เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

วงจรสะพานและไดโอด

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง วงจรสะพานและไดโอด

วงจรสะพาน vs. ไดโอด

วงจรสะพาน (bridge circuit) เป็นประเภทหนึ่งของวงจรไฟฟ้า ในวงจรนี้จะมีสองสาขาที่อยู่ในแนวขนานกัน โดยมีสาขาที่สามเป็น "สะพาน" ที่เชื่อมต่อระหว่างสองสาขาแรกที่จุดกลางระหว่างสองสาขานั้น แต่เดิมสะพานถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อวัตถุประสงค์ในการตรวจวัดในห้องปฏิบัติการ และหนึ่งในจุดเชื่อมกลางสะพานมักจะปรับได้เมื่อนำมาใช้ในงานดังกล่าว วงจรสะพานในขณะนี้สามารถพบได้ในการใช้งานมากมาย ทั้งเชิงเส้นและไม่เชิงเส้น รวมทั้งใน เครื่องมือวัด, การกรอง และ การแปลงพลังงานไฟฟ้า แผนผังของสะพานแบบ Wheatstone วงจรสะพานที่รู้จักกันดีที่สุด สะพานแบบ Wheatstone ถูกคิดค้นโดย ซามูเอล ฮันเตอร์ คริสตี้ และทำให้เป็นที่นิยมโดย ชาลส์ วีทสโตน มันถูกใช้สำหรับวัด ความต้านทาน มันถูกสร้างขึ้นมาจากตัวต้านทานสี่ตัว มีสองตัวที่รู้ค่าเป็น R1 และ R3 (ดูภาพ) Rx เป็นความต้านทานที่ต้องการรู้ค่า และ R2 สามารถปรับค่าได้และผ่านการสอบเทียบแล้ว สองจุดที่อยู่ตรงข้ามกันในแนวดิ่งจะเชื่อมต่อเข้ากับแหล่งที่มาของกระแสไฟฟ้า เช่นแบตเตอรี่ และมี มิเตอร์แรงดัน เชื่อมต่อคร่อมอีกสองจุดในแนวนอน R2 จะถูกปรับจนกระทั่งมิเตอร์อ่านค่าที่ศ​​ูนย์ ดังนั้นหมายความว่าอัตราส่วนระหว่าง R2 ต่อ R1 จะมีค่าเท่ากับอัตราส่วนระหว่าง Rx ต่อ R3 ดังนั้นค่าของ Rx จึงสามารถคำนวณได้ สะพานแบบ Wheatstone ยังถูกทำให้เป็นสากลเพื่อวัด อิมพีแดนซ์ ในวงจร AC และเพื่อวัดค่าความต้านทาน, ค่าการเหนี่ยวนำ, ค่าความจุ และ ปัจจัยการกระจายพลังงาน ได้แยกต่างหาก การจัดเรียงชิ้นส่วนในรูปแบบอื่นๆที่รู้จักกันได้แก่ สะพานแบบ Wien สะพานแบบแมกซ์เวลล์ และ สะพานแบบ Heaviside วงจรทั้งหมดนี้จะขึ้นอยู่บนหลักการเดียวกันซึ่งก็คือเพื่อเปรียบเทียบขาออกของสอง โปเทนฉิโอมิเตอร์ ที่ใช่แหล่งจ่ายไฟร่วมกัน ในการออกแบบแหล่งจ่ายไฟ วงจรสะพานหรือ วงจรเรียงกระแสแบบสะพาน (Bridge Rectifier) เป็นจัดเรียงของ ไดโอด หรืออุปกรณ์ที่คล้ายกันจะถูกใช้ในการทำให้กระแสไฟฟ้าไหลในทิศทางเดียว ซึ่งก็คือการแปลงจากไฟฟ้าที่ไม่รู้จักขั้วหรือไฟฟ้าสลับให้เป็นกระแสตรงที่รู้จักกันขั้ว ใน ตัวควบคุมมอเตอร์ บางตัว สะพานแบบ H จะถูกใช้ในการควบคุมทิศทางการหมุนของมอเตอร. อดชนิดต่าง ๆ ไดโอด (diode) เป็นชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ชนิดสองขั้วคือขั้ว p และขั้ว n ที่ออกแบบและควบคุมทิศทางการไหลของประจุไฟฟ้า มันจะยอมให้กระแสไฟฟ้าไหลในทิศทางเดียว และกั้นการไหลในทิศทางตรงกันข้าม เมื่อกล่าวถึงไดโอด มักจะหมายถึงไดโอดที่ทำมาจากสารกึ่งตัวนำ (Semiconductor diode) ซึ่งก็คือผลึกของสารกึ่งตัวนำที่ต่อกันได้ขั้วทางไฟฟ้าสองขั้ว ส่วนไดโอดแบบหลอดสูญญากาศ (Vacuum tube diode) ถูกใช้เฉพาะทางในเทคโนโลยีไฟฟ้าแรงสูงบางประเภท เป็นหลอดสูญญากาศที่ประกอบด้วยขั้วอิเล็ดโทรดสองขั้ว ซึ่งจะคือแผ่นตัวนำ (plate) และแคโทด (cathode) ส่วนใหญ่เราจะใช้ไดโอดในการยอมให้กระแสไปในทิศทางเดียว โดยยอมให้กระแสไฟในทางใดทางหนึ่ง ส่วนกระแสที่ไหลทิศทางตรงข้ามกันจะถูกกั้น ดังนั้นจึงอาจถือว่าไดโอดเป็นวาล์วตรวจสอบแบบอิเล็กทรอนิกส์อย่างหนึ่ง ซึ่งนับเป็นประโยชน์อย่างมากในวงจรอิเล็กทรอนิกส์ เช่น ใช้เป็นตัวเรียงกระแสไฟฟ้าในวงจรแหล่งจ่ายไฟ เป็นต้น อย่างไรก็ตามไดโอดมีความสามารถมากกว่าการเป็นอุปกรณ์ที่ใช้เปิด-ปิดกระแสง่าย ๆ ไดโอดมีคุณลักษณะทางไฟฟ้าที่ไม่เป็นเชิงเส้น ดังนั้นมันยังสามารถปรับปรุงโดยการปรับเปลี่ยนโครงสร้างของพวกมันที่เรียกว่ารอยต่อ p-n มันถูกนำไปใช้ประโยชน์ในงานที่มีวัตถุประสงค์พิเศษ นั่นทำให้ไดโอดมีรูปแบบการทำงานได้หลากหลายรูปแบบ ยกตัวอย่างเช่น ซีเนอร์ไดโอด เป็นไดโอดชนิดพิเศษที่ทำหน้าที่รักษาระดับแรงดันให้คงที่ วาริแอกไดโอดใช้ในการปรับแต่งสัญญาณในเครื่องรับวิทยุและโทรทัศน์ ไดโอดอุโมงค์หรือทันเนลไดโอดใช้ในการสร้างสัญญาณความถี่วิทยุ และไดโอดเปล่งแสงเป็นอุปกรณ์ที่สร้างแสงขึ้น ไดโอดอุโมงค์มีความน่าสนใจตรงที่มันจะมีค่าความต้านทานติดลบ ซึ่งเป็นประโยชน์มากเมื่อใช้ในวงจรบางประเภท ไดโอดตัวแรกเป็นอุปกรณ์หลอดสูญญากาศ โดยไดโอดแบบสารกึ่งตัวนำตัวแรกถูกค้นพบจากการทดสอบความสามารถในการเรียงกระแสของผลึกโดยคาร์ล เฟอร์ดินานด์ บรวน นักฟิสิกส์ชาวเยอรมัน ในปี..

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง วงจรสะพานและไดโอด

วงจรสะพานและไดโอด มี 0 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย)

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง วงจรสะพานและไดโอด

วงจรสะพาน มี 4 ความสัมพันธ์ขณะที่ ไดโอด มี 35 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 0, ดัชนี Jaccard คือ 0.00% = 0 / (4 + 35)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง วงจรสะพานและไดโอด หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: