โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ลัทธินอกศาสนา

ดัชนี ลัทธินอกศาสนา

้อน Mjölnir ซึ่งเป็นสัญลักษณ์สำคัญของลัทธิเพกันใหม่เยอรมัน ลัทธินอกศาสนา หรือ เพเกิน หรือ เพแกน (Paganism มาจากภาษาPaganus แปลว่า “ผู้ที่อยู่ในชนบท”) เป็นคำที่มีความหมายกว้างที่ใช้บรรยายศาสนาหรือการปฏิบัติของหมู่ชนสมัยก่อนมีการนับถือคริสต์ศาสนาในยุโรป หรือถ้าขยายความขึ้นไปอีกก็จะหมายถึงผู้ที่มีธรรมเนียมการนับถือพระเจ้าหลายองค์ (polytheistic) หรือศาสนาพื้นบ้าน (folk religion) โดยทั่วไปในโลกจากมุมมองของผู้ที่นับถือคริสต์ศาสนาในโลกตะวันตก คำนี้มีความหมายหลายอย่างแต่จากทัศนคติตะวันตกในนัยยะของความหมายในปัจจุบันหมายถึงความศรัทธาที่เป็นพหุเทวนิยมของผู้ที่ปฏิบัติตามแบบเจตนิยม (spiritualism) วิญญาณนิยม (animism) หรือลัทธิเชมัน เช่นในศาสนาพื้นบ้าน ในลัทธิการนับถือพระเจ้าหลายองค์ หรือในลัทธินอกศาสนาใหม่ คำว่า “ลัทธินอกศาสนา” ได้รับการตีความหมายอย่างกว้างที่รวมถึงศาสนาทุกศาสนาที่อยู่นอกกลุ่มศาสนาอับราฮัมของผู้นับถือลัทธิเอกเทวนิยม (monotheism) ที่รวมทั้งศาสนายูดาห์ ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลาม กลุ่มที่ว่านี้รวมทั้งศาสนาตะวันออก (Eastern religions) ปรัมปราวิทยาอเมริกันพื้นเมือง (Native American mythology) และศาสนาพื้นบ้านโดยทั่วไปที่ไม่ใช่คริสต์ศาสนา ในความหมายที่แคบลง "ลัทธินอกศาสนา" จะไม่รวมศาสนาของโลก (world religions) ที่เป็นศาสนาที่เป็นที่ยอมรับกันอย่างเป็นทางการแต่จะจำกัดอยู่ในศาสนาท้องถิ่นที่ยังไม่ได้จัดอยู่ในระบบศาสนาของโลก ลักษณะการปฏิบัติของลัทธิเพกันคือความขาดสาวก (proselytism) และการความนิยมในการนับถือปรัมปราวิทยาต่าง ๆ (mythology) คำว่า “ลัทธินอกศาสนา” เป็นคำที่ผู้นับถือคริสต์ศาสนานำมาใช้สำหรับ “เจนไทล์” (gentile) ของศาสนายูดาห์หรือชาวยิว ที่เป็นการใช้คำที่ออกไปทางเหยียดหยามโดยหมู่ผู้นับถือลัทธิเอกเทวนิยมของโลกตะวันตก เทียบเท่ากับการใช้คำว่า “heathen” (ฮีทเธน) หรือ “อินฟิเดล” (infidel) หรือ “กาฟิร” (kafir หรือ كافر) และ “มุชริก” (mushrik หรือ مشرك ผู้เคารพรูปปั้น) ในการเรียกผู้ที่นับถือศาสนาอิสลาม ด้วยเหตุผลต่างๆ เหล่านี้นักชาติพันธุ์วิทยาจึงเลี่ยงใช้คำว่า "ลัทธินอกศาสนา" เพราะความหมายอันแตกต่างกันและไม่แน่นอน ในการกล่าวถึงความศรัทธาตามที่มีกันมาหรือในประวัติศาสตร์ และมักจะใช้คำที่มีความหมายเฉพาะเจาะจงมากกว่า เช่น เจตนิยม, วิญญาณนิยม, ลัทธิชามัน หรือสรรพเทวนิยม (pantheism) แต่ก็มีผู้วิจารณ์การใช้คำเหล่านี้ที่อ้างว่าเป็นคำที่ให้ความหมายของศรัทธาในมุมมองหนึ่งและมิได้กล่าวถึงตัวความเชื่อของศาสนาที่กล่าว ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 คำว่า "ลัทธินอกศาสนา" ก็กลายมาเป็นที่นิยมใช้กันสำหรับผู้นับถือลัทธินอกศาสนาใหม่ ฉะนั้นนักวิชาการหลายแขนงในปัจจุบันจึงต้องใช้คำนี้ในความหมายที่แบ่งเป็นสามกลุ่ม: พหุเทวนิยมในประวัติศาสตร์ (เช่นลัทธินอกศาสนาเซลต์ (Celtic paganism) หรือลัทธินอกศาสนานอร์ส (Norse paganism)), ศาสนาพื้นบ้าน/ศาสนาเผ่าพันธุ์/ศาสนาท้องถิ่น (เช่น ศาสนาพื้นบ้านของชาวจีนหรือ ศาสนาพื้นบ้านของชาวแอฟริกา) และลัทธินอกศาสนาใหม่ (เช่นวิคคา (Wicca) และ ลัทธินอกศาสนาใหม่เยอรมัน (Germanic Neopaganism)).

13 ความสัมพันธ์: ชาติพันธุ์วิทยาพหุเทวนิยมลัทธิบูชาวิญญาณนิยมศาสนายูดาห์ศาสนาอับราฮัมศาสนาอิสลามศาสนาคริสต์สรรพเทวนิยมสาวกปรัมปราวิทยาเชมันเอกเทวนิยม

ชาติพันธุ์วิทยา

ติพันธุ์วิทยา หรือ ชาติวงศ์วิทยา หรือ ชนชาติวิทยา (ethnology) เป็นสาขาวิชาหนึ่งของมานุษยวิทยา ที่ศึกษาและเปรียบเทียบเกี่ยวกับความเชื่อและวิธีปฏิบัติของแต่ละสังคม เป้าหมายหนึ่งคือ การศึกษาประวัติศาสตร์มนุษย์ กฎทางวัฒนธรรม การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม และนัยทั่วไปเกี่ยวกับธรรมชาติมนุษย์ สำหรับผู้ที่ศึกษาในสาขาวิชานี้ จะเรียกว่า "นักชาติพันธุ์วิทยา" (ethnologist) คำว่า ethnology ถูกใช้ครั้งแรกโดยนักประวัติศาสตร์ชาวสโลวัค Adam František Kollár (1718–1783) โดยมาจาก 2 คำในภาษากรีก คือ ethnos ("ชนชาติ") และ logos ("การศึกษา").

ใหม่!!: ลัทธินอกศาสนาและชาติพันธุ์วิทยา · ดูเพิ่มเติม »

พหุเทวนิยม

ทพอียิปต์ พหุเทวนิยม (polytheism) เป็นการบูชาหรือความเชื่อในพระเป็นเจ้าหรือเทพเจ้าหลายองค์ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 427 ถือเป็นเทวนิยมแบบหนึ่ง ซึ่งตรงข้ามกับเอกเทวนิยมที่เชื่อในพระเป็นเจ้าองค์เดียว ผู้ที่เชื่อแบบพหุเทวนิยมไม่ได้บูชาเทพเจ้าทุกองค์เสมอกัน แต่อาจบูชาเฉพาะองค์ใดองค์หนึ่งเป็นพิเศษก็ได้ (เรียกว่าอติเทวนิยม) ศาสนาประเภทพหุเทวนิยม เช่น พหุเทวนิยมกรีกและโรมัน เทพปกรฌัมสลาฟ ศาสนาฮินดู ศาสนาชินโต ศาสนาพื้นบ้านจีน ลัทธิเต๋า เป็นต้น.

ใหม่!!: ลัทธินอกศาสนาและพหุเทวนิยม · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธิบูชา

ในทางสังคมวิทยา ลัทธิบูชา (Cult) หรือลัทธิ หมายถึง กลุ่มคนที่มีความเชื่อและการปฏิบัติตนแปลกหรือเบี่ยงเบนไปจากคนส่วนใหญ่ในสังคม เนื่องจากระบุลงไปได้ยากว่าเบี่ยงเบนถึงระดับไหนจึงเรียกว่าลัทธิ ทำให้ยังมีปัญหาในการนิยามคำดังกล่าวให้ชัดเจน และมักใช้ในความหมายเชิงลบ นักสังคมวิทยาเริ่มให้ความสนใจศึกษาพฤติกรรมทางศาสนาของลัทธิบูชาต่าง ๆ มาตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1930 จนพบว่าหลายกลุ่มถูกตีตราว่าเป็นพวกนอกรีต จนถึงขึ้นมีขบวนการต่อต้านลัทธิเกิดขึ้นภายในศาสนาต่าง.

ใหม่!!: ลัทธินอกศาสนาและลัทธิบูชา · ดูเพิ่มเติม »

วิญญาณนิยม

วิญญาณนิยม (จาก ภาษาลาติน anima, "ลมหายใจ, วิญญาณ, ชีวิต") คือ ความเชื่อทางศาสนาที่ว่า วัตถุสิ่งของ สถานที่ หรือ สัตว์ทั้งหลาย ต่างมีสารัตถะทางจิตวิญญาณ (spiritual essence) ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตน ลัทธิวิญญาณนิยมเชื่อว่าสรรพวัตถุและสรรพสัตว์ (ซึ่งรวมถึง ต้นไม้ ก้อนหิน ลำธาร สภาพอากาศ งานหัตถกรรมของมนุษย์ และแม้แต่คำพูด) ล้วนแต่มีวิญญาณ มีชีวิต และ/หรือมีเจตจำนง (agency) เป็นของตัวเอง ลัทธิวิญญาณนิยมเป็นศาสนาที่เก่าแก่ที่สุดในโลก โดยมีอยู่ก่อนศาสนาจัดตั้งทุกรูปแบบ และถือกันว่าเป็นมุมมอง/ทัศนคติทางจิตวิญาณ หรือของความเชื่อเหนือธรรมมชาติอย่างแรกที่เกิดขึ้นในโลก ซึ่งพบหลักฐานเกี่ยวกับความเชื่อนี้ย้อนหลังไปถึงยุคหินเก่า ซึ่งเป็นสมัยมนุษย์ยังท่องเที่ยวไปตามพื้นที่ต่างๆเพื่อล่าสัตว์ หรือเก็บรวมรวบของป่า และสื่อสารกับจิตวิญญาณของธรรมชาติ ในแง่นี้ความเชื่อแบบศาสนาเชมัน (shaman) หรือลัทธิที่นับถือพ่อมดหมอผีว่าเป็นผู้ที่สื่อสารกับธรรมชาติได้ จึงมีความเกี่ยวข้องและเป็นส่วนหนึ่งของระบบความเชื่อแบบวิญญาณนิยม ในวิชามานุษยวิทยาว่าด้วยศาสนาวิญญาณนิยม เป็นคำที่ถูกใช้เพื่อสื่อถึงระบบความเชื่อดั้งเดิมของชาวพื้นเมือง โดยเฉพาะเวลาที่นำไปเปรียบเทียบกับระบบความเชื่อทางจิตวิญญาณ หรือศาสนาจัดตั้งที่เกิดขึ้นภายหลัง เนื่องจากแต่ละวัฒนธรรมจะมีตำนานความเชื่อ นิทานเทพปกรณัม และพิธีกรรมที่แตกต่างกันไป แนวคิด "วิญญาณนิยม" จึงใช้สื่อถึงสายใยความต่อเนื่องในระดับรากฐานของทัศนคติทางจิตวิญญาณ หรือในเรื่องเหนือธรรมชาติของชนพื้นเมือง ที่ไม่ได้รับอิทธิพลจากความคิดความเชื่อ หรือคำสอนของลัทธิที่มาจากภายนอก จนถึงขนาดว่าบางครั้งทัศนคติทางวิญญาณดังกล่าวอาจจะฝังรากลึกลงไปในระบบความเชื่อของชนพื้นเมืองนั้นมาแต่ปฐมกาล จนทำให้ชนพื้นเมืองดังกล่าวไม่มีคำที่ใช้เรียกระบบความเชื่อนั้นในภาษาของตน.

ใหม่!!: ลัทธินอกศาสนาและวิญญาณนิยม · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนายูดาห์

นายูดาห์ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 281 หรือศาสนายิว (Judaism; יהדות) คือวิถีชีวิต ปรัชญา และศาสนาประเภทเอกเทวนิยม ตามความเชื่อของชาวยิวLewis (1984), pp.10, 20 มีต้นกำเนิดในคัมภีร์ฮีบรู (หรือคัมภีร์ทานัค) รวมถึงคัมภีร์ชั้นหลัง เช่น คัมภีร์ทาลมุด ศาสนิกชนยูดาห์ถือว่าวิถีนี้ เป็นพันธสัญญาระหว่างพระยาห์เวห์กับวงศ์วานอิสราเอล ศาสนายูดาห์แบบรับบีถือว่าพระยาห์เวห์ได้ประทานธรรมบัญญัติที่เรียกว่าคัมภีร์โทราห์แก่โมเสสที่ภูเขาซีนาย ศาสนายูดาห์มีพระเจ้าสูงสุด คือ พระยาห์เวห์ โดยชาวยิวมีความเชื่อว่าพระเจ้าทรงสร้างโลกและมนุษย์คู่แรกเมื่อประมาณ 4,000 ปีก่อนคริสตกาล และถือว่าโมเสสคือศาสดา ให้กำเนิดศาสนายูดาห์เมื่อประมาณ 2,000 ปีก่อนคริสตกาล และยังมีบุคคลสำคัญ เช่น อับราฮัม อิสอัค ยาโคบ ยูดาห์ ผู้เผยพระวจนะท่านอื่น ๆ อีกจำนวนมาก ฯลฯ เป็นต้น ศาสนายูดาห์มีความเป็นมายาวนานกว่าสี่พันปี (นับจากสมัยอับราฮัม) จึงถือเป็นศาสนาเอกเทวนิยมที่เก่าแก่ที่สุดที่ยังดำรงอยู่ในปัจจุบัน ในคัมภีร์ทานัคที่เขียนขึ้นในยุคหลัง เช่น หนังสือเอสเธอร์ เรียกชาวฮีบรูหรือวงศ์วานอิสราเอลว่าชาวยิว คัมภีร์ของศาสนายูดาห์ยังมีอิทธิพลอย่างมากต่อกลุ่มศาสนาอับราฮัมยุคหลังด้วย คือ ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม และศาสนาบาไฮ รวมทั้งมีอิทธิพลต่อจริยธรรมและระบบซีวิลลอว์ตะวันตกทั้งทางตรงและทางอ้อม ชาวยิวเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ศาสนา ซึ่งหมายรวมทั้งที่เป็นชาวยิวโดยกำเนิดและและคนที่เข้ารีตยิว ในปี..

ใหม่!!: ลัทธินอกศาสนาและศาสนายูดาห์ · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาอับราฮัม

ัญลักษณ์ของศาสนาสำคัญ 3 ศาสนาในกลุ่มศาสนาอับราฮัม: ศาสนายูดาห์, ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลาม ศาสนาอับราฮัม (Abrahamic religions) หมายถึง ศาสนาสำคัญ 3 ศาสนาที่ถือกำเนิดในภูมิภาคเอเชียตะวันตก และมีความเชื่อร่วมกันว่าพระเป็นเจ้ามีองค์เดียว ได้แก่ ศาสนายูดาห์ ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลามJ.Z.Smith 1998, p.276Anidjar 2001, p.3 ทั้งสามศาสนาถือว่าอับราฮัมเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสนาตน นอกจากนั้นก็ยังมีศาสนาย่อยที่บางครั้งถือว่าเป็นศาสนาอับราฮัมด้วย เช่น ศาสนาบาไฮ ผู้นับถือศาสนาอับราฮัมรวมทั้งหมดมากกว่าครึ่งของประชากรทั้งโลก ในปัจจุบันมีผู้นับถือด้วยกันทั้งหมดประมาณ 3.8 พันล้านคน.

ใหม่!!: ลัทธินอกศาสนาและศาสนาอับราฮัม · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาอิสลาม

นาอิสลาม (Islam) เป็นศาสนาเอกเทวนิยมและศาสนาอับราฮัม บัญญัติไว้ในคัมภีร์อัลกุรอาน คัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ของอิสลามซึ่งสาวกถือว่าเป็นพระวจนะคำต่อคำของพระเป็นเจ้า (อัลลอฮฺ) และสำหรับสาวกส่วนใหญ่ เป็นคำสอนและตัวอย่างเชิงบรรทัดฐาน (เรียกว่า สุนัต และประกอบด้วยหะดีษ) ของมุฮัมมัด (ประมาณ 570–8 มิถุนายน 632)เป็นศาสดา (นบี) องค์สุดท้ายของพระเป็นเจ้า สาวกของศาสนาอิสลาม เรียกว่า มุสลิม มุสลิมเชื่อว่า พระเจ้าเป็นหนึ่งและหาที่เปรียบไม่ได้ และจุดประสงค์ของการดำรงอยู่ คือ เพื่อรักและรับใช้พระเป็นเจ้า มุสลิมยังเชื่อว่า ศาสนาอิสลามเป็นบรรพศรัทธาฉบับสมบูรณ์และเป็นสากลที่สุดซึ่งได้ประจักษ์มาหลายครั้งก่อนหน้านั้น ผ่านศาสดาซึ่งรวมอาดัม โนอาห์ อับราฮัม โมเสส และพระเยซู พวกเขายึดมั่นว่า สารและวิวรณ์ถูกแปลผิดหรือเปลี่ยนแปลงบางส่วนตามกาลดู.

ใหม่!!: ลัทธินอกศาสนาและศาสนาอิสลาม · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาคริสต์

นาคริสต์ (Christianity) ราชบัณฑิตยสถานเรียกว่า คริสต์ศาสนาราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 156 เป็นศาสนาประเภทเอกเทวนิยม ที่มีพื้นฐานมาจากชีวิตและการสอนของพระเยซูตามที่ปรากฏในพระวรสารในสารบบ (canonical gospel) และงานเขียนพันธสัญญาใหม่อื่น ๆ ผู้นับถือศาสนาคริสต์เรียกว่าคริสต์ศาสนิกชนหรือคริสตชน คริสตชนเชื่อว่าพระเยซูเป็นพระบุตรพระเป็นเจ้า และเป็นพระเจ้าผู้มาบังเกิดเป็นมนุษย์และเป็นพระผู้ช่วยให้รอด ด้วยเหตุนี้ คริสตชนจึงมักเรียกพระเยซูว่า "พระคริสต์" หรือ "พระเมสสิยาห์" Briggs, Charles A. The fundamental Christian faith: the origin, history and interpretation of the Apostles' and Nicene creeds. C. Scribner's sons, 1913.

ใหม่!!: ลัทธินอกศาสนาและศาสนาคริสต์ · ดูเพิ่มเติม »

สรรพเทวนิยม

รรพเทวนิยม (Pantheism) เป็นแนวคิดซึ่งเชื่อว่าเอกภพ (ธรรมชาติ) กับพระเป็นเจ้านั้นเป็นสิ่งเดียวกัน ดังนั้นผู้ที่เชื่อในสรรพเทวนิยมจึงไม่เชื่อในแนวคิดพระเจ้าที่เป็นตัวบุคคล มีรูปร่างแบบมนุษย์ (anthropomorphism) หรือพระผู้สร้าง สรรพเทวนิยมยังได้แสดงแนวคิดที่ว่า "พระเจ้า" นั้นควรถูกมองในวิถีทางที่เกี่ยวข้องกับเอกภพจึงจะดีที่สุดOwen, H. P. Concepts of Deity.

ใหม่!!: ลัทธินอกศาสนาและสรรพเทวนิยม · ดูเพิ่มเติม »

สาวก

วก แปลว่า ผู้ฟัง คือผู้ฟังตามครูบาอาจารย์ผู้สั่งสอนหลักธรรม ใช้สำหรับบุรุษ ถ้าเป็นสตรีใช้ว่า สาวิกา สาวก ในคำวัดใช้หมายถึงผู้ฟังโอวาทนุสาสนี หรือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าโดยเคารพ ใช้เรียกทั้งที่เป็นบรรพชิตและคฤหัสถ์ เช่นใช้ว่า พระอรหันตสาวก พระสงฆ์สาวก ภิกษุสาวก ภิกษุณีสาวิกาและใช้หมายถึงลูกศิษย์ของศาสดาอื่นๆ ด้วย เช่นวสาวกของนิครนถ์นาฏบุตร สาวกของพราหมณ์พาวรี สาวก ในคำไทยใช้หมายรวมไปถึงลูกศิษย์ ลูกน้อง ผู้ติดตามนักบวชนักบุญผู้มีชื่อเสียงตลอดถึงผู้มีอำนาจ เช่นใช้ว.

ใหม่!!: ลัทธินอกศาสนาและสาวก · ดูเพิ่มเติม »

ปรัมปราวิทยา

ประมวลเรื่องปรัมปราราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ปรัชญา อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 4, กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 68 (mythology) หมายถึง การรวบรวมเรื่องปรัมปรา (myth) เกี่ยวกับธรรมชาติ ประวัติศาสตร์ และจารีตประเพณี ของกลุ่มชนหนึ่ง และเรียกวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องปรัมปราเหล่านี้ว่า ปรัมปราวิทยา หรือ ปุราณวิทยา (mythology).

ใหม่!!: ลัทธินอกศาสนาและปรัมปราวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

เชมัน

มัน แชมัน หรือ เชมัน (shaman) เป็นชื่อเรียกของกลุ่มบุคคลที่เชื่อว่ามีความสามารถในทางวิญญาณ มีความสามารถในการรักษาโรคด้วยวิญญาณ ในบางวัฒนธรรมจะเชื่อว่าสามารถควบคุมสภาพอากาศ สามารถเดินทางไประหว่างโลกมนุษย์ โลกวิญญาณ นรก และสวรรค์ พบได้มากในทางเหนือของทวีปเอเชียและตอนกลางของทวีปเอเชีย เชมัน แบ่งออกได้หลากหลายประเภท หลัก ๆ ก็คือ คนทรง (medium) ผู้เผยพระวจนะ (prophet) ผู้เห็นสิ่งต่าง ๆ (seer) และ ผู้ร่ายคาถา (sorcerer) เชมันมีชื่อเรียกแตกต่างไปตามแต่ภาษา วัฒนธรรม และลักษณะของความสามารถ เช่น คนทรง มิโกะ องเมียว บ้างเรียก พ่อมด หรือ แม่มด ส่วนในประเทศญี่ปุ่น ก็มีผู้ใช้คาถาสาปแช่งเรียกชื่อว่า พระนางฮิมิโกะ ถือเป็นส่วนหนึ่งของเชมันเช่นกัน.

ใหม่!!: ลัทธินอกศาสนาและเชมัน · ดูเพิ่มเติม »

เอกเทวนิยม

อกเทวนิยมราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 364 (Monotheism มาจากภาษาμόνος, monos - เดียว, และ θεός, theos - เทพ) คือความเชื่อว่ามีพระเป็นเจ้าเป็นเทวดาองค์เดียว หรือความเชื่อว่าพระเป็นเจ้าเป็นหนึ่งเดียว (ไม่ทรงแบ่งภาค) แนวคิดเอกเทวนิยมแบบบริสุทธิ์พบในศาสนายูดาห์และศาสนาอิสลาม ส่วนแบบอ่อนพบในศาสนาคริสต์ส่วนใหญ่ ลัทธิซาเบียน นิกายมอรมอน และศาสนาอื่น ๆ เช่น ศาสนาโซโรอัสเตอร์ ศาสนาบาไฮ ศาสนาซิกข์ และศาสนาฮินดูในบางสำนัก.

ใหม่!!: ลัทธินอกศาสนาและเอกเทวนิยม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

HeathenPaganPaganismลัทธิเพกันลัทธิเพเกินเพกันเพเกิน

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »