ภายนอกร่างกาย ร่างกายส่วนใหญ่ของปลาน้ำจืดจะปกคลุมด้วยผิวหนังและเกล็ดซึ่งไม่ยอมให้น้ำซึมผ่านนอกจากบริเวณที่เป็นเหงือกแลกเปลี่ยนก๊าซหายใจเท่านั้นที่น้ำผ่านได้ และโดยธรรมชาติปลาน้ำจืดไม่ดื่มน้ำเลย ซึ่งแตกต่างจากปลาทะเล เพราะการดื่มน้ำจะทำให้ร่างกายมีน้ำมากเกินความจำเป็น ซึ่งจะมีน้ำบางส่วนไหลผ่านบริเวณปากและเหงือกเพื่อช่วยในการแลกเปลี่ยนก๊าซหายใจก็จะมีโอกาสซึมเข้าไปในร่างกายได้บ้าง และเกลือแร่จากเลือดก็จะแพร่ออกมาทางเหงือกได้มากพอดู ปลาน้ำจืดจึงมีไตขับน้ำส่วนเกินออกไปเป็นปัสสาวะ และมีกลุ่มเซลล์พิเศษอยู่บริเวณเหงือกคอยดูดเอาเกลือแร่ต่าง ๆ ที่จำเป็นกลับสู่ร่างก.

ใหม่!!: วงศ์ปลาหมอสีและปลาน้ำจืด · ดูเพิ่มเติม »

ปลาเทวดา

ปลาเทวดา (Angelfish) เป็นปลาน้ำจืดในสกุล Pterophyllum (/เทอ-โร-ฟิล-ลั่ม/; เป็นภาษาละตินแปลว่า "ครีบใบไม้" ซึ่งหมายถึง ลักษณะรูปร่างลำตัวที่คม) ในวงศ์ปลาหมอสี (Cichlidae) นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามกันอย่างหลากหล.

ใหม่!!: วงศ์ปลาหมอสีและปลาเทวดา · ดูเพิ่มเติม »

แผนที่

231x231px แผนที่ คือ รูปภาพอย่างง่ายซึ่งจำลองบริเวณบริเวณหนึ่ง และมีการแสดงความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่าง ๆ เช่น วัตถุ หรือบริเวณย่อย ๆ ที่อยู่ในบริเวณนั้น แผนที่มักเป็นรูปสองมิติซึ่งแสดงระยะห่างระหว่างจุดสองจุดในบริเวณใดบริเวณหนึ่งได้อย่างถูกต้องตามหลักเรขาคณิต ยกตัวอย่างเช่น แผนที่ทางภูมิศาสตร์ นอกจากนี้เรายังสามารถวาดแผนที่แสดงคุณสมบัติของบริเวณต่าง ๆ บนพื้นโลก เช่น ความหนาแน่นของประชากร ความสูงของพื้นที่ ดัชนีการพัฒนาของมนุษย์ในแต่ละประเทศ เป็นต้น.

ใหม่!!: วงศ์ปลาหมอสีและแผนที่ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

CichlidCichlidaeปลาหมอสี

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »