โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

รายชื่อแหล่งมรดกโลกในสหราชอาณาจักร

ดัชนี รายชื่อแหล่งมรดกโลกในสหราชอาณาจักร

สโตนเฮนจ์เป็นส่วนหนึ่งของแหล่งมรดกโลกสโตนเฮนจ์ เอฟเบอรี และสถานที่ใกล้เคียง ในสหราชอาณาจักรและอาณานิคมโพ้นทะเลมีแหล่งมรดกโลกที่ขึ้นทะเบียนโดยยูเนสโกทั้งหมด 31 แห่ง โดยอยู่ในอังกฤษ 17 แห่ง, สกอตแลนด์ 5 แห่ง, อังกฤษและสกอตแลนด์ 1 แห่ง, เวลส์ 3 แห่ง, ไอร์แลนด์เหนือ 1 แห่ง และในดินแดนโพ้นทะเลเบอร์มิวดา หมู่เกาะพิตแคร์น เซนต์เฮเลนา และยิบรอลตาร์ที่ละ 1 แห่ง แหล่งมรดกโลกของสหราชอาณาจักรที่ได้ขึ้นทะเบียนในครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2529 ได้แก.

90 ความสัมพันธ์: Anguillaบาธชนพื้นเมืองในทวีปอเมริกาฟาวน์ทินส์แอบบีย์พ.ศ. 1675พ.ศ. 2155พ.ศ. 2248พ.ศ. 2265พ.ศ. 2489พ.ศ. 2529พ.ศ. 2548พ.ศ. 2549พ.ศ. 2551พระราชวังเวสต์มินสเตอร์พระเจ้าวิลเลียมที่ 1 แห่งอังกฤษพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 1 แห่งอังกฤษพระเจ้าเฮนรีที่ 3 แห่งอังกฤษกรีนิชการพิชิตอังกฤษของชาวนอร์มันการยุบอารามการปฏิวัติอุตสาหกรรมกำแพงฮาดริอานุสมรดกโลกมหาสมุทรแอตแลนติกมหาสมุทรแปซิฟิกยิบรอลตาร์ยุคหินใหม่รัฐสภาสหราชอาณาจักรลอนดอนลานเซลอต บราวน์ลิเวอร์พูลวังเบลนิมวิลต์เชอร์วิลเลียม เชกสเปียร์วิลเลียม เคนท์ศิลปะจินตนิยมสวนพฤกษศาสตร์หลวงเมืองคิวสหราชอาณาจักรสถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอทิกสถาปัตยกรรมกอทิกสถาปัตยกรรมนอร์มันสถาปัตยกรรมแบบปัลลาดีโอสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์สโตนเฮนจ์หมู่เกาะพิตแคร์นหอดูดาวหลวงกรีนิชหอคอยแห่งลอนดอนหินบะซอลต์ออร์กนีย์อะทอลล์...อาสนวิหารแคนเทอร์เบอรีอาสนวิหารเดอรัมอินิโก โจนส์องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติอ๊อกซฟอร์ดเชอร์จอห์น แวนบรูห์จอห์น เชอร์ชิล ดยุกแห่งมาร์ลบะระจักรวรรดิบริติชจักรวรรดิโรมันดอร์เซตดาร์บิเชอร์คริสตจักรแห่งอังกฤษคริสโตเฟอร์ เรนคอร์นวอลล์คัมเบรียคณะกรรมการมรดกโลกซัมเมอร์เซตประเทศกำลังพัฒนาประเทศสกอตแลนด์ประเทศอังกฤษประเทศเวลส์ปราสาทเดอรัมนอร์ฟอล์กนักบุญบีดนิโคลัส ฮอคสมอร์นครเวสต์มินสเตอร์แมนเชสเตอร์ไอร์แลนด์เหนือเบอร์มิวดาเกรเทอร์ลอนดอนเลกดิสตริกต์เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์เอดินบะระเดวอนเดอรัมเคนต์เซนต์ออกัสตินส์แอบบีย์เซนต์เฮเลนาเซนต์เฮเลนา อัสเซนชัน และตริสตันดากูนยา19 มกราคม ขยายดัชนี (40 มากกว่า) »

Anguilla

Anguilla อาจหมายถึง.

ใหม่!!: รายชื่อแหล่งมรดกโลกในสหราชอาณาจักรและAnguilla · ดูเพิ่มเติม »

บาธ

(ภาษาอังกฤษ: Bath) เป็นเมืองที่มีฐานะนครในมณฑลซอมเมอร์เซ็ทในภาคการปกครองตะวันตกเฉียงใต้ของอังกฤษ บาธตั้งอยู่ห่างจากลอนดอนไปทางตะวันตก 156 กิโลเมตร และจากบริสตอลไปทางตะวันออกเฉียงใต้ 21 กิโลเมตร บาธมีประชากรทั้งหมดประมาณ 80,000 คน บาธได้รับพระราชทานฐานะเป็น “นคร” โดยสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 ในปี..

ใหม่!!: รายชื่อแหล่งมรดกโลกในสหราชอาณาจักรและบาธ · ดูเพิ่มเติม »

ชนพื้นเมืองในทวีปอเมริกา

วาดของชนกลุ่มน้อยหลากหลายกลุ่มในอเมริกา ก่อนยุคศตวรรษที่ 20 ชาวอินเดียนแดง ชนพื้นเมืองในทวีปอเมริกา หรือ อินเดียนแดง หรือ ชนพื้นเมืองชาวอเมริกัน (Indigenous people of the Americas หรือ Red Indian หรือ Native American) เป็นกลุ่มคนที่อาศัยในทวีปอเมริกามานานก่อนที่ชาวยุโรปจะเข้ามาอพยพย้ายถิ่นฐานมาตั้งรกราก ในอดีตได้มีสงครามเกิดขึ้นมากมายในทวีปอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ ในการแย่งชิงดินแดน การต่อสู้ รวมถึงการค้าที่เกิดขึ้นระหว่างชาวยุโรป กับชาวอินเดียนแดง ในปัจจุบันชาวอินเดียนแดงบางกลุ่มอาศัยรวมอยู่กับชาวอเมริกันทั่วไป และบางกลุ่มได้จัดตั้งพื้นที่อาศัยในเขตสงวนอินเดียนแดง คำว่าอินเดียนแดงนั้น ในภาษาอังกฤษใช้คำว่า Indian หรือ Native American โดยในอดีตได้ใช้คำว่า Red Indian แต่ได้เลิกใช้แล้วโดยถือว่าเป็นคำไม่สุภาพในการกล่าวถึง แบ่งออกเป็น 3 เผ่าใหญ่ ได้แก่ เผ่ามายา เผ่าแอซแทค และเผ่าอิน.

ใหม่!!: รายชื่อแหล่งมรดกโลกในสหราชอาณาจักรและชนพื้นเมืองในทวีปอเมริกา · ดูเพิ่มเติม »

ฟาวน์ทินส์แอบบีย์

ฟาวน์ทินส์แอบบีย์ (Fountains Abbey /ˈfaʊntɪns/) เดิมเป็นแอบบีย์โรมันคาทอลิกสังกัดคณะซิสเตอร์เชียนที่ตั้งอยู่ที่เทศมณฑลนอร์ธยอร์กเชอร์ที่ก่อตั้งเมื่อปี..

ใหม่!!: รายชื่อแหล่งมรดกโลกในสหราชอาณาจักรและฟาวน์ทินส์แอบบีย์ · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1675

ทธศักราช 1675 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: รายชื่อแหล่งมรดกโลกในสหราชอาณาจักรและพ.ศ. 1675 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2155

ทธศักราช 2155 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: รายชื่อแหล่งมรดกโลกในสหราชอาณาจักรและพ.ศ. 2155 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2248

ทธศักราช 2248 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: รายชื่อแหล่งมรดกโลกในสหราชอาณาจักรและพ.ศ. 2248 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2265

ทธศักราช 2265 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: รายชื่อแหล่งมรดกโลกในสหราชอาณาจักรและพ.ศ. 2265 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2489

ทธศักราช 2489 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1946 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอังคารตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: รายชื่อแหล่งมรดกโลกในสหราชอาณาจักรและพ.ศ. 2489 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2529

ทธศักราช 2529 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1986 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพุธตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: รายชื่อแหล่งมรดกโลกในสหราชอาณาจักรและพ.ศ. 2529 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2548

ทธศักราช 2548 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2005 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันเสาร์ตามปฏิทินเกรโกเรียน และเป็น.

ใหม่!!: รายชื่อแหล่งมรดกโลกในสหราชอาณาจักรและพ.ศ. 2548 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2549

ทธศักราช 2549 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2006 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอาทิตย์ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น.

ใหม่!!: รายชื่อแหล่งมรดกโลกในสหราชอาณาจักรและพ.ศ. 2549 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2551

ทธศักราช 2551 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2008 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันอังคารตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น.

ใหม่!!: รายชื่อแหล่งมรดกโลกในสหราชอาณาจักรและพ.ศ. 2551 · ดูเพิ่มเติม »

พระราชวังเวสต์มินสเตอร์

ระราชวังเวสต์มินสเตอร์ หรือ ตึกรัฐสภาเวสต์มินสเตอร์ (ภาษาอังกฤษ: Palace of Westminster หรือ Houses of Parliament หรือ Westminster Palace) เป็นสถานที่ที่สภาสองสภาของรัฐสภาแห่งสหราชอาณาจักร (สภาขุนนาง และสภาสามัญชน) ประชุม พระราชวังตั้งอยู่บนฝั่งเหนือของแม่น้ำเทมส์ในนครเวสต์มินสเตอร์ของลอนดอนบะระห์ไม่ไกลจากพระราชวังไวท์ฮอลล์ พระราชวังเวสต์มินสเตอร์ สร้างในปี..

ใหม่!!: รายชื่อแหล่งมรดกโลกในสหราชอาณาจักรและพระราชวังเวสต์มินสเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าวิลเลียมที่ 1 แห่งอังกฤษ

ระเจ้าวิลเลียมที่ 1 แห่งอังกฤษ (William I of England) หรือพระเจ้าวิลเลียมผู้พิชิต (William the Conqueror) หรือพระเจ้าวิลเลียมแห่งนอร์ม็องดี (William II of Normandy) หรือบ้างเรียก พระเจ้าวิลเลียมลูกนอกสมรส (William the Bastard) พระเจ้าวิลเลียมที่ 1 ประสูติเมื่อประมาณปี ค.ศ. 1027 (พ.ศ. 1570) และเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 9 กันยายน ค.ศ. 1087 (พ.ศ. 1630) ทรงเป็นลูกนอกสมรสของโรเบิร์ตที่ 2 ดยุกแห่งนอร์ม็องดีและเฮอร์เลวา เดิมทรงมีฐานะเป็นดยุกแห่งนอร์ม็องดีในฝรั่งเศส เสด็จขึ้นครองราชบัลลังก์อังกฤษเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม ค.ศ. 1066 (พ.ศ. 1609) หลังจากที่พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดธรรมสักขีสิ้นพระชนม์เมื่อ..

ใหม่!!: รายชื่อแหล่งมรดกโลกในสหราชอาณาจักรและพระเจ้าวิลเลียมที่ 1 แห่งอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 1 แห่งอังกฤษ

ระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 1 แห่งอังกฤษ (Edward I of England) (17 มิถุนายน ค.ศ. 1239 – 7 กรกฎาคม ค.ศ. 1307) หรือพระนามเดิมคือ เอ็ดเวิร์ด ลองแชงก์ส (Edward Longshanks) เป็นพระมหากษัตริย์อังกฤษในราชวงศ์แพลนแทเจเนต พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 1 รู้จักกันในนามว่า “Longshanks” เพราะพระวรกายที่สูงราว 6 ฟุต 2 นิ้ว หรือ “ผู้พระราชทานกฎหมาย” (the Lawgiver) เพราะทรงเป็นผู้ปฏิรูปกฎหมายของอังกฤษ และ “ผู้ปราบชาวสกอต” (Hammer of the Scots) เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน ค.ศ. 1239 ที่พระราชวังเวสต์มินสเตอร์ในกรุงลอนดอนของประเทศอังกฤษ เป็นพระราชโอรสในพระเจ้าเฮนรีที่ 3 แห่งอังกฤษ และพระนางเอลินอร์แห่งพรอว็องส์ ได้อภิเษกสมรสกับเอลินอร์แห่งคาสตีล และต่อมากับพระนางมาร์เกอรีตแห่งฝรั่งเศส และทรงราชย์ระหว่างวันที่ 17 พฤศจิกายน ค.ศ. 1272 จนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม ค.ศ. 1307 ที่บรัฟบายแซนด์ส คัมเบอร์แลนด์ อังกฤษ พระเจ้าเอ็ดเวิร์ด เป็นพระมหากษัตริย์ผู้ได้รับชัยชนะต่อเวลส์และทรงพยายามปราบปรามสกอตแลนด์แต่ไม่สำเร็จ แม้ว่าพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 1 จะเป็นพระมหากษัตริย์อังกฤษพระองค์ที่ 4 ที่มีพระนามว่า “เอ็ดเวิร์ด” หลังจาก พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดผู้อาวุโส พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดมรณสักขี และพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดธรรมสักขี แต่การลำดับนามเดียวกันด้วยตัวเลขเป็นประเพณีของชาวนอร์มัน ฉะนั้นพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดสามพระองค์ที่ทรงปกครองอังกฤษก่อนหน้าการพิชิตอังกฤษของชาวนอร์มันจึงมิได้รับการเรียงลำดับแต่ทรงใช้พระสมัญญานามเพื่อบ่งความแตกต่างของแต่ละพระองค์แทน เอ็ดเวิร์ด ลองแชงค์จึงกลายเป็นพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 1 ในปี..

ใหม่!!: รายชื่อแหล่งมรดกโลกในสหราชอาณาจักรและพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 1 แห่งอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าเฮนรีที่ 3 แห่งอังกฤษ

ระเจ้าเฮนรีที่ 3 แห่งอังกฤษ (Henry III of England) (1 ตุลาคม ค.ศ. 1207 – 16 พฤศจิกายน ค.ศ. 1272) เป็นพระเจ้าแผ่นดินราชอาณาจักรอังกฤษสมัยราชวงศ์แพลนแทเจเนต พระเจ้าเฮนรีที่ 3 เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 1207 ที่ปราสาทวินเชสเตอร์ แฮมเชอร์ ประเทศอังกฤษ เป็นพระราชโอรสองค์โตในพระเจ้าจอห์นแห่งอังกฤษ หรือจอห์น แลกแลนด์ และอิซาเบลลาแห่งอ็องกูแลม อภิเษกสมรสกับพระนางเอลินอร์แห่งพรอว็องส์ และทรงราชย์ระหว่างวันที่ 18 ตุลาคม ค.ศ. 1216 จนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน ค.ศ. 1272 ที่พระราชวังเวสต์มินสเตอร์ ลอนดอน อังกฤษ พระบรมศพอยู่ที่เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์ พระเจ้าเฮนรีที่ 3 ทรงขึ้นครองราชสมบัติตั้งแต่ยังไม่ทรงบรรลุนิติภาวะ แม้ว่าจะทรงราชย์เป็นระยะเวลานานแต่ไม่ทรงมีความสำเร็จอะไรมากนักและมิได้ทรงเป็นนักการทหารหรือนักการปกครองผู้สามารถแต่อย่างใด แต่อังกฤษมีความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจในรัชสมัยของพระองค์ ทรงใช้เมืองวินเชสเตอร์เป็นที่ว่าราชการ พระองค์ทรงขยายแอบบีและทรงสร้างอนุสรณ์แก่พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดธรรมสักขี ระหว่างที่ยังทรงพระเยาว์พระเจ้าเฮนรีทรงมีวิลเลียม มาร์แชลเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ อังกฤษที่พระองค์ได้รับมาผ่านการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างในสมัยของพระราชบิดา ทรงใช้เวลาส่วนใหญ่ในรัชสมัยต่อสู้กับขุนนางเรื่องมหากฎบัตร (Magna Carta) และสิทธิในการเป็นพระมหากษัตริย์ ในที่สุดก็ทรงถูกบังคับให้เรียกประชุมรัฐสภาเป็นครั้งแรกในปี..

ใหม่!!: รายชื่อแหล่งมรดกโลกในสหราชอาณาจักรและพระเจ้าเฮนรีที่ 3 แห่งอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

กรีนิช

หอดูดาวหลวงกรีนิช กรีนิช (Greenwich) เป็นเขตการปกครองของลอนดอน สหราชอาณาจักร ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของอังกฤษ เป็นที่ตั้งของหอดูดาวหลวงกรีนิชระหว่างปี..

ใหม่!!: รายชื่อแหล่งมรดกโลกในสหราชอาณาจักรและกรีนิช · ดูเพิ่มเติม »

การพิชิตอังกฤษของชาวนอร์มัน

ผ้าปักบายู (Bayeux Tapestry) แสดงศึกเฮสติงส์และเหตุการณ์ที่นำมาสู่เหตุการณ์ที่ว่า ชัยชนะของชาวนอร์มันต่ออังกฤษ หรือ การรุกรานของชาวนอร์มัน (ภาษาอังกฤษ: Norman conquest of England) เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1066 โดยการรุกรานราชอาณาจักรอังกฤษที่นำโดยดยุคแห่งนอร์มังดี และชัยชนะที่ได้รับที่ศึกเฮสติงส์ (Battle of Hastings) ผลของสงครามคือการปกครองของชาวนอร์มันในอังกฤษ เหตุการณ์ครั้งนี้เป็นจุดทำให้มีการเปลี่ยนแปลงสำคัญๆ หลายอย่างในประวัติศาสตร์อังกฤษ ชัยชนะของชาวนอร์มันทำให้อังกฤษเพิ่มความใกล้ชิดระหว่างอังกฤษและผืนแผ่นดินใหญ่ยุโรปโดยการนำเจ้านายนอร์มันเข้ามาปกครองบริหารอังกฤษซึ่งทำให้ลดอิทธิพลจากสแกนดิเนเวียลง ชัยชนะทำให้เกิดราชวงศ์ที่มีอำนาจมากที่สุดราชวงศ์หนึ่งในยุโรปรวมทั้งการก่อตั้งระบบการปกครองที่มีระเบียบแบบแผน และชัยชนะเปลี่ยนแปลงภาษาและวัฒนธรรมอังกฤษและเป็นพื้นฐานของความเป็นคู่แข่งระหว่างอังกฤษและฝรั่งเศสที่ต่อเนื่องกันมาเป็นพักๆ ร่วมพันปี.

ใหม่!!: รายชื่อแหล่งมรดกโลกในสหราชอาณาจักรและการพิชิตอังกฤษของชาวนอร์มัน · ดูเพิ่มเติม »

การยุบอาราม

อดีตกลาสตันบรีแอบบีย์ การยุบอาราม (Dissolution of the Monasteries; Suppression of the Monasteries) เป็นกระบวนการตามกฎหมายและการปกครองในช่วง ค.ศ. 1538 ถึงปี ค.ศ. 1541 โดยพระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษโปรดให้ยุบอาราม ไพรออรี คอนแวนต์ และไฟรอารี ในประเทศอังกฤษ เวลส์ และไอร์แลนด์ ตามอำนาจใน “พระราชบัญญัติอำนาจสูงสุดทางศาสนา” อนุมัติโดยรัฐสภาเมื่อปี ค.ศ. 1534 ซึ่งระบุให้พระเจ้าแผ่นดินอังกฤษเป็น “ประมุขสูงสุดของคริสตจักรในอังกฤษ” (Supreme Head of the Church in England) ซึ่งถือเป็นการแยกตัวออกมาจากคริสตจักรโรมันคาทอลิกอย่างเป็นทางการ และโดย “พระราชบัญญัติปราบปรามฉบับที่ 1 (ค.ศ. 1536)” และ “พระราชบัญญัติปราบปรามฉบับที่ 2 (ค.ศ. 1539)” การยุบอารามในอังกฤษเป็นเหตุการณ์ทางการเมืองหนึ่งเพื่อต่อต้านคริสตจักรโรมันคาทอลิกซึ่งเริ่มคุกรุ่นอยู่ในทวีปยุโรปขณะนั้น ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปศาสนาฝ่ายโปรเตสแตนต์จาก แต่เหตุผลการแยกตัวจากนิกายโรมันคาทอลิกของอังกฤษมิใช่ข้อขัดแย้งทางปรัชญาทางศาสนาดังเช่นในประเทศอื่นๆ เช่น ประเทศเยอรมนี ประเทศฝรั่งเศส หรือ โบฮีเมีย แต่เป็นเหตุผลส่วนพระองค์ของพระเจ้าเฮนรีที่ 8.

ใหม่!!: รายชื่อแหล่งมรดกโลกในสหราชอาณาจักรและการยุบอาราม · ดูเพิ่มเติม »

การปฏิวัติอุตสาหกรรม

รงงานปั่นด้ายในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม เครื่องจักรไอน้ำของเจมส์ วัตต์ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นการปฏิวัติอุตสาหกรรม ภาพ ''เหล็กและถ่านหิน'' โดยวิลเลียม เบลล์ สกอตต์, ค.ศ. 1855-60 การปฏิวัติอุตสาหกรรม (Industrial Revolution) คือช่วงเวลาตั้งแต..

ใหม่!!: รายชื่อแหล่งมรดกโลกในสหราชอาณาจักรและการปฏิวัติอุตสาหกรรม · ดูเพิ่มเติม »

กำแพงฮาดริอานุส

กำแพงฮาดริอานุส (Hadrian’s Wall; Vallum Aelium (the Aelian wall)) “กำแพงฮาดริอานุส” เป็นกำแพงหินบางส่วนและกำแพงหญ้าบางส่วนที่สร้างโดยจักรวรรดิโรมันขวางตลอดแนวตอนเหนือของเกาะอังกฤษใต้แนวพรมแดนอังกฤษและสกอตแลนด์ในปัจจุบัน การก่อสร้างกำแพงเริ่มขึ้นในรัชสมัยของจักรพรรดิฮาดริอานุสในปี ค.ศ. 122 “กำแพงฮาดริอานุส” เป็นหนึ่งในสามแนวป้องกันการรุกรานอาณานิคมบริเตนของโรมัน แนวแรกเป็นแนวตั้งแต่แม่น้ำไคลด์ไปจนถึงแม่น้ำฟอร์ธที่สร้างในสมัยจักรพรรดิอากริโคลา และแนวสุดท้ายคือกำแพงอันโตนิน (Antonine Wall) แนวกำแพงทั้งสามสร้างขึ้นเพื่อ ในบรรดากำแพงสามกำแพงฮาดริอานุสเป็นกำแพงที่เป็นที่รู้จักกันมากที่สุดเพราะยังคงทิ้งร่องรอยไว้ให้เห็นกันในปัจจุบัน กำแพงฮาดริอานุสเป็น “กำแพงโรมัน” (limes) ของเขตแดนทางเหนือของบริเตนและเป็นกำแพงที่สร้างเสริมอย่างแข็งแรงที่สุดในจักรวรรดิ นอกจากจะใช้ในการป้องกันศัตรูแล้วประตูกำแพงก็ยังใช้เป็นด่านศุลกากรในการเรียกเก็บภาษีสินค้าด้วย กำแพงบางส่วนยังคงเหลือให้เห็นกันในปัจจุบันโดยเฉพาะส่วนกลาง และตัวกำแพงสามารถเดินตามได้ตลอดแนวซึ่งทำให้เป็นสิ่งที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวที่นิยมกันมากที่สุดแห่งหนึ่งของทางตอนเหนือของอังกฤษ กำแพงนี้บางครั้งก็เรียกกันง่ายๆ ว่า “กำแพงโรมัน” กำแพงฮาดริอานุสได้รับฐานะเป็นมรดกโลกโดยยูเนสโกในปี ค.ศ. 1987 องค์การอนุรักษ์มรดกอังกฤษ (English Heritage) ซึ่งเป็นองค์การราชการในการบริหารสิ่งแวดล้อมทางประวัติศาสตร์ของอังกฤษบรรยายกำแพงฮาดริอานุสว่าเป็น “อนุสาวรีย์ที่สำคัญที่สุดที่สร้างโดยโรมันในบริเตน”.

ใหม่!!: รายชื่อแหล่งมรดกโลกในสหราชอาณาจักรและกำแพงฮาดริอานุส · ดูเพิ่มเติม »

มรดกโลก

ตราสัญลักษณ์ แหล่งมรดกโลก หรือ มรดกโลก (World Heritage Site; Patrimoine Mondial) คือสถานที่ อันได้แก่ ป่าไม้ อนุสาวรีย์ สิ่งก่อสร้างต่างๆ รวมไปถึงเมือง ซึ่งคัดเลือกโดยองค์การยูเนสโกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2515 เพื่อเป็นการบ่งบอกถึงคุณค่าของสิ่งที่มนุษยชาติ หรือธรรมชาติได้สร้างขึ้นมา และควรจะปกป้องสิ่งเหล่านั้นได้อย่างไร เพื่อให้ได้ตกทอดไปถึงอนาคต ในปัจจุบัน (กรกฎาคม 2560) มีมรดกโลกทั้งหมด 1073 แห่ง ใน 167 ประเทศทั่วโลก ซึ่งแบ่งเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม 832 แห่ง มรดกโลกทางธรรมชาติ 206 แห่ง และอีก 35 แห่งเป็นแบบผสมทั้งสองประเภท, UNESCO World Heritage Sites official sites.

ใหม่!!: รายชื่อแหล่งมรดกโลกในสหราชอาณาจักรและมรดกโลก · ดูเพิ่มเติม »

มหาสมุทรแอตแลนติก

มหาสมุทรแอตแลนติก (Atlantic Ocean) เป็นมหาสมุทรที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของโลก ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 1 ใน 5 ของพื้นผิวโลก ชื่อของมหาสมุทรมาจากนิยายปรัมปรากรีก หมายถึง "ทะเลของแอตลาส" มหาสมุทรแอตแลนติกเป็นแอ่งที่มีรูปร่างเหมือนตัวเอส (S) ติดกับทวีปอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ทางตะวันตก ส่วนทางตะวันออกติดกับ ทวีปยุโรปและทวีปแอฟริกา ปัจจุบันมีการแบ่งมหาสมุทรแอตแลนติกเป็น 2 ส่วน คือ แอตแลนติกเหนือและแอตแลนติกใต้ โดยใช้บริเวณที่เกิดการเปลี่ยนทิศของกระแสน้ำที่ละติจูด 8° เหนือเป็นแนวแบ่ง มหาสมุทรแอตแลนติกเชื่อมกับมหาสมุทรแปซิฟิกทางมหาสมุทรอาร์กติกซึ่งอยู่ทางเหนือ ส่วนทางใต้เชื่อมทางช่องแคบเดรก จุดเชื่อมต่ออีกแห่งหนึ่งที่สร้างขึ้นโดยมนุษย์ คือ คลองปานามา เส้นแบ่งระหว่างมหาสมุทรแอตแลนติกกับมหาสมุทรอินเดีย คือ เส้นเมริเดียน 20° ตะวันออก และแยกจากมหาสมุทรอาร์กติกด้วยเส้นที่ลากจากกรีนแลนด์ ผ่านตอนใต้สุดของสฟาลบาร์ (Svalbard) ไปยังตอนเหนือของนอร์เวย์ มหาสมุทรแอตแลนติกมีพื้นน้ำประมาณ 106,460,000 ตารางกิโลเมตร ปริมาตรของมหาสมุทรเมื่อรวมทะเลที่อยู่ติดกันมีค่า 310,410,900 ลูกบาศก์กิโลเมตร มีความลึกเฉลี่ย 3,646 เมตร จุดที่ลึกที่สุดคือปวยร์โตรีโกเทรนช์มีความลึก 8,486 เมตร (27,840 ฟุต).

ใหม่!!: รายชื่อแหล่งมรดกโลกในสหราชอาณาจักรและมหาสมุทรแอตแลนติก · ดูเพิ่มเติม »

มหาสมุทรแปซิฟิก

มหาสมุทรแปซิฟิก (Pacific Ocean) ตั้งชื่อโดย เฟอร์ดินานด์ มาเจลลัน ว่า Mare Pacificum เป็นภาษาละติน แปลว่า peaceful sea ภาษาฝรั่งเศส pacifique (ปาซีฟีก) หมายถึง "สงบสุข" เป็นผืนน้ำที่กว้างใหญ่ที่สุดในโลก มีพื้นน้ำประมาณ 165,000,000 ตารางกิโลเมตร หรือ 1 ใน 3 ของพื้นที่ผิวทั้งหมดของโลก ความยาวในแนวลองจิจูดมีระยะทางประมาณ 15,500 กิโลเมตร จากทะเลเบริงในเขตอาร์กติกที่อยู่ทางเหนือจรดริมฝั่งทะเลรอสส์ในแอนตาร์กติกาที่อยู่ทางใต้ มหาสมุทรแปซิฟิกมีด้านที่กว้างที่สุดตามแนวตะวันออก-ตะวันตก อยู่ ณ บริเวณละติจูด 5 องศาเหนือ ด้วยความยาวประมาณ 19,800 กิโลเมตร จากอินโดนีเซียถึงชายฝั่งโคลอมเบีย สุดเขตด้านตะวันตก คือ ช่องแคบมะละกา จุดที่ลึกที่สุดในโลก คือ ร่องลึกมาเรียนา (Mariana Trench) อยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก จุดที่ลึกที่สุดวัดได้ 10,911 เมตร มหาสมุทรแปซิฟิก ความเค็มประมาณ 33-37 ส่วนต่อพันส่วน กระแสน้ำที่สำคัญของมหาสมุทรแปซิฟิก คือ กระแสน้ำเย็นฮัมโบลต์ (เปรู) กระแสน้ำอุ่นศูนย์สูตร กระแสน้ำเย็นแคลิฟอร์เนีย กระแสน้ำอุ่นอะแลสกา และกระแสน้ำอุ่นคุโระชิโอะ (กุโรชิโว) มหาสมุทรแปซิฟิกมีเกาะอยู่ประมาณ 25,000 เกาะ (มากกว่าเกาะในมหาสมุทรอื่น ๆ ที่เหลือรวมกัน) ส่วนใหญ่อยู่ใต้เส้นศูนย์สูตร ริมมหาสมุทรประกอบด้วยทะเลจำนวนมาก ที่สำคัญ คือ ทะเลเซเลบีส ทะเลคอรัล ทะเลจีนตะวันออก ทะเลญี่ปุ่น ทะเลจีนใต้ ทะเลซูลู ทะเลแทสมัน และทะเลเหลือง ทางด้านตะวันตก ช่องแคบมะละกาเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับมหาสมุทรอินเดีย ส่วนทางด้านตะวันออก ช่องแคบมาเจลลันเชื่อมต่อระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับ มหาสมุทรแอตแลนติก.

ใหม่!!: รายชื่อแหล่งมรดกโลกในสหราชอาณาจักรและมหาสมุทรแปซิฟิก · ดูเพิ่มเติม »

ยิบรอลตาร์

รอลตาร์ (Gibraltar) เป็นดินแดนโพ้นทะเลของสหราชอาณาจักร ตั้งอยู่ใกล้กับจุดใต้สุดของคาบสมุทรไอบีเรีย ในบริเวณช่องแคบยิบรอลตาร์ มีเนื้อที่โดยรวมประมาณ 6.5 ตารางกิโลเมตร ทางทิศเหนือมีพรมแดนติดต่อกับประเทศสเปน และมีประชากรประมาณ 32,000 คน สถานที่ที่มีชื่อเสียงของยิบรอลตาร์คือ โขดหินยิบรอลตาร์ (Rock of Gibraltar) ซึ่งเป็นสถานที่ที่มีความสำคัญทางธรณีวิทยาแห่งหนึ่งของโลก เดิมทียิบรอลตาร์เคยเป็นดินแดนหนึ่งของราชอาณาจักรสเปน จนกระทั่งในปี..

ใหม่!!: รายชื่อแหล่งมรดกโลกในสหราชอาณาจักรและยิบรอลตาร์ · ดูเพิ่มเติม »

ยุคหินใหม่

หมู่บ้านในสมัยยุคหินใหม่ ในสกอตแลนด์ที่สมบูรณ์ที่สุดในทวีปยุโรป ยุคหินใหม่ (Neolithic หรือ New Stone Age) อยู่ในช่วงเวลาประมาณ 10200-4500/2000 ปีก่อนคริสตกาล โดยเป็นช่วงเวลาระหว่างยุคหินกลางกับยุคโลหะซึ่งมนุษย์ในยุคนี้อาศัยรวมกันอยู่เป็นหมู่บ้าน เริ่มรู้จักทำการเกษตรอย่างเป็นระบบ สามารถเพาะปลูกพืชและเก็บไว้เป็นอาหาร รู้จักทอผ้าและทำเครื่องปั้นดินเผา และเลี้ยงสัตว์ การเพาะปลูกได้เปลี่ยนวิถีชีวิตของมนุษย์จากสังคมล่าสัตว์มาเป็นสังคมเกษตรกรรม ที่ตั้งถิ่นฐานเป็นหลักแหล่ง มีการสร้างที่พักอาศัยถาวรเป็นกระท่อมดินเหนียวและตั้งหลักแหล่งตามบริเวณลุ่มน้ำ ยุคหินใหม่เป็นยุคเกษตรกรรม พืชเพาะปลูกที่สำคัญ คือ ข้าวสาลี ข้าวบาเลย์ และพืชอื่นๆ รู้จักใช้เครื่องมือล่าสัตว์และทำภาชนะจากดินเหนียว สำหรับเก็บข้าวเปลือกและใส่อาหาร สัตว์เลี้ยง ได้แก่ สุนัข แพะ แกะ และยังคงล่าสัตว์ เช่น กวาง กระต่าย หมูป่า สภาพชีวิตมนุษย์ในยุคหินใหม่ เปลี่ยนแปลงชีวิตตามความเป็นอยู่จากที่สูงมาอยู่ที่ราบใกล้แหล่งน้ำ โดยอยู่รวมกันเป็นกลุ่มเป็นหมู่บ้านบนเนิน และดำรงชีวิตตามเศรษฐกิจใหม่ ได้แก่ เกษตรกรรม และพบว่ามีผลิตผลมากกว่าที่จะบริโภค ก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนและการค้าขาย สมัยหินใหม่จัดเป็นการปฏิวัติครั้งแรกของมนุษย์ ที่ประสบความสำเร็จขั้นต้นในการปรับตัวให้เข้ากับข้อจำกัดของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ไม่ต้องร่อนเร่ย้ายถิ่น และเป็นช่วงเวลา เริ่มต้นการรวมกลุ่มเป็นหลักแหล่ง ในบริเวณที่มีแหล่งน้ำอุดมสมบูรณ์ ยุคหลังจากยุคหินใหม่คือ ยุคทองแดง (Chalcolithic) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของยุคสำริด (Bronze Age).

ใหม่!!: รายชื่อแหล่งมรดกโลกในสหราชอาณาจักรและยุคหินใหม่ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐสภาสหราชอาณาจักร

รัฐสภาสหราชอาณาจักร หรือ รัฐสภาแห่งสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ (Parliament of the United Kingdom of Great Britain and Northern Ireland หรือ Parliament of the United Kingdom) เป็นสถาบันฝ่ายนิติบัญญัติสูงสุดในสหราชอาณาจักรและดินแดนโพ้นทะเลของสหราชอาณาจักร โดยมีประมุขเป็นพระมหากษัตริย์สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 รัฐสภาสหราชอาณาจักรอังกฤษเป็นระบบสองสภา (Bicameralism) ซึ่งประกอบไปด้วย “สภาสูง” หรือ สภาขุนนาง (House of Lords) และ “สภาล่าง” หรือ สภาสามัญชน (House of Commons) พระมหากษัตริย์เป็นองค์ประกอบที่สามของรัฐสภา สภาทั้งสองสภาประชุมแยกกันในห้องประชุมรัฐสภาภายในพระราชวังเวสต์มินสเตอร์ หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า “ตึกรัฐสภา” ที่นครเวสต์มินสเตอร์ในกรุงลอนดอน ตามปกติแล้วรัฐมนตรีของรัฐบาลทั้งหมดรวมทั้งนายกรัฐมนตรีเป็นสมาชิกสภาสามัญชน แต่ก็มีข้อยกเว้นในบางกรณีที่เป็นสมาชิกของสภาขุนนาง ที่ประชุมรัฐสภา ณ พระราชวังเวสมินเตอร์ รัฐสภาสหราชอาณาจักรอังกฤษก่อตั้งเป็นครั้งแรกเมื่อ..

ใหม่!!: รายชื่อแหล่งมรดกโลกในสหราชอาณาจักรและรัฐสภาสหราชอาณาจักร · ดูเพิ่มเติม »

ลอนดอน

ลอนดอน (London, ลันเดิน) เป็นเมืองหลวงของประเทศอังกฤษ และสหราชอาณาจักร และเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของสหภาพยุโรป เป็นเมืองที่มีศูนย์กลางทางธุรกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลก ลอนดอนเป็นหนึ่งในศูนย์กลางสำคัญทางธุรกิจ การเมือง วัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ของโลก เป็นผู้นำด้านการเงิน การเมือง การสื่อสาร การบันเทิง แฟชั่น และศิลปะ ในอดีตเป็นเมืองหลวงของโลก เป็นเมืองที่เจริญที่สุดในโลก ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เป็นเมืองที่มีอิทธิพลไปทั่วโลก ถือกันว่าเป็นเมืองสากลหลักของโลก จีดีพีของลอนดอน คิดเป็นร้อยละ 19.5 ของสหราชอาณาจักร ลอนดอนมีประชากรประมาณ 7.5 ล้านคน (ข้อมูลเมื่อปี พ.ศ. 2549) และประมาณ 12 - 14 ล้านคนถ้ารวมนครหลวงลอนดอนและปริมณฑล ลอนดอนเป็นเมืองที่ประกอบด้วยหลายชนชาติอย่างมาก ประชากรมีความหลากหลายทั้งด้านเชื้อชาติ วัฒนธรรม ศาสนา และภาษา ซึ่งประมาณว่ามีมากกว่า 300 ภาษา เราเรียกชาวลอนดอนว่า ลอนดอนเนอร์ (Londoner) ลอนดอนเป็นศูนย์กลางการคมนาคมในระดับนานาชาติ และเป็นเมืองท่องเที่ยวสำคัญของทวีปยุโรป โดยสนามบินที่ใหญ่ที่สุดในลอนดอน คือ ท่าอากาศยานนานาชาติฮีทโธรว.

ใหม่!!: รายชื่อแหล่งมรดกโลกในสหราชอาณาจักรและลอนดอน · ดูเพิ่มเติม »

ลานเซลอต บราวน์

ลานเซลอต บราวน์ "ผู้สามารถ" ลานเซลอต บราวน์ (Lancelot Brown; พ.ศ. 2259 — 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2326) รู้จักโดยทั่วไปในอีกชื่อหนึ่งว่า บราวน์ผู้สามารถ (Capability Brown) นักจัดสวนและภูมิทัศน์ชาวอังกฤษผู้ได้รับการกล่าวขวัญถึงว่าเป็น “ศิลปินที่สมราคาคนสุดท้ายแห่งคริสต์ศตวรรษที่ 18” และนับเป็นนักจัดสวนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของอังกฤษ ได้ออกแบบสวนสาธารณะมากกว่า 170 แห่งและมีหลายแห่งที่ยังคงยั่งยืนอยู่ถึงปัจจุบัน.

ใหม่!!: รายชื่อแหล่งมรดกโลกในสหราชอาณาจักรและลานเซลอต บราวน์ · ดูเพิ่มเติม »

ลิเวอร์พูล

มืองลิเวอร์พูล (Liverpool) เป็นเมืองที่มีฐานะเป็นนครและเป็นเมืองเมโทรโพลิตันของเมอร์ซีย์ไซด์ในภาคการปกครองตะวันตกเฉียงเหนือของอังกฤษ ลิเวอร์พูลตั้งอยู่ทางตะวันออกของปากน้ำเมอร์ซีย์ (Mersey Estuary) ลิเวอร์พูลก่อตั้งมาตั้งแต..

ใหม่!!: รายชื่อแหล่งมรดกโลกในสหราชอาณาจักรและลิเวอร์พูล · ดูเพิ่มเติม »

วังเบลนิม

วังเบลนิม (Blenheim Palace) หรือ คฤหาสน์เบลนิม เป็นคฤหาสน์ที่สร้างอย่างวังตั้งอยู่ที่เมืองเล็กๆ ชื่อวู้ดสต็อคในมลฑลอ๊อกซฟอร์ดเชอร์ในอังกฤษ สร้างโดยซาราห์ เชอร์ชิลผู้เป็นภรรยาของจอห์น เชอร์ชิล ดยุกแห่งมาร์ลบะระ และเป็นพระสหายสนิทของสมเด็จพระราชินีนาถแอนน์ ระหว่างปี ค.ศ. 1705 ถึง ค.ศ. 1722 วังเบลนิมเป็นสถาปัตยกรรมแบบวัง โดยมี เซอร์จอห์น แวนบรูห์เป็นสถาปนิก วังเบลนิมเป็นคฤหาสน์ที่มิได้เป็นของราชวงศ์ แต่ก็ใช้คำนำหน้าว่า “วัง” ซึ่งเป็นแห่งเดียวในอังกฤษเพราะความยิ่งใหญ่ของสิ่งก่อสร้าง จุดประสงค์ของการก่อสร้างเมื่อเริ่มแรกเพื่อเป็นของขวัญสำหรับจอห์น เชอร์ชิล ดยุกแห่งมาร์ลบะระเพื่อเป็นการตอบแทนในการนำกองทัพอังกฤษรบชนะฝรั่งเศสและบาวาเรีย แต่ต่อมาเบลนิมกลายเป็นปัญหาในการต่อสู้ทางการเมือง ซึ่งเป็นผลทำให้ดยุกและดัชเชสแห่งมาร์ลบะระสิ้นอำนาจ รวมทั้งการเสียชื่อเสียงของสถาปนิกจอห์น แวนบรูห์ ตัววังสร้างเป็นแบบบาโรก ปฏิกิริยาหรือคุณค่าของสิ่งก่อสร้างจนบัดนี้ก็ยังไม่เป็นที่เห็นพ้องกันได้ เช่นเดียวกับในสมัยเมื่อเริ่มสร้างในคริสต์ทศวรรษ 1720 ตัวสิ่งก่อสร้างเป็นลักษณะที่ผสมระหว่างที่อยู่อาศัย, ที่เก็บศพ และ อนุสาวรีย์ นอกจากนั้นสิ่งที่น่าสนใจคือเป็นที่เกิดของวินสตัน เชอร์ชิลอดีตนายกรัฐมนตรีคนสำคัญของอังกฤษ คำจารึกเหนือประตูใหญ่ทางตะวันออกบอกประวัติของสิ่งก่อสร้าง: แต่ตามความเป็นจริงแล้วความสำเร็จของการสร้างเบลนิมเป็นผลจากความทะเยอทะยานของซาราห์ เชอร์ชิลเป็นส่วนใหญ่ หลังจากสร้างเสร็จเบลนิมก็กลายเป็นที่พำนักของตระกูลเชอร์ชิลมาจนถึงปัจจุบัน เป็นเวลาได้ราว 300 ปี ในระหว่างนั้นตัววังและอุทยานก็ได้รับการเปลื่ยนแปลงมาโดยตลอด เมื่อปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ตระกูลมาร์ลบะระก็ประสบปัญหาทางการเงินจนต้องขายทรัพย์สมบัติสำคัญๆ ไปบ้าง แต่การแต่งงานกับสตรีชาวอเมริกันก็ช่วยนำเงินมาบำรุงรักษาเบลนิมให้ยังอยู่ในสภาพดังเช่นเมื่อเริ่มสร้าง.

ใหม่!!: รายชื่อแหล่งมรดกโลกในสหราชอาณาจักรและวังเบลนิม · ดูเพิ่มเติม »

วิลต์เชอร์

วิลท์เชอร์ (Wiltshire) เป็นมณฑลในอังกฤษในสหราชอาณาจักรที่ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของสหราชอาณาจักร ที่มีเขตแดนติดกับมณฑลดอร์เซ็ท, มณฑลซอมเมอร์เซ็ท, มณฑลแฮมป์เชอร์, มณฑลกลอสเตอร์เชอร์, มณฑลอ๊อกซฟอร์ดเชอร์ และมณฑลบาร์คเชอร์ มณฑลวิลท์เชอร์แบ่งการปกครองเป็นห้าแขวง: ซอลส์บรี, เวสต์วิลท์เชอร์, เค็นเน็ท, นอร์ธวิลท์เชอร์, และ สวินดัน โดยมีศูนย์กลางการปกครองตั้งอยู่ที่เมือง โทรบริดจ์ วิลท์เชอร์มีประชาชนรวมทั้งสิ้นประมาณ 642,000 คน มีพื้นที่ 1346 กิโลเมตร 2 ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นเนินหินชอล์ก (Downland) สูงและหุบเขากว้าง ที่ราบซอลส์บรี (Salisbury Plain) ในมณฑลนี้มีชื่อเสียงเพราะเป็นที่ตั้งของสโตนเฮนจ์และสิ่งสำคัญทางประวัติศาสตร์อื่น ๆ นอกจากนั้นก็ยังเป็นบริเวณที่ใช้ในการฝึกทหารของกองทัพอังกฤษ เมืองสำคัญที่สุดของวิลท์เชอร์คือซอลส์บรีที่เป็นเมืองที่มีความสำคัญในประวัติศาสตร์อังกฤษและเป็นที่ตั้งของมหาวิหารซอลส์บรีและสถานที่น่าสนใจอื่น ๆ เช่น คฤหาสน์ลองลีต (Longleat), คฤหาสน์วิลตัน (Wilton House), คฤหาสน์สเตาเออร์เฮด (Stourhead) และแอบบีย์เลค็อก (Lacock Abbey).

ใหม่!!: รายชื่อแหล่งมรดกโลกในสหราชอาณาจักรและวิลต์เชอร์ · ดูเพิ่มเติม »

วิลเลียม เชกสเปียร์

วิลเลียม เชกสเปียร์ (William Shakespeare; รับศีล 26 เมษายน ค.ศ. 1564 - 23 เมษายน ค.ศ. 1616) เป็นกวีและนักเขียนบทละครชาวอังกฤษ ได้รับยกย่องทั่วไปว่าเป็นนักเขียนผู้ยิ่งใหญ่ของอังกฤษและของโลก มักเรียกขานกันว่าเขาเป็นกวีแห่งชาติของอังกฤษ และ "Bard of Avon" (กวีแห่งเอวอน) งานเขียนของเขาที่ยังหลงเหลืออยู่ถึงปัจจุบัน ประกอบด้วยบทละคร 38 เรื่อง กวีนิพนธ์แบบซอนเน็ต 154 เรื่อง กวีนิพนธ์อย่างยาว 2 เรื่อง และบทกวีแบบอื่นๆ อีกหลายชุด บทละครของเขาได้รับการแปลออกไปเป็นภาษาต่างๆ มากมาย และเป็นที่นิยมนำมาแสดงมากที่สุดในบรรดาบทละครทั้งหมด เชกสเปียร์เกิดและเติบโตที่เมืองสแตรทฟอร์ด ริมแม่น้ำเอวอน เมื่ออายุ 18 ปี เขาสมรสกับแอนน์ ฮาธาเวย์ มีบุตรด้วยกัน 3 คนคือ ซูซานนา และฝาแฝด แฮมเน็ตกับจูดิธ ระหว่างช่วงปี..

ใหม่!!: รายชื่อแหล่งมรดกโลกในสหราชอาณาจักรและวิลเลียม เชกสเปียร์ · ดูเพิ่มเติม »

วิลเลียม เคนท์

วิลเลียม เคนท์ ผู้บุกเบิกสวนอังกฤษแบบธรรมชาติ วิลเลียม เคนท์ (William Kent พ.ศ. 2228-2291) จิตรกร นักออกแบบเฟอร์นิเจอร์ นักจัดภูมิทัศน์และสถาปนิก เกิดที่เมืองบริดลิงตันไรดิงตะวันออกของยอร์กไชร์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอังกฤษ เคนท์ได้ไปทัศนศึกษาที่อิตาลีกับผู้อุปถัมภ์และกลับมาทำงานกับลอร์ดเบอร์ลิงตันในงานสร้างตำหนักชิสวิก ต่อมาเคนท์ได้กลายเป็นผู้สนับสนุนสถาปัตยกรรมแบบพาเลเดียนในอังกฤษ อาคารที่เคนท์ออกแบบได้แก่กลุ่มอาคารฮอร์สการ์ดที่ไวท์ฮอลล์ อาคารรอแยลมิวส์ที่จตุรัสทราฟัลกาและอาคารกระทรวงการคลัง อย่างไรก็ดี เคนท์ประสบความสำเร็จในงานออกแบบอาคารน้อยกว่างานภูมิทัศน์ สะพานและอาคารแบบพาลลาเดียนในสโตว์ โดยเคนท์ ตัวอย่างงานออกแบบภูมิทัศน์ที่สำคัญคือสวนที่ สโตว์ในบัคคิงแฮมเชอร์ เคนท์นับเป็น “เจ้าตำหรับสวนอังกฤษ” (English School of Landscape Gardening) ที่ได้รับอิทธิพลจากการไปศึกษาที่อิตาลีซึ่งเคนท์ได้ชื่นชมภาพเขียนภูมิทัศน์ของโคลด ลอร์แรน (Claude Lorrain) นิโคลาส์ ปูแซน และซัลวาตอเร โรซา โดยถือเป็นการ “ปฏิรูปสวนอังกฤษ” ให้เป็นรูปแบบ “ธรรมชาติ” ที่มีเนินทุ่งหญ้าและน้ำ นับเป็นการบุกเบิกงานภูมิทัศน์ธรรมชาติที่เปิดกว้างขึ้นให้แก่ “บราวน์ผู้สามารถ” ซึ่งมีโอกาสได้พบเคนท์ในขณะฝึกงานที่สวนสโตว์ และบราวน์ได้ยึดแนวและปรับปรุงรูปแบบ “สวนอังกฤษให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นในชั่วคนต่อมา กล่าวกันว่าจุดอ่อนของตัวเคนท์ในงานจัดภูมิทัศน์คือการขาดความรู้ในด้านพืชพรรณและทักษะด้านเทคนิคภูมิทัศน์ แต่ความสามารถในการนำศิลปะสถาปัตยกรรมมาผสมกลมกลืนธรรมชาติได้อย่างดีเยี่ยมสามารถชดเชยจุดอ่อนนี้ได้ เคนท์เคยกล่าวไว้ว่า “งานสร้างสวนทั้งหมดแท้จริงก็คืองานสร้างภาพเขียนภูมิทัศน์” ตัวอย่างงานศิลปะบางส่วนโดยเคนท์ได้แก่ฉาก กอธิก ห้องโถงในวิหารเวสมินสเตอร์ โบสถ์กลอสเซสเตอร์ งานภายในตำหนักเบอร์ลิงตัน และตำหนักชิสวิกในลอนดอน หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2227 คเนท์ คเนท์ หมวดหมู่:บุคคลจากมณฑลอีสต์ไรดิงออฟยอร์คเชอร์.

ใหม่!!: รายชื่อแหล่งมรดกโลกในสหราชอาณาจักรและวิลเลียม เคนท์ · ดูเพิ่มเติม »

ศิลปะจินตนิยม

''Wanderer above the Sea of Fog'' ภาพวาดของ แคสเปอร์ เดวิด ฟรีดดริก ในปี 1818 ศิลปะจินตนิยม (Romanticism) เริ่มต้นขึ้นในช่วงหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 18 ในยุโรปตะวันตก เป็นการเปลี่ยนแปลงของแนวคิดทางปรัชญา วรรณกรรม และศิลปกรรม อันนำมาซึ่งการปฏิวัติอุตสาหกรรมในยุโรป กำเนิดของศิลปะจินตนิยมมีส่วนมาจากการต่อต้านแนวคิดทางสังคมและการเมืองแบบเก่าของยุคแสงสว่าง รวมถึงปฏิกิริยาต่อต้านการศึกษาวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับธรรมชาติ โดยมากแนวคิดของศิลปะในยุคนี้จะสะท้อนออกมาในงานศิลปะแบบภาพวาด ดนตรี และวรรณกรรม ตัวอย่างศิลปินผู้มีชื่อเสียงในยุคจินตนิยม ได้แก่ ลุดวิจ ฟาน เบโทเฟน, เฟรเดริก ชอแป็ง, วิลเลียม เบลก เป็นต้น.

ใหม่!!: รายชื่อแหล่งมรดกโลกในสหราชอาณาจักรและศิลปะจินตนิยม · ดูเพิ่มเติม »

สวนพฤกษศาสตร์หลวงเมืองคิว

วนพฤกษศาสตร์หลวงเมืองคิว (Royal Botanic Gardens, Kew) หรือที่รู้จักกันในชื่อ สวนคิว (Kew Gardens) มีพื้นที่ 121 เฮกตาร์ ซึ่งเป็นพื้นที่สวนและเรือนกระจกรวมกัน ตั้งอยู่ระหว่างเมืองริดมอนด์และคิวในทางตะวันตกเฉียงใต้ของลอนดอน ประเทศอังกฤษ สวนพฤกษศาสตร์หลวงเมืองคิวนั้นรวมเอาสวนคิวและสวนเวกเฮอร์ต เพรซ (Wakehurst Place) ในซัสเซ็กซ์ไว้ด้วยกัน มันเป็นสถาที่สำหรับศึกษาและวิจัยทางพฤกษศาสตร์ที่สำคัญในระดับสากล มีคนงาน 700 คน มีรายได้ £56 ล้านในหนึ่งปี (สิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม ค.ศ. 2008) มีคนมาเยี่ยมชมมากกว่า 2 ล้านคนในปีนั้น สวนคิวเป็นองค์กรอิสระที่ได้รับการสนับสนุนโดยกรมสิ่งแวดล้อมอาหาร และหน่วยงานชนบท สร้างขึ้นในปี..

ใหม่!!: รายชื่อแหล่งมรดกโลกในสหราชอาณาจักรและสวนพฤกษศาสตร์หลวงเมืองคิว · ดูเพิ่มเติม »

สหราชอาณาจักร

หราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ หรือโดยทั่วไปรู้จักกันว่า สหราชอาณาจักร และ บริเตน (Britain) เป็นรัฐเอกราชตั้งอยู่นอกชายฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของยุโรปภาคพื้นทวีป ประเทศนี้ประกอบด้วยเกาะบริเตนใหญ่ ส่วนตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะไอร์แลนด์ และเกาะที่เล็กกว่าจำนวนมาก ไอร์แลนด์เหนือเป็นเพียงส่วนเดียวของสหราชอาณาจักรที่มีพรมแดนทางบกติดต่อกับรัฐอื่น คือ ประเทศไอร์แลนด์ นอกเหนือจากนี้แล้ว สหราชอาณาจักรล้อมรอบด้วยมหาสมุทรแอตแลนติกทางทิศตะวันตกและเหนือ ทะเลเหนือทางทิศตะวันออก ช่องแคบอังกฤษทางทิศใต้ และทะเลไอร์แลนด์ทางทิศตะวันตก รูปแบบการปกครองเป็นแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยมีระบบรัฐสภา เมืองหลวง คือ กรุงลอนดอน ประกอบด้วยสี่ประเทศ คือ ประเทศอังกฤษ สกอตแลนด์ เวลส์ และไอร์แลนด์เหนือ สามประเทศหลังนี้ได้รับการถ่ายโอนการบริหาร โดยมีอำนาจแตกต่างกัน ตั้งอยู่ในเมืองหลวงของประเทศนั้น ๆ คือ เอดินบะระ คาร์ดิฟฟ์ และเบลฟัสต์ตามลำดับ ส่วนเกิร์นซีย์ เจอร์ซีย์ และเกาะแมนเป็นบริติชคราวน์ดีเพนเดนซี และมิใช่ส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร สหราชอาณาจักรมีดินแดนโพ้นทะเล 14 แห่ง ซึ่งเป็นสิ่งที่เหลืออยู่ของจักรวรรดิอังกฤษ ซึ่งขณะที่รุ่งเรืองที่สุดในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 นั้น ครอบคลุมพื้นดินของโลกเกือบหนึ่งในสี่ และเป็นจักรวรรดิใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ อิทธิพลของอังกฤษยังสามารถพบเห็นได้จากความแพร่หลายของภาษา วัฒนธรรมและระบบกฎหมายในอดีตอาณานิคมหลายแห่ง สหราชอาณาจักรเป็นประเทศพัฒนาแล้ว และมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 7 ของโลก ตามค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ณ ราคาตลาด และเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 8 ของโลก ตามความเท่าเทียมของอำนาจซื้อ สหราชอาณาจักรเป็นประเทศอุตสาหกรรมประเทศแรกในโลก และเป็นมหาอำนาจอันดับหนึ่งของโลกระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 สหราชอาณาจักรยังถูกกล่าวขานว่าเป็นมหาอำนาจและยังมีอิทธิพลทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรม ทหาร วิทยาศาสตร์และการเมืองระหว่างประเทศค่อนข้างมากอยู่ สหราชอาณาจักรได้รับรองว่าเป็นรัฐอาวุธนิวเคลียร์และมีรายจ่ายทางทหารมากเป็นอันดับที่ 4 ของโลก สหราชอาณาจักรเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาตินับแต่สมัยประชุมแรกใน..

ใหม่!!: รายชื่อแหล่งมรดกโลกในสหราชอาณาจักรและสหราชอาณาจักร · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอทิก

วัดโวทิฟ (Votivkirche) เป็นวัดกอทิกใหม่ที่ เวียนนา หอวิคตอเรียที่พระราชวังเวสต์มินสเตอร์ (Victoria Tower, Palace of Westminster) ลอนดอน รายละเอียดกอทิกโดยออกัสตัส พิวจิน (Augustus Pugin สถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอทิก (Neo-Gothic architecture หรือ Gothic Revival architecture) หรีอ สถาปัตยกรรมวิกตอเรีย (Victorian architecture) เป็นสถาปัตยกรรมที่เริ่มราวปี..

ใหม่!!: รายชื่อแหล่งมรดกโลกในสหราชอาณาจักรและสถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอทิก · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรมกอทิก

มหาวิหารน็อทร์-ดามแห่งปารีสเป็นลักษณะสถาปัตยกรรมกอทิก สถาปัตยกรรมกอทิก (Gothic architecture) เป็นลักษณะสถาปัตยกรรมที่รุ่งเรืองในช่วงกลางสมัยกลางถึงปลายสมัยกลาง โดยวิวัฒนาการมาจากสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และตามด้วยสถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา สถาปัตยกรรมกอทิกเกิดขึ้นระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 12 ถึง 16 โดยเริ่มขึ้นในประเทศฝรั่งเศสก่อนที่จะเผยแพร่ไปยังประเทศอังกฤษ และต่อไปยังทวีปยุโรปโดยทั่วไป สถาปัตยกรรมกอทิกเริ่มขึ้นในฝรั่งเศสในคริสต์ศตวรรษที่ 12 และรุ่งเรืองต่อมาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 16 ในระยะแรก สถาปัตยกรรมทรงนี้เรียกกันว่า "แบบฝรั่งเศส" (Opus Francigenum) คำว่า "กอทิก" มาเริ่มใช้กันในตอนปลายยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาในทางที่เป็นการหมิ่นลักษณะสถาปัตยกรรม ลักษณะเด่นของสถาปัตยกรรมแบบกอทิกที่เป็นที่รู้จักกันดีคือการใช้โค้งแหลม เพดานสัน และ ค้ำยันแบบปีก สถาปัตยกรรมกอทิกเป็นสถาปัตยกรรมที่นิยมใช้ในการสร้างอาสนวิหาร แอบบี และคริสต์ศาสนสถานอื่น ๆ ของยุโรป นอกจากนั้นก็ยังใช้ในกาสร้างปราสาท, วัง, ตึกเทศบาลเมือง, มหาวิทยาลัย และบางครั้งก็สำหรับที่อยู่อาศัยแต่ก็ไม่มากนัก สถาปัตยกรรมกอทิกที่ใช้ในการก่อสร้างโบสถ์และอาสนวิหาร และในสิ่งก่อสร้างบางสิ่งของฆราวาสที่เป็นการแสดงลักษณะการก่อสร้างอันมีพลัง ลักษณะรูปทรงของสิ่งก่อสร้างแบบกอทิกเป็นลักษณะที่ก่อให้เกิดความสะเทือนทางอารมณ์ ซึ่งทำให้เป็นสถาปัตยกรรมที่เป็นที่นิยมใช้ในการก่อสร้างสถาปัตยกรรมทางศาสนา และสิ่งก่อสร้างหลายแห่งก็มีคุณค่าสูงพอที่จะได้รับการมอบฐานะให้เป็นมรดกโลก ในอังกฤษในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 18 ก็เริ่มมีการก่อสร้างสถาปัตยกรรมที่เลียนแบบสถาปัตยกรรมกอทิก ที่เรียกว่าสถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอทิก ที่เผยแพร่ไปยังยุโรป ที่เป็นลักษณะสถาปัตยกรรมที่นิยมใช้ในการก่อสร้างคริสต์ศาสนสถานและมหาวิทยาลัย ความนิยมสถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอทิกดำเนินต่อมาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 20 สถาปัตยกรรมกอทิกพัฒนาขึ้นจากปัญหาทางโครงสร้าง โบสถ์ในสมัยนั้นได้เปลี่ยนแปลงมาใช้โครงสร้างหลังคาโค้งแหลม (point vault) แรงกดของโครงสร้างหลังคาโค้งแหลม จึงพุ่งเป็นเส้นดิ่งมากกว่าโค้งครึ่งวงกลมและถ่ายน้ำหนักจากหลังคาโค้งไปยังเสา (pier) ที่รองรับซึ่งจะสูงชะลูดและมีส่วนค้ำยันผนังเป็นครีบอยู่ภายนอกอาคาร ที่เรียกว่า ครีบยัน ซึ่งตั้งต้นจากยอดของเสาด้านในเอียงมาจดผนังครีบริมนอก ช่วยรับน้ำหนักของโค้งอีกด้วย ส่วนน้ำหนักที่พุ่งออกมาจากด้านข้างของโค้งตรงส่วนข้างของโบสถ์อาศัยผนังครีบด้านนอกรับไว้ ช่วงแต่ละช่วงจึงมีระยะห่างไม่ได้มาก ดังนั้น ส่วนสัดของช่องระหว่างเสาและรูปทรงโบสถ์สมัยกอทิกจะสูงชะลูดและแคบ และเนื่องจากไม่ได้ใช้ผนังรับน้ำหนักอีกต่อไป จึงสามารถเจาะช่องหน้าต่างซึ่งมักทำเป็นรูปวงกลมมีลวดลาย และประดับด้วยกระจกสีที่เรียกว่า หน้าต่างกุหลาบ ได้มากขึ้น ทางด้านจังหวะในงานสถาปัตยกรรม ในสมัยแรก ๆ มักใช้จังหวะตายตัวและซ้ำ ๆ กัน ภายในอาคารมักใช้เสารายเป็นแนว เพื่อดึงความสนใจไปเพียงที่แห่งเดียวคือ แท่นบูชา แต่ต่อมาก็เปลี่ยนแปลงไปจะใช้จังหวะที่เป็นอิสระมากขึ้น.

ใหม่!!: รายชื่อแหล่งมรดกโลกในสหราชอาณาจักรและสถาปัตยกรรมกอทิก · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรมนอร์มัน

องทางเดินกลางของมหาวิหารเดอแรมที่ใช้ซุ้มโค้งครึ่งวงกลมสองข้างแม้ว่าจะมีการใช้โค้งแหลมบนเพดานเหนือช่องทางเดินกลางที่เป็นการนำทางของสถาปัตยกรรมกอทิก สถาปัตยกรรมนอร์มัน (Norman architecture) เป็นคำที่ใช้ในการบรรยายลักษณะสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ที่วิวัฒนาการโดยนอร์มันในดินแดนต่างๆ ที่ได้เข้าปกครองหรือมีอิทธิพลในระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 11 และ 12 โดยเฉพาะในการบรรยายถึงสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์แบบอังกฤษ นอร์มันเป็นผู้ริเริ่มการก่อสร้างปราสาท, ป้อมปราการที่รวมทั้งหอกลางแบบนอร์มัน, สำนักสงฆ์, แอบบี, คริสต์ศาสนสถาน และมหาวิหารเป็นจำนวนมากในอังกฤษ ในลักษณะการใช้โค้งกลม (โดยเฉพาะรอบหน้าต่างและประตู) และมีลักษณะหนาหนักเมื่อเทียบกับสถาปัตยกรรมท้องถิ่น ลักษณะสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ที่กล่าวนี้เริ่มขึ้นในนอร์ม็องดีและแผ่ขยายไปทั่วยุโรปโดยเฉพาะในอังกฤษซึ่งเป็นที่ที่มีการวิวัฒนาการมากที่สุดและยังคงมีสิ่งก่อสร้างจากยุคนั้นที่ยังหลงเหลืออยู่มากกว่าประเทศอื่น ในขณะเดียวกันตระกูลโอตวิลล์ (Hauteville family) ซึ่งเป็นตระกูลนอร์มันที่ปกครองซิซิลีก็สร้างลักษณะสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์อีกลักษณะหนึ่งที่มีอิทธิพลจากสถาปัตยกรรมไบแซนไทน์และซาราเซ็นที่ก็เรียกว่า “สถาปัตยกรรมนอร์มัน” เช่นกันหรือบางครั้งก็เรียกว่า “สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ซิซิลี”.

ใหม่!!: รายชื่อแหล่งมรดกโลกในสหราชอาณาจักรและสถาปัตยกรรมนอร์มัน · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรมแบบปัลลาดีโอ

หาสน์ที่ต่อเติมมุขด้านหน้าจากเล่ม 4 ของ "หนังสือสี่เล่มเกี่ยวกับสถาปัตยกรรม" (I Quattro Libri dell'Architettura) ที่พิมพ์ในลอนดอนในปี ค.ศ. 1736 อาคารกระทรวงกลาโหม ถนนสนามไชย เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เป็นอาคารในรูปแบบปัลลาดีโอ สถาปัตยกรรมแบบปัลลาดีโอ (Palladian architecture) หมายถึงลักษณะของสถาปัตยกรรมตะวันตกที่มาจากการออกแบบโดยอันเดรอา ปัลลาดีโอ (ค.ศ. 1508-1580) สถาปนิกชาวเวนิส คำว่า "แบบปัลลาดีโอ" โดยทั่วไปแล้วมักจะหมายถึงลักษณะของสิ่งก่อสร้างที่ได้รับอิทธิพลมาจากการออกแบบของปัลลาดีโอเอง สิ่งก่อสร้างในปัจจุบันที่จัดอยู่ในกลุ่มสถาปัตยกรรมลักษณะนี้วิวัฒนาการมาจากปรัชญาการออกแบบของปัลลาดีโอ งานของปัลลาดีโอมีพื้นฐานมาจากความสมมาตร ความมีทัศนมิติ และคุณค่าของสถาปัตยกรรมการก่อสร้างวัดของกรีกและโรมันโบราณ ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 การตีความหมายของสถาปัตยกรรมคลาสสิกกลายมาเป็นลักษณะสถาปัตยกรรมที่เรียกว่า "คตินิยมปัลลาดีโอ" (Palladianism) ลักษณะนี้วิวัฒนาการต่อมาจนกระทั่งถึงคริสต์ศตวรรษที่ 18 "คตินิยมปัลลาดีโอ" กลายเป็นนิยมกันอยู่ระยะหนึ่งในบริเตนระหว่างกลางคริสต์ศตวรรษที่ 17 เมื่อมาถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 18 ลักษณะนี้ก็หวนกลับมาเป็นที่นิยมไม่แต่ในอังกฤษแต่ยังในหลายประเทศทางตอนเหนือของยุโรปด้วย ต่อมาก็ลดความนิยมลงในยุโรป แต่ไปนิยมกันในทวีปอเมริกาเหนือโดยเฉพาะในสิ่งก่อสร้างที่ออกแบบโดยทอมัส เจฟเฟอร์สัน สถาปัตยกรรมแบบปัลลาดีโอยังคงเป็นที่นิยมกันทั่วไปในยุโรปตลอดคริสต์ศตวรรษที่ 19 และ 20 มักจะในการออกแบบสิ่งก่อสร้างทางราชการหรือทางสารธารณะ ตั้งแต่ครึ่งหลังของ คริสต์ศตวรรษที่ 19 ก็มีสถาปัตยกรรมการฟื้นฟูกอทิกเข้ามาเป็นคู่แข่ง ลักษณะหลังนี้สนับสนุนโดยสถาปนิกเช่นออกัสตัส พิวจิน (Augustus Pugin) ที่คำนึงถึงที่มาจากวัดโบราณที่ถือว่าเป็นลักษณะ "นอกศาสนา" เกินไปสำหรับผู้นับถือโปรเตสแตนต์และแองโกล-คาทอลิก แต่กระนั้นสถาปัตยกรรมแบบปัลลาดีโอก็ยังคงเป็นที่นิยมและวิวัฒนาการตลอดมา ซึ่งจะเห็นได้จากการการออกแบบสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ในปัจจุบันในลักษณะหน้าจั่ว ความสมมาตร และความได้สัดส่วน สถาปัตยกรรมแบบปัลลาดีโอมีลักษณะหนา ดูทึบทึม อาคารหลายแห่งในประเทศไทยที่มีสถาปัตยกรรมรูปแบบนี้ ได้แก่ กระทรวงกลาโหม, หน่วยบัญชาการรักษาดินแดน, อาคารศุลกสถาน เป็นต้น.

ใหม่!!: รายชื่อแหล่งมรดกโลกในสหราชอาณาจักรและสถาปัตยกรรมแบบปัลลาดีโอ · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์

มหาวิหารแซงต์ปิแยร์แห่งอองกูเล็ม ประเทศฝรั่งเศส สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ (Romanesque architecture) เป็นคำที่บรรยายลักษณะสถาปัตยกรรมตะวันตกที่เริ่มราวปลายคริสต์ศตวรรษที่ 10 ไปจนถึงสมัยสถาปัตยกรรมกอธิคระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 12 สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ที่อังกฤษจะเรียกกันว่า “สถาปัตยกรรมนอร์มัน” ลักษณะเด่นๆของสถาปัตยกรรมยุคนี้คือความเทอะทะ เช่นความหนาของกำแพง ประตูหรือหลังคา/เพดานโค้งประทุน เพดานโค้งประทุนซ้อน การใช้โค้งซุ้มอาร์เคดในระหว่างช่วงเสาหนึ่ง ๆ และในแต่ละชั้นที่ต่างขนาดกันศิลป พีระศรี, ประวัติศาสตร์และแบบอย่างศิลปะ, (แปลและเรียบเรียงโดย เขียน ยิ้มศิริ) (กรุงเทพฯ: กรุงสยามการพิมพ์, 2512) เสาที่แน่นหนา หอใหญ่หนัก และ การตกแต่งรอบโค้ง (เช่น ซุ้มประตูหรืออาร์เคด (arcade)) ลักษณะตัวอาคารก็จะมีลักษณะเรียบ สมส่วนมองแล้วจะเป็นลักษณะที่ดูขึงขังและง่ายไม่ซับซ้อนเช่นสถาปัตยกรรมกอธิคที่ตามมา สถาปัตยกรรมจะพบทั่วไปในทวีปยุโรปไม่ว่าจะเป็นประเทศใดหรือไม่ว่าจะใช้วัสดุใดในการก่อสร้าง สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์จะพบในการก่อสร้างคริสต์ศาสนสถานและมหาวิหารเป็นส่วนใหญ่ แต่จะมีบ้างที่ใช้ในการก่อสร้างปราสาทในสมัยนั้น คริสต์ศาสนสถานแบบโรมาเนสก์ยังคงมีหลงเหลืออยู่ และบางแห่งก็ยังใช้เป็นสถานที่สักการะตราบจนทุกวันนี้ Bannister Fletcher, “History of Architecture on the Comparative Method” (ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมโดยการเปรียบเทียบ).

ใหม่!!: รายชื่อแหล่งมรดกโลกในสหราชอาณาจักรและสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ · ดูเพิ่มเติม »

สโตนเฮนจ์

ตนเฮนจ์: โปรดสังเกตเมื่อเทียบกับคนที่ยืนอยู่ด้านมุมล่างขวาของภาพ สโตนเฮนจ์ เป็นอนุสรณ์สถาน ยุคก่อนประวัติศาสตร์ กลางทุ่งราบกว้างใหญ่บนที่ราบซอลส์บรี (Salisbury Plain) ในบริเวณตอนใต้ของเกาะอังกฤษ ตัวอนุสรณ์สถานประกอบด้วยแท่งหินขนาดยักษ์ 112 ก้อน ตั้งเรียงกันเป็นวงกลมซ้อนกัน 3 วง แท่งหินบางอันตั้งขึ้น บางอันวางนอนลง และบางอันก็ถูกวางซ้อนอยู่ข้น นักโบราณคดีเชื่อว่ากลุ่มกองหินนี้ถูกสร้างขึ้นจากที่ไหนสักแห่งเมื่อประมาณ 3000–2000 ปีก่อนคริสตกาล กล่าวคือ การหาอายุจากคาร์บอนกัมมันตรังสีเมื่อ..

ใหม่!!: รายชื่อแหล่งมรดกโลกในสหราชอาณาจักรและสโตนเฮนจ์ · ดูเพิ่มเติม »

หมู่เกาะพิตแคร์น

หมู่เกาะพิตแคร์น (Pitcairn Islands; พิตแคร์น: Pitkern Ailen) หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า พิตแคร์น (Pitcairn) เป็นอาณานิคมของสหราชอาณาจักร อยู่ในเขตมหาสมุทรแปซิฟิก ประกอบไปด้วยกลุ่มเกาะ 4 กลุ่ม คือ เกาะพิตแคร์น เกาะแฮนเดอร์สัน เกาะดูซี และเกาะโอเอโน เกาะเหล่านี้ล้วนเป็นดินแดนโพ้นทะเลของสหราชอาณาจักรทั้งสิ้น ซึ่งเขตนี้เป็นอาณานิคมสุดท้ายที่ยังหลงเหลืออยู่ของสหราชอาณาจักรในมหาสมุทรแปซิฟิก.

ใหม่!!: รายชื่อแหล่งมรดกโลกในสหราชอาณาจักรและหมู่เกาะพิตแคร์น · ดูเพิ่มเติม »

หอดูดาวหลวงกรีนิช

หอดูดาวหลวงกรีนิช หอดูดาวหลวงกรีนิช (Royal Observatory, Greenwichเดิมใช้ว่า Royal Greenwich Observatory ย่อ: RGO) ในกรุงลอนดอน แคว้นอังกฤษ มีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์ดาราศาสตร์และการเดินเรือ และเป็นที่ทราบกันว่าเป็นตำแหน่งของเส้นเมริเดียนแรก ตั้งอยู่บนเขาแห่งหนึ่งในกรีนิชพาร์ก มองลงไปเห็นแม่น้ำเทมส์ หอดูดาวดังกล่าว พระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษทรงมอบหมายให้ก่อสร้างใน..

ใหม่!!: รายชื่อแหล่งมรดกโลกในสหราชอาณาจักรและหอดูดาวหลวงกรีนิช · ดูเพิ่มเติม »

หอคอยแห่งลอนดอน

หอคอยแห่งลอนดอน (Tower of London) เป็นพระราชวังหลวงและป้อมปราการตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำเทมส์ในกรุงลอนดอนในอังกฤษ เป็นพระราชวังที่เดิมสร้างโดยพระเจ้าวิลเลียมที่ 1 แห่งอังกฤษ เมื่อปี ค.ศ. 1078 เป็นสถาปัตยกรรมแบบโรมาเนสก์ พระราชวังเป็นรู้จักกันในนามว่า “หอคอยแห่งลอนดอน” หรือ “หอ” ในประวัติศาสตร์ ตัวปราสาทตั้งอยู่ภายในโบโรแห่งทาวเวอร์แฮมเล็ทส์และแยกจากด้านตะวันออกของนครหลวงลอนดอน (City of London) ด้วยลานโล่งที่เรียกว่าเนินหอคอยแห่งลอนดอน หรือ “ทาวเวอร์ฮิล” (Tower Hill) หอคอยแห่งลอนดอนมักจะรู้จักกันในการเกี่ยวข้องกับหอขาว (White Tower) ซึ่งแต่เดิมเป็นหอสีขาวที่สร้างโดยพระเจ้าวิลเลียมที่ 1 แห่งอังกฤษในปี ค.ศ. 1078 แต่กลุ่มสิ่งก่อสร้างทั้งหมดของหอคอยแห่งลอนดอนตั้งอยู่รอบวงแหวนสองวงภายในกำแพงและคูป้องกันปราสาท ตัวหอคอยใช้เป็นป้อม พระราชวังของพระมหากษัตริย์ และที่จำขังโดยเฉพาะสำหรับนักโทษที่มียศศักดิ์สูงเช่นพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 1ก็เคยทรงถูกจำขังในหอคอยโดยพระราชินีนาถแมรี และยังเป็นที่สำหรับประหารชีวิตและทรมาน คลังเก็บอาวุธ ท้องพระคลัง สวนสัตว์ โรงกษาปณ์หลวง หอเก็บเอกสาร หอดูดาว และตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: รายชื่อแหล่งมรดกโลกในสหราชอาณาจักรและหอคอยแห่งลอนดอน · ดูเพิ่มเติม »

หินบะซอลต์

หินบะซอลต์ บะซอลต์ (basalt) เป็นหินอัคนีพุที่พบได้โดยทั่วไป มักพบมีสีเทาถึงสีดำ มีเนื้อละเอียดเนื่องจากเกิดจากการเย็นตัวของลาวาอย่างรวดเร็วบนพื้นผิวโลก อาจพบมีเนื้อสองขนาดที่มีผลึกขนาดโตกว่าอยู่ในพื้นเนื้อละเอียด หรือมีเนื้อเป็นโพรงข่าย หรือมีเนื้อเป็นตะกรันภูเขาไฟ (สคอเรีย) เนื้อหินบะซอลต์สดๆจะมีสีดำหรือสีเทา ปรกติหินบะซอลต์จะถูกนำไปใช้เป็นวัสดุก่อสร้างถนน เทพื้นรองหมอนและรางรถไฟ และทำเป็นแผ่นปูพื้นหรือผนัง และยังใช้เป็นส่วนผสมที่สำคัญในการผลิตแอสฟัลต์ ในโลกของเรานี้หินหนืด (แมกมา) เป็นวัตถุต้นกำเนิดของหินบะซอลต์ เกิดจากการพองตัวของวัตถุหลอมในชั้นเนื้อโลก หินบะซอลต์ก็เกิดได้บนดวงจันทร์ของโลกเรา รวมถึงบนดาวอังคาร ดาวศุกร์ และแม้แต่ดาวเคราะห์น้อย 4 เวสต้า หินต้นกำเนิดเพื่อการกึ่งหลอมละลายอาจจะเป็นทั้งเพริโดไทต์และไพรอกซีไนต์ (เช่น Sobolev et al., 2007) เปลือกโลกส่วนของมหาสมุทรโดยส่วนใหญ่แล้วจะประกอบไปด้วยหินบะซอลต์ที่เกิดจากการปะทุขึ้นมาจากชั้นเนื้อโลกที่อยู่ด้านล่างตรงบริเวณเทือกเขากลางสมุทร คำว่าบะซอลต์บางครั้งก็ถูกใช้เรียกหินอัคนีแทรกซอนในระดับตื้นๆที่มีองค์ประกอบเป็นแบบหินบะซอลต์ แต่หินที่มีองค์ประกอบดังกล่าวที่มีเนื้อหยาบโดยทั่วไปจะเรียกว่าโดเลอไรต์ (อาจเรียกเป็นไดอะเบสหรือแกบโบร) หินบะซอลต์ที่มีแนวแตกเสาเหลี่ยมที่ชีฟอีสเตอร์ในเยลโลสโตน หินบะซอลต์มีเนื้อเป็นโพรงข่ายที่ซันเซ็ตเครเตอร์ อะริโซนา สหรัฐอเมริกา ใช้เหรียญ 25 เซนต์เทียบเป็นมาตราส่วน.

ใหม่!!: รายชื่อแหล่งมรดกโลกในสหราชอาณาจักรและหินบะซอลต์ · ดูเพิ่มเติม »

ออร์กนีย์

ออร์กนีย์ (Orkney) หรือที่เรียกกันอย่างไม่ถูกต้องว่า "หมู่เกาะออร์กนีย์" (The Orkney Islands หรือ The Orkneys) เป็น "กลุ่มเกาะ" (archipelago) และที่ตั้งอยู่ทางเหนือของสกอตแลนด์ ตั้งอยู่ 16 กิโลเมตรเหนือฝั่งทะเลเคทเนสส์ (Caithness) ออร์กนีย์ประกอบด้วยเกาะทั้งหมด 70 เกาะและในจำนวนนั้น 20 มีผู้อยู่อาศัย เกาะที่ใหญ่ที่สุดของออร์กนีย์คือเกาะที่เรียกกันว่า "เมนแลนด์" (Mainland) ที่มีเนื้อที่ 523 ตารางกิโลเมตรซึ่งทำให้เป็นเกาะที่ใหญ่เป็นที่หกของบรรดาเกาะของสกอตแลนด์ และใหญ่เป็นที่สิบของบรรดาเกาะต่าง ๆ ในหมู่เกาะบริติช (British Isles) ที่ตั้งถิ่นฐานใหญ่ที่สุดที่เป็นศูนย์กลางของการปกครองอยู่ที่เคิร์กวอลล์ (Kirkwall) ออร์กนีย์เป็นหนึ่งใน 32 มณฑลของสกอตแลนด์ ผู้ที่อาศัยอยู่ที่ออร์กนีย์เรียกว่า "ออร์เคเดียน" ออร์กนีย์เป็นที่ตั้งถิ่นฐานมากว่า 5,500 ปี เดิมเป็นที่ตั้งถิ่นฐานของชนเผ่าจากยุคหินใหม่ และต่อมาโดยชาวพิกต์ (Picts) ในที่สุดออร์กนีย์ก็ถูกรุกรานและผนวกเป็นส่วนหนึ่งของนอร์เวย์ในปี..

ใหม่!!: รายชื่อแหล่งมรดกโลกในสหราชอาณาจักรและออร์กนีย์ · ดูเพิ่มเติม »

อะทอลล์

กดาวเทียมของอะทอลล์อาตาฟูในโตเกเลาในมหาสมุทรแปซิฟิก อะทอลล์ (atoll) เป็นเกาะปะการังรูปวงแหวนที่ล้อมรอบลากูน ที่อาจล้อมปิดลากูนโดยสมบูรณ์หรือล้อมรอบเป็นบางส่วนก็ได้.

ใหม่!!: รายชื่อแหล่งมรดกโลกในสหราชอาณาจักรและอะทอลล์ · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหารแคนเทอร์เบอรี

อาสนวิหารแคนเทอร์เบอรี (Canterbury Cathedral) เป็นอาสนวิหารแองกลิคันตั้งอยู่ที่เมืองแคนเทอร์เบอรี ในสหราชอาณาจักร เป็นโบสถ์ประจำตำแหน่งอาร์ชบิชอปแห่งแคนเทอร์เบอรี ซึ่งเป็นผู้นำคริสตจักรแห่งอังกฤษและผู้นำเชิงสัญลักษณ์ของแองกลิคันคอมมิวเนียน และเป็นที่ตั้งอาสนะของนักบุญออกัสติน (Chair of St. Augustine) ชื่อที่เรียกกันเป็นทางการของอาสนวิหารแคนเทอร์เบอรีคือ “อาสนวิหารและคริสตจักรมหานครของพระคริสต์ เมืองแคนเทอร์เบอร์รี” (Cathedral and Metropolitical Church of Christ at Canterbury).

ใหม่!!: รายชื่อแหล่งมรดกโลกในสหราชอาณาจักรและอาสนวิหารแคนเทอร์เบอรี · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหารเดอรัม

อาสนวิหารเดอรัม คริสตจักรอาสนวิหารของพระคริสต์ พระนางมารีย์พรหมจารี และเซนต์คัธเบิร์ตแห่งเดอรัม (The Cathedral Church of Christ, Blessed Mary the Virgin and St Cuthbert of Durham) เรียกโดยย่อว่าอาสนวิหารเดอรัม เป็นอาสนวิหารแองกลิคัน ตั้งอยู่ที่เมืองเดอรัมใน สหราชอาณาจักร ก่อตั้งเมื่อ ค.ศ. 1093 มีชื่อเต็มว่า The Cathedral Church of Christ, Blessed Mary the Virgin and St Cuthbert of Durham ลักษณะโครงสร้างส่วนใหญ่เป็นแบบโรมาเนสก์ มีหอคอยสูง 66 เมตร มีบันไดขึ้นทั้งหมด 325 ขั้น อาสนวิหารเป็นที่เก็บเรลิกของคัธเบิร์ตแห่งลินเดสฟาร์น (Cuthbert of Lindisfarne) นักบุญจากศตวรรษที่ 7 นอกจากนั้นยังเป็นที่เก็บศีรษะของนักบุญออสวอลด์แห่งนอร์ธัมเบรีย (St Oswald of Northumbria) และร่างของนักบุญบีด มุขนายกแห่งเดอรัมเป็นตำแหน่งที่มีอำนาจมากมาจนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 ตำแหน่งของมุขนายกแห่งเดอรัมถือว่ามีความสำคัญเป็นที่สี่ของคริสตจักรแห่งอังกฤษ แม้ในปัจจุบันก็ยังมีป้ายของมณฑลเดอรัมว่าเป็นดินแดนของ Prince Bishops อาสนวิหารได้รับเลือกโดยองค์การยูเนสโกให้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก พร้อมกับปราสาทเดอรัมซึ่งอยู่ตรงกันข้ามกันเหนือแม่น้ำเวียร์ (River Wear).

ใหม่!!: รายชื่อแหล่งมรดกโลกในสหราชอาณาจักรและอาสนวิหารเดอรัม · ดูเพิ่มเติม »

อินิโก โจนส์

อินิโก โจนส์ (Inigo Jones; 15 กรกฎาคม ค.ศ. 1573 - 21 มิถุนายน ค.ศ. 1652) ถือกันว่าเป็นสถาปนิกคนสำคัญคนแรกของสถาปัตยกรรมสหราชอาณาจักรสมัยใหม่ และเป็นสถาปนิกคนแรกที่นำสถาปัตยกรรมแบบอิตาลีเข้ามายังอังกฤษ งานชิ้นสำคัญๆ ของโจนส์เป็นตึกโดดเช่นคฤหาสน์รับรอง, ไวท์ฮอลล์ และโคเวนต์การ์เดน ที่กลายมาเป็นแบบอย่างของการพัฒนาในบริเวณเวสต์เอ็นด์ นอกจากนั้นโจนส์ก็ยังมีบทบาทสำคัญในการออกแบบเวทีในฐานะนักออกแบบฉากละครสำหรับ งานสวมหน้ากากเป็นจำนวนมาก ส่วนใหญ่ตามพระราชประสงค์จากราชสำนัก และอีกหลายชิ้นเป็นงานที่ทำร่วมกับเบ็น จอนสัน.

ใหม่!!: รายชื่อแหล่งมรดกโลกในสหราชอาณาจักรและอินิโก โจนส์ · ดูเพิ่มเติม »

องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ

งของยูเนสโก องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization) หรือ ยูเนสโก (UNESCO) เป็นทบวงการชำนัญพิเศษของสหประชาชาติ ก่อตั้งโดยได้มีการลงนามในธรรมนูญขององค์การ เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: รายชื่อแหล่งมรดกโลกในสหราชอาณาจักรและองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ · ดูเพิ่มเติม »

อ๊อกซฟอร์ดเชอร์

อ๊อกซฟอร์ดเชอร์ (ภาษาอังกฤษ: Oxfordshire) หรือมีชื่อย่อว่า “Oxon” ที่มาจากภาษาละติน “Oxonia” เป็นมณฑลที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของอังกฤษ ที่มีประชาชนรวมทั้งสิ้นประมาณ 635,600 คน มณฑลอ๊อกซฟอร์ดเชอร์มีเขตแดนติดกับมณฑลต่างได้แก่ นอร์ทแธมป์ตันเชอร์, บัคคิงแฮมเชอร์, บาร์คเชอร์, วิลท์เชอร์, กลอสเตอร์เชอร์ และวอริคเชอร์ มณฑลอ๊อกซฟอร์ดเชอร์แบ่งการปกครองเป็นห้าแขวง: อ๊อกซฟอร์ด, เชอร์เวลล์, เวลแห่งไวท์ฮอร์ส, เซาท์อ๊อกซฟอร์ดเชอร์ และ เวสต์อ๊อกซฟอร์ดเชอร.

ใหม่!!: รายชื่อแหล่งมรดกโลกในสหราชอาณาจักรและอ๊อกซฟอร์ดเชอร์ · ดูเพิ่มเติม »

จอห์น แวนบรูห์

ซอร์จอห์น แวนบรูห์โดยเจฟฟรี เนลเลอร์ (Godfrey Kneller) จอห์น แวนบรูห์ หรือ เซอร์จอห์น แวนบรูห์ (John Vanbrugh) (24 มกราคม ค.ศ. 1664? – 26 มีนาคม ค.ศ. 1726) เป็นสถาปนิกชาวอังกฤษ และนักเขียนบทละคร (dramatist) งานชิ้นเอกของแวนบรูห์ก็เห็นจะเป็น วังเบล็นไฮม์ และ ปราสาทฮาวเวิร์ด งานอื่นก็ได้แก่บทละครฟื้นฟูราชวงศ์ (Restoration comedy) ซึ่งเป็นบทละครชวนหัวที่แรงๆ สองเรื่อง -- “คืนตัว” (The Relapse) ในปี ค.ศ. 1696 และเรื่อง “ภรรยาผู้ถูกยุ” (The Provoked Wife) ในปี ค.ศ. 1697 ซึ่งเป็นละครที่เล่นกันบ่อยแต่เป็นบทละครที่ทำให้มีความขัดแย้งกันมากเมื่อออกมาใหม่ๆ แวนบรูห์ค่อนข้างจะเป็นผู้มีหัวรุนแรง เมื่อหนุ่มๆ แวนบรูห์ก็เป็นสมาชิกพรรควิกและมีส่วนเกี่ยวข้องกับการโค่นราชบัลลังก์ของ, he was part of the scheme to overthrow สมเด็จพระเจ้าเจมส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ และสนับสนุนการขึ้นครองราชย์ของพระเจ้าวิลเลียมที่ 3 เพื่อพิทักษ์ระบบรัฐสภาประชาธิปไตยของอังกฤษ และมีส่วนเกี่ยวข้องทางการเมืองจนถูกจับเป็นนักโทษการเมืองที่ถูกจำขังที่คุกบาสตีย์ในปารีส ส่วนทางด้านการเขียนบทละครแวนบรูห์มักจะเขียนบทละครแบบเสียดสี เช่นบทละครฟื้นฟูราชวงศ์ และเรื่องที่เกี่ยวกับสังคมในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 18 นอกจากจะเป็นงานเขียนที่ออกจะเปิดเผยในเรื่องทางเพศแล้วก็ยังสื่อความหมายในการป้องกันสิทธิสตรีในการแต่งงานอีกด้วย ซึ่งก็ถูกโจมตีทั้งสองประเด็นและเป็นผู้ที่ถูกวิจารณ์ในค่านิยมโดย เจอเรอมี คอลลีเออร์ (Jeremy Collier) ในหนังสือ “ความคิดเห็นสั้นเกี่ยวกับความขาดศีลธรรมและความหยาบคายในวงการละครอังกฤษ” (Short View of the Immorality and Profaneness of the English Stage) ทางด้านสถาปัตยกรรมแวนบรูห์เป็นผู้นำในการก่อสร้างสิ่งก่อสร้างที่มารู้จักกันในนาม “สถาปัตยกรรมบาโรกแบบอังกฤษ” งานของแวนบรูห์ทางสถาปัตยกรรมก็เป็นการแสดงออกอย่างรุนแรงเช่นเดียวกับความคิดเห็นทางการเมือง.

ใหม่!!: รายชื่อแหล่งมรดกโลกในสหราชอาณาจักรและจอห์น แวนบรูห์ · ดูเพิ่มเติม »

จอห์น เชอร์ชิล ดยุกแห่งมาร์ลบะระ

อห์น เชอร์ชิล ดยุกแห่งมาร์ลบะระ (John Churchill, 1st Duke of Marlborough) เป็นแม่ทัพและรัฐบุรุษชาวอังกฤษผู้รับราชการในพระเจ้าแผ่นดิน 5 พระองค์ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ถึง 18 เขาเป็นแม่ทัพคนสำคัญในสงครามสืบราชบัลลังก์สเปน ซึ่งทำให้อังกฤษได้เข้าครอบครองช่องแคบยิบรอลตาร์และเกาะมินอร์กา จอห์น เชอร์ชิลเริ่มขีวิตการทำงานด้วยการเป็นมหาดเล็กในราชสำนักของราชวงศ์สจวตในราชอาณาจักรอังกฤษ แต่ความเก่งกล้าสามารถในสนามรบทำให้ได้รับการเลื่อนตำแหน่งขึ้นอย่างรวดเร็วจากเจ้าชายเจมส์ ดยุกแห่งยอร์ค เมื่อเจ้าชายเจมส์ขึ้นครองราชบัลลังก์ในปี ค.ศ. 1685 เป็นพระเจ้าเจมส์ที่ 2 เชอร์ชิลได้มีบทบาทสำคัญในการพ่ายแพ้ของการกบฏที่นำโดยเจมส์ สกอตต์ ดยุกแห่งมอนม็อธที่ 1 แต่สามปีต่อมาจอห์น เชอร์ชิลได้ละทิ้งพระเจ้าเจมส์ที่ 2 ผู้เปลี่ยนไปนับถือนิกายโรมันคาทอลิกไปเข้าข้างพระเจ้าวิลเลียมที่ 3 ผู้เป็นโปรแตสแตนท์ ในพระราชพิธีราชาภิเษกจอห์น เชอร์ชิลได้รับแต่งตั้งให้เป็น “เอิร์ลแห่งมาร์ลบะระ” และได้รับราชการมีผลงานดีเด่นในราชอาณาจักรไอร์แลนด์ และฟลานเดอร์สระหว่างสงครามเก้าปี แต่ความสัมพันธ์ระหว่างลอร์ดแห่งมาร์ลบะระและภรรยาซาราห์ กับพระเจ้าวิลเลียมที่ 3 และ สมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 2 ตลอดรัชสมัยของทั้งสองพระองค์ไม่ค่อยดีนัก หลังจากที่ถูกกล่าวหาว่ามีส่วนสมรู้ร่วมคิดกับอดีตพระเจ้าแผ่นดิน ลอร์ดมาร์ลบะระก็ถูกปลดจากตำแหน่งทุกตำแหน่งทั้งการทหารและพลเรือนและถูกจำคุกที่หอคอยลอนดอนอยู่ชั่วระยะหนึ่ง หลังจากพระราชินีนาถแมรีที่ 2 สวรรคตและอังกฤษเผชิญกับสงครามที่เกิดขึ้นในยุโรป ลอร์ดมาร์ลบะระจึงได้กลับมาเป็นคนโปรดอีกครั้งหนึ่ง ลอร์ดมาร์ลบะระมีอิทธิพลในราชสำนักมากที่สุดในรัชการของพระราชินีนาถแอนน์ผู้เป็นสหายสนิทของซาราห์ และได้รับแต่งตั้งให้เป็น “ผู้บัญชาการทหารสูงสุด” (Captain-General) ของกองทัพอังกฤษ แต่ต่อมาได้รับเลื่อนขึ้นเป็นดยุก ดยุกแห่งมาร์ลบะระมีชื่อเสียงจากการต่อสู้ในสงครามสืบราชบัลลังก์สเปนในยุทธการเบล็นไฮม์ (Battle of Blenheim) ยุทธการรามิลีส์ (Battle of Ramillies) และ ยุทธการอูเดนาร์ด (Battle of Oudenarde) แต่เมื่อซาราห์ไม่ได้กลายเป็นสหายสนิทของพระราชินีนาถแอนน์และพรรคทอรี จึงต้องมีการสงบศึกกับฝรั่งเศสซึ่งทำให้ดยุกแห่งมาร์ลบะระหมดอำนาจลง ดยุกแห่งมาร์ลบะระถูกกล่าวหาว่าฉ้อโกงจึงถูกปลดจากตำแหน่งทุกตำแหน่งทั้งการทหารและพลเรือนอีกครั้งหนี่ง แต่ก็มารุ่งเรืองขึ้นอีกเมื่อพระเจ้าจอร์จที่ 1 ขึ้นครองราชย์ในปี ค.ศ. 1714 แต่สุขภาพของดยุกได้เริ่มเสื่อมโทรมลง หลังจากการอุดตันของเส้นโลหิตที่ไปเลี้ยงสมองเกิดขึ้นสองสามครั้ง ในที่สุดก็เสียชีวิตที่บ้านวินด์เซอร์เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน ค.ศ. 1722.

ใหม่!!: รายชื่อแหล่งมรดกโลกในสหราชอาณาจักรและจอห์น เชอร์ชิล ดยุกแห่งมาร์ลบะระ · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิบริติช

ักรวรรดิบริติช (British Empire) หรือ จักรวรรดิอังกฤษ ประกอบด้วยประเทศในเครือจักรภพ, คราวน์โคโลนี, รัฐในอารักขา, รัฐในอาณัติ และดินแดนอื่นซึ่งสหราชอาณาจักรปกครองหรือบริหาร จักรวรรดิกำเนิดจากดินแดนอาณานิคมโพ้นทะเลและสถานีการค้าที่ราชอาณาจักรอังกฤษก่อตั้งระหว่างปลายคริสต์ศตวรรษที่ 16 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 18 ในช่วงที่เจริญถึงขีดสุด จักรวรรดิบริติชเป็นจักรวรรดิที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ และเป็นมหาอำนาจโลกชั้นแนวหน้านานกว่าหนึ่งศตวรรษ ใน..

ใหม่!!: รายชื่อแหล่งมรดกโลกในสหราชอาณาจักรและจักรวรรดิบริติช · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิโรมัน

ักรวรรดิโรมันในช่วงเวลาต่างๆกัน จักรวรรดิโรมัน (Imperivm Romanvm; Ῥωμαϊκὴ Αὐτοκρατορία หรือ Ἡ Ῥωμαίων βασιλεία; Roman Empire) เป็นช่วงระยะเวลาหนึ่งของอารยธรรมโรมันโบราณซึ่งปกครองโดยรูปแบบอัตตาธิปไตย จักรวรรดิโรมันได้สืบต่อการปกครองมาจากสาธารณรัฐโรมัน (510 ปีก่อนคริสตกาล - ศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสตาล) ซึ่งได้อ่อนแอลงหลังจากความขัดแย้งระหว่างไกอุส มาริอุสและซุลลา และสงครามกลางเมืองระหว่างจูเลียส ซีซาร์และปอมปีย์ มีวันหลายวันที่ได้ถูกเสนอให้เป็นเส้นแบ่งของการเปลี่ยนแปลงระหว่างสาธารณรัฐและจักรวรรดิ ได้แก.

ใหม่!!: รายชื่อแหล่งมรดกโลกในสหราชอาณาจักรและจักรวรรดิโรมัน · ดูเพิ่มเติม »

ดอร์เซต

อร์เซ็ท (Dorset) เป็นเทศมณฑลในประเทศอังกฤษ สหราชอาณาจักร ที่มีฐานะเป็นเทศมณฑลพิธีที่ไม่ใช่มหานคร ตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ของอังกฤษ มีอาณาเขตนติดกับเดวอนทางด้านตะวันตก ซัมเมอร์เซตทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือ วิลต์เชอร์ทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือ และแฮมป์เชอร์ทางตะวันออก ดอร์เซ็ทแบ่งการปกครองเป็นห้าแขวง: เวย์มัธและพอร์ทแลนด์, เวสต์ดอร์เซ็ท, นอร์ธดอร์เซ็ท, เพอร์เบ็ค, อีสต์ดอร์เซ็ท, ไครสต์เชิร์ช, บอร์นมัธ, และพูลโดยมีดอร์เชสเตอร์เป็นเมืองหลวงของมณฑล ดอร์เซ็ทมีเนื้อที่ 2653 ตารางกิโลเมตร และมีประชาชนรวมทั้งสิ้นประมาณ 708,100 คน (ค.ศ.) ถัวเฉลี่ย 265 คนต่อหนึ่งตารางกิโลเมตร ดินแดนส่วนใหญ่เป็นชนบทประชากรส่วนใหญ่ตั้งถิ่นฐานอยู่ริมทะเล ชื่อเสียงของดอร์เซ็ทอยู่ที่ฝั่งทะเลเจอราสสิคซึ่งได้รับการประกาศให้เป็นมรดกโลกที่ประกอบด้วยลัลเวิร์ธโคฟว์ (Lulworth Cove), ไอล์ออฟพอร์ตแลนด์ (Isle of Portland), หาดเชสซิล (Chesil Beach) และเดอร์เดิลดอร์ (Durdle Door) และเมืองชายทะเลบอร์นมัธ, พูล, เวย์มัธ, สวอนเนจ และไลม์รีจิส นอกจากนั้นดอร์เซ็ทก็ใช้เป็นฉากในนวนิยายหลายเรื่องโดยนักประพันธ์คนสำคัญของอังกฤษทอมัส ฮาร์ดี (Thomas Hardy) ผู้เกิดที่เมืองดอร์เชสเตอร์ ดอร์เซ็ทเป็นที่ตั้งถิ่นฐานของผู้คนมาตั้งแต่โบราณที่จะเห็นได้จากหลักฐานทางโบราณคดีเช่น ป้อมเนิน (ไม่ใช่เนินป้อม hill fort) ที่เมดเด็นคาสเซิล และฮอดฮิลล.

ใหม่!!: รายชื่อแหล่งมรดกโลกในสหราชอาณาจักรและดอร์เซต · ดูเพิ่มเติม »

ดาร์บิเชอร์

ร์บิเชอร์ หรือ ดาร์บิเชียร์ (Derbyshire) เป็นมณฑลในอังกฤษในสหราชอาณาจักร ที่ตั้งอยู่ทางภาคมิดแลนด์สตะวันออกของอังกฤษ ดินแดนส่วนใหญ่ของอุทยานแห่งชาติพีคดดิสตริคท์ (Peak District National Park) ตั้งอยู่ในดาร์บิเชอร์ ทางตอนเหนือของมณฑลคาบกับบริเวณแนวเนินเขาเพ็นไนน์ ดาร์บิเชอร์มีเขตแดนติดกับนครแมนเชสเตอร์และปริมณฑล, มณฑลเวสต์ยอร์คเชอร์, เซาท์ยอร์คเชอร์, น็อตติงแฮมเชอร์, เลสเตอร์เชอร์, สตาฟฟอร์ดเชอร์ และ เชสเชอร์ ดาร์บิเชอร์อาจจะอ้างได้ว่าเป็นศูนย์กลางของบริเตน เพราะฟาร์มหนึ่งในดาร์บิเชอร์กล่าวกันว่าเป็นฟาร์มที่ห่างจากทะเลมากที่สุดในบรรดาที่ต่างๆ ในบริเตน ดาร์บิเชอร์มีเนื้อที่ 2,625 ตารางกิโลเมตร และมีประชาชนรวมทั้งสิ้นประมาณ 996,000 คน ถัวเฉลี่ย 379 คนต่อหนึ่งตารางกิโลเมตร.

ใหม่!!: รายชื่อแหล่งมรดกโลกในสหราชอาณาจักรและดาร์บิเชอร์ · ดูเพิ่มเติม »

คริสตจักรแห่งอังกฤษ

ภาคแคนเทอร์เบอรี (สีเหลือง) และภาคยอร์ก (สีชมพู) คริสตจักรแห่งอังกฤษราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 44-5 (Church of England) เป็นคริสตจักรประจำชาติ ของอังกฤษ และเป็นคริสตจักรแม่ของแองกลิคันคอมมิวเนียนทั่วโลก ในช่วงแรกคริสตจักรในอังกฤษยังเป็นส่วนหนึ่งของคริสตจักรโรมันคาทอลิก แต่เมื่อพระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษตัดสินพระทัยหย่าขาดกับพระนางแคเธอรินแห่งอารากอนซึ่งฝ่าฝืนคำสั่งของพระสันตะปาปาไป พระองค์ก็มีพระราชโองการให้คริสตจักรแห่งอังกฤษแยกตัวจากคริสตจักรโรมันคาทอลิกในปี..

ใหม่!!: รายชื่อแหล่งมรดกโลกในสหราชอาณาจักรและคริสตจักรแห่งอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

คริสโตเฟอร์ เรน

ซอร์ คริสโตเฟอร์ เรน (Sir Christopher Wren) (20 ตุลาคม ค.ศ. 1632 - 25 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1723) เป็นสถาปนิกอังกฤษที่ได้รับการยกย่องมากที่สุดคนหนึ่งในประวัติศาสตร์ เขารับหน้าที่ปรับปรุงโบสถ์ 51 แห่ง ในนครหลวงลอนดอน หลังเกิดเหตุเพลิงใหม้ครั้งใหญ่ ในปี..

ใหม่!!: รายชื่อแหล่งมรดกโลกในสหราชอาณาจักรและคริสโตเฟอร์ เรน · ดูเพิ่มเติม »

คอร์นวอลล์

อร์นวอลล์ (Cornwall) หรือ แคร์นอว์ (Kernow) เป็นเทศมณฑลแห่งหนึ่งของประเทศอังกฤษภายในสหราชอาณาจักร ตั้งอยู่ทางปลายแหลมด้านตะวันตกเฉียงใต้ของสหราชอาณาจักร ทางด้านเหนือและด้านตะวันตกจรดทะเลเคลติก ทางด้านใต้จรดช่องแคบอังกฤษ ด้านตะวันออกติดกับเทศมณฑลเดวอนโดยมีแม่น้ำเทมาร์เป็นเส้นแบ่งเขต คอร์นวอลล์มีประชากรรวมทั้งสิ้นประมาณ 526,300 คน ในเนื้อที่ 3,563 ตารางกิโลเมตร ศูนย์กลางการปกครองตั้งอยู่ที่เมืองทรูโร ดินแดนบริเวณคอร์นวอลล์เดิมเป็นที่ตั้งหลักแหล่งของชนยุคหินจากนั้นก็เป็นชนยุคสำริดและต่อมาในสมัยยุคเหล็กโดยชาวเคลต์ คอร์นวอลล์เป็นส่วนหนึ่งของบริเวณที่พูดภาษากลุ่มบริทอนิก (Brythonic languages) ที่ตัดขาดจากกลุ่มชนที่พูดภาษากลุ่มเดียวกันในเวลส์หลังจากยุทธการเดอรัม (Battle of Deorham) โดยมักขัดแย้งกับชาวแซกซันแห่งราชอาณาจักรเวสเซกซ์ที่พยายามขยายดินแดนเข้ามา ก่อนที่พระเจ้าแอเทลสตันจะกำหนดเขตแดนระหว่างชาวอังกฤษกับชาวคอร์นิชโดยใช้แม่น้ำทามาร์ คอร์นวอลล์รวมกับอังกฤษเมื่อใดไม่มีหลักฐานแน่นอน แต่การใช้ภาษาคอร์นิชยังคงใช้กันต่อมาจนคริสต์ศตวรรษที่ 18 การฟื้นฟูการใช้ภาษาคอร์นิชอีกครั้งมาเริ่มต้นขึ้นเมื่อคริสต์ศตวรรษ 20 และเพิ่มความนิยมมากขึ้นในคริสต์ทศวรรษที่ผ่านมา ในปัจจุบันคอร์นวอลล์ประสบปัญหาทางเศรษฐกิจเนื่องจากอุตสาหกรรมเหมืองดีบุกและอุตสาหกรรมการประมงเสื่อมโทรมลงและต้องหันมาพึ่งพาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเป็นหลัก ดินแดนคอร์นวอลล์มีชื่อในทางที่มีภูมิทัศน์เป็นดินแดนสูงที่เป็นทุ่งที่มีแต่พืชพรรณเตี้ย ๆ เติบโตอยู่ที่เรียกว่า "ทุ่งมัวร์" (Moorland) และชายฝั่งทะเลที่น่าดูและอากาศที่อุ่นกว่าบริเวณอื่นของอังกฤษ.

ใหม่!!: รายชื่อแหล่งมรดกโลกในสหราชอาณาจักรและคอร์นวอลล์ · ดูเพิ่มเติม »

คัมเบรีย

ัมเบรีย (Cumbria) เป็นมณฑลในอังกฤษในสหราชอาณาจักร ที่มีฐานะเป็นมณฑลภูมิศาสตร์ และมณฑลนอกเมโทรโพลิตัน คัมเบรีย ตั้งอยู่ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของอังกฤษที่มีเขตแดนทางด้านตะวันตกติดกับทะเลไอริช ทางด้านไต้ติดกับมณฑลแลงคาสเชอร์, ทรงตะวันออกเฉียงไต้ติดกับมณฑลนอร์ธยอร์คเชอร์, ทางตะวันออกติดกับมณฑลเดอแรม และมณฑลนอร์ทธัมเบอร์แลนด์ และมณฑลดัมฟรีส์และกาลลเวย์ของสกอตแลนด์ทางด้านเหนือ คัมเบรียแบ่งการปกครองเป็นหกแขวง: บาร์โรว์อินเฟอร์เนสส์, เซาท์เลคแลนด์, โคพแลนด์, อัลเลอร์เดล, อีเด็น และนครคาร์ไลล์โดยมีคาร์ไลล์เป็นเมืองหลวงของมณฑล คัมเบรียมีเนื้อที่ 6768 ตารางกิโลเมตร และในปี..

ใหม่!!: รายชื่อแหล่งมรดกโลกในสหราชอาณาจักรและคัมเบรีย · ดูเพิ่มเติม »

คณะกรรมการมรดกโลก

ลโก้ของยูเนสโกในคณะกรรมการมรดกโลก คณะกรรมการมรดกโลก (World Heritage Committee) ถูกก่อตั้งโดยเป็นส่วนหนึ่งของของมรดกโลกของยูเนสโก คณะกรรมการมรดกโลกจะมีการประชุมร่วมกันหลายครั้งในแต่ละปี เพื่ออภิปรายถึงแผนการจัดการเกี่ยวกับแหล่งมรดกโลกที่ยังคงอยู่ และรับรายชื่อสถานที่ที่ประเทศต่างๆเสนอให้ได้รับการพิจารณาให้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก และจะมีการประชุมครั้งหนึ่งที่เรียกว่า การประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ (World Heritage Committee Session) ซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี เพื่อตัดสินว่าสถานที่ที่ได้รับการเสนอชื่อแห่งใดที่จะได้รับการขึ้นทะเบียนอย่างเป็นทางการ การประชุมสมัยสามัญประจำปีจะผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันจัดในเมืองสำคัญต่างๆจากทั่วโลก ซึ่งนอกจากครั้งที่จัดขึ้นที่กรุงปารีส อันเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ขององค์การยูเนสโกแล้ว จะมีเพียงประเทศที่สมาชิกของคณะกรรมการมรดกโลกเท่านั้นที่จะได้รับสิทธิในการจัดการประชุมครั้งต่อไป โดยจะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ และรับรองได้ว่าสมาชิกภาพของประเทศนั้นๆจะไม่หมดวาระลงเสียก่อนที่จะได้จัดการประชุม.

ใหม่!!: รายชื่อแหล่งมรดกโลกในสหราชอาณาจักรและคณะกรรมการมรดกโลก · ดูเพิ่มเติม »

ซัมเมอร์เซต

ซัมเมอร์เซต (ภาษาอังกฤษ: Somerset) เป็นมณฑลในอังกฤษในสหราชอาณาจักรที่ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของสหราชอาณาจักร มณฑลภูมิศาสตร์ซัมเมอร์เซตมีเขตแดนติดกับบริสตอล และมณฑลกลอสเตอร์เชอร์ทางเหนือ, มณฑลวิลท์เชอร์ ทางตะวันออก, มณฑลดอร์เซตทางตะวันออกเฉียงใต้, และมณฑลเดวอนทางตะวันตกเฉียงใต้ ด้านเหนือและตะวันตกบางส่วนติดกับฝั่งทะเลของช่องแคบบริสตอลและปากน้ำ (estuary) ของแม่น้ำเซเวิร์น ตามธรรมเนียมทางเหนือของมณฑลเป็นแม่น้ำเอวอนแต่เขตการปกครองเลื่อนไปทางใต้เมื่อนครบริสตอลและอดีตมณฑลเอวอนและต่อมารัฐบาลท้องถิ่นระดับเดียวขยายเขตการปกครองทางเหนือของมณฑล ซัมเมอร์เซตเป็นมณฑลชนบทที่มีภูมิประเทศเป็นเนินสูงๆ ต่ำๆ เช่นเม็นดิพฮิลล์ส, ควานต็อคฮิลล์ส และอุทยานแห่งชาติเอ็กซ์มัวร์ และดินแดนที่กว้างไกลที่รวมทั้งซัมเมอร์เซตเลเวลส์ ซัมเมอร์เซตมีหลักฐานว่ามีผู้มาตั้งถิ่นฐานตั้งแต่ยุคหินใหม่และต่อมาในสมัยโรมัน และแซ็กซอน ต่อมาซัมเมอร์เซตก็มีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์ที่รวมทั้งการรวบรวมอำนาจของสมเด็จพระเจ้าอัลเฟรดมหาราช, สงครามกลางเมืองอังกฤษ และการปฏิวัติมอนม็อธ (Monmouth Rebellion) การเกษตรกรรมเป็นธุรกิจหลักของมณฑลที่รวมทั้งการเลี้ยงแกะและวัว ที่ใช้ในการทำขนแกะและเนยแข็ง นอกจากนั้นก็มีการตัดวิลโลว์สำหรับสานตะกร้า การทำสวนแอปเปิลครั้งหนึ่งเคยทำกันเป็นอุตสาหกรรมแต่ในปัจจุบันซัมเมอร์เซตก็ยังมีชื่อเสียงในการทำไซเดอร์ (cider) สถิติผู้ว่างงานโดยถัวเฉลี่ยน้อยกว่าระดับชาติ การรับจ้างที่สูงที่สุดอยู่ในการค้าขาย, การผลิต, การท่องเที่ยว, และการสุขภาพและการสังคมสงเคราะห์ การขยายตัวของจำนวนประชากรโดยถัวเฉลี่ยสูงกว่าระดับชาติ ซัมเมอร์เซตแบ่งการปกครองเป็นเจ็ดแขวง: เซาท์ซัมเมอร์เซต, ทอนทันดีน, เวสต์ซัมเมอร์เซต, เซจมัวร์, เม็นดิพ, บาธและนอร์ธอีสต์ซัมเมอร์เซต, นอร์ธซัมเมอร์เซต โดยมีทอนทันเป็นเมืองหลวงของมณฑล ซัมเมอร์เซตมีประชาชนรวมทั้งสิ้นประมาณ 905,700 คน ในเนื้อที่ 4,171 ตารางกิโลเมตร.

ใหม่!!: รายชื่อแหล่งมรดกโลกในสหราชอาณาจักรและซัมเมอร์เซต · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศกำลังพัฒนา

ประเทศสีเหลือง/ส้ม มีการพัฒนามนุษย์ในระดับกลาง และประเทศสีแดง มีการพัฒนามนุษย์ในระดับต่ำ ประเทศกำลังพัฒนา หรือ ประเทศพัฒนาน้อยกว่า หรือ ประเทศด้อยพัฒนา เป็นคำที่ใช้เรียกประเทศที่มีมาตรฐานการดำรงชีวิตปานกลาง-ต่ำ พื้นฐานอุตสาหกรรมยังไม่พัฒนา และมีดัชนีการพัฒนามนุษย์ (Human Development Index) อยู่ในระดับปานกลาง-ต่ำ คำนี้มีแนวโน้มที่จะถูกแทนใช้ที่คำอื่น ๆ ที่เคยใช้ก่อนหน้า ซึ่งรวมถึงคำว่า "โลกที่สาม" ซึ่งเกิดขึ้นในยุคสงครามเย็น เนื่องจากไม่มีคำจำกัดความใดๆมากำหนด คำว่าประเทศพัฒนานาแล้ว อาจเป็นไปได้ว่า ระดับของคำว่า พัฒนาแล้ว จะมีความแตกต่างอย่างเห็นได้ชัดมากกว่า คำว่า กำลังพัฒนาด้วย สำหรับบางประเทศที่ถูกเรียกว่า เป็นประเทศกำลังพัฒนา ยังพบว่ามีค่าเฉลี่ยของมาตรฐานการดำรงชีวิตอยู่ในระดับสูงเช่นกัน ส่วนประเทศที่มีสภาพเศรษฐกิจที่จัดอยู่ในระดับก้าวหน้ามากกว่าประเทศที่กำลังพัฒนา แต่ยังไม่ถูกจัดอยู่ในกลุ่มของ ประเทศพัฒนาแล้ว จะถูกจัดให้อยู่กลุ่มที่ใช้คำจำกัดความว่า ประเทศอุตสาหกรรมใหม.

ใหม่!!: รายชื่อแหล่งมรดกโลกในสหราชอาณาจักรและประเทศกำลังพัฒนา · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศสกอตแลนด์

กอตแลนด์ (Scotland; Alba อาละเปอะ) เป็นชาติของชนชาวสก็อตและเป็นส่วนหนึ่งของประเทศสหราชอาณาจักร โดยครอบคลุมพื้นที่หนึ่งในสามทางตอนเหนือของเกาะบริเตนใหญ่ มีพรมแดนร่วมกับประเทศอังกฤษทางทิศใต้ ส่วนที่เหลือล้อมรอบด้วยมหาสมุทรแอตแลนติก ทางตะวันออกเป็นทะเลเหนือ และทิศตะวันตกเฉียงใต้จดช่องแคบเหนือและทะเลไอร์แลนด์ นอกเหนือจากแผ่นดินใหญ่แล้ว ประเทศสกอตแลนด์ยังมีเกาะอีกกว่า 790 เกาะ เอดินบะระ เมืองหลวงและนครใหญ่ที่สุดอันดับสองของประเทศ เป็นศูนย์กลางยุคเรืองปัญญาของชาวสกอตในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ซึ่งเปลี่ยนสกอตแลนด์มาเป็นมหาอำนาจทางพาณิชย์ ทางการศึกษา และทางอุตสาหกรรมเมืองหนึ่งของทวีปยุโรป ฯ กลาสโกว์ นครใหญ่สุดของสกอตแลนด์ เคยเป็นนครอุตสาหกรรมชั้นนำของโลกและปัจจุบันเป็นศูนย์กลางของเขตเมืองขยายเกรตเตอร์กลาสโกว์ น่านน้ำสกอตแลนด์ประกอบด้วยทะเลแอตแลนติกเหนือและทะเลเหนือ ซึ่งมีปริมาณน้ำมันสำรองใหญ่สุดในสหภาพยุโรป ทำให้เมืองแอเบอร์ดีน นครใหญ่สุดอันดับสามในสกอตแลนด์ ได้ชื่อว่าเป็นเมืองหลวงน้ำมันของทวีปยุโรป เดิมราชอาณาจักรสกอตแลนด์เป็นประเทศอิสระที่ไม่ขึ้นกับประเทศอังกฤษจนถึง..

ใหม่!!: รายชื่อแหล่งมรดกโลกในสหราชอาณาจักรและประเทศสกอตแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอังกฤษ

อังกฤษ (England อิง(ก)ลันด์) หรือในอดีตเรียกว่า แคว้นอังกฤษ เป็นประเทศอันเป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร มีพรมแดนทางบกติดต่อกับสกอตแลนด์ทางเหนือ และเวลส์ทางตะวันตก ทะเลไอร์แลนด์ทางตะวันตกเฉียงเหนือ ทะเลเคลติกทางตะวันตกเฉียงใต้ ทะเลเหนือทางตะวันออก และช่องแคบอังกฤษซึ่งคั่นระหว่างอังกฤษกับยุโรปแผ่นดินใหญ่ พื้นที่ประเทศอังกฤษส่วนใหญ่ตั้งอยู่ทางตอนกลางและตอนใต้ของเกาะบริเตนใหญ่ในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ประเทศอังกฤษยังรวมถึงเกาะที่เล็กกว่าอีกกว่า 100 เกาะ เช่น หมู่เกาะซิลลีและเกาะไวต์ ภูมิประเทศของอังกฤษส่วนมากประกอบด้วยเขาเตี้ยๆ และที่ราบ โดยเฉพาะทางตอนกลางและตอนใต้ของอังกฤษ อย่างไรก็ตาม ทางเหนือและทางตะวันตกเฉียงใต้เป็นที่สูง วินเชสเตอร์เป็นเมืองหลวงเก่าของอังกฤษกระทั่งเปลี่ยนมาเป็นลอนดอนใน..

ใหม่!!: รายชื่อแหล่งมรดกโลกในสหราชอาณาจักรและประเทศอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเวลส์

วลส์ (Wales; Cymru, ออกเสียง คัมรึ) เป็น 1 ใน 4 ประเทศที่ประกอบเป็นสหราชอาณาจักร (ได้แก่ อังกฤษ สกอตแลนด์ เวลส์ และไอร์แลนด์เหนือ) เวลส์อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะบริเตนใหญ่ โดยทิศตะวันออกติดกับประเทศอังกฤษ ทิศใต้ติดกับช่องแคบบริสตอล (Bristol Channel) ทิศตะวันตกติดกับช่องแคบจอร์เจส (George's Channel) และทางเหนือติดกับทะเลไอริช คำว่า ราชรัฐเวลส์ ยังคงเป็นที่นิยมใช้ ถึงแม้ว่าเจ้าชายแห่งเวลส์จะไม่มีบทบาททางการเมืองตั้งแต่ปี พ.ศ. 1825 (ค.ศ. 1282) โดยพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 2 แห่งอังกฤษทรงเข้ายึดครอง ต่อมาเมืองหลวงของเวลส์ถูกย้ายจากคายร์นาร์วอน (ซึ่งเป็นเมืองของเจ้าชายเวลส์) มาที่คาร์ดิฟฟ์ในปี พ.ศ. 2498 (ค.ศ. 1955).

ใหม่!!: รายชื่อแหล่งมรดกโลกในสหราชอาณาจักรและประเทศเวลส์ · ดูเพิ่มเติม »

ปราสาทเดอรัม

ปราสาทเดอรัม มองจากหน้าโบสถ์ ทางเข้าปราสาทเดอรัม มุมมองจากภายในลานปราสาท ป้อมปราสาท ปราสาทเดอรัม (Durham Castle) เป็นปราสาทแบบนอร์มันในเมืองเดอรัม เทศมณฑลเดอรัม สหราชอาณาจักร ตั้งอยู่ตรงข้ามกับโบสถ์เดอรัม บนยอดเนินเขาเหนือแม่น้ำแวร์บนคาบสมุทรเดอรัม.

ใหม่!!: รายชื่อแหล่งมรดกโลกในสหราชอาณาจักรและปราสาทเดอรัม · ดูเพิ่มเติม »

นอร์ฟอล์ก

ที่ตั้งของมณฑลนอร์ฟอล์ก นอร์ฟอล์ก หรือ นอร์เฟิก (Norfolk) เป็นมณฑลในอังกฤษในสหราชอาณาจักร ที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกของอังกฤษ โดยมีนอริชเป็นเมืองหลวง นอร์ฟอล์กมีเขตแดนติดกับลิงคอล์นเชอร์ทางตะวันตก เคมบริดจ์เชอร์ทางตะวันตกและทางตะวันตกเฉียงใต้ และซัฟฟอล์กทางด้านใต้ ทางเหนือและตะวันออกติดทะเลเหนือ.

ใหม่!!: รายชื่อแหล่งมรดกโลกในสหราชอาณาจักรและนอร์ฟอล์ก · ดูเพิ่มเติม »

นักบุญบีด

นักบุญบีดผู้น่าเคารพ (Saint Bede; Venerable Bede; หรือเบดา (Beda; ค.ศ. 672/ค.ศ. 673–26 พฤษภาคม ค.ศ. 735) เป็น เป็นบาทหลวงและนักพรตโรมันคาทอลิกประจำอารามมังค์แวร์มัท-แจร์โรว์ ในราชอาณาจักรนอร์ธัมเบรีย นักบุญบีดมีชื่อเสียงจากการเป็นนักบันทึกเหตุการณ์และนักวิชาการ งานชิ้นสำคัญของท่านคือ “ประวัติศาสตร์คริสตจักรของชนอังกฤษ” ที่ทำให้ได้รับชื่อว่าเป็น “บิดาแห่งประวัติศาสตร์อังกฤษ” นอกจากนั้นก็ยังเป็นหนึ่งในนักปราชญ์แห่งคริสตจักร นักบุญบีดเป็นนักบุญจากบริเตนใหญ่ผู้เดียวที่ได้รับตำแหน่งนี้ (นักบุญแอนเซล์มแห่งแคนเทอร์เบอรี ได้รับตำแหน่งนี้แต่มาจากอิตาลี).

ใหม่!!: รายชื่อแหล่งมรดกโลกในสหราชอาณาจักรและนักบุญบีด · ดูเพิ่มเติม »

นิโคลัส ฮอคสมอร์

นิโคลัส ฮอคสมอร์ (Nicholas Hawksmoor) (ราว ค.ศ. 1661 - 25 มีนาคม ค.ศ. 1736) เป็นสถาปนิกของสมัยบาโรกคนสำคัญชาวอังกฤษของในคริสต์ศตวรรษที่ 18 นักประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมเฮาเวิร์ด โคลวินบรรยายฮอคสมอร์ว่าเป็นสถาปนิกผู้ "มีความมั่นใจในความรู้ทางคลาสสิกกว่าจอห์น แวนบรูห์ผู้ไม่ได้รับการศึกษาอย่างเป็นทางการทางสถาปัตยกรรม, มีจินตนาการการเห็นการไกลมากกว่าผู้รอบรู้เช่นคริสโตเฟอร์ เร็น" ระหว่าง..

ใหม่!!: รายชื่อแหล่งมรดกโลกในสหราชอาณาจักรและนิโคลัส ฮอคสมอร์ · ดูเพิ่มเติม »

นครเวสต์มินสเตอร์

นครเวสต์มินสเตอร์ (ภาษาอังกฤษ: City of Westminster) เป็นนครของลอนดอนที่ตั้งอยู่ทางตะวันตกของนครลอนดอนและเหนือฝั่งแม่น้ำเทมส์ และเป็นส่วนหนึ่งของใจกลางลอนดอน อาณาบริเวณของนครเวสต์มินสเตอร์รวมทั้งบริเวณเวสต์เอ็นด์เกือบทั้งหมดและเป็นที่ตั้งของรัฐบาลของสหราชอาณาจักร, พระราชวังเวสต์มินสเตอร์, พระราชวังบัคคิงแฮม, พระราชวังไวท์ฮอลล์ และ Royal Courts of Justice ในปี..

ใหม่!!: รายชื่อแหล่งมรดกโลกในสหราชอาณาจักรและนครเวสต์มินสเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

แมนเชสเตอร์

แมนเชสเตอร์ (Manchester) เป็นนครและโบโรฮ์มหานคร ในเทศมณฑลเกรเทอร์แมนเชสเตอร์ ตอนเหนือของประเทศอังกฤษ มีประชากรในปี..

ใหม่!!: รายชื่อแหล่งมรดกโลกในสหราชอาณาจักรและแมนเชสเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ไอร์แลนด์เหนือ

อร์แลนด์เหนือ (Northern Ireland; Tuaisceart Éireann ทวฌเชอรท์ เอรัน) คือ 1 ใน 4 ประเทศองค์ประกอบของสหราชอาณาจักรซึ่งประกอบด้วยอังกฤษ สกอตแลนด์ เวลส์ และไอร์แลนด์เหนือ ไอร์แลนด์เหนือตั้งอยู่บนเกาะไอร์แลนด์ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ มีพรมแดนด้านตะวันตกและใต้ติดประเทศไอร์แลนด์ ทิศเหนือติดกับมหาสมุทรแอตแลนติก ทิศตะวันออกเฉียงเหนือติดกับช่องแคบเหนือ และทิศตะวันออกติดกับทะเลไอริช เมืองหลวงมีชื่อว่า เบลฟาสต์ ซึ่งมีประชากรประมาณ 333,000 คน.

ใหม่!!: รายชื่อแหล่งมรดกโลกในสหราชอาณาจักรและไอร์แลนด์เหนือ · ดูเพิ่มเติม »

เบอร์มิวดา

อร์มิวดา เป็นดินแดนโพ้นทะเลของสหราชอาณาจักรในมหาสมุทรแอตแลนติก ตั้งอยู่นอกชายฝั่งตะวันออกของสหรัฐอเมริกาห่างจากรัฐนอร์ทแคโรไลนาไปทางตะวันออก 580 ไมล์ เบอร์มิวดาเป็นดินแดนโพ้นทะเลที่เก่าแก่ที่สุดของสหราชอาณาจักร ที่ยังคงเหลืออยู่ โดยมีชาวอังกฤษมาตั้งรกรากก่อนการรวมตัวเป็นสหราชอาณาจักรถึงสองศตวรรษ โดยค้นพบครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2152 (ค.ศ. 1609).

ใหม่!!: รายชื่อแหล่งมรดกโลกในสหราชอาณาจักรและเบอร์มิวดา · ดูเพิ่มเติม »

เกรเทอร์ลอนดอน

ริเวณที่ตั้งของเกรเทอร์ลอนดอน ศาลาเทศบาลประจำเกรเทอร์ลอนดอน เกรเทอร์ลอนดอน (Greater London) เป็นเทศมณฑลพิธีและภาคการปกครองหนึ่งของประเทศอังกฤษ ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 เมษายน..

ใหม่!!: รายชื่อแหล่งมรดกโลกในสหราชอาณาจักรและเกรเทอร์ลอนดอน · ดูเพิ่มเติม »

เลกดิสตริกต์

ลกดิสตริกต์ (Lake District) หรือรู้จักกันในชื่อ เลกแลนด์ (Lakeland) เป็นพื้นที่ที่มีภูมิประเทศแบบภูเขาในภาคตะวันตกเฉียงเหนือของอังกฤษ เป็นสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมในวันหยุด มีทะเลสาบ, ภูเขา และป่าที่มีชื่อเสียง นอกจากนี้ยังเป็นที่ตั้งของอุทยานแห่งชาติเลกดิสตริกต์ ซึ่งครอบคลุมพื้นที่เกือบทุกส่วนของเลกดิสตริกต์อีกด้วย ซึ่งในแต่ละปีจะมีผู้เยี่ยมชมอุทยานนี้กว่า 15 ล้านคน ถือเป็นอุทยานแห่งชาติที่มีผู้เยี่ยมชมมากที่สุดในสหราชอาณาจักร เลกดิสตริกต์ตั้งอยู่ในเทศมณฑลคัมเบรีย ในอุทยานแห่งนี้ยังเป็นที่ตั้งของสกอเฟลล์ไพก์ (Scafell Pike) ยอดเขาที่สูงที่สุดในอังกฤษซึ่งมีความสูง 978 เมตร นอกจากนี้ยังเป็นที่ตั้งของจุดที่ลึกที่สุดในอังกฤษ คือทะเลสาบวอสต์วอเทอร์ (Wastwater) และวินเดอร์เมียร์ (Windermere) อุณหภูมิในหน้าร้อนอยู่ระหว่าง 9.0 ถึง 20°ซ และอุณหภูมิในหน้าหนาวอยู่ระหว่าง 1.4 ถึง 9.7°ซ.

ใหม่!!: รายชื่อแหล่งมรดกโลกในสหราชอาณาจักรและเลกดิสตริกต์ · ดูเพิ่มเติม »

เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์

วสต์มินสเตอร์แอบบีย์ (Westminster Abbey) เดิมเป็นแอบบีย์ แต่ปัจจุบันเป็นโบสถ์ในนิกายแองกลิคันที่ตั้งอยู่ทางตะวันตกของพระราชวังเวสต์มินสเตอร์ในนครเวสต์มินสเตอร์ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ สถาปัตยกรรมที่เห็นอยู่ในปัจจุบันเป็นแบบสถาปัตยกรรมกอทิกเป็นส่วนใหญ่นอกจากหอคอยที่เป็นสถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอทิก เป็นสถานที่ประกอบพิธีราชาภิเษกและที่ฝังพระบรมศพพระมหากษัตริย์อังกฤษและพระศพพระบรมวงศานุวงศ์ ระหว่างปี..

ใหม่!!: รายชื่อแหล่งมรดกโลกในสหราชอาณาจักรและเวสต์มินสเตอร์แอบบีย์ · ดูเพิ่มเติม »

เอดินบะระ

อดินบะระ (Edinburgh เอดินเบอระ; Dùn Èideann; บางคนอ่าน/เขียนผิดเป็น: เอดินเบิร์ก) เป็นเมืองหลวงของประเทศสกอตแลนด์ สหราชอาณาจักร ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของสกอตแลนด์ เป็นเมืองเก่าแก่ที่มีประวัติความเป็นมาตั้งแต่สมัยกลาง ลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขาสูงอยู่กลางเมือง เป็นที่ตั้งของปราสาทเอดินบะระอันเป็นทำเลที่ได้เปรียบเชิงยุทธศาสตร์ในสมัยก่อน โดยรอบภูเขาถูกปรับพื้นที่เป็นคูเมืองเพื่อประโยชน์ในเชิงการทหาร รอบนอกเป็นที่ราบลดหลั่นเป็นขั้น ๆ กระจายออกโดยรอบ เอดินบะระเป็นที่ตั้งของรัฐสภาแห่งใหม่ของสกอตแลนด์ (เพิ่งแยกออกมาจากรัฐสภาของสหราชอาณาจักร) ตั้งอยู่บนถนนสายหลักของเอดินบะระคือ รอยัลไมล์ (The Royal Mile) ซึ่งสร้างตามแนวสันเขาเชื่อมโยงพื้นที่ประวัติศาสตร์ระหว่างปราสาทเอดินบะระและพระราชวัง สถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ ได้แก่ บริเวณรอยัลไมล์ ปราสาทเอดินบะระ และสวนพฤกษศาสตร์ โดยเฉพาะปราสาทเอดินบะระเป็นปราสาทที่เป็นสถานที่เปิดตัวของหนังสือเรื่องแฮรี่ พอตเตอร์ เนื่องจากมีลักษณะใกล้เคียงฉากเมืองแม่มดในท้องเรื่อง เอดินบะระเป็นเมืองที่เจริญมากที่สุดเมืองหนึ่งในสหราชอาณาจักร มีศูนย์กลางเมืองตั้งอยู่รอบ ๆ ปราสาทเอดินบะระ เมืองเอดินบะระนั้นขึ้นชื่อว่าเป็นเมืองแห่งเทศกาลต่าง ๆ ตัวอย่างงานสำคัญที่ถูกจัดขึ้นในเมืองเอดินบะระ ได้แก่ เทศกาลศิลปะนานาชาติ Fringe ภาพยนตร์ วิทยาศาสตร์ งานหนังสือเด็ก เพลงแจ๊ส และเพลงพื้นบ้าน ในช่วงเทศกาลเหล่านี้ โดยเฉพาะช่วงเดือนสิงหาคมหรือช่วงหน้าร้อนของสหราชอาณาจักร ที่เมืองเอดินบะระจะมีจัดงานเทศกาลประจำปีที่สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวมาที่เมืองนี้เป็นจำนวนมาก จนทำให้เมืองเอดินบะระติดอันดับเมืองที่มีนักท่องเที่ยวมากที่สุดเป็นอันดับสองของสหราชอาณาจักรรองจากลอนดอน นอกจากนั้น เมืองเอดินบะระยังเป็นเมืองที่ได้ชื่อว่าเป็น "เมืองที่เป็นมิตรกับเด็ก" (The Child Friendly City) เนื่องจากภายในเมืองมีสถานที่ท่องเที่ยวที่เหมาะสำหรับเด็กมากมาย เช่น พิพิธภัณฑ์วัยเด็กและเรื่องเล่าของผู้คน (Museum of Childhood and People’s Story) สวนสัตว์ที่มีศูนย์การศึกษาที่เคลื่อนไหวได้จริง (Dynamic Education Centre) โลกแห่งผีเสื้อและแมลง (Butterfly & Insect World) และโลกทะเลลึก (Deep Sea World) เป็นต้น ในแง่ของเศรษฐศาสตร์ เมืองเอดินบะระเป็นเมืองศูนย์กลางทางการเงินที่ใหญ่เป็นอันดับสองของสหราชอาณาจักรรองจากลอนดอนและใหญ่เป็นอันดับห้าของยุโรป โดยมีมหาวิทยาลัยตั้งอยู่ถึงสามแห่งด้วยกันคือ มหาวิทยาลัยเอดินบะระ มหาวิทยาลัยแฮเรียต-วัตต์ และมหาวิทยาลัยเนเปียร์ ภาพ:Edinburgh1.JPG|ปราสาทเอดินบะระ ตั้งอยู่บนยอดเขากลางเมือง ภาพ:Edinburgh2.JPG|อาคารรัฐสภาของสกอตแลนด์ ตั้งอยู่ในเมืองเอดินบะร.

ใหม่!!: รายชื่อแหล่งมรดกโลกในสหราชอาณาจักรและเอดินบะระ · ดูเพิ่มเติม »

เดวอน

วอน (ภาษาอังกฤษ: Devon) เป็นมณฑลในอังกฤษในสหราชอาณาจักรที่มีเนื้อที่มากที่สุดที่ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของสหราชอาณาจักร เดวอนบางครั้งก็เรียกว่า “เดวอนเชอร์” แต่เป็นชื่อที่ไม่เป็นทางการ เดวอนมีเขตแดนติดกับมณฑลคอร์นวอลล์ทางตะวันตกและมณฑลดอร์เซ็ทกับมณฑลซอมเมอร์เซ็ททางตะวันออก ชายฝั่งทะเลด้านใต้เป็น ช่องแคบอังกฤษทางด้านเหนือเป็นช่องแคบบริสตอลซึ่งทำให้เป็นมณฑลเดียวในอังกฤษที่มีชายฝั่งทะเลสองด้านที่แยกกัน เดวอนมีหน่วยรัฐบาลท้องถิ่นระดับเดียวสองหน่วย: เมืองท่าพลิมัธและทอร์เบย์ที่เป็นกลุ่มบริเวณที่ท่องเที่ยวชายทะเลนอกไปจากเทศบาลการปกครองของมณฑลเดวอนเอง พลิมัธเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุด ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นชนบทรวมทั้งบริเวณอุทยานแห่งชาติ เดวอนมีประชากรมากเป็นลำดับสามของบรรดามณฑลต่างๆ โดยมีประชากรทั้งหมด 1,109,900 คน โดยมีประชากรถัวเฉลี่ย 365 คนต่อหนึ่งตารางกิโลเมตรซึ่งเป็นบริเวณที่มีประชาชนเบาบางเมื่อเทียบกับจำนวนเฉลี่ยในบริเวณอื่น เดวอนแบ่งการปกครองเป็นสิบแขวง: เอ็กซิเตอร์, อีสต์เดวอน, มิดเดวอน, นอร์ธเดวอน, ทอร์ริดจ์, เวสต์เดวอน, เซาท์แธมส, เทนบริดจ์, พลิมัธ และทอร์เบย์ โดยมีเมืองมณฑลอยู่ที่ เอ็กซิเตอร์ เดวอนเป็นที่ตั้งของชายฝั่งทะเลมรดกโลกที่เป็นที่เรียกว่าฝั่งทะลเจอราสิค (Jurassic Coast) ที่มีความสำคัญทางธรณีวิทยาและลักษณะทางภูมิศาสตร์ เดวอนและคอร์วอลล์เป็นที่รู้จักันในชื่อ “Cornubian massif” ซึ่งเป็นลักษณะธรณีวิทยาที่ทำให้เกิดภูมิทัศน์ของดาร์ทมัวร์ และเอ็กซมัวร์ที่เป็นอุทยานแห่งชาติ เดวอนมีเมืองท่องเที่ยวทางชายทะเลและมีเมืองสำคัญทางประวัติศาสตร์หลายเมือง และมีอากาศที่ไม่รุนแรงซึ่งทำให้เป็นที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวซึ่งเป็นอุตสาหกรรมสำคัญของมณฑล.

ใหม่!!: รายชื่อแหล่งมรดกโลกในสหราชอาณาจักรและเดวอน · ดูเพิ่มเติม »

เดอรัม

อรัม (Durham) เป็นเมืองเล็ก ๆ ทางตะวันออกเฉียงเหนือของอังกฤษ อยู่ห่างจากเมืองนิวคาสเซิลอะพอนไทน์ลงมาทางใต้ประมาณ 25 กม.

ใหม่!!: รายชื่อแหล่งมรดกโลกในสหราชอาณาจักรและเดอรัม · ดูเพิ่มเติม »

เคนต์

นต์ (Kent) เป็นมณฑลในอังกฤษในสหราชอาณาจักรที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของสหราชอาณาจักร และเป็นหนึ่งใน “มณฑลรอบนครลอนดอน” (Home Counties) เคนต์มีเขตแดนติดกับอีสต์ซัสเซ็กซ์, เซอร์รีย์ และนครลอนดอนและปริมณฑล และมีปากแม่น้ำเทมส์ขวางกับเอสเซ็กซ์ มณฑลภูมิศาสตร์เคนต์ประกอบด้วยเทศบาลมณฑลเคนต์ และรัฐบาลท้องถิ่นระดับเดียวของเมดเวย์ เคนต์ตั้งอยู่ไม่ไกลจากฝรั่งเศสที่แยกโดยช่องแคบอังกฤษและครึ่งทางระหว่างอุโมงค์ช่องแคบอังกฤษl เคนต์แบ่งการปกครองเป็นสิบสามแขวง: เซเวนโอกส์, ดาร์ทฟอร์ด, เกรฟแชม, ทันบริดจ์และมอลลิง, เมดเวย์, เมดสตัน, ทันบริดจ์เวลล์ส, สเวล, แอชฟอร์ด, แคนเตอร์บรี, เชปเวย์, เธนเน็ต และ โดเวอร์โดยมีเมืองหลวงของมณฑลอยู่ที่ เมดสตัน เดิมโรเชสเตอร์ และแคนเตอร์บรี เป็นเมืองที่มีฐานะเป็นนครแต่ปัจจุบันเมืองหลังเท่านั้นที่ยังเป็นนคร ที่ตั้งของเคนต์ระหว่างลอนดอนและแผ่นดินใหญ่ยุโรปทำให้เป็นมณฑลหน้าด่านและเป็นยุทธภูมิในความขัดแย้งหลายครั้งเช่นในระหว่างยุทธการแห่งบริเตนระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง เคนต์ตะวันออกได้ชื่อว่าเป็น “Hell Fire Corner” ระหว่างความขัดแย้ง ระหว่าง 800 ปีที่ผ่านมาอังกฤษพึ่งเคนต์ในด้านกองเรือ ท่าเรือซิงก์ (Cinque Ports) ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 12 ถึง 14 และอู่เรือแช็ทแธมในระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 16 ถึง 20 มีความสำคัญต่อความปลอดภัยและความมั่นคงของอังกฤษ ฝั่งทะเลฝรั่งเศสสามารถมองเห็นได้จากไวท์คลิฟฟ์สที่โดเวอร์ ในวันที่อากาศแจ่มใส เคนต์เป็นอาณาบริเวณที่มีการเกษตรกรรมในด้านสวนผลไม้และการปลูกฮอปที่ใช้ในการทำเบียร์ เคนต์ได้ชื่อว่าเป็น “สวนแห่งอังกฤษ” The Guardian 1 June 2006 BBC 1 June 2006 อุตสาหกรรมหลักของเคนต์ก็ได้แก่การทำซีเมนต์ สินค้ากระดาษ และการสร้างเรือบินแต่ความสำคัญของอุตสาหกรรมเหล่านี้ลดถอยลง ทางด้านใต้และตะวันออกขึ้นอยู่กับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการเกษตรกรรม.

ใหม่!!: รายชื่อแหล่งมรดกโลกในสหราชอาณาจักรและเคนต์ · ดูเพิ่มเติม »

เซนต์ออกัสตินส์แอบบีย์

ซุ้มประตูสมัยยุคกลาง เป็นทางเข้าไปสู่อารามนักบุญออกัสติน เซนต์ออกัสตินส์แอบบีย์ หรือ อารามนักบุญออกัสติน (St.) ในปัจจุบันเป็นอดีตแอบบีย์ที่ตั้งอยู่ในเมืองแคนเทอร์เบอรี เทศมณฑลเคนต์ ประเทศอังกฤษ.

ใหม่!!: รายชื่อแหล่งมรดกโลกในสหราชอาณาจักรและเซนต์ออกัสตินส์แอบบีย์ · ดูเพิ่มเติม »

เซนต์เฮเลนา

ซนต์เฮเลนา เป็นเกาะภูเขาไฟและอยู่ในเครือจักรภพของสหราชอาณาจักร อยู่ทางตอนใต้ของมหาสมุทรแอตแลนติก เกาะใกล้เคียงก็อยู่ในเครือจักรภพเช่นกัน ทั้งเกาะแอสเซนซันและตริสตัน ดา กุนญา เซนต์เฮเลนาเป็นที่รู้จักเมื่อครั้งที่จักรพรรดินโปเลียน โบนาปาร์ตแห่งฝรั่งเศส ถูกเนรเทศไปที่เกาะนี้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2358 จนสวรรคตเมื่อปี พ.ศ. 2364 สถานที่สำคัญคือ ลองวู้ด เฮาส์ (Longwood House) อันเป็นสถานที่ที่นโปเลียนพำนักระหว่างการเนรเทศอยู่ และแซน แวลลี (Sane Valley) ซึ่งที่ฝังพระศพ เกาะนี้เคยเป็นของฝรั่งเศสจนกระทั่งกลายมาเป็นของอังกฤษเมื่อปี พ.ศ. 2401 เซนต์เฮเลนาเป็นสมาชิกของสมาคมการกีฬาหมู่เกาะนานาชาติ (International Island Games Associetion).

ใหม่!!: รายชื่อแหล่งมรดกโลกในสหราชอาณาจักรและเซนต์เฮเลนา · ดูเพิ่มเติม »

เซนต์เฮเลนา อัสเซนชัน และตริสตันดากูนยา

ซนต์เฮเลนา อัสเซนชัน และตริสตันดากูนยา (Saint Helena, Ascension and Tristan da Cunha) เป็นดินแดนโพ้นทะเลของสหราชอาณาจักรในมหาสมุทรแอตแลนติกตอนใต้ ประกอบด้วยเกาะเซนต์เฮเลนา, เกาะอัสเซนชัน และกลุ่มเกาะที่เรียกว่าตริสตันดากูนยา The Constitution (in the Schedule to the Order).

ใหม่!!: รายชื่อแหล่งมรดกโลกในสหราชอาณาจักรและเซนต์เฮเลนา อัสเซนชัน และตริสตันดากูนยา · ดูเพิ่มเติม »

19 มกราคม

วันที่ 19 มกราคม เป็นวันที่ 19 ของปี ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 346 วันในปีนั้น (347 วันในปีอธิกสุรทิน).

ใหม่!!: รายชื่อแหล่งมรดกโลกในสหราชอาณาจักรและ19 มกราคม · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »