โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ลามาร์แซแยซ

ดัชนี ลามาร์แซแยซ

''La Marseillaise'' (1907). ลามาร์แซแยซ (La Marseillaise, "เพลงแห่งเมืองมาร์แซย์") เป็นชื่อของเพลงชาติสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ประพันธ์คำร้องและทำนองโดย โกลด โฌแซ็ฟ รูเฌ เดอ ลีล เมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2335 ที่เมืองสทราซบูร์ในแคว้นอาลซัส เดิมเพลงนี้มีชื่อว่า "Chant de guerre de l'Armée du Rhin" (แปลว่า "เพลงมาร์ชกองทัพลุ่มน้ำไรน์") เดอลีลได้อุทิศเพลงนี้ให้แก่นายทหารชาวแคว้นบาวาเรีย (อยู่ในประเทศเยอรมนีในปัจจุบัน) ซึ่งเกิดในประเทศฝรั่งเศสผู้หนึ่ง คือจอมพลนีกอลา ลุคเนอร์ (Nicolas Luckner) เมื่อกองทหารจากเมืองมาร์แซย์ได้ขับร้องเพลงนี้ขณะเดินแถวทหารเข้ามายังกรุงปารีส ทำให้เพลงนี้เป็นที่รู้จักโดยทั่วไป และกลายเป็นเพลงปลุกใจในการร่วมปฏิวัติฝรั่งเศส ทั้งยังเป็นที่มาของชื่อเพลงลามาร์แซแยซดังปรากฏอยู่ในปัจจุบันด้วย สมัชชาแห่งชาติฝรั่งเศสได้ออกประกาศรับรองให้เพลงลามาร์แซแยซเป็นเพลงชาติฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2338 ต่อมาเพลงนี้ได้ถูกงดใช้ในช่วงรัชสมัยของจักรพรรดินโปเลียนที่ 1แห่งจักรวรรดิฝรั่งเศสที่ 1 และ พระเจ้าหลุยส์ที่ 18 และมีการนำเพลงอื่นมาใช้เป็นเพลงชาติฝรั่งเศสแทนในระยะเวลาดังกล่าวแทน โดยรัชสมัยของจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ใช้เพลงชาติที่ชื่อว่า เวยองอูซาลูทเดอล็องปีร์ "Veillons au salut de l'Empiret"และ โดยรัชสมัยของพระเจ้าหลุยส์ที่ 18 ใช้เพลงชาติที่ชื่อว่า เลอเรอทูร์เดส์แพร็งส์ฟร็องเซส์อาปารีส์ "Le Retour des Princes Frančais à Samid" หลังการปฏิวัติในปี พ.ศ. 2373 เพลงนี้ก็ได้กลับมาใช้เป็นเพลงชาติในระยะสั้น ๆ แต่ก็งดใช้อีกครั้งในสมัยของจักรพรรดินโปเลียนที่ 3 ตราบจนกระทั่งฝรั่งเศสเข้าสู่สมัยสาธารณรัฐที่ 3 เพลงนี้จึงได้รับการรับรองให้เป็นเพลงชาติอย่างถาวรเมื่อ พ.ศ. 2422.

39 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2335พ.ศ. 2338พ.ศ. 2373พ.ศ. 2418พ.ศ. 2422พ.ศ. 2460พระเจ้าหลุยส์ที่ 18 แห่งฝรั่งเศสการปฏิวัติฝรั่งเศสการปฏิวัติรัสเซียการปฏิวัติรัสเซีย ค.ศ.​ 1905การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475ภาษาฝรั่งเศสมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มาร์แซย์รัฐบาวาเรียราโบชายา มาร์เซลเยซาสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3สทราซบูร์จักรพรรดินโปเลียนที่ 1จักรพรรดินโปเลียนที่ 3จักรวรรดิฝรั่งเศสที่หนึ่งจิตร ภูมิศักดิ์ทวีป วรดิลกคริสต์ศตวรรษที่ 18คณะราษฎรประเทศฝรั่งเศสประเทศรัสเซียประเทศไทยประเทศเยอรมนีปารีสแองเตอร์นาซิอองนาลแคว้นอาลซัสเพลงชาติเพลงชาติไทยเลอเรอตูร์เดแพร็งส์ฟร็องแซอาปารีเอ็มพี3Ogg14 กรกฎาคม25 เมษายน

พ.ศ. 2335

ทธศักราช 2335 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1792 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันอาทิตย์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: ลามาร์แซแยซและพ.ศ. 2335 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2338

ทธศักราช 2338 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: ลามาร์แซแยซและพ.ศ. 2338 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2373

ทธศักราช 2373 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1830 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันศุกร์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: ลามาร์แซแยซและพ.ศ. 2373 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2418

ทธศักราช 2418 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1875.

ใหม่!!: ลามาร์แซแยซและพ.ศ. 2418 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2422

ทธศักราช 2422 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1879.

ใหม่!!: ลามาร์แซแยซและพ.ศ. 2422 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2460

ทธศักราช 2460 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1917 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันจันทร์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน หรือ ปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอังคาร ตามปฏิทินจูเลียน.

ใหม่!!: ลามาร์แซแยซและพ.ศ. 2460 · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าหลุยส์ที่ 18 แห่งฝรั่งเศส

ระเจ้าหลุยส์ที่ 18 แห่งฝรั่งเศส (Louis XVIII de France; หลุยส์ดีซุยต์เดอฟร็องส์; หลุยส์ สตานิสลาส กซาวีเย, 17 พฤศจิกายน ค.ศ. 1755 - 16 กันยายน ค.ศ. 1824) ซึ่งทรงเป็นที่รู้จักว่า "ผู้ปรารถนา" (le Désiré) ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ราชวงศ์บูร์บงผู้ครองราชบัลลังก์ฝรั่งเศสและนาวาร์ตั้งแต..

ใหม่!!: ลามาร์แซแยซและพระเจ้าหลุยส์ที่ 18 แห่งฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

การปฏิวัติฝรั่งเศส

การปฏิวัติฝรั่งเศส (Révolution française) ระหว่าง..

ใหม่!!: ลามาร์แซแยซและการปฏิวัติฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

การปฏิวัติรัสเซีย

การปฏิวัติรัสเซีย (Russian Revolution) คือภาพรวมของระลอกการปฏิวัติในรัสเซียช่วงปี..

ใหม่!!: ลามาร์แซแยซและการปฏิวัติรัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

การปฏิวัติรัสเซีย ค.ศ.​ 1905

การปฏิวัติรัสเซี..​ 1905 (Russian Revolution of 1905) ในช่วงทศวรรษที่ 1800- ต้น 1900 นั้น รัสเซียอยู่ในสภาพแร้นแค้น ขาดแคลน และประชาชนไม่พอใจสภาพที่ถูกกดขี่ ฝ่ายกรรมกรก็ต้องทำงานหนักโดยได้รับค่าตอบแทนน้อยมาก ครั้นรัสเซียเข้าสู่สงครามกับญี่ปุ่น (Russo-Japanese War 1905) ก็กลับเป็นฝ่ายแพ้ การเดินขบวนเริ่มอย่างสงบ ภายใต้การนำของหลวงพ่อกาปอง (Gapon) ที่เชื่อมั่นว่าทหารจะไม่ยิงพระ เรียกร้องให้มีการนิรโทษกรรมนักโทษทางการเมือง เรียกร้องรัฐธรรมนูญ ออกกฎหมายลดชั่วโมงการทำงาน และแก้ไขความทุกข์ยากของราษฎร แต่ทหารกลับระดมยิงประชาชนเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก เกิดเหตุการณ์ที่เรียกว่า "วันอาทิตย์นองเลือด" (Bloody Sunday) ประชาชนจึงเริ่มเป็นปฏิปักษ์ต่อระบบซาร์ และทำให้การจลาจลแผ่วง กว้างขึ้น พระเจ้านิโคลัสที่ 2 (Nicholas II) ต้องทรงยอมออกประกาศเดือนตุลาคม (October Manifests) ยอมให้มีการร่างรัฐธรรมนูญ เปิดสภาดูมา (Duma) และแต่งตั้งเคานท์ วิทท (Count S.Witte) เป็นนายกรัฐมนตรี ฝ่ายผู้ก่อการถูกจับหลายคน แต่ผู้นำบางคนหนีไปได้ และไปเตรียมก่อการครั้งใหม.

ใหม่!!: ลามาร์แซแยซและการปฏิวัติรัสเซีย ค.ศ.​ 1905 · ดูเพิ่มเติม »

การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475

การปฏิวัติสยาม..

ใหม่!!: ลามาร์แซแยซและการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาฝรั่งเศส

ษาฝรั่งเศส (Français ฟฺร็อง์แซ) เป็นหนึ่งในภาษากลุ่มโรมานซ์ที่สำคัญที่สุด เป็นรองเพียงภาษาสเปนและโปรตุเกส ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาที่มีคนนิยมเป็นอันดับที่ 11 ของโลก โดยเมื่อปี พ.ศ. 2558 มีคนพูดภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาแม่ประมาณ 84 ล้านคน และเมื่อรวมคนที่พูดเป็นภาษาที่สองแล้วจะมีประมาณ 300 ล้านคน ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาทางการ และภาษาที่ใช้ปกครองในชุมชนต่าง ๆ โดยเฉพาะประเทศที่เคยเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส รวมถึงองค์กรต่าง ๆ ด้วย (เช่น สหภาพยุโรป ไอโอซี องค์การสหประชาชาติ และสหภาพสากลไปรษณีย์) ในสมัยก่อนภาษาฝรั่งเศสถือเป็นภาษาสากลที่แพร่หลายที่สุด โดยมีสถานะเฉกเช่นภาษาอังกฤษในปัจจุบัน หนังสือเดินทางของไทยก็เคยใช้ภาษาฝรั่งเศสควบคู่กับภาษาไท.

ใหม่!!: ลามาร์แซแยซและภาษาฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (Thammasat University) หรือเรียกโดยย่อว่า ม. (TU) เป็นมหาวิทยาลัยแห่งที่สองของประเทศไทย ก่อตั้งในชื่อ "มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง" หรือ "ม..ก." (The University of Moral and Political Sciences หรือ UMPS) เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน..

ใหม่!!: ลามาร์แซแยซและมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

มาร์แซย์

มาร์แซย์ (Marseille) หรือ มาร์เซยอ (Marselha) เป็นเมืองทางตอนใต้ของประเทศฝรั่งเศส และเป็นเมืองที่ใหญ่อันดับ 2 ของประเทศ มีประชากร 1,516,340 คน (ปี 2542) เมืองมาร์แซย์เป็นเมืองท่าที่สำคัญของประเทศ ตั้งอยู่ริมทะเลเมดิเตอร์เรเนียน.

ใหม่!!: ลามาร์แซแยซและมาร์แซย์ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐบาวาเรีย

ตการปกครองในรัฐบาวาเรีย บาวาเรีย (Bavaria) หรือ ไบเอิร์น (Bayern) เป็นรัฐที่มีอาณาเขตใหญ่ที่สุดในประเทศเยอรมนี อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ มีประชากรประมาณ 12.5 ล้านคน มีพื้นที่ประมาณ 70,548 ตารางกิโลเมตร เมืองหลวงคือเมืองมิวนิก เชื้อสายประชากรเป็นชาวบาวาเรีย 6.4 ล้านคน, ฟรังโคเนีย 4.1 ล้านคน, และสวาเบีย 1.8 ล้านคน รัฐบาวาเรียเป็นหนึ่งในรัฐที่เก่าแก่ที่สุดรัฐหนึ่งในยุโรป ก่อตั้งขึ้นเป็นดัชชีในกลางคริสศตวรรษที่ 17 ดยุกแห่งบาวาเรียเป็นหนึ่งในผู้มีสิทธิสรรเจ้า (Prince-elector) แต่งตั้งจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ในช่วง ค.ศ. 1806 - ค.ศ. 1918 บาวาเรียมีสถานะเป็นราชอาณาจักรบาวาเรียต่อจากนั้นมากลายเป็นรัฐอิสระ (สาธารณรัฐ).

ใหม่!!: ลามาร์แซแยซและรัฐบาวาเรีย · ดูเพิ่มเติม »

ราโบชายา มาร์เซลเยซา

ราโบชายา มาร์เซลเยซา (Рабочая Марсельеза, Rabochaya Marselyeza) หรือ มาร์แซแยซของกรรมกร เป็นเพลงชาติในสมัยของสาธารณรัฐรัสเซีย และใช้จนถึงสมัยของสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซียก่อนที่จะเปลี่ยนแปลงเป็นสหภาพโซเวียตอย่างเต็มตัว และเป็นเพลงที่ใช้ในช่วงของการปฏิวัติรัสเซีย เพลงชาตินี้เลิกใช้ไปในสมัยที่เปลี่ยนแปลงเป็นสหภาพโซเวียตอย่างเต็มตัว ในปี พ.ศ. 2461 และใช้เพลงแองเตอร์นาซิอองนาลแทน.

ใหม่!!: ลามาร์แซแยซและราโบชายา มาร์เซลเยซา · ดูเพิ่มเติม »

สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3

สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3 (Troisième République Française บางครั้งเขียนย่อว่า La IIIe République) (พ.ศ. 2413 -10 กรกฎาคม พ.ศ. 2483) เป็นชื่อของระบอบการปกครองของประเทศฝรั่งเศส ซึ่งอยู่ระหว่างยุคจักรวรรดิฝรั่งเศสที่ 2 กับรัฐบาลฝรั่งเศสวิชี เกิดขึ้นหลังจากการพ่ายแพ้ของฝรั่งเศสต่อจักรวรรดิเยอรมัน ในสงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย เมื่อ พ.ศ. 2413 ซึ่งทำให้ฝรั่งเศสสูญเสียอาลซัส-ลอแรน และดำรงอยู่มาจนล่มสลายใน พ.ศ. 2483 จากการรุกรานของนาซีเยอรมัน ทำให้ฝรั่งเศสถูกยึดครอง ยุคนี้เป็นยุคของสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่อายุยืนที่สุด นับตั้งแต่มีการปฏิวัติฝรั่งเศสในปี พ.ศ. 2332 เป็นต้นมา หมวดหมู่:การเมืองฝรั่งเศส หมวดหมู่:ประวัติศาสตร์ฝรั่งเศส หมวดหมู่:รัฐสิ้นสภาพในประเทศฝรั่งเศส.

ใหม่!!: ลามาร์แซแยซและสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3 · ดูเพิ่มเติม »

สทราซบูร์

ทราซบูร์ (Strasbourg) หรือ ชตราสส์บวร์ค (Straßburg) เป็นเมืองในแคว้นอาลซัส ประเทศฝรั่งเศส เป็นเมืองหลวงของจังหวัดบา-แร็ง ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำอีลตั้งอยู่ใกล้ชายแดนประเทศเยอรมนี เป็นเมืองสำคัญด้านอุตสาหกรรมและการค้า ศูนย์กลางการขนส่ง และเมืองท่าริมฝั่งแม่น้ำที่สำคัญ ผลิตตับห่านบด สิ่งทอ สินค้าโลหะ เบียร์ ผลิตภัณฑ์เครื่องหนัง เคมีภัณฑ์ มีอุตสาหกรรมการพิมพ์ การแปรรูปอาหาร และการท่องเที่ยว มีอาคารที่สำคัญ อย่างเช่น มหาวิหารสร้างในสมัยกลาง ซึ่งติดตั้งนาฬิกาดาราศาสตร์สมัยคริสต์ศตวรรษที่ 14 หอการค้า วังของผู้ว่าราชการจังหวัด ศาลาว่าการ พิพิธภัณฑ์ เป็นสถานที่ประชุมของรัฐสภายุโรปมาตั้งแต..

ใหม่!!: ลามาร์แซแยซและสทราซบูร์ · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดินโปเลียนที่ 1

นโปเลียน โบนาปาร์ต (Napoléon Bonaparte) เป็นนายพลในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศส ดำรงตำแหน่งกงสุลเอกของฝรั่งเศส ตั้งแต่ปลายปี..

ใหม่!!: ลามาร์แซแยซและจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดินโปเลียนที่ 3

หลุยส์-นโปเลียน โบนาปาร์ต (Louis-Napoléon Bonaparte ลุย-นาโปเลยง โบนาปัทร์) ชื่อเกิดว่า ชาล-ลุย นโปเลียน โบนาปัทร์ (Charles-Louis Napoleon Bonaparte) เป็นประธานาธิบดีเพียงคนเดียวแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่สอง เป็นบุคคลแรกที่ประชาชนเลือกตั้งโดยตรงให้ดำรงตำแหน่งนี้ อยู่ในตำแหน่งระหว่าง..

ใหม่!!: ลามาร์แซแยซและจักรพรรดินโปเลียนที่ 3 · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิฝรั่งเศสที่หนึ่ง

ักรวรรดิฝรั่งเศสที่หนึ่ง (Premier Empire) มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า (L'Empire des Français; ล็องปีร์เดส์ฟร็องแซส์ แปลว่า จักรวรรดิแห่งชาวฝรั่งเศส) ยังรู้จักกันในนาม มหาจักรวรรดิฝรั่งเศส และ จักรวรรดินโปเลียน โดยเป็นจักรวรรดิที่สถาปนาขึ้นโดย จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 แห่งฝรั่งเศส ภายหลังจากที่พระองค์ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นจักรพรรดิแห่งฝรั่งเศส โดยเป็นจักรวรรดิที่มีส่วนสำคัญและมีอำนาจอย่างมากในทวีปยุโรปในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยเปลี่ยนผ่านมาจากคณะกงสุลฝรั่งเศส จักรวรรดิยังเป็นผู้ริเริ่มการทำสงครามมากมายในยุโรปจากนโยบายการต่างประเทศของจักรพรรดินโปเลียน ที่มุ่งเน้นจะยึดครองทวีปยุโรปไว้กับฝรั่งเศสแต่เพียงผู้เดียว.

ใหม่!!: ลามาร์แซแยซและจักรวรรดิฝรั่งเศสที่หนึ่ง · ดูเพิ่มเติม »

จิตร ภูมิศักดิ์

ตร ภูมิศักดิ์ (25 กันยายน พ.ศ. 2473 — 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2509) เป็นนักคิดด้านการเมือง นักประวัติศาสตร์ และนักภาษาศาสตร์ นับเป็นนักปราชญ์และนักปฏิวัติทางความคิดและวิชาการคนสำคัญของประเทศไทย จิตรเป็นนักวิชาการคนแรกๆ ที่กล้าถกเถียงและคัดค้านปราชญ์คนสำคัญ ด้วยวิธีคิดที่มีเหตุผลและลุ่มลึก มีความโดดเด่นจากผลงานการค้นคว้าทางวิชาการที่แปลกใหม่และลึกซึ้ง ขณะเดียวกันจิตรยังมีความคิดต่อต้านระบบเผด็จการและการใช้อำนาจกดขี่ของชนชั้นสูงมาโดยตลอด, จากโซ่ตรวนถึงความตายวาระสุดท้ายแห่งชีวิตจิตร ภูมิศักดิ์ จิตรเสียชีวิตในปี..

ใหม่!!: ลามาร์แซแยซและจิตร ภูมิศักดิ์ · ดูเพิ่มเติม »

ทวีป วรดิลก

ทวีป วรดิลก (25 สิงหาคม พ.ศ. 2471 - 8 เมษายน พ.ศ. 2548) นักเขียน นักหนังสือพิมพ์ ได้รับการประกาศเกียรติคุณเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ประจำปี..

ใหม่!!: ลามาร์แซแยซและทวีป วรดิลก · ดูเพิ่มเติม »

คริสต์ศตวรรษที่ 18

ริสต์ศตวรรษที่ 18 อยู่ระหว่างปี ค.ศ. 1701 ถึง ค.ศ. 1800.

ใหม่!!: ลามาร์แซแยซและคริสต์ศตวรรษที่ 18 · ดูเพิ่มเติม »

คณะราษฎร

ณะราษฎร (อ่านว่า "คะ-นะ-ราด-สะ-ดอน"; มักสะกดผิดเป็น คณะราษฎร์) คือ กลุ่มบุคคลที่ดำเนินการการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 ยึดอำนาจจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองของประเทศสยาม จากสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ อาจได้ชื่อว่าเป็นพรรคการเมืองพรรคแรกของไท.

ใหม่!!: ลามาร์แซแยซและคณะราษฎร · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศฝรั่งเศส

ฝรั่งเศส (France ฟร็องส์) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐฝรั่งเศส (République française) เป็นประเทศที่มีศูนย์กลางตั้งอยู่ในภูมิภาคยุโรปตะวันตก ทั้งยังประกอบไปด้วยเกาะและดินแดนอื่น ๆ ในต่างทวีป ประเทศฝรั่งเศสแผ่นดินใหญ่ทอดตัวตั้งแต่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนจนถึงช่องแคบอังกฤษและทะเลเหนือ และจากแม่น้ำไรน์จนถึงมหาสมุทรแอตแลนติก ชาวฝรั่งเศสมักเรียกแผ่นดินใหญ่ว่า หกเหลี่ยม (L'Hexagone) เนื่องจากรูปทรงทางกายภาพของประเทศ ประเทศฝรั่งเศสปกครองด้วยระบอบกึ่งประธานาธิบดี โดยยึดอุดมการณ์จากปฏิญญาว่าด้วยสิทธิของมนุษย์และของพลเมือง ประเทศฝรั่งเศสมีพรมแดนติดกับประเทศเบลเยียม ลักเซมเบิร์ก เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ อิตาลี โมนาโก อันดอร์ราและสเปน และเนื่องจากประเทศฝรั่งเศสมีดินแดนโพ้นทะเลไว้ในครอบครอง ทำให้มีอาณาเขตติดกับประเทศบราซิล ซูรินาม (ติดกับเฟรนช์เกียนา) และซินต์มาร์เตินของเนเธอร์แลนด์ (ติดกับแซ็ง-มาร์แต็ง) อีกด้วย นอกจากนั้นประเทศฝรั่งเศสยังเชื่อมกับสหราชอาณาจักรทางอุโมงค์ช่องแคบอังกฤษอีกด้วย ประเทศฝรั่งเศสเคยเป็นหนึ่งในประเทศมหาอำนาจของโลกตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 เป็นต้นมา ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 และ 19 จักรวรรดิฝรั่งเศสเป็นหนึ่งในประเทศจักรวรรดินิยมที่มีอาณานิคมในครอบครองมากที่สุดในโลก แผ่อาณาเขตตั้งแต่แอฟริกาตะวันตกจนถึงเอเชียอาคเนย์ ซึ่งเห็นได้ชัดจากอิทธิพลทางวัฒนธรรม ภาษาและการเมืองการปกครองของดินแดนนั้น ๆ ประเทศฝรั่งเศสถูกจัดให้เป็นประเทศที่พัฒนาแล้วและมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 6 ของโลก ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นประเทศที่มีนักท่องเที่ยวมากที่สุดในโลกอีกด้วย โดยมีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติกว่า 82 ล้านคนต่อปี ประเทศฝรั่งเศสเป็นประเทศผู้ก่อตั้งสหภาพยุโรปและมีพื้นที่ใหญ่ที่สุดในกลุ่มประเทศอีกด้วย ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นประเทศผู้ก่อตั้งสหประชาชาติ เป็นสมาชิกประชาคมผู้ใช้ภาษาฝรั่งเศสโลก จีแปด นาโต้และสหภาพละติน ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติและเป็นมหาอำนาจนิวเคลียร์ที่มีหัวรบนิวเคลียร์กว่า 360 หัวรบและเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ 59 แห่ง.

ใหม่!!: ลามาร์แซแยซและประเทศฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศรัสเซีย

รัสเซีย (Russia; Росси́я) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สหพันธรัฐรัสเซีย (Russian Federation; a) เป็นประเทศในยูเรเชียเหนือ และเป็นประเทศใหญ่ที่สุดในโลก กว่า 10,000,000 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ที่สามารถอยู่อาศัยของโลกถึงหนึ่งในแปด รัสเซียยังเป็นชาติมีประชากรมากที่สุดอันดับที่ 9 ของโลก โดยมีประชากร 143 ล้านคน รัสเซียปกครองด้วยระบอบสหพันธ์สาธารณรัฐกึ่งประธานาธิบดี ประกอบด้วย 83 เขตการปกครอง ไล่จากตะวันตกเฉียงเหนือถึงตะวันออกเฉียงใต้ รัสเซียมีพรมแดนติดกับนอร์เวย์ ฟินแลนด์ เอสโตเนีย ลัตเวีย ลิทัวเนีย และโปแลนด์ (ทั้งสองผ่านมณฑลคาลินินกราด) เบลารุส ยูเครน จอร์เจีย อาเซอร์ไบจาน คาซัคสถาน จีน มองโกเลียและเกาหลีเหนือ นอกจากนี้ยังมีพรมแดนทางทะเลติดกับญี่ปุ่นโดยทะเลโอฮอตสค์ และสหรัฐอเมริกาโดยช่องแคบแบริง อาณาเขตของรัสเซียกินเอเชียเหนือทั้งหมดและ 40% ของยุโรป แผ่ข้ามเก้าเขตเวลาและมีสิ่งแวดล้อมและธรณีสัณฐานหลากหลาย รัสเซียมีปริมาณทรัพยากรแร่ธาตุและพลังงานสำรองใหญ่ที่สุดของโลก และเป็นผู้ผลิตก๊าซธรรมชาติอันดับหนึ่งของโลก เช่นเดียวกับผู้ผลิตน้ำมันอันดับหนึ่งทั่วโลก รัสเซียมีป่าไม้สำรองใหญ่ที่สุดในโลกและทะเลสาบในรัสเซียบรรจุน้ำจืดประมาณหนึ่งในสี่ของโลก ประวัติศาสตร์ของชาติเริ่มขึ้นด้วยชาวสลาฟตะวันออก ผู้ถือกำเนิดขึ้นเป็นกลุ่มที่โดดเด่นได้ในยุโรประหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 3 ถึงที่ 8 รัฐรุสในสมัยกลาง ซึ่งก่อตั้งและปกครองโดยอภิชนนักรบวารันเจียนและผู้สืบเชื้อสาย เกิดขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 9 ใน..

ใหม่!!: ลามาร์แซแยซและประเทศรัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไทย

ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปี 2054 อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี 2199–2231) แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มีการนองเลือดหลายรัชกาล จนสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออกเป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่การสำเร็จโทษพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยามทันสมัยและรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี 2411–53) สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 2460; ในปี 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และในพุทธทศวรรษ 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศสงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทหารมาก รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะในปี 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและมีมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตยระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531 หลังพุทธทศวรรษ 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิดรัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังมีการลงประชามติรับร่างเมื่อหนึ่งปีก่อน ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เอเปก อีกทั้งเป็นร่วมผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยเป็นพันธมิตรของสหรัฐตั้งแต่สนธิสัญญาซีโต้ในปี 2497 ถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอำนาจปานกลางในเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูงและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีการอพยพเข้าสู่เมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามประมาณการในปี 2560 จีดีพีของประเทศไทยมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก.

ใหม่!!: ลามาร์แซแยซและประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเยอรมนี

ประเทศเยอรมนี (Germany; Deutschland ดอยฺชลันฺท) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (Federal Republic of Germany; Bundesrepublik Deutschland) เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐแบบรัฐสภาในยุโรปกลาง มีรัฐองค์ประกอบ 16 รัฐ มีพื้นที่ 357,021 ตารางกิโลเมตร และมีภูมิอากาศตามฤดูกาลแบบอบอุ่นเป็นส่วนใหญ่ มีประชากรประมาณ 82 ล้านคน ซึ่งเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในสหภาพยุโรป ประเทศเยอรมนีเป็นจุดหมายการเข้าเมืองยอดนิยมอันดับสองในโลกรองจากสหรัฐ เมืองหลวงและมหานครใหญ่สุดของประเทศคือ กรุงเบอร์ลิน ขณะที่เขตเมืองขยายใหญ่สุด คือ รูร์ โดยมีศูนย์กลางหลักดอร์ทมุนด์และเอสเซิน นครหลักอื่นของประเทศ ได้แก่ ฮัมบวร์ค มิวนิก โคโลญ แฟรงก์เฟิร์ต ชตุทท์การ์ท ดึสเซิลดอร์ฟ ไลพ์ซิจ เบรเมิน เดรสเดิน ฮันโนเฟอร์และเนือร์นแบร์ก ประเทศนี้มีระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยเชิงเสรีภาพและรัฐสวัสดิการ พรมแดนทางทิศเหนือติดทะเลเหนือ เดนมาร์ก และทะเลบอลติก ทิศตะวันออกติดโปแลนด์และเช็กเกีย ทิศใต้ติดออสเตรีย และสวิตเซอร์แลนด์ ทิศตะวันตกติดฝรั่งเศส ลักเซมเบิร์ก เบลเยียม และเนเธอร์แลนด์ มีเมืองหลวงและเมืองใหญ่ของประเทศคือเบอร์ลิน เยอรมนีมีประชากรประมาณ 80 ล้านคนและเป็นประเทศที่มีความหนาแน่นประชากรสูงสุดแห่งหนึ่ง อีกทั้งยังเป็นประเทศที่มีคนย้ายถิ่นมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก หลังจากที่สหรัฐอเมริกาเยอรมนีเป็นปลายทางการย้ายถิ่นที่สองได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก เยอรมนีเป็นหนึ่งในสมาชิกผู้ก่อตั้งสหภาพยุโรปและยังก่อตั้งสหภาพการเงินกับสมาชิกในสหภาพยุโรปอีก 17 ประเทศ โดยใช้ชื่อว่ายูโรโซน เยอรมนีเป็นสมาชิกของกลุ่ม UNO, OECD, NATO, G7 และ G20 เยอรมนีเป็นประเทศที่มีอิทธิพลต่อประเทศอื่นๆในยุโรปและเป็นประเทศที่มีความสามารถที่จะแข่งขันในระดับโลก หากวัดจากผลผลิตมวลรวมภายในประเทศแบบปกติแล้ว เยอรมนีเป็นเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในยุโรปและใหญ่เป็นอันดับสี่ของโลก ในปี 2012 เป็นประเทศที่มีการนำเข้าส่งออกมากที่สุดเป็นอันดับสาม ดัชนีการพัฒนามนุษย์ถือว่าสูงมาก.

ใหม่!!: ลามาร์แซแยซและประเทศเยอรมนี · ดูเพิ่มเติม »

ปารีส

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: ลามาร์แซแยซและปารีส · ดูเพิ่มเติม »

แองเตอร์นาซิอองนาล

เออแฌน ปอตีเย (Eugène Pottier) ผู้ประพันธ์คำร้องของเพลงแล็งแตร์นาซียอนาล แองเตอร์นาซิอองนาล (L'Internationale; แล็งแตร์นาซียอนาล, The Internationale; ดิอินเตอร์แนชนาล, Die Internationale; "ดี อินเทอร์นาโชนาล") เป็นเพลงปลุกใจที่ใช้ในการต่อสู้ของชนชั้นกรรมาชีพ มีที่มาจากบทกวีต้นฉบับภาษาฝรั่งเศสของ เออแฌน ปอตีเย (Eugène Pottier) ในปี..

ใหม่!!: ลามาร์แซแยซและแองเตอร์นาซิอองนาล · ดูเพิ่มเติม »

แคว้นอาลซัส

อาลซัส (Alsace) หรือ แอลซ็อส (อัลเซเชียน: Elsàss) เป็นอดีตแคว้นในประเทศฝรั่งเศส (ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของแคว้นกร็องแต็สต์) ตั้งอยู่บริเวณพรมแดนทางทิศตะวันออกของประเทศฝรั่งเศส และทางทิศตะวันตกของแม่น้ำไรน์ ติดกับประเทศเยอรมนีและสวิตเซอร์แลนด์ มีเมืองหลักและเมืองที่ใหญ่ที่สุดคือเมืองสทราซบูร์ เดิมเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ และต่อมาประเทศฝรั่งเศสกับเยอรมนีผลัดกันครอบครองแคว้นอาลซัสในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 17 และ 20 เดิมอาลซัสเคยเป็นของเยอรมนี แต่หลังจากสงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย ฝรั่งเศสแย่งแคว้นอาลซัสและลอแรนไปจากเยอรมนีทำให้ชาวอาลซัสและชาวลอแรนไม่พอใจฝรั่งเศส จึงเกิดสงครามฝรั่งเศส-อาลซัสและสงครามฝรั่งเศส-ลอแรน โดยฝรั่งเศสต้องสู้กับชาวอาลซัสและชาวลอแรน แต่ในที่สุดฝรั่งเศสก็สามารถปราบชาวอาลซัสและลอแรนลงได้ ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 17 แคว้นอาลซัสค่อย ๆ ถูกปรับปรุงในรัชสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 และพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 และกลายเป็นจังหวัดหนึ่งในประเทศฝรั่งเศส บ่อยครั้งที่แคว้นอาลซัสได้ถูกกล่าวรวมกับแคว้นลอแรน เนื่องจากการครอบครองดินแดนของแคว้นทั้งสอง (อาลซัส-ลอแรน) เป็นที่เลื่องชื่อในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19-20 จนถึงสงครามโลกครั้งที่หนึ่งเยอรมนีรวมกับปรัสเซียและไซลีเซียเข้าโจมตีฝรั่งเศสและสามารถยึดอาลซัสและลอแรนคืนมาได้ระยะหนึ่ง พอเยอรมนีแพ้สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ฝรั่งเศสซึ่งชนะสงครามจึงเอาอาลซัสและลอแรนคืนมา หลังจากนั้นในสงครามโลกครั้งที่สอง นาซีเยอรมันได้เข้ายึดปารีสและขู่ให้ฝรั่งเศสยกอาลซัสและลอแรนคืนให้เยอรมนี อาลซัสและลอแรนจึงกลับเป็นของเยอรมนีอีกครั้ง เมื่อเยอรมนีนาซีแพ้สงครามโลกครั้งที่สอง เยอรมนีก็คืนอาลซัส-ลอแรนแก่ฝรั่งเศส ในช่วงสงครามเย็นชาวเยอรมันในอาลซัสและลอแรนก็ประท้วงกันอีกครั้ง รัฐบาลฝรั่งเศสต้องคอยปราบปรามเลยยอมให้ชาวอาลซัสและชาวลอแรนใช้ภาษาเยอรมันได้ในที่สุด แต่ชาวเยอรมันบางกลุ่มไม่พอใจยังก่อการร้ายในอาลซัสอยู่เรื่อยมาจนเป็นปัญหาถึงทุกวันนี้ ปัจจุบันอาลซัสเป็นของฝรั่งเศสอย่างสมบรูณ์ แม้ว่าแคว้นอาลซัสจะเป็นแคว้นที่มีคนพูดภาษาเยอรมันอยู่มากทางประวัติศาสตร์ แต่ปัจจุบันชาวอาลซัสก็สามารถพูดภาษาฝรั่งเศสประมาณร้อยละ 25 ของประชากรพื้นเมืองสามารถพูดภาษาอัลเซเชียน (Alsatian) โดยเป็นภาษาแม่หรือภาษาเยอรมัน (เป็นภาษาที่ 2).

ใหม่!!: ลามาร์แซแยซและแคว้นอาลซัส · ดูเพิ่มเติม »

เพลงชาติ

ภาพยนตร์หรือวีดิทัศน์ประกอบเพลงชาติ มักมีการใช้ภาพประกอบเพลงที่แสดงถึงความฮึกเหิมและปลุกใจให้รักชาติ (ตัวอย่างในที่นี้ เป็นภาพยนตร์เพลงชาติสหรัฐอเมริกา สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2487) เพลงชาติ (National anthem) หมายถึง บทเพลงที่ประพันธ์ขึ้น เพื่อปลุกเร้าให้หวนระลึกถึงหรือสรรเสริญประวัติศาสตร์ชาติ ขนบธรรมเนียมประเพณีของชาติ หรือการต่อสู้ของชนในชาติ โดยได้รับการยอมรับจากรัฐบาลของชาตินั้น ๆ อย่างเป็นทางการ หรือความตกลงใจร่วมกันของประชาชนในชาติว่า เพลงดังกล่าวเป็นเพลงประจำชาติของตน ในหนังสือ "เพลงชาติ" โดย สุกรี เจริญสุข ได้กล่าวถึงความหมายของเพลงชาติไว้ 4 ประการ คือ.

ใหม่!!: ลามาร์แซแยซและเพลงชาติ · ดูเพิ่มเติม »

เพลงชาติไทย

ลงชาติไทย เป็นชื่อเพลงชาติของสยามและประเทศไทย ประพันธ์ทำนองโดย พระเจนดุริยางค์ ในช่วงหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อปี พ.ศ. 2475 คำร้องฉบับแรกสุดโดยขุนวิจิตรมาตรา ซึ่งแต่งขึ้นภายหลังในปีเดียวกัน ต่อมาได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมเนื้อร้องอีกหลายครั้งและได้เปลี่ยนมาใช้เนื้อร้องฉบับปัจจุบันเมื่อ พ.ศ. 2482.

ใหม่!!: ลามาร์แซแยซและเพลงชาติไทย · ดูเพิ่มเติม »

เลอเรอตูร์เดแพร็งส์ฟร็องแซอาปารี

ลอเรอตูร์เดแพร็งส์ฟร็องแซอาปารี (Le Retour des Princes français à Paris) เป็นเพลงชาติโดยพฤตินัย ของฝรั่งเศสในรัชสมัยการฟื้นฟูราชวงศ์บูร์บง โดยยืมทำนองมาจากเพลง วีว็องรีกัทร์ แปลโดย: ภัทรพล สมเหมาะ (บทที่ 1) และศุภกิจ พรมศรี (ชาวไทย) (บทที่ 2-5).

ใหม่!!: ลามาร์แซแยซและเลอเรอตูร์เดแพร็งส์ฟร็องแซอาปารี · ดูเพิ่มเติม »

เอ็มพี3

MP3 (เอ็มพีสาม หรือ เอ็มพีทรี) เป็นวิธีการเข้ารหัสสัญญาณเสียงดิจิตัลที่เป็นที่นิยมแบบหนึ่ง ใช้วิธีการบีบอัดข้อมูลแบบมีการสูญเสียข้อมูลบางส่วนบางส่วน หรือ lossy ออกแบบมาเพื่อใช้ลดปริมาณข้อมูลเสียงให้เหลือเพียงเล็กน้อย (ส่วนมากจะได้ที่อัตรา 10 ต่อ 1) แต่ข้อมูลที่ลดลงมานี้ก็ยังให้คุณภาพเสียงที่ดีใกล้เคียงกับสัญญาณเสียงต้นฉบับโดยทดสอบกับผู้ฟังส่วนใหญ่ ในการใช้งานส่วนใหญ่คำว่า MP3 จะเป็นกล่าวอ้างถึงแฟ้มที่ใช้เก็บเสียงหรือดนตรีในรูปแบบ MP3 บนเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือเครื่องเล่น MP3 คำว่า MP3 ได้มาจากคำว่า "MPEG-1 Audio Layer 3" หรือในคำที่เป็นทางการว่า "ISO/IEC 11172-3 Layer 3" อย่างไรก็ตามแฟ้มนามสกุล ".mp3" บางแฟ้มก็ใช้การเข้ารหัสแบบใหม่ที่มีชื่อว่า "MPEG-2 Audio Layer 3" หรือ "ISO/IEC 13818-3 Layer 3" MP3 เป็นรูปแบบการบีบอัดข้อมูลแบบมีการสูญเสียข้อมูลบางส่วน ใช้แทนข้อมูลเสียงที่เข้ารหัสแบบ PCM ให้มีขนาดที่เล็กโดยตัดข้อมูลบางส่วนที่พิจารณาแล้วว่าระบบการได้ยินของมนุษย์เกือบจะไม่สามารถรับฟังได้ (แนวคิดนี้คล้ายกับการบีบอัดข้อมูลภาพแบบ JPEG) วิธีการต่างๆที่ช่วยให้สามารถตัดข้อมูลบางส่วนออกไปได้ได้ถูกนำมาใช้กับ MP3 รวมทั้ง psychoacoustics ข้อมูลเสียงแบบ MP3 สามารถบีบอัดให้มีขนาดที่แตกต่าง หรือมี อัตราบิท ที่หลากหลายขึ้นกับขนาดของข้อมูลและคุณภาพเสียง เป็นรูปแบบแฟ้มที่เป็นการบีบอัดข้อมูลแบบมีการสูญเสียข้อมูลบางส่วนออกมา เพื่อให้ปริมาณข้อมูลลดลง แต่ยังคงคุณภาพใกล้เคียงกับสัญญาณเสียงเดิม อาจมีการเปลี่ยนแปลงบ้าง แต่เป็นเพียงเล็กน้อย และในการเข้ารหัสแบบ MP3 เป็นการเข้ารหัสของเพลงเป็นส่วนใหญ่ เพื่อให้สามารถใช้เนื้อที่ได้มากขึ้น และสามารถรวบรวมแฟ้มเพลงหลายๆแฟ้มมารวมอยู่ในรูปของ MP3 ทำให้ไม่สิ้นเปลืองเนื้อที่ในการจัดเก็บข้อมูล.

ใหม่!!: ลามาร์แซแยซและเอ็มพี3 · ดูเพิ่มเติม »

Ogg

ogg ("อ็อก") เป็นรูปแบบหีบห่อดิจิทัลแบบมาตรฐานเปิดสำหรับบรรจุสื่อผสม มันถูกออกแบบมาเพื่อประสิทธิภาพในการกระจายเสียง (สตรีมมิง) และการเปลี่ยนแปร รูปแบบ ogg ออกแบบโดยมูลนิธิ Xiph.Org และปลอดจากสิทธิบัตรซอฟต์แวร์ คำว่า "ogg" ยังถูกใช้บ่อย ๆ เพื่อเรียกรูปแบบแฟ้มเสียง Ogg Vorbis ซึ่งเป็นเสียงที่ถูกเข้ารหัสแบบ Vorbis แล้วเก็บลงในหีบห่อ Ogg การเข้ารหัสอื่นที่เด่น ๆ ของ Xiph ที่มักถูกใส่ใน Ogg ก็คือ Theora ซึ่งเป็นการเข้ารหัสภาพเคลื่อนไหว (วิดีโอ), และ Speex ซึ่งเป็นการบีบอัดเสียงพูดของมนุษย์ MIME type ของ ogg คือ application/ogg.

ใหม่!!: ลามาร์แซแยซและOgg · ดูเพิ่มเติม »

14 กรกฎาคม

วันที่ 14 กรกฎาคม เป็นวันที่ 195 ของปี (วันที่ 196 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 170 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: ลามาร์แซแยซและ14 กรกฎาคม · ดูเพิ่มเติม »

25 เมษายน

วันที่ 25 เมษายน เป็นวันที่ 115 ของปี (วันที่ 116 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 250 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: ลามาร์แซแยซและ25 เมษายน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

La MarseillaiseMarseillaiseลามาร์แซแยสเพลงชาติฝรั่งเศสเพลงแห่งเมืองมาร์แซย์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »