โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

รูหนอนและสามเหลี่ยมมังกร

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง รูหนอนและสามเหลี่ยมมังกร

รูหนอน vs. สามเหลี่ยมมังกร

"แผนภาพฝัง" ของรูหนอนชวอสเชลด์ (Schwarzschild wormhole) รูหนอน (wormhole) เป็นที่รู้จักกันว่า ทางเชื่อมต่อ หรือ สะพานไอน์สไตน์-โรเซน (Einstein-Rosen bridge) เป็นคุณลักษณะที่มีสมมุติฐานของทอพอโลยีของปริภูมิ-เวลาที่จะเป็นพื้นฐานในการเป็น "ทางลัด" ตัดผ่านไปมาระหว่างปริภูมิ-เวลา สำหรับคำอธิบายภาพที่เรียบง่ายของรูหนอนนั้น, พิจารณาปริภูมิ-เวลาที่มองเห็นได้เป็นพื้นผิวสองมิติ (2D) ถ้าพื้นผิวนี้ถูกพับไปตามแนวแบบสามมิติจะช่วยในการวาดภาพ "สะพาน" ของรูหนอนให้เห็นได้แบบหนึ่ง (โปรดทราบในที่นี้ว่า, นี่เป็นเพียงการสร้างภาพที่ปรากฏในการถ่ายทอดโครงสร้างที่ไม่สามารถมองเห็นได้ (Unvisualisable) เป็นหลักที่มีอยู่ใน 4 มิติหรือมากกว่า, ส่วนของรูหนอนอาจจะมีความต่อเนื่องของมิติที่มีค่าสูงกว่า (Higher-dimensional analogues) สำหรับส่วนของพื้นผิวโค้ง 2 มิติ, ตัวอย่างเช่น, ปากของรูหนอนแทนที่จะเป็นปากหลุมซึ่งเป็นหลุมวงกลมในระนาบ 2 มิติ, ปากของรูหนอนจริงอาจจะเป็นทรงกลมในพื้นที่ 3 มิติ) รูหนอนคือ, ในทางทฤษฎีคล้ายกับอุโมงค์ที่มีปลายทั้งสองข้างในแต่ละจุดแยกจากกันในปริภูมิ-เวลา ไม่มีหลักฐานการสังเกตการณ์สำหรับรูหนอน, แต่ในระดับเชิงทฤษฎีมีวิธีการแก้ปัญหาที่ถูกต้องในสมการของทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปซึ่งรวมถึงรูหนอนด้วย เพราะความแข็งแรงเชิงทฤษฎีที่แข็งแกร่งของมัน, รูหนอนเป็นที่รู้จักกันว่าเป็นหนึ่งในคำเปรียบเปรยทางฟิสิกส์ที่ดีเยี่ยมสำหรับการเรียนการสอนวิชาสัมพัทธภาพทั่วไป ชนิดแรกของการแก้ปัญหารูหนอนที่ถูกค้นพบคือรูหนอนชวอสเชลด์, ซึ่งจะมีอยู่ในเมตริกชวอสเชลด์ (Schwarzschild metric) ที่อธิบายถึงหลุมดำนิรันดร์ (Eternal black hole) แต่ก็พบว่ารูหนอนประเภทนี้จะยุบตัวลงอย่างรวดเร็วเกินไปสำหรับสิ่งที่จะข้ามจากปลายด้านหนึ่งไปยังอีกปลายด้านหนึ่ง รูหนอนซึ่งสามารถจะทำให้เป็นจริงที่สามารถเดินทางผ่านข้ามไปได้ในทั้งสองทิศทางได้นั้นเรียกว่า รูหนอนทะลุได้, ซึ่งรูหนอนชนิดนี้เท่านั้นที่จะมีความเป็นไปได้ถ้าใช้สสารประหลาด (Exotic matter) ที่มีความหนาแน่นพลังงาน (Energy density) ที่มีค่าเชิงลบที่อาจนำมาใช้เพื่อรักษาเสถียรภาพของรูหนอนให้คงอยู่ได้ ปรากฏการณ์คาซิเมียร์ (Casimir effect) แสดงให้เห็นว่าทฤษฎีสนามควอนตัมช่วยให้ความหนาแน่นของพลังงานในบางส่วนของปริภูมินั้นมีความสัมพัทธ์ในทางลบต่อพลังงานสุญญากาศสามัญ (Ordinary vacuum energy) และมันได้รับการแสดงให้เห็นได้ในทางทฤษฎีซึ่งทฤษฎีสนามควอนตัมอนุญาตให้สถานะของพลังงานสามารถมีสถานะเป็นเชิงลบได้ตามใจชอบ ณ จุดที่กำหนดให้ นักฟิสิกส์จำนวนมากเช่น สตีเฟน ฮอว์คิง, คิบ โทร์น (Kip Thorne) และคนอื่น ๆ ได้โต้แย้งว่าปรากฏการณ์ดังกล่าวอาจจะทำให้มันมีความเป็นไปได้ที่จะรักษาเสถียรภาพของรูหนอนแบบทะลุได้นี้ นักฟิสิกส์ยังไม่พบกระบวนการทางธรรมชาติใด ๆ ที่จะได้รับการคาดว่าจะก่อให้เกิดรูหนอนตามธรรมชาติในบริบทของทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปได้, แม้ว่าสมมติฐานโฟมควอนตัม (Quantum foam) บางครั้งจะใช้เพื่อแสดงให้เห็นว่ารูหนอนขนาดเล็ก ๆ อาจจะปรากฏขึ้นและหายไปเองตามธรรมชาติโดยมาตรวัดในหน่วยวัดขนาดมาตราส่วนพลังค์ (Planck scale) และในเวอร์ชันของรูหนอนที่มีเสถียรภาพดังกล่าวที่ได้รับการแนะนำให้เป็นผู้สมัครท้าชิงกับสสารมืดก็ตาม นอกจากนี้ยังได้รับการเสนอว่าถ้ารูหนอนขนาดจิ๋วนี้ ได้ถูกทำให้เปิดตัวออกโดยใช้เส้นคอสมิค (Cosmic string) ที่มีมวลที่มีค่าเป็นเชิงลบที่เคยปรากฏมีอยู่ในช่วงเวลาประมาณของการเกิดบิกแบง, มันก็จะได้รับการขยายขนาดให้อยู่ในระดับมหภาค (Macroscopic) หรือขนาดที่ใหญ่ได้โดยการพองตัวของจักรวาล อีกด้วย นักฟิสิกส์ทฤษฎีชาวอเมริกันชื่อ จอห์น อาร์ชิบัล วีลเลอร์ (John Archibald Wheeler) ได้บัญญัติศัพท์คำว่า รูหนอน ขึ้นเมื่อปี.. แผนที่แสดงที่ตั้งหมู่เกาะอิสุซึ่งเป็นเกาะภูเขาไฟที่ตั้งอยู่ตรงกลางของสามเหลี่ยมมังกรพอดี สามเหลี่ยมมังกร หรือ ทะเลปีศาจ (The Devil 's Sea, 魔の海, Ma no Umi) หรือ ฟอร์โมซาเบอร์มิวดา (福尔摩沙三角, จีนตัวย่อ: 福尔摩沙三角, พินอิน: Fúěrmóshā Sānjiǎo) หรือ สามเหลี่ยมเบอร์มิวดาแปซิฟิก (Pacific Bermuda Triangle) เป็นชื่อเรียกพื้นที่พื้นที่หนึ่งของบริเวณท้องทะเลของประเทศญี่ปุ่น ที่มีเนื้อที่เป็นรูปสามเหลี่ยม ตั้งอยู่รอบเกาะมิยาเกะ (ประมาณ 100 กิโลเมตรจากตอนใต้ของกรุงโตเกียว) ไปจรดถึงตะวันออกเฉียงเหนือของทะเลฟิลิปปิน เป็นสถานที่ ๆ มีลักษณะเช่นเดียวกับสามเหลี่ยมเบอร์มิวดา ของมหาสมุทรแอตแลนติก กล่าวคือ เรือหรือเครื่องบินที่ผ่านมาในบริเวณนี้จะหายสาบสูญไปอย่างไร้ร่องรอย ซึ่งอาณาบริเวณของสถานที่ ๆ ได้ชื่อว่าเป็นสามเหลี่ยมมังกรนั้นไม่แน่นอน ในรายงานเมื่อปี ค.ศ. 1950 ว่าอยู่ห่างจากชายฝั่งทะเลตะวันออกของญี่ปุ่นประมาณ 300 ไมล์ ใกล้กับเกาะอิซุโอชิมา จากชายฝั่ง 750 ไมล์ เรื่องราวของสามเหลี่ยมมังกร ปรากฏครั้งแรกในหนังสือพิมพ์ของญี่ปุ่นในเดือนมกราคม ค.ศ. 1955 เมื่อเรือ 9 ลำได้หายสาบสูญไปโดยไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริง ซึ่งก่อนหน้านั้นเรือประมงขนาดเล็กอีก 7 ลำ ก็หายสูญหายไประหว่างเดือนเมษายน ค.ศ. 1949 จนถึงเดือนตุลาคม ค.ศ. 1953 ระหว่างเกาะมิยาเกะและเกาะอิซุโอชิมะ ข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับปรากฏการณ์ของสามเหลี่ยมมังกรนั้น นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าเกี่ยวข้องกับสามเหลี่ยมเบอร์มิวดาอย่างแน่นอน เนื่องจากเมื่อพิจารณาจากแผนที่โลกแล้ว ปรากฏว่าพื้นที่ทั้ง 2 ที่นั้นอยู่ในด้านที่ตรงกันข้ามกันพอดีเลยในซีกโลกอีกข้าง อีกทั้งก็ยังมีร่องน้ำลึกที่สุดในโลกอยู่เช่นเดียวกันทั้ง 2 ที่ (สามเหลี่ยมเบอร์มิวดา–ร่องลึกเปอร์โตริโก, สามเหลี่ยมมังกร–ร่องลึกก้นสมุทรมาเรียนา) สำหรับนักวิทยาศาสตร์ทื่เชื่อในทฤษฎีของสามเหลี่ยมเบอร์มิวดาว่าแท้จริงแล้วเป็นหลุมดำ (Black Hole) ที่อยู่บนโลกนั้น สามเหลี่ยมมังกรก็คือ หลุมขาว (White Hole) นั่นเอง ซึ่งอยู่อีกฟากหนึ่ง เมื่อหลุมดำดูดกลืนสสารทุกอย่างลงไปแล้ว ผ่านทางช่องที่อยู่ตรงกลางที่เรียกว่า "รูหนอน" (Worm Hole) สสารก็จะถูกพ่นให้ออกมาทางหลุมขาว ซึ่งอีกฟากหนึ่งนั่นเอง.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง รูหนอนและสามเหลี่ยมมังกร

รูหนอนและสามเหลี่ยมมังกร มี 2 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): หลุมขาวหลุมดำ

หลุมขาว

แผนภาพหลุมขาวและหลุมดำ ภาพเคลื่อนไหวแสดงความสัมพันธ์ระหว่างหลุมขาว, หลุมดำ และรูหนอน ในสัมพัทธภาพทั่วไป ของอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ หลุมขาว (White hole) เป็นพื้นที่สมมติชนิดหนึ่งในทางทฤษฎีของกาลอวกาศซึ่งไม่มีสิ่งใดสามารถเข้าไปได้ แต่สสารและแสงสามารถหนีออกมาได้ (ตรงกันข้ามกับหลุมดำ) หลุมขาวปรากฏอยู่ในทฤษฎีหลุมดำนิรันดร์ อย่างไรก็ตามการเกิดหลุมดำสามารถเกิดได้ผ่านการยุบตัวอันเกิดจากแรงโน้มถ่วง แต่หลุมขาวยังไม่สามารถเกิดได้ผ่านกระบวนการทางกายภาพที่รู้จัก.

รูหนอนและหลุมขาว · สามเหลี่ยมมังกรและหลุมขาว · ดูเพิ่มเติม »

หลุมดำ

มุมมองจำลองของหลุมดำด้านหน้าของทางช้างเผือก โดยมีมวลเทียบเท่าดวงอาทิตย์ 10 ดวงจากระยะทาง 600 กิโลเมตร หลุมดำ (black hole) หมายถึงเทหวัตถุในเอกภพที่มีแรงโน้มถ่วงสูงมาก ไม่มีอะไรออกจากบริเวณนี้ได้แม้แต่แสง ยกเว้นหลุมดำด้วยกัน เราจึงมองไม่เห็นใจกลางของหลุมดำ หลุมดำจะมีพื้นที่หนึ่งที่เป็นขอบเขตของตัวเองเรียกว่าขอบฟ้าเหตุการณ์ ที่ตำแหน่งรัศมีชวาร์สชิลด์ ถ้าหากวัตถุหลุดเข้าไปในขอบฟ้าเหตุการณ์ วัตถุจะต้องเร่งความเร็วให้มากกว่าความเร็วแสงจึงจะหลุดออกจากขอบฟ้าเหตุการณ์ได้ แต่เป็นไปไม่ได้ที่วัตถุใดจะมีความเร็วมากกว่าแสง วัตถุนั้นจึงไม่สามารถออกมาได้อีกต่อไป เมื่อดาวฤกษ์ที่มีมวลมหึมาแตกดับลง มันอาจจะทิ้งสิ่งที่ดำมืดที่สุด ทว่ามีอำนาจทำลายล้างสูงสุดไว้เบื้องหลัง นักดาราศาสตร์เรียกสิ่งนี้ว่า "หลุมดำ" เราไม่สามารถมองเห็นหลุมดำด้วยกล้องโทรทรรศน์ใดๆ เนื่องจากหลุมดำไม่เปล่งแสงหรือรังสีใดเลย แต่สามารถตรวจพบได้ด้วยกล้องโทรทรรศน์วิทยุ และคลื่นโน้มถ่วงของหลุมดำ (ในเชิงทฤษฎี โครงการแอลไอจีโอ) และจนถึงปัจจุบันได้ค้นพบหลุมดำในจักรวาลแล้วอย่างน้อย 6 แห่ง หลุมดำเป็นซากที่สิ้นสลายของดาวฤกษ์ที่ถึงอายุขัยแล้ว สสารที่เคยประกอบกันเป็นดาวนั้นได้ถูกอัดตัวด้วยแรงดึงดูดของตนเองจนเหลือเป็นเพียงมวลหนาแน่นที่มีขนาดเล็กยิ่งกว่านิวเคลียสของอะตอมเดียว ซึ่งเรียกว่า ภาวะเอกฐาน หลุมดำแบ่งได้เป็น 4 ประเภท คือ หลุมดำมวลยวดยิ่ง เป็นหลุมดำในใจกลางของดาราจักร, หลุมดำขนาดกลาง, หลุมดำจากดาวฤกษ์ ซึ่งเกิดจากการแตกดับของดาวฤกษ์, และ หลุมดำจิ๋วหรือหลุมดำเชิงควอนตัม ซึ่งเกิดขึ้นในยุคเริ่มแรกของเอกภพ แม้ว่าจะไม่สามารถมองเห็นภายในหลุมดำได้ แต่ตัวมันก็แสดงการมีอยู่ผ่านการมีผลกระทบกับวัตถุที่อยู่ในวงโคจรภายนอกขอบฟ้าเหตุการณ์ ตัวอย่างเช่น หลุมดำอาจจะถูกสังเกตเห็นได้โดยการติดตามกลุ่มดาวที่โคจรอยู่ภายในศูนย์กลางหลุมดำ หรืออาจมีการสังเกตก๊าซ (จากดาวข้างเคียง) ที่ถูกดึงดูดเข้าสู่หลุมดำ ก๊าซจะม้วนตัวเข้าสู่ภายใน และจะร้อนขึ้นถึงอุณหภูมิสูง ๆ และปลดปล่อยรังสีขนาดใหญ่ที่สามารถตรวจจับได้จากกล้องโทรทรรศน์ที่โคจรอยู่รอบโลก การสำรวจให้ผลในทางวิทยาศาสตร์เห็นพ้องต้องกันว่าหลุมดำนั้นมีอยู่จริงในเอกภพ แนวคิดของวัตถุที่มีแรงดึงดูดมากพอที่จะกันไม่ให้แสงเดินทางออกไปนั้นถูกเสนอโดยนักดาราศาสตร์มือสมัครเล่นชาวอังกฤษ จอห์น มิเชล ในปี 1783 และต่อมาในปี 1795 นักฟิสิกส์ชาวฝรั่งเศส ปีแยร์-ซีมง ลาปลาส ก็ได้ข้อสรุปเดียวกัน ตามความเข้าใจล่าสุด หลุมดำถูกอธิบายโดยทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป ซึ่งทำนายว่าเมื่อมีมวลขนาดใหญ่มากในพื้นที่ขนาดเล็ก เส้นทางในพื้นที่ว่างนั้นจะถูกทำให้บิดเบี้ยวไปจนถึงศูนย์กลางของปริมาตร เพื่อไม่ให้วัตถุหรือรังสีใดๆ สามารถออกมาได้ ขณะที่ทฤษฏีสัมพัทธภาพทั่วไปอธิบายว่าหลุมดำเป็นพื้นที่ว่างที่มีความเป็นภาวะเอกฐานที่จุดศูนย์กลางและที่ขอบฟ้าเหตุการณ์บริเวณขอบ คำอธิบายนี่เปลี่ยนไปเมื่อค้นพบกลศาสตร์ควอนตัม การค้นคว้าในหัวข้อนี้แสดงให้เห็นว่านอกจากหลุมดำจะดึงวัตถุไว้ตลอดกาล แล้วยังมีการค่อย ๆ ปลดปล่อยพลังงานภายใน เรียกว่า รังสีฮอว์คิง และอาจสิ้นสุดลงในที่สุด อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีคำอธิบายเกี่ยวกับหลุมดำที่ถูกต้องตามทฤษฎีควอนตัม.

รูหนอนและหลุมดำ · สามเหลี่ยมมังกรและหลุมดำ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง รูหนอนและสามเหลี่ยมมังกร

รูหนอน มี 13 ความสัมพันธ์ขณะที่ สามเหลี่ยมมังกร มี 33 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 2, ดัชนี Jaccard คือ 4.35% = 2 / (13 + 33)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง รูหนอนและสามเหลี่ยมมังกร หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »