โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

วงศ์กระต่าย

ดัชนี วงศ์กระต่าย

วงศ์กระต่าย (Hare, Rabbit) เป็นวงศ์ของสัตว์ที่จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม อันดับกระต่าย (Lagomorpha) ในวงศ์ Leporidae สัตว์ที่อยู่ในวงศ์นี้แม้จะมีฟันแทะเหมือนกับสัตว์ฟันแทะ (Rodentia) แต่ถูกจัดออกมาเป็นอันดับต่างหาก เนื่องมีจำนวนฟันที่ไม่เท่ากัน เพราะกระต่ายมีฟันแทะที่ขากรรไกรบน 2 แถว เรียงซ้อนกันแถวละ 2 ซี่ ฟันกรามบนข้างละ 6 ซี่ และฟันกรามล่างข้างละ 5 ซี่ เมื่อเวลาเคี้ยวอาหาร กระต่ายจะใช้ฟันทั้ง 2 ด้านเคี้ยวสลับกันไป ต่างจากสัตว์ฟันแทะโดยทั่วไปที่เคี้ยวเคลื่อนหน้าเคลื่อนหลัง ซึ่งสามารถเขียนเป็นสูตรได้ว่า (1\tfrac,C\tfrac,P\tfrac,M\tfrac) X 2.

47 ความสัมพันธ์: ชะมดพ.ศ. 2518พันธุ์ป่าพืชกระรอกกระต่ายกระต่ายยุโรปกระต่ายลายเสือกระต่ายอาร์กติกกระต่ายป่ากระต่ายแจ็กกล้ามเนื้อการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดลมนุษย์วิวัฒนาการวงศ์งูเหลือมสกุล (ชีววิทยา)สมัยอีโอซีนสัตว์สัตว์กินเนื้อสัตว์มีแกนสันหลังสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมสิงหาคมหญ้าหมาจิ้งจอกหมาป่าหมาในหนูอันดับกระต่ายอันดับสัตว์ฟันแทะอาร์กติกผักทวีปยุโรปทวีปออสเตรเลียทุ่งหญ้าขั้วโลกเหนืองูป่านิ้ว (อวัยวะ)แมวป่าโอเชียเนียโซ่อาหารไฟลัมไพกาเพียงพอนเสือ

ชะมด

ัตว์จำพวกชะมดและอีเห็นหลายชนิด (จากซ้ายไปขวา คือ สกุล ''Paradoxurus'', ''Genetta'', ''Paguma'' และ ''Arctictis'') ชะมด หรือ เห็นอ้ม ในภาษาอีสาน (civet) เป็นชื่อสามัญที่ใช้เรียกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ในอันดับสัตว์กินเนื้อจำพวกหนึ่ง ที่อยู่ในวงศ์ Viverridae (ในอดีตเคยจัดให้พังพอนอยู่ในวงศ์นี้ด้วย) โดยคำว่า "ชะมด" ในภาษาไทย สันนิษฐานว่ามาจากคำในภาษาอาหรับว่า "อัซซะบาด" (الزباد) ชะมดมีรูปร่างโดยรวม คือ ใบหน้าแหลม รูปร่างเพรียว ตัวมีสีเทาหรือนํ้าตาล มีลายจุดสีดำตามยาวทั่วตัว หางและขนหางยาวมีลายเป็นปล้อง สามารถยืดหดเล็บได้เหมือนแมว มักออกหากินในเวลากลางคืน เป็นสัตว์ที่กินอาหารได้หลากหลายทั้งพืชและสัตว์ เป็นสัตว์ที่ปรับตัวให้เข้ากับสภาพภูมิประเทศได้หลากหลาย โดยสามารถอาศัยอยู่ในชายป่าใกล้ชุมชนหรือแหล่งเกษตรกรรมของมนุษย์ได้เป็นอย่างดี รวมถึงพื้นที่ชุ่มน้ำคล้ายนากด้วยในบางชนิดVeron, G., Gaubert, P., Franklin, N., Jennings, A. P. and Grassman Jr., L. I. (2006).

ใหม่!!: วงศ์กระต่ายและชะมด · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2518

ทธศักราช 2518 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1975 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพุธตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: วงศ์กระต่ายและพ.ศ. 2518 · ดูเพิ่มเติม »

พันธุ์ป่า

ันธุ์ป่าหรือไวลด์ไทป์ (wild type) เป็นฟีโนไทป์หนึ่งของสิ่งมีชีวิตสปีชีส์หนึ่งๆ ที่เป็นรูปแบบพื้นฐานเกิดขึ้นเองและพบได้ในธรรมชาติ ตามความเข้าใจเดิมนั้นลักษณะที่เป็นพันธุ์ป่าหมายถึงลักษณะที่เกิดจากอัลลีล "ปกติ" ของโลคัสนั้นๆ ซึ่งไม่เหมือนกับอัลลีล "กลายพันธุ์" ซึ่งไม่ปกติ ปัจจุบันเป็นที่ทราบกันดีแล้วว่าโลคัสส่วนใหญ่ของยีนนั้นมีอัลลีลหลายรูปแบบซึ่งมีความถี่แตกต่างกันไปตามภูมิประเทศที่สิ่งมีชีวิตนั้นๆ อยู่อาศัย ดังนั้นรูปแบบพันธุ์ป่าที่เป็นพื้นฐานจริงๆ นั้น จึงไม่มีอยู่จริง อย่างไรก็ดีโดยทั่วไปนั้นถือว่าอัลลีลที่พบบ่อยที่สุด หรือมีความถี่มากที่สุด จะถือว่าเป็นอัลลีลที่เป็นพันธุ์ป่า หลักการว่าด้วยการมีอยู่ของไวลด์ไทป์มีประโยชน์ในการศึกษาสิ่งมีชีวิตต้นแบบเช่นแมลงวันผลไม้ Drosophila melanogaster ซึ่งลักษณะปรากฎ (ฟีโนไทป์) บางอย่างของแมลงวันนี้ เช่น สีตา หรือรูปร่างปีก สามารถถูกเปลี่ยนแปลงโดยการเกิดการกลายพันธุ์ในรูปแบบต่างๆ ได้ เช่น การมีตาสีขาว การมีร่องที่ปีก เป็นต้น อัลลีลที่เป็นไวลด์ไทป์จะถูกกำหนดด้วยสัญลักษณ์ "+" ที่ด้านบน.

ใหม่!!: วงศ์กระต่ายและพันธุ์ป่า · ดูเพิ่มเติม »

พืช

ืช เป็นสิ่งมีชีวิตกลุ่มใหญ่ประเภทหนึ่ง (มีประมาณ 350,000 สปีชีส์ ถูกระบุแล้ว 287,655 สปีชีส์ เป็นพืชดอก 258,650 ชนิด และพืชไม่มีท่อลำเลียง 18,000 ชนิด) อยู่ในอาณาจักรพืช (Kingdom Plantea) ประกอบด้วย ไม้ยืนต้น ไม้ดอก พืชล้มลุก และเฟิร์น พบได้ทั้งบนบกและในน้ำ เป็นสิ่งมีชีวิตที่เนื้อเยื่อส่วนใหญ่ประกอบด้วยหลายเซลล์ นิวเคลียสมีผนังเซลล์ ห่อหุ้ม เคลื่อนที่ไม่ได้ ได้แค่เอียงตัว จะสามารถเห็นได้ชัดเจน.เมื่อมีแดดส่อง พืชจะเอียงตัวไปที่แดด ไม่มีอวัยวะเกี่ยวกับความรู้สึก มีคลอโรฟิลล์ซึ่งเป็นสารสีเขียว ช่วยในการสังเคราะห์และเจริญเติบโต.

ใหม่!!: วงศ์กระต่ายและพืช · ดูเพิ่มเติม »

กระรอก

กระรอก(Squirrel, ภาษาไทยถิ่นเหนือ: ฮอก) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มีขนาดลำตัวเล็ก ขนปุยปกคลุมทั่วทั้งร่างกาย นัยน์ตากลมดำ หางเป็นพวงฟู จัดอยู่ในประเภทสัตว์ฟันแทะ ในวงศ์ Sciuridae.

ใหม่!!: วงศ์กระต่ายและกระรอก · ดูเพิ่มเติม »

กระต่าย

กระต่ายสายพันธุ์เนเธอร์แลนด์ดวอฟ ซึ่งเป็นกระต่ายสายพันธุ์เล็ก และนิยมเป็นสัตว์เลี้ยงกันมากที่สุดชนิดหนึ่ง กระต่าย (Rabbit) เป็นสัตว์ที่จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีกระดูกสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม อันดับกระต่าย (Lagomorpha) ในวงศ์ Leporidae กระต่ายแม้จะมีฟันแทะเหมือนกับสัตว์ฟันแทะ (Rodentia) แต่ถูกจัดออกมาเป็นอันดับต่างหาก เนื่องมีจำนวนฟันที่ไม่เท่ากัน เพราะกระต่ายมีฟันแทะที่ขากรรไกรบน 2 แถว เรียงซ้อนกันแถวละ 2 ซี่ ฟันกรามบนข้างละ 6 ซี่ และฟันกรามล่างข้างละ 5 ซี่ เมื่อเวลาเคี้ยวอาหาร กระต่ายจะใช้ฟันทั้ง 2 ด้านเคี้ยวสลับกันไป ต่างจากสัตว์ฟันแทะโดยทั่วไปที่เคี้ยวเคลื่อนหน้าเคลื่อนหลัง ซึ่งสามารถเขียนเป็นสูตรได้ว่า (1\tfrac, C\tfrac, P\tfrac, M\tfrac) X 2.

ใหม่!!: วงศ์กระต่ายและกระต่าย · ดูเพิ่มเติม »

กระต่ายยุโรป

กระต่ายยุโรป หรือ กระต่ายบ้าน (European rabbit, Common rabbit; ชื่อวิทยาศาสตร์: Oryctolagus cuniculus) เป็นกระต่ายพื้นเมืองของแถบยุโรป (สเปน และ โปรตุเกส) และตะวันตกเฉียงเหนือของแอฟริกา (โมรอคโค และ แอลจีเรีย) เป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Oryctolagus แบ่งออกได้เป็นชนิดย่อยต่าง ๆ ได้ 6 ชนิด (ดูในตาราง).

ใหม่!!: วงศ์กระต่ายและกระต่ายยุโรป · ดูเพิ่มเติม »

กระต่ายลายเสือ

กระต่ายลายเสือ หรือ กระต่ายป่าลายเสือ (Striped rabbit) เป็นกระต่ายสกุล Nesolagus (/นี-โซ-ลา-กัส/) กระต่ายลายเสือ จัดเป็นกระต่ายที่มีขนาดเล็ก มีใบหูที่เล็กกว่ากระต่ายสกุลอื่น ๆ มีลักษณะเด่น คือ ขนตามลำตัวมีสีน้ำตาลเหลือง หรือน้ำตาลแกมส้ม มีลายสีดำพาดขวางตามลำตัว เป็นลวดลายแลดูคล้ายลายของเสือโคร่ง อันเป็นที่มาของชื่อ มีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด กระจายพันธุ์ในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ คือ.

ใหม่!!: วงศ์กระต่ายและกระต่ายลายเสือ · ดูเพิ่มเติม »

กระต่ายอาร์กติก

กระต่ายอาร์กติก (Arctic HareHoffman, Robert S.; Smith, Andrew T. (16 November 2005).) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม อาศัยอยู่ตอนเหนือของไซบีเรีย และ ขั้วโลกเหนือ.

ใหม่!!: วงศ์กระต่ายและกระต่ายอาร์กติก · ดูเพิ่มเติม »

กระต่ายป่า

กระต่ายป่า (Burmese hare, Siamese hare) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Leporidae ชนิดหนึ่ง มีลักษณะเด่นคือ มีหูยาว สามารถมองเห็นได้แต่ไกล มีขนขึ้นบริเวณกระพุ้งแก้มและมีฟันหน้าของขากรรไกรบน 4 ซี่ เรียงซ้อนกัน 2 คู่ ฟันคู่หลังเล็กกว่าคู่หน้า ขาคู่หลังยาวกว่าขาคู่หน้า เท้าหน้ามี 5 นิ้ว เท้าหลังมี 4 นิ้ว ใต้ผ่าเท้ามีขนปกคลุมหนาแน่นช่วยให้เคลื่อนไหวได้โดยไม่มีเสียง หางสั้นเป็นกระจุก ขนบริเวณหลังเป็นสีน้ำตาลปนเทา ปลายขนมีสีน้ำตาลเข้ม มีความยาวลำตัวและหัว 44-50 เซนติเมตร ความยาวหาง 6.5-8.5 เซนติเมตร น้ำหนัก 1.35-7 กิโลกรัม มีการกระจายพันธุ์ในพม่า, ไทย, เวียดนาม, ลาว, กัมพูชา ชอบอาศัยในป่าโปร่ง, ป่าเต็งรัง, ป่าเบญจพรรณ ออกหากินในเวลากลางคืนตามพงหญ้าที่รกชัฏ ออกหากินตามลำพังในอาณาบริเวณของตัวเอง มี หญ้า เป็นอาหารหลัก ยอดไม้ หรือผลไม้ที่ร่วงจากต้นเป็นอาหารเสริม ในบางครั้งอาจแทะเขากวางที่ผลัดทิ้งเพื่อเพิ่มแคลเซียมด้วย กระต่ายป่าตัวผู้มักต่อสู้เพื่อแย่งชิงตัวเมียในฤดูผสมพันธุ์ด้วยการกระโดดถีบหรือกัดด้วยความรุนแรง กระต่ายป่าตัวเมียใช้เวลาตั้งท้อง 35-40 วัน ออกลูกครั้งละ 1-7 ตัว โดยการขุดโพรงใต้ดินอยู่ ลูกกระต่ายป่าที่เกิดใหม่จะขนปกคลุมตัว และลืมตาได้เล.

ใหม่!!: วงศ์กระต่ายและกระต่ายป่า · ดูเพิ่มเติม »

กระต่ายแจ็ก

ำหรับ Lepus ในความหมายอื่น ดูที่: กลุ่มดาวกระต่ายป่า กระต่ายแจ็ก หรือ กระต่ายป่า (Jackrabbit, Jacklope, Hare) เป็นสกุลของกระต่ายสกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Lepus (/ลี-ปัส/) กระต่ายสกุลนี้ เป็นกระต่ายป่า กระจายพันธุ์ไปในทุกภูมิภาคทั่วโลก ยกเว้นทวีปออสเตรเลีย มีทั้งหมด 32 ชนิด โดยปกติจะมีขนสีน้ำตาลหรือเทา หูยาวมีขนาดใหญ่ และขาหลังที่ใหญ่และทรงพลัง มีความคล่องแคล่วปราดเปรียวมาก ใต้ฝ่าเท้ามีขนอ่อนนุ่มรองรับไว้เพื่อรองรับการกระโดด ในประเทศไทย พบเพียงชนิดเดียว คือ กระต่ายป่า (L. peguensis) กระต่ายแจ็ก หรือ กระต่ายป่านั้นเป็นสัตว์ที่มีความปราดเปรียวว่องไวมาก วิ่งและกระโดดได้เร็ว เมื่อคิดเป็นสถิติแล้วยังสามารถวิ่งได้เร็วกว่านักกรีฑาเหรียญทองโอลิมปิกถึง 2 เท.

ใหม่!!: วงศ์กระต่ายและกระต่ายแจ็ก · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อ

การจัดลำดับของกล้ามเนื้อโครงสร้าง กล้ามเนื้อ (muscle; มาจากภาษาละติน musculus "หนูตัวเล็ก") เป็นเนื้อเยื่อที่หดตัวได้ในร่างกาย เปลี่ยนแปลงมาจากเมโซเดิร์ม (mesoderm) ของชั้นเนื้อเยื่อในตัวอ่อน และเป็นระบบหนึ่งของร่างกายที่สำคัญต่อการเคลื่อนไหวทั้งหมดของร่างกาย แบ่งออกเป็นกล้ามเนื้อโครงร่าง (skeletal muscle), กล้ามเนื้อเรียบ (smooth muscle), และกล้ามเนื้อหัวใจ (cardiac muscle) ทำหน้าที่หดตัวเพื่อให้เกิดแรงและทำให้เกิดการเคลื่อนที่ (motion) รวมถึงการเคลื่อนที่และการหดตัวของอวัยวะภายใน กล้ามเนื้อจำนวนมากหดตัวได้นอกอำนาจจิตใจ และจำเป็นต่อการดำรงชีวิต เช่น การบีบตัวของหัวใจ หรือการบีบรูด (peristalsis) ทำให้เกิดการผลักดันอาหารเข้าไปภายในทางเดินอาหาร การหดตัวของกล้ามเนื้อที่อยู่ใต้อำนาจจิตใจมีประโยชน์ในการเคลื่อนที่ของร่างกาย และสามารถควบคุมการหดตัวได้ เช่นการกลอกตา หรือการหดตัวของกล้ามเนื้อควอดริเซ็บ (quadriceps muscle) ที่ต้นขา ใยกล้ามเนื้อ (muscle fiber) ที่อยู่ใต้อำนาจจิตใจแบ่งกว้างๆ ได้เป็น 2 ประเภทคือ กล้ามเนื้อ fast twitch และกล้ามเนื้อ slow twitch กล้ามเนื้อ slow twitch สามารถหดตัวได้เป็นระยะเวลานานแต่ให้แรงน้อย ในขณะที่กล้ามเนื้อ fast twitch สามารถหดตัวได้รวดเร็วและให้แรงมาก แต่ล้าได้ง.

ใหม่!!: วงศ์กระต่ายและกล้ามเนื้อ · ดูเพิ่มเติม »

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ หรือ การจำแนกชั้นทางชีววิทยา (Systematics) หมายถึงการจัดกลุ่มและหมวดหมู่สปีชีส์ของสิ่งมีชีวิต ทั้งที่มีอยู่ในปัจจุบันและที่สูญพันธุ์ไปแล้ว การจำแนกในยุคปัจจุบันอาศัยรากฐานจากระบบการจำแนกของ คาโรลัส ลินเนียส นักพฤกษศาสตร์ผู้จัดกลุ่มสปีชีส์ต่าง ๆ โดยดูจากลักษณะเฉพาะทางกายภาพ การจัดกลุ่มแบบนี้ได้มีการปรับปรุงอยู่เสมอเพื่อให้สอดคล้องกับหลักดาร์วิน ส่วนมากเป็นผลมาจากการศึกษาอนุกรมวิธานระดับโมเลกุลด้วยการวิเคราะห์จีโนม ในการแบ่งอย่างกว้างๆจะแบ่งได้ 2 ระดับ คือ ลำดับขั้นสูง และ ลำดับขั้นต่ำ.

ใหม่!!: วงศ์กระต่ายและการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยมหิดล

มหาวิทยาลัยมหิดล (Mahidol University; ชื่อย่อ: ม.มหิดล / MU) เป็นสถาบันที่มีที่มาจากการเป็นโรงเรียนแพทย์ ณ โรงพยาบาลศิริราช ชื่อว่า โรงเรียนแพทยากร ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี..

ใหม่!!: วงศ์กระต่ายและมหาวิทยาลัยมหิดล · ดูเพิ่มเติม »

มนุษย์

มนุษย์ (ภาษาละตินแปลว่า "คนฉลาด" หรือ "ผู้รู้") เป็นสปีชีส์เดียวที่ยังมีชีวิตอยู่ในสกุล Homo ในทางกายวิภาค มนุษย์สมัยใหม่ถือกำเนิดขึ้นในทวีปแอฟริการาว 200,000 ปีที่แล้ว และบรรลุความนำสมัยทางพฤติกรรม (behavioral modernity) อย่างสมบูรณ์เมื่อราว 50,000 ปีที่แล้ว เชื้อสายมนุษย์แยกออกจากบรรพบุรุษร่วมสุดท้ายกับชิมแพนซี สิ่งมีชีวิตที่ใกล้ชิดที่สุด เมื่อราว 5 ล้านปีที่แล้วในแอฟริกา ก่อนจะวิวัฒนาการไปเป็นออสตราโลพิเธซีน (Australopithecines) และสุดท้ายเป็นสกุล Homo สปีชีส์ โฮโม แรก ๆ ที่อพยพออกจากแอฟริกา คือ Homo erectus, Homo ergaster ร่วมกับ Homo heidelbergensis ซึ่งถูกมองว่าเป็นบรรพบุรุษสายตรงของมนุษย์สมัยใหม่ Homo sapiens ยังเดินหน้าตั้งถิ่นฐานในทวีปต่าง ๆ โดยมาถึงยูเรเซียระหว่าง 125,000-60,000 ปีที่แล้ว ทวีปออสเตรเลียราว 40,000 ปีที่แล้ว ทวีปอเมริการาว 15,000 ปีที่แล้ว และเกาะห่างไกล เช่น ฮาวาย เกาะอีสเตอร์ มาดากัสการ์และนิวซีแลนด์ระหว่าง..

ใหม่!!: วงศ์กระต่ายและมนุษย์ · ดูเพิ่มเติม »

วิวัฒนาการ

ในด้านชีววิทยา วิวัฒนาการ (Evolution) คือการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมในประชากรของสิ่งมีชีวิต จากรุ่นหนึ่งสู่อีกรุ่นหนึ่ง วิวัฒนาการเกิดจากกระบวนการหลัก 3 กระบวนการ ได้แก่ ความแปรผัน การสืบพันธุ์ และการคัดเลือก โดยอาศัยยีนเป็นตัวกลางในการส่งผ่านลักษณะทางพันธุกรรม อันเป็นพื้นฐานของการเกิดวิวัฒนาการ ลักษณะเช่นนี้เกิดขึ้นในประชากรเพื่อให้เกิดความแปรผันทางพันธุกรรมเมื่อสิ่งมีชีวิตให้กำเนิดลูกหลานย่อมเกิดลักษณะใหม่ หรือเปลี่ยนแปลงลักษณะเดิม โดยลักษณะใหม่ที่เกิดขึ้นนี้มีสาเหตุสำคัญ 2 ประการ ประการหนึ่ง เกิดจากกระบวนการกลายพันธุ์ของยีน และอีกประการหนึ่ง เกิดจากการแลกเปลี่ยนยีนระหว่างประชากร และระหว่างสปีชีส์ ในสิ่งมีชีวิตที่มีการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ สิ่งมีชีวิตใหม่ที่เกิดขึ้นจะผ่านกระบวนการแลกเปลี่ยนยีน อันก่อให้เกิดความแปรผันทางพันธุกรรมที่หลากหลายในสิ่งมีชีวิต วิวัฒนาการเกิดขึ้นเมื่อความแตกต่างทางพันธุกรรมเกิดขึ้น จนเกิดความแตกต่างมากขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นลักษณะที่แตกต่างกัน กลไกในการเกิดวิวัฒนาการแบ่งได้ 2 กลไก กลไกหนึ่งคือการคัดเลือกโดยธรรมชาติ (natural selection) อันเป็นกระบวนการคัดเลือกสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะเหมาะสมที่จะอยู่รอด และสืบพันธุ์จนได้ลักษณะที่เหมาะสมที่สุด และลักษณะที่ไม่เหมาะสมจะเหลือน้อยลง กลไกนี้เกิดขึ้นเพื่อคัดเลือกลักษณะของประชากรที่เกิดประโยชน์ในการสืบพันธุ์สูงสุด เมื่อสิ่งมีชีวิตหลายรุ่นได้ผ่านพ้นไป ก็จะเกิดกระบวนการปรับตัวของสิ่งมีชีวิต เพื่อให้อยู่ในสิ่งแวดล้อมได้อย่างเหมาะสม กลไกที่สองในการขับเคลื่อนกระบวนการวิวัฒนาการคือการแปรผันทางพันธุกรรม (genetic drift) อันเป็นกระบวนการอิสระจากการคัดเลือกความถี่ของยีนประชากรแบบสุ่ม การแปรผันทางพันธุกรรมเป็นผลมาจากการอยู่รอด และการสืบพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต แม้ว่าการแปรผันทางพันธุกรรมในแต่ละรุ่นนั้นจะเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย แต่ลักษณะเหล่านี้จะสะสมจากรุ่นสู่รุ่น เกิดการเปลี่ยนแปลงทีละเล็กละน้อยในสิ่งมีชีวิต จนกระทั่งเวลาผ่านไปเป็นระยะเวลานาน จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นในลักษณะของสิ่งมีชีวิต กระบวนการดังกล่าวเมื่อถึงจุดสูงสุดจะทำให้กำเนิดสปีชีส์ชนิดใหม่ แม้กระนั้น ความคล้ายคลึงกันระหว่างสิ่งมีชีวิตมีข้อเสนอที่เป็นที่รู้จักกันดีคือการสืบเชื้อสายจากบรรพบุรุษ (หรือยีนพูลของบรรพบุรุษ) เมื่อผ่านกระบวนการนี้จะก่อให้เกิดความหลากหลายมากขึ้นทีละเล็กละน้อย เอกสารหลักฐานทางชีววิทยาวิวัฒนาการชี้ให้เห็นว่ากระบวนการวิวิฒนาการเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริง ทฤษฎีอยู่ในช่วงของการทดลอง และพัฒนาในสาเหตดังกล่าว การศึกษาซากฟอสซิล และความหลากหลายทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิตทำให้นักวิทยาศาสตร์ช่วงกลางคริสศตวรรษที่ 19 ส่วนใหญ่เชื่อว่าสปีชีส์มีการเปลี่ยนแปลงมาตลอดในระยะเวลาที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม กระบวนการที่ขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงนี้เป็นปริศนาต่อนักวิทยาศาสตร์ทั่วไป จนกระทั่งปี พ.ศ. 2402 ชาร์ล ดาวิน ตีพิมพ์หนังสือ กำเนิดสปีชีส์ ซึ่งได้อธิบายทฤษฎีวิวัฒนาการโดยกระบวนการคัดเลือกโดยธรรมชาต.

ใหม่!!: วงศ์กระต่ายและวิวัฒนาการ · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์งูเหลือม

วงศ์งูเหลือม (Python) เป็นวงศ์ของงูไม่มีพิษขนาดใหญ่ นับเป็นงูที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกที่ยังคงสืบเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบัน ใช้ชื่อวงศ์ว่า Pythonidae มีลักษณะโดยรวม คือ มีกระดูกพรีแมคซิลลามีฟันยกเว้นในสกุล Aspidites ที่ไม่มี กระดูกแมคซิลลาเรียงตัวกันตามยาว ช่องเปิดตาอยู่ตรงรอยต่อระหว่างกระดูกฟรอนทัลกับกระดูกพาไรทัล ขากรรไกรมีกระดูกโคโรนอยด์ มีกระดูกของรยางค์ต่อระหว่างกระดูกฟรอนทัลกับกระดูกพาไรทัล ขากรรไกรล่างมีกระดูกโคโรนอยด์ มีกระดูกของรยางค์ขาคู่หลังที่ยังลดรูปไม่หมดและเป็นแท่งขนาดเล็กที่มองเห็นได้ทางช่องเปิดทวารร่วม มีกระดูกเชิงกรานขนาดเล็กที่ยังลดรูปไม่หมดฝังอยู่ในกล้ามเนื้อของลำตัว มีปอดข้างซ้ายใหญ่ มีท่อนำไข่มั้งสองข้างเจริญเท่ากัน มีแอ่งรับคลื่นความร้อนกระจายอยู่บริเวณขอบปากบนและล่าง เป็นงูขนาดใหญ่และไม่มีพิษ จึงมีกล้ามเนื้อที่แข็งแรงและเรี่ยวแรงพละกำลังมาก จึงใช้วิธีการรัดเหยื่อจนกระดูกหักและขาดใจตายจึงกลืนกินเข้าไปทั้งตัว ล่าเหยื่อด้วยการรอให้เข้ามาใกล้แล้วจึงเข้ารัด มีการกระจายพันธุ์ในหลายภูมิประเทศทั้งป่าดิบชื้น, ทะเลทราย ไปจนเกาะแก่งต่าง ๆ กลางทะเล หรือในชุมชนเมือง ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ใกล้แหล่งน้ำ พบตั้งแต่ทะเลทรายซาฮาราในทวีปแอฟริกา, เอเชียใต้, เอเชียตะวันออก และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จนถึงออสเตรเลีย มีขนาดตั้งแต่ 30 เซนติเมตร จนถึงกว่า 10 เมตร แต่มีขนาดโดยเฉลี่ยประมาณ 1 เมตร หากินทั้งบนบก, ในน้ำ และบนต้นไม้ โดยกินสัตว์เลือดอุ่นจำพวกสัตว์ปีกและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเป็นหลัก ขยายพันธุ์ด้วยการวางไข่ ตัวเมียจะเป็นผู้ดูแลไข่ด้วยการกกจนกระทั่งฟักเป็นตัว ปริมาณไข่ขึ้นอยู่กับอายุและความแข็งแรงของตัวเมีย มีทั้งหมด 8 สกุล 26 ชนิด เป็นงูที่มนุษย์รู้จักและคุ้นเคยเป็นอย่างดี คือ งูหลาม (Python bivittatus) และงูเหลือม (P. reticulatus) ซึ่งเป็นงูที่มีขนาดใหญ่และยาวที่สุดในโลก ในประเทศไทยพบ 3 ชนิด คือ งูหลาม, งูเหลือม และงูหลามปากเป็ด (P. curtus) หลายชนิดนิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยง และมีราคาแพงอย่างยิ่งในตัวที่มีสีสันหรือลวดลายแปลกไปจากธรรมชาติ ซึ่งสามารถเพาะขยายพันธุ์กันได้ในที่เลี้ยง เช่น งูหลามบอล (P. regius) หลายชนิดใช้เนื้อ, กระดูกและหนังเป็นประโยชน์ได้ เช่น ใช้ทำเครื่องดนตรีบางประเภท หรือทำเป็นอุปกรณ์ใช้งาน เช่น กระเป๋า, รองเท้า, เข็มขัด หรือทำเครื่องรางของขลัง.

ใหม่!!: วงศ์กระต่ายและวงศ์งูเหลือม · ดูเพิ่มเติม »

สกุล (ชีววิทยา)

ในทางชีววิทยา สกุล (อังกฤษ genus) เป็นการจัดกลุ่มเอาสิ่งมีชีวิตสปีชีส์ที่มีลักษณะใกล้เคียงเข้ามารวมกัน ในการตั้งชื่อแบบทวินาม ชื่อสิ่งมีชีวิตประกอบขึ้นจากสองส่วน คือ สกุล ซึ่งต้องขึ้นต้นด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ และ สปีชีส์ ตัวอย่างหนึ่งคือ Homo sapiens เป็นชื่อเรียกมนุษย์ อยู่ในสกุล Homo ชื่อสกุลในอาณาจักรหนึ่งสามารถซ้ำกับชื่อสกุลหรือชื่อในอนุกรมวิธานของอาณาจักรอื่นได้ ตัวอย่างเช่น Anura เป็นชื่อสกุลของพืชในวงศ์ และเป็นชื่ออันดับของกบ Aotus เป็นชื่อสกุลของถั่วและลิง เป็นต้น แต่ชื่อสกุลในอาณาจักรหนึ่ง ๆ ต้องห้ามซ้ำกัน หมวดหมู่:ชีววิทยา หมวดหมู่:การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์.

ใหม่!!: วงศ์กระต่ายและสกุล (ชีววิทยา) · ดูเพิ่มเติม »

สมัยอีโอซีน

''Basilosaurus'' ''Prorastomus'', an early sirenian สมัยอีโอซีน (Eocene) เป็นสมัยหนึ่งของยุคพาลีโอจีนในธรณีกาลระหว่าง 56 ถึง 33.9 ล้านปีก่อนถึงปัจจุบัน สมัยอีโอซีนเป็นสมัยที่สองของยุคพาลีโอจีน ซึ่งเป็นยุคแรกของมหายุคซีโนโซอิก สมัยอีโอซีนต่อมาจากสมัยพาลีโอซีนและตามด้วยสมัยโอลิโกซีน ชื่อ Eocene มาจากกรีกโบราณἠώς (ēṓs, "รุ่งอรุณ") และκαινός (kainós, "ใหม่") และหมายถึง "รุ่งอรุณ" ของสัตว์สมัยใหม่ที่ปรากฏในช่วงยุคนี้.

ใหม่!!: วงศ์กระต่ายและสมัยอีโอซีน · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: วงศ์กระต่ายและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์กินเนื้อ

ัตว์กินเนื้อ หรือ คาร์นิวอรา (ชื่อวิทยาศาสตร์: Order Carnivora) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม หมายถึงสัตว์ที่กินเนื้อสัตว์เป็นอาหารหลัก ไม่ว่าเนื้อสัตว์นั้นจะมาจากสัตว์ที่มีชีวิตอยู่หรือว่าตายแล้ว สัตว์บางชนิดจำเป็นที่จะต้องกินเนื้อเพื่อความอยู่รอด อันเนื่องมาจากพันธุกรรม เราเรียกสัตว์ในกลุ่มนี้ว่า "true carnivore" (สัตว์กินเนื้อแท้) หรือ "obligate carnivores" (สัตว์กินเนื้อโดยบังคับ) สัตว์ในกลุ่มนี้อาจกินพืชผักหรืออาหารชนิดอื่นได้ แต่มันจะต้องกินเนื้อเพื่อเป็นแหล่งสารอาหารหลักของมัน กายวิภาคของสัตว์ในกลุ่มนี้ ทำให้มันไม่สามารถย่อยอาหารจำพวกพืชได้อย่างมีประสิท.

ใหม่!!: วงศ์กระต่ายและสัตว์กินเนื้อ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ใหม่!!: วงศ์กระต่ายและสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม

ัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม (Mammalia) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง โดยคำว่า Mammalia มาจากคำว่า Mamma ที่มีความหมายว่า "หน้าอก" เป็นกลุ่มของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ที่มีการวิวัฒนาการและพัฒนาร่างกายที่ดีหลากหลายประการ รวมทั้งมีระบบประสาทที่เจริญก้าวหน้า สามารถดำรงชีวิตได้ในทุกสภาพสิ่งแวดล้อมสัตววิทยา (สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม), บพิธ-นันทพร จารุพันธุ์, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2547, หน้า 411 มีขนาดของร่างกายและรูปพรรณสัณฐานที่แตกต่างกันออกไป รวมถึงการทำงานของระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย ที่มีการปรับเปลี่ยนไปตามลักษณะของสายพันธุ์ มีลักษณะเด่นคือมีต่อมน้ำนมที่มีเฉพาะในเพศเมียเท่านั้น เพื่อผลิตน้ำนมเพื่อใช้เลี้ยงลูกวัยแรกเกิด เป็นสัตว์เลือดอุ่น มีขนเป็นเส้น ๆ (hair) หรือขนอ่อน (fur) ปกคลุมทั่วทั้งร่างกาย เพื่อเป็นการรักษาอุณหภูมิในร่างกาย ยกเว้นสัตว์น้ำที่ไม่มีขน สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ไม่จัดอยู่ในประเภทสัตว์กลุ่มใหญ่ คือมีจำนวนประชากรประมาณ 4,500 ชนิด ซึ่งถือว่าเป็นปริมาณน้อยมากเมื่อเทียบกับนก ที่มีประมาณ 9,200 ชนิด และปลาอีกประมาณ 20,000 ชนิด รวมทั้งแมลงอีกประมาณ 800,000 ชนิด ส่วนใหญ่เป็นสัตว์บก เช่น สุนัข ช้าง ลิง เสือ สิงโต จิงโจ้ เม่น หนู ฯลฯ สำหรับสัตว์น้ำที่จัดเป็นเลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ได้แก่ โลมา วาฬ มานาทีและพะยูน แต่สำหรับสัตว์ปีกประเภทเดียวที่เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมคือค้างคาว ซึ่งกระรอกบินและบ่างนั้น ไม่จัดอยู่ในประเภทของสัตว์ปีก เนื่องจากใช้ปีกในการร่อนไปได้เพียงแค่ระยะหนึ่งเท่านั้น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมส่วนใหญ่ออกลูกเป็นตัว ยกเว้นตุ่นปากเป็ดและอีคิดนาเท่านั้นที่ออกลูกเป็น.

ใหม่!!: วงศ์กระต่ายและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม · ดูเพิ่มเติม »

สิงหาคม

งหาคม เป็นเดือนที่ 8 ของปี ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็นหนึ่งในเดือน 7 เดือนที่มี 31 วัน ตามหลักโหราศาสตร์ เดือนสิงหาคมเริ่มต้นขึ้นเมื่อดวงอาทิตย์ยกเข้าสู่ราศีสิงห์ และสิ้นสุดเมื่อยกเข้าสู่ราศีกันย์ แต่ในทางดาราศาสตร์ ต้นเดือนสิงหาคมดวงอาทิตย์อยู่ในกลุ่มดาวปูและปลายเดือนไปอยู่ในกลุ่มดาวสิงโต เดือนสิงหาคมเดิมใช้ชื่อในภาษาละตินว่า ซิกซ์ตีลิส (Sextilis) เนื่องจากเป็นเดือนที่ 6 ในปฏิทินโรมันดั้งเดิมที่เริ่มต้นปีในเดือนมีนาคม ต่อมาเปลี่ยนเป็น August เพื่อเป็นเกียรติแด่ ออกัสตัส ซีซาร์ เพราะเป็นเดือนที่พระองค์เข้าไปโรมในชัยชนะของเจ้าทั้งตะวันออกและตะวันตก ประเทศไทยเริ่มใช้ชื่อเดือนสิงหาคมในปี พ.ศ. 2432 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5 โดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาเทววงศ์วโรปการ เป็นผู้เสนอให้ใช้ราศีกำหนดชื่อเดือน.

ใหม่!!: วงศ์กระต่ายและสิงหาคม · ดูเพิ่มเติม »

หญ้า

หญ้า เป็นพืชล้มลุกหลายชนิด หลายสกุล ในชั้น Liliopsida วงศ์ Poaceae หรือเป็นที่รู้จักกันดีว่าวงศ์ Gramineae เช่น หญ้าคา (Imperata cylindrica Beauv.) หญ้าตีนกา (Eleusine indica Gaertn.) หญ้าแพรก (Cynodon dactylon Pers.) หญ้าที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ชื่อว่า ธูปฤาษี มีพืชชนิดนี้ประมาณ 600 สกุล และมีประมาณ 10,000 ชนิด มีการประเมินกันว่าหญ้าเป็นพืชที่ปกคลุมผิวโลกกว่า 20% ของพืชทั้งหมดบนโลก พืชในวงศ์นี้เป็นพืชที่มีความสำคัญที่สุดต่อเศรษฐกิจมนุษย์ รวมไปถึง ใช้เป็นสนามหญ้า, อาหารหลักที่ปลูกทั่วโลก, และไม้ไผ่ซึ่งใช้กันอย่างแพร่หลายในการสร้างในเอเชีย แต่บางชนิดจัดเป็นวัชพืช ปัจจุบัน หญ้าเริ่มมีบทบาทสำคัญมากขึ้นในด้านการนำมาใช้ผลิตพลังงานทดแทนพลังงานทดแทนอีกด้วย เช่นหญ้ามิสแคนทัส และ หญ้ามิสแคนทัสช้าง พืชในวงศ์หญ้าที่เรารู้จักดี เช่น ข้าว ข้าวโพด ข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ ข้าวฟ่าง ข้าวโอ้ต ข้าวไรย์ ลูกเดือย หญ้าไรย์ อ้อย ไผ่ ตะไคร้ เป็นต้น.

ใหม่!!: วงศ์กระต่ายและหญ้า · ดูเพิ่มเติม »

หมาจิ้งจอก

หมาจิ้งจอก หรือ สุนัขจิ้งจอก หรือเรียกสั้น ๆ ว่า จิ้งจอก (fox, jackal; อีสาน: หมาจอก) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีกระดูกสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม วงศ์ Canidae ในเผ่า Vulpini ลักษณะทั่วไปของหมาจิ้งจอกจะมีขนาดลำตัวที่เล็กกว่าสุนัขบ้านทั่วไป และคล้ายกับสุนัขไทยพื้นเมือง จมูกแหลมยาว หูใหญ่ชี้ตั้ง ฟันกรามแข็งแรงและแหลมคม หางยาวเป็นพวง ขนสีน้ำตาลแกมเหลือง หมาจิ้งจอกมีทั้งหมด 27 ชนิด ใน 5 สกุล พบได้ทั่วโลก แม้กระทั่งขั้วโลกเหนือ สามารถปรับตัวให้เข้ากับทุกสภาพแวดล้อมได้ สำหรับในประเทศไทย หมาจิ้งจอกจัดอยู่ในสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป..

ใหม่!!: วงศ์กระต่ายและหมาจิ้งจอก · ดูเพิ่มเติม »

หมาป่า

หมาป่า หรือ หมาป่าสีแดง เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม จัดอยู่ในวงศ์ Canidae มีสัตว์ร่วมตระกูลคือ หมาจิ้งจอก หมาใน ไคโยตี ไฮยีน่าและดิงโก หมาป่าจัดอยู่ในสัตว์ประเภทกินเนื้อที่มีนิสัยค่อนข้างดุร้าย ปราดเปรียว เฉลียวฉลาด มีการออกล่าเป็นทีม มีความอดทนรวมทั้งมีความกล้าหาญและความสามารถในการต่อสู้อย่างดีเยี่ยม หมาป่าอาศัยอยู่อย่างกระจัดกระจายในแถบทวีปยุโรปในอดีตมีถึง 32สายพัน.

ใหม่!!: วงศ์กระต่ายและหมาป่า · ดูเพิ่มเติม »

หมาใน

หมาใน, หมาป่าเอเชีย หรือ หมาแดง เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cuon alpinus ในวงศ์สุนัข (Canidae) เป็นหมาป่าที่มีขนาดใหญ่กว่าหมาจิ้งจอก จมูกสั้น ใบหูกลมมีขนาดใหญ่ ขนตามลำตัวค่อนข้างสั้นมีสีน้ำตาลแดง สีขนบริเวณท้องจะอ่อนกว่าบริเวณหลัง หางยาวเป็นพวง ปลายหางมีสีเทาเข้มหรือดำ จัดเป็นสิ่งมีชีวิตเพียงชนิดเดียวที่อยูในสกุล Cuon มีความยาวลำตัวและหัว 80–90 เซนติเมตร ความยาวหาง 30.5–34.5 เซนติเมตร น้ำหนักในเพศผู้ 10–21 กิโลกรัม เพศเมีย 10–13 กิโลกรัม หมาในมีฟันที่แข็งแรงแต่มีฟันกรามล่างเพียงข้างละ 2 ซี่เท่านั้น ซึ่งต่างจากสัตว์ในวงศ์สุนัขชนิดอื่น ๆ มีการกระจายพันธุ์ที่กว้างขวาง ทำให้มีชนิดย่อย ถึง 11 ชนิด พบตั้งแต่ภาคใต้ของไซบีเรีย เรื่อยมาจนถึงคาบสมุทรเกาหลี, เนปาล, อินเดีย, ไทย, ลาว, กัมพูชา, เวียดนาม และเกาะชวาในอินโดนีเซีย มักอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ โดยฝูงหนึ่ง ๆ มีสมาชิกตั้งแต่ 6–12 ตัว โดยสมาชิกแต่ละตัวจะมีหน้าที่ช่วยกันล่าเหยื่อที่มีขนาดใหญ่ เช่น กระทิง ควายป่า หรือ กวางป่า มีความเชื่อว่า ก่อนล่าเหยื่อจะปัสสาวะรดพื้นหรือใบไม้เมื่อเหยื่อดมถูกจะเกิดความหวาดกลัวจนยืนแข็งทำอะไรไม่ถูก จึงเชื่อว่า สามารถทำให้เหยื่อตาบอดได้ด้วยวิธีนี้ ฝูงหมาในมีความใกล้ชิดกันทางสายเลือด ภายในกลุ่มมีสมาชิกตั้งแต่ 2–3 ครอบครัว ออกล่าเหยื่อในเวลากลางวัน แต่ในบางครั้งอาจล่าในเวลากลางคืนหรือพลบค่ำหรือเช้าตรู่ได้ อาหารโดยปกติ ได้แก่ สัตว์กินพืชขนาดใหญ่ เช่น กวางป่า, เก้ง และกระต่ายป่า แต่ในบางสถานการณ์ที่อาหารขาดแคลน อาจกินลูกตัวเองเป็นอาหารได้ หมาในระบบประสาทหู ตา และการดมกลิ่นที่ดีเยี่ยม สามารถผสมพันธุ์ได้ตลอดทั้งปี ใช้เวลาตั้งท้องประมาณ 9 สัปดาห์ ออกลูกครั้งละ 8–10 ตัว ตามโพรงดินหรือในถ้ำที่ปลอดภัย แม่หมาในมีเต้านม 8 คู่ ลูกที่เกิดใหม่จะมีสีขนสีน้ำตาลเทา มีอายุในที่เลี้ยงประมาณ 16 ปี ในธรรมชาติราว 10 ปี ฝูงหมาในล่ากวางป่า ที่อุทยานแห่งชาติบันดิเปอร์ ประเทศเนปาล สถานภาพในประเทศไทย เป็นหมาป่า 1 ใน 2 ชนิดที่สามารถพบได้ในประเทศไทย (อีกหนึ่งชนิด คือ หมาจิ้งจอก) จากเดิมที่เคยพบในป่าทั่วประเทศ ปัจจุบันเชื่อว่าเหลือเพียงในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จังหวัดอุทัยธานี เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ และที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่เท่านั้น และเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535.

ใหม่!!: วงศ์กระต่ายและหมาใน · ดูเพิ่มเติม »

หนู

หนู เป็นสกุลของสัตว์ฟันแทะ ที่อยู่ในวงศ์ Muridae ใช้ชื่อสกุลว่า Rattus มีการกระจายพันธุ์อยู่ในซีกโลกที่เรียกว่า "โลกเก่า" อันได้แก่ ทวีปเอเชีย, ยุโรป และแอฟริกา ตัวเมียเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุได้ 2–3 เดือน ในขณะที่ตัวผู้อายุ 3 เดือนขึ้นไป.

ใหม่!!: วงศ์กระต่ายและหนู · ดูเพิ่มเติม »

อันดับกระต่าย

อันดับกระต่าย (Rabbit, Hare, Pika; ชื่อวิทยาศาสตร์: Lagomorpha-ออกเสียงว่า /ลา-โก-มอร์-ฟา/ มาจากภาษากรีกคำว่า "λαγος" หมายถึง กระต่ายป่า และ "μορφή" หมายถึง ลักษณะ, รูปร่าง) เป็นอันดับของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอันดับหนึ่ง มีลักษณะโดยรวมคล้ายกับสัตว์ในอันดับสัตว์ฟันแทะ (Rodentia) เช่น หนู หรือกระรอก ด้วยว่ามีฟันในลักษณะฟันแทะเหมือนกัน ซึ่งเดิมเคยถูกรวมไว้อยู่ด้วนกัน แต่ว่าสัตว์ในอันดับนี้มีฟันแทะที่แตกต่างจากสัตว์ฟันแทะ คือมี ฟันตัดบนหรือฟันหน้า 2 คู่ (4 ซี่ คู่แรกอยู่ด้านหน้า คู่หลังจะซ่อนอยู่ข้าง ๆ ภายในกรามบน) ขณะที่ สัตว์ฟันแทะมี 1 คู่ (2 ซี่) เท่านั้น ทำให้การเคี้ยวของอาหารของสัตว์ทั้งสองอันนี้ไม่เหมือนกัน กล่าวคือ สัตว์ในอันดับกระต่ายจะใช้ฟันทั้ง 2 คู่นี้เคี้ยวสลับกัน จึงจะเห็นเมื่อเวลาเคี้ยวจะใช้กรามสลับข้างกันซ้าย-ขวา อีกทั้งพฤติกรรมการกินก็ต่างกันออกไป เนื่องจาก สัตว์ฟันแทะจะกินได้ทั้งพืชและสัตว์ แต่สัตว์ในอันดับกระต่ายจะกินได้เพียงพืชเท่านั้น และลักษณะเด่นอีกประการหนึ่ง ก็คือ ในตัวผู้ สัตว์ในอันดับกระต่ายจะมีถุงหุ้มอัณฑะอยู่หน้าอวัยวะเพศ แต่สัตว์ฟันแทะจะมีถุงหุ้มอัณฑะอยู่หลังอวัยวะเพศ และอวัยวะเพศของสัตว์ในอันดับกระต่าย จะไม่มีแท่งกระดูกอยู่ภายใน แต่ในสัตว์ฟันแทะจะมี ปัจจุบัน มีเพียง 2 วงศ์ เท่านั้น โดยสูญพันธุ์ไปแล้ว 1 วงศ์ (ดูในตาราง) กระจายพันธุ์ไปในทุกพื้นที่ของโลก แม้กระทั่งอาร์กติก ซึ่งสัตว์ในอันดับนี้ เป็นสัตว์ที่มนุษย์รู้จักเป็นอย่างดี ก็คือ กระต่าย ซึ่งนิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงทั้งในแง่ของความเพลินเพลิน สวยงาม และบริโภคเป็นอาหาร.

ใหม่!!: วงศ์กระต่ายและอันดับกระต่าย · ดูเพิ่มเติม »

อันดับสัตว์ฟันแทะ

อันดับสัตว์ฟันแทะ (Rodent, ชื่อวิทยาศาสตร์: Rodentia) เป็นอันดับในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมอันดับหนึ่ง ที่มีความหลากหลายมาก ใช้ชื่ออันดับว่า Rodentia ลักษณะโดยรวมของสัตว์ในอันดับนี้ คือ มีฟันหน้าในขากรรไกรบน 2 ซี่ และขากรรไกรล่าง 2 ซี่ ลักษณะของฟันหน้ามีรูปร่างคล้ายสิ่ว มีความแข็งแรงมาก ใช้สำหรับกัด ขุด และแทะอาหาร ไม่มีฟันเขี้ยว ทำให้เกิดช่องว่างระหว่างฟันหน้าและฟันหน้ากราม ผิวเคลือบทางด้านนอกของฟันหน้าเป็นอีนาเมล จึงทำให้ฟันแข็งแรง นอกจากนี้ฟันหน้าของสัตว์ในอันดับนี้ยังเป็นรูทเลสส์ โดยที่ฟันจะไม่หยุดการเจริญเติบโต เฉลี่ย 12 เซนติเมตรครึ่งต่อปี เนื่องจากมีเลือดมาหล่อเลี้ยงฟันตลอดเวลา จึงต้องแทะฟันเสมอ ๆเพื่อให้ฟันสึกกร่อน มิฉะนั้นฟันจะทะลุออกมานอกปาก ทำให้การหุบปากและการกินอาหารลำบากทำให้อดตายได้ รูปร่างลักษณะภายนอกของสัตว์ในอันดับนี้แตกต่างกัน รวมทั้งแหล่งอาศัย บางจำพวกก็อาศัยอยู่บนต้นไม้ ขุดรูอยู่ใต้ดินหรือบนดิน เช่นเดียวกับชนิดของอาหาร ซึ่งอาจจะเป็นผลไม้เปลือกแข็ง, เมล็ดไม้, รากไม้ หรือกินทุกสิ่งทุกอย่างทั้งพืชและเนื้อสัตว์ ซึ่งสัตว์ในอันดับนี้ที่มนุษย์รู้จักกันเป็นอย่างดี ได้แก่ หนู, กระรอก, เม่น, บีเวอร์ เป็นต้น พบกระจายพันธุ์ไปในทุกพื้นที่ทั่วโลก ในภูมิประเทศที่หลากหลาย ขณะที่กระต่าย, กระแตและตุ่นหรือหนูผี หรือชูการ์ไกลเดอร์ แม้จะมีรูปลักษณะภายนอกคล้ายคลึงกัน แต่ถูกจัดออกมาเป็นอันดับต่างหาก สัตว์ในอันดับนี้ที่มีขนาดเล็กที่สุด คือ หนูจิ๋วแอฟริกัน (Mus minutoides) พบในทวีปแอฟริกา ที่มีขนาดใหญ่เต็มที่จากส่วนหัวจรดปลายหาง 30-80 มิลลิเมตร (1.2-3.1 นิ้ว) ความยาวหาง 20-40 มิลลิเมตร (0.79-1.6 นิ้ว) น้ำหนักประมาณ 3-12 กรัม (0.11-0.42 ออนซ์) และที่มีขนาดใหญ่ที่สุด คือ คาปิบารา (Hydrochoerus hydrochaeris) พบในอเมริกาใต้ ที่มีน้ำหนักได้มากถึง 65 กิโลกรัม และมีรายงานว่าพบมากถึง 91 กิโลกรัม.

ใหม่!!: วงศ์กระต่ายและอันดับสัตว์ฟันแทะ · ดูเพิ่มเติม »

อาร์กติก

้นสีแดงในภาพเป็นบริเวณของอาร์กติกที่มีอุณหภูมิเฉลี่ยเท่าๆกัน อาร์กติก (Arctic) เป็นพื้นที่ในบริเวณขั้วโลกเหนือ ซึ่งบริเวณของอาร์กติกนี้ประกอบไปด้วยพื้นที่บางส่วนของประเทศต่าง ๆ เช่น แคนาดา, กรีนแลนด์ (ดินแดนของเดนมาร์ก), รัสเซีย, สหรัฐอเมริกา (อะแลสกา), ไอซ์แลนด์, นอร์เวย์, สวีเดน และฟินแลนด์ รวมถึงบริเวณของมหาสมุทรอาร์กติกด้วย บริเวณพื้นที่ส่วนใหญ่ของอาร์กติกจะเป็นพื้นที่กว้าง มหาสมุทรปกคลุมไปด้วยน้ำแข็ง พื้นที่รอบ ๆ ปราศจากพืชพันธุ์และผืนดินก็ปกคลุมไปด้วยน้ำแข็งเช่นเดียวกัน แต่กลับอุดมไปด้วยสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ทั้งที่อาศัยอยู่ในน้ำแข็ง, ปลา,สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม, นก และรวมถึงมนุษย์ด้วย ตามธรรมชาติของบริเวณอาร์กติกจะเป็นที่ที่แตกต่างจากที่อื่นอย่างเห็นได้ชัด ผู้คนที่อาศัยอยู่ในอาร์กติกจะมีการปรับตัวและใช้ชีวิตอยู่ท่ามกลางความหนาวเหน็บและธรรมชาติอันโหดร้าย อาร์กติกจะมีความอ่อนไหวได้ง่ายมากจากการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นบนโลกของเรา เช่น อุณหภูมิบนโลกที่เปลี่ยนแปลงไป ความอ่อนไหวได้ง่ายนี้ทำให้อาร์กติกนี้ถูกมองเสมือนเป็นระบบเตือนภัยล่วงหน้าให้แก่โลกของเรา คำว่า อาร์กติก มากจากภาษากรีกโบราณ αρκτος ซึ่งมีความหมายว่า หมี และยังอ้างอิงไปถึงกลุ่มดาวหมีใหญ่และหมีเล็กที่อยู่ใกล้กับดาวเหนือด้ว.

ใหม่!!: วงศ์กระต่ายและอาร์กติก · ดูเพิ่มเติม »

ผัก

ผักในตลาด ผัก คือพืชที่มนุษย์นำส่วนใดส่วนหนึ่งของพืชอาทิ ผล ใบ ราก ดอก หรือลำต้น มาประกอบอาหาร ซึ่งไม่นับรวมผลไม้ ถั่ว สมุนไพร และเครื่องเทศ แต่เห็ด ซึ่งในทางชีววิทยาจัดเป็นพวกเห็ดรา ก็นับรวมเป็นผักด้วย หลายบ้านมักจะปลูกผักไว้เพื่อบริโภคภายในครัวเรือน เรียกว่าเป็นผักสวนครัว หรือบางครั้งก็เพื่อเป็นไม้ประดับ ใช้พื้นที่ในการปลูกไม่มาก พืชผักส่วนใหญ่เป็นพืชที่มีอายุสั้นเพียงฤดูเดียว แต่ผักบางชนิดอาจมีอายุมากกว่า 1 ปี หากมีจำนวนมากเหลือจากการบริโภค ก็สามารถนำไปจำหน่ายได้.

ใหม่!!: วงศ์กระต่ายและผัก · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปยุโรป

ทวีปยุโรป (อ่านว่า "ยุ-โหฺรบ") มีฐานะเป็นทวีปทั้งในแง่ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ในทางภูมิศาสตร์ ยุโรปเป็นอนุทวีปที่อยู่ทางด้านตะวันตกของมหาทวีปยูเรเชีย ยุโรปมีพรมแดนทางเหนือติดกับมหาสมุทรอาร์กติก ทางตะวันตกติดกับมหาสมุทรแอตแลนติก ทางใต้ติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและทะเลดำ ด้านตะวันออกติดกับเทือกเขายูรัลและทะเลแคสเปียน "Europe" (pp. 68-9); "Asia" (pp. 90-1): "A commonly accepted division between Asia and Europe...

ใหม่!!: วงศ์กระต่ายและทวีปยุโรป · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปออสเตรเลีย

ทวีปออสเตรเลีย เป็นทวีปที่รวมแผ่นดินใหญ่ของประเทศออสเตรเลีย นิวกินี แทสมาเนีย และเกาะต่างๆที่อยู่บนไหล่ทวีปเดียวกัน ในทางธรณีวิทยาแล้วไหล่ทวีปถือเป็นส่วนหนึ่งของทวีป ทำให้แผ่นดินที่กระจัดกระจายเหล่านี้ยังคงนับว่าเป็นทวีป สำหรับประเทศนิวซีแลนด์นั้นไม่ได้อยู่บนไหล่ทวีปเดียวกัน แต่เป็นส่วนหนึ่งของภูมิภาคที่ใหญ่กว่าที่เรียกว่าออสตราเลเซี.

ใหม่!!: วงศ์กระต่ายและทวีปออสเตรเลีย · ดูเพิ่มเติม »

ทุ่งหญ้า

ทุ่งหญ้า (grassland) เป็นพื้นที่ซึ่งพืชพรรณส่วนใหญ่เป็นหญ้า (Poaceae) แต่ยังพบพืชวงศ์กก (Cyperaceae และ Juncaceae) ได้ ทุ่งหญิงเกิดตามธรรมชาติในทุกทวีป ยกเว้นทวีปแอนตาร์กติกา ทุ่งหญ้าพบในภูมินิเวศ (ecoregion) ส่วนใหญ่ของโลก ตัวอย่างเช่น มีการจำแนกห้าภูมินิเวศบนดินทุ่งหญ้าเขตอบอุ่น สะวันนาและชีวนิเวศทุ่งไม้พุ่ม (shrubland) เป็นห้าประเภท ซึ่งเป็นหนึ่งในแปดเขตชีวภาพของโลก หมวดหมู่:ที่ราบ หมวดหมู่:หญ้า.

ใหม่!!: วงศ์กระต่ายและทุ่งหญ้า · ดูเพิ่มเติม »

ขั้วโลกเหนือ

ั้วโลกเหนือภูมิศาสตร์ ขั้วโลกเหนือ (North Pole) เป็นจุดที่ถือว่าอยู่ทางเหนือที่สุดของโลก.

ใหม่!!: วงศ์กระต่ายและขั้วโลกเหนือ · ดูเพิ่มเติม »

งู

งู เป็นสัตว์เลื้อยคลานอันดับหนึ่ง ไม่มีขา ไม่มีเปลือกตา มีเกล็ดปกคลุมผิวหนังทั่วทั้งลำตัว ลักษณะลำตัวยาวซึ่งโดยขนาดของความยาวนั้น จะขึ้นอยู่กับชนิดของงู ปราดเปรียวและว่องไวในการเคลื่อนที่ มีลิ้นสองแฉกเพื่อใช้สำหรับรับความรู้สึกทางกลิ่น จัดอยู่ในชั้น Reptilia, ตระกูล Squamata, ตระกูลย่อย Serpentes โดยทั่วไปแล้วงูจะกลัวและไม่กัด นอกเสียจากถูกรบกวนหรือบุกรุก จะเลื้อยหลบหนีเมื่อมีสิ่งใดเข้ามาใกล้บริเวณที่อยู่ ออกล่าเหยื่อเมื่อรู้สึกหิว โดยกินสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กเป็นอาหาร ยกเว้นงูบางชนิดที่กินงูด้วยกันเอง เช่น งูจงอาง สามารถมองเห็นได้ดีในที่มืดและในเวลากลางคืน โดยทั่วไปจะออกลูกเป็นไข่ ยกเว้นแต่งูที่มีพิษซึ่งมีผลโดยตรงทางด้านโลหิต (วงศ์งูหางกระดิ่ง((Viperidae)) ซึ่งจะออกลูกเป็นตัว เช่น งูแมวเซา ธรรมชาติโดยทั่วไป งูจะลอกคราบเมื่อมันเริ่มโตขึ้น ทำให้ผิวหนังของงูเริ่มแข็งและคับขึ้น ซึ่งงูจะลอกคราบบ่อยครั้งเมื่องูยังมีอายุไม่มากนัก ซึ่งภายหลังจากการลอกคราบของงู จะทำให้ผิวหนังเก่าหลุดออก แต่เซลล์สีที่ทำให้งูมีสีสันยังคงอยู่ในตัวงู ทำให้เกล็ดที่ปกคลุมผิวหนัง มีสีสันสดใสรวมทั้งทำให้เคลื่อนไหวร่างกายได้อย่างรวดเร็ว ปัจจุบัน มีงูถูกค้นพบแล้วประมาณ 2,700 ชนิด แต่เป็นงูไม่มีพิษประมาณ 2,300 ชนิด สำหรับในประเทศไทยมีงูจำนวนมากตามสภาพภูมิอากาศ ซึ่งมีผลกระทบโดยตรงต่อการดำรงชีวิต ทั่วทุกภูมิภาพของประเทศไทยสามารถพบเห็นงูได้มากกว่า 180 ชนิด โดยเป็นงูที่มีพิษจำนวน 46 ชนิด และสามารถจำแนกงูที่มีพิษออกได้อีก 2 ประเภทคือ.

ใหม่!!: วงศ์กระต่ายและงู · ดูเพิ่มเติม »

ป่า

ป่า ป่าไม้ ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ หมายถึง ที่ดินที่ไม่มีบุคคลใดบุคคลหนึ่งได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ครอบครองตามกฎหมายที่ดิน โดยทั่วไป หมายถึง บริเวณที่มีความชุ่มชื้น และปกด้วยใบไม้สีเขียว ขึ้นอยู่อย่างหนาแน่นและกว้างใหญ่พอที่จะมีอิทธิพลต่อสิ่งแวดล้อมในบริเวณนั้น เช่น ความเปลี่ยนแปลงของลมฟ้าอากาศ ความอุดมสมบูรณ์ของดินและน้ำ มีสัตว์ป่าและสิ่งมีชีวิตอื่นซึ่งมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน.

ใหม่!!: วงศ์กระต่ายและป่า · ดูเพิ่มเติม »

นิ้ว (อวัยวะ)

นิ้วมือทั้งห้าของมนุษย์ นิ้ว (digits) เป็นอวัยวะของมนุษย์ที่อยู่ปลายสุดของมือหรือเท้า แบ่งออกเป็น.

ใหม่!!: วงศ์กระต่ายและนิ้ว (อวัยวะ) · ดูเพิ่มเติม »

แมวป่า

แมวป่า, เสือกระต่าย หรือ เสือบอง เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจำพวกเสือขนาดเล็ก อยู่ในวงศ์ Felidae มีรูปร่างคล้ายแมวบ้าน มีลักษณะเด่นคือ มีหูแหลมยาวเป็นรูปสามเหลี่ยม และมีกระจุกขนยื่นออกมาจากปลายใบหูแลดูคล้ายกระต่าย จึงเป็นที่มาของชื่อสามัญว่า "เสือกระต่าย" มีขายาว หางสั้นมีลายสีเข้มสลับเป็นปล้อง ๆ ขนปลายหางมีสีดำตามลำตัวมีสีน้ำตาลเหลือง บริเวณหลังมีสีน้ำตาลเข้ม สีขนบริเวณท้องจะอ่อนกว่าลำตัว แมวป่านับเป็นเสือในสกุล Felis ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด มีความยาวลำตัวและหัว 50–56 เซนติเมตร ความยาวหาง 26–31 เซนติเมตร มีน้ำหนัก 4–6 กิโลกรัม มีการกระจายพันธุ์ที่กว้างขวางมาก ตั้งแต่ภาคเหนือของทวีปแอฟริกาจรดเอเชียตะวันออก พบในภาคตะวันออกของซาอุดีอาระเบีย, คูเวต, อิรัก, อิหร่าน, จอร์แดน, ภาคตะวันออกของตุรกี, อิสราเอล, ปากีสถาน, อัฟกานิสถาน, เนปาล, ภูฏาน, บังกลาเทศ, ภาคใต้ของจีน, อินเดีย, พม่า, ไทย, ลาว, กัมพูชาและเวียดนาม มักอาศัยอยู่ในป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ หรือป่าเต็งรังที่ไม่รกชัฏนัก จับสัตว์ขนาดเล็กที่อาศัยบนพื้นดินกินเป็นอาหาร เช่น กระต่ายป่า, กบ, หนู, กิ้งก่า หรือนกที่อาศัยอยู่บนพื้นดินกินเป็นอาหารหลัก ออกหากินทั้งกลางวันและกลางคืน แต่มักพบบ่อยในช่วงเช้า และช่วงเย็น จากกายภาพที่มีขายาว แต่หางสั้นไม่สมดุลกันเช่นนี้ ทำให้แมวป่ามีการทรงตัวที่ไม่ดีเมื่ออยู่บนต้นไม้ ดังนั้นจึงไม่ค่อยปีนขึ้นไปบนต้นไม้นัก ในประเทศไทย นายแพทย์บุญส่ง เลขะกุล นักนิยมไพรและนักเขียนได้บันทึกไว้ในปี..

ใหม่!!: วงศ์กระต่ายและแมวป่า · ดูเพิ่มเติม »

โอเชียเนีย

อเชียเนีย (Oceania) เป็นชื่อที่ใช้เรียกกลุ่มของหมู่เกาะต่าง ๆ ในมหาสมุทรแปซิฟิก การใช้ในวงแคบ หมายถึง หมู่เกาะพอลินีเซีย (รวมนิวซีแลนด์) หมู่เกาะเมลานีเซีย (รวมนิวกินี) และหมู่เกาะไมโครนีเซีย การใช้ในวงกว้างจะรวมออสเตรเลียเข้าไปด้วย และอาจรวมถึงกลุ่มเกาะมลายู บางทีนำไปใช้ในความหมายที่รวมเอาเกาะอื่นๆ เข้าไว้ เช่น ญี่ปุ่นและหมู่เกาะอาลิวเชียน แต่พบน้อยมาก "โอเชียเนีย" หมายถึง กลุ่มประเทศและหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก รวมทวีปออสเตรเลียซึ่งเป็นทวีปที่มีขนาดเล็กที่สุด เนื้อที่ราว 7.7 ล้านตารางกิโลเมตร เล็กกว่าทวีปเอเชียถึง 6 เท่า ประกอบด้วย ผืนแผ่นดินที่เป็นที่ตั้งของประเทศออสเตรเลีย ประเทศนิวซีแลนด์ และหมู่เกาะพอลินีเซีย หมู่เกาะไมโครนีเซีย หมู่เกาะเมลานีเซีย ทวีปออสเตรเลีย-โอเชียเนีย เป็นกลุ่มของหมู่เกาะจำนวนมากนับพันเกาะ อย่างไมโครนีเซียมีในครอบครองกว่า 600 เก.

ใหม่!!: วงศ์กระต่ายและโอเชียเนีย · ดูเพิ่มเติม »

โซ่อาหาร

ซ่อาหารในทะเลสาบสวีเดนแห่งหนึ่ง เหยี่ยวออสเปรกินปลาไพก์เหนือ (northern pike) ปลาไพก์เหนือกินเพิร์ช (perch) เพิร์ชกินบลีก (bleak) บลีกกินกุ้งน้ำจืดตามลำดับ โซ่อาหาร (food chain) เป็นลำดับเชื่อมโยงเส้นตรงและกลมในสายใยอาหารโดยเริ่มจากพืชและต่อด้วยสัตว์กินพืชจากนั้นจะเกิดการกินเป็นทอดๆ โซ่อาหารแตกต่างจากสายใยอาหาร เพราะสายใยมีเครือข่ายความสัมพันธ์การกินที่ซับซ้อน แต่โซ่อาหารมีเส้นทางการกินเป็นเส้นตรงและรูปทรงวงกลมเท่านั้น ตัววัดทั่วไปที่ใช้บอกจำนวนโครงสร้างเชิงอาหารของสายใยอาหารคือ ความยาวโซ่อาหาร ในรูปแบบง่ายที่สุด ความยาวของโซ่อาหาร คือ จำนวนเชื่อมโยงระหว่างผู้บริโภคกับฐานของสายใย และความยาวโซ่เฉลี่ยของสายใยทั้งหมด คือ ค่าเฉลี่ยเลขคณิตของความยาวโซ่ทั้งหมดในสายใยอาหาร โซ่อาหารปรากฏครั้งแรกในหนังสือตีพิมพ์เมื่อ..

ใหม่!!: วงศ์กระต่ายและโซ่อาหาร · ดูเพิ่มเติม »

ไฟลัม

ฟลัม (phylum) เป็นขั้นอนุกรมวิธานขั้นหนึ่งในการจำแนกสัตว์ในทางวิทยาศาสตร์ (ในทางพืชนิยมใช้คำว่า ส่วน แทนไฟลัม ไฟลัมถือเป็นการจัดกลุ่มในขั้นสูงที่สุดแยกตามสายวิวัฒนาการ แต่บางครั้งก็มีการรวมไฟลัมเป็นไฟลัมใหญ่ (superphylum) อีกทีหนึ่ง เช่น สัตว์ที่มีการลอกคราบในการเจริญเติบโต (Echdysozoa) ประกอบด้วยสัตว์มีเปลือกแข็งและหนอนตัวกลม และ สัตว์ที่มีช่องปากเกิดภายหลังช่องทวาร (Deuterostomia) ประกอบด้วยปลาดาวและสัตว์มีแกนสันหลัง ไฟลัมของสัตว์ที่รู้จักกันมากที่สุด ได้แก่ มอลลัสกา, ฟองน้ำ, ไนดาเรีย, หนอนตัวแบน, นีมาโทดา, หนอนปล้อง, สัตว์ขาปล้อง, เอคคิโนเดอร์มาทา และสัตว์มีแกนสันหลัง (ซึ่งมนุษย์อยู่ในไฟลัมนี้) ถึงแม้ว่าจะมีไฟลัมทั้งหมดประมาณ 35 ไฟล่า (หน่วยของไฟลัม) ไฟลัมที่กล่าวทั้ง 9 ตัวนี้ครอบคลุมสปีชีส์ส่วนใหญ่ และทุกไฟลัมยกเว้นหนอนกำมะหยี่ ต่างก็มีสมาชิกอาศัยในมหาสมุทร.

ใหม่!!: วงศ์กระต่ายและไฟลัม · ดูเพิ่มเติม »

ไพกา

กา (pika, pica, rock rabbit, coney; วงศ์ Ochotonidae) เป็นวงศ์ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กวงศ์หนึ่ง ในอันดับกระต่าย (Lagomorpha) ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Ochotonidae ไพกาจัดเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอีกวงศ์หนึ่ง ที่อยู่ในอันดับกระต่าย ที่ยังคงดำรงเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบัน นอกเหนือไปจากกระต่าย (Leporidae) มีรูปร่างโดยทั่วไปเล็กกว่ากระต่าย แลดูคล้ายหนู ใบหูมีขนาดใหญ่แต่สั้นและเล็กกว่ากระต่าย มีขนอ่อนนุ่มสีเทาหรือสีน้ำตาลตลอดทั้งลำตัว มีหางขนาดเล็กจนมองไม่เห็น มีขนาดโตเต็มที่ยาวประมาณ 8 นิ้ว หนักประมาณ 6 ออนซ์ มีฟันที่เขียนเป็นสูตรได้ว่า มีระยะเวลาการตั้งท้องนาน 25-30 วัน มีพฤติกรรมอยู่รวมกันเป็นฝูง โดยแต่ละตัวนั้นจะมีหน้าที่ของตัวเอง ในการหาอาหารและแบ่งปันกัน และมีพฤติกรรมที่จะแสดงตัวเพื่อที่จะประกาศอาณาเขต โดยจะหากินในเวลากลางวัน มีหญ้าเป็นอาหารหลัก โดยใช้เวลาทั้งวันในการสะสมอาหาร ไม่มีพฤติกรรมจำศีลในช่วงฤดูหนาว ไพกาตัวเมียในประเทศญี่ปุ่น มีพฤติกรรมจะกลบซ่อนรังที่มีลูกอ่อนไว้ด้วยใบไม้และดิน เสมือนกับว่าฝังทั้งเป็นหรือทำรังอยู่ใต้ดิน เพื่อหลบซ่อนสัตว์นักล่า ลูกไพกาจะสามารถหลบซ่อนอยู่ใต้ดินอย่างนั้นได้นานถึง 2 วัน มีทั้งหมด 1 สกุล คือ Ochotona พบทั้งหมดประมาณ 30 ชนิด กระจายพันธุ์ไปในหลายพื้นที่ของโลกแถบเหนือที่มีอากาศหนาวเย็น เช่น อเมริกาเหนือ, ยุโรปตะวันออก, ยูเรเชีย จนถึงเอเชียตะวันออก เช่น จีน.

ใหม่!!: วงศ์กระต่ายและไพกา · ดูเพิ่มเติม »

เพียงพอน

ระวังสับสนกับ: พังพอน เพียงพอน (weasel, mink, ferret, ermine, polecat) คือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในสกุล Mustela ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวงศ์ Mustelidae มีถิ่นกำเนิดกว้างขว้างทั้งในทวีปเอเชีย, แอฟริกาเหนือ, ยุโรป, อเมริกาเหนือ และอเมริกาใต้ เพียงพอนมีรูปร่างโดยรวมเป็นสัตว์ขนาดเล็ก มีความยาวตั้งแต่ 15–55 เซนติเมตร น้ำหนักตั้งแต่ 30–40 กรัม ไปจนถึง 1.4–3.2 กิโลกรัม เป็นสัตว์กินเนื้อเป็นอาหาร มีรูปร่างเพรียวยาว ส่วนขาทั้งสี่ข้างสั้น มีนิ้วเท้า 5 นิ้ว เล็บมีความแหลมคม แต่พับเก็บเล็บไม่ได้ ปากแหลม ภายในปากมีฟันแหลมคมจำนวน 34 ซี่ ทุกชนิดจะมีต่อมกลิ่นที่ก้น ซึ่งจะผลิตสารเคมีสีเหลืองคล้ายน้ำมันที่มีกลิ่นเหม็นรุนแรง ใช้ในประกาศอาณาเขต เป็นสัตว์มีความปราดเปรียวว่องไว หากินได้ทั้งกลางวันและกลางคืน โดยจะล่าสัตว์ขนาดเล็ก เช่น หนู, หนูผี, ตุ่น, แมลง, สัตว์เลื้อยคลาน หรือสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำเป็นอาหาร รวมทั้งอาจล่ากระต่ายได้ด้วย รวมทั้งล่าเป็ด, ไก่, นกกระทา ในพื้นที่เกษตรกรรมของมนุษย์ได้ด้วย ซึ่งจะใช้ลำตัวที่เพียวยาวนั้นมุดเข้าไปล่าถึงในโพรงดิน นอกจากนี้แล้ว เพียงพอนเป็นสัตว์ที่เมื่อผสมพันธุ์กันแล้ว ตัวผู้จะผสมกับตัวเมียหลายตัว แต่จะอยู่กับตัวเมียเพียงตัวเดียว ในบางชนิด ไข่เมื่อได้รับการปฏิสนธิแล้ว จะยังไม่ฝังตัวในผนังมดลูก แต่จะลอยอยู่อย่างนั้น ซึ่งอาจกินเวลานับ 10 เดือน จะฝังตัวเฉพาะเมื่อถึงฤดูกาลที่อาหารอุดมสมบูรณ์เท่านั้น มีระยะเวลาการตั้งท้องนานประมาณ 35–45 วัน ออกลูกครั้งละ 4–10 ตัว และอาจมากได้ถึง 13 ตัว ซึ่งจะออกลูกในโพรงของสัตว์ที่ล่าได้ ลูกที่เกิดใหม่ตาจะยังไม่ลืม จะมีขนบาง ๆ ปกคลุมลำตัวเท่านั้น จะลืมตาเมื่ออายุได้ 3–4 สัปดาห์ หรืออาจจะ 5–6 สัปดาห์ มีระยะเวลาการกินนมแม่ 5–10 สัปดาห์ และจะอาศัยอยู่กับแม่จนอายุได้ 1 ปี ในอดีต เพียงพอนมักถูกมนุษย์ล่า เพื่อนำขนและหนังไปทำเป็นเสื้อขนสัตว์ที่เรียกว่า "เสื้อขนมิงก์" ในปัจจุบัน ในบางชนิดนิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยง แบ่งออกได้เป็น 18 ชนิด (ดูในตาราง) ในประเทศไทยมักพบในพื้นที่ที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลนับพันเมตร พบประมาณ 3 ชนิด ได้แก่ เพียงพอนไซบีเรีย (M. sibirica), เพียงพอนเหลือง (M. nudipes) และเพียงพอนเส้นหลังขาว (M. strigidorsa).

ใหม่!!: วงศ์กระต่ายและเพียงพอน · ดูเพิ่มเติม »

เสือ

ือ เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ฟิลิดีซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับแมวโดยชนิดที่เรียกว่าเสือมักมีขนาดลำตัวค่อนข้างใหญ่กว่าและอาศัยอยู่ภายในป่า ขนาดของลำตัวประมาณ 168 - 227 เซนติเมตรและหนักประมาณ 180 - 245 กิโลกรัม รูม่านตากลม เป็นสัตว์กินเนื้อกลุ่มหนึ่ง มีลักษณะและรูปร่างรวมทั้งพฤติกรรมที่เป็นเอกลักษณ์ แตกต่างจากสัตว์ในกลุ่มอื่น หากินเวลากลางคืน มีถิ่นกำเนิดในป่า เสือส่วนใหญ่ยังคงมีความสามารถในการปีนป่ายต้นไม้ ซึ่งยกเว้นเสือชีต้า เสือทุกชนิดมีกรามที่สั้นและแข็งแรง มีเขี้ยว 2 คู่สำหรับกัดเหยื่อ ทั่วทั้งโลกมีสัตว์ที่อยู่ในวงศ์เสือและแมวประมาณ 37 ชนิด ซึ่งรวมทั้งแมวบ้านด้วย เสือจัดเป็นสัตว์นักล่าที่มีความสง่างามในตัวเอง โดยเฉพาะเสือขนาดใหญ่ที่แลดูน่าเกรงขราม ไม่ว่าจะเป็นเสือโคร่งหรือเสือดาว ผู้ที่พบเห็นเสือในครั้งแรกย่อมเกิดความประทับใจในความสง่างาม แต่ในขณะเดียวกันก็เกิดความหวาดหวั่นเกรงขามในพละกำลังและอำนาจภายในตัวของพวกมัน เสือจึงได้รับการยกย่องให้เป็นราชาแห่งสัตว์ปา และเป็นจ้าวแห่งนักล่าอย่างแท้จริง เสือ จ้าวแห่งนักล่า, ศลิษา สถาปรวัฒน์, ดร.อลัน ราบิโนวิทซ์, สำนักพิมพ์สารคดี, 2538, หน้า 14 ปัจจุบันจำนวนของเสือในประเทศไทยลดจำนวนลงเป็นอย่างมากในระยะเวลาไม่ถึง 10 ปี เสือกลับถูกล่า ป่าภายในประเทศถูกทำลายเป็นอย่างมาก สภาพธรรมชาติในพื้นที่ต่าง ๆ ถูกเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากมาย ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมความเป็นอยู่ของมนุษย์เอง ทุกวันนี้ปริมาณของเสือที่จัดอยู่ในลำดับสุดท้ายของห่วงโซ่อาหารถือเป็นสิ่งจำเป็น เพราะการสูญสิ้นหรือลดจำนวนลงอย่างมากของเสือซึ่งเป็นสัตว์กินเนื้อ จะส่งผลกระทบต่อโครงสร้างและระบบนิเวศทั้งหมด การลดจำนวนอย่างรวดเร็วของเสือเพียงหนึ่งหรือสองชนิดในประเทศไทย ทำให้ปริมาณของสัตว์กินพืชเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว จนทำให้ธรรมชาติเสียความสมดุลในที.

ใหม่!!: วงศ์กระต่ายและเสือ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Leporidae

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »