โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ลัทธิคอมมิวนิสต์และอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ลัทธิคอมมิวนิสต์และอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ

ลัทธิคอมมิวนิสต์ vs. อาชญากรรมต่อมนุษยชาติ

ในทางรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ ลัทธิคอมมิวนิสต์ (communism; communis แปลว่า "ร่วมกัน" หรือ "สากล") คืออุดมการณ์และขบวนการทางสังคม การเมือง และเศรษฐกิจ ซึ่งมีจุดมุ่งหมายสูงสุดคือการสถาปนาสังคมคอมมิวนิสต์ อันเป็นระเบียบทางสังคมบนพื้นฐานของความเป็นเจ้าของร่วมกัน (Common ownership) ของปัจจัยการผลิต (Means of production) และปราศจากชนชั้นทางสังคม เงินตรา และรัฐ ลัทธิคอมมิวนิสต์ปรากฏอยู่ในปรัชญาหรือแนวคิดหลากหลายทฤษฎีที่โดยรวม ๆ แล้วจะรวมถึงลัทธิมากซ์-อนาธิปไตย (ลัทธิคอมมิวนิสต์-อนาธิปไตย) และอุดมการณ์ทางการเมืองอื่น ๆ ซึ่งเชื่อมโยงกับสองแนวคิดนี้ โดยที่ทั้งหมดนี้มีบทวิเคราะห์สรุปร่วมกันว่าระเบียบทางสังคมในปัจจุบันอันถือกำเนิดถึงจากระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม ประกอบไปด้วยชนชั้นทางสังคมสองชนชั้นหลักคือ "ชนชั้นแรงงาน" ผู้ที่ต้องทำงานเพื่ออยู่รอดและถือเป็นกลุ่มคนส่วนมากในสังคม และ "ชนชั้นนายทุน" อันเป็นชนกลุ่มน้อยในสังคม ผู้ถือเอากำไรจากการจ้างวานชนชั้นแรงงานผ่านการครอบครองปัจจัยการผลิตไว้เฉพาะส่วนตน ที่ซึ่งความขัดแย้งระหว่างสองชนชั้นนี้เองที่จะก่อให้เกิดการปฏิวัติ อันเป็นองค์ประกอบตั้งต้นที่จะช่วยให้เกิดการเปลี่ยนผ่านไปสู่การเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตร่วมกันของคนในสังคม (Social ownership) ด้วยความที่ลัทธิคอมมิวนิสต์มีอุดมคติที่ตรงกันข้ามกับลัทธิเสรีนิยมทางเศรษฐกิจ (Economic Liberalism) จึงทำให้เกิดความหวาดกลัวและการต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์อย่างกว้างขวางในช่วงสงครามเย็น ดังจะเห็นได้จากกระแส "ความหวาดกลัวแดง" (Red Scare) หรือ ลัทธิแม็คคาร์ธี ในอเมริกาช่วงต้นสงครามเย็น. อาชญากรรมต่อมนุษยชาติ (crime against humanity) เป็นการซึ่งกระทำลงโดยไตร่ตรองไว้ก่อน เป็นส่วนหนึ่งของการโจมตีอย่างเป็นระบบหรือเป็นวงกว้าง หรือการโจมตีแบบเอกเทศ ต่อบุคคลพลเรือนคนใด ๆ หรือต่อกลุ่มคนที่ระบุตัวได้ในหมู่ประชากรพลเรือน การดำเนินคดีอาชญากรรมต่อมนุษยชาติเกิดขึ้นครั้งแรกในคดีเนือร์นแบร์ก และนับแต่นั้น การดำเนินคดีอาชญากรรมดังกล่าวก็กลายเป็นหน้าที่ของศาลระหว่างประเทศ เช่น ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ, คณะตุลาการอาญาระหว่างประเทศสำหรับอดีตยูโกสลาเวีย, และศาลอาญาระหว่างประเทศ แต่การดำเนินคดีโดยศาลในประเทศก็มีบ้าง กฎหมายเกี่ยวกับอาชญากรรมต่อมนุษยชาตินั้นพัฒนาขึ้นผ่านวิวัฒนาการของกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศ อาชญากรรมต่าง ๆ ที่กระทำต่อมนุษยชาตินั้นยังไม่มีประมวลไว้ในกฎหมายระหว่างประเทศฉบับใด ๆ แต่องค์การระหว่างประเทศ ซึ่งมีโครงการริเริ่มกฎหมายอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ (Crimes Against Humanity Initiative) เป็นโต้โผ พยายามที่จะสร้างกฎหมายดังกล่าวให้ได้ในเร็ววัน อาชญากรรมต่อมนุษยชาติต่างจากอาชญากรรมสงครามตรงที่อาชญากรรมต่อมนุษยชาติจะเกิดในยามสงครามหรือในเวลาอื่นก็ได้ แต่ไม่ใช่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นด้วยตัวเองหรือเกิดนานทีปีหน หากแต่เป็นเหตุการณ์ซึ่งอาจเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายของรัฐ หรือเป็นส่วนหนึ่งของความโหดร้ายป่าเถื่อนที่กระทำเป็นวงกว้าง แล้วรัฐเพิกเฉยหรือไม่เอาโทษ ความผิดอาญา อย่างเช่น อาชญากรรมสงคราม, การฆ่าคน, การสังหารหมู่, การลดความเป็นมนุษย์, การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์, การกวาดล้างชาติพันธุ์, การเนรเทศ, การทดลองมนุษย์โดยผิดจรรยาบรรณ, วิสามัญฆาตกรรม, การประหารแบบรวบรัด, การใช้อาวุธทำลายล้างสูง, การก่อการร้ายของรัฐ, การก่อการร้ายที่รัฐสนับสนุน, การใช้หมู่สังหาร, การลักพา, การบังคับให้บุคคลสูญหาย, การใช้เด็กทางทหาร, การกักกัน, การเอาคนลงเป็นทาส, การกินเนื้อมนุษย์, การทรมาน, การข่มขืนกระทำชำเรา, การเบียดเบียนทางการเมือง, การเลือกปฏิบัติเพราะเหตุแห่งเชื้อชาติ, และการละเมิดสิทธิมนุษยชน อาจเข้าข่ายอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ ถ้าเป็นส่วนหนึ่งของการกระทำอย่างเป็นระบบหรือเป็นวงกว้าง.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ลัทธิคอมมิวนิสต์และอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ

ลัทธิคอมมิวนิสต์และอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ มี 0 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย)

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ลัทธิคอมมิวนิสต์และอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ

ลัทธิคอมมิวนิสต์ มี 149 ความสัมพันธ์ขณะที่ อาชญากรรมต่อมนุษยชาติ มี 15 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 0, ดัชนี Jaccard คือ 0.00% = 0 / (149 + 15)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ลัทธิคอมมิวนิสต์และอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »