เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

ลูธิเอนและเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ลูธิเอนและเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน

ลูธิเอน vs. เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน

ลูธิเอน (Lúthien Tinúviel) เป็นเจ้าหญิงเอลฟ์ ในจินตนิยายเรื่อง ซิลมาริลลิออน ประพันธ์โดย เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน มีชีวิตอยู่ในยุคบรรพกาลจนถึงยุคที่หนึ่งของมิดเดิ้ลเอิร์ธ ได้รับยกย่องว่าเป็นเอลฟ์ที่งดงามที่สุดเท่าที่เคยมีมาในโลกอาร์ดา นางถูกกล่าวถึงในบทประพันธ์เรื่อง เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ในฐานะที่เป็นเอลฟ์ผู้ยอมสละชีวิตอมตะเพื่อได้ใช้ชีวิตอยู่กับคนรักที่เป็นชาวมนุษย์ (คือเบเรน) เรื่องราวโดยละเอียดของนางถูกประพันธ์ไว้ใน ซิลมาริลลิออน. . อาร.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ลูธิเอนและเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน

ลูธิเอนและเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน มี 13 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): พ.ศ. 2515ภาษาอังกฤษเก่าภาษาซินดารินมิดเดิลเอิร์ธอาร์ดาอุปมานิทัศน์คริสโตเฟอร์ โทลคีนคาทอลิกตำนานแห่งซิลมาริลนูเมนอร์เบเรนเอลฟ์ (มิดเดิลเอิร์ธ)เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์

พ.ศ. 2515

ทธศักราช 2515 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1972 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันเสาร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

พ.ศ. 2515และลูธิเอน · พ.ศ. 2515และเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอังกฤษเก่า

ษาอังกฤษเก่า (Ænglisc, Anglisc, Englisc; Old English ย่อว่า OE) หรือ ภาษาแองโกล-ซัคเซิน (Anglo-Saxon) เป็นภาษาอังกฤษยุคแรก ที่พูดกันในบริเวณที่ปัจจุบันคือแคว้นอิงแลนด์ อังกฤษและสกอตแลนด์ตอนใต้ ในระหว่าง กลางคริสต์ศตวรรษที่ 5 ถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 12 นับเป็นภาษาเจอร์แมนิกตะวันตก ด้วยเหตุนี้ จึงมีความคล้ายคลึงกับภาษาฟริเซียนเก่า (Old Frisian) และภาษาแซกซันเก่า (Old Saxon) นอกจากนี้ยังมีความสัมพันธ์กับภาษานอร์สเก่า (Old Norse) และเชื่อมโยงไปถึงภาษาไอซ์แลนด์ปัจจุบัน (modern Icelandic) ด้วย ไวยกรณ์ของภาษาอังกฤษเก่ามีความใกล้เคียงกับไวยกรณ์ของภาษาเยอรมันสมัยใหม่ กล่าวคือ คำนาม คำวิเศษณ์ คำสรรพนาม และคำกริยา มีการผันเปลี่ยนรูปข้างท้ายของคำอยู่หลากหลายแบบ และการลำดับคำในประโยคก็มีอิสระมากกว่า ตัวอักษรของภาษาอังกฤษเก่าแค่เดิมเป็นระบบอักษรรูน (runic system) แต่ถูกแทนที่ด้วยอักษรละตินนับแต่ศตวรรษที่ 9 เป็นต้นมา ภาษาอังกฤษเก่านั้นมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และมีการใช้งานตลอดระยะเวลาประมาณ 700 ปี นับตั้งแต่ชนแองโกล-แซ็กซอนอพยพเข้ามายังเกาะบริเตน สร้างอิงแลนด์ขึ้น ในคริสต์ศวรรษที่ 5 จนถึงระยะเวลาหลังพวกนอร์มันบุกรุกเข้าไปเมื่อ ค.ศ. 1066 หลังจากนั้นภาษาอังกฤษก็เคลื่อนเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่สำคัญ ในยุคแรกๆ นี้ ภาษาอังกฤษเก่าได้ผสมกลมกลืนเข้ากับภาษาอื่นๆ ที่มีการติดต่อด้วย เช่น ภาษาเคลติก (Celtic) และภาษาถิ่นสองภาษาของภาษานอร์สเก่า (บรรพบุรุษของภาษาแดนิชในปัจจุบัน) จากการบุกรุกของพวกไวกิงจากทางเดนมาร์ก ซึ่งเข้ามาครอบครองและปกครองอาณาเขตในอิงแลนด์ตอนเหนือและตะวันออก หลังจากชาวนอร์แมนยกทัพเข้าชิงอังกฤษจากกษัตริย์แซ็กซอนมาปกครองได้ ใรปี..

ภาษาอังกฤษเก่าและลูธิเอน · ภาษาอังกฤษเก่าและเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาซินดาริน

ษาซินดาริน (Sindarin) เป็นภาษาที่ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ประดิษฐ์ขึ้นใช้ในนวนิยายของเขาในชุดมิดเดิลเอิร์ธ แรงบันดาลใจของการสร้างภาษานี้มาจากพื้นฐานของภาษาเวลช์ (Welsh) ซึ่งโทลคีนพบในการศึกษาโคลงโบราณ เขาได้ใช้เวลาประดิษฐ์ภาษานี้จนสมบูรณ์ใช้งานได้จริง เทียบเคียงกับภาษาเควนยา เดิมทีโทลคีนตั้งใจประดิษฐ์ภาษานี้ขึ้นเป็นภาษาของชาวโนลดอร์ แต่เปลี่ยนใจภายหลัง ภาษาซินดาริน ตามฉบับนิยาย เป็นภาษาของพวกเอลฟ์ ชาวเทเลริ ที่มิได้เข้าร่วมการเดินทางครั้งใหญ่ไปได้ตลอดรอดฝั่ง แต่ยังคงตกค้างอยู่บนมิดเดิลเอิร์ธ และตั้งถิ่นฐานขึ้นในแผ่นดินเบเลริอันด์ ภายใต้การปกครองของกษัตริย์ธิงโกล และ เมลิอัน ไมอาเทวี ในอาณาจักรโดริอัธ เอลฟ์กลุ่มนี้เรียกตัวเองว่า ชาวซินดาร์ หรือเอลฟ์แห่งสนธยา ภาษาของพวกเขาจึงเรียกว่า ภาษาซินดาริน ภาษาซินดารินมีกำเนิดมาจากคอมมอนเอลดาริน หรือภาษาดั้งเดิมของพวกเควนดิ จึงมีรากเดียวกันกับภาษาเควนยา ในยุคที่สาม ของโลกอาร์ดา คือเหตุการณ์ในเรื่องเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์นั้น ภาษาซินดารินเป็นภาษาที่พวกเอลฟ์ใช้กันแพร่หลายทั่วไป ดังนั้นภาษาเอลฟ์ที่ปรากฏในเนื้อเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นชื่อคน ชื่อสถานที่ต่างๆ รวมทั้งอักขระที่จารึกบนประตูทางเข้าเหมืองมอเรีย ก็ล้วนเป็นภาษาซินดารินทั้งสิ้น.

ภาษาซินดารินและลูธิเอน · ภาษาซินดารินและเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน · ดูเพิ่มเติม »

มิดเดิลเอิร์ธ

แผนที่มิดเดิลเอิร์ธในช่วงยุคที่หนึ่ง แสดงแผ่นดินเบเลริอันด์ ซึ่งเป็นสถานที่เกิดเหตุการณ์ต่างๆ ที่บันทึกในซิลมาริลลิออน ทางด้านขวามือสุดของแผนที่เป็นที่ตั้งของ 'เทือกเขาสีน้ำเงิน' แผนที่มิดเดิลเอิร์ธในช่วงปลายของยุคที่สาม ซึ่งปรากฏอยู่ในหนังสือ ลอร์ดออฟเดอะริงส์ สังเกตจะเห็น 'เทือกเขาสีน้ำเงิน' อยู่ทางด้านซ้ายมือสุดของแผนที่ มิดเดิ้ลเอิร์ธ (Middle-earth) หรือ มัชฌิมโลก หมายถึงสถานที่ในนิยายของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน อันเป็นฉากหลังของเรื่องราวตำนานทั้งหลายในงานเขียนของโทลคีน ปกรณัมของโทลคีนมีเนื้อหาเกี่ยวกับการเข้าควบคุมและครอบครองโลก (ในตำนานเรียกว่า "อาร์ดา") ซึ่งมีทวีปหลักชื่อว่า "มิดเดิลเอิร์ธ" เป็นที่อยู่อาศัยของพวก 'มรรตัยชน' (คือมนุษย์ที่รู้ตาย) เป็นสถานที่ตรงข้ามกับ "อามัน" หรือ 'แดนอมตะ' อันเป็นถิ่นที่อยู่ของพวกวาลาร์ กับพวกเอลฟ์ คำนี้มีรากมาจากคำภาษาอังกฤษกลางว่า middel-erde ซึ่งพัฒนามาจากคำในภาษาอังกฤษเก่าว่า middangeard แก่นสำคัญของงานเขียนของโทลคีนคือเรื่องของการช่วงชิง ควบคุม และครอบครองอำนาจหรือของวิเศษ ทำให้เกิดสงครามขึ้นบนมิดเดิลเอิร์ธหลายครั้งหลายหน คือสงครามระหว่างเหล่าเทพวาลาร์ เอลฟ์ และพันธมิตรชาวมนุษย์ฝ่ายหนึ่ง กับเทพอสูรเมลคอร์กับบริวาร ได้แก่พวกออร์ค มังกร และมนุษย์ที่เป็นทาสอีกฝ่ายหนึ่ง ในตำนานยุคหลัง เมื่อเมลคอร์สิ้นอำนาจและถูกขับไล่ออกไปจากอาร์ดาแล้ว บทบาทการช่วงชิงนี้ก็ตกไปอยู่กับเซารอน สมุนเอกของเขา เหล่าเทพวาลาร์ได้ยุติบทบาทของตนลงหลังจากที่เมลคอร์สิ้นอำนาจ เพราะการสงครามระหว่างพวกพระองค์ครั้งนั้นได้ทำให้โลกพินาศเสียหายไปมาก อย่างไรก็ดีพวกพระองค์ก็ยังส่ง อิสตาริ หรือเหล่าพ่อมด เข้ามาให้ความช่วยเหลือในการต่อต้านอำนาจของเซารอน อิสตาริที่มีบทบาทมากคือ แกนดัล์ฟพ่อมดเทา และซารูมานพ่อมดขาว แกนดัล์ฟได้ทำงานบรรลุวัตถุประสงค์เป็นอย่างดี โดยได้ช่วยเหลือชาวมิดเดิลเอิร์ธอย่างถึงที่สุดเพื่อโค่นอำนาจเซารอนลงให้ได้ แต่ซารูมานกลับพ่ายแพ้ต่อความคิดฉ้อฉลแล้วตั้งตนขึ้นเป็นใหญ่ ช่วงชิงอำนาจบนมิดเดิลเอิร์ธแข่งกับเซารอนเสียเอง สำหรับพลเมืองชาวมิดเดิลเอิร์ธพวกอื่นๆ ได้แก่ คนแคระ เอนท์ และฮอบบิท อันเป็นเผ่าพันธุ์ที่มีชื่อเสียงมากที่สุด ในการสร้างสรรค์งานของโทลคีน เขาได้จัดทำแผนที่ของมิดเดิลเอิร์ธขึ้นเป็นจำนวนมาก แสดงถึงดินแดนและสถานที่ต่างๆ ที่ตำนานของเขาเอ่ยถึง แผนที่บางส่วนได้รับการตีพิมพ์ในช่วงชีวิตของเขา แต่ก็ยังมีแผนที่อีกจำนวนมากที่ไม่ได้ตีพิมพ์เลยจนกระทั่งเขาเสียชีวิตไปแล้ว แผนที่ส่วนใหญ่จะปรากฏอยู่ในเรื่อง เดอะฮอบบิท เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ และ ซิลมาริลลิออน เหตุการณ์ส่วนใหญ่ในยุคที่หนึ่งเกิดขึ้นบนดินแดนที่เรียกชื่อว่า เบเลริอันด์ ดินแดนนี้ต่อมาได้จมลงสู่ทะเลหลังสงครามครั้งใหญ่ระหว่างเทพวาลาร์กับเมลคอร์ คงเหลือแต่เทือกเขาสีน้ำเงินที่ปรากฏอยู่ทางขวาสุดของแผนที่ เป็นจุดเชื่อมต่อเดียวกันกับเทือกเขาสีน้ำเงินที่อยู่ทางด้านซ้ายสุดของแผนที่ในเรื่องเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ดินแดนทางด้านตะวันออกของเทือกเขาสีน้ำเงินเป็นที่เกิดเหตุการณ์ต่างๆ ในยุคที่สองและสาม โทลคีนบอกว่ามิดเดิ้ลเอิร์ธนั้นคือโลกของเรา เพียงแต่เป็นช่วงเวลาในอดีต โดยประมาณว่าปลายยุคที่สามคือช่วงระยะประมาณ 6,000 ปีก่อนยุคของโทลคีน เขายังบรรยายเขตแดนที่ฮอบบิทอาศัยว่าอยู่ที่ "ตะวันตกเฉียงเหนือของโลกเก่า ทางตะวันออกของทะเลใหญ่",เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์, บทนำ, หน้า 2 ซึ่งอ้างอิงถึงอังกฤษและเขตตะวันตกเฉียงเหนือของยุโรปอย่างชัดเจน ประวัติศาสตร์มิดเดิลเอิร์ธของโทลคีน ถูกแบ่งออกเป็นหลายยุค เรื่องราวที่ปรากฏใน เดอะฮอบบิท และเรื่องราวใน ลอร์ดออฟเดอะริงส์ เกิดขึ้นในราวปลายยุคที่สาม และนำไปสู่ช่วงเริ่มต้นของยุคที่สี่ ในขณะที่เรื่องราวใน ซิลมาริลลิออน ซึ่งเป็นงานเขียนของโทลคีนเกี่ยวกับมิดเดิลเอิร์ธที่เก่าแก่ที่สุด เป็นเรื่องที่เกิดตั้งแต่ยุคสร้างโลกและยุคที่หนึ่งเป็นส่วนใหญ.

มิดเดิลเอิร์ธและลูธิเอน · มิดเดิลเอิร์ธและเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน · ดูเพิ่มเติม »

อาร์ดา

อาร์ดา (Arda) เป็นชื่อดินแดนในจินตนิยายของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ในปกรณัมชุดมิดเดิลเอิร์ธ ซึ่งใช้ในความหมายแทนโลกของเราทั้งหมด อาร์ดาประกอบด้วยทวีปใหญ่ๆ ที่สำคัญคือ มิดเดิลเอิร์ธ อามัน และ กาฬทวีป มีมหาสมุทรหลายแห่ง ที่สำคัญคือ มหาสาคร (The Great Sea) หรืออีกชื่อหนึ่งว่า เบเลกายร์ ในทะเลเบเลกายร์นี้เคยมีเกาะนูเมนอร์ ซึ่งล่มจมสมุทรไปตั้งแต่ยุคที่สองของอาร์ดา ดินแดนส่วนอื่นๆ ในอาร์ดามิได้ถูกเอ่ยถึง ตามปกรณัมของโทลคีน อาร์ดาเป็นส่วนหนึ่งของ เออา (Ea) คือจักรวาลแห่งพิภพที่มหาเทพอิลูวาทาร์สร้างขึ้นในสุญญภูมิ ด้วยการบรรเลงบทเพลงมหาคีตา ซึ่งมีจิตวิญญาณแรกเริ่ม (หรือไอนัวร์) ช่วยในการสร้างด้วย การสร้างครั้งนั้นเรียกว่า มหาคีตาแห่งไอนัวร์ เมื่อเออาถือกำเนิดขึ้น ไอนัวร์บางส่วนได้ลงมาอยู่ในโลกนี้เพื่อปกปักรักษาและตระเตรียมสถานที่ไว้ให้พร้อมสำหรับบุตรแห่งอิลูวาทาร์ ไอนัวร์ที่ลงมายังอาร์ดา พวกที่มีพลังอำนาจสูง เรียกว่า วาลาร์ ส่วนพวกที่มีฤทธิ์น้อยกว่า เรียกว่า ไมอาร์ ไอนัวร์เหล่านี้บางครั้งเรียกรวมๆ กันว่า ปวงเทพ โลกอาร์ดาแต่ดั้งเดิมเมื่อเริ่มสร้างนั้นเป็นแผ่นดินแบนๆ ที่ล้อมรอบด้วยทะเลวัฏฏะ (Encircling Sea) มีชื่อเรียกว่า เอคไคอา (Ekkaia) ข้างใต้เป็นโถงถ้ำมากมาย ข้างบนเป็นเขตห้วงเวหามีชื่อว่า อิลเมน แผ่นดินดั้งเดิมเป็นทวีปเดี่ยวตั้งอยู่ตรงกลาง มีทะเลสาบอยู่ใจกลางทวีป และมีเกาะอยู่กลางทะเลสาบนั้น ชื่อว่า เกาะอัลมาเรน เป็นที่อยู่อาศัยของเหล่าวาลาร์และไมอาร์ เมื่อเกิดสงครามระหว่างปวงเทพขึ้น ทำให้แผ่นดินเกิดวินาศวอดวาย แตกเป็นทวีปต่างๆ พวกวาลาร์และไมอาร์จึงย้ายถิ่นฐานไปอาศัยอยู่บนทวีปอามัน ซึ่งอยู่ทางสุดตะวันตกของอาร์ดา ส่วนทวีปมิดเดิลเอิร์ธที่อยู่บริเวณกึ่งกลางอาร์ดา ได้กลายเป็นถิ่นฐานที่อาศัยของบรรดาบุตรแห่งอิลูวาทาร์ คือพวกเอลฟ์ และมนุษย์ มีมหาสาครหรือเบเลกายร์ กั้นกลางระหว่างสองทวีปนี้ ในช่วงปลายยุคที่สอง เมื่อมนุษย์ชาวนูเมนอร์เหิมเกริมจะบุกรุกทวีปอามันเพื่อช่วงชิงความเป็นอมตะ ปวงเทพจึงจมเกาะนูเมนอร์เสีย และย้ายทวีปอามันออกไปเสียจากโลก บันดาลให้โลกกลายเป็นโลกกลม แม้แล่นเรือไปทางตะวันตกจนสุดหล้า ก็จะหวนกลับมายังจุดตั้งต้นได้อีกครั้ง การจะไปถึงทวีปอามันได้ต้องเดินทางผ่านเส้นทางมุ่งตรง ซึ่งจะไปได้โดยพวกเอลฟ์เท่านั้น.

ลูธิเอนและอาร์ดา · อาร์ดาและเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน · ดูเพิ่มเติม »

อุปมานิทัศน์

''อุปมานิทัศน์ของดนตรี'' โดยฟีลิปปีโน ลิปปี “อุปมานิทัศน์ของดนตรี” เป็นหัวเรื่องที่นิยมกันในจิตรกรรมในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา เช่นการที่ลิบปีใช้ในภาพเขียนภาพนี้ซึ่งใช้ตำนานกรีกเป็นสัญลักษณ์ อุปมานิทัศน์ (Allegory) มาจากภาษากรีก “αλλος” หรือ “allos” ที่แปลว่า “อื่น” และคำว่า “αγορευειν” หรือ “agoreuein” ที่แปลว่า “การพูดในที่สาธารณะ” ซึ่งหมายถึงศิลปะที่ใช้สัญลักษณ์แทนความหมายโดยตรงในภาษาเขียน อุปมานิทัศน์มิได้ใช้แต่ในงานวรรณกรรม แต่อาจจะใช้ทางจักษุศิลป์ซึ่งมักจะพบในจิตรกรรมหรือประติมากรรม หรือ การแสดงสัญลักษณ์ทางศิลปะอื่นๆ ความหมายทางภาษาศาสตร์จะกว้างกว่าที่ใช้กันโดยทั่วไป ความหมายของ “อุปมานิทัศน์” จะมีน้ำหนักกว่ามากกว่าการใช้ “อุปลักษณ์” (metaphor) และเมื่อใช้ก็จะทำให้ผู้รับเกิดแรงบันดาลใจทางจินตนาการมากกว่า ขณะที่ “แนวเทียบ” (analogy) จะคำนึงถึงเหตุผลและตรรกศาสตร์มากกว่า เช่น “นิทานคติสอนใจ” (parable) จะเป็น “แนวเทียบ” ที่มีคำสอนทางจริยธรรมเพียงหัวข้อเดียว ความหมายของ “อุปมานิทัศน์” มักจะเป็นสัญลักษณ์แทนความหมายของหัวข้อที่กว้างกว่าการใช้ “แนวเทียบ” ฉะนั้นในงาน “อุปมานิทัศน์” ชิ้นหนึ่งก็อาจจะมี “แนวเทียบ” หลายประเด็น จึงทำให้ตีความหมายกันไปได้หลายอย่าง ซึ่งบางครั้งก็อาจจะบิดเบือนไปจากความหมายที่ศิลปินตั้งใจเอาไว้ เช่นบางคนให้ความเห็นว่า “อุปมานิทัศน์” ของ “เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์” คือสงครามโลกเป็นต้น แต่วรรณกรรมชิ้นนี้เขียนก่อนที่สงครามโลกครั้งที่สอง จะเกิดขึ้น และถึงแม้ว่า เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ผู้ประพันธ์จะกล่าวไว้ในคำนำในฉบับพิมพ์อเมริกันว่า “(หนังสือเล่มนี้) ไม่ใช่อุปมานิทัศน์หรือหัวข้อ....กระผมไม่ชอบอุปมานิทัศน์ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบใหน...”.

ลูธิเอนและอุปมานิทัศน์ · อุปมานิทัศน์และเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน · ดูเพิ่มเติม »

คริสโตเฟอร์ โทลคีน

ริสโตเฟอร์ โรนัลด์ รูเอล โทลคีน (Christopher John Reuel Tolkien, 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2467 -) คือบุตรคนสุดท้ายของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ผู้เขียนลอร์ดออฟเดอะริงส์ เขาเป็นที่รู้จักกันดีจากการนำผลงานที่บิดาได้เขียนค้างไว้มาเรียบเรียงและตีพิมพ์ เขายังเป็นผู้วาดแผนที่ในเรื่องลอร์ดออฟเดอะริงส์ด้วย โดยได้ลงชื่อไว้ว่า C. J. R. T. The J. เมื่อเดือนเมษายน 2550 คริสโตเฟอร์ได้ตีพิมพ์นวนิยายที่บิดาได้เขียนเล่มใหม่ "ตำนานบุตรแห่งฮูริน (The Children of Húrin)" ซึ่งโทลคีนได้ทำการเขียนในช่วงปี..

คริสโตเฟอร์ โทลคีนและลูธิเอน · คริสโตเฟอร์ โทลคีนและเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน · ดูเพิ่มเติม »

คาทอลิก

ทอลิก (Catholic มาจากภาษากรีกคำว่า καθολικός) แปลว่า สากล ทั่วไป เป็นรูปแบบหนึ่งในศาสนาคริสต์ ที่มีแนวศรัทธา เทววิทยา หลักความเชื่อ พิธีกรรม จริยศาสตร์ จิตวิญญาณ พฤติกรรม เป็นลักษณะเฉพาะของตน ตลอดจนประชากรในนิกายนั้น คำว่าคาทอลิก มีความหมายโดยสรุปได้ 3 อย่าง คือ.

คาทอลิกและลูธิเอน · คาทอลิกและเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน · ดูเพิ่มเติม »

ตำนานแห่งซิลมาริล

ตำนานแห่งซิลมาริล (The Silmarillion) เป็นนิยายจินตนิมิต แต่งโดย เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน (ผู้แต่งเรื่อง เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์) เริ่มประพันธ์โครงเรื่องตั้งแต่ปี..

ตำนานแห่งซิลมาริลและลูธิเอน · ตำนานแห่งซิลมาริลและเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน · ดูเพิ่มเติม »

นูเมนอร์

นูเมนอร์ (Númenor) เป็นชื่อเกาะแห่งหนึ่งในโลกจินตนาการของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ชุด เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ เป็นแผ่นดินที่แยกต่างหากออกมาจาก มิดเดิลเอิร์ธ มีแนวคิดในการประพันธ์มาจากแผ่นดินจมสมุทรแอตแลนติส ชื่อนูเมนอร์มาจากภาษาเควนยา ว่า Númenórë ซึ่งมีความหมายว่า แผ่นดินตะวันตก โทลคีนเขียนไว้ว่า เมื่อแปลงจากคำภาษาเควนยาเป็นภาษานูเมนอเรียน ชื่อนี้ออกเสียงเป็น อนาดูเน (Anadûnê).

นูเมนอร์และลูธิเอน · นูเมนอร์และเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน · ดูเพิ่มเติม »

เบเรน

รน (Beren) เป็นชื่อตัวละครตัวหนึ่งในปกรณัมชุด มิดเดิลเอิร์ธ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ปรากฏในตำนานชุด ซิลมาริลลิออน ชื่ออื่นๆ ของเขาคือ เบเรน แอร์ฅามิออน (Beren Archamion) หมายถึง 'เบเรนผู้มีมือเดียว' บ้างก็เรียกว่า เบเรน คัมลอสต์ (Beren Camlost) หมายถึง 'เบเรน คนมือเปล่า' เบเรนเป็นมนุษย์ในยุคบรรพกาล หรือยุคที่หนึ่งของโลกอาร์ดา เป็นบุตรของบาราเฮียร์ ชนตระกูลเบออร์ เขามีชื่อเสียงอยู่ในประวัติศาสตร์มิดเดิลเอิร์ธสองสถานะ หนึ่งคือเป็นผู้เข้าไปช่วงชิงดวงมณีซิลมาริลมาจากมงกุฎของมอร์กอธได้โดยลำพัง ด้วยความช่วยเหลือจากลูธิเอนเท่านั้น และสองคือเป็นมนุษย์คนแรกที่ได้วิวาห์กับชนเผ่าเอลฟ์ เป็นการวิวาห์ข้ามเผ่าพันธุ์ ระหว่างบุตรทั้งสองของอิลูวาทาร์เป็นครั้งแรก.

ลูธิเอนและเบเรน · เจ. อาร์. อาร์. โทลคีนและเบเรน · ดูเพิ่มเติม »

เอลฟ์ (มิดเดิลเอิร์ธ)

อลฟ์ (elf) ตามความหมายในจินตนิยายชุดมิดเดิลเอิร์ธ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน เป็นสิ่งมีชีวิตที่ถูกสร้างขึ้นโดยมหาเทพอิลูวาทาร์ มีชีวิตยืนยาวเท่ากับอายุของโลก จึงเสมือนหนึ่งว่าเป็นอมตะ คำว่า 'เอลฟ์' (Elf) เป็นคำที่โทลคีนเลือกมาจากตำนานโบราณเพื่อใช้แทนคำศัพท์แท้จริงอันเป็นชื่อของชนเผ่านี้ คือ เอลดาร์ (Eldar) ซึ่งเป็นคำในภาษาเควนยา หมายถึง 'ประชากรแห่งแสงดาว'.

ลูธิเอนและเอลฟ์ (มิดเดิลเอิร์ธ) · เจ. อาร์. อาร์. โทลคีนและเอลฟ์ (มิดเดิลเอิร์ธ) · ดูเพิ่มเติม »

เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์

อะลอร์ดออฟเดอะริงส์ (The Lord of the Rings) เป็นนิยายแฟนตาซีขนาดยาว ประพันธ์โดยศาสตราจารย์ชาวอังกฤษ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน เป็นนิยายที่ต่อเนื่องกับนิยายชุดก่อนหน้านี้ของโทลคีน คือ เรื่อง There and Back Again หรือที่รู้จักกันดีอีกชื่อหนึ่งว่า เดอะฮอบบิท แต่ได้ขยายโครงเรื่องซับซ้อนไปกว่า เดอะฮอบบิท มาก โทลคีนแต่งเรื่องนี้ขึ้นในช่วงปี..

ลูธิเอนและเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ · เจ. อาร์. อาร์. โทลคีนและเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ลูธิเอนและเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน

ลูธิเอน มี 41 ความสัมพันธ์ขณะที่ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน มี 175 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 13, ดัชนี Jaccard คือ 6.02% = 13 / (41 + 175)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ลูธิเอนและเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: