โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย

รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานคร vs. เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย

รายชื่อและระยะทางของถนนในเขตกรุงเทพมหานคร เฉพาะถนนสาธารณะที่อยู่ในความดูแลของหน่วยงานในสังกัดกรุงเทพมหานคร กรมทางหลวง และกรมทางหลวงชนบท รวมทั้งเส้นทางที่ตัดผ่านที่ดินของหน่วยงานราชการอื่นและเส้นทางของเอกชนที่ได้รับการกำหนดให้เป็น "ถนน" อย่างเป็นทางการจากกรุงเทพมหานครแล้ว ทั้งนี้ ไม่รวมเส้นทางที่ใช้สัญจรเฉพาะภายในพื้นที่หน่วยงานราชการ สถาบันการศึกษา บ้านจัดสรร และสถานที่เอกชนซึ่งมักมีการปิดกั้นหรือควบคุมทางเข้าออก. มุมมองเขตป้อมปราบศัตรูพ่ายจากพระบรมบรรพต เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงเทพกลาง ถือเป็นเขตอนุรักษ์เมืองเก่า แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมทางฝั่งพระนคร.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย

รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย มี 26 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): กรุงเทพมหานครกรุงเทพมหานคร (องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น)วงเวียน 22 กรกฎาคมสะพานผ่านฟ้าลีลาศถนนบริพัตรถนนบำรุงเมืองถนนพระรามที่ 4ถนนพลับพลาไชยถนนราชดำเนิน (กรุงเทพมหานคร)ถนนวรจักรถนนหลวงถนนหลานหลวงถนนดำรงรักษ์ถนนนครสวรรค์ถนนเยาวราชถนนเสือป่าถนนเจริญกรุงคลองผดุงกรุงเกษมแยกกษัตริย์ศึกแยกยุคล 2แยกหมอมีแยกนพวงศ์ (กรุงเทพมหานคร)เขตพระนครเขตสัมพันธวงศ์เขตดุสิตเขตปทุมวัน

กรุงเทพมหานคร

กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองหลวงและนครที่มีประชากรมากที่สุดของประเทศไทย เป็นศูนย์กลางการปกครอง การศึกษา การคมนาคมขนส่ง การเงินการธนาคาร การพาณิชย์ การสื่อสาร และความเจริญของประเทศ เป็นเมืองที่มีชื่อยาวที่สุดในโลก ตั้งอยู่บนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยา มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านและแบ่งเมืองออกเป็น 2 ฝั่ง คือ ฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานครมีพื้นที่ทั้งหมด 1,568.737 ตร.กม.

กรุงเทพมหานครและรายชื่อถนนในกรุงเทพมหานคร · กรุงเทพมหานครและเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย · ดูเพิ่มเติม »

กรุงเทพมหานคร (องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น)

กรุงเทพมหานคร (ย่อ: กทม.; Bangkok Metropolitan Administration, BMA) เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ ซึ่งทำหน้าที่บริหารเขตการปกครองพิเศษกรุงเทพมหานคร ตามกฎหมายปัจจุบันคือ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528.

กรุงเทพมหานคร (องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น)และรายชื่อถนนในกรุงเทพมหานคร · กรุงเทพมหานคร (องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น)และเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย · ดูเพิ่มเติม »

วงเวียน 22 กรกฎาคม

วงเวียน 22 กรกฎาคม เป็นวงเวียนน้ำพุเกิดจากถนน 3 สายตัดกัน คือ ถนนไมตรีจิตต์ ถนนมิตรพันธ์ และถนนสันติภาพ อยู่ในเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร ถนนรอบวงเวียนมีชื่อว่า ถนนวงเวียน 22 กรกฎาคม วงเวียน 22 กรกฎาคม สร้างขึ้นเพื่อรำลึกถึงวันที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงตัดสินพระทัยนำประเทศไทยเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม..

รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและวงเวียน 22 กรกฎาคม · วงเวียน 22 กรกฎาคมและเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย · ดูเพิ่มเติม »

สะพานผ่านฟ้าลีลาศ

นผ่านฟ้าลีลาศ เป็นสะพานข้ามคลองรอบกรุง ตอนที่เรียกว่าคลองบางลำพู เชื่อมถนนราชดำเนินกลางและถนนราชดำเนินนอก บริเวณใกล้กับป้อมมหากาฬ ในพื้นที่เขตพระนครและเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร สะพานผ่านฟ้าลีลาศสร้างในปีใดไม่ปรากฏหลักฐาน แต่สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างพร้อมกับถนน เดิมเป็นสะพานโครงเหล็ก ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างสะพานใหม่ให้มีลักษณะใหม่และงดงามขึ้น และพระราชทานนามว่าสะพานผ่านฟ้าลีลาศ แม้ในสมัยต่อมาจะมีการปรับปรุงขยายสะพานผ่านฟ้าลีลาศอีกหลายครั้ง เพื่อรองรับกับจำนวนยวดยานพาหนะที่สัญจรผ่านไปมา แต่ก็ยังรักษาลักษณะศิลปกรรมเดิมไว้ให้มากที่สุด สะพานผ่านฟ้าลีลาศเป็นสะพานที่สวยงาม ปลายสะพานทั้ง 2 ฝั่งมีเสาหินอ่อนประดับด้วยเครื่องสำริดและมีลวดลายสลักที่เสาหินอ่อน มีลักษณะงดงามมาก เดิมบริเวณสะพานผ่านฟ้าลีลาศยังเคยเป็นที่ทำการสอนของ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในปี..

รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและสะพานผ่านฟ้าลีลาศ · สะพานผ่านฟ้าลีลาศและเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย · ดูเพิ่มเติม »

ถนนบริพัตร

นนบริพัตร (Thanon Paribatra) ถนนสายหนึ่งของกรุงเทพมหานคร เป็นถนนที่ตัดตรงในลักษณะขวางตัดกับถนนสายอื่น ๆ เริ่มต้นตั้งแต่ที่ถนนดำรงรักษ์ บริเวณด้านข้างพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และเชิงสะพานผ่านฟ้าลีลาศ พื้นที่แขวงวัดโสมนัส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย ทอดผ่านสะพานมหาดไทยอุทิศ ข้ามคลองมหานาค ผ่านวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร ผ่านแยกเมรุปูนจุดตัดกับถนนบำรุงเมือง ในพื้นที่แขวงบ้านบาตร จากนั้นตัดผ่านถนนหลวง ที่เชิงสะพานระพีพัฒนภาค ข้ามคลองรอบกรุง จากนั้นผ่านเชิงสะพานดำรงสถิต ข้ามคลองโอ่งอ่าง บริเวณคลองถม และไปสิ้นสุดที่ถนนเยาวราช บริเวณเชิงสะพานภาณุพันธ์ ที่แขวงจักรวรรดิ เขตสัมพันธวงศ์ ชื่อ "บริพัตร" นั้นตั้งขึ้นเพื่อเป็นพระเกียรติแก่ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต หรือทูลกระหม่อมบริพัตร พระราชโอรสของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี องค์ผู้ทรงเป็นผู้สำเร็จราชการในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และทรงเป็นต้นราชสกุลบริพัตร.

ถนนบริพัตรและรายชื่อถนนในกรุงเทพมหานคร · ถนนบริพัตรและเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย · ดูเพิ่มเติม »

ถนนบำรุงเมือง

นนบำรุงเมือง ช่วงผ่านเสาชิงช้า ถนนบำรุงเมือง (Thanon Bamrung Mueang) ตั้งต้นจากถนนอัษฎางค์ที่แยกสะพานช้างโรงสี ไปทางทิศตะวันออก ตัดกับถนนเฟื่องนครและถนนตะนาว และเป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างแขวงวัดราชบพิธกับแขวงศาลเจ้าพ่อเสือและแขวงเสาชิงช้าไปจนถึงเสาชิงช้า จากนั้นตัดกับถนนอุณากรรณเข้าสู่ท้องที่แขวงสำราญราษฎร์ ตัดกับถนนมหาไชย (แยกสำราญราษฎร์) ข้ามคลองรอบกรุง (คลองโอ่งอ่าง) เข้าสู่ท้องที่แขวงบ้านบาตร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย ตัดกับถนนบริพัตร (แยกเมรุปูน) ตัดกับถนนวรจักรและถนนจักรพรรดิพงษ์ (แยกแม้นศรี) เป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างแขวงคลองมหานาคกับแขวงวัดเทพศิรินทร์ ผ่านสามแยกที่ตัดกับถนนยุคล 2 (แยกยุคล 2) และสามแยกที่ตัดกับถนนพลับพลาไชย (แยกอนามัย) ไปจนถึงถนนกรุงเกษม (แยกกษัตริย์ศึก) โดยมีถนนที่ต่อเนื่องไปคือถนนพระรามที่ 1 ถนนบำรุงเมืองเป็นถนนรุ่นแรกที่ใช้เทคนิคการสร้างตามแบบตะวันตก หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างถนนเจริญกรุงซึ่งเป็นถนนสมัยใหม่ และเป็นที่นิยมใช้สัญจรไปมาของชาวไทยและชาวยุโรป ใน พ.ศ. 2406 รัฐบาลจึงปรับปรุงถนนเสาชิงช้าซึ่งเริ่มต้นจากสะพานช้างโรงสี และเป็นถนนเก่าแก่มีมาตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โดยทำเป็นถนนสมัยใหม่มีท่อระบายน้ำและไม่ปล่อยให้หญ้าขึ้นรกรุงรังเหมือนก่อน มีความยาว 29 เส้นเศษ จากนั้นได้พระราชทานนามว่า ถนนบำรุงเมือง ซึ่งเป็นนามที่มีความหมายเกี่ยวกับความเจริญก้าวหน้าของบ้านเมือง เพราะเมื่อแรกที่สร้างถนนบำรุงเมืองนั้นยังแคบอยู่และไม่ตรง และเมื่อสร้างเสร็จแล้วเจ้าของที่ดินริมถนนได้สร้างตึกแถว ห้องแถว และร้านค้า 2 ชั้น ถนนบำรุงเมืองเป็นถนนสายสำคัญที่มีคนสัญจรไปมามาก ซึ่งอาคารร้านค้าต่าง ๆ เหล่านี้ต่างก็ได้รับอิทธิพลมาจากสถาปัตยกรรมของอาคารในสิงคโปร์ คือ จีน-โปรตุเกส มีทางเดินด้านหน้าที่มีหลังคาคลุมถึงกันโดยตลอด คือ อาเขด ลักษณะพิเศษอีกประการหนึ่งของถนนบำรุงเมือง คือ ถนนช่วงตั้งแต่สี่กั๊กเสาชิงช้าจนถึงแยกเสาชิงช้า รวมถึงฝั่งถึงแยกสำราญราษฎร์ เป็นช่วงที่ไม่มีบาทวิถีอย่างถนนอื่น ๆ ทั่วไป เนื่องจากเจ้าของอาคารต่าง ๆ ที่อยู่ริมถนนรู้สึกว่าอาคารร้านค้าของตนนั้นคับแคบไปจึงได้มีการขยายพื้นที่ออกไปยังหน้าถนนและทำให้สามารถเดินทะลุถึงกันได้ตลอด ถนนบำรุงเมืองในช่วงนี้จึงไม่มีบาทวิถีเพราะไปอยู่ในตัวอาคาร แต่ภายหลังเจ้าของอาคารแต่ละหลังก็ได้ซ่อมแซมกลายเป็นปิดกั้นหมด ไม่สามารถเดินทะลุได้อย่างแต่ก่อน.

ถนนบำรุงเมืองและรายชื่อถนนในกรุงเทพมหานคร · ถนนบำรุงเมืองและเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย · ดูเพิ่มเติม »

ถนนพระรามที่ 4

นนพระรามที่ 4 ช่วงสวนลุมพินี ถนนพระรามที่ 4 (Thanon Rama IV) เป็นถนนในกรุงเทพมหานคร เริ่มตั้งแต่ทางแยกหมอมี (แยกจากถนนเจริญกรุง) ข้ามคลองผดุงกรุงเกษมที่สะพานเจริญสวัสดิ์ ผ่านสถานีหัวลำโพง สามย่าน ไปบรรจบถนนสุขุมวิท.

ถนนพระรามที่ 4และรายชื่อถนนในกรุงเทพมหานคร · ถนนพระรามที่ 4และเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย · ดูเพิ่มเติม »

ถนนพลับพลาไชย

แยกพลับพลาไชย ในมุมมองจากถนนหลวง ถนนพลับพลาไชยคือถนนที่เป็นจุดตัด ถนนพลับพลาไชย (Thanon Phlapphla Chai) ถนนสายหนึ่งในพื้นที่เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร มีจุดเริ่มที่แยกแปลงนาม อันเป็นทางแยกที่ตัดระหว่างถนนเจริญกรุงกับถนนแปลงนาม ที่แขวงป้อมปราบ จากนั้ันทอดยาวไปจนถึงแยกพลับพลาไชย อันเป็นห้าแยกที่เป็นจุดตัดกับถนนหลวงและถนนไมตรีจิตต์ และไปสิ้นสุดที่แยกอนามัย อันเป็นจุดตัดกับถนนบำรุงเมือง ที่แขวงวัดเทพศิรินทร์ รวมความยาวประมาณ 1.1 กิโลเมตร ถนนพลับพลาไชย เป็นถนนที่มีสถานที่สำคัญ ๆ หลายแห่งตั้งอยู่ เช่น มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง, สถานีตำรวจนครบาลพลับพลาไชย 1 และ 2 (สน.พลับพลาไชย 1 และ 2) ที่ดูแลพื้นที่ย่านเยาวราชทั้งหมด และรวมไปถึงบริเวณใกล้เคียง เช่น วงเวียน 22 กรกฎาคม, โรงพยาบาลหัวเฉียว, โรงพยาบาลกลาง เป็นต้น, วัดคณิกาผล, ศาลเจ้าหลี่ตี้เมี่ยว, วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร, องค์การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ (ภาคประชาชน), สมาคมส่งเสริมวิชาชีพ ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ วิทยุและโทรทัศน์ (แห่งประเทศไทย) เป็นต้น โดยชื่อ "พลับพลาไชย" มาจากชื่อของวัดพลับพลาไชย อันเป็นวัดเก่าแก่ที่ตั้งอยู่บริเวณนี้ มีประวัติมาตั้งแต่ยุคกรุงศรีอยุธยาและกรุงธนบุรี โดยในอดีตสถานที่บริเวณนี้มีลักษณะเป็นโคกหรือเนินดินขนาดใหญ่ และมีการตั้งคอกวัวไว้ที่นี่ด้วย จึงนิยมเรียกกันว่า "วัดโคก" หรือ "วัดคอก" จนมาถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงเปลี่ยนนามของวัดแห่งนี้ใหม่ เป็น "วัดพลับพลาชัย" เนื่องจากเป็นสถานที่ตั้งพลับพลาในการซ้อมรบของกองเสือป่ารักษาดินแดน ถนนพลับพลาไชย ในปี..

ถนนพลับพลาไชยและรายชื่อถนนในกรุงเทพมหานคร · ถนนพลับพลาไชยและเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย · ดูเพิ่มเติม »

ถนนราชดำเนิน (กรุงเทพมหานคร)

นนราชดำเนินกลางและอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ถนนราชดำเนิน (Thanon Ratchadamnoen) เป็นถนนสายสำคัญสายหนึ่งในกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วยถนน 3 สาย ได้แก.

ถนนราชดำเนิน (กรุงเทพมหานคร)และรายชื่อถนนในกรุงเทพมหานคร · ถนนราชดำเนิน (กรุงเทพมหานคร)และเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย · ดูเพิ่มเติม »

ถนนวรจักร

นนวรจักรบริเวณแยกเอส. เอ. บี. ถนนวรจักร (Thanon Worachak) ถนนสายหนึ่งในกรุงเทพมหานคร เป็นถนนสายสั้น ๆ มีจุดเริ่มตั้งแต่ถนนเจริญกรุง (ทางแยกเอส. เอ. บี.) และตัดกับถนนหลวง (ทางแยกวรจักร) ก่อนจะสิ้นสุดลงที่ถนนบำรุงเมือง (ทางแยกแม้นศรี) โดยเป็นเส้นแบ่งพื้นที่การปกครองระหว่างแขวงบ้านบาตรกับแขวงป้อมปราบและแขวงวัดเทพศิรินทร์ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย ถนนวรจักรเป็นถนนที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น ปรากฏในเอกสารของกระทรวงโยธาธิการใน พ.ศ. 2439 ว่า ทรงสอบถามเรื่องการตัดถนนวรจักรจากพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิธาดาซึ่งได้กราบบังคมทูลว่า กรมโยธาธิการยังไม่ได้รับที่ดินที่ถนนจะตัดผ่านจากกระทรวงนครบาลและยังไม่ได้ประกาศให้ราษฎรรื้อถอนบ้านเรือนเพราะยังทำแผนที่และบัญชีบ้านเรือนที่จะต้องรื้อถอนยังไม่เสร็จ จนกระทั่ง พ.ศ. 2441 การเวนคืนที่ดินก็ยังไม่เรียบร้อย เช่น ยังติดขัดที่เรือนหม่อมเจ้าดำรงค์ หม่อมเจ้าอเนก และพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าปรีดา พระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนวรจักรธรานุภาพ ซึ่งกีดขวางแนวถนน รวมทั้งสะพานเฉลิมยศ 45 ก็อยู่ในแนวถนนวรจักรด้วยเช่นกัน ต่อมาจึงได้มีการประกาศให้ราษฎรรื้อถอนบ้านเรือนออกจากแนวถนนเพื่อให้กรมโยธาธิการก่อสร้างถนน ซึ่งพระราชทานนามไว้ว่าถนนวรจักร จนสำเร็จ นามถนนวรจักรมาจากพระนามของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนวรจักรธรานุภาพ (พระองค์เจ้าปราโมช) พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และเจ้าจอมมารดาอัมพา ในรัชกาลที่ 2 และเป็นต้นราชสกุลปราโมช ปัจจุบัน รอบ ๆ ถนนวรจักรเป็นแหล่งรวมร้านค้าขายอะไหล่รถยนต์ รวมถึงรถจักรยานยนต์ และจักรยาน โดยถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของคลองถมด้ว.

ถนนวรจักรและรายชื่อถนนในกรุงเทพมหานคร · ถนนวรจักรและเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย · ดูเพิ่มเติม »

ถนนหลวง

250px ถนนหลวง (Thanon Luang) เป็นถนนเส้นหนึ่งในกรุงเทพมหานคร เริ่มตั้งแต่ถนนมหาไชย (สามแยกเรือนจำ) ในท้องที่แขวงสำราญราษฎร์ เขตพระนคร ข้ามคลองรอบกรุง (คลองโอ่งอ่าง) เข้าสู่ท้องที่แขวงบ้านบาตร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย จากนั้นตัดกับถนนวรจักร (สี่แยกวรจักร) ถนนยุคล 2 (สี่แยกโรงพยาบาลกลาง) และถนนพลับพลาไชย (ห้าแยกพลับพลาไชย) โดยเป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างแขวงป้อมปราบกับแขวงวัดเทพศิรินทร์ จนกระทั่งไปจรดถนนกรุงเกษมที่ห้าแยกนพวงศ์ ถนนหลวงเป็นถนนที่สร้างในปี พ.ศ. 2436 โดยพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิธาดา เสนาบดีกระทรวงโยธาธิการได้กราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า ควรจะตัดถนนใหม่ระหว่างถนนเจริญกรุง ถนนบำรุงเมือง ตั้งต้นตั้งแต่ป้อมเสือทยานไปบรรจบถนนริมคลองผดุงกรุงเกษมโดยข้ามคลองคูพระนคร ตรงไปออกถนนหน้าวัดเทพศิรินทราวาส ถึงสถานีรถไฟหัวลำโพง ตั้งชื่อว่าถนนหลวง อันมีควาหมายว่า "ถนนของพระเจ้าแผ่นดิน" ทรงให้เหตุผลในการตัดถนนสายนี้ว่า เพื่อสำหรับผู้ที่จะไปขึ้นรถไฟ เพื่อเดินทางไปนครราชสีมาได้สะดวก และเป็นที่งดงามและแสดงถึงความเจริญของบ้านเมืองด้วย โดยสร้างเป็นถนนสำหรับคนเดินและรถม้า ระหว่างการก่อสร้างถนนหลวงใน พ.ศ. 2440 ปรากฏว่ามีผู้ขัดขวางการสร้างถนน โดยทำร้ายกุลีชาวจีนที่ก่อสร้างจนไม่สามารถก่อสร้างได้ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิธาดา เสนาบดีกระทรวงโยธาธิการได้มีหนังสือกราบทูลพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นนเรศร์วรฤทธิ์ เสนาบดีกระทรวงนครบาล โดยทรงต่อว่ากระทรวงนครบาลซึ่งส่งมอบที่ดินให้กระทรวงโยธาธิการ เข้าใจว่าทรงจัดการเรื่องการเวนคืนที่ดินเรียบร้อยแล้ว และถือว่าเป็นหน้าที่ของกระทรวงนครบาลที่จะป้องกันระงับการทะเลาะวิวาท แต่ปรากฏว่ากระทรวงนครบาลไม่ได้อารักขาการสร้างถนน ทำให้เกิดเหตุขึ้นและปล่อยให้เรื่องล่าช้าจนหมดเขตฟ้องร้อง ต้องจ่ายพระราชทรัพย์ทำขวัญกุลี ในการก่อสร้างถนนหลวงนี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างสะพานนพวงศ์ขึ้นด้วย โดยมีพระราชปรารภให้เปิดสะพานทันวันเฉลิมพระชนมพรรษาในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2440 ซึ่งเป็นวันที่มีพระชนมพรรษาเท่าพระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหมื่นมเหศวรศิววิลาส (พระองค์เจ้านพวงศ์) จึงต้องเร่งดำเนินการสร้างถนนหลวง ให้เสร็จทันเวลาที่จะเสด็จพระราชดำเนินเปิดสะพานนพวง.

ถนนหลวงและรายชื่อถนนในกรุงเทพมหานคร · ถนนหลวงและเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย · ดูเพิ่มเติม »

ถนนหลานหลวง

นนหลานหลวง (Thanon Lan Luang) ถนนสายหนึ่งในกรุงเทพมหานคร เป็นถนนที่มุ่งหน้าสู่ทิศตะวันออกเป็นเส้นตรง มีจุดเริ่มต้นที่สะพานผ่านฟ้าลีลาศ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย ผ่านแยกผ่านฟ้าลีลาศ ผ่านถนนจักรพรรดิพงศ์ ที่แยกหลานหลวง จากนั้นตัดกับถนนพะเนียง และตัดกับถนนกรุงเกษมที่แยกสะพานขาว ข้ามคลองผดุงกรุงเกษม ที่สะพานจตุรภักตร์รังสฤษดิ์ จากนั้นตัดกับถนนลูกหลวงที่เชิงสะพาน ก่อนจะไปสิ้นสุดที่แยกยมราช จุดตัดกับถนนเพชรบุรีและถนนสวรรคโลก ที่เขตดุสิต รวมระยะทางทั้งสิ้น 1,550 เมตร เดิมมีชื่อเรียกว่า "ถนนสนามควาย" หรือ "ถนนสนามกระบือ" เนื่องจากเมื่อแรกสถาปนากรุงเทพมหานครขึ้นเป็นราชธานี พื้นที่บริเวณนี้ถือเป็นเขตนอกพระนคร ใช้เป็นที่สำหรับเลี้ยงควายหลวง เรียกกันในสมัยนั้นว่า "สนามควาย" ต่อมาจึงเรียกให้ไพเราะขึ้นว่า "สนามกระบือ" ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าฯ ให้ขุดคลองผดุงกรุงเกษมขึ้นเป็นคูเมืองชั้นนอก เป็นเหตุให้มีการขยายอาณาเขตพระนครออกไป สนามกระบือจึงมีความเจริญขึ้น เกิดมีเส้นทางสัญจรระหว่างชุมชน จึงเกิดชื่อเรียกถนนเส้นนี้ขึ้นตามนั้น ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 ในราว..

ถนนหลานหลวงและรายชื่อถนนในกรุงเทพมหานคร · ถนนหลานหลวงและเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย · ดูเพิ่มเติม »

ถนนดำรงรักษ์

นนดำรงรักษ์ (Thanon Damrong Rak) หรือ ซอยดำรงรักษ์ เป็นถนนเส้นหนึ่งของเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร เริ่มต้นตั้งแต่ด้านข้างพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ถนนราชดำเนิน เชิงสะพานผ่านฟ้าลีลาศ ในพื้นที่แขวงวัดโสมนัส จากนั้นผ่านหน้าวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร และตัดผ่านถนนจักรพรรดิพงษ์ บริเวณเชิงสะพานนริศดำรัส ที่พื้นที่แขวงบ้านบาตร และไปสิ้นสุดลงที่บริเวณตลาดโบ๊เบ๊ ที่จุดตัดกับถนนกรุงเกษม ในพื้นที่แขวงคลองมหาน.

ถนนดำรงรักษ์และรายชื่อถนนในกรุงเทพมหานคร · ถนนดำรงรักษ์และเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย · ดูเพิ่มเติม »

ถนนนครสวรรค์

นนนครสวรรค์ (Thanon Nakhon Sawan) เป็นถนนสายหนึ่ง ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร มีจุดเริ่มต้นที่สะพานผ่านฟ้าลีลาศ บริเวณแยกผ่านฟ้าลีลาศจากส่วนปลายของถนนราชดำเนินกลาง ทอดผ่านแยกจักรพรรดิพงษ์ ผ่านแยกเทวกรรมข้ามสะพานเทวกรรมรังรักษ์ พื้นที่เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย และไปสิ้นสุดลงที่แยกนางเลิ้ง จุดตัดกับถนนพิษณุโลก บริเวณหน้าราชตฤณมัยสมาคม หรือสนามม้านางเลิ้ง พื้นที่เขตดุสิต รวมระยะทางทั้งสิ้น 1.31 กิโลเมตร ถนนนครสวรรค์เดิมมีชื่อว่า "ถนนตลาด" สร้างขึ้นมาในรัชสมัยรัชกาลที่ 5 และได้เปลี่ยนชื่อมาเป็นถนนนครสวรรค์ดังในปัจจุบัน ในรัชสมัยรัชกาลที่ 6 เมื่อวันที่ 16 กุมภาพัน..

ถนนนครสวรรค์และรายชื่อถนนในกรุงเทพมหานคร · ถนนนครสวรรค์และเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย · ดูเพิ่มเติม »

ถนนเยาวราช

รรยายกาศของเยาวราชยามค่ำคืนและร้านอาหารริมทาง ถนนเยาวราช (Thanon Yaowarat; 耀華力路) เป็นถนนสายหนึ่งในกรุงเทพมหานคร ระยะทางความยาวตลอดเส้นทางประมาณ 1.5 กิโลเมตร ได้รับการกล่าวขานและขนานนามว่าเป็น "ถนนมังกร" โดยมีจุดเริ่มต้นของหัวมังกรที่ซุ้มประตูเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษาบริเวณวงเวียนโอเดียน ท้องมังกรอยู่ที่บริเวณตลาดเก่าเยาวราชและสิ้นสุดปลายหางมังกรที่บริเวณปลายสุดของถนน สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ใช้ระยะเวลาในการตัดถนน 8 ปี ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2434 - พ.ศ. 2443 เพื่อให้เยาวราชกลายเป็นสถานที่สำหรับส่งเสริมการค้าขาย เดิมทีชื่อ "ถนนยุพราช" และได้โปรดเกล้าพระราชทานนามใหม่ว่า "ถนนเยาวราช" ถนนเยาวราชประกอบไปด้วยจุดสำคัญหลายจุดเช่น วงเวียนโอเดียน, ถนนเจริญกรุง ซึ่งอยู่ในท้องที่แขวงสัมพันธวงศ์ เขตสัมพันธวงศ์ ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของถนนเยาวราชตัดกับถนนทรงสวัสดิ์ (สี่แยกเฉลิมบุรี), ถนนราชวงศ์ (สี่แยกราชวงศ์) และถนนจักรวรรดิ (สี่แยกวัดตึก) ข้ามคลองรอบกรุง (สะพานภาณุพันธุ์) เข้าสู่ท้องที่แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร สิ้นสุดที่แยกถนนพีระพงษ์ตัดกับถนนมหาไชยและถนนจักรเพชร บริเวณถนนเยาวราชเป็นแหล่งชุมชนชาวจีนและชาวไทยเชื้อสายจีนเป็นจำนวนมาก จัดเป็นย่านธุรกิจการค้า, การเงิน การธนาคาร, ร้านทอง, ภัตตาคาร ร้านอาหาร, ร้านค้า ฯลฯ รวมทั้งแหล่งท่องเที่ยวสำคัญแห่งหนึ่งของกรุงเทพมหานครโดยได้รับการขนานนามว่าเป็น "ไชนาทาวน์แห่งกรุงเทพมหานคร" จากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ และถือว่าเป็นไชนาทาวน์หรือชุมชนชาวจีนที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก.

ถนนเยาวราชและรายชื่อถนนในกรุงเทพมหานคร · ถนนเยาวราชและเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย · ดูเพิ่มเติม »

ถนนเสือป่า

นนเสือป่า (Thanon Sueapa) เป็นถนนในท้องที่แขวงป้อมปราบ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร โดยแยกจากถนนเจริญกรุงที่แยกเสือป่าไปออกถนนหลวงที่แยกโรงพยาบาลกลาง ถนนเสือป่าสร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อ พ.ศ. 2464 เนื่องจากเกิดเพลิงไหม้ที่ตำบลตรอกเต้าหู้ ตอนริมถนนเจริญกรุง ท้องที่อำเภอป้อมปราบศัตรูพ่ายเมื่อวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2464 ทำให้ทรัพย์สินของประชาชนเสียหายมาก เพราะพื้นที่ในละแวกดังกล่าวมีบ้านเรือนปลูกสร้างเบียดเสียด และไม่มีถนนใหญ่ไม่เพียงพอให้ป้องกันอันตรายได้ทันท่วงที อีกทั้งยังไม่สะอาด เป็นเหตุให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บแก่ราษฎร กรมสุขาภิบาล กระทรวงนครบาล จึงกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวว่าควรตัดถนนผ่านละแวกนี้ เพื่อเป็นประโยชน์แก่ประชาชนในการสัญจรไปมา และเพื่อบำรุงความสะอาดเรียบร้อย ตลอดจนสามารถช่วยเหลือป้องกันอันตรายในเวลาที่มีเหตุเกิดขึ้น ในครั้งนั้นพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กระทรวงนครบาลตัดถนนเสือป่า ถนนยมราชสุขุม ถนนเจ้าคำรพ และถนนศรีธรรมาธิราช รวมทั้งขยายตรอกเต้าหู้ ตั้งแต่ถนนเจริญกรุงไปบรรจบกับถนนยมราชสุขุม และโปรดเกล้าฯ ให้ถมคูแยกจากคลองจักรวรรดิที่ถมแล้วไปเชื่อมกับตรอกเต้าหู้ด้วย โดยถนนเสือป่าตัดตั้งแต่ถนนเจริญกรุงไปออกถนนหลวงข้างโรงพยาบาลกลาง ขนาดกว้าง 10 วา เพื่อเป็นทางเชื่อมกับถนนราชวงศ์ เมื่อมหาอำมาตย์นายกเจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) เสนาบดีกระทรวงนครบาล กราบบังคมทูลขอรับพระราชทานนามถนน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยายมราชจดนามสถานที่สำคัญที่อยู่ใกล้เคียงถนน หรือนามบุคคลสำคัญผู้อยู่ใกล้หรือเกี่ยวข้องเพื่อจะได้ทรงถือเป็นเกณฑ์ในการพระราชทานชื่อและได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อถนนสายนี้ว่า "ถนนเสือป่า" เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2464 เพื่อเป็นการระลึกถึงกิจการเสือป่าของพระองค์ ปัจจุบัน ถนนเสือป่าเป็นแหล่งจำหน่ายอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและไอทีต่าง ๆ เช่นเดียวกับคลองถมที่อยู่ใกล้เคียง โดยเฉพาะซองและปลอกหุ้มโทรศัพท์เคลื่อนที่ มีจำหน่ายทั้งขายปลีกและขายส่ง.

ถนนเสือป่าและรายชื่อถนนในกรุงเทพมหานคร · ถนนเสือป่าและเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย · ดูเพิ่มเติม »

ถนนเจริญกรุง

นนเจริญกรุงในสมัยรัชกาลที่ 5 ถนนเจริญกรุงในกลางปี พ.ศ. 2559 ช่วงเชิงสะพานพิทยเสถียร (สะพานเหล็กล่าง) ย่านตลาดน้อย เขตสัมพันธวงศ์ ถนนเจริญกรุง (Thanon Charoen Krung) ถนนสายสำคัญสายหนึ่งในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เริ่มต้นตั้งแต่ถนนสนามไชยบริเวณวงเวียน รด. หน้าหน่วยบัญชาการรักษาดินแดน สิ้นสุดที่แม่น้ำเจ้าพระยาที่ถนนตก บริเวณโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ และการไฟฟ้านครหลวง เขตยานวานา เป็นถนนรุ่นแรกที่ใช้เทคนิคการสร้างแบบตะวันตก ผ่านพื้นที่เขตพระนคร, เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย, เขตสัมพันธวงศ์, เขตบางรัก, เขตสาทร และเขตบางคอแหลม และเป็นเส้นแบ่งของเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย (ด้านซ้าย) กับเขตสัมพันธวงศ์ (ด้านขวา) ตั้งแต่ช่วงคลองถมไปจนถึงบริเวณแยกหมอมี ถนนเจริญกรุงเป็นถนนที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2405 แล้วเสร็จใน พ.ศ. 2407 มีความยาวจากถนนสนามไชยถึงดาวคะนอง 8,575 เมตร การก่อสร้างถนนเจริญกรุงนั้นเนื่องจากในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีชาวต่างประเทศเข้ามาอยู่ในกรุงเทพฯ มากขึ้น และมีพวกกงสุลได้เข้าชื่อกันขอให้สร้างถนนสายยาวสำหรับขี่ม้าหรือนั่งรถม้าตากอากาศและอ้างว่า “เข้ามาอยู่ที่กรุงเทพมหานครไม่มีถนนหนทางที่จะขี่รถม้าไปเที่ยว พากันเจ็บไข้เนือง ๆ” ในปีระกา พ.ศ. 2404 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค ต่อมาคือ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ที่สมุหพระกลาโหมเป็นแม่กอง พระยาอินทราธิบดีสีหราชรองเมืองเป็นนายงาน รับผิดชอบในการก่อสร้างถนนช่วงตั้งแต่คูเมืองชั้นในถึงถนนตกริมแม่น้ำเจ้าพระยาที่ตำบลบางคอแหลม เรียกว่าถนนเจริญกรุงตอนใต้ (แต่ชาวบ้านมักเรียกว่าเจริญกรุงตอนล่าง) กว้าง 5 วา 4 ศอก (ประมาณ 10 เมตร หรือเทียบได้กับถนน 4 เลน) โดยมีนายเฮนรี อาลาบาศเตอร์ (ต้นสกุลเศวตศิลา) เป็นผู้สำรวจแนวถนนและเขียนแผนผังถนน และในปีจอ พ.ศ. 2405 โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยายมราช (ครุฑ) เป็นแม่กอง พระยาบรรหารบริรักษ์ (สุ่น) เป็นนายงาน รับผิดชอบการก่อสร้างถนนเจริญกรุงตอนใน คือช่วงระยะทางตั้งแต่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร (วัดโพธิ์) ถึงสะพานดำรงสถิต (สะพานเหล็กบน) กว้าง 4 วา โดยสร้างเป็นถนนดินอัด เอาอิฐเรียงตะแคงปูให้ชิดกัน ตรงกลางนูนสูง เมื่อถูกฝนไม่กี่ปีก็ชำรุด การก่อสร้างถนนเจริญกรุงตอนในนี้เดิมกำหนดให้ตัดตรงจากสะพานดำรงสถิต ถึงกำแพงเมืองด้านถนนสนามไชย แต่พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทักท้วงว่าการสร้างถนนตรงมาสู่พระบรมมหาราชวังอาจเป็นชัยภูมิให้ข้าศึกใช้ตั้งปืนใหญ่ยิงทำลายกำแพงเมืองได้ จึงต้องเปลี่ยนแนวถนนมาหักมุมเลี้ยวตรงเชิงสะพานดำรงสถิต เมื่อสร้างถนนเจริญกรุงเสร็จใหม่ ๆ นั้น ยังไม่ได้พระราชทานนาม จึงเรียกกันทั่วไปว่า ถนนใหม่ และชาวยุโรปเรียกว่า นิวโรด (New Road) ชาวจีนเรียกตามสำเนียงแต้จิ๋วว่า ซิงพะโล่ว (新打路) แปลว่าถนนตัดใหม่ ต่อมา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามถนนว่า "ถนนเจริญกรุง" ซึ่งมีความหมายถึงความเจริญรุ่งเรืองของบ้านเมือง เช่นเดียวกับชื่อถนนบำรุงเมืองและถนนเฟื่องนคร ที่โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นในคราวเดียวกัน.

ถนนเจริญกรุงและรายชื่อถนนในกรุงเทพมหานคร · ถนนเจริญกรุงและเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย · ดูเพิ่มเติม »

คลองผดุงกรุงเกษม

ลองผดุงกรุงเกษมบริเวณสะพานเจริญสวัสดิ์ (ภาพถ่ายสมัยรัชกาลที่ 5) คลองผดุงกรุงเกษม ในปัจจุบัน คลองผดุงกรุงเกษม เป็นคลองรอบพระนครชั้นนอก ขุดขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้ขุดเมื่อ..

คลองผดุงกรุงเกษมและรายชื่อถนนในกรุงเทพมหานคร · คลองผดุงกรุงเกษมและเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย · ดูเพิ่มเติม »

แยกกษัตริย์ศึก

แยกกษัตริย์ศึก (Kasat Suek Intersection) เป็นทางแยกหนึ่งในพื้นที่แขวงคลองมหานาคและแขวงวัดเทพศิรินทร์ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย และแขวงรองเมือง เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร เป็นสี่แยกที่เป็นจุดกันระหว่างถนนพระราม 1, ถนนกรุงเกษม และถนนบำรุงเมือง ชื่อทางแยกมาจาก "สะพานกษัตริย์ศึก" ซึ่งเป็นสะพานข้ามคลองผดุงกรุงเกษม ที่อยู่ตรงทางแยกฝั่งถนนพระราม 1 เดิมสะพานนี้มีชื่อที่เรียกกันว่า "สะพานยศเส" ซึ่งเป็นสะพานไม้ ต่อมาสะพานยศเสมีความชำรุด ในปี..

รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและแยกกษัตริย์ศึก · เขตป้อมปราบศัตรูพ่ายและแยกกษัตริย์ศึก · ดูเพิ่มเติม »

แยกยุคล 2

แยกยุคล 2 (Yukol Song Junction) หรือที่รู้จักกันในนาม สามแยกยุคล หรือ สามแยกสวนมะลิ เป็นทางสามแยกจุดตัดถนนบำรุงเมือง และถนนยุคล 2 ในพื้นที่แขวงวัดเทพศิรินทร์และแขวงคลองมหานาค เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร ในย่านสวนมะล.

รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและแยกยุคล 2 · เขตป้อมปราบศัตรูพ่ายและแยกยุคล 2 · ดูเพิ่มเติม »

แยกหมอมี

แยกหมอมี (Mo Mi Intersection) หรือที่นิยมเรียกว่า สามแยก หรือ สามแยกถนนเจริญกรุง เป็นห้าแยกจุดตัดถนนเจริญกรุง, ถนนพระรามที่ 4, ถนนทรงสวัสดิ์ และถนนมิตรพันธ์ ในพื้นที่แขวงป้อมปราบ เขตป้อมปราบศัตรูพ่ายและแขวงตลาดน้อย เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร ใจกลางย่านเยาวราช ซึ่งเป็นย่านชาวไทยเชื้อสายจีนที่สำคัญในกรุงเทพฯ ในอดีตพื้นที่แถบนี้มีสถานะเป็นตำบลหนึ่งขึ้นอยู่ในอำเภอสัมพันธวงศ์ จังหวัดพระนคร เรียกว่า "ตำบลสามแยก" ต่อมาในปลายปี..

รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและแยกหมอมี · เขตป้อมปราบศัตรูพ่ายและแยกหมอมี · ดูเพิ่มเติม »

แยกนพวงศ์ (กรุงเทพมหานคร)

แยกนพวงศ์ (Nopphawong Intersection) เป็นทางแยกหนึ่งในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่ในแขวงวัดเทพศิรินทร์ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย มีลักษณะเป็นห้าแยกตัดกันระหว่างถนนหลวง, ถนนกรุงเกษม และถนนมิตรพันธ์ สะพานนพวงศ์ โดยชื่อ "นพวงศ์" นั้นมาจากสะพานนพวงศ์ที่อยู่ใกล้เคียงบนถนนหลวง (ซึ่งตัวสะพานอยู่ในแขวงรองเมือง เขตปทุมวัน) อันเป็นสะพานข้ามคลองผดุงกรุงเกษม สะพานแห่งนี้สร้างขึ้นเมื่อปี..

รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและแยกนพวงศ์ (กรุงเทพมหานคร) · เขตป้อมปราบศัตรูพ่ายและแยกนพวงศ์ (กรุงเทพมหานคร) · ดูเพิ่มเติม »

เขตพระนคร

ตพระนคร เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงเทพกลาง ถือเป็นเขตอนุรักษ์เมืองเก่า แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมทางฝั่งพระนคร เนื่องจากมีสถานที่สำคัญทั้งทางด้านวัฒนธรรมและด้านการเมืองการปกครองตั้งอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งเขตพระนครเป็นที่ตั้งของเกาะรัตนโกสินทร์ในปัจจุบัน.

รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและเขตพระนคร · เขตป้อมปราบศัตรูพ่ายและเขตพระนคร · ดูเพิ่มเติม »

เขตสัมพันธวงศ์

ตสัมพันธวงศ์ เป็นเขตที่เล็กที่สุดของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงเทพกลาง สภาพพื้นที่ประกอบไปด้วยแหล่งการค้าหนาแน่นและแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรม.

รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและเขตสัมพันธวงศ์ · เขตป้อมปราบศัตรูพ่ายและเขตสัมพันธวงศ์ · ดูเพิ่มเติม »

เขตดุสิต

ตดุสิต เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงเทพกลาง สภาพพื้นที่ประกอบไปด้วยแหล่งการค้า แหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก เขตทหาร แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรม นอกจากนี้ยังเป็นสถานที่ที่ตั้งรัฐสภา กระทรวงต่าง ๆ และพระราชวัง จึงทำให้เขตนี้มีลักษณะราวกับว่าเป็นเขตการปกครองส่วนกลางของประเทศไทย อนึ่ง ที่ทำการสำนักงานส่วนภูมิภาคและสำนักงานประจำประเทศไทย ขององค์การสหประชาชาติ และขององค์การระหว่างประเทศหลายองค์การ ก็อยู่ในพื้นที่เขตนี้.

รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและเขตดุสิต · เขตดุสิตและเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย · ดูเพิ่มเติม »

เขตปทุมวัน

ตปทุมวัน เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงเทพใต้ ซึ่งถือเป็นเขตศูนย์กลางธุรกิจ การค้า การบริการ การพยาบาล วัฒนธรรม การศึกษา และการทูต เป็นเขตหนึ่งที่มีที่ตั้งอยู่บริเวณใจกลางที่สุดของกรุงเทพมหานครและที่มีการคมนาคมหลากหลายช่องทาง.

รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและเขตปทุมวัน · เขตปทุมวันและเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย

รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานคร มี 317 ความสัมพันธ์ขณะที่ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย มี 72 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 26, ดัชนี Jaccard คือ 6.68% = 26 / (317 + 72)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »