โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ละคอนถาปัดและศรัณยู วงษ์กระจ่าง

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ละคอนถาปัดและศรัณยู วงษ์กระจ่าง

ละคอนถาปัด vs. ศรัณยู วงษ์กระจ่าง

ละคอนถาปัด คือละครสถาปัตย์ เป็นกิจกรรมประจำปีของนิสิตคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่มีนิสิตชั้นปีที่ 3 ขึ้นปี 4 เป็นแม่งาน ร่วมกับนิสิตเก่าและนิสิตปัจจุบันของคณะ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความสามัคคีในหมู่คณะ นำความคิดสร้างสรรค์มาทำกิจกรรม เพื่อหารายได้สำหรับใช้ในกิจกรรมของนิสิต หลังจากสิ้นสุดยุคของกิจกรรม"ลูกทุ่งถาปัด"ในอดีตก่อนหน้านี้ลงไป ละคอนถาปัดเป็นกิจกรรมที่นิสิตสถาปัตย์ฯทำกันมาอย่างต่อเนื่องยาวนานกว่า 30 ปี ระหว่างช่วงปิดภาคเรียนฤดูร้อน จนกลายเป็นประเพณีอย่างหนึ่งที่เป็นที่รู้จักกันดีของคณะสถาปัตย์ฯ จุฬาฯ ในปัจจุบันมีละคอนถาปัดมีจำนวน 10 รอบ โดยจัดการแสดงช่วงเดือนพฤษภาคม ก่อนเปิดเทอม ที่หอประชุมใหญ่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยบริเวณหน้างานมีของที่ระลึกที่เกี่ยวข้องกับละคอน ที่ทำขึ้นโดยนิสิตวางจำหน่ายด้วย เช่น เสื้อ ซีดีเพลงละคอน และหนังสือเรือนไทย เป็นต้น ในวาระพิเศษ อาจมีการจัดการแสดงละครเพิ่มจากปกติ เช่น ในช่วงงานจุฬาวิชาการ ละคอนถาปัด มีมาตั้งแต่ปี 2517 ในบางปีที่พอมีกำลังก็ทำกันหลายเรื่อง การแสดงที่โด่งดังที่สุดคือเรื่อง สามก๊ก ซึ่งได้เปิดการแสดงไปร้อยกว่ารอบด้วยกัน นักแสดงและบุคคลในวงการบันเทิงหลายคน เริ่มจากการแสดงในละคอนถาปัด เช่น ปัญญา นิรันดร์กุล, ศรัณยู วงษ์กระจ่าง, ภิญโญ รู้ธรรม, เหล่า ซูโม่ เพชรฌาตความเครียด ในปัจจุบันนี้ นอกจากละคอนถาปัดที่จุฬาแล้ว ก็ยังมีละคอนถาปัดที่อื่นๆด้วย เช่น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มหาวิทยาลัยรังสิต เป็นต้น แต่ที่เห็นจะทำกันสืบเนื่องมาจนเป็นประเพณีและเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขว้างก็ยังเป็นของจุฬาฯนั่นเอง ละคอนถาปัดนั้นมีลักษณะพิเศษเฉพาะตัว โดยเป็นละคอนตลกล้อเลียนเสียดสี และมีเอกลักษณ์ในการใช้ไอเดีย มุข และลูกเล่นบนเวทีที่ผู้ชมคาดไม่ถึง จนต้องนึกว่า"คิดได้อย่างไร" อีกทั้งตัวละครมักมีจังหวะของมุขตลกที่เป็นจังหวะเฉพาะตัวแบบละคอนถาปัด รวมถึงมีดนตรีประกอบ และมีฉากที่สวยงามสมจริง โดยทุกสิ่งทุกอย่างข้างต้นล้วนเกิดจากมันสมองและสองมือของเด็กสถาปัตย์ฯเองทั้งหมด มีการเล่าถึงที่มาที่ไปของคำว่า "ละคอนถาปัด" ที่ไม่ใช้คำว่า "ละครสถาปัตย์ฯ" นั้นไม่ใช่การเขียนผิด หรือ เขียนอย่างมักง่ายเป็นเหตุ หากแต่เป็นการสื่อทางอ้อมว่าละคอนถาปัดนี้ไม่ได้ทำในนามของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งนิสิตสถาปัตย์ฯเองเทิดทูนไว้ในที่สูง หากแต่ทำในฐานะเด็กถาปัดที่รักตลกนึกสนุก อยากสร้างความสุขจากเสียงหัวเราะให้คนอื่นเพียงเท่านั้น และละคอนแบบละคอนถาปัด ก็มิใช่ละครที่มีกรรมวิธีขั้นตอนเฉกเช่นละครเวทีทั่วไป คณะสถาปัตย์ฯไม่มีภาควิชาการละครดังเช่นที่มักใช้เปรยหน้าคำโฆษณาละคอนถาปัด และเด็กถาปัดที่มาทำละคอนก็มิเคยร่ำเรียนเทคนิคการทำละครอย่างถูกต้องตามที่โรงเรียนละครที่อื่นๆสั่งสอนกัน ละคอนถาปัดเปิดโอกาสให้เด็กถาปัดได้เลือกทำหน้าที่ต่างๆตามฝ่ายที่ตนเองสนใจ โดยไม่จำกัดอายุ เพศ ความสามารถ หรือ ประสบการณ์ ละครปกติอาจคัดสรรนักแสดงด้วยวิธีที่เรียกว่าการcast หรือ casting นั่นคือ มีบทละครและคาแรกเตอร์ของตัวละครแต่ละตัวอยู่ก่อนแล้ว จึงทำการcast หาบุคคลที่จะเหมาะสมแก่การเป็นนักแสดง หรือตัวละครตัวนั้นๆ แต่ในกรรมวิธีการทำละคอนถาปัด จะไม่มีการcast ใครก็ตามที่มีใจอยากเล่นละคอนจะได้เข้ามาเป็นนักแสดงด้วยการตัดสินใจของตัวเขาเอง และเราเรียกระบบนี้ว่า try out คือการลอง และ/หรือ พยายาม บทละคอนถาปัดจะเขียนขึ้นพร้อมๆกับการฝึกนักแสดง และปรับไปพร้อมๆกับการเลือกบทบาทกับนักแสดง หรือเด็กถาปัดที่มาtry out ให้เหมาะสมซึ่งกันและกัน บทของละคอนถาปัดจึงยังคงปรับเปลี่ยน ตัดแต่ง เสริมเติม และพัฒนาได้ในทุกๆรอบการแสดงจนนาทีสุดท้ายของละคอน จึงไม่น่าแปลกใจเลยว่าทำไมจึงมีมุขตลกที่ทันต่อเหตุการณ์บ้านเมืองแบบสุดๆบนเวทีละคอนถาปัดได้ทุกครั้งไป ละคอนถาปัด เรียงตามปีตั้งแต่แรก มีดังนี้. รัณยู วงศ์กระจ่าง (ชื่อเล่น: ตั้ว) มีชื่อจริงว่า นรัณยู วงษ์กระจ่าง (เปลี่ยนมาจาก ศรัณยู วงศ์กระจ่าง) เกิดเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2503 ที่ตำบลกระดังงา อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม ศรัณยู เป็นนักแสดง พิธีกร ผู้กำกับการแสดงละครและภาพยนตร์ที่มีชื่อเสียงคนหนึ่งในวงการบันเทิงของไทย ก่อนจะเข้ามาในวงการบันเทิง ประกอบอาชีพเป็นสถาปนิกมาก่อน แต่เนื่องจากอาชีพสถาปนิกในเวลานั้น ยังไม่เป็นที่นิยมอย่างในปัจจุบัน ซึ่งศรัณยูได้ร่วมกิจการการแสดงโดยแสดงละครของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2522 เมื่อยังเป็นนักศึกษาอยู่แล้ว เมื่อจบออกมามีผลงานชิ้นแรกทางโทรทัศน์ โดยแสดงเป็นตัวประกอบในรายการเพชฌฆาตความเครียด ทางช่อง 9 ในปี พ.ศ. 2527 โดยแสดงร่วมกับนักแสดงรุ่นพี่ที่เป็นศิษย์เก่าคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เช่นเดียวกัน เช่น ปัญญา นิรันดร์กุล, เกียรติ กิจเจริญ, วัชระ ปานเอี่ยม เป็นต้น ศรัณยูรักอาชีพนักแสดงที่สุด เขามีผลงานทางด้านการแสดงมากกว่า 100 เรื่อง ทั้งละครโทรทัศน์ ภาพยนตร์ และละครเวที เป็นพระเอกที่ครองความนิยมในประเทศไทยในช่วงยุค 80-90 มีผลงานละครโทรทัศน์โด่งดังมากมาย ได้แก่ เก้าอี้ขาวในห้องแดง (2527) ระนาดเอก (2528) มัสยา (2528) บ้านทรายทอง และ พจมาน สว่างวงศ์ (2530) เกมกามเทพ (2531) เจ้าสาวของอานนท์ (2531) ดอกฟ้าและโดมผู้จองหอง (2532) รัตติกาลยอดรัก (2532) วนาลี (2533) รอยมาร (2533) วนิดา (2534) ไฟโชนแสง (2535) น้ำเซาะทราย (2536) ทวิภพ (2537) มนต์รักลูกทุ่ง (2538) ด้วยแรงอธิษฐาน (2539) และ นายฮ้อยทมิฬ (2544) ซึ่งแทบทุกเรื่องถูกนำมาสร้างใหม่ในภายหลัง ส่วนผลงานละครเวทีที่เป็นที่จดจำมากที่สุด คือ สู่ฝันอันยิ่งใหญ่ (2530) นอกจากนั้นแล้ว ศรัณยูยังมีผลงานพิธีกร ผู้กำกับละครโทรทัศน์ และผู้กำกับภาพยนตร์ มากมายหลายเรื่อง อาทิเช่น เป็นผู้กำกับละครโทรทัศน์เรื่อง "เทพนิยายนายเสนาะ" (2541), ละครพีเรียดเรื่อง "น้ำพุ" (2545), ละครสั้นสองตอนจบเรื่อง "ลูกบ้าเที่ยวล่าสุด" (2545), ละครเรื่อง "สุภาพบุรุษลูกผู้ชาย" (2546), ละครเรื่อง "หลังคาแดง" (2547), ละครเรื่อง "ตราบสิ้นดินฟ้า" (2551) ผลงานการกำกับภาพยนตร์เรื่อง "อำมหิตพิศวาส" (2550) และ "คนโขน" (2554) อีกทั้งศรัณยูยังได้นำบทประพันธ์เรื่อง "หลังคาแดง" มาดัดแปลงและนำเสนอในรูปแบบละครเวทีเรื่อง "หลังคาแดง เดอะมิวสิคัล" (2555) อีกด้วย ปัจจุบัน ศรัณยูเป็นผู้จัดละครและผู้กำกับการแสดง ผลิตละครโทรทัศน์ ในนาม "สามัญการละคร" มีผลงานการกำกับละครเรื่อง "สุภาพบุรุษลูกผู้ชาย" (2556), หัวใจเถื่อน (2557), รอยรักแรงแค้น (2558) และล่าสุดเรื่อง บัลลังก์หงส์ (2559).

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ละคอนถาปัดและศรัณยู วงษ์กระจ่าง

ละคอนถาปัดและศรัณยู วงษ์กระจ่าง มี 4 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ศรัณยู วงษ์กระจ่างคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยปัญญา นิรันดร์กุลเกียรติ กิจเจริญ

ศรัณยู วงษ์กระจ่าง

รัณยู วงศ์กระจ่าง (ชื่อเล่น: ตั้ว) มีชื่อจริงว่า นรัณยู วงษ์กระจ่าง (เปลี่ยนมาจาก ศรัณยู วงศ์กระจ่าง) เกิดเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2503 ที่ตำบลกระดังงา อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม ศรัณยู เป็นนักแสดง พิธีกร ผู้กำกับการแสดงละครและภาพยนตร์ที่มีชื่อเสียงคนหนึ่งในวงการบันเทิงของไทย ก่อนจะเข้ามาในวงการบันเทิง ประกอบอาชีพเป็นสถาปนิกมาก่อน แต่เนื่องจากอาชีพสถาปนิกในเวลานั้น ยังไม่เป็นที่นิยมอย่างในปัจจุบัน ซึ่งศรัณยูได้ร่วมกิจการการแสดงโดยแสดงละครของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2522 เมื่อยังเป็นนักศึกษาอยู่แล้ว เมื่อจบออกมามีผลงานชิ้นแรกทางโทรทัศน์ โดยแสดงเป็นตัวประกอบในรายการเพชฌฆาตความเครียด ทางช่อง 9 ในปี พ.ศ. 2527 โดยแสดงร่วมกับนักแสดงรุ่นพี่ที่เป็นศิษย์เก่าคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เช่นเดียวกัน เช่น ปัญญา นิรันดร์กุล, เกียรติ กิจเจริญ, วัชระ ปานเอี่ยม เป็นต้น ศรัณยูรักอาชีพนักแสดงที่สุด เขามีผลงานทางด้านการแสดงมากกว่า 100 เรื่อง ทั้งละครโทรทัศน์ ภาพยนตร์ และละครเวที เป็นพระเอกที่ครองความนิยมในประเทศไทยในช่วงยุค 80-90 มีผลงานละครโทรทัศน์โด่งดังมากมาย ได้แก่ เก้าอี้ขาวในห้องแดง (2527) ระนาดเอก (2528) มัสยา (2528) บ้านทรายทอง และ พจมาน สว่างวงศ์ (2530) เกมกามเทพ (2531) เจ้าสาวของอานนท์ (2531) ดอกฟ้าและโดมผู้จองหอง (2532) รัตติกาลยอดรัก (2532) วนาลี (2533) รอยมาร (2533) วนิดา (2534) ไฟโชนแสง (2535) น้ำเซาะทราย (2536) ทวิภพ (2537) มนต์รักลูกทุ่ง (2538) ด้วยแรงอธิษฐาน (2539) และ นายฮ้อยทมิฬ (2544) ซึ่งแทบทุกเรื่องถูกนำมาสร้างใหม่ในภายหลัง ส่วนผลงานละครเวทีที่เป็นที่จดจำมากที่สุด คือ สู่ฝันอันยิ่งใหญ่ (2530) นอกจากนั้นแล้ว ศรัณยูยังมีผลงานพิธีกร ผู้กำกับละครโทรทัศน์ และผู้กำกับภาพยนตร์ มากมายหลายเรื่อง อาทิเช่น เป็นผู้กำกับละครโทรทัศน์เรื่อง "เทพนิยายนายเสนาะ" (2541), ละครพีเรียดเรื่อง "น้ำพุ" (2545), ละครสั้นสองตอนจบเรื่อง "ลูกบ้าเที่ยวล่าสุด" (2545), ละครเรื่อง "สุภาพบุรุษลูกผู้ชาย" (2546), ละครเรื่อง "หลังคาแดง" (2547), ละครเรื่อง "ตราบสิ้นดินฟ้า" (2551) ผลงานการกำกับภาพยนตร์เรื่อง "อำมหิตพิศวาส" (2550) และ "คนโขน" (2554) อีกทั้งศรัณยูยังได้นำบทประพันธ์เรื่อง "หลังคาแดง" มาดัดแปลงและนำเสนอในรูปแบบละครเวทีเรื่อง "หลังคาแดง เดอะมิวสิคัล" (2555) อีกด้วย ปัจจุบัน ศรัณยูเป็นผู้จัดละครและผู้กำกับการแสดง ผลิตละครโทรทัศน์ ในนาม "สามัญการละคร" มีผลงานการกำกับละครเรื่อง "สุภาพบุรุษลูกผู้ชาย" (2556), หัวใจเถื่อน (2557), รอยรักแรงแค้น (2558) และล่าสุดเรื่อง บัลลังก์หงส์ (2559).

ละคอนถาปัดและศรัณยู วงษ์กระจ่าง · ศรัณยู วงษ์กระจ่างและศรัณยู วงษ์กระจ่าง · ดูเพิ่มเติม »

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์แห่งแรกของประเทศไทย และเป็นหนึ่งในสี่คณะกลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับการจัดอันดับให้เป็นอันดับ 1 ร่วมของไทยในสาขาสถาปัตยกรรม และ สิ่งแวดล้อมสรรค์สร้าง  (อันดับที่ 101 - 150 ของโลก) จากการจัดอันดับของ QS world university ranking by Subject.

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและละคอนถาปัด · คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและศรัณยู วงษ์กระจ่าง · ดูเพิ่มเติม »

ปัญญา นิรันดร์กุล

ปัญญา นิรันดร์กุล เป็นพิธีกรและนักแสดงชาวไทย หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้ง และประธานบริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน).

ปัญญา นิรันดร์กุลและละคอนถาปัด · ปัญญา นิรันดร์กุลและศรัณยู วงษ์กระจ่าง · ดูเพิ่มเติม »

เกียรติ กิจเจริญ

กียรติ กิจเจริญ มีชื่อเล่นว่า กิ๊ก หรือที่นิยมเรียกกันว่า ซูโม่กิ๊ก (22 กันยายน 2506 -) นักแสดงและพิธีกรชาวไท.

ละคอนถาปัดและเกียรติ กิจเจริญ · ศรัณยู วงษ์กระจ่างและเกียรติ กิจเจริญ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ละคอนถาปัดและศรัณยู วงษ์กระจ่าง

ละคอนถาปัด มี 13 ความสัมพันธ์ขณะที่ ศรัณยู วงษ์กระจ่าง มี 270 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 4, ดัชนี Jaccard คือ 1.41% = 4 / (13 + 270)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ละคอนถาปัดและศรัณยู วงษ์กระจ่าง หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »