เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

ลิเวอร์มอเรียมและแชลโคเจน

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ลิเวอร์มอเรียมและแชลโคเจน

ลิเวอร์มอเรียม vs. แชลโคเจน

ลิเวอร์มอเรียม (Livermorium) เป็น ธาตุในกลุ่มโลหะหลังทรานซิชัน ที่มีเลขอะตอมเท่ากับ 116 และมีสัญลักษณ์ Lv ชื่อนี้ตั้งขึ้นโดย IUPAC เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม.. ตุหมู่แชลโคเจน (chalcogens) คือ อนุกรมเคมีของธาตุเคมีในหมู่ 16ตารางธาตุ ซึ่งอยู่ในตระกูลธาตุเดียวกับ ออกซิเจน (oxygen family) มีอีกชื่อหนึ่งว่าหมู่ออกซิเจน สารประกอบของธาตุหมู่นี้ เรียกว่า แชลโคเจไนด์ (chalcogenides).

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ลิเวอร์มอเรียมและแชลโคเจน

ลิเวอร์มอเรียมและแชลโคเจน มี 5 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): พอโลเนียมอโลหะธาตุกึ่งโลหะธาตุสังเคราะห์โลหะหลังทรานซิชัน

พอโลเนียม

พอโลเนียม (Polonium) คือธาตุที่มีหมายเลขอะตอม 84 และสัญลักษณ์คือ Po พอโลเนียมเป็นธาตุกึ่งอโลหะเรดิโอแอคตีฟ (radioactive metalloid) มีสมบัติทางเคมีคล้ายเทลลูเรียมและบิสมัท พบว่ามีอยู่ในแร่ยูเรเนียม กำลังศึกษาการใช้งานเกี่ยวกับความร้อนในยานอวกาศ ค้นพบโดยมารี กูรี ในปี 1898 หมวดหมู่:ธาตุเคมี หมวดหมู่:ธาตุกึ่งโลหะ หมวดหมู่:แชลโคเจน หมวดหมู่:โลหะมีสกุล.

พอโลเนียมและลิเวอร์มอเรียม · พอโลเนียมและแชลโคเจน · ดูเพิ่มเติม »

อโลหะ

แก๊สมีตระกูลนอกเหนือจากไฮโดรเจน อโลหะอยู่ในบล็อก-p ธาตุฮีเลียมแม้เป็นธาตุบล็อก-s แต่ปกติวางอยู่เหนือนีออน (ในบล็อก-p) เนื่องจากคุณสมบัติแก๊สมีตระกูลของมัน ในวิชาเคมี อโลหะเป็นธาตุเคมีซึ่งส่วนมากขาดคุณสมบัติของโลหะ ทางกายภาพ อโลหะมักกลายเป็นไอ (ระเหย) ง่าย มีความยืดหยุ่นต่ำ และเป็นฉนวนความร้อนและไฟฟ้าที่ดี ในทางเคมี ธาตุเหลานี้มักมีพลังงานไอออไนเซชันและค่าอิเล็กโตรเนกาทิวิตี (electronegativity) สูง และให้หรือได้อิเล็กตรอนเมื่อทำปฏิกิริยากับธาตุหรือสารประกอบอื่น มีสิบเจ็ดธาตุที่จัดเป็นอโลหะโดยทั่วไป ส่วนมากเป็นแก๊ส (ไฮโดรเจน ฮีเลียม ไนโตรเจน ออกซิเจน ฟลูออรีน นีออน คลอรีน อาร์กอน คริปทอน ซีนอนและเรดอน) หนึ่งธาตุเป็นของเหลว (โบรมีน) และส่วนน้อยเป็นของแข็ง (คาร์บอน ฟอสฟอรัส กำมะถัน เซเลเนียมและไอโอดีน) ธาตุอโลหะมีโครงสร้างซึ่งมีเลขโคออร์ดิเนชัน (อะตอมเพื่อนบ้านใกล้ที่สุด) น้อยลงเรื่อย ๆ เมื่อเลื่อนไปทางขวามือของตารางธาตุแบบมาตรฐาน อโลหะหลายอะตอมมีโครงสร้างที่มีอะตอมเพื่อนบ้านใกล้ที่สุดสามอะตอม เช่นในกรณีของคาร์บอน (ในสถานะมาตรฐานกราฟีน) หรือสองอะตอม เช่นในกรณีของกำมะถัน อโลหะสองอะตอม เช่น ไฮโดรเจน มีอะตอมเพื่อนบ้านใกล้ที่สุดหนึ่งอะตอม และแก๊สมีตระกูลอะตอมเดียว เช่น ฮีเลียม ไม่มีอะตอมเพื่อนบ้านใกล้ที่สุด ยิ่งมีจำนวนอะตอมเพื่อนบ้านใกล้ที่สุดน้อยลงเท่าใดยิ่งสัมพันธ์กับการลดลงของความเป็นโลหะและเพิ่มความเป็นอโลหะมากขึ้นเท่านั้น แต่ข้อแตกต่างระหว่างอโลหะสามหมวดในแง่ของความเป็นโลหะที่ลดนั้นไม่สัมบูรณ์ มีขอบเขตทับซ้อนกันเมื่อธาตุรอบนอกในแต่ละหมวดแสดง (หรือเริ่มแสดง) คุณสมบัติที่ต่างกันน้อย คล้ายลูกผสมหรือไม่ตรงแบบ แม้ว่าธาตุโลหะมีมากกว่าอโลหะห้าเท่า แต่ธาตุอโลหะสองธาตุ ไฮโดรเจนและฮีเลียม ประกอบเป็นร้อยละ 99 ของเอกภพที่สังเกตได้ และหนึ่งธาตุ ออกซิเจน ประกอบเป็นเกือบครึ่งหนึ่งของเปลือกโลก มหาสมุทรและบรรยากาศของโลก สิ่งมีชีวิตยังประกอบด้วยอโลหะแทบทั้งหมด และธาตุอโลหะก่อสารประกอบมากกว่าโลหะมาก.

ลิเวอร์มอเรียมและอโลหะ · อโลหะและแชลโคเจน · ดูเพิ่มเติม »

ธาตุกึ่งโลหะ

ตุกึ่งโลหะ (metalloids) เป็นธาตุที่มีองค์ประกอบทางเคมีซึ่งมีคุณสมบัติก้ำกึ่งระหว่างสมบัติของโลหะกับอโลหะ โดยไม่มีการกำหนดมาตรฐานหรือข้อตกลงที่แน่นอนของการเป็นธาตุกึ่งโลหะ ส่วนใหญ่เป็นสารกึ่งตัวนำ (semiconductors) โดยปกติทั่วไปแล้วธาตุกึ่งโลหะ ประกอบด้วย 6 ธาตุ คือ โบรอน, ซิลิคอน, เจอร์เมเนียม, สารหนู, พลวงและเทลลูเรียม แต่บางครั้งการจำแนกธาตุกึ่งโลหะได้รวม คาร์บอน, อะลูมิเนียม, ซีลีเนียม, พอโลเนียมและแอสทาทีนไว้ด้วย ในตารางธาตุทั่วไปนั้นสามารถพบธาตุกึ่งโลหะได้ที่บริเวณเส้นทแยงมุมของ บล็อก-p โดยเริ่มจากโบรอนไปจนถึงแอสทาทีน ในบางตารางธาตุที่ประกอบด้วยเส้นแบ่งระหว่างโลหะกับอโลหะและธาตุกึ่งโลหะนั้นจะอยู่ติดกับเส้นแบ่งนี้ ธาตุกึ่งโลหะมีลักษณะเหมือนโลหะ แต่เปราะและนำไฟฟ้าได้ไม่ดี ในทางเคมีนั้นธาตุกึ่งโลหะมีสมบัติคล้ายกับธาตุอโลหะ และยังสามารถผสมกับโลหะได้เป็นอัลลอยหรือโลหะผสม คุณสมบัติทางฟิสิกส์และทางเคมีส่วนใหญ่เป็นกลางในธรรมชาติ สารประกอบและธาตุกึ่งโลหะใช้ในการผลิตโลหะผสม, สารชีวภาพ, ตัวเร่งปฏิกิริยา, สารทนไฟ, แก้วและใยแก้วนำแสง คุณสมบัติทางไฟฟ้าของซิลิกอนและเจอเมเนียมได้มีการใช้ประโยชน์ในสถานประกอบการอุตสาหกรรมของสารกึ่งตัวนำในปี 1950 และได้มีการพัฒนาอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งมีสถานะเป็นของแข็งในต้นปี 1960 กึ่งโลหะเป็นองค์ประกอบที่มีคุณสมบัติเป็นกลาง หรือเรียกว่าไฮบริด กึ่งโลหะได้เป็นที่แพร่หลายในปี 1940-1960 กึ่งโลหะบางครั้งถูกเรียกว่ากึ่งโลหะ จากการปฏิบัติที่นิยม กึ่งโลหะเป็นคำที่มีความหมายที่แตกต่างกันในทางฟิสิกส์มากกว่าในทางเคมี ทางฟิสิกส์จะมีความหมายโดยเฉพาะหมายถึงโครงสร้างวงอิเล็กทรอนิกส์ของสาร.

ธาตุกึ่งโลหะและลิเวอร์มอเรียม · ธาตุกึ่งโลหะและแชลโคเจน · ดูเพิ่มเติม »

ธาตุสังเคราะห์

ตุสังเคราะห์ คือ ธาตุที่ถูกสังเคราะห์ขึ้นในห้องทดลอง ไม่พบอยู่ตามธรรมชาติ และไม่เสถียร มีครึ่งชีวิตที่สั้น (เป็นไปได้ตั้งแต่ ไม่กี่มิลลิวินาที จนถึงหลักล้านปี ก็มี) เมื่อเทียบกับอายุของโลก ที่อะตอมของธาตุนั้น ๆ อาจเคยปรากฏขณะเกิดโลกแล้วสลายไปจนหมด ธาตุที่สังเคราะห์ขึ้นได้ชนิดแรกคือ เทคนีเชียม (technetium) โดยค้นพบว่า ไม่มีไอโซโทปใดที่เสถียร และมีครึ่งชีวิตเท่ากับ 4.2 ล้านปี จึงพบได้ยากมากบนโลกปัจจุบัน เพราะอายุของโลกนานมากกว่า 4,600 ล้านปี อย่างไรก็ตาม ไม่จัดเทคนีเชียมเป็นธาตุสังเคราะห์ที่แท้จริง เพราะปัจจุบันตรวจพบได้บ้างแม้เป็นปริมาณที่น้อยมาก เช่น ในหินอุกกาบาต และยังถือว่ามีอายุนานกว่าธาตุสังเคราะห์อื่น ธาตุที่จัดเป็นธาตุสังเคราะห์นั้นมีอายุสั้นมาก พบเฉพาะที่เป็นผลิตผลจาก เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ (nuclear reactors) หรือ เครื่องเร่งอนุภาค (particle accelerator) เท่านั้น.

ธาตุสังเคราะห์และลิเวอร์มอเรียม · ธาตุสังเคราะห์และแชลโคเจน · ดูเพิ่มเติม »

โลหะหลังทรานซิชัน

ลหะหลังทรานซิชัน (อังกฤษ: post-transition metals) คือธาตุในอนุกรมเคมีของตารางธาตุที่อยู่ระหว่างธาตุกึ่งโลหะ (metalloids) และธาตุโลหะทรานซิชัน (transition metals) มีประจุไฟฟ้าบวกมากกว่าโลหะแอลคาไล (alkali metals) และโลหะแอลคาไลน์เอิร์ท (alkaline earth metals) มีจุดหลอมเหลวและจุดเดือดต่ำกว่าโลหะทรานซิชัน โลหะหลังทรานซิชันมีดังนี้.

ลิเวอร์มอเรียมและโลหะหลังทรานซิชัน · แชลโคเจนและโลหะหลังทรานซิชัน · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ลิเวอร์มอเรียมและแชลโคเจน

ลิเวอร์มอเรียม มี 37 ความสัมพันธ์ขณะที่ แชลโคเจน มี 22 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 5, ดัชนี Jaccard คือ 8.47% = 5 / (37 + 22)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ลิเวอร์มอเรียมและแชลโคเจน หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: