โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ลัทธิไตรราษฎร์และวันชาติสาธารณรัฐจีน

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ลัทธิไตรราษฎร์และวันชาติสาธารณรัฐจีน

ลัทธิไตรราษฎร์ vs. วันชาติสาธารณรัฐจีน

ลัทธิไตรราษฎร์ หรือ สามประชาธรรม (Three Principles of the People, Three People's Principles, San-min Doctrine, หรือ Tridemism) เป็นปรัชญาการเมืองซึ่งซุน ยัดเซ็น หรือ ซุน อี้เซียน (孫逸仙) พัฒนาขึ้นเป็นส่วนหนึ่งของปรัชญาที่ทำให้ประเทศจีนเป็นดินแดนอันเสรี รุ่งเรือง และทรงอำนาจ ลัทธิไตรราษฎร์ประกอบด้วยหลักการสามข้อ ได้แก่ "ประชาชาติ" (民族; people's rule) คือ ความนิยมชาติ, "ประชาสิทธิ์" (民權; people's right) คือ ประชาธิปไตย, และ "ประชาชีพ" (民生; people's livelihood) คือ ความอยู่สุขสวัสดีของผองชน การนำหลักการทั้งสามไปใช้นั้นก่ออิทธิพลและผลลัพธ์ที่เด่นชัดที่สุดเป็นการจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินไต้หวัน อนึ่ง มีการกล่าวอ้างว่า หลักการเหล่านี้เป็นดังเสาค้ำชาติไต้หวันที่พรรคชาตินิยม (國民黨) แบกไว้บนบ่า หลักการทั้งสามยังปรากฏในท่อนแรกของเพลงชาติสาธารณรัฐจีนด้วย หมวดหมู่:ทฤษฎีการเมือง หมวดหมู่:ปรัชญาสังคม หมวดหมู่:สาธารณรัฐจีน หมวดหมู่:ประเทศจีน. วันดับเบิลเท็น เป็นวันชาติของสาธารณรัฐจีน และเฉลิมฉลองการเริ่มต้นของการลุกฮือหวูชาง เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม..

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ลัทธิไตรราษฎร์และวันชาติสาธารณรัฐจีน

ลัทธิไตรราษฎร์และวันชาติสาธารณรัฐจีน มี 5 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ชาตินิยมซุน ยัตเซ็นประชาธิปไตยประเทศไต้หวันเพลงชาติสาธารณรัฐจีน

ชาตินิยม

ชาตินิยม (nationalism) คืออุดมการณ์ที่สร้างและบำรุงรักษาชาติในลักษณะที่เป็นมโนทัศน์ แสดงอัตลักษณ์ของกลุ่มของมนุษย์ ตามบางทฤษฎี การรักษาลักษณะพิเศษของอัตลักษณ์ การเป็นอิสระในทุก ๆ เรื่อง การกินดีอยู่ดี และการชื่นชมความยิ่งใหญ่ของชาติตนเอง ล้วนจัดว่าเป็นคุณค่าพื้นฐานของความเป็นชาตินิยม นักชาตินิยมวางพื้นฐานของความเป็นชาติอยู่บนแนวคิดเกี่ยวกับความชอบธรรมทางการเมืองหลายๆ ประการ โดยความชอบธรรมนั้นอาจสร้างขึ้นผ่านทางทฤษฎีโรแมนติกของ "อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม" การให้เหตุผลเชิงเสรีนิยมที่กล่าวว่า ความชอบธรรมทางการเมืองนั้น เกิดจากการยอมรับของประชากรในท้องถิ่นนั้น ๆ หรืออาจจะเป็นการผสมผสานระหว่างสองสิ่งนี้ การใช้คำว่า ชาตินิยม ในสมัยใหม่ มักหมายถึงการใช้อำนาจทางการเมือง (และทหาร) ของกลุ่มชาตินิยมเชิงเชื้อชาติ ชาติพันธุ์ ชนเผ่าหรือเชิงศาสนา นักรัฐศาสตร์โดยทั่วไปแล้วมีแนวโน้มที่จะวิจัยและมุ่งเป้าไปที่รูปแบบสุดขั้วของชาตินิยม ซึ่งมักเกี่ยวข้องกับสังคมนิยมเชิงชาตินิยม การแบ่งแยกดินแดน และอื่น ๆ หมวดหมู่:ทฤษฎีการเมือง หมวดหมู่:คตินิยมเชื้อชาติ หมวดหมู่:การอพยพของมนุษย์.

ชาตินิยมและลัทธิไตรราษฎร์ · ชาตินิยมและวันชาติสาธารณรัฐจีน · ดูเพิ่มเติม »

ซุน ยัตเซ็น

นายแพทย์ ซุน ยัตเซ็น (12 พฤศจิกายน ค.ศ. 1866 - 12 มีนาคม ค.ศ. 1925) เป็นนักปฏิวัติ และ ได้รับการกล่าวขานว่าเป็น "บิดาของชาติ" ในสาธารณรัฐจีน และ "ผู้บุกเบิกการปฏิวัติประชาธิปไตย" ในสาธารณรัฐประชาชนจีน ด้วยความเป็นผู้ริเริ่มจีนชาตินิยมคนสำคัญ ซุนมีบทบาทสำคัญในจุดประกายการโค่นล้มราชวงศ์ชิงที่ปกครองแผ่นดินจีนเป็นราชวงศ์สุดท้ายและเกือบนำประเทศไปสู่ความหายนะ ซุนได้ปลุกกระแสให้ชาวจีนหันมาตระหนักถึงความล้มเหลวของราชวงศ์ชิง กระทั่งกลายเป็นกระแสต่อต้านราชวงศ์และนำไปสู่การปฏิวัติซินไฮ่ ซึ่งเปลี่ยนประเทศจีนเป็นประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐ ซุนเป็นประธานาธิบดีเฉพาะกาลคนแรกเมื่อสาธารณรัฐจีนก่อตั้งขึ้นใน..

ซุน ยัตเซ็นและลัทธิไตรราษฎร์ · ซุน ยัตเซ็นและวันชาติสาธารณรัฐจีน · ดูเพิ่มเติม »

ประชาธิปไตย

รัฐที่มิได้มองว่าตนปกครองระบอบประชาธิปไตย ได้แก่ นครรัฐวาติกัน ประเทศซาอุดิอาระเบีย UAE กาตาร์ โอมาน ฟิจิและบรูไน ประชาธิปไตยเป็นระบอบการปกครองแบบหนึ่งซึ่งการบริหารอำนาจรัฐมาจากเสียงข้างมากของพลเมือง ผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย โดยพลเมืองอาจใช้อำนาจของตนด้วยตนเองหรือผ่านผู้แทนที่เลือกไปใช้อำนาจแทนก็ได้ ประชาธิปไตยยังเป็นอุดมคติที่ว่าพลเมืองทุกคนในชาติร่วมกันพิจารณากฎหมายและการปฏิบัติของรัฐ และกำหนดให้พลเมืองทุกคนมีโอกาสแสดงความยินยอมและเจตนาของตนเท่าเทียมกัน ประชาธิปไตยเกิดขึ้นในบางนครรัฐกรีกโบราณช่วงศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสตกาล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในเอเธนส์หลังการก่อการกำเริบเมื่อ 508 ปีก่อนคริสตกาล ประชาธิปไตยแบบนี้เรียกว่า ประชาธิปไตยทางตรง ซึ่งพลเมืองเกี่ยวข้องในกระบวนการทางการเมืองโดยตรง แต่ประชาธิปไตยในปัจจุบันเป็นประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน โดยสาธารณะออกเสียงในการเลือกตั้งและเลือกนักการเมืองเป็นผู้แทนตนในรัฐสภา จากนั้น สมาชิกสภาจะเป็นผู้ตัดสินใจด้วยเสียงข้างมาก ประชาธิปไตยทางตรงยังมีอยู่ในระดับท้องถิ่นหลายประเทศ เช่น การเลือกตั้งสมาชิกเทศบาล อย่างไรก็ดี ในระดับชาติ ความเป็นประชาธิปไตยทางตรงมีเพียงการลงประชามติ การริเริ่มออกกฎหมายและการถอดถอนผู้ได้รับเลือกตั้ง แม้ในปัจจุบัน ประชาธิปไตยจะยังไม่มีนิยามที่ได้รับการยอมรับโดยทั่วกันก็ตาม แต่มีการระบุว่าความเสมอภาคและอิสรภาพเป็นคุณลักษณะสำคัญของประชาธิปไตยนับแต่โบราณกาลR.

ประชาธิปไตยและลัทธิไตรราษฎร์ · ประชาธิปไตยและวันชาติสาธารณรัฐจีน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไต้หวัน

ประเทศไต้หวัน (Taiwan) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐจีน (Republic of China) เป็นรัฐในทวีปเอเชียตะวันออก ปัจจุบันประกอบด้วยเกาะใหญ่ 5 แห่ง คือ จินเหมิน (金門), ไต้หวัน, เผิงหู (澎湖), หมาจู่ (馬祖), และอูชิว (烏坵) กับทั้งเกาะเล็กเกาะน้อยอีกจำนวนหนึ่ง ท้องที่ดังกล่าวเรียกรวมกันว่า "พื้นที่ไต้หวัน" (臺灣地區) ไต้หวันด้านตะวันตกติดกับจีนแผ่นดินใหญ่ ด้านตะวันออกและตะวันออกเฉียงเหนือติดกับญี่ปุ่น และด้านใต้ติดกับฟิลิปปินส์ กรุงไทเปเป็นเมืองหลวง ส่วนไทเปใหม่เป็นเขตปกครองที่จัดตั้งขึ้นใหม่ กินพื้นที่กรุงไทเป และเป็นเขตซึ่งประชากรหนาแน่นที่สุดในเวลานี้ เกาะไต้หวันนั้นเดิมเป็นที่อยู่ของชนพื้นเมือง และมีชาวจีนจากแผ่นดินใหญ่เข้ามาอาศัยร่วมด้วย จนกระทั่งชาววิลันดาและสเปนเดินทางเข้ามาในยุคสำรวจเมื่อศตวรรษที่ 17 และมาตั้งบ้านเรือนกลายเป็นนิคมใหญ่โต ต่อมาในปี 1662 ราชวงศ์หมิงในแผ่นดินใหญ่ถูกราชวงศ์ชิงแทนที่ เจิ้ง เฉิงกง (鄭成功) ขุนศึกหมิง รวมกำลังหนีมาถึงเกาะไต้หวัน และเข้ารุกไล่ฝรั่งออกไปได้อย่างราบคาบ เขาจึงตั้งราชอาณาจักรตงหนิง (東寧) ขึ้นบนเกาะเพื่อ "โค่นชิงฟื้นหมิง" (反清復明) แต่ในปี 1683 ราชวงศ์ชิงปราบปรามอาณาจักรตงหนิงและเข้าครอบครองไต้หวันเป็นผลสำเร็จ ไต้หวันจึงกลายเป็นมณฑลหนึ่งของจีน อย่างไรก็ดี ความบาดหมางระหว่างจีนกับญี่ปุ่นเป็นเหตุให้ญี่ปุ่นได้ไต้หวันไปในปี 1895 ก่อนเสียไต้หวันคืนให้แก่จีนหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ช่วงนั้น มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองในจีน พรรคชาตินิยม (國民黨) ได้เป็นใหญ่ แต่ไม่นานก็เสียทีให้แก่พรรคสังคมนิยม (共产党) พรรคชาตินิยมจึงหนีมายังเกาะไต้หวัน แล้วสถาปนาสาธารณรัฐจีนขึ้นบนเกาะไต้หวันแยกต่างหากจากสาธารณรัฐประชาชนจีนบนแผ่นดินใหญ่ อย่างไรก็ดี จีนยังคงถือว่า ไต้หวันเป็นมณฑลหนึ่งของตน และไต้หวันเองก็ยังมิได้รับการยอมรับจากนานาชาติว่าเป็นประเทศเอกราชมาจนบัดนี้ ในช่วงทศวรรษ 1980 ถึงต้นทศวรรษ 1990 การเมืองการปกครองสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ได้เจริญรุ่งเรืองจนเป็นประชาธิปไตยที่มีพรรคการเมืองหลายพรรคและมีการเลือกตั้งทั่วหน้า อนึ่ง ในช่วงกลางศตวรรษที่ 20 เศรษฐกิจไต้หวันงอกงามอย่างรวดเร็ว ไต้หวันจึงกลายเป็นประเทศพัฒนาแล้ว ทั้งได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในสี่เสือแห่งเอเชีย มีอุตสาหกรรมล้ำหน้า และมีเศรษฐกิจใหญ่โตเป็นอันดับที่ 19 ของโลก อุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูงของไต้หวันยังมีบทบาทสำคัญมากในเศรษฐกิจโลก เป็นเหตุให้ไต้หวันได้เป็นสมาชิกองค์การการค้าโลกและความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก นอกจากนี้ เสรีภาพของสื่อมวลชน เสรีภาพทางเศรษฐกิจ การสาธารณสุข การศึกษา และการพัฒนามนุษย์ในไต้หวันยังได้รับการจัดอยู่ในอันดับสูงด้วยhttp://www.dgbas.gov.tw/public/Data/366166371.pdf.

ประเทศไต้หวันและลัทธิไตรราษฎร์ · ประเทศไต้หวันและวันชาติสาธารณรัฐจีน · ดูเพิ่มเติม »

เพลงชาติสาธารณรัฐจีน

ลงชาติสาธารณรัฐจีน (จงหัวหมินกั๋วกั๋วเกอ) เป็นเพลงชาติของสาธารณรัฐจีนซึ่งตั้งมั่นอยู่บนเกาะไต้หวันในปัจจุบัน เนื้อหากล่าวถึงวิสัยทัศน์และความหวังของรัฐชาติใหม่และประชาชนในรัฐนั้นจะเป็นจริงได้ด้วยการดำเนินตามหลักลัทธิไตรราษฎร์ หรือ หลัก 3 ประการ แห่งประชาชน เพลงนี้มักมีการเรียกชื่ออย่างไม่เป็นทางการว่า "ซานหมินจู่อี้" อันเป็นชื่อของหลักลัทธิไตรราษฎร์ที่ปรากฏในวรรคแรกของเพลง แต่ชื่อดังกล่าวนี้ไม่ได้มีการเรียกขานอย่างเป็นทางการแต่อย่างใ.

ลัทธิไตรราษฎร์และเพลงชาติสาธารณรัฐจีน · วันชาติสาธารณรัฐจีนและเพลงชาติสาธารณรัฐจีน · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ลัทธิไตรราษฎร์และวันชาติสาธารณรัฐจีน

ลัทธิไตรราษฎร์ มี 8 ความสัมพันธ์ขณะที่ วันชาติสาธารณรัฐจีน มี 28 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 5, ดัชนี Jaccard คือ 13.89% = 5 / (8 + 28)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ลัทธิไตรราษฎร์และวันชาติสาธารณรัฐจีน หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »