โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ร่างพระราชบัญญัติการยกเว้นผู้สืบราชบัลลังก์และหอคอยแห่งลอนดอน

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ร่างพระราชบัญญัติการยกเว้นผู้สืบราชบัลลังก์และหอคอยแห่งลอนดอน

ร่างพระราชบัญญัติการยกเว้นผู้สืบราชบัลลังก์ vs. หอคอยแห่งลอนดอน

แห่งยอร์คในตำแหน่งผู้บังคับบัญชาการราชนาวีสูงสุด เมื่อทรงเปลี่ยนไปนับถือโรมันคาทอลิกในปี ค.ศ. 1673 พระองค์ทรงลาออกจากตำแหน่งแทนที่จะทรงยอมปฏิญาณต่อต้านโรมันคาทอลิกตามที่ระบุในพระราชบัญญัติทดสอบ ร่างพระราชบัญญัติการยกเว้นผู้สืบราชบัลลังก์ หรือ ร่างพระราชบัญญัติการยกเว้น (Exclusion Bill) เสนอระหว่าง ค.ศ. 1678 ถึงปี ค.ศ. 1681 ในรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 จุดประสงค์ของร่างพระราชบัญญัติยกเว้นก็เพื่อห้ามไม่ให้พระอนุชาของพระเจ้าชาร์ลส์ดยุคแห่งยอร์คผู้เป็นรัชทายาทโดยพฤตินัยจากการขึ้นครองราชบัลลังก์อังกฤษเพราะทรงเปลี่ยนไปนับถือโรมันคาทอลิก พรรคทอรีต่อต้านร่างพระราชบัญญัติแต่พรรควิกสนับสนุน ในปี ค.ศ. 1673 เมื่อดยุคแห่งยอร์คไม่ทรงยอมปฏิญาณต่อต้านโรมันคาทอลิกตามที่ระบุในพระราชบัญญัติทดสอบ (Test Act) ที่เพิ่งออกใหม่ก็ทำให้เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปว่าทรงหันไปนับถือโรมันคาทอลิก เอ็ดเวิร์ด โคลแมน (Edward Colman) เลขานุการของพระองค์ถูกกล่าวชื่อโดยไททัส โอตส์ (Titus Oates) ระหว่างการคบคิดพ็อพพิช (ค.ศ. 1678) ว่าเป็นผู้สมรู้ร่วมคิด ทางฝ่ายชนชั้นปกครองที่เป็นโปรเตสแตนต์ก็เริ่มรวมตัวกันต่อต้าน เพื่อเลี่ยงไม่ให้ระบบการปกครองในอังกฤษกลายเป็นสภาวะการปกครองแบบระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชของพระมหากษัตริย์ฝรั่งเศสถ้าดยุคแห่งยอร์คมีโอกาสขึ้นครองราชย์ต่อจากพระเชษฐาผู้ไม่มีรัชทายาทที่ถูกต้องตามกฎหมาย เซอร์เฮนรี คาเพล (Henry Capel) สรุปความรู้สึกทั่วไปของฝ่ายต่อต้านสิทธิของดยุคแห่งยอร์คเมื่อกล่าวปาฐกถาในรัฐสภาเมื่อวันที่ 27 เมษายน ค.ศ. 1679: การปาฐกถาของคาเพลครั้งนี้ทำให้รัฐบาลต้องเผชิญหน้ากับสถานะการณ์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เมื่อมีข่าวลือที่ว่าพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศสทรงพยายามเข้ามามีส่วนพยายามทำให้รัฐบาลของพระเจ้าชาร์ลส์เป็นกลางโดยใช้การติดสินบนโดยตรง ทอมัส ออสบอร์น ดยุคแห่งลีดส์ที่ 1 ก็ถูกปลดในฐานะแพะรับบาป พระเจ้าชาร์ลส์จึงทรงยุบรัฐสภา แต่รัฐสภาใหม่ก็กลับมาประชุมอีกในเดือนมีนาคมปี.. หอคอยแห่งลอนดอน (Tower of London) เป็นพระราชวังหลวงและป้อมปราการตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำเทมส์ในกรุงลอนดอนในอังกฤษ เป็นพระราชวังที่เดิมสร้างโดยพระเจ้าวิลเลียมที่ 1 แห่งอังกฤษ เมื่อปี ค.ศ. 1078 เป็นสถาปัตยกรรมแบบโรมาเนสก์ พระราชวังเป็นรู้จักกันในนามว่า “หอคอยแห่งลอนดอน” หรือ “หอ” ในประวัติศาสตร์ ตัวปราสาทตั้งอยู่ภายในโบโรแห่งทาวเวอร์แฮมเล็ทส์และแยกจากด้านตะวันออกของนครหลวงลอนดอน (City of London) ด้วยลานโล่งที่เรียกว่าเนินหอคอยแห่งลอนดอน หรือ “ทาวเวอร์ฮิล” (Tower Hill) หอคอยแห่งลอนดอนมักจะรู้จักกันในการเกี่ยวข้องกับหอขาว (White Tower) ซึ่งแต่เดิมเป็นหอสีขาวที่สร้างโดยพระเจ้าวิลเลียมที่ 1 แห่งอังกฤษในปี ค.ศ. 1078 แต่กลุ่มสิ่งก่อสร้างทั้งหมดของหอคอยแห่งลอนดอนตั้งอยู่รอบวงแหวนสองวงภายในกำแพงและคูป้องกันปราสาท ตัวหอคอยใช้เป็นป้อม พระราชวังของพระมหากษัตริย์ และที่จำขังโดยเฉพาะสำหรับนักโทษที่มียศศักดิ์สูงเช่นพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 1ก็เคยทรงถูกจำขังในหอคอยโดยพระราชินีนาถแมรี และยังเป็นที่สำหรับประหารชีวิตและทรมาน คลังเก็บอาวุธ ท้องพระคลัง สวนสัตว์ โรงกษาปณ์หลวง หอเก็บเอกสาร หอดูดาว และตั้งแต่ปี..

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ร่างพระราชบัญญัติการยกเว้นผู้สืบราชบัลลังก์และหอคอยแห่งลอนดอน

ร่างพระราชบัญญัติการยกเว้นผู้สืบราชบัลลังก์และหอคอยแห่งลอนดอน มี 1 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 แห่งอังกฤษ

สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 แห่งอังกฤษ

มเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 1 แห่งอังกฤษ (Elizabeth I of England หรือ Virgin Queen หรือ Gloriana หรือ Good Queen Bess -- 7 กันยายน พ.ศ. 2076 -- 24 มีนาคม พ.ศ. 2146) และทรงเป็นสมเด็จพระราชินีนาถแห่งอังกฤษ และสมเด็จพระราชินีนาถแห่งไอร์แลนด์ ตั้งแต่ วันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2101 จนเสด็จสวรรคต บางครั้งพระองค์ก็ทรงได้รับพระฉายานามว่า "ราชินีพรหมจารี" (เนื่องจากการไม่อภิเษกสมรสเลยตลอดพระชนม์ชีพ) สมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 1 ทรงเป็นกษัตรีย์พระองค์ที่ 5 และนับเป็นกษัตริย์องค์สุดท้ายของราชวงศ์ทิวดอร์ สมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 1 ผู้ประสูติที่พระราชวังกรีนิช เป็นพระราชธิดาในสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 8 กับสมเด็จพระราชินีแอนน์ บุลิน พระมเหสีพระองค์ที่ 2 ซึ่งถูกประหารชีวิตโดยการบั่นพระเศียรเมื่อสมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 1 พระชนมายุได้เพียงเกือบ 3 พรรษา จากนั้นพระองค์ก็ทรงถูกประกาศว่าเป็นพระราชธิดานอกกฎหมาย เมื่อสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 8 สวรรคตราชบัลลังก์อังกฤษก็ตกไปเป็นของสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 6 พระราชโอรสในพระเจ้าเฮนรีและสมเด็จพระราชินีเจน ซีมัวร์ พระมเหสีองค์ที่ 3 เมื่อเสด็จสวรรคตพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดก็ทรงมอบราชบัลลังก์แก่เลดีเจน เกรย์ซึ่งเท่ากับเป็นการตัดพระเชษฐภคินีต่างพระมารดาสองพระองค์ออกจากสิทธิในการสืบราชบัลลังก์ แต่ในที่สุดเจ้าหญิงแมรีก็ได้เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 1 ผู้ทรงเป็นโรมันคาทอลิก ในรัชสมัยของราชินีนาถแมรีเจ้าหญิงอลิซาเบธทรงถูกจำขังอยู่ปีหนึ่งในข้อสงสัยว่าทรงมีส่วนร่วมในการสนับสนุนฝ่ายก่อการโปรเตสแตนต์ หลังจากเสด็จสวรรคตของพระเชษฐภคินีสมเด็จพระราชินีนาถแมรี เจ้าหญิงอลิซาเบธก็เสด็จขึ้นครองราชย์ พระองค์ทรงตั้งพระทัยที่จะปกครองโดยมีที่ปรึกษาราชการผู้มีคุณธรรม พระองค์ทรงไว้วางพระทัยในกลุ่มที่ปรึกษาที่ทรงไว้วางใจที่นำโดยวิลเลียม เซซิล บารอนแห่งเบอร์ลีย์ที่ 1 สิ่งแรกที่ทรงกระทำในฐานะพระราชินีนาถคือการสนับสนุนการก่อตั้งสถาบันโปรเตสแตนต์อังกฤษ ซึ่งมีพระองค์เองเป็น “ประมุขสูงสุด” (Supreme Governor) นโยบายทางศาสนาของพระองค์เป็นนโยบายที่ดำเนินตลอดมาในช่วงรัชสมัยการปกครอง และต่อมาวิวัฒนาการมาเป็น “นิกายเชิร์ชออฟอิงแลนด์” ในปัจจุบัน ในระหว่างที่ครองราชย์ก็เป็นที่หวังกันว่าพระองค์จะทรงเสกสมรส แต่แม้ว่ารัฐบาลจะยื่นคำร้องหลายครั้ง และ การทรงทำความรู้จักกับกับคู่หมายหลายคนพระราชินีนาถอลิซาเบธก็มิได้ทรงทำการเสกสมรสกับผู้ใด สาเหตุที่ไม่ทรงยอมเสกสมรสก็ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ เมื่อมีพระชนมายุสูงขึ้นพระองค์ก็ทรงมีชื่อเสียงจากการเป็น “พระราชินีผู้ทรงพรหมจรรย์” และเกิดลัทธินิยมของผู้ติดตามนโยบายดังว่าที่เฉลิมฉลองกันด้วยภาพเหมือน, เทศกาล และ วรรณกรรมร่วมสมัย ในด้านการปกครองพระราชินีนาถอลิซาเบธทรงดำเนินนโยบายที่เป็นสายกลางมากกว่าพระราชบิดา พระอนุชา และ พระเชษฐภคินีStarkey, 5.

ร่างพระราชบัญญัติการยกเว้นผู้สืบราชบัลลังก์และสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 แห่งอังกฤษ · สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 แห่งอังกฤษและหอคอยแห่งลอนดอน · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ร่างพระราชบัญญัติการยกเว้นผู้สืบราชบัลลังก์และหอคอยแห่งลอนดอน

ร่างพระราชบัญญัติการยกเว้นผู้สืบราชบัลลังก์ มี 22 ความสัมพันธ์ขณะที่ หอคอยแห่งลอนดอน มี 20 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 1, ดัชนี Jaccard คือ 2.38% = 1 / (22 + 20)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ร่างพระราชบัญญัติการยกเว้นผู้สืบราชบัลลังก์และหอคอยแห่งลอนดอน หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »