เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

วงศ์งูงวงช้างและสกุล (ชีววิทยา)

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง วงศ์งูงวงช้างและสกุล (ชีววิทยา)

วงศ์งูงวงช้าง vs. สกุล (ชีววิทยา)

วงศ์งูงวงช้าง (File snakes, Elephant trunk snakes, Dogface snakes) เป็นวงศ์ของงูที่ไม่มีพิษวงศ์หนึ่ง ที่มีรูปร่างขนาดใหญ่ ใช้ชื่อวงศ์ว่า Acrochordidae มีรูปร่างโดยรวม คือ มีหัวเล็กแต่มีลำตัวขนาดใหญ่ ผิวหนังไม่ยิดติดกับกล้ามเนื้อลำตัวและพับเป็นรอยย่นมาก เกล็ดตามลำตัวเป็นตุ่มนูนและเรียงตัวต่อเนื่องกัน โดยมีตุ่มหนามเจริญขึ้นมาจากผิวหนังลำตัวระหว่างเกล็ด เป็นงูที่อาศัยและหากินในน้ำเป็นหลัก จึงมีส่วนหางที่แบนเพื่อใช้ในการว่ายน้ำ ไม่มีแผ่นปิดช่องจมูกภายนอกแต่ในอุ้งปากมีแผ่นเนื้อเพื่อใช้ปิดโพรงจมูกด้านใน หากินปลาเป็นอาหารหลัก ด้วยการใช้ลำตัวส่วนท้ายที่เป็นตุ่มหนามยึดและรัดไว้ รอให้ปลาเข้ามาใกล้ เมื่อปลาสัมผัสกับผิวหนังลำตัวจะโบกรอยพับที่ย่นของลำตัวนั้นไปข้างหน้าอย่างต่อเนื่องเพื่อผลักตัวปลาไปข้างหน้าแล้วใช้ปากงับไว้อย่างรวดเร็ว เป็นงูที่มีขนาดใหญ่ ตั้งแต่ 80-100 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่เอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไปจนถึงหมู่เกาะฟิลิปปินและออสเตรเลีย มีทั้งหมดเพียง 3 ชนิด และสกุลเดียวเท่านั้นคือ Acrochordus ทุกชนิดออกลูกเป็นตัว โดยในประเทศไทยพบ 2 ชนิด คือ งูงวงช้าง (A. javanicus) และงูผ้าขี้ริ้ว (A. granulatus). ในทางชีววิทยา สกุล (อังกฤษ genus) เป็นการจัดกลุ่มเอาสิ่งมีชีวิตสปีชีส์ที่มีลักษณะใกล้เคียงเข้ามารวมกัน ในการตั้งชื่อแบบทวินาม ชื่อสิ่งมีชีวิตประกอบขึ้นจากสองส่วน คือ สกุล ซึ่งต้องขึ้นต้นด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ และ สปีชีส์ ตัวอย่างหนึ่งคือ Homo sapiens เป็นชื่อเรียกมนุษย์ อยู่ในสกุล Homo ชื่อสกุลในอาณาจักรหนึ่งสามารถซ้ำกับชื่อสกุลหรือชื่อในอนุกรมวิธานของอาณาจักรอื่นได้ ตัวอย่างเช่น Anura เป็นชื่อสกุลของพืชในวงศ์ และเป็นชื่ออันดับของกบ Aotus เป็นชื่อสกุลของถั่วและลิง เป็นต้น แต่ชื่อสกุลในอาณาจักรหนึ่ง ๆ ต้องห้ามซ้ำกัน หมวดหมู่:ชีววิทยา หมวดหมู่:การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง วงศ์งูงวงช้างและสกุล (ชีววิทยา)

วงศ์งูงวงช้างและสกุล (ชีววิทยา) มี 2 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์สปีชีส์

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ หรือ การจำแนกชั้นทางชีววิทยา (Systematics) หมายถึงการจัดกลุ่มและหมวดหมู่สปีชีส์ของสิ่งมีชีวิต ทั้งที่มีอยู่ในปัจจุบันและที่สูญพันธุ์ไปแล้ว การจำแนกในยุคปัจจุบันอาศัยรากฐานจากระบบการจำแนกของ คาโรลัส ลินเนียส นักพฤกษศาสตร์ผู้จัดกลุ่มสปีชีส์ต่าง ๆ โดยดูจากลักษณะเฉพาะทางกายภาพ การจัดกลุ่มแบบนี้ได้มีการปรับปรุงอยู่เสมอเพื่อให้สอดคล้องกับหลักดาร์วิน ส่วนมากเป็นผลมาจากการศึกษาอนุกรมวิธานระดับโมเลกุลด้วยการวิเคราะห์จีโนม ในการแบ่งอย่างกว้างๆจะแบ่งได้ 2 ระดับ คือ ลำดับขั้นสูง และ ลำดับขั้นต่ำ.

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์และวงศ์งูงวงช้าง · การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์และสกุล (ชีววิทยา) · ดูเพิ่มเติม »

สปีชีส์

ในวิชาชีววิทยา ชนิด หรือทับศัพท์ว่า สปีชีส์ (species, ย่อ: sp., รูปพหูพจน์ย่อ: spp.) เป็นหน่วยการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานและอันดับอนุกรมวิธานหนึ่ง มักนิยามว่า สปีชีส์เป็นกลุ่มอินทรีย์ใหญ่สุดที่สามารถสืบพันธุ์แล้วออกลูกที่สืบพันธุ์ได้ การมีลักษณะปรับตัวเฉพาะบางท้องถิ่นอาจแบ่งสปีชีส์ต่ออีกได้เป็น "ชื่อต่ำกว่าระดับชนิด" (infraspecific taxa) เช่น ชนิดย่อย (ในทางพฤกษศาสตร์ มีใช้คำอื่น เช่น พันธุ์ (variety) พันธุ์ย่อยและแบบ (forma)).

วงศ์งูงวงช้างและสปีชีส์ · สกุล (ชีววิทยา)และสปีชีส์ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง วงศ์งูงวงช้างและสกุล (ชีววิทยา)

วงศ์งูงวงช้าง มี 18 ความสัมพันธ์ขณะที่ สกุล (ชีววิทยา) มี 13 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 2, ดัชนี Jaccard คือ 6.45% = 2 / (18 + 13)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง วงศ์งูงวงช้างและสกุล (ชีววิทยา) หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: