เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

รูห์นและอาณาจักรในอาร์ดา

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง รูห์นและอาณาจักรในอาร์ดา

รูห์น vs. อาณาจักรในอาร์ดา

อิสเตอร์ลิงจาก ภาพยนตร์เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ กองทัพอิสเตอร์ลิงจาก ภาพยนตร์เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ รูห์น (Rhûn) คือชื่อดินแดนมนุษย์แห่งหนึ่งบนทวีปมิดเดิลเอิร์ธ ในจินตนิยายของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน คำว่า Rhûn ในภาษาซินดารินแปลว่า ตะวันออก รูห์น (Rhûn) เป็นดินแดนที่ห่างไกลออกไป ทางตะวันออกของมิดเดิลเอิร์ธ มีเพียงทางตะวันตกของดินแดนรูห์นเท่านั้น ที่ปรากฏในแผนที่ เป็นดินแดนของมนุษย์ที่เรียกตนเองว่า อีสเตอร์ลิง (Easterlings) ชาวอิสเตอร์ลิงอยู่ภายใต้อาณัติของมอร์กอธจนกระทั่งถึงเซารอนมาโดยตลอด และพวกเขาก็เป็นศัตรูของมนุษย์ทางตะวันตกมาทุกยุคทุกสมัย สภาพและความเป็นไปในดินแดนรูห์นมีข้อมูลน้อยมาก ทางตะวันตกติดกับมอร์ดอร์ และดินแดนตะวันตก (Wilderland) ซึ่งหมายถึงดินแดนทางตะวันออกของเทือกเขามิสตี้นั่นเอง และมี ทะเลสาบรูห์น (Sea of Rhun) เป็นพรมแดนกั้นอยู่ ทิศใต้ติดกับดินแดนคานด์ (Khand) และไกลออกไปคือ ดินแดนฮารัด (Harad) ในยุคที่สอง เมื่อครั้งเซารอนมอบแหวนทั้งเก้าให้แด่พวกมนุษย์นั้น เขาได้มอบให้กับกษัตริย์แห่งอีสเตอร์ลิง ซึ่งรู้จักกันในนาม คามูล (Khamul the Easterling) และคามูลผู้นี้ ในภายหลังได้กลายเป็นภูติแหวนหนึ่งในเก้า เป็นคนที่สองต่อจาก วิชคิง แห่งอังก์มาร์ และในช่วงที่เซารอนพ่ายแพ้ใน สงครามแห่งพันธมิตรครั้งสุดท้าย วิญญาณของเขาก็มุ่งสู่ดินแดนรูห์น เพื่อฟื้นอำนาจก่อนจะย้ายไป โดลกุลดัวร์ พวกอิสเตอร์ลิงนั้นเข้าร่วมสงครามกับฝ่ายเซารอนมาโดยตลอด ถึงแม้ว่าจะเข้าสู่ยุคที่สี่ก็ตาม ชาวอิสเตอร์ลิงบางส่วน ก็ยังคงเป็นปรปักษ์กับมนุษย์ตะวันตกอยู. อาร์ดา (Arda) คือดินแดนในจินตนิยายของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ในปกรณัมชุดมิดเดิลเอิร์ธ ซึ่งประกอบด้วยทวีปต่างๆ และอาณาจักรของเผ่าพันธุ์ต่างๆ มากมาย ต่อไปนี้เป็นรายชื่ออาณาจักรสำคัญในอาร์ดาในแต่ละยุคสมั.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง รูห์นและอาณาจักรในอาร์ดา

รูห์นและอาณาจักรในอาร์ดา มี 8 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): มอร์กอธมอร์ดอร์มนุษย์ (มิดเดิลเอิร์ธ)ยุคที่สองแห่งอาร์ดายุคที่สี่แห่งอาร์ดาอังก์มาร์ฮารัดเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน

มอร์กอธ

'''มอร์กอธ บาวเกลียร์''' มอร์กอธ บาวเกลียร์ (Morgoth Bauglir) เป็นตัวละครที่แต่งขึ้นโดย เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ปรากฏในผลงานของโทลคีนเรื่อง ซิลมาริลลิออน และตำนานอื่นๆ ในยุคโบราณของปกรณัมชุดมิดเดิลเอิร์ธ มอร์กอธเป็นชาวไอนัวร์ ซึ่งเป็นเทพเจ้าเฉกเช่นวาลาร์ ชื่อเดิมของเขาคือ เมลคอร์ แต่ต่อมาเป็นที่รู้จักทั่วไปในมิดเดิลเอิร์ธในชื่อของ มอร์กอธ หลังจากที่เจ้าชายเอลฟ์นามว่า เฟอานอร์ เป็นผู้ตั้งให้ ในประวัติศาสตร์ของมิดเดิลเอิร์ธ มอร์กอธมีบทบาทเป็นฝ่ายอธรรมผู้ยิ่งใหญ่ ซึ่ง เซารอน เจ้าแห่งความมืดที่หลายคนรู้จักดีจากเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์เคยเป็นข้ารับใช้ของเขา นาม มอร์กอธ บาวเกลียร์ ที่จริงแล้วเป็นชื่อฉายา ชื่อของเขาที่ปรากฏครั้งแรกในไอนูลินดาเล (เรื่องราวของการสร้างมิดเดิ้ลเอิร์ธ และเป็นบทแรกของ ซิลมาริลลิออน) มีชื่อว่า เมลคอร์ ซึ่งหมายถึง "ผู้ผงาดด้วยอำนาจ" ส่วนคำว่า มอร์กอธ สามารถแปลได้ว่า "ทรราชเจ้าแห่งความมืด" หรือ "ผู้กดขี่อันน่าสยดสยอง" คำนี้มีที่มาจากภาษาเควนยาซึ่งหมายถึง ศัตรูมืด หรือ ความมืดอันน่าหวาดหวั่น (รากศัพท์มาจาก มอร์ (mor) - สีดำ ความมืด เงามืด และ กอส/กอธ (goth) - น่ากลัวมาก ความสยองขวัญ) ส่วนคำว่า บาวเกลียร์ เป็นภาษาซินดาริน หมายถึง ทรราช หรือ ผู้กดขี่ (รากศัพท์ MBAW - บังคับ พลังอำนาจ กดขี่) ตัวละครนี้ไม่ได้ถูกเรียกว่ามอร์กอธจนกระทั่งเขาได้รับสมญานั้นจาก เฟอานอร์ แห่ง โนลดอร์ ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในยุคที่หนึ่ง (First Age) หลังจากเมลคอร์หลบหนีออกจากวาลินอร์แล้ว และพวกเอลฟ์ก็เรียกแต่ชื่อนั้นของเขา แต่ก่อนหน้าเหตุการณ์นั้นเขาถูกเรียกเพียงว่า เมลคอร์ ระหว่างการพัฒนาการของตำนานของโทลคีน เขาได้เปลี่ยนแนวคิดเกี่ยวกับการแปรพักตร์ของไอนูองค์นี้ และเปลี่ยนชื่อของเขาด้วย นอกเหนือจากชื่อพิเศษของเขาซึ่งชาวโนลดอร์ตั้งให้ (มอร์กอธ) เขายังถูกเรียกในตำนานต่างๆ (ในหลากหลายรูปแบบ) ว่า'เมลโค' 'เบลคา' 'เมเลกอร์' และ 'เมเลโค' ชื่อของเขาในรูปซินดารินคือ 'เบเลกูร์' ซึ่งไม่เคยถูกใช้เลยนอกจากในคำที่แปลงรูปแล้วว่า 'เบเลกัวธ์' ซึ่งหมายถึง ’ความตายอันยิ่งใหญ่' หมวดหมู่:ตัวละครในซิลมาริลลิออน หมวดหมู่:ไอนัวร์.

มอร์กอธและรูห์น · มอร์กอธและอาณาจักรในอาร์ดา · ดูเพิ่มเติม »

มอร์ดอร์

มอร์ดอร์ จากภาพยนตร์ไตรภาค ลอร์ดออฟเดอะริงส์ มอร์ดอร์ (Mordor) เป็นชื่อดินแดนแห่งหนึ่งในจินตนิยายชุด เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ซึ่งเป็นที่ตั้งอาณาจักรอันชั่วร้ายของ เซารอน คำว่า มอร์ดอร์ เป็นภาษาซินดาริน มีความหมายว่า 'แผ่นดินแห่งความมืด' มอร์ดอร์ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของมิดเดิลเอิร์ธ ในกำบังของเทือกเขาเอเฟลดูอัธ และเอเร็ดลิธุย ข้างตะวันออกของแม่น้ำอันดูอิน จึงตั้งประชิดอยู่ทางตะวันออกของอาณาจักรกอนดอร์ ภายในมอร์ดอร์เป็นที่ตั้งของ บารัดดูร์ หอคอยทมิฬ ซึ่งเป็นที่อยู่ของเซารอน นอกจากนี้ยังมีเมาท์ดูม หรือ โอโรดรูอิน หรือภูมรณะ ซึ่งเป็นภูเขาไฟที่เปิดสู่แหล่งลาวาใต้พิภพ เป็นที่ที่มีอัคคีความร้อนสูงที่สุดบนมิดเดิลเอิร์ธ เป็นสถานที่เพียงแห่งเดียวที่สามารถหลอมสร้างแหวนเอกธำมรงค์ และเป็นที่เดียวที่ทำลายมันลงได้ เมาท์ดูมคือจุดหมายในการเดินทางของโฟรโด แบ๊กกิ้นส์ และ แซมไวส์ แกมจี ในภารกิจทำลายแหวนเอกในเรื่อง เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ การเข้าสู่มอร์ดอร์ สามารถเข้าได้จากทางทิศเหนือ ผ่านประตูดำแห่งมอร์ดอร์ ชื่อว่า 'โมรันนอน' ซึ่งตั้งอยู่ที่ช่องแคบเชิงเขาระหว่างเอเฟลดูอัธกับเอเร็ดลิธุย อีกทางหนึ่งคือผ่านช่องเขาบนเอเร็ดลิธุย ซึ่งมีเมืองปราการแห่งหนึ่งตั้งอยู่ ชื่อ มินัสมอร์กูล เมืองนี้แต่เดิมเป็นเมืองของชาวกอนดอร์ ซึ่งสร้างขึ้นสำหรับคอยเฝ้าระวังการเคลื่อนไหวของเซารอน ต่อภายหลังถูกพวกภูตแหวนยึดไปได้ และกลายเป็นที่อยู่ของวิชคิง หรือราชันขมังเวท ด้านหน้าประตูดำเป็นทุ่งราบกว้างใหญ่ ชื่อทุ่งดาร์กอลัด หรือ ทุ่งสมรภูมิ เป็นสถานที่ซึ่งเกิดสงครามครั้งยิ่งใหญ่ในช่วงปลายยุคที่สอง คือ สงครามแห่งพันธมิตรครั้งสุดท้าย เป็นที่สิ้นพระชนม์ของกิล-กาลัด และ เอเลนดิล ในยุคที่สามทุ่งกว้างใหญ่แห่งนี้กลายเป็นบึงน้ำเฉอะแฉะ เรียกกันว่า 'บึงมรณะ' ข้างใต้บึงเป็นหลุมศพของเอลฟ์และมนุษย์ที่เสียชีวิตในสงครามแห่งพันธมิตรครั้งสุดท้.

มอร์ดอร์และรูห์น · มอร์ดอร์และอาณาจักรในอาร์ดา · ดูเพิ่มเติม »

มนุษย์ (มิดเดิลเอิร์ธ)

มนุษย์ ตามความหมายในจินตนิยายของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน เป็นสิ่งมีชีวิตที่ถูกสร้างขึ้นโดยมหาเทพอิลูวาทาร์ โดยสร้างขึ้นภายหลังเผ่าพันธุ์เอลฟ์ จึงได้ชื่อว่าเป็น บุตรคนเล็กแห่งอิลูวาทาร์ เหตุการณ์ในเรื่องเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ เป็นเหตุการณ์ในตอนท้ายของยุคสมัยอันรุ่งเรืองของพวกเอลฟ์ เมื่อพ้นจากยุคของเอลฟ์แล้ว เผ่าพันธุ์มนุษย์จึงรุ่งเรืองขึ้นและได้ครอบครองโลกทั้งหมดดังเช่นปัจจุบัน.

มนุษย์ (มิดเดิลเอิร์ธ)และรูห์น · มนุษย์ (มิดเดิลเอิร์ธ)และอาณาจักรในอาร์ดา · ดูเพิ่มเติม »

ยุคที่สองแห่งอาร์ดา

ที่สอง แห่งอาร์ดา เป็นช่วงเวลาหนึ่งในจักรวาลของเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน เริ่มนับตั้งแต่การจับกุมคุมขังเทพอสูรมอร์กอธไว้ในสุญญภูมิ หลังจากการล่มจมสมุทรของแผ่นดินเบเลริอันด์ ซึ่งเป็นผลจากสงครามแห่งความโกรธา อันเป็นสงครามระหว่างปวงเทพแห่งแดนประจิมกับมอร์กอธ การรุ่งเรืองและล่มสลายของอาณาจักรนูเมนอร์ ไปจนถึงการปราบปรามเซารอนลงสำเร็จในสงครามแห่งพันธมิตรครั้งสุดท้าย กินเวลายาวนานถึง 3,441 ปี เหตุการณ์ในยุคที่สองของอาร์ดา มิได้มีการบรรยายไว้โดยละเอียดเหมือนยุคที่หนึ่ง ซึ่งปรากฏเนื้อหาอยู่ในตำนานเรื่อง ซิลมาริลลิออน แต่ได้มีการบรรยายสรุปโดยย่ออยู่ในภาคผนวกของหนังสือเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ และในตำนานอคัลลาเบธ อันเป็นตำนานว่าด้วยการรุ่งเรืองและล่มสลายของอาณาจักรนูเมนอร์ นอกจากนี้ยังมีเนื้อหาจำนวนมากที่โทลคีนประพันธ์ค้างไว้ และคริสโตเฟอร์ โทลคีน ได้รวบรวมไว้ในหนังสือ Unfinished Tales.

ยุคที่สองแห่งอาร์ดาและรูห์น · ยุคที่สองแห่งอาร์ดาและอาณาจักรในอาร์ดา · ดูเพิ่มเติม »

ยุคที่สี่แห่งอาร์ดา

ที่สี่แห่งอาร์ดา เป็นช่วงเวลาหนึ่งในจักรวาลในปกรณัมชุดมิดเดิลเอิร์ธของเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ยุคที่สี่ เริ่มนับความพ่ายแพ้อีกครั้งของเซารอน เมื่อแหวนถูกทำลาย และเหล่าพรายเดินทางออกจากมิดเดิลเอิร์ธ ลักษณะสำคัญคือการฟื้นฟูของอาณาจักรนูเมนอร์ (กอนดอร์และอาร์นอร์) ความเสื่อมถอยของพราย และการเจริญรุ่งเรืองของเผ่าพันธุ์มนุษย์ โทลคีนไม่ได้เขียนถึงเหตุการณ์ในยุคที่สี่ไว้มากนัก (ยกเว้นเหตุการณ์ในช่วงต้นๆ) เขาเคยพูดไว้ว่าตามจินตนาการของเขานั้น ระยะห่างระหว่างสิ้นยุคที่สาม ถึงปัจจุบัน (ค.ศ. 2000) ประมาณ 6000 ปี ถ้านับยุคหนึ่งใช้เวลาใกล้เคียงกัน ปัจจุบันจะอยู่ในช่วงปลายยุคที่ห้า แต่เขายังบอกว่ายุคหลังๆ น่าจะมีช่วงเวลาที่สั้นลง อาจประมาณได้ว่าการล่มสลายของนาซีเยอรมัน ปี ค.ศ. 1945 คือจุดสิ้นสุดยุคที่หก และปัจจุบันเราอยู่ในยุคที่เจ็.

ยุคที่สี่แห่งอาร์ดาและรูห์น · ยุคที่สี่แห่งอาร์ดาและอาณาจักรในอาร์ดา · ดูเพิ่มเติม »

อังก์มาร์

ร์นดูม เมืองหลวงของอังก์มาร์ อังก์มาร์ (Angmar) คือชื่อดินแดนแห่งหนึ่งบนทวีปมิดเดิลเอิร์ธ ในจินตนิยายของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ชุด เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของทวีปในอาณาจักรอาร์นอร์ของชาวมนุษย์ดูเนไดน์ ภายหลังตกไปอยู่ใต้อำนาจของเหล่านาซกูล อังก์มาร์ตั้งอยู่ในแคว้นรูห์เดาร์ ซึ่งเป็นหนึ่งในสามแคว้นใหญ่ของอาณาจักรอาร์นอร์ ช่วงกลางยุคที่สาม ประมาณปีที่ 1300 อาณาจักรอาร์นอร์อ่อนแอ นาซกูลจึงมาตียึดเอาดินแดนบางส่วนในรูห์เดาร์ไปได้ และก่อตั้งอาณาจักรอังก์มาร์ขึ้น มีเมืองหลวงชื่อ "คาร์นดูม" (Carn Dûm) จากนั้นใช้ที่แห่งนี้เป็นที่มั่นในการบุกโจมตีดินแดนส่วนอื่นๆ ของอาร์นอร์ต่อไปอีกจนกระทั่งอาณาจักรล่มสลายลงในที่สุด ต่อมาเมื่อเหล่านาซกูลยกลงมาโจมตีอาณาจักรกอนดอร์ และยึดเอามินัสอิธิลไปได้ จึงทิ้งให้อังก์มาร์กลายเป็นเมืองร้าง แล้วย้ายมายังมินัสอิธิลซึ่งเปลี่ยนชื่อเป็น มินัสมอร์กูล แทน.

รูห์นและอังก์มาร์ · อังก์มาร์และอาณาจักรในอาร์ดา · ดูเพิ่มเติม »

ฮารัด

รัด (Harad) คือชื่อดินแดนมนุษย์แห่งหนึ่งบนทวีปมิดเดิลเอิร์ธ ในจินตนิยายของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ชุด เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ฮารัดเป็นดินแดนกว้างใหญ่ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของมอร์ดอร์และกอนดอร์ใต้ มีลักษณะอากาศที่อบอุ่นและร้อนกว่าดินแดนทางเหนือ ดินแดนนี้ไม่ได้รวมเป็นอาณาจักรเดียวกันทั้งผืน แต่มีกษัตริย์ปกครองเป็นของตนเองไม่ขึ้นแก่กัน ชื่อ ฮารัด เป็นคำภาษาซินดาริน แปลว่า ใต้ ชาวฮารัดมักถูกเรียกว่าชาว ฮาราดริม (Haradrim) หมายถึงมนุษย์แห่งดินแดนใต้ พวกนี้เป็นคนป่า มีผิวสีเข้ม ผมและตาดำ ใช้ภาษาที่เป็นของตนเอง และจัดว่าเป็นศัตรูกับชาวกอนดอร์ มาตั้งแต่อดีต ในขณะเดียวกัน พวกฮาราดริมก็เป็นมิตรกับเซารอน นอกจากนี้ชาวฮาราดริม ยังมีพาหนะเป็นสัตว์ร้ายของกองทัพฮารัดอีกด้วย ซึ่งก็คือ มูมาคิล (Mumakil) หรือที่พวกฮอบบิทเรียกว่า โอลิฟอนต์ (Oliphaunt) มีลักษณะคล้ายช้าง แต่สูงเท่ากับตึกแปดชั้น มีงายาวสี่งา บนหลังของมูมาคิลสามารถบรรทุกพลรบได้ถึง 50 นาย ในช่วงสงครามแหวน พวกฮาราดริมได้เข้าร่วมเป็นพันธมิตรกับเซารอน.

รูห์นและฮารัด · อาณาจักรในอาร์ดาและฮารัด · ดูเพิ่มเติม »

เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน

. อาร.

รูห์นและเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน · อาณาจักรในอาร์ดาและเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง รูห์นและอาณาจักรในอาร์ดา

รูห์น มี 17 ความสัมพันธ์ขณะที่ อาณาจักรในอาร์ดา มี 49 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 8, ดัชนี Jaccard คือ 12.12% = 8 / (17 + 49)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง รูห์นและอาณาจักรในอาร์ดา หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: