โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ริชาร์ด ไฟน์แมนและสถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนีย

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ริชาร์ด ไฟน์แมนและสถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนีย

ริชาร์ด ไฟน์แมน vs. สถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนีย

ริชาร์ด ฟิลลิปส์ ไฟน์แมน (Richard Phillips Feynman) นักฟิสิกส์ชาวอเมริกัน เกิดเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม ค.ศ. 1918 เสียชีวิต 15 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1988 เป็นหนึ่งในนักฟิสิกส์ ที่ทรงคุณค่าและมีอิทธิพลมากที่สุดของคริสต์ศตวรรษที่ 20 ในการจัดอันดับนักฟิสิกส์ยอดเยี่ยมตลอดกาลของโลก โดยสำนักข่าวบีบีซี ที่ให้นักฟิสิกส์ชั้นนำของโลกร่วม 100 คนช่วยกันตัดสิน ไฟน์แมน เป็นนักฟิสิกส์สมัยใหม่เพียงคนเดียว ที่ชนะใจเหล่านักฟิสิกส์ชั้นนำทั่วโลก โดยติดอันดับ 10 คนแรกของโลก (สมัยใหม่ในที่นี้ คือนับหลังจากยุคทองของทฤษฎีควอนตัม คือในช่วงครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 20 ถึงปัจจุบัน ค.ศ. 2005) แม้แต่นักฟิสิกส์ผู้โด่งดังอย่างสตีเฟ่น ฮอว์คิง ก็ยังได้เพียงอันดับ 16 ในผลโหวต แน่นอนผลโหวตนี้ไม่สามารถตัดสินอะไรได้ แต่ก็เป็นเครื่องบ่งชี้อย่างดีว่า ไฟน์แมนมีอิทธิพลต่อวงการฟิสิกส์ยุคปัจจุบันแค่ไหน ทั้งในแง่ผลงานทางวิชาการ การสอนหนังสือ และการใช้ชีวิต ผลงานของไฟน์แมนมีมากมาย เช่น การขยายทฤษฎีพลศาสตร์ไฟฟ้าควอนตัมให้กว้างใหญ่ขึ้นมาก ซึ่งนำไปสู่รางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ เมื่อปี ค.ศ. 1965 ซึ่งเขาได้ร่วมกับจูเลียน ชวิงเกอร์ และโทะโมะนะกะ ชินอิจิโร ไฟน์แมนปฏิเสธตำแหน่งนักวิจัยที่มหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน ที่ที่ไอน์สไตน์อยู่, เพียงเพราะเขาต้องการสอนหนังสือให้กับเด็ก ครั้งหนึ่งเขาเคยพูดว่า "ผมอยากสอน เพราะในตอนที่ผมไม่มีไอเดียอะไรใหม่ ๆ ในงานวิจัย ผมก็ยังสามารถให้อะไรกับสังคมได้" ไฟน์แมนตัดสินใจรับตำแหน่งที่สถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนีย (แคลเทค) สร้างยุคทองของมหาวิทยาลัย ร่วมกับเมอเรย์ เกลมานน์ ผู้คิดค้นทฤษฎีควาร์ก, ไลนัส พอลลิง หนึ่งในนักเคมีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในศตวรรษที่ 20 หนึ่งในผู้คิดค้นทฤษฎีควอนตัมเคมี และนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำท่านอื่นๆ ในแง่ของการเป็นอาจารย์ เขาได้เขียนคำบรรยายฟิสิกส์ของไฟน์แมน (Feynman Lectures on Physics) อันโด่งดัง ซึ่งเป็นแรงบันดาลใจให้กับผู้สอนวิชาฟิสิกส์เป็นจำนวนมาก ทั้งในแง่เนื้อหาและการนำเสนอ เป็นการพลิกการเรียนการสอนฟิสิกส์แบบเก่า ๆ ให้เข้าใจง่าย นอกจากนั้นเขายังเป็นหนึ่งในผู้พัฒนาระเบิดนิวเคลียร์ลูกแรกของโลก ในโครงการแมนฮัตตัน เป็นหนึ่งในผู้ตรวจสอบการระเบิดของกระสวยอวกาศแชลเลนเจอร์ และเป็นผู้ริเริ่มเสนอแนวคิดของนาโนเทคโนโลยี. ห้องสมุดมิลลิแกน สถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนีย สถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนีย หรือ แคลเทค (California Institute of Technology ย่อว่า CalTech) เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนในสหรัฐอเมริกา ตั้งอยู่ที่เมืองแพซาดีนา ในรัฐแคลิฟอร์เนีย ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2434 (ค.ศ. 1891) ในปัจจุบัน (พ.ศ. 2548) มีนักศึกษาประมาณ 2,000 คน แบ่งเป็นระดับปริญญาตรี 1,000 คน และ ปริญญาโทเอก 1,000 คน สถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนียมีชื่อเสียงในด้านงานวิจัยหลายด้านโดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้าน วิทยาศาสตร์ และ วิศวกรรมศาสตร์ โดยเฉพาะในสาขาวิศวกรรมโยธา วิศวกรรมอากาศยาน และวิศวกรรมเครื่องกล โดยมีจำนวนผู้ได้รับรางวัลโนเบลมากเป็นจำนวนหนึ่ง.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ริชาร์ด ไฟน์แมนและสถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนีย

ริชาร์ด ไฟน์แมนและสถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนีย มี 8 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): พ.ศ. 2508กระสวยอวกาศชาเลนเจอร์รางวัลโนเบลรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์สหรัฐอาวุธนิวเคลียร์นาโนเทคโนโลยีโครงการแมนฮัตตัน

พ.ศ. 2508

ทธศักราช 2508 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1965 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันศุกร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

พ.ศ. 2508และริชาร์ด ไฟน์แมน · พ.ศ. 2508และสถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนีย · ดูเพิ่มเติม »

กระสวยอวกาศชาเลนเจอร์

กระสวยอวกาศชาเลนเจอร์ (Shuttle Orbiter Challenger) รหัสประจำยานคือ OV-099 เป็นกระสวยอวกาศลำที่สองที่ใช้ปฏิบัติภารกิจในอวกาศขององค์การนาซ่า สร้างถัดจากกระสวยอวกาศโคลัมเบีย เริ่มปล่อยสู่อวกาศครั้งแรก(ภารกิจที่ STS-6) ในวันที่ 4 เมษายน..

กระสวยอวกาศชาเลนเจอร์และริชาร์ด ไฟน์แมน · กระสวยอวกาศชาเลนเจอร์และสถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนีย · ดูเพิ่มเติม »

รางวัลโนเบล

หรียญรางวัลโนเบล รางวัลโนเบล (Nobelpriset; Nobel Prize) เป็นรางวัลประจำปีระดับนานาชาติ ซึ่งจัดโดยคณะกรรมการสแกนดิเนเวีย พิจารณาผลงานวิจัยหรือความอัจฉริยะและความเชี่ยวชาญที่โดดเด่น หรือสร้างคุณประโยชน์ให้กับมนุษยชาติ ทั้งในด้านวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรม ตามเจตจำนงของอัลเฟรด โนเบล นักเคมีชาวสวีเดน ผู้ประดิษฐ์ไดนาไมท์ โดยก่อตั้งขึ้นครั้งแรกในปี..

รางวัลโนเบลและริชาร์ด ไฟน์แมน · รางวัลโนเบลและสถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนีย · ดูเพิ่มเติม »

รางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์

หรียญรางวัลโนเบล รางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ (Nobelpriset i fysik, Nobel Prize in Physics) เป็นรางวัลโนเบลหนึ่งใน 5 สาขา ริเริ่มโดยอัลเฟรด โนเบล ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1895 โดยสถาบัน Royal Swedish Academy of Sciences แห่งประเทศสวีเดน เป็นผู้คัดเลือกผู้รับรางวัล ซึ่งมีผลงานวิจัยด้านฟิสิกส์อย่างโดดเด่น มีพิธีมอบเป็นครั้งแรก เมื่อ ค.ศ. 1901 พิธีมอบรางวัลมีขึ้นในวันที่ 10 ธันวาคมของทุกปี ซึ่งตรงกับวันคล้ายวันเสียชีวิตของอัลเฟรด โนเบล ที่กรุงสตอกโฮล์ม.

รางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์และริชาร์ด ไฟน์แมน · รางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์และสถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนีย · ดูเพิ่มเติม »

สหรัฐ

หรัฐอเมริกา (United States of America) โดยทั่วไปเรียก สหรัฐ (United States) หรือ อเมริกา (America) เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐ ประกอบด้วยรัฐ 50 รัฐ และหนึ่งเขตปกครองกลาง ห้าดินแดนปกครองตนเองสำคัญ และเกาะเล็กต่าง ๆ โดย 48 รัฐและเขตปกครองกลางตั้งอยู่ ณ ทวีปอเมริกาเหนือระหว่างประเทศแคนาดาและเม็กซิโก รัฐอะแลสกาอยู่มุมตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาเหนือ มีเขตแดนติดต่อกับประเทศแคนาดาทางทิศตะวันออกและข้ามช่องแคบเบริงจากประเทศรัสเซียทางทิศตะวันตก และรัฐฮาวายเป็นกลุ่มเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกกลาง ดินแดนของสหรัฐกระจายอยู่ตามมหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลแคริบเบียน ครอบคลุมเขตเวลาเก้าเขต ภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศและสัตว์ป่าของประเทศหลากหลายอย่างยิ่ง สหรัฐมีพื้นที่ขนาด 9.8 ล้านตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 326 ล้านคน ทำให้มีพื้นที่ขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของโลก และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก เป็นประเทศซึ่งมีความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรม และเป็นที่พำนักของประชากรเข้าเมืองใหญ่สุดในโลกAdams, J.Q., and Pearlie Strother-Adams (2001).

ริชาร์ด ไฟน์แมนและสหรัฐ · สถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนียและสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

อาวุธนิวเคลียร์

ญี่ปุ่น เมื่อปี พ.ศ. 2488 ปลายสงครามโลกครั้งที่สอง อาวุธนิวเคลียร์ เป็นวัตถุระเบิดซึ่งมีอำนาจทำลายล้างมาจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ ไม่ว่าจะเป็นปฏิกิริยาฟิชชัน(atomic bomb)อย่างเดียว หรือ ฟิชชันและฟิวชัน(hydrogen bomb)รวมกัน ปฏิกิริยาทั้งสองปลดปล่อยพลังงานปริมาณมหาศาลจากสสารปริมาณค่อนข้างน้อย การทดสอบระเบิดฟิชชัน ("อะตอม") ลูกแรกปลดปล่อยพลังงานออกมาเทียบเท่ากับทีเอ็นทีประมาณ 20,000 ตัน การทดสอบระเบิดเทอร์โมนิวเคลียร์ ("ระเบิดไฮโดรเจน") ลูกแรก ปลดปล่อยพลังงานออกมาเท่ากับทีเอ็นทีประมาณ 10,000,000 ตัน อาวุธเทอร์โมนิวเคลียร์สมัยใหม่ที่หนักกว่า 1,100 กิโลกรัมเล็กน้อย สามารถก่อให้เกิดแรงระเบิดเทียบเท่ากับการจุดจามทีเอ็นทีมากกว่า 1.2 ล้านตัน ดังนั้น กระทั่งวัตถุนิวเคลียร์ลูกเล็กๆ ที่ขนาดไม่ใหญ่ไปกว่าระเบิดธรรมดา สามารถทำลายล้างนครทั้งนครได้ ด้วยแรงระเบิด ไฟและกัมมันตรังสี อาวุธนิวเคลียร์ถูกพิจารณาว่าเป็นอาวุธอานุภาพทำลายล้างสูง และการใช้และควบคุมอาวุธนิวเคลียร์ได้กลายเป็นจุดสนใจสำคัญของนโยบายความสัมพันธ์ระหว่างประเทศนับแต่ถือกำเนิดขึ้น มีอาวุธนิวเคลียร์เพียงสองชิ้นเท่านั้นที่เคยใช้ตลอดห้วงการสงคราม ทั้งสองครั้งโดยสหรัฐอเมริกายามสงครามโลกครั้งที่สองใกล้ยุติ วันที่ 6 สิงหาคม..

ริชาร์ด ไฟน์แมนและอาวุธนิวเคลียร์ · สถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนียและอาวุธนิวเคลียร์ · ดูเพิ่มเติม »

นาโนเทคโนโลยี

ฟืองขนาดนาโน นาโนเทคโนโลยี (อังกฤษ: Nanotechnology) คือ เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการจัดการ การสร้างหรือการวิเคราะห์ วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องจักรหรือผลิตภัณฑ์ที่มีขนาดเล็กมาก ๆ ในระดับนาโนเมตร(ประมาณ 1-100 นาโนเมตร) รวมถึงการออกแบบหรือการประดิษฐ์เครื่องมือเพื่อใช้สร้างหรือวิเคราะห์วัสดุในระดับที่เล็กมากๆ เช่น การจัดอะตอมและโมเลกุลในตำแหน่งที่ต้องการได้อย่างถูกต้องแม่นยำ ส่งผลให้โครงสร้างของวัสดุหรืออุปกรณ์มีคุณสมบัติพิเศษขึ้นไม่ว่าทางด้านฟิสิกส์ เคมี หรือชีวภาพ และสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ นาโนศาสตร์ (Nanoscience) คือ วิทยาศาสตร์แขนงหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา วัสดุ อินทรีย์ อนินทรีย์ และรวมไปถึงสารชีวโมเลกุล ที่มีโครงสร้างสามมิติ ยาว กว้าง สูง ด้านใดด้านหนึ่งอยู่ระหว่าง 1-100 นาโนเมตร โดยวัสดุชนิดใดก็ตาม ถ้ามีมิติทั้งสามเล็กกว่า 100 นาโนเมตร วัสดุชนิดนั้นก็จะถูกเรียกว่า สาม-ดี วัสดุนาโน (3-D nanomaterial) ถ้ามีแค่ สอง หรือ หนึ่งมิติ ที่เล็กกว่า 100 นาโนเมตร ก็จะถูกเรียกว่าวัสดุ สอง-ดี (2-D) และ หนึ่ง-ดี (1-D) ตามลำดับ คุณสมบัติของวัสดุนาโนจะแตกต่างจากวัสดุขนาดใหญ่ (bulk materials) ไม่ว่าจะเป็นคุณสมบัติ ทางฟิสิกส์ เคมี และชีวภาพ ล้วนแล้วแต่มีคุณสมบัติเฉพาะตัว ดังนั้นถ้าพูดถึง นาโนศาสตร์ ก็จะเป็นการสร้างหรือศึกษาวัสดุที่มีโครงสร้างในระดับนาโนเมตร โดยผลลัพธ์ที่ได้ก็คือ จะได้วัสดุชนิดใหม่หรือรู้คุณสมบัติที่แตกต่าง และน่าสนใจ โดยคุณสมบัติเหล่านั้นจะถูกอธิบายด้วยทฤษีทางควอนตัม (quantum theory).

นาโนเทคโนโลยีและริชาร์ด ไฟน์แมน · นาโนเทคโนโลยีและสถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนีย · ดูเพิ่มเติม »

โครงการแมนฮัตตัน

กรุงลอนดอน โครงการแมนฮัตตัน (Manhattan Project หรือชื่อที่เป็นทางการ Manhattan Engineering District) เป็นความพยายามในการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ของสหรัฐอเมริกา ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง โดยได้รับความช่วยเหลือจากสหราชอาณาจักรและประเทศแคนาดา การวิจัยนำโดยนักฟิสิกส์ชาวอเมริกัน เจ. โรเบิร์ต ออพเพนไฮเมอร์ และอยู่ใต้การดูแลของนายพล Leslie R. Groves ที่ห้องปฏิบัติการในบริเวณลอสอาลาโมส รัฐนิวเม็กซิโก สืบค้นวันที่ 7 เมษายน..

ริชาร์ด ไฟน์แมนและโครงการแมนฮัตตัน · สถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนียและโครงการแมนฮัตตัน · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ริชาร์ด ไฟน์แมนและสถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนีย

ริชาร์ด ไฟน์แมน มี 28 ความสัมพันธ์ขณะที่ สถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนีย มี 17 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 8, ดัชนี Jaccard คือ 17.78% = 8 / (28 + 17)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ริชาร์ด ไฟน์แมนและสถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนีย หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »