โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและสี่กั๊กเสาชิงช้า

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและสี่กั๊กเสาชิงช้า

รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานคร vs. สี่กั๊กเสาชิงช้า

รายชื่อและระยะทางของถนนในเขตกรุงเทพมหานคร เฉพาะถนนสาธารณะที่อยู่ในความดูแลของหน่วยงานในสังกัดกรุงเทพมหานคร กรมทางหลวง และกรมทางหลวงชนบท รวมทั้งเส้นทางที่ตัดผ่านที่ดินของหน่วยงานราชการอื่นและเส้นทางของเอกชนที่ได้รับการกำหนดให้เป็น "ถนน" อย่างเป็นทางการจากกรุงเทพมหานครแล้ว ทั้งนี้ ไม่รวมเส้นทางที่ใช้สัญจรเฉพาะภายในพื้นที่หน่วยงานราชการ สถาบันการศึกษา บ้านจัดสรร และสถานที่เอกชนซึ่งมักมีการปิดกั้นหรือควบคุมทางเข้าออก. ี่กั๊กเสาชิงช้า เป็นสี่แยกหนึ่งในพื้นที่แขวงศาลเจ้าพ่อเสือ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เป็นจุดตัดกันระหว่างถนนตะนาว, ถนนบำรุงเมือง และถนนเฟื่องนคร โดยเป็นจุดเริ่มของถนนตะนาว และอยู่ใกล้กับแพร่งภูธร ซึ่งบริเวณนี้จะสามารถมองเห็นเสาชิงช้าได้อย่างชัดเจนจากทางด้านถนนบำรุงเมือง ชื่อ "สี่กั๊ก" นั้นมาจากภาษาแต้จิ๋วจากคำที่ออกเสียงว่า ซี้กั๊ก (อักษรจีน: 四角; จีนกลางออกเสียง ซื่อเจี่ยว) มีความหมายถึง "สี่แยก" โดยเป็นคำเรียกขานของชาวจีนที่ลากรถเจ๊กในอดีต ใช้เรียกสถานที่แห่งนี้เมื่อลากรถผ่าน เช่นเดียวกับสี่กั๊กพระยาศรี ที่อยู่ใกล้เคียงออกไปทางถนนเฟื่องนคร ทางทิศใต้ ซึ่งจนถึงปัจจุบันทางแยกที่ยังคงเรียกว่า "สี่กั๊ก" เหลือเพียงแค่สองที่นี้เท่านั้น ในอดีต ที่ยังคงมีพระราชพิธีตรียัมปวาย หรือพิธีโล้ชิงช้า ที่เสาชิงช้า ขบวนของพิธีก็ตั้งต้นขึ้นที่นี่ อาคารบ้านเรือนของบริเวณสี่กั๊กเสาชิงช้า โดยเฉพาะที่ถนนบำรุงเมืองนั้นจะเป็นอาคารพาณิชย์ 2 ชั้น ที่มีสถาปัตยกรรมแบบจีน-โปรตุเกส โดยลอกแบบมาจากประเทศสิงคโปร์ ตั้งแต่รัชสมัยรัชกาลที่ 6 มีความสวยงาม และมีจุดเด่นคือ ไม่มีบาทวิถี หรือฟุตบาท เหมือนเช่นถนนอื่น ๆ ส่วนบริเวณสี่กั๊กเสาชิงช้านั้น จะมีลักษณะเป็นวงเวียน ตัวอาคารที่อยู่ที่นี่จึงถูกออกแบบให้มีความโค้งตามไปด้วยเช่นกัน ปัจจุบัน บริเวณสี่กั๊กเสาชิงช้าเป็นแหล่งรวมของร้านค้าเครื่องสังฆภัณฑ์ ตลอดจนพระพุทธรูปและเทวรูปต่าง ๆ ซึ่งเปิดกันมาอย่างยาวนานตั้งแต่ในอดีต และยังมีร้านอาหาร, ตัวแทนจำหน่ายนาฬิกาโรเล็กซ์ และเป็นบริเวณด้านหลังของกระทรวงมหาดไทย รวมถึงร้านจำหน่ายชาที่นำเข้าจากประเทศจีนอีกด้ว.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและสี่กั๊กเสาชิงช้า

รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและสี่กั๊กเสาชิงช้า มี 9 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): กรุงเทพมหานครรายชื่อทางแยกในกรุงเทพมหานครสะพานช้างโรงสีสี่กั๊กพระยาศรีถนนบำรุงเมืองถนนตะนาวถนนเฟื่องนครแพร่งภูธรเขตพระนคร

กรุงเทพมหานคร

กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองหลวงและนครที่มีประชากรมากที่สุดของประเทศไทย เป็นศูนย์กลางการปกครอง การศึกษา การคมนาคมขนส่ง การเงินการธนาคาร การพาณิชย์ การสื่อสาร และความเจริญของประเทศ เป็นเมืองที่มีชื่อยาวที่สุดในโลก ตั้งอยู่บนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยา มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านและแบ่งเมืองออกเป็น 2 ฝั่ง คือ ฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานครมีพื้นที่ทั้งหมด 1,568.737 ตร.กม.

กรุงเทพมหานครและรายชื่อถนนในกรุงเทพมหานคร · กรุงเทพมหานครและสี่กั๊กเสาชิงช้า · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อทางแยกในกรุงเทพมหานคร

รายชื่อทางแยกในกรุงเทพมหานคร เฉพาะทางแยกสัญญาณไฟจราจร ทางแยกต่างระดับ รวมทั้งทางแยกบางแห่งที่ไม่มีสัญญาณไฟจราจรและไม่ใช่ทางแยกต่างระดับ แต่มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการ.

รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและรายชื่อทางแยกในกรุงเทพมหานคร · รายชื่อทางแยกในกรุงเทพมหานครและสี่กั๊กเสาชิงช้า · ดูเพิ่มเติม »

สะพานช้างโรงสี

ประติมากรรมรูปหัวสุนัขของสะพานช้างโรงสี แยกสะพานช้างโรงสี ซึ่งเป็นต้นถนนบำรุงเมือง สะพานช้างโรงสี เป็นสะพานและทางแยกแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร มีลักษณะเป็นสี่แยก เป็นจุดเริ่มต้นของถนนบำรุงเมือง ตั้งอยู่ในพื้นที่แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร สะพานช้างโรงสี เป็นสะพานที่สร้างข้ามคลองคูเมืองเดิม เชื่อมระหว่างถนนราชินี บริเวณหลังกระทรวงกลาโหม กับถนนอัษฎางค์ ด้านหน้ากระทรวงมหาดไทย ในยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น สะพานช้างโรงสีเป็นสะพานที่สร้างสำหรับกองทัพช้างศึกที่กลับมาจากการทำศึกสงครามเดินข้ามเพื่อเข้าเขตราชธานี ซึ่งเดิมมีสะพานที่สร้างสำหรับช้างเดินข้ามมีทั้งสิ้น 3 สะพาน คือ สะพานช้างวังหน้า ซึ่งปัจจุบันคือ บริเวณเชิงลาดสะพานพระปิ่นเกล้า, สะพานข้ามคลองคูเมืองเดิมบริเวณปากคลองตลาด ซึ่งปัจจุบัน คือ สะพานเจริญรัช 31 และสะพานช้างโรงสีแห่งนี้ ซึ่งในอดีตตั้งอยู่ใกล้กับโรงสีข้าวของฉางหลวงแห่งพระนคร ผู้คนในสมัยนั้นจึงเรียกกันติดปากว่า "สะพานช้างโรงสี" และได้เป็นสะพานเพียงแห่งเดียวที่ยังคงใช้ชื่อเดิมอยู่ จนเมื่อสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ได้ทรงบูรณะจากเดิมที่เป็นสะพานไม้แผ่นหนาวางพาดเปลี่ยนเป็นสะพานคอนกรีตเสริมเหล็ก ราวสะพานทำเป็นลูกแก้วปูนหล่อ ช่วงปลายสะพานทั้งสี่มุมเป็นประติมากรรมปูนปั้นรูปหัวสุนัข มีจารึกคำว่า ศก ๑๒๙ อันหมายถึง ปีจอ และรัตนโกสินทร์ศก 129 (พ.ศ. 2453) ซึ่งเป็นทั้งปีนักษัตรประสูติของพระองค์และตรงกับปีที่บูรณะซ่อมแซมสะพานอีกด้ว.

รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและสะพานช้างโรงสี · สะพานช้างโรงสีและสี่กั๊กเสาชิงช้า · ดูเพิ่มเติม »

สี่กั๊กพระยาศรี

ี่กั๊กพระยาศรี หรืออาจเรียกว่า สี่กั๊ก เป็นสี่แยกจุดตัดระหว่างถนนเจริญกรุง ถนนเฟื่องนคร และถนนบ้านหม้อ ในสมัยรัชกาลที่ 4 บริเวณบ้านของพระยาศรีสหเทพ (ทองเพ็ง) อยู่เชิงสะพานมอญ สี่กั๊กพระยาศรีในสมัยรัชกาลที่ 5 สี่แยกนี้ได้ชื่อมาจากคำว่า กั๊ก (角; จีนกลางออกเสียงว่า เจียว) ซึ่งแปลว่า แยก หรือ มุม ในภาษาจีนฮกเกี้ยนและแต้จิ๋ว เจ๊กลากรถในสมัยนั้นจะเรียกสามแยกว่า ซากั๊ก และสี่แยกว่า สี่กั๊ก และเมื่อเรียกรถมาบริเวณนี้จึงเรียกว่าไป สี่กั๊กบ้านพระยาศรี มาจนถึงปัจจุบัน สี่กั๊กพระยาศรี ยังเป็นสถานที่ตั้งของร้านกาแฟแห่งแรกในประเทศไทยอีกด้วย ชื่อร้าน "Red Cross Tea Room" โดย แหม่มโคล (เอ็ดนา เอส. โคล์) ผู้ก่อตั้งโรงเรียนวังหลัง (โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย) โดยเปิดขึ้นเมื่อ..

รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและสี่กั๊กพระยาศรี · สี่กั๊กพระยาศรีและสี่กั๊กเสาชิงช้า · ดูเพิ่มเติม »

ถนนบำรุงเมือง

นนบำรุงเมือง ช่วงผ่านเสาชิงช้า ถนนบำรุงเมือง (Thanon Bamrung Mueang) ตั้งต้นจากถนนอัษฎางค์ที่แยกสะพานช้างโรงสี ไปทางทิศตะวันออก ตัดกับถนนเฟื่องนครและถนนตะนาว และเป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างแขวงวัดราชบพิธกับแขวงศาลเจ้าพ่อเสือและแขวงเสาชิงช้าไปจนถึงเสาชิงช้า จากนั้นตัดกับถนนอุณากรรณเข้าสู่ท้องที่แขวงสำราญราษฎร์ ตัดกับถนนมหาไชย (แยกสำราญราษฎร์) ข้ามคลองรอบกรุง (คลองโอ่งอ่าง) เข้าสู่ท้องที่แขวงบ้านบาตร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย ตัดกับถนนบริพัตร (แยกเมรุปูน) ตัดกับถนนวรจักรและถนนจักรพรรดิพงษ์ (แยกแม้นศรี) เป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างแขวงคลองมหานาคกับแขวงวัดเทพศิรินทร์ ผ่านสามแยกที่ตัดกับถนนยุคล 2 (แยกยุคล 2) และสามแยกที่ตัดกับถนนพลับพลาไชย (แยกอนามัย) ไปจนถึงถนนกรุงเกษม (แยกกษัตริย์ศึก) โดยมีถนนที่ต่อเนื่องไปคือถนนพระรามที่ 1 ถนนบำรุงเมืองเป็นถนนรุ่นแรกที่ใช้เทคนิคการสร้างตามแบบตะวันตก หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างถนนเจริญกรุงซึ่งเป็นถนนสมัยใหม่ และเป็นที่นิยมใช้สัญจรไปมาของชาวไทยและชาวยุโรป ใน พ.ศ. 2406 รัฐบาลจึงปรับปรุงถนนเสาชิงช้าซึ่งเริ่มต้นจากสะพานช้างโรงสี และเป็นถนนเก่าแก่มีมาตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โดยทำเป็นถนนสมัยใหม่มีท่อระบายน้ำและไม่ปล่อยให้หญ้าขึ้นรกรุงรังเหมือนก่อน มีความยาว 29 เส้นเศษ จากนั้นได้พระราชทานนามว่า ถนนบำรุงเมือง ซึ่งเป็นนามที่มีความหมายเกี่ยวกับความเจริญก้าวหน้าของบ้านเมือง เพราะเมื่อแรกที่สร้างถนนบำรุงเมืองนั้นยังแคบอยู่และไม่ตรง และเมื่อสร้างเสร็จแล้วเจ้าของที่ดินริมถนนได้สร้างตึกแถว ห้องแถว และร้านค้า 2 ชั้น ถนนบำรุงเมืองเป็นถนนสายสำคัญที่มีคนสัญจรไปมามาก ซึ่งอาคารร้านค้าต่าง ๆ เหล่านี้ต่างก็ได้รับอิทธิพลมาจากสถาปัตยกรรมของอาคารในสิงคโปร์ คือ จีน-โปรตุเกส มีทางเดินด้านหน้าที่มีหลังคาคลุมถึงกันโดยตลอด คือ อาเขด ลักษณะพิเศษอีกประการหนึ่งของถนนบำรุงเมือง คือ ถนนช่วงตั้งแต่สี่กั๊กเสาชิงช้าจนถึงแยกเสาชิงช้า รวมถึงฝั่งถึงแยกสำราญราษฎร์ เป็นช่วงที่ไม่มีบาทวิถีอย่างถนนอื่น ๆ ทั่วไป เนื่องจากเจ้าของอาคารต่าง ๆ ที่อยู่ริมถนนรู้สึกว่าอาคารร้านค้าของตนนั้นคับแคบไปจึงได้มีการขยายพื้นที่ออกไปยังหน้าถนนและทำให้สามารถเดินทะลุถึงกันได้ตลอด ถนนบำรุงเมืองในช่วงนี้จึงไม่มีบาทวิถีเพราะไปอยู่ในตัวอาคาร แต่ภายหลังเจ้าของอาคารแต่ละหลังก็ได้ซ่อมแซมกลายเป็นปิดกั้นหมด ไม่สามารถเดินทะลุได้อย่างแต่ก่อน.

ถนนบำรุงเมืองและรายชื่อถนนในกรุงเทพมหานคร · ถนนบำรุงเมืองและสี่กั๊กเสาชิงช้า · ดูเพิ่มเติม »

ถนนตะนาว

นนตะนาวช่วงบางลำพู ใกล้ถนนข้าวสาร ถนนตะนาว (Thanon Tanao) เป็นถนนในเขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เริ่มต้นจากถนนบำรุงเมืองที่สี่กั๊กเสาชิงช้า ตรงไปทางทิศเหนือ เป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างแขวงศาลเจ้าพ่อเสือกับแขวงเสาชิงช้า ข้ามคลองหลอดวัดราชนัดดาเข้าสู่ท้องที่แขวงวัดบวรนิเวศ จากนั้นตัดข้ามถนนราชดำเนินกลางที่สี่แยกคอกวัว และเป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างแขวงวัดบวรนิเวศกับแขวงตลาดยอด จนไปจดแยกที่ถนนบวรนิเวศน์ ถนนสิบสามห้าง และถนนตานีบรรจบกัน แต่เดิมถนนตะนาวเป็นส่วนหนึ่งของถนนเฟื่องนครที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2406-2407 มีการสันนิษฐานว่าชื่อถนนตะนาวน่าจะตั้งตามชาวตะนาวศรีที่พระมหากษัตริย์โปรดเกล้าฯ ให้มาตั้งถิ่นฐาน เรียกกันว่า ถนนบ้านตะนาวศรี ถนนบ้านตะนาวหรือถนนตะนาว ปัจจุบัน ถนนตะนาวเป็นที่รู้จักกันดีในฐานะที่เป็นที่ตั้งของศาลเจ้าพ่อเสือ พระนคร ศาลเจ้าจีนที่มีชื่อเสียงโด่งดัง และยังได้รับความนับถือแม้กระทั่งจากนักท่องเที่ยวต่างชาติ และยังเป็นแหล่งของร้านอาหารอร่อยที่ขึ้นชื่ออีกจำนวนมากเช่นเดียวกับถนนมหรรณพ, แพร่งภูธร และแพร่งนรา ที่อยู่ใกล้เคียง เช่น ก๋วยเตี๋ยวลูกชิ้นปลาและเย็นตาโฟ, ราดหน้าและหมูสะเต๊ะ, เผือกทอด, กวยจั๊บ บางร้านยังเป็นร้านที่ได้รับการแนะนำหรือบีบกูร์ม็องจากมิชลินไกด์อีกด้ว.

ถนนตะนาวและรายชื่อถนนในกรุงเทพมหานคร · ถนนตะนาวและสี่กั๊กเสาชิงช้า · ดูเพิ่มเติม »

ถนนเฟื่องนคร

นนเฟื่องนคร (Thanon Fueang Nakhon) เป็นถนนในเขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เริ่มต้นจากถนนบำรุงเมือง (สี่กั๊กเสาชิงช้า) ในท้องที่แขวงวัดราชบพิธ ไปทางทิศใต้ ข้ามคลองหลอดวัดราชบพิธ เข้าสู่ท้องที่แขวงวังบูรพาภิรมย์ จนถึงถนนเจริญกรุง (สี่กั๊กพระยาศรี) รวมระยะทางประมาณ 0.5 กิโลเมตร ถนนเฟื่องนครเป็นถนนที่สร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นถนนรุ่นแรกที่ใช้เทคนิคการสร้างตามแบบตะวันตก โดยเริ่มตั้งแต่กำแพงเมืองด้านใต้ คือใต้ปากคลองตลาด ผ่านบ้านหม้อ บ้านญวนตัดกับถนนเจริญกรุงเป็นสี่แพร่งหรือสี่กั๊กพระยาศรี และตัดกับถนนบำรุงเมืองเป็นสี่แพร่งหรือสี่กั๊กเสาชิงช้า ผ่านวัดมหรรณพาราม โรงเลี้ยงวัวหลวง หรือบ้านท้าวประดู่ในวรรณกรรมระเด่นลันได ซึ่งปัจจุบันนี้คือ สี่แยกคอกวัว สวนหลวง ไปจนถึงกำแพงเมืองด้านเหนือที่ข้างวัดบวรนิเวศวิหาร โดยเริ่มทำพร้อมถนนบำรุงเมืองใน พ.ศ. 2406 และสร้างเสร็จใน พ.ศ. 2407 จากนั้นได้พระราชทานนามว่า "ถนนเฟื่องนคร" ซึ่งมีความหมายเกี่ยวกับความเจริญรุ่งเรืองของบ้านเมือง อันสอดคล้องกับชื่อถนนเจริญกรุง และถนนบำรุงเมือง.

ถนนเฟื่องนครและรายชื่อถนนในกรุงเทพมหานคร · ถนนเฟื่องนครและสี่กั๊กเสาชิงช้า · ดูเพิ่มเติม »

แพร่งภูธร

ปากทางเข้าแพร่งภูธรด้านถนนอัษฎางค์ แลเห็นสุขุมาลอนามัย แพร่งภูธร เป็นย่านการค้าที่อยู่ระหว่างถนนตะนาวกับถนนอัษฎางค์ ริมคลองหลอด เชิงสะพานช้างโรงสี เดิมคือ วังสะพานช้างโรงสี วังเหนือ อยู่ทางทิศใต้ของแพร่งนรา ซึ่งเป็นที่ประทับของ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าไพฑูรย์ กรมหมื่นสนิทนเรนทร์ ต้นราชสกุลไพฑูรย์ เมื่อกรมหมื่นสนิทนเรนทร์สิ้นพระชนม์ จึงเป็นที่ประทับของ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชุมแสง กรมหลวงสรรพศิลป์ปรีชา พระอนุชาร่วมเจ้าจอมมารดา ต้นราชสกุลชุมแสง เมื่อกรมหลวงสรรพศิลป์ปรีชาสิ้นพระชนม์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานวังนี้เป็นที่ประทับของ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทวีถวัลยลาภ กรมหมื่นภูธเรศธำรงศักดิ์ ต่อมาเมื่อเมื่อกรมหมื่นภูธเรศธำรงศักดิ์สิ้นพระชนม์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดฯ ให้แบ่งพื้นที่ทำเป็นตึกแถว พระราชทานชื่อถนนย่านนั้นว่า แพร่งภูธร ตามพระนามของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นภูธเรศธำรงศักดิ์ ปัจจุบัน ใจกลางแพร่งภูธรเป็นลานสาธารณะสำหรับพักผ่อนและทำกิจกรรมต่าง ๆ อีกทั้งยังเป็นแหล่งที่ตั้งของร้านอาหารที่มีชื่อเสียงจำนวนหลากหลายร้าน หลากหลายประเภท เช่น ก๋วยเตี๋ยวเนื้อ, บะหมี่และเกี๊ยว, ต้มสมองหมู, เปาะเปี๊ยะสด, ข้าวหมูแดง, ข้าวแกงกะหรี่เนื้อและสตูว์เนื้อ, ไอศกรีมแบบไทย, ขนมเบื้อง, ผัดไทย รวมถึงอาหารตามสั่ง เช่นเดียวกับถนนตะนาว, ถนนมหรรณพ และแพร่งนราที่อยู่ใกล้เคียง ซึ่งบางร้านยังมีชื่อเสียงโด่งดังในระดับโลกด้วย นอกจากนี้แล้วยังเป็นที่ตั้งของสถานีอนามัย สุขุมาลอนามัย ที่ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี..

รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและแพร่งภูธร · สี่กั๊กเสาชิงช้าและแพร่งภูธร · ดูเพิ่มเติม »

เขตพระนคร

ตพระนคร เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงเทพกลาง ถือเป็นเขตอนุรักษ์เมืองเก่า แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมทางฝั่งพระนคร เนื่องจากมีสถานที่สำคัญทั้งทางด้านวัฒนธรรมและด้านการเมืองการปกครองตั้งอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งเขตพระนครเป็นที่ตั้งของเกาะรัตนโกสินทร์ในปัจจุบัน.

รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและเขตพระนคร · สี่กั๊กเสาชิงช้าและเขตพระนคร · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและสี่กั๊กเสาชิงช้า

รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานคร มี 317 ความสัมพันธ์ขณะที่ สี่กั๊กเสาชิงช้า มี 29 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 9, ดัชนี Jaccard คือ 2.60% = 9 / (317 + 29)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและสี่กั๊กเสาชิงช้า หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »