เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานคร

ดัชนี รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานคร

รายชื่อและระยะทางของถนนในเขตกรุงเทพมหานคร เฉพาะถนนสาธารณะที่อยู่ในความดูแลของหน่วยงานในสังกัดกรุงเทพมหานคร กรมทางหลวง และกรมทางหลวงชนบท รวมทั้งเส้นทางที่ตัดผ่านที่ดินของหน่วยงานราชการอื่นและเส้นทางของเอกชนที่ได้รับการกำหนดให้เป็น "ถนน" อย่างเป็นทางการจากกรุงเทพมหานครแล้ว ทั้งนี้ ไม่รวมเส้นทางที่ใช้สัญจรเฉพาะภายในพื้นที่หน่วยงานราชการ สถาบันการศึกษา บ้านจัดสรร และสถานที่เอกชนซึ่งมักมีการปิดกั้นหรือควบคุมทางเข้าออก.

สารบัญ

  1. 317 ความสัมพันธ์: กรมทางหลวงกรมทางหลวงชนบทกรุงเทพมหานครกรุงเทพมหานคร (องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น)มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์รายชื่อทางแยกในกรุงเทพมหานครรายชื่อคลองในกรุงเทพมหานครวงเวียน 22 กรกฎาคมวงเวียนใหญ่วงเวียนโอเดียนวงเวียนเล็กสะพานช้างโรงสีสะพานพระพุทธยอดฟ้าสะพานพระราม 7สะพานพระราม 8สะพานพระปกเกล้าสะพานภูมิพลสะพานวิศุกรรมนฤมาณสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชสะพานผ่านฟ้าลีลาศสะพานผ่านพิภพลีลาสี่กั๊กพระยาศรีสี่กั๊กเสาชิงช้าอักษรละตินอักษรไทยถนนบรมราชชนนีถนนบรรทัดทองถนนบริพัตรถนนบางขุนเทียนถนนบางแคถนนบำรุงเมืองถนนบูรพาถนนบ้านหม้อถนนพญาไทถนนพระพิพิธถนนพระพิทักษ์ถนนพระราม 9ถนนพระรามที่ 1ถนนพระรามที่ 2ถนนพระรามที่ 3ถนนพระรามที่ 4ถนนพระรามที่ 5ถนนพระรามที่ 6ถนนพระสุเมรุถนนพระอาทิตย์ถนนพระจันทร์ถนนพรานนกถนนพรานนก-พุทธมณฑล สาย 4ถนนพลับพลาไชยถนนพหลโยธิน... ขยายดัชนี (267 มากกว่า) »

กรมทางหลวง

กรมทางหลวง เป็นหน่วยงานสังกัดกระทรวงคมนาคม มีหน้าที่ดำเนินการก่อสร้าง ควบคุม บูรณะ และบำรุงรักษาทางหลวง ทางหลวงพิเศษ ทางหลวงแผ่นดิน และทางหลวงสัมปทาน เพื่ออำนวยความสะดวกรวดเร็วและปลอดภัยในทางหลวงทั่วประเทศ เอื้อประโยชน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม การปกครอง ความมั่นคง และการป้องกันประเท.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและกรมทางหลวง

กรมทางหลวงชนบท

กรมทางหลวงชนบท (Department of Rural Roads) เป็นส่วนราชการระดับกรม สังกัดกระทรวงคมนาคม จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2545 โดยบุคลากรโอนภารกิจมาจากกรมโยธาธิการและกรมการเร่งรัดพัฒนาชนบท มีหน้าที่ในการพัฒนาและยกระดับมาตรฐานทางหลวงชนบท เพื่อสนับสนุนการคมนาคมขนส่ง การท่องเที่ยว การพัฒนาชายแดน การพัฒนาเมืองอย่างบูรณาการและยั่งยืน แก้ไขปัญหาจราจรโดยสร้างทางเชื่อม ทางเลี่ยง และทางลัด รวมทั้งเป็นพี่เลี้ยงด้านการพัฒนาทางหลวงท้องถิ่นให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและกรมทางหลวงชนบท

กรุงเทพมหานคร

กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองหลวงและนครที่มีประชากรมากที่สุดของประเทศไทย เป็นศูนย์กลางการปกครอง การศึกษา การคมนาคมขนส่ง การเงินการธนาคาร การพาณิชย์ การสื่อสาร และความเจริญของประเทศ เป็นเมืองที่มีชื่อยาวที่สุดในโลก ตั้งอยู่บนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยา มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านและแบ่งเมืองออกเป็น 2 ฝั่ง คือ ฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานครมีพื้นที่ทั้งหมด 1,568.737 ตร.กม.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและกรุงเทพมหานคร

กรุงเทพมหานคร (องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น)

กรุงเทพมหานคร (ย่อ: กทม.; Bangkok Metropolitan Administration, BMA) เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ ซึ่งทำหน้าที่บริหารเขตการปกครองพิเศษกรุงเทพมหานคร ตามกฎหมายปัจจุบันคือ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและกรุงเทพมหานคร (องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น)

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (Thammasat University) หรือเรียกโดยย่อว่า ม. (TU) เป็นมหาวิทยาลัยแห่งที่สองของประเทศไทย ก่อตั้งในชื่อ "มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง" หรือ "ม..ก." (The University of Moral and Political Sciences หรือ UMPS) เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน..

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

รายชื่อทางแยกในกรุงเทพมหานคร

รายชื่อทางแยกในกรุงเทพมหานคร เฉพาะทางแยกสัญญาณไฟจราจร ทางแยกต่างระดับ รวมทั้งทางแยกบางแห่งที่ไม่มีสัญญาณไฟจราจรและไม่ใช่ทางแยกต่างระดับ แต่มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการ.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและรายชื่อทางแยกในกรุงเทพมหานคร

รายชื่อคลองในกรุงเทพมหานคร

ตัดกันระหว่างคลองบางน้อย กับคลองบางกอกใหญ่ ในพื้นที่แขวงบางเชือกหนัง เขตตลิ่งชัน คลองในกรุงเทพมหานคร มีจำนวน 1,161 คลอง และคูลำกระโดง จำนวน 521 คู รวมเป็น 1,682 คูคลอง ความยาว 2,604 กม.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและรายชื่อคลองในกรุงเทพมหานคร

วงเวียน 22 กรกฎาคม

วงเวียน 22 กรกฎาคม เป็นวงเวียนน้ำพุเกิดจากถนน 3 สายตัดกัน คือ ถนนไมตรีจิตต์ ถนนมิตรพันธ์ และถนนสันติภาพ อยู่ในเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร ถนนรอบวงเวียนมีชื่อว่า ถนนวงเวียน 22 กรกฎาคม วงเวียน 22 กรกฎาคม สร้างขึ้นเพื่อรำลึกถึงวันที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงตัดสินพระทัยนำประเทศไทยเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม..

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและวงเวียน 22 กรกฎาคม

วงเวียนใหญ่

วงเวียนใหญ่ เป็นวงเวียนที่ถนนประชาธิปก ถนนลาดหญ้า ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน และถนนอินทรพิทักษ์มาบรรจบกันในพื้นที่เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร เป็นที่ตั้งของพระบรมราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี บริเวณใกล้เคียงเป็นที่ตั้งของสถานีรถไฟวงเวียนใหญ่ ซึ่งเป็นสถานีต้นทางของทางรถไฟสายแม่กลอง (วงเวียนใหญ่-มหาชัย).

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและวงเวียนใหญ่

วงเวียนโอเดียน

วงเวียนโอเดียน เป็นวงเวียนตั้งอยู่บริเวณหัวถนนเยาวราช เป็นจุดตัดของถนนเจริญกรุง, ถนนเยาวราช และถนนมิตรภาพไทย-จีน อยู่ในเขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร เป็นวงเวียนที่มีประวัติความเป็นมาคู่กับถนนเยาวราช เคยเป็นศูนย์รวมสถานบันเทิง เดิมเป็นวงเวียนน้ำพุ เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชน ปัจจุบันปรับปรุงเป็นที่ตั้งของ ซุ้มประตูเฉลิมพระเกียรติ ๖ รอบพระชนมพรรษา ร้านค้าในย่านนี้ เรียกว่า ร้านค้าย่านโอเดียน เป็นย่านเก่าแก่เป็นที่มาของชื่อ เซียงกง แหล่งเครื่องยนต์มือสอง และอะไหล่มือสองจากญี่ปุ่นยุคแรก ปัจจุบัน ยังมีร้านค้าเหล่านี้อยู่บ้าง เช่น ร้านค้าอะไหล่รถยนต์ อะไหล่แทรกเตอร์ ร้านค้าโลหะ และร้านค้าเครื่องเรือ.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและวงเวียนโอเดียน

วงเวียนเล็ก

แยกวงเวียนเล็ก (Wongwian Lek Intersection) ปัจจุบันเป็นสี่แยกจุดบรรจบถนนอรุณอมรินทร์ตัดใหม่และถนนสมเด็จเจ้าพระยา กับถนนประชาธิปก ในพื้นที่เขตธนบุรี และคลองสาน กรุงเทพมหานคร บริเวณหน้าโรงเรียนศึกษานารี ในอดีตเคยเป็นวงเวียนหอนาฬิกาที่รับการจราจรจากสะพานพุทธ และวงเวียนสมเด็จพระเจ้าตากสิน หรือวงเวียนใหญ่ มีทางแยกถนนสมเด็จเจ้าพระยาไปยังท่าดินแดงและคลองสาน และมีทางแยกถนนเทศบาลสาย 3 เลียบคลองบางไส้ไก่ไปยังชุมชนย่านบุปผารามและวัดกัลยาณมิตร วงเวียนนี้จึงเรียกชื่อว่า "วงเวียนเล็ก" คู่กับ "วงเวียนใหญ่" ที่อยู่ใกล้เคียงกัน ในภายหลังมีการก่อสร้างสะพานพระปกเกล้า ซึ่งมีเชิงลาดขึ้นสะพานใกล้วงเวียนเล็กมาก จึงได้รื้อวงเวียนเล็กและหอนาฬิกาเดิมทิ้ง และปรับให้เป็นแยกวงเวียนเล็กในช่วงที่สะพานพระปกเกล้ายังก่อสร้างไม่แล้วเสร็จ หลังจากสะพานพระปกเกล้าแล้วเสร็จ เพื่อไม่ให้เป็นการตัดกระแสการจราจรหลักบนถนนประชาธิปกทั้งขาขึ้นและขาลงสะพานพระปกเกล้า จึงได้ยกเลิกการเป็นแยกวงเวียนเล็กทำเกาะกลางถนนปิดกั้นตามแนวถนนประชาธิปก ทำให้กายภาพปัจจุบันไม่มีสภาพการเป็นวงเวียนหรือสี่แยกอีกต่อไป โดยแยกวงเวียนเล็กแต่ละฝั่งจะไม่สามารถสัญจรถึงกันได้ ต้องไปกลับรถที่แยกบ้านแขกหรือใต้สะพานพุทธแทน นอกจากนี้ จุดบรรจบถนนเทศบาลสาย 3 บริเวณหน้าโรงเรียนศึกษานารียังได้มีการตัดถนนอรุณอมรินทร์มาเชื่อมต่อในภายหลัง ทำให้ช่องทางสัญจรจากย่านวัดกัลยาณ์ขยายใหญ่ขึ้น และสามารถใช้เป็นเส้นทางลัดออกจากวงเวียนเล็กไปยังแยกวังเดิมและแยกศิริราชได้สะดวกยิ่งขึ้น แต่รถที่มาจากถนนอรุณอมรินทร์เข้าสู่แยกวงเวียนเล็กจะถูกบังคับให้เลี้ยวซ้ายเพื่อขึ้นสะพานพระปกเกล้า ไม่สามารถตัดกระแสการจราจรไปใช้สะพานพุทธได้ ปัจจุบัน บริเวณแยกวงเวียนเล็กมีการก่อสร้างหอนาฬิกาขึ้น บริเวณริมคลองสมเด็จเจ้าพระยา ฝั่งเขตคลองสาน เพื่อฟื้นฟูประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของวงเวียนเล็กอีกครั้งหนึ่ง.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและวงเวียนเล็ก

สะพานช้างโรงสี

ประติมากรรมรูปหัวสุนัขของสะพานช้างโรงสี แยกสะพานช้างโรงสี ซึ่งเป็นต้นถนนบำรุงเมือง สะพานช้างโรงสี เป็นสะพานและทางแยกแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร มีลักษณะเป็นสี่แยก เป็นจุดเริ่มต้นของถนนบำรุงเมือง ตั้งอยู่ในพื้นที่แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร สะพานช้างโรงสี เป็นสะพานที่สร้างข้ามคลองคูเมืองเดิม เชื่อมระหว่างถนนราชินี บริเวณหลังกระทรวงกลาโหม กับถนนอัษฎางค์ ด้านหน้ากระทรวงมหาดไทย ในยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น สะพานช้างโรงสีเป็นสะพานที่สร้างสำหรับกองทัพช้างศึกที่กลับมาจากการทำศึกสงครามเดินข้ามเพื่อเข้าเขตราชธานี ซึ่งเดิมมีสะพานที่สร้างสำหรับช้างเดินข้ามมีทั้งสิ้น 3 สะพาน คือ สะพานช้างวังหน้า ซึ่งปัจจุบันคือ บริเวณเชิงลาดสะพานพระปิ่นเกล้า, สะพานข้ามคลองคูเมืองเดิมบริเวณปากคลองตลาด ซึ่งปัจจุบัน คือ สะพานเจริญรัช 31 และสะพานช้างโรงสีแห่งนี้ ซึ่งในอดีตตั้งอยู่ใกล้กับโรงสีข้าวของฉางหลวงแห่งพระนคร ผู้คนในสมัยนั้นจึงเรียกกันติดปากว่า "สะพานช้างโรงสี" และได้เป็นสะพานเพียงแห่งเดียวที่ยังคงใช้ชื่อเดิมอยู่ จนเมื่อสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ได้ทรงบูรณะจากเดิมที่เป็นสะพานไม้แผ่นหนาวางพาดเปลี่ยนเป็นสะพานคอนกรีตเสริมเหล็ก ราวสะพานทำเป็นลูกแก้วปูนหล่อ ช่วงปลายสะพานทั้งสี่มุมเป็นประติมากรรมปูนปั้นรูปหัวสุนัข มีจารึกคำว่า ศก ๑๒๙ อันหมายถึง ปีจอ และรัตนโกสินทร์ศก 129 (พ.ศ.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและสะพานช้างโรงสี

สะพานพระพุทธยอดฟ้า

มุมสูงของสะพานพระพุทธยอดฟ้าและสะพานพระปกเกล้า สะพานพระพุทธยอดฟ้า หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า สะพานปฐมบรมราชานุสรณ์ (Phra Phuttha Yodfa Bridge, Memorial Bridge) เป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาที่เชื่อมการคมนาคมติดต่อระหว่างฝั่งพระนครกับฝั่งธนบุรีของกรุงเทพมหานคร ที่ปลายถนนตรีเพชร แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร กับปลายถนนประชาธิปก แขวงวัดกัลยาณ์ เขตธนบุรี ปัจจุบันสะพานแห่งนี้อยู่ในความรับผิดชอบของกรมทางหลวงชนบท.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและสะพานพระพุทธยอดฟ้า

สะพานพระราม 7

นพระราม 7 (Rama VII Bridge) เป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา เชื่อมระหว่างตำบลบางกรวย อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี กับแขวงวงศ์สว่าง เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร สะพานพระราม 7 เป็นสะพานแบบคอนกรีตอัดแรงชนิดต่อเนื่อง มีจำนวนช่องทางรถวิ่ง 6 ช่องทางจราจร ความกว้างของสะพาน 29.10 เมตร และมีความยาว 934 เมตร สร้างเสร็จและเปิดการจราจรเมื่อวันที่ 23 กันยายน พ.ศ.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและสะพานพระราม 7

สะพานพระราม 8

นพระราม 8 (Rama VIII Bridge) เป็นสะพานขึงแบบอสมมาตรเสาเดี่ยว ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาแห่งที่ 13 ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีแนวสายทางเชื่อมต่อกับทางคู่ขนานลอยฟ้าบรมราชชนนี ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณโรงงานสุราบางยี่ขัน (สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และมูลนิธิชัยพัฒนาในปัจจุบัน) เขตบางพลัด บรรจบกับปลายถนนวิสุทธิกษัตริย์ ใกล้กับธนาคารแห่งประเทศไทย เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและสะพานพระราม 8

สะพานพระปกเกล้า

นพระปกเกล้า (Phra Pok Klao Bridge) เป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร เชื่อมระหว่างถนนจักรเพชร ในพื้นที่แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร (ฝั่งพระนคร) กับถนนประชาธิปก ในพื้นที่แขวงสมเด็จเจ้าพระยา เขตคลองสาน ฝั่งธนบุรี เป็นสะพานคู่ขาไปและขากลับ สร้างเคียงข้างขนานกันกับสะพานพระพุทธยอดฟ้า เนื่องจากการจราจรบริเวณนั้นถึงจุดวิกฤต รัฐบาลจึงเห็นว่าควรมีสะพานอีกแห่งหนึ่งเพื่อช่วยระบายการจราจร โดยได้เว้นที่ช่วงกลางสะพานไว้สำหรับก่อสร้างรถไฟฟ้าลาวาลินด้วย ปัจจุบันสะพานแห่งนี้อยู่ในความรับผิดชอบของกรมทางหลวงชนบท.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและสะพานพระปกเกล้า

สะพานภูมิพล

นภูมิพล (Bhumibol Bridge) หรือเดิม สะพานวงแหวนอุตสาหกรรม เป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาสำหรับถนนวงแหวนอุตสาหกรรม เชื่อมระหว่างถนนพระรามที่ 3 ถนนสุขสวัสดิ์ ถนนปู่เจ้าสมิงพราย และถนนกาญจนาภิเษก ลักษณะเป็นสะพานขึงขนาด 7 ช่องจราจร ทางด้านเหนือหรือ "สะพานภูมิพล 1" เชื่อมระหว่างแขวงบางโพงพาง เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร กับตำบลทรงคนอง อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ทางด้านใต้หรือ "สะพานภูมิพล 2" เชื่อมระหว่างตำบลทรงคนองกับตำบลบางหญ้าแพรก อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ มีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและสะพานภูมิพล

สะพานวิศุกรรมนฤมาณ

นวิศุกรรมนฤมาณ สะพานวิศุกรรมนฤมาณ หรือ สะพานวิศสุกรรมนฤมาณ สะพานข้ามคลองผดุงกรุงเกษมแห่งหนึ่ง ตั้งอยู่ในพื้นที่แขวงบางขุนพรหม เขตพระนคร และแขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร เป็นสะพานเชื่อมระหว่างถนนนครราชสีมาและถนนประชาธิปไตย สะพานวิศุกรรมนฤมาณเป็นหนึ่งในห้าสะพานข้ามคลองผดุงกรุงเกษม ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น และได้ชื่อที่คล้องจองกัน คือ สะพานเทเวศรนฤมิตร, สะพานวิศุกรรมนฤมาณ, สะพานมัฆวานรังสรรค์, สะพานเทวกรรมรังรักษ์ และสะพานจตุรภักตร์รังสฤษดิ์ โดยพระราชเลขานุการซึ่งเชี่ยวชาญภาษามคธ มีความหมายโดยรวมว่า "สะพานที่เทพยดาทรงสร้าง" ซึ่งในส่วนของสะพานวิศุกรรมนฤมาณนั้นมีความหมายว่า "สะพานที่พระวิสสุกรรมทรงสร้าง" สะพานวิศุกรรมนฤมาณ เดิมเป็นสะพานโครงเหล็กพื้นไม้ มีราวสะพานเป็นรูปกรงเหล็กหล่อ ต่อมาได้มีการปรับปรุงใหม่เป็นสะพานคอนกรีตเสริมเหล็กขนาดกว้างกว่าเดิม ลักษณะราวสะพานเป็นรูปกรงคอนกรีตโปร่ง มีโค้งออกด้านข้าง ได้รับการบูรณะในปี..

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและสะพานวิศุกรรมนฤมาณ

สะพานสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

นสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช หรือที่รู้จักในนาม สะพานสาทร เป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา เชื่อมถนนสาทร (เขตสาทรและเขตบางรัก) กับถนนกรุงธนบุรี (เขตคลองสาน) เป็นสะพานคู่แยกขาเข้า-ขาออก และเว้นเนื้อที่ระหว่างสะพานไว้เผื่อสร้างระบบขนส่งมวลชนอื่น โดยปัจจุบัน พื้นที่ระหว่างสะพานเป็นรางรถไฟฟ้าบีทีเอสสายสีลม และพื้นที่ในฝั่งพระนครยังเป็นที่ตั้งของสถานีสะพานตากสินอีกด้วย สะพานสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเป็นที่รู้กันของชาวกรุงเทพฯ ว่าประสบปัญหาการจราจรอย่างหนัก โดยเฉพาะขาเข้าฝั่งพระนคร เนื่องจากปริมาณรถมาก และเชิงสะพานฝั่งพระนครมีสัญญาณไฟจราจร จึงเป็นการปิดกั้นกระแสรถจากฝั่งธนบุรีซึ่งมีปริมาณมากให้ไหลไปได้ช้า โดยเฉพาะชั่วโมงเร่งด่วนที่มีปริมาณรถมากเป็นพิเศษ นอกจากนี้ยังมีโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนตั้งอยู่ปลายสะพานทางฝั่งพระนครซึ่งในช่วงเวลาเช้าจะมีผู้ปกครองจอดรถเพื่อส่งเด็กนักเรียนเป็นจำนวนมาก และใช้เวลานานมาก ซึ่งเป็นที่มาส่วนหนึ่งของการจราจรที่ติดขัดเป็นพิเศษ.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

สะพานผ่านฟ้าลีลาศ

นผ่านฟ้าลีลาศ เป็นสะพานข้ามคลองรอบกรุง ตอนที่เรียกว่าคลองบางลำพู เชื่อมถนนราชดำเนินกลางและถนนราชดำเนินนอก บริเวณใกล้กับป้อมมหากาฬ ในพื้นที่เขตพระนครและเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร สะพานผ่านฟ้าลีลาศสร้างในปีใดไม่ปรากฏหลักฐาน แต่สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างพร้อมกับถนน เดิมเป็นสะพานโครงเหล็ก ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างสะพานใหม่ให้มีลักษณะใหม่และงดงามขึ้น และพระราชทานนามว่าสะพานผ่านฟ้าลีลาศ แม้ในสมัยต่อมาจะมีการปรับปรุงขยายสะพานผ่านฟ้าลีลาศอีกหลายครั้ง เพื่อรองรับกับจำนวนยวดยานพาหนะที่สัญจรผ่านไปมา แต่ก็ยังรักษาลักษณะศิลปกรรมเดิมไว้ให้มากที่สุด สะพานผ่านฟ้าลีลาศเป็นสะพานที่สวยงาม ปลายสะพานทั้ง 2 ฝั่งมีเสาหินอ่อนประดับด้วยเครื่องสำริดและมีลวดลายสลักที่เสาหินอ่อน มีลักษณะงดงามมาก เดิมบริเวณสะพานผ่านฟ้าลีลาศยังเคยเป็นที่ทำการสอนของ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในปี..

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและสะพานผ่านฟ้าลีลาศ

สะพานผ่านพิภพลีลา

นผ่านพิภพลีลา เป็นสะพานข้ามคลองคูเมืองเดิม เชื่อมระหว่างถนนราชดำเนินในและถนนราชดำเนินกลาง บริเวณใกล้สนามหลวง ในพื้นที่เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร สะพานผ่านพิภพลีลาในอดีต สะพานผ่านพิภพลีลาเดิมเป็นสะพานโค้งมีโครงเหล็ก ใน..

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและสะพานผ่านพิภพลีลา

สี่กั๊กพระยาศรี

ี่กั๊กพระยาศรี หรืออาจเรียกว่า สี่กั๊ก เป็นสี่แยกจุดตัดระหว่างถนนเจริญกรุง ถนนเฟื่องนคร และถนนบ้านหม้อ ในสมัยรัชกาลที่ 4 บริเวณบ้านของพระยาศรีสหเทพ (ทองเพ็ง) อยู่เชิงสะพานมอญ สี่กั๊กพระยาศรีในสมัยรัชกาลที่ 5 สี่แยกนี้ได้ชื่อมาจากคำว่า กั๊ก (角; จีนกลางออกเสียงว่า เจียว) ซึ่งแปลว่า แยก หรือ มุม ในภาษาจีนฮกเกี้ยนและแต้จิ๋ว เจ๊กลากรถในสมัยนั้นจะเรียกสามแยกว่า ซากั๊ก และสี่แยกว่า สี่กั๊ก และเมื่อเรียกรถมาบริเวณนี้จึงเรียกว่าไป สี่กั๊กบ้านพระยาศรี มาจนถึงปัจจุบัน สี่กั๊กพระยาศรี ยังเป็นสถานที่ตั้งของร้านกาแฟแห่งแรกในประเทศไทยอีกด้วย ชื่อร้าน "Red Cross Tea Room" โดย แหม่มโคล (เอ็ดนา เอส.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและสี่กั๊กพระยาศรี

สี่กั๊กเสาชิงช้า

ี่กั๊กเสาชิงช้า เป็นสี่แยกหนึ่งในพื้นที่แขวงศาลเจ้าพ่อเสือ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เป็นจุดตัดกันระหว่างถนนตะนาว, ถนนบำรุงเมือง และถนนเฟื่องนคร โดยเป็นจุดเริ่มของถนนตะนาว และอยู่ใกล้กับแพร่งภูธร ซึ่งบริเวณนี้จะสามารถมองเห็นเสาชิงช้าได้อย่างชัดเจนจากทางด้านถนนบำรุงเมือง ชื่อ "สี่กั๊ก" นั้นมาจากภาษาแต้จิ๋วจากคำที่ออกเสียงว่า ซี้กั๊ก (อักษรจีน: 四角; จีนกลางออกเสียง ซื่อเจี่ยว) มีความหมายถึง "สี่แยก" โดยเป็นคำเรียกขานของชาวจีนที่ลากรถเจ๊กในอดีต ใช้เรียกสถานที่แห่งนี้เมื่อลากรถผ่าน เช่นเดียวกับสี่กั๊กพระยาศรี ที่อยู่ใกล้เคียงออกไปทางถนนเฟื่องนคร ทางทิศใต้ ซึ่งจนถึงปัจจุบันทางแยกที่ยังคงเรียกว่า "สี่กั๊ก" เหลือเพียงแค่สองที่นี้เท่านั้น ในอดีต ที่ยังคงมีพระราชพิธีตรียัมปวาย หรือพิธีโล้ชิงช้า ที่เสาชิงช้า ขบวนของพิธีก็ตั้งต้นขึ้นที่นี่ อาคารบ้านเรือนของบริเวณสี่กั๊กเสาชิงช้า โดยเฉพาะที่ถนนบำรุงเมืองนั้นจะเป็นอาคารพาณิชย์ 2 ชั้น ที่มีสถาปัตยกรรมแบบจีน-โปรตุเกส โดยลอกแบบมาจากประเทศสิงคโปร์ ตั้งแต่รัชสมัยรัชกาลที่ 6 มีความสวยงาม และมีจุดเด่นคือ ไม่มีบาทวิถี หรือฟุตบาท เหมือนเช่นถนนอื่น ๆ ส่วนบริเวณสี่กั๊กเสาชิงช้านั้น จะมีลักษณะเป็นวงเวียน ตัวอาคารที่อยู่ที่นี่จึงถูกออกแบบให้มีความโค้งตามไปด้วยเช่นกัน ปัจจุบัน บริเวณสี่กั๊กเสาชิงช้าเป็นแหล่งรวมของร้านค้าเครื่องสังฆภัณฑ์ ตลอดจนพระพุทธรูปและเทวรูปต่าง ๆ ซึ่งเปิดกันมาอย่างยาวนานตั้งแต่ในอดีต และยังมีร้านอาหาร, ตัวแทนจำหน่ายนาฬิกาโรเล็กซ์ และเป็นบริเวณด้านหลังของกระทรวงมหาดไทย รวมถึงร้านจำหน่ายชาที่นำเข้าจากประเทศจีนอีกด้ว.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและสี่กั๊กเสาชิงช้า

อักษรละติน

อักษรละติน หรือ อักษรโรมัน เป็นระบบตัวเขียนแบบตัวอักษร สันนิษฐานว่าอักษรละตินมีที่มาจากอักษรคิวมี (Cumae alphabet) ซึ่งดัดแปลงมาจากอักษรกรีกอีกทอดหนึ่ง ที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในโลก โดยเฉพาะประเทศในยุโรปและอเมริกา และประเทศในเอเชียที่นำอักษรละตินมาใช้ในภายหลังเช่น ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศเวียดนาม ประเทศมาเลเซีย ประเทศเติร์กเมนิสถาน ประเทศทาจิกิสถาน ประเทศอาเซอร์ไบจาน ประเทศตุรกี และประเทศฟิลิปปินส์ รวมถึงการเขียนภาษาด้วยอักษรโรมัน (romanization) ในภาษาต่างๆ เช่น พินอิน (ภาษาจีน) หรือ โรมะจิ (ภาษาญี่ปุ่น).

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและอักษรละติน

อักษรไทย

อักษรไทย เป็นอักษรที่ใช้เขียนภาษาไทย และภาษากลุ่มน้อยอื่น ๆ ในประเทศไทย มีพยัญชนะ 44 รูป สระ 21 รูป วรรณยุกต์ 4 รูป และเครื่องหมายอื่น ๆ อีกจำนวนหนึ่ง พยัญชนะไทยจะเรียงตัวไปตามแนวนอน จากซ้ายไปขวา ส่วนสระจะอยู่หน้า บน ล่าง และหลังพยัญชนะประกอบคำแล้วแต่ชนิดของสระ อักษรไทยไม่มีการแยกอักษรตัวใหญ่หรืออักษรตัวเล็กอย่างอักษรโรมัน และไม่มีการเว้นวรรคระหว่างคำ เมื่อจบหนึ่งประโยคจะลงท้ายด้วยการเว้นวรรค กับมีเครื่องหมายวรรคตอนจำนวนหนึ่ง ภาษาไทยมีตัวเลขเป็นของตัวเอง แต่นิยมใช้เลขอารบิกเป็นส่วนใหญ่ในชีวิตประจำวัน.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและอักษรไทย

ถนนบรมราชชนนี

นนบรมราชชนนี (Thanon Borommaratchachonnani) เป็นเส้นทางคมนาคมในพื้นที่ฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานคร ระหว่างเขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร และอำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม ระยะทางรวม 33.984 กิโลเมตร เฉพาะส่วนที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมทางหลวงมีฐานะเป็น ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 338 สายอรุณอมรินทร์–นครชัยศรี และมีระยะทาง 31.265 กิโลเมตร.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนบรมราชชนนี

ถนนบรรทัดทอง

นาคารไทยพาณิชย์ สาขาถนนเพชรบุรี ซึ่งตั้งอยู่บนถนนเพชรบุรี ที่บริเวณแยกเพชรพระราม อันเป็นจุดสิ้นสุดของถนน (ภาพจากมุมมองของถนนบรรทัดทอง) ถนนบรรทัดทอง (Thanon Banthat Thong) เป็นถนนเส้นหนึ่งในกรุงเทพมหานคร ในพื้นที่ 2 เขตคือ เขตปทุมวันและเขตราชเทวี.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนบรรทัดทอง

ถนนบริพัตร

นนบริพัตร (Thanon Paribatra) ถนนสายหนึ่งของกรุงเทพมหานคร เป็นถนนที่ตัดตรงในลักษณะขวางตัดกับถนนสายอื่น ๆ เริ่มต้นตั้งแต่ที่ถนนดำรงรักษ์ บริเวณด้านข้างพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และเชิงสะพานผ่านฟ้าลีลาศ พื้นที่แขวงวัดโสมนัส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย ทอดผ่านสะพานมหาดไทยอุทิศ ข้ามคลองมหานาค ผ่านวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร ผ่านแยกเมรุปูนจุดตัดกับถนนบำรุงเมือง ในพื้นที่แขวงบ้านบาตร จากนั้นตัดผ่านถนนหลวง ที่เชิงสะพานระพีพัฒนภาค ข้ามคลองรอบกรุง จากนั้นผ่านเชิงสะพานดำรงสถิต ข้ามคลองโอ่งอ่าง บริเวณคลองถม และไปสิ้นสุดที่ถนนเยาวราช บริเวณเชิงสะพานภาณุพันธ์ ที่แขวงจักรวรรดิ เขตสัมพันธวงศ์ ชื่อ "บริพัตร" นั้นตั้งขึ้นเพื่อเป็นพระเกียรติแก่ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต หรือทูลกระหม่อมบริพัตร พระราชโอรสของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี องค์ผู้ทรงเป็นผู้สำเร็จราชการในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และทรงเป็นต้นราชสกุลบริพัตร.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนบริพัตร

ถนนบางขุนเทียน

ถนนบางขุนเทียน (Thanon Bang Khun Thian) เป็นถนนสายหลักในเขตบางบอนและเขตบางขุนเทียน ตัดผ่านพื้นที่ทางเหนือของเขตบางขุนเทียน เริ่มต้นเข้าสู่เขตบางขุนเทียน จากทางรถไฟสายวงเวียนใหญ่-มหาชัย แขวงแสมดำ ต่อเนื่องมาจากแขวงคลองบางบอน เขตบางบอน และไปสิ้นสุดที่เกาะกลางของถนนพระรามที่ 2 โดยเป็นสะพาน ก่อนจะตัดผ่านเข้าสู่แขวงท่าข้ามต่อไป บางขุนเทียน บางขุนเทียน บางขุนเทียน.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนบางขุนเทียน

ถนนบางแค

นนบางแค (Thanon Bang Khae) เป็นถนนในฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานคร เดิมมีชื่อเรียกว่า "ถนนสุขาภิบาล 1" และ "ถนนบางแค-บางบอน" เริ่มต้นจากถนนเพชรเกษมช่วงแยกบางแคในท้องที่แขวงบางแค เขตบางแค ไปทางทิศใต้ ตัดกับถนนกัลปพฤกษ์ ไปสิ้นสุดที่สะพานข้ามคลองบางโคลัดซึ่งเป็นคลองที่แบ่งเขตระหว่างเขตบางแคกับเขตบางบอน ซึ่งจากจุดนี้ไปก็จะเป็นถนนบางบอน 1.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนบางแค

ถนนบำรุงเมือง

นนบำรุงเมือง ช่วงผ่านเสาชิงช้า ถนนบำรุงเมือง (Thanon Bamrung Mueang) ตั้งต้นจากถนนอัษฎางค์ที่แยกสะพานช้างโรงสี ไปทางทิศตะวันออก ตัดกับถนนเฟื่องนครและถนนตะนาว และเป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างแขวงวัดราชบพิธกับแขวงศาลเจ้าพ่อเสือและแขวงเสาชิงช้าไปจนถึงเสาชิงช้า จากนั้นตัดกับถนนอุณากรรณเข้าสู่ท้องที่แขวงสำราญราษฎร์ ตัดกับถนนมหาไชย (แยกสำราญราษฎร์) ข้ามคลองรอบกรุง (คลองโอ่งอ่าง) เข้าสู่ท้องที่แขวงบ้านบาตร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย ตัดกับถนนบริพัตร (แยกเมรุปูน) ตัดกับถนนวรจักรและถนนจักรพรรดิพงษ์ (แยกแม้นศรี) เป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างแขวงคลองมหานาคกับแขวงวัดเทพศิรินทร์ ผ่านสามแยกที่ตัดกับถนนยุคล 2 (แยกยุคล 2) และสามแยกที่ตัดกับถนนพลับพลาไชย (แยกอนามัย) ไปจนถึงถนนกรุงเกษม (แยกกษัตริย์ศึก) โดยมีถนนที่ต่อเนื่องไปคือถนนพระรามที่ 1 ถนนบำรุงเมืองเป็นถนนรุ่นแรกที่ใช้เทคนิคการสร้างตามแบบตะวันตก หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างถนนเจริญกรุงซึ่งเป็นถนนสมัยใหม่ และเป็นที่นิยมใช้สัญจรไปมาของชาวไทยและชาวยุโรป ใน พ.ศ.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนบำรุงเมือง

ถนนบูรพา

นนบูรพา (Thanon Burapha) เป็นถนนสั้น ๆ สายหนึ่งในพื้นที่แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เป็นถนนที่เชื่อมระหว่างถนนพาหุรัด กับถนนเจริญกรุง ถนนบูรพา เดิมมีชื่อว่า "ถนนบุรพา" แต่ต่อมาได้เรียกเพี้ยนเป็น "ถนนบูรพา" เช่นปัจจุบัน โดยเรียกตามวังบูรพาภิรมย์ วังที่ประทับของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช สมเด็จพระอนุชาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ถนนเส้นนี้ตัดผ่านบริเวณด้านหลัง เป็นถนนที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้าฯ ให้มีการตัดถนนขึ้นเพื่อรองรับความเจริญทางการค้าที่กำลังเฟื่องฟูในย่านพาหุรัด ทำให้ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติมีเส้นทางคมนาคมที่สะดวกยิ่งขึ้น ปัจจุบัน บริเวณรอบ ๆ ถนนบูรพาเป็นที่ตั้งของร้านจำหน่ายอาวุธปืนเป็นจำนวนมาก เช่นเดียวกับถนนสายอื่น ๆ ที่อยู่รอบด้าน และยังเป็นฟากหนึ่งของห้างสรรพสินค้าดิโอลด์สยามพลาซ่าอีกด้ว.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนบูรพา

ถนนบ้านหม้อ

นนบ้านหม้อ (Thanon Ban Mo) เป็นถนนที่เชื่อมระหว่างถนนเจริญกรุงกับถนนมหาราช ตั้งต้นจากริมแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณท่าโรงยาเก่า ตัดผ่านถนนจักรเพชรไปออกแยกสี่กั๊กพระยาศรี.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนบ้านหม้อ

ถนนพญาไท

นนพญาไทช่วงมาบุญครองและสี่แยกปทุมวัน ถนนพญาไท (Thanon Phaya Thai) เป็นถนนสายหนึ่งในกรุงเทพมหานคร เริ่มตั้งแต่ถนนพระรามที่ 4 (สี่แยกสามย่าน) ไปทางทิศเหนือ เป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างแขวงวังใหม่กับแขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน ผ่านจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จากนั้นตัดกับถนนพระรามที่ 1 (สี่แยกปทุมวัน) ข้ามคลองบางกะปิ หรือคลองแสนแสบ (ที่สะพานเฉลิมหล้า 56 หรือสะพานหัวช้าง) เข้าสู่ท้องที่แขวงถนนเพชรบุรี เขตราชเทวี ตัดกับถนนเพชรบุรี (สี่แยกราชเทวี) จากนั้นเป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างแขวงทุ่งพญาไทและแขวงถนนพญาไท โดยตรงไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ข้ามทางรถไฟสายตะวันออก ตัดกับถนนศรีอยุธยา (สี่แยกพญาไท) ไปสิ้นสุดที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ โดยมีแนวถนนที่ตรงต่อเนื่องไปคือ ถนนพหลโยธิน.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนพญาไท

ถนนพระพิพิธ

นนพระพิพิธ เป็นถนนสายสั้น ๆ เส้นหนึ่งในพื้นที่แขวงพระราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร มีจุดเริ่มต้นจากถนนสนามไชย ผ่านด่านข้างโรงเรียนวัดราชบพิธ, สนามยิงปืน หน่วยบัญชาการกำลังสำรอง และกรมที่ดิน กระทรวงมหาดไทย ไปสิ้นสุดที่ถนนพระพิทักษ์ เชิงสะพานอุบลรัตน์ อันเป็นจุดตัดระหว่างถนนพระพิพิธ, ถนนพระพิทักษ์, ถนนราชินี และถนนอัษฎางค์ โดยชื่อ "พระพิพิธ" นั้นได้มาจากพระนามของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพนมวัน กรมพระพิพิธโภคภูเบนทร พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ซึ่งทรงเคยมีวังที่ประทับในบริเวณนี้ คือ วังท้ายหับเผ.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนพระพิพิธ

ถนนพระพิทักษ์

นมอญ ถนนพระพิทักษ์ เป็นถนนสายสั้น ๆ ในท้องที่แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร มีลักษณะเป็นถนน 2 ช่องทางจราจร (เดินรถทางเดียว) ระยะทาง 100 เมตร เริ่มต้นที่เชิงสะพานอุบลรัตน์ด้านทิศตะวันออก (ใกล้ศาลเจ้าพ่อหอกลองและสำนักงานที่ดินกรุงเทพมหานคร หลังปากคลองตลาด) ไปทางทิศตะวันออก ตัดกับถนนอัษฎางค์ที่ทางแยกพระพิทักษ์ และไปสิ้นสุดที่ทางแยกบ้านหม้อซึ่งเป็นจุดตัดกับถนนบ้านหม้อและถนนพาหุรัด ชื่อ "พระพิทักษ์" มาจากพระนามของ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากุญชร กรมพระพิทักษเทเวศร์ พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โดยทรงเคยมีวังที่ประทับใกล้กับบริเวณนี้ คือ วังท้ายหับเผ.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนพระพิทักษ์

ถนนพระราม 9

นนพระราม 9 ในเขตสวนหลวง ถนนพระราม 9 (Thanon Rama IX) เป็นถนนสายหนึ่งในกรุงเทพมหานคร มีความยาวประมาณ 9 กิโลเมตร มีจุดเริ่มต้นที่ทางแยกพระราม 9 ซึ่งเป็นจุดตัดกับถนนรัชดาภิเษกและถนนอโศก-ดินแดงในพื้นที่เขตดินแดง มุ่งหน้าไปทางตะวันออก เข้าพื้นที่เขตห้วยขวาง ผ่านแยกถนนวัฒนธรรม ผ่านจุดตัดกับถนนประดิษฐ์มนูธรรม และตัดกับถนนรามคำแหงในพื้นที่เขตบางกะปิ ไปสิ้นสุดที่ทางแยกต่างระดับศรีนครินทร์ซึ่งเป็นจุดตัดกับถนนศรีนครินทร์ในพื้นที่เขตสวนหลวง โดยมีถนนมอเตอร์เวย์เป็นเส้นทางต่อเนื่อง ซึ่งถนนพระราม 9 ช่วงตั้งแต่ทางแยกรามคำแหงถึงทางแยกต่างระดับถนนศรีนครินทร์ เคยมีฐานะเป็นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 343 ปัจจุบันอยู่ในความรับผิดชอบของกรุงเทพมหานคร เหตุที่ถนนพระราม 9 ไม่มีคำว่า "ที่" ต่อท้ายนั้น ปรากฏชัดเจนจากพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชที่พระราชทานแก่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและปลัดกรุงเทพมหานครเมื่อวันที่ 19 กันยายน..

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนพระราม 9

ถนนพระรามที่ 1

นนพระรามที่ 1 ช่วงสยามสแควร์ ถนนพระรามที่ 1 (Thanon Rama I) เริ่มต้นจากถนนกรุงเกษม (สี่แยกกษัตริย์ศึก) ซึ่งต่อเนื่องมาจากถนนบำรุงเมือง บริเวณสะพานกษัตริย์ศึก (ข้ามคลองผดุงกรุงเกษม และทางรถไฟสายเหนือ) ไปทางทิศตะวันออก ตัดกับถนนรองเมือง (ทางแยกกลางสะพานกษัตริย์ศึก) ถนนพระรามที่ 6 และทางพิเศษศรีรัช (สี่แยกพงษ์พระราม) ข้ามคลองสวนหลวงและตัดกับถนนบรรทัดทอง (สี่แยกเจริญผล) ถนนพญาไท (สี่แยกปทุมวัน) ข้ามคลองอรชร (สะพานเฉลิมเผ่า 52) และตัดกับถนนอังรีดูนังต์ (สามแยกเฉลิมเผ่า) ไปสิ้นสุดที่แยกตัดถนนราชดำริ (สี่แยกราชประสงค์ ต่อเนื่องไปยังถนนเพลินจิต) อยู่ในพื้นที่เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนพระรามที่ 1

ถนนพระรามที่ 2

นนพระรามที่ 2 (Thanon Rama II) หรือ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 35 สายธนบุรี–ปากท่อ เป็นถนนที่ตัดผ่านกรุงเทพมหานคร จังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสงคราม และจังหวัดราชบุรี เป็นเส้นทางหลักที่มุ่งสู่ภาคใต้ของประเทศไทย และยังเป็นหนึ่งในถนนพระรามทั้ง 7 สาย ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของกรุงเทพมหานคร ยกเว้นถนนพระรามที่ 2 ที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมทางหลวง ถนนพระรามที่ 2 มีระยะทางรวม 84.041 กิโลเมตร.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนพระรามที่ 2

ถนนพระรามที่ 3

ถนนพระรามที่ 3 ช่วงวัดคลองภูมิ ถนนพระรามที่ 3 (Thanon Rama III) เป็นถนนเลียบแม่น้ำเจ้าพระยาในกรุงเทพมหานคร มีระยะทางเริ่มตั้งแต่สะพานกรุงเทพในพื้นที่แขวงบางคอแหลม เขตบางคอแหลม ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ตัดกับถนนเจริญกรุง (แยกถนนตก) ข้ามคลองวัดจันทร์ในเข้าสู่พื้นที่แขวงบางโคล่ ไปทางทิศตะวันออก ตัดกับถนนเจริญราษฎร์ (แยกเจริญราษฎร์) ข้ามคลองบางมะนาว ตัดกับถนนรัชดาภิเษก (แยกพระรามที่ 3-รัชดา) เข้าสู่พื้นที่แขวงบางโพงพาง เขตยานนาวา ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ตัดกับถนนสาธุประดิษฐ์ (แยกสาธุประดิษฐ์) โค้งไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ข้ามคลองใหม่เข้าสู่พื้นที่แขวงช่องนนทรี ไปทางทิศเหนือ ตัดกับถนนยานนาวา (แยกพระรามที่ 3-ยานนาวา) ถนนวงแหวนอุตสาหกรรม (แยกพระรามที่ 3-สะพานภูมิพล 1 และสะพานภูมิพล 2) ถนนนราธิวาสราชนครินทร์ (แยกพระรามที่ 3-นราธิวาส หรือแยกช่องนนทรี) และถนนนางลิ้นจี่ (แยกนางลิ้นจี่) ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ตัดกับถนนเชื้อเพลิงและทางรถไฟเก่าสายช่องนนทรีเข้าสู่พื้นที่แขวงคลองเตย เขตคลองเตย และไปสิ้นสุดที่แยก ณ ระนอง (จุดตัดกับถนนสุนทรโกษาและถนน ณ ระนอง) ถนนพระรามที่ 3 ก่อนวิกฤติเศรษฐกิจ ปี 2540 รัฐบาลในสมัยนั้นได้วางแผนให้ถนนพระรามที่ 3 เป็นถนนธุรกิจแห่งใหม่ของกรุงเทพฯ แทนที่ถนนสีลม ซึ่งประสบปัญหาแออัดและการจราจรติดขัดมาก ในช่วงนั้นเจ้าของธุรกิจหลายๆที่ จึงมองว่าเป็นทำเลทองแห่งใหม่ บางธนาคารและบริษัทย้ายสำนักงานใหญ่มาอยู่ที่ถนนพระรามที่ 3 แห่งนี้ รัฐบาลได้วางนโยบายพร้อมปรับปรุงระบบสาธารณูปโภค พร้อมขยายถนนจาก 4 ช่องทางจราจรไปและกลับ เป็นถนน 8 ช่องจราจรไปและกลับ พร้อมกับถมคลองที่ขนานกับถนน ซึ่งก่อนหน้าที่จะใช้ชื่อว่าถนนพระรามที่ 3 ถนนพระรามที่ 3 ที่เห็นในปัจจุบันใช้ชื่อว่า ถนนรัชดาภิเษก ซึ่งเป็นชื่อถนนที่ตั้งขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ในโอกาสพระราชพิธีรัชดาภิเษก เป็นชื่อถนนในโครงการตัดถนนใหม่ของถนนวงแหวนรอบใน นอกจากนี้ ถนนพระรามที่ 3 (ช่วงตั้งแต่แยกถนนสาธุประดิษฐ์ยาวไปถึงแยก นางลิ้นจี่) มีมาแต่เดิมแล้วโดยมีชื่อเป็นทางการว่าถนนนางลิ้นจี่ตอนปลาย หรือประชาชนจะนิยมเรียกว่า ถนนเลียบแม่น้ำเจ้าพระยา เมื่อมีโครงการทำถนนวงแหวนรอบใน จึงมีการตัดถนนเพิ่มเติม(แยกสาธุประดิษฐ์ยาวไปถึงแยกถนนตก) ใช้ชื่อว่าถนนรัชดาภิเษก เมื่อมีโครงการสร้างถนนเศรษฐกิจแห่งใหม่ของกรุงเทพฯ จึงถือโอกาสเปลี่ยนชื่อถนนใหม่เป็น ถนนพระรามที่ 3 ซึ่งถนนพระรามที่ 3 เป็นถนนที่ตั้งชื่อเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เหตุที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ตั้งชื่อว่า ถนนพระรามที่ 3 เพราะพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสนพระราชหฤทัยและทรงพระปรีชาสามารถในด้านการค้าตั้งแต่ยังดำรงพระอิสริยยศพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ถนนเลียบแม่น้ำเจ้าพระยาในอดีตมีเรือกำปั่นบรรทุกสินค้าล่องในลำน้ำช่วงนี้มาจอดเป็นแถวตั้งแต่ถนนตกจนถึงหน้าพระบรมมหาราชวัง และแม้แต่ทุกวันนี้ก็ยังคงป็นที่จอดเรือสินค้าและเป็นที่ขนถ่ายสินค้า จึงตั้งชื่อถนนสายนี้ว่า "ถนนพระรามที่ 3" ซึ่งเป็นชื่อที่เหมาะสมเพราะวางแผนให้ถนนแห่งนี้เป็นถนนเศรษฐกิจการค้า หมวดหมู่:ถนนในเขตยานนาวา หมวดหมู่:ถนนในเขตบางคอแหลม หมวดหมู่:ถนนในเขตคลองเตย หมวดหมู่:สถานที่ที่ตั้งชื่อตามพระนามของพระบรมวงศานุวงศ์ไทย หมวดหมู่:ถนนในกรุงเทพมหานคร.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนพระรามที่ 3

ถนนพระรามที่ 4

นนพระรามที่ 4 ช่วงสวนลุมพินี ถนนพระรามที่ 4 (Thanon Rama IV) เป็นถนนในกรุงเทพมหานคร เริ่มตั้งแต่ทางแยกหมอมี (แยกจากถนนเจริญกรุง) ข้ามคลองผดุงกรุงเกษมที่สะพานเจริญสวัสดิ์ ผ่านสถานีหัวลำโพง สามย่าน ไปบรรจบถนนสุขุมวิท.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนพระรามที่ 4

ถนนพระรามที่ 5

นนพระรามที่ 5 (Thanon Rama V) เป็นถนนในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร เริ่มตั้งแต่ถนนลูกหลวง แขวงสวนจิตรลดา บริเวณด้านข้างทำเนียบรัฐบาล เลียบคลองเปรมประชากรไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ตัดกับถนนพิษณุโลกที่สี่แยกพาณิชยการ ตัดกับถนนศรีอยุธยาที่สี่แยกวัดเบญจฯ ตัดกับถนนราชวิถีที่สี่แยกราชวิถี ตัดกับถนนสุโขทัยที่สี่แยกสุโขทัย ข้ามคลองสามเสนเข้าสู่พื้นที่แขวงถนนนครไชยศรี ตัดกับถนนนครไชยศรีที่สี่แยกราชวัตร ตัดกับถนนอำนวยสงครามและถนนเศรษฐศิริที่สี่แยกเกษะโกมล และสิ้นสุดเมื่อไปตัดกับถนนทหารที่สี่แยกสะพานแดง (ถนนสายที่ตรงต่อเนื่องไปคือถนนเตชะวณิช) ถนนพระรามที่ 5 เดิมชื่อ "ถนนลก" เป็นถนนที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเป็นถนนในโครงการถนนอำเภอดุสิต โดยได้ทรงริเริ่มขึ้นพร้อมกับการสร้างพระราชวังดุสิตใน พ.ศ.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนพระรามที่ 5

ถนนพระรามที่ 6

นนพระรามที่ 6 (Thanon Rama VI) เป็นถนนสำคัญสายหนึ่งในกรุงเทพมหานคร แยกจากถนนจรัสเมือง แขวงรองเมือง เขตปทุมวัน ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ตัดกับถนนพระรามที่ 1 ที่สี่แยกพงษ์พระราม บริเวณใกล้วัดชำนิหัตถการ (วัดสามง่าม) ข้ามคลองมหานาคเข้าสู่พื้นที่แขวงถนนเพชรบุรี เขตราชเทวี ตัดกับถนนเพชรบุรี (สี่แยกอุรุพงษ์) และทางรถไฟสายตะวันออก เข้าสู่แขวงทุ่งพญาไท ตัดกับถนนศรีอยุธยา (สี่แยกศรีอยุธยา) ถนนราชวิถี (สี่แยกตึกชัย) ข้ามคลองสามเสน และเริ่มเลียบคลองประปาในพื้นที่แขวงพญาไท เขตพญาไท ตัดกับถนนนครไชยศรี (สามแยกโรงกรองน้ำ) ตัดกับซอยพระรามที่ 6 ซอย 34 และซอยพระรามที่ 6 ซอย 37 (สี่แยกพิบูลวัฒนา) ตัดกับถนนประดิพัทธ์ (สี่แยกประดิพัทธ์) จากนั้นไปทางทิศตะวันตก ตัดกับถนนกำแพงเพชร ทางรถไฟสายเหนือ และถนนเทอดดำริ เข้าสู่พื้นที่แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต จนถึงถนนเตชะวณิช (สามแยกวัดสะพานสูง) ถนนพระรามที่ 6 เดิมชื่อ "ถนนประทัดทอง" สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คำว่า "ประทัดทอง" นั้นจากชื่อเครื่องลายครามที่มีภาพต้นประทัดทอง ภายหลังเรียกเพี้ยนเป็นบรรทัดทอง ครั้นมาถึงในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อถนนประทัดทองตลอดทั้งสายเป็น "ถนนพระรามที่ 6" เพราะเป็นถนนที่โปรดเกล้าฯ ให้ปรับปรุงเป็นเส้นทางไปโรงกรองน้ำประปาสามเสน และต่อไปยังสะพานพระราม 6.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนพระรามที่ 6

ถนนพระสุเมรุ

ป้ายชื่อถนนบริเวณป้อมพระสุเมรุ ถนนพระสุเมรุ (Thanon Phra Sumen) เป็นถนนสายหนึ่งในพื้นที่แขวงชนะสงคราม และแขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร โดยชื่อถนนมาจากป้อมพระสุเมรุ ป้อมปราการป้องกันพระนครป้อมแรกรอบเกาะรัตนโกสินทร์ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้น เป็นถนนสายสั้น ๆ ที่มีจุดเริ่มต้นที่บริเวณข้างป้อมพระสุเมรุ ซึ่งเป็นจุดสิ้นสุดของถนนพระอาทิตย์ ในย่านบางลำพู ทอดผ่านแยกบางลำพู ซึ่งเป็นจุดตัดกับถนนจักรพงษ์และถนนสามเสน จากนั้นทอดผ่านวงเวียนสิบสามห้างเลียบไปกับวัดบวรนิเวศวิหาร ไปยังแยกสะพานวันชาติ อันเป็นจุดตัดกับถนนดินสอและถนนประชาธิปไตย จากนั้นเป็นเส้นทางโค้งไปสิ้นสุดลงที่แยกป้อมมหากาฬ อันเป็นจุดตัดกับถนนราชดำเนินกลาง บริเวณป้อมมหากาฬ และเชิงสะพานผ่านฟ้าลีลาศ บริเวณถนนพระสุเมรุ เป็นที่ตั้งของร้านอาหาร, ร้านกาแฟ และร้านหนังสือต่าง ๆ เหมือนกับถนนพระอาทิตย์ที่อยู่ใกล้กัน โดยร้านค้าและอาคารบ้านเรือนบางส่วนยังคงเป็นอาคารเก่าแก่ที่สร้างด้วยสถาปัยกรรมแบบโคโลเนียล รวมถึงยังคงเหลือซากกำแพงพระนครและป้อมปราการรอบพระนคร อันได้แก่ วังริมป้อมพระสุเมรุ และป้อมยุคนธร ป้อมสุดท้ายของเกาะรัตนโกสินทร.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนพระสุเมรุ

ถนนพระอาทิตย์

ป้ายชื่อถนนพระอาทิตย์บริเวณป้อมพระสุเมรุ ถนนพระอาทิตย์ (Thanon Phra Athit) เป็นถนนขนาด 2 ช่องจราจร ในท้องที่แขวงพระบรมมหาราชวังและแขวงชนะสงคราม เขตพระนคร กรุงเทพฯ มีระยะทางระหว่างประตูมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เลียบฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ จนถึงบริเวณป้อมพระสุเมรุ ถนนพระสุเมรุ ชื่อของถนนพระอาทิตย์นำมาจากป้อมพระอาทิตย์ซึ่งเป็นป้อมปราการ 1 ใน 14 ป้อม ที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อสถาปนากรุงเทพฯ เป็นราชธานี ปัจจุบันป้อมพระอาทิตย์ถูกรื้อไปแล้ว.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนพระอาทิตย์

ถนนพระจันทร์

นนพระจันทร์ ถนนพระจันทร์ (Thanon Phra Chan) เป็นถนนสายหนึ่งในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ในแขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร มีจุดเริ่มต้นตั้งต้นจากถนนหน้าพระธาตุไปสิ้นสุดลงที่ท่าพระจันทร์ ถนนพระจันทร์เป็นถนนที่มีมาตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช แต่มีลักษณะเป็นถนนพูนดินให้สูงขึ้นยังไม่เป็นลักษณะของการปูอิฐหรือมีทางระบายน้ำ ซึ่งลักษณะเช่นนี้เริ่มสร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ถนนพระจันทร์เป็นถนนเลียบกำแพงพระราชวังบวรสถานมงคลหรือวังหน้าด้านทิศใต้ เริ่มต้นจากปลายถนนหน้าวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์บริเวณหน้าพระราชวังบวรสถานมงคลเลียบพระราชวังไปสู่แม่น้ำเจ้าพระยาด้านป้อมพระจันทร์ ชื่อถนนพระจันทร์มาจากชื่อป้อมพระจันทร์บนกำแพงเมืองด้านริมแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งต่อมาได้ถูกรื้อไป ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ขยายถนนเดิมให้กว้างขึ้น ทรงเริ่มสร้างถนนใหม่รอบพระบรมมหาราชวัง และถนนเลียบกำแพงพระนครด้านในจนเชื่อมถึงกัน เริ่มจากถนนเดิมคือ ถนนพระจันทร์ไปถนนพระอาทิตย์ ถนนพระสุเมรุ ถนนมหาไชย ถนนจักรเพชร และถนนมหาราช ซึ่งชื่อถนนเหล่านี้มาจากชื่อป้อมบนกำแพงพระนครทั้งสิ้น ถนนพระจันทร์ เป็นถนนสายเล็ก ๆ ขนาบไปกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ด้านท้องสนามหลวงกับกำแพงวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ ริมสองฟากถนนเป็นแหล่งรวมของการเช่าขายพระเครื่อง และวัตถุมงคลต่าง ๆ ในแบบแบกะดิน รวมถึงหมอดูด้ว.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนพระจันทร์

ถนนพรานนก

นนพรานนก (Thanon Phran Nok) เป็นถนนสายหนึ่งในพื้นที่แขวงบ้านช่างหล่อ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร เริ่มต้นจากถนนจรัญสนิทวงศ์ที่ทางแยกไฟฉาย ตรงไปทางทิศตะวันออก ไปสิ้นสุดที่ทางแยกพรานนกซึ่งเป็นจุดตัดกับถนนอิสรภาพ เดิมถนนเส้นนี้เป็นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3188 ในความดูแลของกรมทางหลวง ต่อมาโอนให้กรุงเทพมหานครเป็นผู้ดูแล ปัจจุบันถนนพรานนกเป็นถนนสายสำคัญที่เชื่อมต่อระหว่างถนนจรัญสนิทวงศ์กับถนนอิสรภาพ เป็นทางเชื่อมต่อระหว่างย่านที่พักอาศัยบริเวณถนนจรัญสนิทวงศ์ ทั้งยังเป็นถนนที่มีการจราจรคับคั่งตลอดทั้งวัน โดยเฉพาะชั่วโมงเร่งด่วนทั้งเช้าและเย็น.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนพรานนก

ถนนพรานนก-พุทธมณฑล สาย 4

นนพรานนก-พุทธมณฑล สาย 4 เป็นโครงการก่อสร้างถนนตัดใหม่ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร (ฝั่งธนบุรี) และจังหวัดนครปฐม โดยต่อขยายถนนพรานนก จากสามแยกไฟฉาย ไปบรรจบถนนพุทธมณฑล สาย 4 ระยะทาง 16.4 กิโลเมตร ชาวบ้านเรียกกันว่า "ถนนพระเทพ" หรือ "ถนนจรัญ-กาญจนา".

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนพรานนก-พุทธมณฑล สาย 4

ถนนพลับพลาไชย

แยกพลับพลาไชย ในมุมมองจากถนนหลวง ถนนพลับพลาไชยคือถนนที่เป็นจุดตัด ถนนพลับพลาไชย (Thanon Phlapphla Chai) ถนนสายหนึ่งในพื้นที่เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร มีจุดเริ่มที่แยกแปลงนาม อันเป็นทางแยกที่ตัดระหว่างถนนเจริญกรุงกับถนนแปลงนาม ที่แขวงป้อมปราบ จากนั้ันทอดยาวไปจนถึงแยกพลับพลาไชย อันเป็นห้าแยกที่เป็นจุดตัดกับถนนหลวงและถนนไมตรีจิตต์ และไปสิ้นสุดที่แยกอนามัย อันเป็นจุดตัดกับถนนบำรุงเมือง ที่แขวงวัดเทพศิรินทร์ รวมความยาวประมาณ 1.1 กิโลเมตร ถนนพลับพลาไชย เป็นถนนที่มีสถานที่สำคัญ ๆ หลายแห่งตั้งอยู่ เช่น มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง, สถานีตำรวจนครบาลพลับพลาไชย 1 และ 2 (สน.พลับพลาไชย 1 และ 2) ที่ดูแลพื้นที่ย่านเยาวราชทั้งหมด และรวมไปถึงบริเวณใกล้เคียง เช่น วงเวียน 22 กรกฎาคม, โรงพยาบาลหัวเฉียว, โรงพยาบาลกลาง เป็นต้น, วัดคณิกาผล, ศาลเจ้าหลี่ตี้เมี่ยว, วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร, องค์การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ (ภาคประชาชน), สมาคมส่งเสริมวิชาชีพ ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ วิทยุและโทรทัศน์ (แห่งประเทศไทย) เป็นต้น โดยชื่อ "พลับพลาไชย" มาจากชื่อของวัดพลับพลาไชย อันเป็นวัดเก่าแก่ที่ตั้งอยู่บริเวณนี้ มีประวัติมาตั้งแต่ยุคกรุงศรีอยุธยาและกรุงธนบุรี โดยในอดีตสถานที่บริเวณนี้มีลักษณะเป็นโคกหรือเนินดินขนาดใหญ่ และมีการตั้งคอกวัวไว้ที่นี่ด้วย จึงนิยมเรียกกันว่า "วัดโคก" หรือ "วัดคอก" จนมาถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงเปลี่ยนนามของวัดแห่งนี้ใหม่ เป็น "วัดพลับพลาชัย" เนื่องจากเป็นสถานที่ตั้งพลับพลาในการซ้อมรบของกองเสือป่ารักษาดินแดน ถนนพลับพลาไชย ในปี..

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนพลับพลาไชย

ถนนพหลโยธิน

นนพหลโยธิน (Thanon Phahon Yothin) ซึ่งมีระยะทางส่วนใหญ่เป็น ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 สายกรุงเทพมหานคร−แม่สาย (เขตแดน) เป็นถนนสายหลักในกรุงเทพมหานคร และเป็นหนึ่งในทางหลวงสายประธานทั้งสี่ของประเทศไทย (ประกอบด้วยถนนพหลโยธิน ถนนมิตรภาพ ถนนสุขุมวิท และถนนเพชรเกษม) สายทางเริ่มต้นที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร ผ่านภาคกลาง และมุ่งเข้าสู่ภาคเหนือของประเทศไทย สิ้นสุดที่ด่านพรมแดนแม่สาย อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย บริเวณชายแดนประเทศพม่า รวมระยะทางยาว 994.749 กิโลเมตร บางช่วงของถนนพหลโยธินอยู่ในโครงข่ายทางหลวงเอเชีย ได้แก่ ช่วงบ้านหินกองถึงอำเภอบางปะอินเป็นทางหลวงเอเชียสาย 1, ช่วงแยกหลวงพ่อโอ (เส้นแบ่งเขตจังหวัดชัยนาทกับจังหวัดนครสวรรค์) ถึงอำเภอเมืองตาก เป็นทั้งทางหลวงเอเชียสาย 1 และสาย 2 และช่วงอำเภอเมืองสระบุรีถึงบ้านหินกองเป็นทางหลวงเอเชียสาย 12 นอกจากนี้ยังเป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงคุนหมิง–กรุงเทพ ถนนพหลโยธินช่วงตั้งแต่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เส้นทางของถนนจะเบี่ยงไปทิศตะวันออก ผ่านจังหวัดสระบุรีและจังหวัดลพบุรี แล้ววกกลับมายังจังหวัดชัยนาท เนื่องจากในสมัยก่อนต้องการให้ทางหลวงสายหลักผ่านที่ตั้งของกองทหารสำคัญของประเท.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนพหลโยธิน

ถนนพัฒนาการ

นนพัฒนาการ สำหรับถนนพัฒนาการในฝั่งธนบุรี ดูที่ ถนนเทอดไท ถนนพัฒนาการ (Thanon Phatthanakan) เป็นถนนสายสำคัญสายหนึ่งของกรุงเทพมหานคร มีระยะทางประมาณ 10.3 กิโลเมตร เป็นถนนขนาด 6 ช่องทางจราจร เริ่มจากทางแยกคลองตัน ซึ่งมีถนนเพชรบุรี ถนนรามคำแหง และถนนสุขุมวิท 71 มาบรรจบกันในพื้นที่แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง มุ่งไปทางทิศตะวันออก ตัดกับทางพิเศษฉลองรัช และซอยพัฒนาการ 25 ข้ามคลองลาวเข้าพื้นที่แขวงพัฒนาการ ตัดกับถนนศรีนครินทร์ที่ทางแยกพัฒนาการ ข้ามคลองบึงเข้าพื้นที่แขวงประเวศ เขตประเวศ จากนั้นตรงไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ข้ามคลองประเวศบุรีรมย์ ตัดกับถนนอ่อนนุชที่ทางแยกต่างระดับอ่อนนุช-พัฒนาการ ไปทางทิศเดิมจนกระทั่งบรรจบถนนเฉลิมพระเกียรติ ร.9 ในพื้นที่แขวงดอกไม้ โดยมีอุโมงค์กลับรถบริเวณซอยพัฒนาการ 44 ด้ว.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนพัฒนาการ

ถนนพัฒน์พงศ์

นักเต้นย่านพัฒน์พงศ์ พัฒน์พงศ์ เป็นย่านบันเทิงยามราตรีของกรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่บนถนนพัฒน์พงศ์ซึ่งเชื่อมระหว่างถนนสีลมกับถนนสุรวงศ์ แขวงสีลม เขตบางรัก จัดเป็นย่านโคมแดงที่เป็นที่นิยมในหมู่นักท่องเที่ยวต่างชาติ ประกอบไปด้วยคลับ บาร์ ที่มีการแสดงการเต้นอะโกโก้ และอาจมีการค้าประเวณี ตั้งอยู่บนถนนพัฒน์พงศ์ซอย 1 และพัฒน์พงศ์ซอย 2 และยังอยู่ใกล้เคียงกับถนนธนิยะ ที่เป็นย่านค้าบริการระดับสูง เน้นให้บริการเฉพาะนักท่องเที่ยวชาวญี่ปุ่น ไม่ให้บริการลูกค้าชาวไทย และซอยจารุวรรณ หรือรู้จักกันในชื่อ "พัฒน์พงศ์ซอย 3" หรือ "สีลม ซอย 4" ที่เป็นย่านให้บริการเฉพาะลูกค้าเกย์ นอกจากชื่อในด้านธุรกิจบริการแล้ว พัฒน์พงศ์ยังเป็นย่านที่มีแผงลอยขายสินค้าในเวลากลางคืน มีชื่อเสียงเรื่องสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์ เช่น แผ่นซีดี ดีวีดี และสินค้าเลียนแ.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนพัฒน์พงศ์

ถนนพาหุรัด

นนพาหุรัด คุรุดวาราศรีคุรุสิงห์สภา ถนนพาหุรัด (Thanon Phahurat) เป็นถนนในท้องที่แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เริ่มตั้งแต่ถนนบ้านหม้อ (สี่แยกบ้านหม้อ) ไปทางทิศตะวันออก ตัดกับถนนตรีเพชร (สี่แยกพาหุรัด) จนถึงถนนจักรเพชร ถนนพาหุรัดเป็นถนนที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นโดยทรงใช้ทรัพย์ส่วนพระองค์ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าพาหุรัดมณีมัย กรมพระเทพนารีรัตน์ พระราชธิดาซึ่งประสูติจากสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และสิ้นพระชนม์ขณะพระชันษา 10 ปี จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างถนนขึ้นเพื่ออุทิศส่วนกุศลพระราชทานและพระราชทานนามถนนว่า "ถนนพาหุรัด" ทุกวันนี้ถนนพาหุรัด เป็นย่านที่มีสินค้าที่มีให้เลือกสรรอย่างมากมายและหลากหลายทั้งผ้าตัด อุปกรณ์ตัดเย็บ รวมไปถึงเสื้อผ้าสำเร็จรูปสารพัดชาติ ทั้งชุดไทย-การแสดงนาฏศิลป์ ชุดจีน โดยเฉพาะส่าหรี นอกจากนี้พาหุรัดยังมีชุมชนเล็กๆที่ยังคงดำเนินวิถีแบบภารตะอยู่ จนทำให้หลายๆคน ขนานนามย่านพาหุรัด ว่าเป็น “ลิตเติ้ล อินเดีย”เมืองไทย สถานที่สำคัญในบริเวณนั้น มีวัดคุรุดวาราศรีคุรุสิงห์สภา(วัดซิกข์) เป็นวัดซิกข์แห่งแรกของไทย และยังมีห้างดิโอลด์สยามพลาซ่า ห้างไชน่า เวิลด์ (เดิมชื่อห้างเซ็นทรัลวังบูรพา)และ ห้างอินเดีย เอ็มโพเรียม (เดิมชือห้างเอทีเอ็ม).

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนพาหุรัด

ถนนพิชัย

นนพิชัย (Thanon Pichai) เป็นถนนในแขวงดุสิตและแขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร เป็นถนนสายสั้น ๆ ที่ตัดเป็นเส้นตรง เริ่มต้นจากถนนราชวิถี บริเวณหน้าประตูประสาทเทวฤทธิ์ อันเป็นประตูหนึ่งของอาคารรัฐสภา จากนั้นทอดผ่านถนนสุโขทัยที่แยกขัตติยานี ผ่านบริเวณหน้าที่ทำการพรรคชาติไทยพัฒนา แล้วจึงข้ามคลองสามเสนที่สะพานเทพหัสดิน จากนั้นตัดกับถนนนครไชยศรีที่สี่แยกพิชัย และไปสิ้นสุดที่สามแยกพิชัยซึ่งตัดกับถนนอำนวยสงคราม ถนนพิชัย เดิมมีชื่อว่า "ถนนพุดตาน" อันเป็นชื่อของเครื่องลายครามจีนที่มีลายดอกพุดตานหรือดอกโบตั๋น เป็นถนนที่สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เหมือนเช่นถนนสายอื่นที่รอบล้อมเขตพระราชฐาน เนื่องจากความนิยมในเครื่องลายครามจีนกำลังเป็นที่เฟื่องฟูในขณะนั้น โดยแบ่งออกเป็น "ถนนพุดตานใน" จากบริเวณสนามหญ้าหน้าพระที่นั่งอภิเศกดุสิต ไปออกประตูกิเลน (ประตูประสาทเทวฤทธิ์ ในปัจจุบัน) และ "ถนนพุดตานเหนือ" จากคลองสามเสนทางด้านเหนือของพระราชวังดุสิต ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีประกาศของกระทรวงนครบาล โดยเจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) เป็นเสนาบดี ลงวันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๔๖๒ ให้เปลี่ยนชื่อถนนรอบเขตพระราชฐานที่ได้ชื่อตามเครื่องลายครามจีน ๑๕ สาย ถนนพุดตานก็เป็นหนึ่งในนั้น โดยชื่อ "พิชัย" นั้นตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเพ็ญพัฒนพงศ์ กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม องค์ผู้ทรงปรีชาในเรื่องดนตรีไทย และเป็นผู้ประพันธ์เพลง ลาวดวงเดือน โดยในระยะแรกถนนพิชัยสะกดว่า "พิไชย" และได้เปลี่ยนมาเป็น "พิชัย" เช่นในปัจจุบันในระยะต่อม.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนพิชัย

ถนนพิษณุโลก

นนพิษณุโลก (Thanon Phitsanulok) เป็นถนนสายหนึ่งในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร มีระยะทางตั้งแต่ถนนสามเสน ใต้ถนนศรีอยุธยา แขวงดุสิต ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ตัดกับถนนนครราชสีมา (แยกวังแดง) วังปารุสกวัน และสวนมิสกวัน ตัดกับถนนราชดำเนินนอก (แยกสวนมิสกวัน) และถนนพระรามที่ 5 (แยกพาณิชยการ) เข้าสู่แขวงสวนจิตรลดา จากนั้นตัดกับถนนนครสวรรค์ที่แยกนางเลิ้ง (แยกสนามม้า) และเป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างแขวงสวนจิตรลดากับแขวงสี่แยกมหานาคไปจนสุดถนนที่ทางรถไฟสายนครราชสีมา (ทางรถไฟสายเหนือก็เรียก) ณ แยกยมราชซึ่งเป็นหัวถนนเพชรบุรี ถนนพิษณุโลกนี้มีนามเดิมว่า "ถนนคอเสื้อ" เป็นถนนที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น เป็นถนนในโครงการถนนอำเภอดุสิต ซึ่งทรงริเริ่มขึ้นพร้อมกับการสร้างพระราชวังดุสิตใน พ.ศ.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนพิษณุโลก

ถนนพุทธบูชา

นนพุทธบูชา (Thanon Phuttha Bucha) เป็นถนนที่แยกจากถนนพระรามที่ 2 บริเวณคลองเจ้าคุณ ในท้องที่แขวงบางมด เขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร ไปบรรจบกับถนนประชาอุทิศที่ทางแยกนาหลวง ในท้องที่แขวงบางมด เขตทุ่งครุ เป็นถนนขนาด 4 ช่องจราจร ถนนเส้นนี้เริ่มก่อสร้างตั้งแต่สมัยที่กำนันปลิว เกิดชูชื่น เป็นกำนันตำบลบางมด และก่อสร้างเสร็จในสมัยของกำนันสงวน สวนส้มจีน ซึ่งเป็นลูกเขยของกำนันปลิว เดิมถนนสายนี้มีจุดเริ่มต้นที่ปากซอยสุขสวัสดิ์ 14 ไปสิ้นสุดที่บริเวณปากซอยพุทธบูชา 31 ไม่ถึงวัดพุทธบูชา การก่อสร้างถนนเส้นนี้เป็นไปอย่างยากลำบาก เนื่องจากกำนันปลิวต้องไปเจรจาขอที่ของลูกบ้านเป็นจำนวนมาก และแนวถนนจะต้องเลาะไปตามแนวเขตที่ดินของผู้บริจาครายต่าง ๆ จึงเป็นสาเหตุให้ถนนเส้นนี้มีลักษณะคดเคี้ยวไปมา ถนนพุทธบูชามีถนนอีกส่วนหนึ่ง เชื่อมทางแยกกาญจนาภิเษก-ประชาอุทิศ ถนนนี้เกิดขึ้นจากสร้าง ถนนกาญจนาภิเษก ด้านใต้.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนพุทธบูชา

ถนนพุทธมณฑล สาย 1

นนพุทธมณฑล สาย 1 (Thanon Phutthamonthon Sai 1) เป็นถนนสายหนึ่งในท้องที่เขตภาษีเจริญและเขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร มีจุดเริ่มต้นตั้งแต่ถนนเพชรเกษม ซ้อนทับแนวซอยเพชรเกษม 60/2 เดิม มุ่งตรงไปทางทิศเหนือ ตัดกับถนนบางแวกและถนนพรานนก-พุทธมณฑล สาย 4 ซ้อนทับและตัดผ่านแนวถนนพุทธมณฑล สาย 1 (สายเดิม) ซึ่งมีลักษณะคดเคี้ยว จากนั้นตัดกับถนนบรมราชชนนีและถนนสวนผัก ไปสิ้นสุดที่ทางรถไฟสายใต้ โครงการถนนพุทธมณฑล สาย 1 เกิดขึ้นพร้อมกับโครงการจัดตั้งพุทธมณฑลเพื่อฉลอง 25 พุทธศตวรรษ ทางราชการได้เวนคืนที่ดินโดยจ่ายเงินบางส่วนแก่เจ้าของที่ดิน แต่ทิ้งการดำเนินการไว้เป็นเวลานานจึงกลับมาดำเนินการต่อ ทำให้เกิดข้อพิพาทกับเอกชนเจ้าของที่ดิน เป็นปัญหายืดเยื้อทำให้ไม่อาจสร้างถนนได้เป็นเวลานานมากจนบางคนเรียกว่า "ถนนเจ็ดชั่วโคตร" ต่อมากรุงเทพมหานครได้ยินยอมจ่ายค่าเวนคืนที่ดินในอัตราที่เป็นที่พอใจของเจ้าของที่ดิน จึงดำเนินการก่อสร้างต่อได้ ปัจจุบันใช้สัญจรได้แล้ว.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนพุทธมณฑล สาย 1

ถนนพุทธมณฑล สาย 2

นนพุทธมณฑล สาย 2 (Thanon Phutthamonthon Sai 2) เป็นถนนสายสำคัญในท้องที่เขตบางแค และเขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร มีจุดเริ่มต้นตั้งแต่ถนนเพชรเกษม มุ่งตรงไปทางทิศเหนือ ตัดกับซอยพุทธมณฑล สาย 2 ซอย 7 และซอยพุทธมณฑล สาย 2 ซอย 10, ถนนบางแวก, ถนนทวีวัฒนา-กาญจนาภิเษก, ถนนสุขาภิบาลบางระมาด, ซอยพุทธมณฑล สาย 2 ซอย 21/1 และซอยพุทธมณฑล สาย 2 ซอย 24, ถนนบรมราชชนนี และถนนศาลาธรรมสพน์ ไปสิ้นสุดที่ทางรถไฟสายใต้ บริเวณป้ายหยุดรถไฟพุทธมณฑลสาย 2 เดิมถนนพุทธมณฑล สาย 2 เป็นถนนขนาด 2 ช่องจราจร มีคูน้ำสองข้างถนนตลอดแนว ปัจจุบันคูน้ำถูกถมเพื่อขยายถนนเป็น 6 ช่องจราจรตั้งแต่ปี..

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนพุทธมณฑล สาย 2

ถนนพุทธมณฑล สาย 3

นนพุทธมณฑล สาย 3 (Thanon Phutthamonthon Sai 3) เป็นถนนสายสำคัญในท้องที่เขตหนองแขม เขตบางแค และเขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร มีจุดเริ่มต้นตั้งแต่ถนนเพชรเกษม มุ่งตรงไปทางทิศเหนือโดยช่วงแรกซ้อนทับแนวซอยเพชรเกษม 104 เดิม จากนั้นเป็นถนนตัดใหม่ ข้ามถนนทวีวัฒนา ตัดกับซอยพุทธมณฑล สาย 3 ซอย 13 และซอยพุทธมณฑล สาย 3 ซอย 14, ถนนบางแวก, ถนนทวีวัฒนา-กาญจนาภิเษก, ซอยทวีวัฒนา-กาญจนาภิเษก 24 และถนนเลียบคลองบางพรม, ถนนอุทยาน, ถนนบรมราชชนนี และถนนศาลาธรรมสพน์ ไปสิ้นสุดที่คลองบางคูเวียง เดิมถนนพุทธมณฑล สาย 3 เป็นถนน 2 ช่องจราจร ปัจจุบันขยายเป็น 6 ช่องจราจรตั้งแต่ปี..

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนพุทธมณฑล สาย 3

ถนนพ่วงศิริ

ถนนพ่วงศิริ (Thanon Phuang Siri) เป็นถนนสายสั้น ๆ ในเขตบางกะปิ มีความยาวประมาณ 300 เมตร มีจุดเริ่มต้นที่สี่แยกบางกะปิ ปลายถนนลาดพร้าว ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของถนนนวมินทร์ (ถนนสุขาภิบาล 1 เดิม) และถนนเสรีไทย (ถนนสุขาภิบาล 2 เดิม) มุ่งไปทางทิศใต้ ข้ามคลองแสนแสบ ไปสิ้นสุดที่แยกตัดกับถนนรามคำแหง (ถนนสุขาภิบาล 3 เดิม) หมวดหมู่:ถนนในกรุงเทพมหานคร หมวดหมู่:ถนนในเขตบางกะปิ.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนพ่วงศิริ

ถนนกรุงเกษม

นนกรุงเกษมช่วงโบ๊เบ๊ ถนนกรุงเกษม (Thanon Krung Kasem) เป็นถนนเลียบคลองผดุงกรุงเกษมฝั่งใต้ เริ่มจากบริเวณท่าเรือเทเวศร์ในพื้นที่แขวงวัดสามพระยา เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร มุ่งไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ตัดกับถนนสามเสน (แยกเทเวศร์) เข้าสู่พื้นที่แขวงบางขุนพรหม จากนั้นตัดกับถนนประชาธิปไตย (แยกประชาเกษม) และตัดกับถนนราชดำเนินนอก (แยกมัฆวานรังสรรค์) เข้าสู่พื้นที่แขวงวัดโสมนัส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย ตัดกับถนนนครสวรรค์ (แยกเทวกรรม) ถนนหลานหลวง (แยกสะพานขาว) เข้าสู่พื้นที่แขวงคลองมหานาค จากนั้นโค้งลงมาทางทิศใต้ตัดกับถนนบำรุงเมือง และถนนพระรามที่ 1 (แยกกษัตริย์ศึก) เข้าสู่พื้นที่แขวงวัดเทพศิรินทร์ และตัดกับถนนหลวง (แยกนพวงศ์-โรงเรียนเทพศิรินทร์) เข้าสู่พื้นที่แขวงป้อมปราบ จนกระทั่งไปสิ้นสุดที่ถนนพระรามที่ 4 (แยกไมตรีจิตต์) ถนนกรุงเกษมเป็นถนนที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นประมาณปี พ.ศ.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนกรุงเกษม

ถนนกรุงเทพฯ-นนทบุรี

นนกรุงเทพฯ-นนทบุรี (Thanon Krung Thep - Nonthaburi) เป็นถนนเชื่อมระหว่างพื้นที่เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร กับอำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี มีระยะทางเริ่มต้นจากถนนประชาราษฎร์ สาย 2 (ทางแยกเตาปูน) ในพื้นที่แขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ ตรงไปทางทิศเหนือ ตัดผ่านทางรถไฟสายใต้ เข้าพื้นที่แขวงวงศ์สว่าง จากนั้นโค้งไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ตัดกับถนนวงศ์สว่าง (ทางแยกวงศ์สว่าง) ข้ามคลองบางเขนเข้าสู่เขตตำบลบางเขน อำเภอเมืองนนทบุรี ข้ามคลองบางตะนาวศรีเข้าเขตตำบลตลาดขวัญ และไปสิ้นสุดที่จุดตัดระหว่างถนนสายนี้กับถนนติวานนท์และถนนนครอินทร์ (ทางแยกติวานนท์) โดยมีแนวถนนที่ตรงต่อเนื่องไปคือถนนประชาราษฎร์ ถนนกรุงเทพฯ-นนทบุรีเป็นถนนขนาด 4 ช่องทางจราจร (เกาะกลางเป็นที่ตั้งของรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม) ระยะทางรวม 5.358 กิโลเมตร ความกว้างประมาณ 25 เมตร ตัดขึ้นตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการจัดซื้อที่ดินและอสังหาริมทรัพย์อย่างอื่นเพื่อตัดถนนเชื่อมคมนาคมกรุงเทพพระมหานครกับจังหวัดนนทบุรี เมื่อปี พ.ศ.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนกรุงเทพฯ-นนทบุรี

ถนนกะออม

นนกะออม (Thanon Ka-om) เป็นถนนสายสั้น ๆ ที่เชื่อมระหว่างถนนนครสวรรค์กับถนนราชดำเนินนอก ในท้องที่แขวงวัดโสมนัส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร มีความยาวประมาณ 135 เมตร ถนนกะออมสร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนกะออม

ถนนกัลยาณไมตรี

อาคารกระทรวงกลาโหม ด้านถนนกัลยาณไมตรี ถนนกัลยาณไมตรี (Thanon Kanlayanamaitri) เป็นถนนสายหนึ่งในกรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่ในแขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร เป็นถนนสายสั้น ๆ เชื่อมระหว่างถนนสนามไชยบริเวณแยกกัลยาณไมตรี กับถนนอัษฎางค์และถนนบำรุงเมือง ที่สะพานช้างโรงสีบริเวณแยกสะพานช้างโรงสี ถนนกัลยาณไมตรี เป็นถนนที่อยู่ระหว่างอาคารกระทรวงกลาโหม กับกรมแผนที่ทหาร ตั้งชื่อเป็นเป็นเกียรติแก่พระยากัลยาณไมตรี (ฟรานซิส บี.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนกัลยาณไมตรี

ถนนกัลปพฤกษ์

นนกัลปพฤกษ์ (Thanon Kanlapaphruek) หรือ ทางหลวงชนบท กท.1001 เป็นเส้นทางคมนาคมในพื้นที่ฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานคร โดยเป็นถนนคอนกรีตขนาด 4 ช่องจราจร เชื่อมต่อระหว่างถนนราชพฤกษ์กับถนนกาญจนาภิเษก.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนกัลปพฤกษ์

ถนนกาญจนาภิเษก

นนกาญจนาภิเษก (Thanon Kanchanaphisek) หรือ ถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีระยะทางส่วนใหญ่เป็น ทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 เป็นถนนสายสำคัญที่มีเส้นทางเชื่อมต่อกันเป็นวงแหวนล้อมรอบตัวเมืองกรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ รวมถึงผ่านจังหวัดพระนครศรีอยุธยาด้วย มีระยะทางตลอดทั้งสายรวม 168 กิโลเมตร ถนนสายนี้สร้างขึ้นเพื่อแก้ปัญหาการจราจรที่ติดขัดในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลที่มีปริมาณการจราจรและการขนส่งเพิ่มขึ้น อันเป็นผลจากความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และเป็นทางเลี่ยงเมืองกรุงเทพมหานครที่เป็นตัวเชื่อมทางสายหลักเข้าไปสู่ทุกภาคของประเทศ เริ่มก่อสร้างครั้งแรกเมื่อปี..

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนกาญจนาภิเษก

ถนนกำแพงเพชร

นนกำแพงเพชร (Thanon Kamphaeng Phet) เป็นถนนที่สร้างขึ้นในเขตการรถไฟแห่งประเทศไทย บ้างขนานกับรางรถไฟ บ้างก็ไม่ขนานเป็นถนนโดด ตั้งชื่อว่าถนนกำแพงเพชร เพื่อระลึกถึง กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน บิดาแห่งกิจการรถไฟ ในตอนแรก การรถไฟแห่งประเทศไทย มีความประสงค์ที่จะตั้งชื่อถนนชุดนี้ว่า "ถนนบุรฉัตร" ตามพระนามเดิมใน กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน แต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ได้พระราชทานนามถนนในเขตที่ดินรถไฟชุดนี้ว่า "ถนนกำแพงเพชร".

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนกำแพงเพชร

ถนนมหรรณพ

นนมหรรณพ (Thanon Mahannop) เป็นถนนสายหนึ่งในเขตพระนคร ถนนมหรรณพเป็นถนนที่เชื่อมถนนตะนาวกับถนนดินสอไว้ด้วยกัน เป็นถนนสายสั้น ๆ โดยมีจุดเริ่มต้นที่ถนนดินสอบริเวณศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร ไปสิ้นสุดที่ศาลเจ้าพ่อเสือ พระนคร เป็นถนนที่สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อปี..

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนมหรรณพ

ถนนมหาพฤฒาราม

นนมหาพฤฒาราม (Thanon Maha Phruettharam) ถนนสายหนึ่งในกรุงเทพมหานคร เป็นถนนที่อยู่ในพื้นที่เขตปทุมวัน, เขตสัมพันธวงศ์ และเขตบางรัก ถนนมหาพฤฒาราม ได้ชื่อมาจากวัดมหาพฤฒาราม (ชื่อเดิม: วัดท่าเกวียน, วัดตะเคียน) วัดแห่งหนึ่งที่ถนนเส้นนี้ตัดผ่าน เป็นถนนสายสั้น ๆ จากแยกหัวลำโพงตัดกับถนนพระราม 4 ในแขวงรองเมือง เขตปทุมวัน บริเวณหน้าสถานีรถไฟหัวลำโพง จากนั้นทอดยาวเข้าพื้นที่แขวงตลาดน้อย เขตสัมพันธวงศ์ โดยเลียบไปกับคลองผดุงกรุงเกษม ไปสิ้นสุดลงที่เชิงสะพานพิทยเสถียรตัดกับถนนเจริญกรุง ในลักษณะเป็นสามแยก ในพื้นที่แขวงมหาพฤฒาราม เขตบางรัก.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนมหาพฤฒาราม

ถนนมหาราช

รถตุ๊กตุ๊กจอดอยู่บริเวณหน้าตลาดท่าเตียน ริมถนนมหาราช ถนนมหาราช (Thanon Maha Rat) เป็นถนนรอบพระนครด้านริมแม่น้ำเจ้าพระยา อยู่ต่อจากถนนจักรเพชรที่สะพานเจริญรัชในย่านปากคลองตลาด ไปจดถนนพระจันทร์ที่ย่านท่าพระจันทร์ ในท้องที่แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ถนนมหาราช เป็นถนนดั้งเดิมที่มีมาตั้งแต่แรกสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ เดิมเป็นถนนข้างกำแพงพระราชวังหลวงด้านตะวันตก เป็นถนนที่ตัดล้อมพระราชวังเช่นเดียวกับถนนหน้าพระลาน, ถนนท้ายวัง และถนนสนามไชย เดิมเป็นทางเดินแคบ ๆ ที่ปูด้วยอิฐรูแผ่นใหญ่ ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ตัดถนนในแนวดังกล่าว เป็นถนนเลียบกำแพงพระบรมมหาราชวังด้านทิศตะวันตก เริ่มตั้งแต่ปากคลองตลาดเป็นจุดบรรจบของถนน 3 สาย คือ ถนนมหาราช, ถนนราชินี และถนนมหาไชย แล้วพระราชทานนามว่า "ถนนมหาราช" โดยชื่อถนนนั้นมีผู้สันนิษฐานว่ามาจากส่วนหนึ่งของคำว่าพระบรมมหาราชวัง.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนมหาราช

ถนนมหาไชย

นนมหาไชยช่วงใกล้กับสามแยกเรือนจำ ถนนมหาไชย (Thanon Maha Chai) เป็นถนนสายหนึ่งในเขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เริ่มต้นจากถนนราชดำเนินกลางที่สี่แยกป้อมมหากาฬ ในท้องที่แขวงวัดบวรนิเวศ ไปทางทิศใต้ ข้ามคลองหลอดวัดราชนัดดาเข้าสู่ท้องที่แขวงสำราญราษฎร์ ผ่านวัดเทพธิดาราม ตัดกับถนนบำรุงเมือง (สี่แยกสำราญราษฎร์) และถนนหลวง (สามแยกเรือนจำ) ข้ามคลองหลอดวัดราชบพิธเข้าสู่ท้องที่แขวงวังบูรพาภิรมย์ ตัดกับถนนเจริญกรุง (สี่แยกสามยอด) จนกระทั่งไปบรรจบกับถนนพีระพงษ์ ถนนเยาวราช และถนนจักรเพชร (สี่แยกวังบูรพา) ถนนมหาไชยเป็นถนนที่ได้นามมาจากชื่อป้อมปราการที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อทรงสถาปนากรุงเทพมหานครเป็นราชธานี นับเป็น 1 ใน 14 ป้อมปราการที่โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น ต่อมาเมื่อบ้านเมืองเจริญขึ้นความจำเป็นในการมีป้อมปราการไว้ป้องกันพระนครก็หมดไป ป้อมมหาไชยจึงถูกรื้อถอน และปัจจุบันชื่อป้อมมหาไชยได้กลายมาเป็นชื่อถนนมหาไชย เนื่องจากเป็นถนนที่ตัดผ่านบริเวณที่เป็นป้อมมห.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนมหาไชย

ถนนมหาเศรษฐ์

นนมหาเศรษฐ์ (Thanon Maha Set) เป็นถนนสายหนึ่งในท้องที่แขวงสี่พระยา เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนมหาเศรษฐ์

ถนนมังกร

ป้ายชื่อถนนมังกร ทางฝั่งถนนเยาวราชตัดเข้าย่านสำเพ็ง แผนที่เขตสัมพันธวงศ์และเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย ถนนมังกรปรากฏในชื่อ Mangkon Road ถนนมังกร (Thanon Mangkon) ถนนสายหนึ่งในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เป็นถนนที่ตัดผ่านถนนสายอื่น ๆ ในลักษณะของซอย ถนนมังกรมีจุดเริ่มต้นจากถนนกรุงเกษม เลียบคลองผดุงกรุงเกษม บริเวณใกล้กับสถานีรถไฟหัวลำโพง ในพื้นที่แขวงป้อมปราบ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย จากนั้นตัดผ่านถนนมิตรพันธ์ บริเวณใกล้กับวงเวียน 22 กรกฎาคม จากนั้นตัดผ่านถนนยี่สิบสองกรกฎาคม เลียบข้างวัดพลับพลาไชย และตัดผ่านถนนไมตรีจิตต์ จากนั้นทอดผ่านถนนพลับพลาไชย และตัดผ่านถนนเจ้าคำรบ ผ่านวัดคณิกาผล ตัดผ่านถนนยมราชสุขุม ออกถนนเจริญกรุง และผ่านหน้าวัดกันมาตุยาราม ในพื้นที่แขวงสัมพันธวงศ์ เขตสัมพันธวงศ์ ในย่านเยาวราช จากนั้นตัดผ่านถนนเยาวราช ทอดตัดกับตรอกอิสรานุภาพและซอยผลิตผล ที่ย่านสำเพ็ง พื้นที่แขวงจักรวรรดิ เขตสัมพันธวงศ์ ไปสิ้นสุดที่ถนนทรงวาด ถนนมังกร โดยเฉพาะในช่วงที่ตัดผ่านถนนเยาวราชและย่านสำเพ็ง เป็นย่านการค้าที่คึกคักมาก มีสินค้านานาชนิดจำหน่าย และเป็นที่ตั้งของห้างทองตั้งโต๊ะกัง ห้างทองหรือร้านค้าทองแห่งแรกในประเทศไทย ซึ่งตัวอาคารมีสถาปัตยกรรมที่สวยงามในรูปแบบจีน-โปรตุเกส และชั้นบนสุดเป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์ทองคำ อีกทั้งในฝั่งตรงข้ามเป็นที่ตั้งของธนาคารกรุงเทพ สาขาสำเพ็ง ตัวอาคารมีสถาปัตยกรรมที่สวยงามเช่นเดียวกับห้างทองตั้งโต๊ะกัง ซึ่งอาคารทั้งสองได้รับรางวัลอาคารอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรมดีเด่น จากสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ และเป็นโบราณสถานในกรุงเทพมหานคร.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนมังกร

ถนนมีนพัฒนา

ถนนมีนพัฒนา (Thanon Min Phatthana) เป็นถนนสายสั้น ๆ ในท้องที่แขวงมีนบุรี เขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร มีความยาวประมาณ 700 เมตร เชื่อมระหว่างถนนเสรีไทยกับถนนรามคำแหง (ถนนสุขาภิบาล 3 เดิม) มีจุดเริ่มต้นที่แยกบางชันบนถนนเสรีไทย มีทิศทางมุ่งไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ข้ามคลองแสนแสบ ไปสิ้นสุดที่แยกลาดบัวขาวบนถนนรามคำแหง หมวดหมู่:ถนนในกรุงเทพมหานคร หมวดหมู่:ถนนในเขตมีนบุรี.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนมีนพัฒนา

ถนนรัชดาภิเษก

นนรัชดาภิเษก (Thanon Ratchadaphisek) เป็นถนนวงแหวนรอบในของกรุงเทพมหานคร เริ่มจากสะพานข้ามคลองบางกอกใหญ่ ผ่านสะพานกรุงเทพ ตัดผ่านถนนพระรามที่ 3 ถนนสุขุมวิท ถนนเพชรบุรี ถนนพระราม 9 ถนนลาดพร้าว ถนนวิภาวดีรังสิต ถนนประชาชื่น ถนนกรุงเทพฯ-นนทบุรี ข้ามสะพานพระราม 7 เข้าเขตอำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี ตัดกับถนนบางกรวย-ไทรน้อย ลอดใต้สะพานพระราม 6 เข้าเขตกรุงเทพมหานคร รวมกับถนนจรัญสนิทวงศ์ และมาบรรจบที่ทางแยกท่าพร.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนรัชดาภิเษก

ถนนราชพฤกษ์

นนราชพฤกษ์ (Thanon Ratchaphruek) หรือ ทางหลวงชนบท น.3021 สายราชพฤกษ์ เป็นถนนที่ทอดยาวจากกรุงเทพมหานครสู่จังหวัดนนทบุรี เป็นเส้นทางคมนาคมสำคัญสายหนึ่ง โดยสามารถเดินทางจากถนนสาทรถึงอำเภอบางบัวทองได้โดยไม่ต้องผ่านทางแยกสัญญาณไฟจราจร (ไม่ติดไฟแดง) แม้แต่แห่งเดียว.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนราชพฤกษ์

ถนนราชวิถี (กรุงเทพมหานคร)

นนราชวิถี (ถ่ายจากมุมสูง) ถนนราชวิถี (Thanon Ratchawithi) เป็นถนนสายหนึ่งในกรุงเทพมหานคร เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างถนนราชปรารภกับถนนดินแดงในท้องที่แขวงถนนพญาไท เขตราชเทวี ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ตัดกับถนนพญาไท และถนนพหลโยธินที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เข้าสู่ท้องที่แขวงทุ่งพญาไท ผ่านโรงพยาบาลราชวิถี สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี และโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ไปตัดกับถนนพระรามที่ 6 (สี่แยกตึกชัย) ตัดกับถนนกำแพงเพชร 5 และทางรถไฟสายเหนือ เข้าสู่ท้องที่แขวงสวนจิตรลดา เขตดุสิต ตัดกับถนนสวรรคโลก (สี่แยกอุภัยเจษฎุทิศ) และถนนพระรามที่ 5 (สี่แยกราชวิถี) ผ่านสวนสัตว์ดุสิต จากนั้นตัดกับถนนอู่ทองใน (สามแยกอู่ทองใน) ถนนนครราชสีมา (สี่แยกการเรือน) และถนนสามเสน (สี่แยกซังฮี้) เข้าสู่ท้องที่แขวงวชิรพยาบาล ก่อนข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา (สะพานกรุงธนบุรี) เข้าเขตบางพลัด โดยเป็นเส้นแบ่งการพื้นที่ปกครองระหว่างแขวงบางพลัดกับแขวงบางยี่ขันไปจนถึงถนนจรัญสนิทวงศ์ (สี่แยกบางพลัด) ถนนราชวิถี เดิมชื่อ ถนนซางฮี้ สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชวังดุสิตบริเวณพื้นที่ระหว่างคลองผดุงกรุงเกษมและคลองสามเสน โปรดเกล้าฯ ให้ตัดถนนรอบพระราชวังดุสิต 3 สาย คือ ถนนลก (ปัจจุบันคือถนนพระรามที่ 5) ถนนดวงตะวัน (ปัจจุบันคือถนนศรีอยุธยา) และถนนซางฮี้ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าซังฮี้ (ปัจจุบันคือถนนราชวิถี) นามถนนทั้ง 3 สายนี้ พระราชทานตามชื่อเครื่องกิมตึ๋งคือภาพเครื่องลายครามจีน "ซางฮี้" (อักษรจีน: 双喜) ในภาษาจีนสำเนียงแต้จิ๋วแปลว่า มงคลคู่ หมายความว่า สุข สนุก สบาย อักษรซางฮี้ใช้เป็นเครื่องหมายในงานมงคล เช่น งานแต่งงาน และใช้เป็นลวดลายประดับสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ เพื่อความเป็นสิริมงคล ต่อมาในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนราชวิถี (กรุงเทพมหานคร)

ถนนราชวงศ์

นนราชวงศ์ช่วงมาจากท่าน้ำราชวงศ์ (หน้าตลาดสำเพ็ง) ถนนราชวงศ์ช่วงจากแยกเสือป่ามุ่งหน้าแยกราชวงศ์ ถนนราชวงศ์ (Thanon Ratchawong) เป็นถนนในเขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร มีระยะทางต่อมาจากถนนเสือป่าในเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย โดยเริ่มต้นตั้งแต่ถนนเจริญกรุงที่สี่แยกเสือป่า ท้องที่แขวงสัมพันธวงศ์ ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ตัดถนนเยาวราชที่สี่แยกราชวงศ์ เข้าสู่ท้องที่แขวงจักรวรรดิ์ จากนั้นหักลงทิศใต้เล็กน้อย และตรงไปจนสิ้นสุดถนนที่ท่าราชวงศ์ ริมแม่น้ำเจ้าพระยา มีความยาวประมาณ 600 เมตร ถนนราชวงศ์ เป็นถนนที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ตัดขึ้น นับเป็นถนนที่มีความสำคัญอย่างมากต่อการค้า เนื่องจากสมัยนั้นท่าราชวงศ์เป็นท่าเรือสินค้าภายในประเทศ มีเรือบรรทุกคนโดยสารและสินค้าไปจันทบุรี, ชลบุรี และบ้านดอน (สุราษฎร์ธานี) ถนนราชวงศ์จึงมีสำนักงานร้านค้าของพ่อค้าจีน, แขก และฝรั่งตั้งอยู่เป็นจำนวนมาก ถนนราชวงศ์ และย่านสี่แยกราชวงศ์ในปลายพุทธทศวรรษ 2450 ต่อต้นพุทธทศวรรษ 2460 และจนถึงพุทธทศวรรษ 2470 เป็นแหล่งที่ตั้งของร้านอาหารหรือภัตตาคารระดับสูงจำนวนมากหลายแห่ง เพื่อรองรับพระบรมวงศานุวงศ์, ชนชั้นสูงหรือชนชั้นกลางระดับสูงสำหรับการรับประทานอาหารนอกบ้านหรือสังสรรค์กันในช่วงมื้อค่ำ เช่นเดียวกับแหล่งการค้ากับชาวต่างชาติอื่น ๆ เช่น สี่กั๊กพระยาศรี ในย่านถนนเจริญกรุง, ถนนสี่พระยา, ถนนสุรวงศ์ ในย่านบางรัก เป็นต้น ในช่วงต้นปี..

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนราชวงศ์

ถนนราชดำริ

นนราชดำริ (Thanon Ratchadamri) เป็นถนนที่เป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างแขวงปทุมวันกับแขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร มีเส้นทางเริ่มตั้งแต่สี่แยกศาลาแดง ถนนพระรามที่ 4 ตัดกับถนนพระรามที่ 1 ที่สี่แยกราชประสงค์ และสิ้นสุดที่สี่แยกประตูน้ำ ถนนเพชรบุรี ถนนราชดำริมีความยาวประมาณ 2 กิโลเมตร.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนราชดำริ

ถนนราชดำเนิน (กรุงเทพมหานคร)

นนราชดำเนินกลางและอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ถนนราชดำเนิน (Thanon Ratchadamnoen) เป็นถนนสายสำคัญสายหนึ่งในกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วยถนน 3 สาย ได้แก.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนราชดำเนิน (กรุงเทพมหานคร)

ถนนราชปรารภ

นนราชปรารภ ถนนราชปรารภ (Thanon Ratchaprarop) ถนนสายหนึ่งในเขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร มีความยาวประมาณ 1.4 กิโลเมตร มีจุดเริ่มต้นที่สามเหลี่ยมดินแดง ซึ่งเป็นจุดบรรจบระหว่างถนนราชวิถีกับถนนดินแดงในท้องที่แขวงถนนพญาไท เขตราชเทวี มุ่งไปทางทิศใต้ ผ่านจุดตัดกับถนนรางน้ำและถนนศรีอยุธยา ไปสิ้นสุดที่แยกประตูน้ำซึ่งเป็นแยกตัดกับถนนเพชรบุรี.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนราชปรารภ

ถนนรามบุตรี

นนรามบุตรี ช่วงข้างวัดชนะสงครามราชวรมหาวิหาร ถนนรามบุตรี หรือ ซอยรามบุตรี (Thanon Ram Buttri, Soi Ram Buttri) เป็นถนนขนาดเล็กสายหนึ่งลักษณะเป็นซอย ในย่านบางลำพู พื้นที่แขวงชนะสงคราม เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เป็นถนนที่แบ่งออกเป็น 2 ช่วง ช่วงแรกเชื่อมระหว่างถนนสิบสามห้าง กับถนนจักรพงษ์ และช่วงที่ 2 จากถนนจักรพงษ์บริเวณข้างวัดชนะสงครามราชวรมหาวิหาร เลี้ยวไปออกถนนเจ้าฟ้า บริเวณเชิงสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า และตรงข้ามกับโรงละครแห่งชาติ ถนนรามบุตรี มีที่มาจากสะพานข้ามคลองวัดชนะสงคราม หรือคลองบางลำพูที่ชื่อ "สะพานรามบุตรี" ซึ่งเป็นสะพานที่หม่อมเจ้าหญิงเป้า สุริยกุล พระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุริยา กรมพระรามอิศเรศ มีดำริให้มีการสร้างขึ้นโดยการบริจาคทรัพย์ เพื่อเป็นการถวายเป็นบำเพ็ญพระกุศลถวายแด่พระบิดา แล้วสร้างแล้วเสร็จ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระราชทานนามให้ว่า สะพานรามบุตรี อันมีความหมายว่า "สะพานที่บุตรีของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุริยา กรมพระรามอิศเรศ เป็นผู้สร้าง" และได้ทรงเสด็จเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม..

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนรามบุตรี

ถนนรามคำแหง

นนรามคำแหง (Thanon Ramkhamhaeng) เป็นถนนสายหนึ่งในกรุงเทพมหานคร ฝั่งตะวันออก มีความยาวรวมทั้งหมดประมาณ 18 กิโลเมตร แบ่งออกเป็น 2 ช่วงคือ.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนรามคำแหง

ถนนราษฎร์บูรณะ

ถนนราษฎร์บูรณะ (Thanon Rat Burana) เป็นถนน 6 ช่องทาง เป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ธนาคารกสิกรไทย และอยู่ฝั่งตรงข้ามแม่น้ำเจ้าพระยากับถนนพระรามที่ 3 อีกทั้งยังมีสำนักงานเขตราษฎร์บูรณะและวัดราษฎร์บูรณะตั้งอยู่ด้วย ถนนราษฎร์บูรณะมีจุดเริ่มต้นจากสะพานเจริญนคร 8 (สะพานข้ามคลองดาวคะนอง) ผ่านวัดราษฏร์บูรณะ ทางแยกราษฏร์บูรณะ วัดแจ้งร้อน สิ้นสุดสะพานข้ามคลองบางพึ่งซึ่งเป็นเส้นแบ่งเขตระหว่างเขตราษฎร์บูรณะ กรุงเทพมหานคร กับอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ หลังจากเข้าเขตจังหวัดสมุทรปราการแล้วจะเป็นถนนพระราชวีริยาภรณ์ซึ่งเหลือเพียง 2 ช่องทาง และไปสิ้นสุดที่ถนนนครเขื่อนขันธ์ หมวดหมู่:ถนนในกรุงเทพมหานคร หมวดหมู่:ถนนในเขตราษฎร์บูรณะ.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนราษฎร์บูรณะ

ถนนร่มเกล้า

นนร่มเกล้า (Thanon Rom Klao) หรือ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3119 สายมีนบุรี–ลาดกระบัง เดิมมีชื่อว่า "ถนนมีนบุรี–ลาดกระบัง" เป็นถนนในกรุงเทพมหานคร ระยะทาง 11.003 กิโลเมตร มีจุดเริ่มต้นจากถนนสุวินทวงศ์ในท้องที่แขวงมีนบุรี เขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร ไปบรรจบกับถนนลาดกระบัง ในท้องที่แขวงลาดกระบัง เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร ซึ่งจุดสิ้นสุดของถนนร่มเกล้าในท้องที่เขตลาดกระบังต่อจากนี้ไปจะเป็นทางยกระดับเข้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ แต่เดิมถนนเส้นนี้มีเพียง 2 ช่องทางจราจร แต่ในปัจจุบันเป็นถนนแบบ 6 ช่องทางจราจร ยกเว้นช่วงสะพานข้ามคลองแสนแสบและสะพานข้ามทางรถไฟสายตะวันออกจะมีขนาดเพียง 4 ช่องทางจราจร โดยถนนร่มเกล้าฟากตะวันออกในพื้นที่เขตมีนบุรี ตั้งแต่สะพานข้ามคลองแสนแสบถึงเส้นแบ่งเขตมีนบุรีกับเขตลาดกระบัง เป็นเส้นแบ่งแขวงระหว่างแขวงมีนบุรีกับแขวงแสนแ.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนร่มเกล้า

ถนนลาดพร้าว

นนลาดพร้าว (Thanon Lat Phrao) เป็นถนนสายหนึ่งในกรุงเทพมหานคร มีจุดเริ่มต้นที่ห้าแยกลาดพร้าว (หรือที่นิยมเรียกว่า "ปากทางลาดพร้าว") ในพื้นที่เขตจตุจักร ซึ่งเป็นจุดตัดกับถนนพหลโยธินและถนนวิภาวดีรังสิต มีทิศทางมุ่งไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ผ่านจุดตัดกับถนนรัชดาภิเษก ผ่านพื้นที่เขตห้วยขวางในระยะสั้น ๆ เข้าพื้นที่เขตวังทองหลาง ผ่านแยกถนนโชคชัย 4 (ลาดพร้าว 53) ซอยลาดพร้าว 71 และถนนประดิษฐ์มนูธรรม เข้าพื้นที่ระหว่างเขตวังทองหลางกับเขตบางกะปิ ผ่านแยกถนนลาดพร้าว 101 (วัดบึงทองหลาง) เข้าพื้นที่เขตบางกะปิ ผ่านสามแยกบางกะปิ ซึ่งเป็นจุดตัดกับถนนศรีนครินทร์ ไปสิ้นสุดที่สี่แยกบางกะปิตัดกับถนนนวมินทร์และถนนพ่วงศิริ โดยจากแยกนี้ไปจะเป็นถนนเสรีไทย ในปี..

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนลาดพร้าว

ถนนลาดพร้าววังหิน

นนลาดพร้าววังหิน (Thanon Lat Phrao Wang Hin) เป็นถนนสายหนึ่งในพื้นที่แขวงลาดพร้าว เขตลาดพร้าว กรุงเทพมหานคร มีขนาด 4 ช่องการจราจร ไม่มีเกาะกลาง เขตถนนกว้าง 20 เมตร ระยะทางยาว 3.7 กิโลเมตร มีจุดเริ่มต้นจากถนนโชคชัย 4 ใกล้กับคลองทรงกระเทียม ไปทางทิศตะวันตก เมื่อผ่านวัดลาดพร้าวแล้ววกขึ้นไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ตัดกับซอยลาดพร้าววังหิน 27 (ภาวนา) ที่ทางแยกวัดลาดพร้าว ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือและทิศเหนือโดยขนานไปกับแนวคลองลาดพร้าว (วังหิน) ข้ามคลองหนองบอน ตัดกับซอยลาดพร้าววังหิน 48 และซอยลาดพร้าววังหิน 61 ที่ทางแยกใกล้โรงเรียนบุญฤดี ข้ามคลองเสือน้อย ตัดกับถนนโชคชัย 4 และซอยลาดพร้าววังหิน 79 ที่ทางแยกบ่อปลา ไปสิ้นสุดที่ทางแยกวังหินซึ่งเป็นจุดตัดกับถนนเสนานิคม 1 โดยมีแนวถนนที่ตรงต่อเนื่องไปคือถนนลาดปลาเค้า ถนนลาดพร้าววังหินเดิมมีชื่อว่าซอยโชคชัย 4 ซอย 17 (วัดลาดพร้าว) และถนนสุขาภิบาล-บางกะปิ เนื่องจากในปัจจุบัน เส้นทางทั้งสองมีสภาพเป็นถนนที่มีแนวเขตและทางเท้าชัดเจน รวมทั้งมีวัดลาดพร้าวซึ่งเป็นวัดเก่าแก่ตั้งอยู่ และยังมีหมู่บ้านวังหินตั้งอยู่บริเวณที่ถนนตัดผ่านด้วย กรุงเทพมหานครจึงได้อนุมัติให้รวมเส้นทางทั้งสองเป็นถนนสายเดียวกันและตั้งชื่อว่า ถนนลาดพร้าววังหิน เมื่อปี พ.ศ.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนลาดพร้าววังหิน

ถนนลาดกระบัง

นนลาดกระบัง (Thanon Lat Krabang) เป็นถนนสายสำคัญสายหนึ่งของกรุงเทพมหานคร มีระยะทางทั้งหมดประมาณ 8.7 กิโลเมตร เดิมมีชื่อเรียกว่าซอยสุขุมวิท 77 (ถนนอ่อนนุช) มีจุดเริ่มต้นต่อจากถนนอ่อนนุชที่สะพานข้ามคลองตาพุก ในท้องที่แขวงลาดกระบัง เขตลาดกระบัง ไปทางทิศตะวันออก ผ่านถนนกิ่งแก้ว ถนนร่มเกล้า ทางเข้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ถนนฉลองกรุง และไปสิ้นสุดที่สะพานข้ามคลองหัวตะเข้ ซึ่งจากจุดนี้ไปก็จะเป็นถนนหลวงแพ่ง ลาดกระบัง ลาดกระบัง.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนลาดกระบัง

ถนนลาดหญ้า

นนลาดหญ้า ถนนลาดหญ้า (Thanon Lat Ya) เป็นถนนสำคัญสายหนึ่งในพื้นที่เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร มีลักษณะเป็นถนนขนาด 6 ช่องทางจราจร มีเกาะกลาง เขตถนนกว้าง 28 เมตร ระยะทางยาว 1,650 เมตร มีจุดเริ่มต้นจากวงเวียนใหญ่ซึ่งเป็นที่ตั้งพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ผ่านสามเหลี่ยมลาดหญ้า (จุดตัดกับถนนอิสรภาพและถนนท่าดินแดง) ข้ามคลองสมเด็จเจ้าพระยา ผ่านทางแยกคลองสาน (จุดตัดกับถนนสมเด็จเจ้าพระยาและถนนเจริญนคร) ไปสิ้นสุดที่หน้าสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร บริเวณปากคลองสาน ถนนลาดหญ้าเป็น "ถนนสายที่ 4" ในโครงการตัดและขยายถนน 11 สายในจังหวัดธนบุรีและจังหวัดพระนครเพื่อรองรับการก่อสร้างสะพานปฐมบรมราชานุสรณ์ (สะพานพระพุทธยอดฟ้า) เมื่อปี พ.ศ.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนลาดหญ้า

ถนนลาดปลาเค้า

นนลาดปลาเค้า (Thanon Lat Pla Khao) คือชื่อถนนสายหนึ่งของกรุงเทพมหานครที่อยู่ในการดูแลของสำนักการโยธา โดยเป็นถนนที่เชื่อมระหว่างถนนเสนานิคม 1 ถนนประเสริฐมนูกิจ และถนนรามอินทรา ชื่อถนนนั้นมาจากชื่อชุมชน คือ ชุมชนลาดปลาเค้า บริเวณที่ตั้งของชุมชนมีวัดชื่อ วัดลาดปลาเค้า เป็นวัดเก่าแก่ก่อตั้งมาก่อน..

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนลาดปลาเค้า

ถนนลำพูนไชย

นนลำพูนไชย ถนนลำพูนไชย เป็นถนนสายสั้น ๆ ในย่านเยาวราช พื้นที่แขวงตลาดน้อยและแขวงสัมพันธวงศ์ เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร มีจุดเริ่มต้นที่ถนนพระรามที่ 4 ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ผ่านทางแยกลำพูนไชยที่เป็นจุดตัดกับถนนเจริญกรุง และไปสิ้นสุดที่ถนนเยาวราชบริเวณใกล้กับวงเวียนโอเดียน ถนนลำพูนไชยเป็นที่ตั้งของสถาบันกวดวิชาดาว้องก์ และเมื่อปี..

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนลำพูนไชย

ถนนลิขิต

นนลิขิต (Thanon Likhit) เป็นถนนสายหนึ่งในกรุงเทพมหานคร เป็นถนนเส้นสั้น ๆ ในลักษณะของซอย มีระยะทางเริ่มตั้งแต่ถนนพิษณุโลก เขตดุสิต บริเวณด้านข้างสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) ไปทางทิศเหนือผ่านโรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร และถนนสิ้นสุดที่ถนนศรีอยุธยา ถนนลิขิตมีระยะทางรวม 350 เมตร ความกว้าง 6.5 เมตร.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนลิขิต

ถนนลูกหลวง

นนลูกหลวง (Thanon Luk Luang) เป็นถนนสายหนึ่งในพื้นที่กรุงเทพมหานคร มีจุดเริ่มต้นจากบริเวณตลาดมหานาค เชิงสะพานจตุรพักตร์รังสฤษดิ์ หรือสะพานขาว ไปสิ้นสุดที่บริเวณตลาดเทวราชหรือตลาดเทเวศร์ ที่สะพานเทเวศร์นฤมิตร ริมแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นถนนที่เลียบไปกับคลองผดุงกรุงเกษม และเป็นถนนที่อยู่ด้านตรงข้ามกับถนนกรุงเกษมตลอดทั้งสาย ถนนลูกหลวงสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 พร้อม ๆ กับการขุดคลองผดุงกรุงเกษม เช่นเดียวกับถนนหลวง และถนนหลานหลวง รวมถึงสะพานนพวงศ์ และได้รับชื่อพระราชทานว่า "ลูกหลวง" เนื่องจากตัดผ่านวังของพระเจ้าลูกยาเธอหลายพระองค์ เช่น วังไชยา, วังนางเลิ้ง และวังลดาวัล.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนลูกหลวง

ถนนวรจักร

นนวรจักรบริเวณแยกเอส. เอ. บี. ถนนวรจักร (Thanon Worachak) ถนนสายหนึ่งในกรุงเทพมหานคร เป็นถนนสายสั้น ๆ มีจุดเริ่มตั้งแต่ถนนเจริญกรุง (ทางแยกเอส.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนวรจักร

ถนนวังหลัง

นนวังหลัง (Thanon Wang Lang) เป็นถนนสายสำคัญในพื้นที่เขตบางกอกน้อย ฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานคร เป็นถนนแอสฟัลต์ 4 ช่องจราจร ไม่มีเกาะกลาง ความยาวประมาณ 950 เมตร เขตถนนกว้าง 14.50 เมตร ผิวจราจรกว้าง 11.40 เมตร เริ่มต้นจากท่าเรือพรานนกและท่าเรือวังหลัง (ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ตรงข้ามท่าพระจันทร์) ตรงไปทางทิศตะวันตกในท้องที่แขวงศิริราช ตัดกับถนนอรุณอมรินทร์ที่ทางแยกศิริราช จากนั้นข้ามคลองบ้านขมิ้น ตั้งแต่จุดนี้ถือเป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างแขวงศิริราชทางฟากเหนือกับแขวงบ้านช่างหล่อทางฟากใต้ของถนน ตรงไปทางทิศเดิมจนกระทั่งสิ้นสุดถนนที่ทางแยกพรานนก โดยมีแนวถนนตรงต่อเนื่องไปเป็นถนนพรานนก.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนวังหลัง

ถนนวังเดิม

นนวังเดิม (Thanon Wang Doem) เป็นถนนสายหนึ่งในพื้นที่แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร มีระยะทางยาว 837 เมตร มีจุดเริ่มต้นจากทางแยกโพธิ์สามต้นซึ่งเป็นจุดตัดกับถนนอิสรภาพ ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ผ่านแนวคูข้างกรมวิทยาศาสตร์ทหารเรือ (เดิม) ตัดกับถนนอรุณอมรินทร์ที่ทางแยกวังเดิม ข้ามคลองบ้านหม้อ (คลองวัดท้ายตลาด) จากนั้นโค้งไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ผ่านกองบัญชาการกองทัพเรือ เลียบกำแพงวัดอรุณราชวราราม ข้ามคลองวัดอรุณ โค้งไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือและทิศตะวันตกเฉียงใต้ ไปสิ้นสุดที่ถนนอรุณอมรินทร์บริเวณคลองบ้านหม้อ ถนนวังเดิมเป็น "ถนนสายที่ 6" ในโครงการตัดและขยายถนน 11 สายในจังหวัดธนบุรีและจังหวัดพระนครเพื่อรองรับการก่อสร้างสะพานปฐมบรมราชานุสรณ์ (สะพานพระพุทธยอดฟ้า) เมื่อปี พ.ศ.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนวังเดิม

ถนนวิภาวดีรังสิต

นนวิภาวดีรังสิต (Thanon Vibhavadi Rangsit) หรือ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 31 (ดินแดง - ดอนเมือง) เป็นทางหลวงแผ่นดินสายรองประธานในภาคกลาง เชื่อมต่อถนนในกรุงเทพมหานครกับถนนพหลโยธินสู่ภาคกลาง, ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ถนนสายนี้มีลักษณะเป็นทางหลวงพิเศษหรือซูเปอร์ไฮเวย์ ซึ่งแบ่งช่องทางเดินรถเป็นทางด่วนหรือทางหลัก และทางคู่ขนาน ยกเว้นช่วงที่ผ่านหน้าท่าอากาศยานดอนเมืองจะไม่แบ่งเป็นช่องทางด่วนและทางคู่ขนานเนื่องจากมีพื้นที่จำกัดเพราะถูกขนาบด้วยสนามบิน และทางรถไฟสายเหนือ ปัจจุบันมีทางยกระดับอุตราภิมุข (ดอนเมืองโทลล์เวย์) เป็นทางด่วนพิเศษยกระดับเก็บค่าผ่านทาง อยู่เหนือถนนวิภาวดีรังสิตด้วย เพื่อเป็นทางเลือกให้ผู้เดินทางที่ต้องการความรวดเร็วกว่าเดิม.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนวิภาวดีรังสิต

ถนนวิสุทธิกษัตริย์

นนวิสุทธิกษัตริย์ (Thanon Wisut Kasat) เริ่มต้นตั้งแต่ถนนราชดำเนินนอก (สี่แยก จ.ป.ร.) ในท้องที่แขวงบางขุนพรหมและแขวงบ้านพานถม เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ตัดกับถนนประชาธิปไตย (สี่แยกวิสุทธิกษัตริย์) และถนนสามเสน (สี่แยกบางขุนพรหม) จนถึงท่าเรือสะพานพระราม 8 (บางขุนพรหม) ในท้องที่แขวงวัดสามพระยา ถนนวิสุทธิกษัตริย์เป็นถนนที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ สร้างขึ้นเพื่ออุทิศส่วนกุศล พระราชทานสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจันทรมณฑล กรมหลวงวิสุทธิกษัตริย์ พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี และเป็นพระขนิษฐาร่วมพระชนนีเดียวกับพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งสิ้นพระชนม์ขณะพระชันษา 9 ปี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อถนนว่า ถนนวิสุทธิกษัตริย์ การตัดถนนวิสุทธิกษัตริย์นี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริว่า แต่เดิมการสร้างถนนต้องใช้พระราชทรัพย์ในการก่อสร้าง รวมทั้งการดูแลรักษา การตัดถนนในกรุงเทพฯ มักผ่านไปในเขตที่มีเจ้าของถือที่ดินอยู่ ถนนผ่านไปในที่ใดเจ้าของที่ดินย่อมได้รับประโยชน์เรื่องราคาที่ดินที่เพิ่มสูงขึ้น จึงสมควรให้เจ้าของที่ดิน ซึ่งถือครองที่ดินอยู่ตามแนวถนนซึ่งจะตัดผ่านช่วยกันออกทุนในการทำถนน เว้นแต่ผู้ที่ต้องเสียที่ดินทั้งหมดจนไม่ได้รับประโยชน์ในการตัดถนน ควรได้รับประโยชน์ราคาที่ดินของตนเป็นค่าเสียหาย โดยโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติสร้างถนนหลวงภายในบริเวณกรุงเทพฯ ขึ้นใน พ.ศ.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนวิสุทธิกษัตริย์

ถนนวิทยุ

นนวิทยุ ถนนวิทยุ (quote เป็นถนนสายหนึ่งในกรุงเทพมหานคร มีระยะทางเริ่มตั้งแต่ถนนพระรามที่ 4 (แยกวิทยุ) ในท้องที่แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน ตรงไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ตัดกับถนนสารสิน (แยกสารสิน) และถนนเพลินจิต (แยกเพลินจิต) จากนั้นข้ามคลองแสนแสบเข้าสู่ท้องที่แขวงมักกะสัน เขตราชเทวี และไปสิ้นสุดที่ถนนเพชรบุรี (แยกวิทยุ-เพชรบุรี) ถนนวิทยุเป็นถนนที่สร้างขึ้นในปี พ.ศ.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนวิทยุ

ถนนศรีบูรพา

ถนนศรีบูรพา (Thanon Si Burapha) เป็นถนนสายหนึ่งของกรุงเทพมหานคร มีความยาวประมาณ 2 กิโลเมตร เริ่มจากถนนนวมินทร์ (สุขาภิบาล 1) ในพื้นที่แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ ข้ามคลองลำพังพวย ผ่านถนนเสรีไทย (สุขาภิบาล 2) ที่แยกนิด้า ข้ามคลองแสนแสบ ไปสิ้นสุดที่ถนนรามคำแหง (สุขาภิบาล 3) ที่แยกบ้านม้า ในท้องที่แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ เป็นถนนขนาด 4 ช่องทางจราจรตั้งแต่ถนนนวมินทร์ถึงถนนเสรีไทย และจากถนนเสรีไทยถึงถนนรามคำแหงเป็นถนนขนาด 6 ช่องทางจราจร ศรีบูรพา ศรีบูรพา.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนศรีบูรพา

ถนนศรีรับสุข

นนศรีรับสุข เป็นชื่อถนนเริ่มจาก อนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ ไปทางถนนแจ้งวัฒนะ เลี้ยวขวาเข้าถนนวิภาวดีรังสิต ไปสิ้นสุดบริเวณหน้าสนามบินดอนเมือง ปัจจุบัน คือแนวถนนแจ้งวัฒนะ - วิภาวดีรังสิต ตัดขึ้นเพื่อใช้เป็นเส้นทางไปสนามบินดอนเมือง ในอดีต ยังไม่มีถนนวิภาวดีรังสิต การเดินทางไปสนามบินดอนเมือง จะต้องขับรถไปตามถนนพหลโยธิน เมื่อถึงอนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ จึงเลี้ยวซ้ายไปตามถนนศรีรับสุข จนถึงสนามบินดอนเมือง จอมพล ป.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนศรีรับสุข

ถนนศรีอยุธยา

นนศรีอยุธยาบริเวณหน้าโรงพยาบาลพญาไท 1 สนามเสือป่า โรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร ถนนศรีอยุธยา (Thanon Si Ayutthaya) เป็นถนนสายหนึ่งในกรุงเทพมหานคร มีระยะทางเริ่มตั้งแต่ถนนราชปรารภ เขตราชเทวี ไปทางทิศตะวันตก ตัดกับถนนพญาไท (สี่แยกพญาไท) ถนนพระรามที่ 6 (สี่แยกศรีอยุธยา) ถนนกำแพงเพชร 5 และทางรถไฟสายเหนือ เข้าสู่ท้องที่เขตดุสิต จากนั้นตัดกับถนนสวรรคโลก (สี่แยกเสาวนี) ถนนพระรามที่ 5 (สี่แยกวัดเบญจฯ) ถนนราชดำเนินนอก (สี่แยกหน้าลานพระบรมรูปทรงม้า) ถนนนครราชสีมา (สี่แยกหอประชุมทหารบก) และถนนสามเสน (สี่แยกสี่เสาเทเวศร์) ไปสิ้นสุดที่ริมแม่น้ำเจ้าพร.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนศรีอยุธยา

ถนนศรีนครินทร์

นนศรีนครินทร์ (Thanon Srinagarindra) เป็นถนนที่ตั้งชื่อขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี มีจุดเริ่มต้นจากถนนลาดพร้าวที่เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร ไปบรรจบกับถนนสุขุมวิทที่อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ ลักษณะถนนแบบ 4-8 ช่องจราจร ระยะทางทั้งหมด 20.181 กิโลเมตร โดยมีระยะทางอยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร 12.5 กิโลเมตร ในพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการ 7.681 กิโลเมตร ตลอดแนวถนนไปจนถึงทางแยกศรีเทพาเป็นเส้นทางส่วนใหญ่ของรถไฟฟ้ามหานคร สายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง ซึ่งตั้งอยู่บริเวณเกาะกลางถนน ถนนศรีนครินทร์ช่วงตั้งแต่กิโลเมตรที่ 0 (ทางแยกบางกะปิ) จนถึงกิโลเมตรที่ 10 มีหน่วยงานที่รับผิดชอบเส้นทางคือ กรุงเทพมหานคร และช่วงตั้งแต่กิโลเมตรที่ 10 (ทางแยกศรีอุดม) ไปจนถึงกิโลเมตรที่ 20+181 (ทางแยกการไฟฟ้า) มีหน่วยงานที่รับผิดชอบเส้นทางคือ แขวงทางหลวงสมุทรปราการ กรมทางหลวง ช่วงที่สองนี้มีฐานะเป็น ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3344 สายอุดมสุข–สมุทรปราการ.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนศรีนครินทร์

ถนนศิริพงษ์

อาคารพาณิชย์ริมถนนศิริพงษ์ ช่วงตัดกับถนนบำรุงเมือง ถนนศิริพงษ์ (Thanon Siri Phong) เป็นถนนสายสั้น ๆ สายหนึ่งในพื้นที่แขวงเสาชิงช้า เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร มีจุดเริ่มต้นจากด้านข้างศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร ทอดผ่านจุดตัดระหว่างถนนบำรุงเมือง และขนานไปกับถนนอุณากรรณ เลียบข้างวัดสุทัศนเทพวราราม ทอดผ่านโรงเรียนเบญจมราชาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เข้าพื้นที่แขวงสำราญราษฎร์ ผ่านหน้าโรงเรียนภารตวิทยาลัยและสมาคมฮินดูสมาช, สวนรมณีนาถ ไปสิ้นสุดที่จุดบรรจบกับถนนอุณากรรณ ที่มาจากแยกอุณากรรณ โดยชื่อ "ศิริพงษ์" มาจากการแปลงพระนามของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนมรุพงศ์ศิริพัฒน์ พระโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับเจ้าจอมมารดาบัว ซึ่งทรงเคยมีวังที่ประทับ ณ ที่ ๆ เป็นที่ตั้งของโรงเรียนเบญจมราชาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ปัจจุบันนี้.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนศิริพงษ์

ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน

นนสมเด็จพระเจ้าตากสิน ช่วงตลาดดาวคะนอง ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน (Thanon Somdet Phra Chao Tak Sin) เป็นถนนสายสำคัญสายหนึ่งทางฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานคร.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน

ถนนสมเด็จเจ้าพระยา

นนสมเด็จเจ้าพระยา ถนนสมเด็จเจ้าพระยา (Thanon Somdet Chao Phraya) เป็นถนนสายสำคัญสายหนึ่งในเขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร มีเส้นทางเริ่มต้นจากวงเวียนเล็ก ถนนประชาธิปก ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ในพื้นที่แขวงสมเด็จเจ้าพระยา ตัดกับถนนท่าดินแดงและเข้าพื้นที่แขวงคลองสานที่สี่แยกท่าดินแดง จากนั้นยังคงตรงไปในทิศเดิม จนกระทั่งสิ้นสุดที่สี่แยกคลองสานซึ่งเป็นจุดตัดกับถนนลาดหญ้า ระยะทางรวม 1.440 กิโลเมตร มีความกว้าง 19.50 เมตร ถนนสมเด็จเจ้าพระยาเป็น "ถนนสายที่ 2" ในโครงการตัดและขยายถนน 11 สายในจังหวัดธนบุรี ซึ่งเกิดขึ้นหลังจากการก่อสร้างสะพานปฐมบรมราชานุสรณ์ (สะพานพระพุทธยอดฟ้า) เมื่อปี พ.ศ.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนสมเด็จเจ้าพระยา

ถนนสรรพาวุธ

ถนนสรรพาวุธ (Thanon Sanphawut) ซึ่งบางส่วนมีฐานะเป็น ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3102 สายบางนา - สรรพาวุธ เป็นถนนสายสั้น ๆ ในพื้นที่เขตบางนา กรุงเทพมหานคร มีระยะทาง 2 กิโลเมตรเศษ เริ่มต้นจากบริเวณทางแยกบางนา (ซึ่งเป็นจุดบรรจบกันของถนนสุขุมวิท ถนนเทพรัตน และทางพิเศษเฉลิมมหานคร) จากนั้นจึงตัดกับถนนทางรถไฟสายเก่าปากน้ำที่ทางแยกสรรพาวุธ และไปสิ้นสุดที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณวัดบางนานอก โดยเป็นถนนขนาด 6 ช่องจราจรตลอดเส้นทาง ช่วง 70 เมตรแรกจากสี่แยกบางนาเป็นเขตควบคุมของหมวดการทางบางนาที่ 1 แขวงการทางสมุทรปราการ (หน่วยงานของกรมทางหลวง) ส่วนระยะทางที่เหลือเป็นเขตควบคุมของสำนักการโยธา กรุงเทพมหานคร 3102 4-3102 หมวดหมู่:ถนนในกรุงเทพมหานคร หมวดหมู่:ถนนในเขตบางนา.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนสรรพาวุธ

ถนนสรงประภา

นนสรงประภา (Thanon Song Prapha) เป็นถนนในเขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร เริ่มต้นตั้งแต่ถนนเชิดวุฒากาศและสิ้นสุดที่สี่แยกศรีสมาน (คลองประปา) เชื่อมต่อถนนศรีสมาน มีความยาวประมาณ 4.4 กิโลเมตร ในอดีตช่วงหน้าวัดดอนเมืองถึงตลาดสดวัฒนานันท์ และช่วงเยื้องโรงเรียนพระหฤทัยดอนเมืองถึงแยกประชาอุทิศเป็นทางหลวง 2 ช่องจราจร แต่เนื่องจากมีการใช้บริการถนนสายนี้เป็นจำนวนมาก เกิดปัญหาจราจรติดขัดช่วงเวลาเร่งด่วน จึงขยายช่องจราจรเป็น 6 ช่องจราจรตลอดสาย เริ่มก่อสร้างขยายตั้งแต่ปี..

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนสรงประภา

ถนนสวรรคโลก

นีรถไฟจิตรลดา ถนนสวรรคโลก (Thanon Sawankhalok) เป็นถนนสายหนึ่งในพื้นที่เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร มีจุดเริ่มต้นที่แยกยมราช ผ่านแยกเสาวนี จุดตัดกับถนนศรีอยุธยา จากนั้นทอดผ่านแยกอุภัยเจษฎุทิศ จุดตัดกับถนนราชวิถี ทอดผ่านแยกสวรรคโลก จุดตัดกับถนนสุโขทัย และไปสิ้นสุดลงที่แยกสามเสน จุดตัดระหว่างถนนเทอดดำริและถนนนครไชยศรี เดิมมีชื่อว่า "ถนนสิ้ว" (อักษรจีน: 寿 หรือสะกด ซิ่ว) ซึ่งมีความหมายถึง "อายุยั่งยืน" อันมาจากชื่อเครื่องลายครามของจีนที่เป็นรูปผลท้อหรือต้นสน ที่เป็นที่นิยมสะสมและครอบครองกันในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และนิยมนำมาตั้งชื่อเป็นชื่อถนนหรือสถานที่ต่าง ๆ ในยุคนั้น โดยเป็นถนนที่ตัดจากสะพานยมราชไปจรดคลองสามเสน ขนานไปกับเส้นทางรถไฟ ต่อมารัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีประกาศของกระทรวงนครบาล โดยเจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) เป็นเสนาบดี ลงวันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๔๖๒ ให้เปลี่ยนชื่อถนนรอบพระราชวังสวนดุสิตที่ได้ชื่อตามเครื่องลายครามจีน ๑๕ สาย หนึ่งในนั้นคือ ถนนสิ้ว ได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น "ถนนสวรรคโลก" ตามพระนามของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าเยาวมาลย์นฤมล กรมขุนสวรรคโลกลักษณวดี พระธิดาพระองค์หนึ่งในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สถานที่สำคัญที่ถนนสวรรคโลกตัดผ่าน คือ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน และสถานีรถไฟจิตรลดา อันเป็นสถานีรถไฟที่สร้างขึ้นสำหรับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์ เมื่อมีการเสด็จฯ ทางรถไฟโดยเฉพาะ รวมถึงอาจใช้เป็นสถานที่ต้อนรับพระราชอาคันตุกะในบางโอกาส มีอาคารสถานีที่สร้างด้วยสถาปัตยกรรมที่สวยงาม.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนสวรรคโลก

ถนนสามเสน

แผนที่เขตดุสิต ถนนสามเสนอยู่บริเวณซ้ายบน ใกล้กับแม่น้ำเจ้าพระยา ถนนสามเสน (Thanon Sam Sen) เป็นถนนสายสำคัญในพื้นที่เขตพระนครและเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนสามเสน

ถนนสาธุประดิษฐ์

นนสาธุประดิษฐ์ (Thanon Sathu Pradit) เป็นถนน 2 ช่องจราจรในกรุงเทพมหานคร มีระยะทางตั้งแต่ถนนจันทน์ที่ทางแยกจันทน์-สาธุประดิษฐ์ ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ในพื้นที่แขวงบางโพงพาง เขตยานนาวา จากนั้นตัดกับถนนรัชดาภิเษก ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ตัดกับถนนพระรามที่ 3 ที่ทางแยกสาธุประดิษฐ์ และไปสิ้นสุดที่ท่าเรือสาธุประดิษฐ์ ริมแม่น้ำเจ้าพระยา มีประวัติว่าสมัยก่อนผู้ที่ร้องขอกับทางการให้มีการสร้างถนนสายนี้เป็นคนในตระกูลสาธุประดิษฐ์ ปัจจุบันยังมีอนุสรณ์สถานท่านผู้มีพระคุณผู้นี้ตั้งไว้ที่ริมถนนสาธุประดิษฐ์ บริเวณปากซอยสาธุประดิษฐ์ 20 ซึ่งอยู่ระหว่างโรงเรียนสารสาสน์กับทางแยกจันทน์-สาธุประดิษ.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนสาธุประดิษฐ์

ถนนสาทร

นนสาทร ถนนสาทร (Thanon Sathon) เป็นถนนสายสำคัญสายหนึ่งในกรุงเทพมหานคร ในพื้นที่เขตสาทรและเขตบางรัก.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนสาทร

ถนนสิบสามห้าง

แผนที่เขตพระนคร ถนนพระนครอยู่ใกล้กับวัดบวรนิเวศวิหาร (Wat Bowonniwett) ในชื่อ Sip Sam Hang Road ถนนสิบสามห้าง (Thanon Sip Sam Hang) เป็นถนนสายเล็ก ๆ ตั้งอยู่ในย่านบางลำพู แขวงตลาดยอด เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เป็นถนนที่สร้างขึ้นมาตั้งแต่รัชสมัยรัชกาลที่ 5 โดยมีที่มาจากกลุ่มพ่อค้ากลุ่มหนึ่งในมณฑลกวางตุ้ง ประเทศจีน ซึ่งเริ่มต้นมีห้างร้านอยู่ทั้งสิ้น 13 ห้าง ได้รวมตัวกันเพื่อเข้าช่วยเหลือซึ่งกันและกันในด้านการค้าและอื่น ๆ มีตึกทำการอยู่ที่มณฑลกวางตุ้ง ต่อมาเมื่อชาวจีนเข้ามาจับจองทำกิจการค้าที่บางลำพู ได้นำวิธีการนี้มาใช้ และได้สร้างอาคารซึ่งมีลักษณะเหมือนอาคารที่ทำการสมาคมเช่นเดียวกันนี้ขึ้นที่บางลำพู แม้ภายหลังเมื่ออาคารดังกล่าวจะถูกรื้อถอน แต่ชื่อสิบสามห้างยังคงอยู่ และได้กลายเป็นชื่อถนนที่เคยเป็นที่ตั้งอาคารสมาคม นอกจากนี้แล้ว ถนนสิบสามห้างในช่วงกึ่งพุทธกาล (พ.ศ.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนสิบสามห้าง

ถนนสิรินธร

นนสิรินธร (Thanon Sirindhorn) ซึ่งบางส่วนมีฐานะเป็น ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 341 สายบางพลัด - บางบำหรุ เป็นเส้นทางการคมนาคมในท้องที่เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร ลักษณะเป็นถนนขนาด 8 - 10 ช่องทางจราจร กว้าง 40 เมตร มีระยะทางประมาณ 3 กิโลเมตร เริ่มจากถนนจรัญสนิทวงศ์ตัดกับถนนราชวิถีที่สี่แยกบางพลัด ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ข้ามคลองบางบำหรุ เมื่อผ่านซอยสิรินธร 2 (สมชายพัฒนา) จึงโค้งไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ จากนั้นตัดผ่านถนนรุ่งประชา ก่อนจะไปบรรจบกับถนนบรมราชชนนีที่ทางแยกต่างระดับสิรินธร โดยตลอดสายยังถือเป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างแขวงบางพลัดกับแขวงบางบำหรุอีกด้วย ถนนสิรินธรตัดขึ้นตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดินสายแยกถนนจรัญสนิทวงศ์ (แยกสะพานกรุงธนฯ) - บรรจบทางหลวงพิเศษสายบางกอกน้อย-นครชัยศรี ในท้องที่เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร พ.ศ.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนสิรินธร

ถนนสุรวงศ์

นนสุรวงศ์ (Thanon Surawong) เป็นถนนในพื้นที่แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร เป็นถนนคู่ขนานกับถนนสีลมและถนนสี่พระยา ซึ่งอยู่ใกล้เคียง ถนนสุรวงศ์โดยเจ้าพระยาสุรวงศ์วัฒนศักดิ์ (โต บุนนาค) เป็นผู้จัดซื้อที่ดินและตัดถนนขึ้นสองสาย โดยถนนสายหนึ่งตัดแยกจากถนนเจริญกรุงไปยังสะพานข้ามคลองวัวลำพอง (บริเวณถนนพระราม 4 และสถานีรถไฟหัวลำโพงในปัจจุบัน) และท่านผู้หญิงตลับสีหราชเดโช ผู้เป็นภรรยาได้ขอพระราชทานชื่อจากสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ขณะที่ทรงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ พระองค์พระราชทานชื่อว่า ถนนสุรวงศ์ และ ถนนเดโช เมื่อแรกตัดถนนเสร็จ บริเวณรอบ ๆ ถนนสุรวงศ์ยังคงเป็นทุ่งนา, ไร่อ้อยและสวนผัก มีบ้านเรือนทรงยุโรปบ้างประปราย ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ในยุคก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อ พ.ศ.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนสุรวงศ์

ถนนสุทธาวาส

นนสุทธาวาส (Thanon Sutthawat) เป็นถนนเลียบทางรถไฟสายใต้ (สายธนบุรี) ในเขตทางของการรถไฟแห่งประเทศไทย ใกล้สถานีรถไฟธนบุรี พื้นที่แขวงบ้านช่างหล่อ เขตบางกอกน้อย ฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานคร เริ่มต้นจากปลายถนนอิสรภาพ จุดบรรจบถนนรถไฟ เลียบทางรถไฟสายใต้ด้านขวาทาง ผ่านวัดสุทธาวาส มาสิ้นสุดที่ถนนจรัญสนิทวงศ์ บริเวณป้ายหยุดรถไฟจรัญสนิทวงศ์ ตรงข้ามกับจุดเริ่มต้นของถนนเลียบทางรถไฟสายใต้ใกล้แยกบางขุนนนท์ ถนนสายนี้เป็นหนึ่งในโครงการในพระราชดำริเพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรในกรุงเทพฯ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งช่วยลดปริมาณการจราจรบนถนนจรัญสนิทวงศ์บริเวณสามแยกไฟฉาย และเป็นเส้นทางลัดเชื่อมต่อไปยังย่านสำคัญ ได้แก่สถานีรถไฟธนบุรี โรงพยาบาลศิริราช และตลาดพรานนก.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนสุทธาวาส

ถนนสุทธิสารวินิจฉัย

นนสุทธิสารวินิจฉัย ช่วงสี่แยกรัชดา-สุทธิสาร ถึงซอยเกตุนุติ ถนนสุทธิสารวินิจฉัย หรือนิยมเรียกกันสั้น ๆ ว่า ถนนสุทธิสาร เป็นถนนที่ตั้งชื่อตามราชทินนามของเจ้าของที่ดินช่วงต้นถนน คือ พระสุทธิสารวินิจฉัย (มะลิ บุนนาค) ซึ่งทายาทและผู้อนุบาลของพระสุทธิสารวินิจฉัยได้ยกที่ดินให้ราชการตัดถนน เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่พระสุทธิสารวินิจฉัย ถนนสายนี้มีจุดเริ่มต้นตั้งแต่ถนนพหลโยธินช่วงใกล้สี่แยกสะพานควายฟากทิศตะวันออก ตัดผ่านถนนวิภาวดีรังสิตที่แยกสุทธิสาร บริเวณหน้าสถานีดับเพลิงและกู้ภัยสุทธิสาร ตัดผ่านถนนรัชดาภิเษกที่แยกรัชดา-สุทธิสาร และสิ้นสุดที่สะพานข้ามคลองลาดพร้าว โดยบรรจบกับซอยลาดพร้าว 64 แยก 4 (ซอยเกตุนุติ) รวมระยะทางทั้งสิ้น 4.5 กิโลเมตร ส่วนซอยต่างๆ ที่แยกจากถนนสุทธิสารวินิจฉัย ในระยะ 500 เมตรแรกจากถนนพหลโยธิน ใช้ชื่อซอยว่า "ซอยสุทธิสารวินิจฉัย" จำนวน 3 ซอย ส่วนซอยในถนนช่วงพ้นระยะ 500 เมตรแรกจากถนนพหลโยธินเป็นต้นไป ใช้ชื่อซอยว่า "ซอยอินทามระ" มีจำนวน 59 ซอย โดยตั้งชื่อตามนามสกุลของพลตำรวจโทโต๊ะ อินทามระ หัวหน้ากองคลังของกรมตำรวจ ผู้ตัดถนนต่อจากถนนสุทธิสารวินิจฉัยเดิมเข้าสู่ที่ดินของกรมตำรวจ เพื่อพัฒนาที่ดินให้เป็นที่อยู่อาศัยของข้าราชการตำรวจในเวลานั้น ปัจจุบัน ชื่อ "สุทธิสาร" และ "สุทธิสารวินิจฉัย" ได้ถูกนำไปใช้ในสถานที่ต่างๆ ที่ถนนตัดผ่าน ทั้งของทางราชการและเอกชน เช่น สถานีสุทธิสาร ในเส้นทางรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล, สถานีตำรวจนครบาลสุทธิสาร เป็นต้น.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนสุทธิสารวินิจฉัย

ถนนสุขสวัสดิ์

นนสุขสวัสดิ์ (Thanon Suk Sawat) ซึ่งระยะทางส่วนใหญ่ของถนนมีฐานะเป็น ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 303 สายราษฎร์บูรณะ–พระสมุทรเจดีย์ (ในสมัยก่อนมีชื่อว่า "ทางหลวงแผ่นดินสายดาวคะนอง - ป้อมพระจุล") สร้างตั้งแต่สมัยจอมพล ป.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนสุขสวัสดิ์

ถนนสุขุมวิท

นนสุขุมวิท (Thanon Sukhumvit) ซึ่งมีระยะทางส่วนใหญ่เป็น ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3 สายบางนา–หาดเล็ก เป็นหนึ่งในทางหลวงแผ่นดินสายประธานทั้งสี่ของประเทศไทย จุดเริ่มต้นเชื่อมต่อจากถนนเพลินจิต เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร มีเส้นทางไปตามชายทะเลภาคตะวันออก และสิ้นสุดที่อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด ติดต่อกับชายแดนจังหวัดเกาะกง ประเทศกัมพูชา รวมระยะทางยาวทั้งสิ้นประมาณ 488 กิโลเมตร.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนสุขุมวิท

ถนนสุขุมวิท 71 (ปรีดี พนมยงค์)

นนสุขุมวิท 71 (ปรีดี พนมยงค์) ถนนสุขุมวิท 71 (ปรีดี พนมยงค์) (Thanon Sukhumvit 71 (Pridi Banomyong)) เป็นถนนสายหนึ่งในกรุงเทพมหานคร มีความยาวประมาณ 3 กิโลเมตร มีจุดเริ่มต้นจากถนนสุขุมวิทที่ทางแยกสุขุมวิทในแขวงพระโขนงเหนือ เขตวัฒนา มุ่งไปทางทิศเหนือ เมื่อถึงปากซอยปรีดี พนมยงค์ 26 (พัฒนเวศม์) จึงเริ่มเป็นเส้นแบ่งพื้นที่การปกครองระหว่างแขวงพระโขนงเหนือกับแขวงคลองตันเหนือ จนกระทั่งผ่านปากซอยปรีดี พนมยงค์ 25 (เจริญมิตร) จึงเข้าแขวงคลองตันเหนือ ไปทางทิศเดิม ข้ามคลองตันเข้าพื้นที่แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง และไปสิ้นสุดที่ทางแยกคลองตัน ซึ่งเป็นจุดบรรจบระหว่างถนนเพชรบุรี ถนนพัฒนาการ และถนนรามคำแหง ถนนนี้เดิมคือซอยสุขุมวิท 71 สร้างในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ประมาณปี พ.ศ.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนสุขุมวิท 71 (ปรีดี พนมยงค์)

ถนนสีลม

ประติมากรรมเครื่องสีลมที่สร้างขึ้นใหม่ ถนนสีลม (Thanon Si Lom) ถนนสำคัญในเขตบางรัก กรุงเทพมหานคร เป็นถนนคอนกรีตขนาดกว้าง 6 ช่องทางจราจร มีช่องจอดรถและบาทวิถีทั้งสองข้าง ความยาวประมาณ 2.78 กิโลเมตร เริ่มตั้งแต่ถนนเจริญกรุง (แยกบางรัก) ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ตัดกับถนนมเหสักข์-ถนนสุรศักดิ์ (แยกสุรศักดิ์) ถนนประมวญ (แยกประมวญ) ถนนเดโช (แยกเดโช) ถนนนราธิวาสราชนครินทร์ (แยกสีลม-นราธิวาส) และถนนคอนแวนต์ (แยกคอนแวนต์) และไปสิ้นสุดที่ถนนพระรามที่ 4 (แยกศาลาแดง) สีลมเป็นถนนที่มีเกาะกลางและมีต้นไม้ใหญ่ปลูกเรียงรายไปตลอดแนวถนนจำนวน 483 ต้น และเป็นถนนสำคัญสายแรกที่เดินสายไฟฟ้าและสายโทรศัพท์ไว้ใต้ดิน ถนนสีลมสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 พร้อม ๆ กับถนนเจริญกรุง ถนนบำรุงเมือง และถนนเฟื่องนคร เดิมเรียกชื่อว่า "ถนนขวาง" เดิมเป็นคันดินที่เกิดจากการขุดคลองเพื่อเชื่อมคลองบางรักกับคลองถนนตรง คันดินจึงกลายเป็นถนนที่เรียกกันว่าถนนขวาง ชาวต่างประเทศได้นำเครื่อง สีลม ซึ่งใช้สำหรับการวิดน้ำมาติดตั้งที่ถนนขวาง โดยที่บริเวณทั่วไปยังเป็นทุ่งนาโล่ง เครื่องสีลมวิดน้ำจึงดูเด่นและกลายเป็นชื่อเรียกของถนนมาถึงปัจจุบัน ถนนสีลมเมื่อครั้งจัดเป็นถนนคนเดิน ใช้ชื่อว่า โครงการ 7 มหัศจรรย์ที่สีลม (7 Wonders @ Silom Street) ในปี 2544 ปัจจุบันถนนสีลมนับเป็นถนนธุรกิจสายสำคัญสายหนึ่งของกรุงเทพมหานคร มีผู้ขนานนามถนนสีลมว่า "วอลล์สตรีตของกรุงเทพฯ" ถนนสีลมมีสำนักงานใหญ่ธนาคาร โรงแรม อาคารสำนักงาน ตลอดจนศูนย์การค้าขนาดใหญ่เรียงรายอยู่ทั้งสองฟากถนน เป็นถนนท่องเที่ยวที่เป็นแหล่งซื้อสินค้าและขายของที่ระลึกสำหรับนักท่องเที่ยวตามบาทวิถีในเวลากลางคืน รวมทั้งใน "ซอยละลายทรัพย์" นอกจากนี้ ยังเคยมีโครงการวัฒนธรรมปิดเป็นถนนคนเดินในวันอาทิตย์ ถนนสีลมยังได้ชื่อว่าเป็นถนนการเมืองยุคใหม่จากการเดินขบวนของนักธุรกิจเพื่อขับไล่พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ และพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตรให้ออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ถนนสีลมมีรถไฟฟ้าแล่นผ่านจากถนนพระรามที่ 4 ขึ้นลงที่สถานีศาลาแดงและเลี้ยวออกไปถนนสาทรที่สถานีช่องนนทรี ช่วงสถานี สาธรภาพจากมุมสูง หมวดหมู่:รัชกาลที่ 4 สีลม สีลม หมวดหมู่:ย่านในกรุงเทพมหานคร.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนสีลม

ถนนสีหบุรานุกิจ

นนสีหบุรานุกิจ (Thanon Sihaburanukit) เป็นถนนสายสั้น ๆ ในแขวงมีนบุรี เขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร มีความยาวประมาณ 3 กิโลเมตร มีจุดเริ่มต้นที่แยกเมืองมีน ซึ่งเป็นจุดตัดระหว่างถนนรามอินทรา ถนนสุวินทวงศ์ และถนนเสรีไทย มีทิศทางมุ่งไปทางทิศตะวันออก ข้ามคลองสามวา เลี้ยวขึ้นไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ไปบรรจบกับกับถนนร่มเกล้าบริเวณวัดแสนสุข สถานที่สำคัญบนถนนสายนี้ มีโรงพยาบาลนวมินทร์ วิทยาลัยเทคนิคมีนบุรี ตลาดนัดจตุจักร 2 ตลาดมีนบุรี สวนเฉลิมพระเกียรติ ร.9 มีนบุรี สำนักงานเขตมีนบุรี พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร เขตมีนบุรี โรงเรียนมีนบุรี โรงเรียนสตรีเศรษฐบุตรบำเพ็ญ ศาลจังหวัดมีนบุรี และวัดแสนสุข ในอดีตถนนสายนี้เคยเป็นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3101 แต่ในปัจจุบันดูแลโดยกรุงเทพมหานคร หมวดหมู่:ถนนในกรุงเทพมหานคร หมวดหมู่:ถนนในเขตมีนบุรี.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนสีหบุรานุกิจ

ถนนสี่พระยา

นนสี่พระยา ถนนสี่พระยา (Thanon Si Phraya) ถนนสายหนึ่งในพื้นที่เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร ถือเป็นถนนสายรองของพื้นที่ เป็นถนนเชื่อมระหว่างถนนเจริญกรุงกับถนนพระราม 4 มีจุดเริ่มต้นที่แขวงสี่พระยา บริเวณหน้าโรงแรมรอยัลออร์คิดเชอราตัน และศูนย์การค้าริเวอร์ซิตี้ไปสิ้นสุดที่แยกสามย่าน บริเวณหน้าวัดหัวลำโพง อันเป็นจุดตัดของถนนพระราม 4 และถนนพญาไท ถนนสี่พระยา มีที่มาจาก การที่ขุนนางซึ่งมีบรรดาศักดิ์เป็นพระยา 4 คน ได้แก่ พระยาอินทราธิบดีสีหราชรองเมือง (ม.ร.ว.ลพ สุทัศน์), พระยาพิพัฒโกษา (เซเรสติโน ซาเวียร์), พระยานรฤทธิ์ราชหัช (ทองดี โชติกเสถียร) และพระยานรนารถภักดี (สุด บุนนาค) รวมถึงหลวงมนัศมานิต (เถียน โชติกเสถียร) ได้ร่วมกันซื้อที่ดินระหว่างถนนสุรวงศ์กับคลองผดุงกรุงเกษมและสร้างผ่านที่ดินเชื่อมต่อกับถนนเจริญกรุง คือ วัดหัวลำโพงไปตกท่าน้ำ คือ ท่าน้ำสี่พระยา พระยาทั้ง 4 คนได้น้อมเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า "ถนนสี่พระยา" เมื่อ..

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนสี่พระยา

ถนนสนามไชย

นนสนามไชย ถนนสนามไชย (Thanon Sanam Chai) เป็นถนนสายหนึ่งในพื้นที่แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เป็นถนนที่ตั้งของสถานที่สำคัญหลายแห่ง เช่น กระทรวงกลาโหม, กรมอัยการสูงสุด, พระบรมมหาราชวัง, พระราชวังสราญรมย์, หน่วยบัญชาการรักษาดินแดน ถนนสนามไชย มีจุดเริ่มต้นที่ถนนหน้าพระลานตัดกับถนนราชดำเนินใน ที่บริเวณแยกป้อมเผด็จ สิ้นสุดลงที่ถนนราชินี บริเวณปากคลองตลาด มีความยาวประมาณ 1.1 กิโลเมตร เดิมเป็นถนนที่มีชื่อเรียกว่า "ถนนหน้าจักรวรรดิวังหลวง" เป็นลักษณะเป็นลานกว้าง ๆ มีความสำคัญตั้งแต่ยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์เนื่องด้วยเป็นเส้นทางที่ใช้สำหรับพระราชพิธีหรือกระบวนแห่ต่าง ๆ โดยชื่อ "สนามไชย" มาจากท้องสนามไชย ซึ่งเป็นลานอยู่ข้างท้องสนามหลวง เป็นสถานที่ ๆ ให้ข้าราชบริพารตลอดจนประชาชนใช้สำหรับเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในแต่ละรัชกาล ครั้นทรงเสด็จออก ณ พระที่นั่งสุทไธสวรรยปราสาท เนื่องในวโรกาสสำคัญต่าง ๆ โดยชื่อถนนสนามไชย เป็นชื่อพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อปี..

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนสนามไชย

ถนนหม่อมเจ้าสง่างาม สุประดิษฐ์

นนหม่อมเจ้าสง่างาม สุประดิษฐ์ (Thanon Mom Chao Sanga Ngam Supradit) เป็นถนนสายสั้น ๆ สายหนึ่งในท้องที่แขวงมีนบุรี เขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร มีขนาด 6 ช่องทางจราจร ไม่มีเกาะกลาง ระยะทางยาว 1,105 เมตร มีจุดเริ่มต้นจากถนนรามอินทรา มุ่งไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ผ่านลำรางบึงกระเทียม เข้าเขตนิคมอุตสาหกรรมบางชัน และไปสิ้นสุดที่ถนนเสรีไทยฝั่งตรงข้ามซอยเสรีไทย 60 (วัดบำเพ็ญเหนือ) ถนนหม่อมเจ้าสง่างาม สุประดิษฐ์เดิมมีฐานะเป็นซอยรามอินทรา 78 (บึงกระเทียม) เป็นซอยขนาด 2 ช่องทางจราจร ต่อมาทางการได้ปรับปรุงและขยายเป็นถนน 6 ช่องทางจราจร มีชื่อเรียกกันทั่วไปว่า "ถนนบึงกระเทียม" ในปี พ.ศ.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนหม่อมเจ้าสง่างาม สุประดิษฐ์

ถนนหลวง

250px ถนนหลวง (Thanon Luang) เป็นถนนเส้นหนึ่งในกรุงเทพมหานคร เริ่มตั้งแต่ถนนมหาไชย (สามแยกเรือนจำ) ในท้องที่แขวงสำราญราษฎร์ เขตพระนคร ข้ามคลองรอบกรุง (คลองโอ่งอ่าง) เข้าสู่ท้องที่แขวงบ้านบาตร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย จากนั้นตัดกับถนนวรจักร (สี่แยกวรจักร) ถนนยุคล 2 (สี่แยกโรงพยาบาลกลาง) และถนนพลับพลาไชย (ห้าแยกพลับพลาไชย) โดยเป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างแขวงป้อมปราบกับแขวงวัดเทพศิรินทร์ จนกระทั่งไปจรดถนนกรุงเกษมที่ห้าแยกนพวงศ์ ถนนหลวงเป็นถนนที่สร้างในปี พ.ศ.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนหลวง

ถนนหลวงแพ่ง

ถนนหลวงแพ่ง (Thanon Luang Phaeng) เป็นถนนสายหนึ่งในท้องที่เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร มีแนวสายทางต่อเนื่องจากถนนลาดกระบัง ซึ่งเริ่มต้นที่สะพานข้ามคลองหัวตะเข้ในท้องที่แขวงทับยาว เขตลาดกระบัง ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ตัดกับถนนประชาพัฒนาและถนนมอเตอร์เวย์ จากนั้นจึงข้ามคลองทับยาวเข้าท้องที่แขวงขุมทอง เขตลาดกระบัง ตัดกับถนนขุมทอง-ลำต้อยติ่ง และไปสิ้นสุดที่สะพานข้ามคลองกาหลง (สุดเขตกรุงเทพมหานคร) ซึ่งต่อจากนี้ไปก็จะเป็นถนนเทพราช-ลาดกระบัง ในท้องที่ตำบลเปร็ง อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ หลวงแพ่ง หลวงแพ่ง.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนหลวงแพ่ง

ถนนหลานหลวง

นนหลานหลวง (Thanon Lan Luang) ถนนสายหนึ่งในกรุงเทพมหานคร เป็นถนนที่มุ่งหน้าสู่ทิศตะวันออกเป็นเส้นตรง มีจุดเริ่มต้นที่สะพานผ่านฟ้าลีลาศ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย ผ่านแยกผ่านฟ้าลีลาศ ผ่านถนนจักรพรรดิพงศ์ ที่แยกหลานหลวง จากนั้นตัดกับถนนพะเนียง และตัดกับถนนกรุงเกษมที่แยกสะพานขาว ข้ามคลองผดุงกรุงเกษม ที่สะพานจตุรภักตร์รังสฤษดิ์ จากนั้นตัดกับถนนลูกหลวงที่เชิงสะพาน ก่อนจะไปสิ้นสุดที่แยกยมราช จุดตัดกับถนนเพชรบุรีและถนนสวรรคโลก ที่เขตดุสิต รวมระยะทางทั้งสิ้น 1,550 เมตร เดิมมีชื่อเรียกว่า "ถนนสนามควาย" หรือ "ถนนสนามกระบือ" เนื่องจากเมื่อแรกสถาปนากรุงเทพมหานครขึ้นเป็นราชธานี พื้นที่บริเวณนี้ถือเป็นเขตนอกพระนคร ใช้เป็นที่สำหรับเลี้ยงควายหลวง เรียกกันในสมัยนั้นว่า "สนามควาย" ต่อมาจึงเรียกให้ไพเราะขึ้นว่า "สนามกระบือ" ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าฯ ให้ขุดคลองผดุงกรุงเกษมขึ้นเป็นคูเมืองชั้นนอก เป็นเหตุให้มีการขยายอาณาเขตพระนครออกไป สนามกระบือจึงมีความเจริญขึ้น เกิดมีเส้นทางสัญจรระหว่างชุมชน จึงเกิดชื่อเรียกถนนเส้นนี้ขึ้นตามนั้น ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 ในราว..

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนหลานหลวง

ถนนหทัยราษฎร์

นนหทัยราษฏร์ เป็นถนนที่เชื่อมระหว่างจังหวัดปทุมธานีกับกรุงเทพมหานคร โดยมีระยะทางประมาณ 15กม.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนหทัยราษฎร์

ถนนหน้าพระลาน

ถนนหน้าพระลาน(ช่วงที่ผ่านมหาวิทยาลัยศิลปากร) ตึกแถวริมถนนหน้าพระลาน ถนนหน้าพระลาน (Thanon Na Phra Lan) เป็นถนนในแขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ตั้งต้นจากปลายถนนราชดำเนินในต่อถนนสนามไชยที่มุมป้อมเผด็จดัสกร ไปตามกำแพงพระบรมมหาราชวัง ตัดกับถนนมหาราช ไปสุดที่ท่าช้างวังหลวง ถนนหน้าพระลานเป็นถนนที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น โดยขยายจากถนนเดิมที่มีอยู่ก่อนแล้วตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช แต่เป็นถนนนูนดินสูง เหตุที่ชื่อถนนหน้าพระลานเพราะเป็นถนนที่อยู่หน้าพระลานพระบรมมหาราชวัง ỒỒ หมวดหมู่:ถนนในกรุงเทพมหานคร หมวดหมู่:ถนนในเขตพระนคร.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนหน้าพระลาน

ถนนหน้าพระธาตุ

นนหน้าพระธาตุ ถนนหน้าพระธาตุ (Thanon Na Phra That) เป็นถนนในท้องที่แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ตั้งต้นจากถนนหน้าพระลาน เลียบสนามหลวงด้านตะวันตก ไปทางทิศเหนือจนถึงถนนราชินี มีความยาวทั้งสิ้น 750 เมตร ถนนหน้าพระธาตุเป็นถนนที่มีมาตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช แต่เป็นถนนในลักษณะพูนดินให้สูง เป็นถนนเชื่อมระหว่างพระราชวังหลวงกับพระราชวังหน้า ใช้เป็นเส้นทางเสด็จของกรมพระราชวังบวรสถานมงคลไปยังพระบรมมหาราชวัง ผ่านวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ จึงได้ชื่อว่าถนนหน้าพระธาตุ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีการปรับปรุงให้กว้างขวางขึ้นกว่าเดิม สถานที่สำคัญที่ตั้วอยู่ถนนหน้าพระธาตุ ได้แก่ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์, กรมศิลปากร, หอสมุดพระวชิรญาน, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นต้น.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนหน้าพระธาตุ

ถนนอรุณอมรินทร์

นนอรุณอมรินทร์ ถนนอรุณอมรินทร์ (Thanon Arun Ammarin) เป็นถนนสายสำคัญสายหนึ่งในฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานคร.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนอรุณอมรินทร์

ถนนอัษฎางค์

นมอญ ถนนอัษฎางค์ (Thanon Atsadang) ถนนสายหนึ่งในพื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เป็นถนนที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯ ให้ตัดขึ้นในแบบตะวันตก หลังจากเสด็จประพาสชวา โดยทรงให้สร้างถนนริมกำแพงรอบพระนครใหม่ ซึ่งแต่เดิมเป็นทางเดินเล็ก ๆ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อแล้วเสร็จจึงพระราชทานนามว่า "ถนนอัษฎางค์" เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติของ สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ถนนอัษฎางค์ เป็นถนนที่เชื่อมระหว่างถนนราชดำเนินใน ด้านสนามหลวง กับถนนจักรเพชร ด้านปากคลองตลาด โดยขนานไปกับคลองรอบกรุง หรือคลองหลอดวัดราชบพิธ และถนนราชินี ที่อยู่ฝั่งตรงกันข้าม ผ่านสถานที่สำคัญหลายแห่ง เช่น กระทรวงมหาดไทย, กระทรวงกลาโหม, สุสานหลวงวัดราชบพิธ, วัดบุรณศิริมาตยาราม เป็นต้น นอกจากนี้แล้ว อาคารบ้านเรือนตลอดจนห้องแถวริมถนนอัษฎางค์ มีความสวยงามและควรค่าแก่การอนุรักษ์ ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน โดยเป็นสถาปัตยกรรมแบบจีน-โปรตุเก.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนอัษฎางค์

ถนนอังรีดูนังต์

นนอังรีดูนังต์ มองไปทางทิศใต้ จากมุมมองสะพานลอยหลังสยามสแควร์ ถนนอังรีดูนังต์ มองไปทางทิศเหนือ จากมุมมองสะพานลอยด้านหลังคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถนนอังรีดูนังต์ (Thanon Henri Dunant) เป็นถนนในท้องที่แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร เริ่มต้นจากถนนพระรามที่ 1 (สามแยกเฉลิมเผ่า) ถึงถนนพระรามที่ 4 (สี่แยกอังรีดูนังต์) เดิมเรียกถนนสายนี้ว่า "ถนนสนามม้า" เนื่องจากผ่านสนามม้าปทุมวัน (ปัจจุบันคือราชกรีฑาสโมสร) ตัดผ่านสถานที่สำคัญ คือ สถานเสาวภา สภากาชาดไทย โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน สยามสแควร์ โรงพยาบาลตำรวจ และ สำนักงานตำรวจแห่งชาต.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนอังรีดูนังต์

ถนนอิสรภาพ

นนอิสรภาพ (Thanon Itsaraphap) เป็นถนนสำคัญสายหนึ่งทางฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานคร.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนอิสรภาพ

ถนนอินทรพิทักษ์

นนอินทรพิทักษ์ (Thanon Intharaphithak) เป็นถนนสายหนึ่งในพื้นที่แขวงบางยี่เรือ เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร มีลักษณะเป็นถนนขนาด 6 ช่องทางจราจร เขตถนนกว้าง 30 เมตร ระยะทางยาว 780 เมตร มีจุดเริ่มต้นจากวงเวียนใหญ่ซึ่งเป็นที่ตั้งพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ไปทางทิศตะวันตก ผ่านแนวคลองบางไส้ไก่ ตัดกับถนนเทอดไทที่ทางแยกบางยี่เรือ ไปสิ้นสุดที่เชิงสะพานเนาวจำเนียร (สะพานข้ามคลองบางกอกใหญ่) โดยมีแนวถนนที่ตรงต่อเนื่องไปคือถนนเพชรเกษมในพื้นที่เขตบางกอกใหญ่ ถนนอินทรพิทักษ์เป็น "ถนนสายที่ 4" ในโครงการตัดและขยายถนน 11 สายในจังหวัดธนบุรีและจังหวัดพระนครเพื่อรองรับการก่อสร้างสะพานปฐมบรมราชานุสรณ์ (สะพานพระพุทธยอดฟ้า) เมื่อปี พ.ศ.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนอินทรพิทักษ์

ถนนอุทยาน

นนอุทยาน ในปี พ.ศ. 2549 ถนนอุทยาน (Thanon Utthayan) หรือที่นิยมเรียกในชื่อเดิมว่า ถนนอักษะ เป็นถนนเชื่อมระหว่างถนนพุทธมณฑลสาย 3 ในเขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร ถึงถนนพุทธมณฑลสาย 4 ในอำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม มีระยะทาง 3.98 กิโลเมตร ความกว้าง 90 เมตร พร้อมด้วยทัศนียภาพที่สวยงาม มีเอกลักษณ์ที่โดดเด่น คือ เสาโคมไฟรูปหงส์เรียงราง 2 ข้างทาง ที่มากถึง 979 ต้น และคูน้ำคั่นกลางความกว้าง 30 เมตร ที่มีน้ำพุเล่นระดับ 3 แห่ง จนได้ชื่อว่าเป็นถนนที่สวยที่สุดในประเทศไทย ถนนอุทยานหรือเดิมชื่อถนนอักษะ เป็นถนนที่สร้างมุ่งไปพุทธมณฑลซึ่งได้เริ่มก่อสร้างใน พ.ศ.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนอุทยาน

ถนนอุณากรรณ

นนอุณากรรณ (Thanon Unakan) เป็นถนนสายสั้น ๆ สายหนึ่งในเขตพระนคร กรุงเทพมหานคร มีลักษณะเป็นถนนขนาด 3–4 ช่องทางจราจร ไม่มีเกาะกลาง เขตถนนกว้าง 19.50 เมตร ระยะทางยาว 446 เมตร เริ่มต้นจากทางแยกอุณากรรณ (จุดตัดกับถนนเจริญกรุง) ในพื้นที่แขวงวังบูรพาภิรมย์ มุ่งไปทางทิศเหนือ ตัดกับถนนศิริพงษ์ ข้ามคลองหลอดวัดราชบพิธเข้าพื้นที่แขวงวัดราชบพิธ ตัดกับถนนลงท่า ตรงไปทางทิศเดิมโดยขนานไปกับถนนศิริพงษ์และเลียบกำแพงวัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร ไปสิ้นสุดที่ทางแยกเสาชิงช้า (จุดตัดกับถนนบำรุงเมือง) ชื่อถนนอุณากรรณมีที่มาจากพระนามของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอุณากรรณอนันตนรไชย พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและเจ้าจอมมารดาเปี่ยม โดยเจ้าคุณจอมมารดาเปี่ยมได้อุทิศเงินจำนวน 100 ชั่งของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอุณากรรณอนันตนรไชย ให้นำไปสร้างถาวรวัตถุที่เป็นสาธารณประโยชน์ เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้พระองค์ซึ่งสิ้นพระชนม์ขณะมีพระชันษา 18 ปี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้กรมโยธาธิการสร้างถนนสายสั้น ๆ ขนาดถนนข้าวสาร โดยโปรดเกล้าฯ ให้จัดสรรงบประมาณมาสมทบด้วยกนกวลี ชูชั.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนอุณากรรณ

ถนนอุดมสุข

ถนนอุดมสุข ถนนอุดมสุข (Thanon Udom Suk) เป็นถนนสายหนึ่งในเขตบางนาและเขตประเวศ กรุงเทพมหานคร เดิมคือ ซอยสุขุมวิท 103 มีระยะทางประมาณ 4 กิโลเมตร เป็นถนนแบบ 4 ช่องทางจราจรไม่มีเกาะกลาง แยกจากถนนสุขุมวิทที่ทางแยกอุดมสุขในพื้นที่แขวงบางนาเหนือ เขตบางนา ตรงไปทางทิศตะวันออก เมื่อถึงซอยอุดมสุข 29 (พุทธวิถี 1) เป็นเส้นแบ่งพื้นที่การปกครองระหว่างเขตบางนากับเขตพระโขนง จนกระทั่งข้ามคลองเคล็ดจึงเข้าพื้นที่แขวงหนองบอน เขตประเวศ แนวเส้นทางยังคงมุ่งไปทางทิศตะวันออกจนไปสิ้นสุดที่ทางแยกศรีอุดมซึ่งเป็นจุดตัดกับถนนศรีนครินทร์ โดยมีแนวถนนที่ตรงต่อเนื่องไปคือ ถนนเฉลิมพระเกียรติ ร.9 ถนนอุดมสุขเป็นถนนที่มีตลาดตลอดทั้งวัน โดยในตอนเช้าจะมีตลาดสด ส่วนตอนบ่ายจนถึงเย็นจะเริ่มแปรเป็นตลาดอาหารสำเร็จรูป ตลอดเส้นทางของถนนอุดมสุขมีสิ่งอำนวยความสะดวกหลายอย่าง เช่น ร้านบริการอัดรูป ธนาคาร สนามกอล์ฟ สนามเทนนิส ศูนย์พยาบาลสำหรับประชาชน ร้านตัดผม ร้านรับทำกุญแจ เป็นต้น หมวดหมู่:ถนนในกรุงเทพมหานคร หมวดหมู่:ถนนในเขตบางนา หมวดหมู่:ถนนในเขตประเวศ.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนอุดมสุข

ถนนอู่ทอง

นนอู่ทองช่วงถนนอู่ทองนอก ผ่านพระที่นั่งอนันตสมาคมและเรือนยอดบรมมังคลานุสรณีย์ ถนนอู่ทอง (Thanon U Thong) แบ่งออกเป็น ถนนอู่ทองใน (Thanon U Thong Nai) และ ถนนอู่ทองนอก (Thanon U Thong Nok) เป็นถนนในท้องที่แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร โดยถนนอู่ทองในมีระยะทางเริ่มตั้งแต่บริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือจนถึงถนนราชวิถี (แยกอู่ทองใน) ส่วนถนนอู่ทองนอกมีระยะทางเริ่มตั้งแต่บริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ตัดกับถนนนครราชสีมา (แยกอู่ทองนอก) ไปสิ้นสุดที่ถนนสามเสน ถนนอู่ทองเดิมชื่อ "ถนนใบพร" เป็นถนนที่สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ชื่อถนนใบพรมาจากเครื่องลายครามจีนที่มีใบคล้ายว่าน ต่อมาในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนอู่ทอง

ถนนอ่อนนุช

แผนที่เขตวัฒนา ถนนอ่อนนุชปรากฏอยู่ด้านล่างขวาของภาพในชื่อ Sukhumwit 77 (On Nut) ถนนอ่อนนุช (Thanon On Nut) ซึ่งมีชื่อเดิมว่า ซอยสุขุมวิท 77 เป็นถนนสายสำคัญสายหนึ่งของกรุงเทพมหานคร มีระยะทางทั้งหมดประมาณ 12.2 กิโลเมตร แนวถนนขนานไปกับคลองพระโขนงและคลองประเวศบุรีรมย์ แยกจากถนนสุขุมวิทที่ทางแยกอ่อนนุชในท้องที่แขวงพระโขนงเหนือ เขตวัฒนา ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ข้ามคลองบางนางจีนเข้าท้องที่แขวงอ่อนนุช เขตสวนหลวง เมื่อถึงซอยอ่อนนุช 9 จึงโค้งไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ แล้วไปทางทิศตะวันออกและทิศตะวันออกเฉียงเหนือ จากนั้นตัดกับถนนศรีนครินทร์ที่ทางแยกสวนหลวง (ศรีนุช) ไปทางทิศเดิม ข้ามคลองหนองบอนเข้าท้องที่แขวงประเวศ เขตประเวศ ตัดกับถนนพัฒนาการที่ทางแยกต่างระดับอ่อนนุช-พัฒนาการ ไปทางทิศตะวันออก ตัดกับถนนเฉลิมพระเกียรติ ร.9 ที่ทางแยกประเวศ ตัดกับถนนกาญจนาภิเษก (วงแหวนรอบนอกตะวันออก) ที่ทางแยกต่างระดับอ่อนนุช และตัดกับถนนสุขาภิบาล 2 ที่ทางแยกโรงพยาบาลสิรินธร ก่อนไปสิ้นสุดที่สะพานข้ามคลองตาพุก โดยมีถนนที่ตรงต่อเนื่องไปคือถนนลาดกระบังในท้องที่แขวงลาดกระบัง เขตลาดกระบัง.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนอ่อนนุช

ถนนอโศก-ดินแดง

สถานีรถไฟฟ้าใต้ดินเพชรบุรี ถนนอโศก-ดินแดง (Thanon Asok – Din Daeng) เป็นถนนที่ต่อจากถนนอโศกมนตรีตั้งแต่ทางแยกอโศก-เพชรบุรี ไปจนถึงถนนดินแดงที่ทางแยกประชาสงเคราะห์ (โบสถ์แม่พระ) อยู่ในพื้นที่เขตราชเทวีและเขตดินแดง กรุงเทพมหานคร และส่วนหนึ่งของถนนเส้นนี้เป็นของวงแหวนรัชดาภิเษก จากประวัติของโบสถ์แม่พระฟาติมา ถนนอโศก-ดินแดง สร้างขึ้นในปี พ.ศ.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนอโศก-ดินแดง

ถนนอโศกมนตรี

นนอโศกมนตรีช่วงที่ตัดกับถนนรัชดาภิเษกและถนนสุขุมวิท (แยกอโศกมนตรี) ถนนอโศกมนตรี (Thanon Asok Montri) เป็นถนนสายสั้น ๆ ในกรุงเทพมหานคร มีความยาวประมาณ 1.3 กิโลเมตร มีจุดเริ่มต้นที่แยกอโศกมนตรีซึ่งเป็นจุดตัดระหว่างถนนสุขุมวิทกับถนนรัชดาภิเษก (ที่มุ่งหน้ามาจากเขตคลองเตย) มุ่งไปทางทิศเหนือในพื้นที่แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา ข้ามคลองแสนแสบ เข้าพื้นที่แขวงมักกะสัน เขตราชเทวี ไปสิ้นสุดที่แยกอโศก-เพชรบุรีซึ่งเป็นจุดตัดกับถนนเพชรบุรี ปัจจุบันถนนเส้นนี้เป็นส่วนหนึ่งของวงแหวนรัชดาภิเษก และตรงไปเป็นถนนอโศก-ดินแดง ถนนอโศกมนตรีเดิมมีชื่อเรียกว่า "ซอยสุขุมวิท 21 (ซอยอโศก)" และ "ถนนอโศก" โดยกรุงเทพมหานครได้เปลี่ยนชื่อเป็น ถนนอโศกมนตรี เมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนอโศกมนตรี

ถนนผดุงด้าว

รรยายกาศของอาหารริมทางในเวลาค่ำคืน ที่ถนนผดุงด้าวช่วงติดกับถนนเยาวราช ถนนผดุงด้าว (Thanon Phadung Dao) เป็นถนนสายสั้น ๆ สายหนึ่งในพื้นที่แขวงสัมพันธวงศ์ เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร โดยเป็นถนนที่มีความยาวประมาณ 200 เมตร แบ่งออกเป็น 2 ช่วง ช่วงแรก เชื่อมระหว่างถนนเจริญกรุง และถนนเยาวราช เช่นเดียวกับถนนแปลงนาม ที่อยู่ใกล้เคียง และช่วงที่ 2 เป็นช่วงฝั่งถนนเยาวราช ในช่วงนี้มีถนนอีกสายหนึ่งที่ตัดผ่าน คือ ถนนพาดสาย ถนนผดุงด้าวมีชื่อเรียกติดปากว่า ซอยเท็กซัส หรือ ตรอกเท็กซัส อันเนื่องจากที่นี่ในอดีต เคยเป็นที่ตั้งของโรงภาพยนตร์เท็กซัสมาก่อน ถนนผดุงด้าว ได้รับชื่อพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทั้งนี้เพื่อกำหนดให้ชื่อถนน หรือตรอกซอกซอยต่าง ๆ เหล่านี้มีความเป็นสากล และเพื่อให้สอดคล้องกับถนนสายต่าง ๆ ที่อยู่ใกล้เคียง โดยมีผู้เสนอทั้งชื่อ "ผดุงด้าว" และ "ผดุงเผ่า" ซึ่งทรงเลือกชื่อ ผดุงด้าว ในอดีต ถนนผดุงด้าวมีความคึกคักอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในเวลากลางคืน ถือว่าเป็นแหล่งบันเทิงยามราตรี โรงภาพยนตร์เท็กซัส เป็นที่รู้จักกันดีจะฉายภาพยนตร์อินเดียที่ได้รับความนิยมในขณะนั้น แต่ขณะเดียวกันก็ยังมีธุรกิจที่หมิ่นเหม่ต่อศีลธรรมและกฎหมายอยู่ด้วย นั่นคือ โรงน้ำชาที่มีผู้หญิงขายบริการ และยังเป็นแหล่งที่จำหน่ายหนังสือปกขาว หรือหนังสือลามกอนาจาร แห่งแรกอีกด้วย ปัจจุบัน โรงภาพยนตร์เท็กซัสได้เลิกกิจการไปนานหลายปีแล้ว และได้กลายมาเป็นภัตตาคารสุกี้ที่ใช้ชื่อ เท็กซัส เช่นเดียวกับในอดีต นับเป็นภัตตาคารอายุเก่าแก่ยาวนาน และเป็นแห่งแรก ๆ ที่มีจำหน่ายสุกี้ในประเทศไทย นอกจากนี้แล้วบริเวณใกล้เคียงยังมีร้านอาหารจำหน่ายเนื้อแพะตุ๋นยาจีน รวมถึงเนื้อจระเข้, หอยทอด และร้านจำหน่ายซีดีเพลงและภาพยนตร์หรืองิ้วของจีน และขนมไหมฟ้า หรือขนมหนวดมังกร อันเป็นขนมของจีนที่หารับประทานได้ยากอีกด้ว.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนผดุงด้าว

ถนนจรัญสนิทวงศ์

นนจรัญสนิทวงศ์ (Thanon Charan Sanit Wong) เป็นถนนในฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานคร เริ่มต้นจากถนนเพชรเกษม ที่สี่แยกท่าพระ ในแขวงวัดท่าพระ เขตบางกอกใหญ่ ตรงไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ตัดกับถนนพาณิชยการธนบุรี (จรัญสนิทวงศ์ 13) ที่สามแยกพาณิชยการธนบุรี จากนั้นข้ามคลองมอญ เข้าสู่พื้นที่แขวงบางขุนศรี เขตบางกอกน้อย ตรงไปทางทิศเหนือ ตัดกับถนนพรานนกที่สามแยกไฟฉาย จากนั้นโค้งไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ตัดกับทางรถไฟสายใต้ (จากสถานีรถไฟธนบุรี) เข้าแขวงบางขุนนนท์ ตัดกับถนนบางขุนนนท์ที่สามแยกบางขุนนนท์ จากนั้นข้ามคลองบางกอกน้อยเข้าสู่แขวงอรุณอมรินทร์ ตัดกับถนนบรมราชชนนีที่สี่แยกบรมราชชนนีเข้าสู่พื้นที่เขตบางพลัด โดยเป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างแขวงบางบำหรุกับแขวงบางยี่ขันไปจนตัดกับถนนสิรินธรและถนนราชวิถีที่สี่แยกบางพลัด จากนั้นจึงเข้าสู่แขวงบางพลัด มุ่งตรงไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ข้ามคลองบางพลัดเข้าสู่พื้นที่แขวงบางอ้อ และไปสิ้นสุดที่เชิงสะพานพระราม 7 ในพื้นที่ตำบลบางกรวย อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี ชื่อถนนจรัญสนิทวงศ์ตั้งเพื่อเป็นเกียรติแก่หลวงจรัญสนิทวงศ์ (ม.ล.จรัญ สนิทวงศ์) อดีตปลัดกระทรวงคมนาคม เดิมกรุงเทพมหานครติดป้ายชื่อถนนว่า "ถนนจรัลสนิทวงศ์" ต่อมาได้แก้ไขเป็น "จรัญสนิทวงศ์" ตามนามของหลวงจรัญสนิทวงศ์ ปัจจุบันถนนสายนี้เป็นถนนสายสำคัญสายหนึ่งของกรุงเทพมหานคร ปัจจุบันถนนจรัญสนิทวงศ์ตลอดทั้งสายกำลังมีการก่อสร้างรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ส่วนต่อขยายสัญญาที่ 3 ช่วงสถานีเตาปูนถึงสี่แยกท่าพระ เป็นลักษณะรถไฟฟ้าแบบลอยฟ้าเช่นเดียวกับรถไฟฟ้าบีทีเอสและรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม (เชื่อมต่อกับสายฉลองรัชธรรมที่สถานีเตาปูน) เริ่มดำเนินการก่อสร้างเมื่อปี..

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนจรัญสนิทวงศ์

ถนนจักรพงษ์

นนจักรพงษ์ในปี พ.ศ. 2559 ถนนจักรพงษ์ (Thanon Chakrabongse) เริ่มตั้งแต่ถนนเจ้าฟ้าถึงสะพานนรรัตน์สถาน (สะพานข้ามคลองรอบกรุง) เป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างแขวงชนะสงครามกับแขวงตลาดยอด เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ถนนจักรพงษ์เป็นถนนที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น โดยทรงใช้วิธีการให้เจ้าของที่ดินริมถนนที่จะตัดขึ้นใหม่ออกเงินตัดถนนเอง แล้วพระราชทานนามว่า ถนนจักรพงษ์ ซึ่งมาจากพระนามของจอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ ต้นราชสกุลจักรพงษ์ พระราชโอรสซึ่งประสูติจากสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พระพันปีหลวง ถนนจักรพงษ์เป็นถนนที่ตัดผ่านย่านการค้าสำคัญของกรุงเทพมหานครคือย่านบางลำพู.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนจักรพงษ์

ถนนจักรวรรดิ์

นนจักรวรรดิ์ช่วงแยกวัดตึก ถนนจักรวรรดิ์ (Thanon Chakkrawat) เป็นถนนสายหนึ่งในเขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร เริ่มจากถนนเจริญกรุงที่สี่แยกเอส.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนจักรวรรดิ์

ถนนจักรเพชร

นนจักรเพชร (Thanon Chak Phet) เป็นถนนในท้องที่แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เริ่มจากถนนเยาวราชตรงข้ามกับถนนมหาไชย ตามแนวขนานคลองรอบกรุง (คลองโอ่งอ่าง) แยกเลี้ยวตรงไปปากคลองตลาด ช่วงหัวเลี้ยวเป็นเชิงสะพานพระปกเกล้า ตัดผ่านถนนตรีเพชร ผ่านปลายถนนบ้านหม้อถึงเชิงสะพานเจริญรัช 31 มีความยาวทั้งสิ้น 1,120 เมตร ถนนจักรเพชรสร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนจักรเพชร

ถนนจตุรทิศ

ถนนจตุรทิศ (Thanon Chaturathit) เป็นถนนสายหนึ่งในกรุงเทพมหานคร เริ่มจากถนนศรีอยุธยา ไปทางทิศตะวันออก ตัดกับถนนดินแดงตัดใหม่, ถนนจตุรทิศ-ดินแดง และถนนอโศก-ดินแดง ไปสิ้นสุดที่ถนนพระราม 9 จตุรทิศ.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนจตุรทิศ

ถนนทรงวาด

อาคารเก่าแก่ริมถนนทรงวาด ถนนทรงวาด (อักษรโรมัน: Thanon Song Wat) เป็นถนนสายหนึ่งในเขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร ในย่านเยาวราช ถนนทรงวาด กำเนิดจากการที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นผู้วาดแนวถนนเส้นนี้ลงบนแผนที่เพื่อลดความแออัดของพื้นที่ในย่านสำเพ็งหลังจากเกิดเพลิงไหม้ครั้งใหญ่ ถนนทรงวาดมีความยาวทั้งสิ้น 1,196 เมตร กินพื้นที่ตั้งแต่แขวงสัมพันธวงศ์ และแขวงตลาดน้อย การตัดถนนทรงวาดแบ่งเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงแรกเมื่อ..

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนทรงวาด

ถนนทวีวัฒนา

นนทวีวัฒนา (Thanon Thawi Watthana) เป็นเส้นทางการคมนาคมระหว่างเขตหนองแขมกับเขตทวีวัฒนา ทางทิศตะวันตกของกรุงเทพมหานคร แยกจากถนนเพชรเกษมในพื้นที่แขวงหนองค้างพลู เขตหนองแขม เลียบฝั่งตะวันตกของคลองทวีวัฒนาเป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ผ่านใต้สะพานถนนพุทธมณฑล สาย 3 จากนั้นข้ามคลองบางไผ่เข้าพื้นที่แขวงทวีวัฒนา เขตทวีวัฒนา ตัดกับถนนบางแวก ตัดกับถนนเลียบคลองปทุม ตัดกับถนนทวีวัฒนา-กาญจนาภิเษกและถนนทวีวัฒนา-พุทธมณฑล สาย 4 จากนั้นข้ามคลองบางกระทึกเข้าพื้นที่แขวงศาลาธรรมสพน์ ตัดกับถนนอุทยาน ถนนบรมราชชนนี และถนนศาลาธรรมสพน์ ก่อนจะไปสิ้นสุดที่ทางรถไฟสายใต้ ถนนทวีวัฒนาเป็นถนนขนาด 2 ช่องทางจราจร ไม่มีเกาะกลาง ระยะทางรวม 10.8 กิโลเมตร เดิมมีลักษณะเป็นคันทางริมคลองทวีวัฒนาซึ่งกรมชลประทานใช้เป็นเส้นทางในการดูแลบำรุงรักษาคลอง แต่ให้ประชาชนได้ใช้สัญจรด้วย กรุงเทพมหานครได้รับมอบเส้นทางสายนี้จากกรมชลประทานเมื่อประมาณปี พ.ศ.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนทวีวัฒนา

ถนนทวีวัฒนา-กาญจนาภิเษก

นนทวีวัฒนา-กาญจนาภิเษก (Thanon Thawi Watthana - Kanchanaphisek) เป็นเส้นทางการคมนาคมในท้องที่แขวงทวีวัฒนา เขตทวีวัฒนา ทางทิศตะวันตกของกรุงเทพมหานคร แยกจากถนนกาญจนาภิเษก ไปทางทิศตะวันตก ตัดกับถนนพุทธมณฑล สาย 2 ที่ทางแยกสนามกีฬาพาณิชย์ฯ ไปทางทิศเดิม ตัดกับถนนพุทธมณฑล สาย 3 ที่ทางแยกทวีวัฒนา ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้จนถึงหน้าโรงเรียนคลองทวีวัฒนา แยกขวาไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ขนานกับแนวคลองทวีวัฒนา จากนั้นแยกซ้ายไปทางทิศตะวันตก (ก่อนถึงสะพานข้ามคลองบางพรม) ข้ามคลองทวีวัฒนาและบรรจบถนนทวีวัฒนาที่ทางแยกสุภาพบุรุษ โดยมีถนนทวีวัฒนา-พุทธมณฑล สาย 4 ตรงต่อเนื่องไปออกถนนพุทธมณฑล สาย 4 ในท้องที่อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐมได้ ถนนทวีวัฒนา-กาญจนาภิเษกเป็นถนนขนาด 2 ช่องทางจราจร ไม่มีเกาะกลาง เดิมแบ่งออกเป็น 2 ช่วงตามชื่อเรียก ช่วงแรกคือ ถนนสุขาภิบาลบางเชือกหนังกนกวลี ชูชั.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนทวีวัฒนา-กาญจนาภิเษก

ถนนทองหล่อ

นนทองหล่อ หรือ ซอยทองหล่อ ถนนทองหล่อ หรือ ซอยสุขุมวิท 55 หรือที่นิยมเรียกกันว่า ซอยทองหล่อ เป็นเส้นทางจราจรแยกจากถนนสุขุมวิทในเขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร เป็นที่รู้จักทั่วไปว่า เป็นแหล่งรวมร้านอาหารนานาชาติ รวมทั้งศูนย์การค้า ร้านค้าหลายสัญชาติ ร้านค้าแฟชั่น สถานที่ท่องเที่ยวยามค่ำคืน สตูดิโอแต่งงาน และที่พักอาศัยชาวต่างชาติ โดยเฉพาะชาวญี่ปุ่น ชื่อซอยทองหล่อตั้งขึ้นตามชื่อเดิมของ ร.ท.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนทองหล่อ

ถนนทางรถไฟสายเก่าปากน้ำ

นนทางรถไฟสายเก่าปากน้ำ (Thanon Thang Rotfai Sai Kao Paknam) เป็นถนนสายสำคัญสายหนึ่งของกรุงเทพมหานครและจังหวัดสมุทรปราการ เดิมเป็นทางเดินรถไฟสายปากน้ำ ต่อมาเมื่อยกเลิกรถไฟสายปากน้ำแล้วจึงปรับเป็นถนนขนาด 2 ช่องทางจราจรสวนทาง มีจุดเริ่มต้นจากถนนพระรามที่ 4 ในพื้นที่แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร ตัดกับถนนเกษมราษฏร์ แล้วจึงเลียบทางพิเศษเฉลิมมหานคร ตัดกับถนนกล้วยน้ำไทแล้วจึงลอดใต้ทางพิเศษเฉลิมมหานคร จากนั้นจึงข้ามคลองพระโขนงเข้าสู่แขวงพระโขนง เขตคลองเตย ตัดกับซอยสุขุมวิท 50 จากนั้นจึงเข้าพื้นที่แขวงพระโขนงใต้ เขตพระโขนง บริเวณใกล้กับจุดตัดกับถนนอาจณรงค์ซึ่งเป็นถนนเลียบทางรถไฟ แล้วเลียบแม่น้ำเจ้าพระยา ตัดกับซอยสุขุมวิท 62 จากนั้นจึงข้ามคลองบางอ้อเข้าพื้นที่แขวงบางนาเหนือ เขตบางนา ตัดกับถนนสรรพาวุธเข้าพื้นที่แขวงบางนาใต้ จากนั้นจึงเข้าเขตจังหวัดสมุทรปราการ โดยถนนสายนี้ทำหน้าที่แบ่งเขตระหว่างเขตเทศบาลตำบลสำโรงเหนือ อำเภอเมืองสมุทรปราการ กับเขตเทศบาลเมืองปู่เจ้าสมิงพราย อำเภอพระประแดง จากนั้นจึงตัดกับซอยสุขุมวิท 78 (ทางเข้าห้างสรรพสินค้าอิมพิเรียลเวิลด์ สำโรง และโรงพยาบาลสำโรง) แล้วตัดกับถนนปู่เจ้าสมิงพราย สุดท้ายจึงลอดใต้ทางพิเศษสายบางพลี-สุขสวัสดิ์ และไปสิ้นสุดที่ถนนสุขุมวิทกิโลเมตรที่ 22 (บริเวณพิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณ) โดยถนนสายนี้ช่วงตั้งแต่ถนนสุขุมวิทถึงถนนปู่เจ้าสมิงพรายเปิดให้เดินรถขาขึ้นได้ทางเดียว ถนนทางรถไฟสายเก่านี้เดิมเคยเป็น ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3109 ปัจจุบันอยู่ในความรับผิดชอบของกรุงเทพมหานครและกรมทางหลวงชนบท (ช่วงถนนในเขตจังหวัดสมุทรปราการ).

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนทางรถไฟสายเก่าปากน้ำ

ถนนท่าดินแดง

นนท่าดินแดง (Thanon Tha Din Daeng) เป็นถนนสายหนึ่งในพื้นที่เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร มีลักษณะเป็นถนนขนาด 4 ช่องทางจราจร ไม่มีเกาะกลาง เขตถนนกว้าง 22 เมตร ระยะทางยาว 936 เมตร มีจุดเริ่มต้นจากสามเหลี่ยมลาดหญ้าซึ่งเป็นจุดตัดกับถนนลาดหญ้าและถนนอิสรภาพ มุ่งขึ้นไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ข้ามคลองสมเด็จเจ้าพระยาและตัดกับถนนสมเด็จเจ้าพระยาที่ทางแยกท่าดินแดง ไปสิ้นสุดที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณท่าเรือท่าดินแดง ถนนท่าดินแดงเป็น "ถนนสายที่ 9" ในโครงการตัดและขยายถนน 11 สายในจังหวัดธนบุรีและจังหวัดพระนครเพื่อรองรับการก่อสร้างสะพานปฐมบรมราชานุสรณ์ (สะพานพระพุทธยอดฟ้า) เมื่อปี พ.ศ.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนท่าดินแดง

ถนนข้าวสาร

นนข้าวสาร ถนนข้าวสาร (Thanon Khao San) เป็นถนนในท้องที่แขวงตลาดยอด เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร มีระยะทางเริ่มตั้งแต่ถนนจักรพงษ์หน้าวัดชนะสงคราม ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ จนถึงถนนตะนาวใกล้สี่แยกคอกวัว.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนข้าวสาร

ถนนข้าวหลาม (กรุงเทพมหานคร)

นนข้าวหลาม (Thanon Khao Lam) เป็นถนนสายหนึ่งในพื้นที่แขวงตลาดน้อย เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร เป็นถนนสายสั้น ๆ มีจุดเริ่มต้นที่จุดตัดระหว่างถนนเจริญกรุง และถนนทรงวาด (วงเวียนข้าวหลาม) จากนั้นทอดไปข้ามสะพานข้ามคลองผดุงกรุงเกษมไปสิ้นสุดที่ถนนมหาพฤฒาราม ใกล้กับแยกไมตรีจิตต์ ในอดีต พื้นที่บริเวณถนนข้าวหลามนี้เคยเป็นที่ตั้งของโรงชำแหละหมู ที่ถูกส่งมาจากสถานีรถไฟหัวลำโพง จึงมักถูกเรียกว่า "ตรอกโรงหมู" (ปัจจุบัน คือ ซอยสุกร 1 และซอยสุกร 2 สามารถเข้าได้อีกทางจากถนนมิตรภาพไทย-จีน ข้างวัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร) โดยบริเวณนี้ปัจจุบันเป็นแหล่งรวมของร้านอาหารที่หลากหลาย และมีชื่อเสียงโด่งดัง เช่น ข้าวหมูแดง, หมูสะเต๊ะ, โจ๊ก, หอยทอด, ปอเปี๊ยสด, เย็นตาโฟ, ก๋วยเตี๋ยว, บะหมี่และเกี๊ยว, ลูกชิ้นหมูปิ้ง, ไอศครีม เป็นต้น.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนข้าวหลาม (กรุงเทพมหานคร)

ถนนดำรงรักษ์

นนดำรงรักษ์ (Thanon Damrong Rak) หรือ ซอยดำรงรักษ์ เป็นถนนเส้นหนึ่งของเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร เริ่มต้นตั้งแต่ด้านข้างพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ถนนราชดำเนิน เชิงสะพานผ่านฟ้าลีลาศ ในพื้นที่แขวงวัดโสมนัส จากนั้นผ่านหน้าวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร และตัดผ่านถนนจักรพรรดิพงษ์ บริเวณเชิงสะพานนริศดำรัส ที่พื้นที่แขวงบ้านบาตร และไปสิ้นสุดลงที่บริเวณตลาดโบ๊เบ๊ ที่จุดตัดกับถนนกรุงเกษม ในพื้นที่แขวงคลองมหาน.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนดำรงรักษ์

ถนนดินสอ

ลาว่าการกรุงเทพมหานคร ถนนดินสอ (Thanon Dinso) ถนนเส้นหนึ่งในพื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร มีจุดเริ่มต้นที่วงเวียนเสาชิงช้าที่ถนนบำรุงเมือง บริเวณหน้าเทวสถานโบสถ์พราหมณ์ และทอดยาวออกไปยังถนนราชดำเนินกลางผ่านอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ไปสิ้นสุดลงที่แยกสะพานวันชาติ เชิงสะพานเฉลิมวันชาติ โดยเป็นถนนที่เป็นเส้นตรงตลอดทั้งสาย มีความยาวทั้งสิ้น 850 เมตร ถนนดินสอ เป็นถนนที่สร้างขึ้นในรัชสมัยรัชกาลที่ 5 เหตุที่ได้ชื่อว่า "ดินสอ" เนื่องจากแถบนี้ในช่วงกรุงศรีอยุธยา ผู้คนที่อาศัยอยู่ที่นี่มีอาชีพทำดินสอและกระดาษ จนได้ชื่อว่า "ย่านป่าดินสอ" ปรากฏเป็นหลักฐานในเอกสารจากหอหลวง เรื่องคำให้การขุนหลวงวัดประดู่ ความว่า "ย่านป่าดินสอ ริมวัดพระงาม มีร้ายขายดินสอศิลาอ่อนแก่ แลดินสอขาวเหลือง ดินสอดำ ชื่อตลาดบ้านดินสอ" จนล่วงมาถึงยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์ อาชีพทำดินสอของผู้คนแถบนี้ก็ยังคงอยู่ และถูกเรียกว่า "ย่านดินสอ" หรือ "บ้านดินสอ" ต่อมามีการสร้างถนนขึ้นเมื่อปี..

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนดินสอ

ถนนงามวงศ์วาน

นนงามวงศ์วาน ถนนงามวงศ์วาน (Thanon Ngam Wong Wan) เป็นถนนสายหนึ่งในจังหวัดนนทบุรีและกรุงเทพมหานคร มีระยะทางเริ่มจากทางแยกแครายซึ่งเป็นจุดตัดกับถนนติวานนท์และถนนรัตนาธิเบศร์ ในท้องที่ตำบลบางกระสอ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี มุ่งตรงไปทางทิศตะวันออก ผ่านบริเวณปากซอยงามวงศ์วาน 2 (อัคนี) เข้าเขตตำบลบางเขน ตัดกับทางพิเศษศรีรัช (ทางด่วนขั้นที่ 2) ตรงไปทางทิศเดิม ข้ามคลองประปาและตัดกับถนนประชาชื่นเข้าสู่ท้องที่แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร จากนั้นแนวเส้นทางเริ่มโค้งไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ข้ามคลองบางเขนเข้าสู่ท้องที่แขวงลาดยาว เขตจตุจักร ข้ามคลองเปรมประชากร ตัดกับถนนกำแพงเพชร 6 ทางรถไฟสายเหนือ และถนนวิภาวดีรังสิตที่ทางแยกบางเขน ผ่านมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ไปสิ้นสุดที่ทางแยกเกษตรซึ่งเป็นจุดตัดกับถนนพหลโยธิน โดยมีแนวถนนที่ตรงต่อเนื่องไปคือถนนประเสริฐมนูกิจ ถนนงามวงศ์วานเป็นถนนที่กรมทางหลวงตัดขึ้นและตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่นายดำรง งามวงศ์วาน อดีตนายช่างกำกับหมวดนนทบุรี กรมทางหลวง ซึ่งเป็นผู้ควบคุมการก่อสร้างถนนสายนี้ ตามนโยบายของจอมพล ป.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนงามวงศ์วาน

ถนนตก

นนตก (อักษรโรมัน: Thanon Tok) เป็นถนนและทางแยกแห่งหนึ่งของกรุงเทพมหานคร เป็นสี่แยกที่ตัดระหว่างถนนเจริญกรุงกับถนนพระรามที่ 3 และถนนมไหสวรรย์ ถนนตก เป็นส่วนหนึ่งของถนนเจริญกรุง ถือได้ว่าเป็นส่วนปลายสุดของถนนเจริญกรุง โดยเกิดขึ้นมาพร้อมกับถนนเจริญกรุงในปี..

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนตก

ถนนตรีมิตร

นนตรีมิตร (Thanon Tri Mit) ถนนสายหนึ่งในพื้นที่แขวงสัมพันธวงศ์ และแขวงตลาดน้อย เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร เป็นถนนที่มีจุดเริ่มต้นโดยตัดแยกจากถนนทรงวาด บริเวณหน้าวัดปทุมคงคาราชวรวิหาร ไปจรดกับถนนพระราม 4 และถนนเจริญกรุง ที่วงเวียนโอเดียน และทอดผ่านข้างวัดไตรมิตรวิทยาราม ขนานไปกับถนนข้าวหลาม หรือซอยสุกร ในอีกด้าน ไปสิ้นสุดที่แยกไมตรีจิตต์ บริเวณหน้าสถานีรถไฟหัวลำโพง โดยถนนตรีมิตร ช่วงบริเวณวัดไตรมิตรวิทยารามไปสิ้นสุดที่แยกไมตรีจิตต์ มีชื่อว่า ถนนมิตรภาพไทย-จีน โดยเปลี่ยนชื่อถนนเมื่อปี..

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนตรีมิตร

ถนนตรีเพชร

นนตรีเพชร ช่วงแยกเฉลิมกรุง หน้าศาลาเฉลิมกรุง ถนนตรีเพชร (Thanon Tri Phet) เป็นถนนในท้องที่แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เริ่มต้นจากถนนเจริญกรุง (แยกเฉลิมกรุง ตรงข้ามถนนตีทอง) ไปทางทิศใต้ ตัดกับถนนพาหุรัดที่แยกพาหุรัด แล้วตรงไปถึงเชิงสะพานพระพุทธยอดฟ้า ซึ่งถนนจักรเพชรตัดผ่าน ถนนตรีเพชรเป็นถนนที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์แก่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าตรีเพชรุตม์ธำรง พระราชโอรสซึ่งประสูติจากสมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ และสิ้นพระชนม์เมื่อ พ.ศ.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนตรีเพชร

ถนนตะนาว

นนตะนาวช่วงบางลำพู ใกล้ถนนข้าวสาร ถนนตะนาว (Thanon Tanao) เป็นถนนในเขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เริ่มต้นจากถนนบำรุงเมืองที่สี่กั๊กเสาชิงช้า ตรงไปทางทิศเหนือ เป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างแขวงศาลเจ้าพ่อเสือกับแขวงเสาชิงช้า ข้ามคลองหลอดวัดราชนัดดาเข้าสู่ท้องที่แขวงวัดบวรนิเวศ จากนั้นตัดข้ามถนนราชดำเนินกลางที่สี่แยกคอกวัว และเป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างแขวงวัดบวรนิเวศกับแขวงตลาดยอด จนไปจดแยกที่ถนนบวรนิเวศน์ ถนนสิบสามห้าง และถนนตานีบรรจบกัน แต่เดิมถนนตะนาวเป็นส่วนหนึ่งของถนนเฟื่องนครที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนตะนาว

ถนนตีทอง

นนตีทอง (Thanon Ti Thong) เป็นถนนในเขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เริ่มตั้งแต่ถนนบำรุงเมือง (แยกเสาชิงช้า) ท้องที่แขวงวัดราชบพิธ ไปทางทิศใต้ ข้ามคลองหลอดวัดราชบพิธเข้าสู่ท้องที่แขวงวังบูรพาภิรมย์ ไปจนถึงถนนเจริญกรุง (แยกเฉลิมกรุง) ถนนตีทองสร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นถนนสายสั้น ๆ เชื่อมระหว่างถนนเจริญกรุงกับถนนบำรุงเมือง ซึ่งเป็นถนนที่สร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ถนนสายนี้ตัดผ่านย่านของชุมชนที่มีอาชีพทำทองคำเปลว จึงเรียกว่า "ถนนตีทอง" โดยบรรพบุรุษของชาวชุมชนนั้นเป็นชาวลาวที่อพยพมาจากเวียงจันทร์และหลวงพระบาง ตั้งแต่ยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ถนนตีทองมีความยาว 525 เมตร ต้นถนนจดถนนบำรุงเมืองก่อนถึงลานเสาชิงช้า หัวมุมถนนด้านตะวันออกเป็นที่ตั้งของวัดสุทัศนเทพวราราม ฟากตะวันตกของถนนมีซอย ซึ่งยังเหลือชื่อว่าเป็นแหล่งทำทองคือ "ซอยเฟื่องทอง" และปัจจุบันเป็นแหล่งรวมร้านค้าเสื้อผ้าเครื่องแบบและยศประดับของข้าราชการต่าง ๆ โดยเฉพาะทหาร และตำรวจ รวมถึงถ้วยรางวัลต่าง ๆ อีกด้ว.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนตีทอง

ถนนประชาชื่น

นนประชาชื่น (Thanon Pracha Chuen) เป็นถนนที่สร้างเลียบฝั่งตะวันตกของคลองประปาในเขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร, อำเภอเมืองนนทบุรี และอำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี โดยส่วนที่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและส่วนที่ต่อจากเขตกรุงเทพมหานครจนถึงแยกคลองประปา ดูแลโดยสำนักการโยธา กรุงเทพมหานคร.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนประชาชื่น

ถนนประชาอุทิศ (ฝั่งธนบุรี)

นนประชาอุทิศ (Thanon Pracha Uthit) เป็นถนนที่แยกจากถนนสุขสวัสดิ์ที่เขตราษฎร์บูรณะ กรุงเทพมหานคร ตัดผ่านทางพิเศษเฉลิมมหานครในท้องที่เขตราษฎร์บูรณะและถนนกาญจนาภิเษก (ด้านใต้) ในท้องที่เขตทุ่งครุ ตัดผ่านมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี แยกนาหลวง วัดทุ่งครุ ไปบรรจบกับถนนเลียบคลองสรรพสามิตที่อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนประชาอุทิศ (ฝั่งธนบุรี)

ถนนประชาธิปก

นนประชาธิปก ถนนประชาธิปก (Thanon Prajadhipok) เป็นถนนสายสำคัญในพื้นที่เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร โดยมีจุดเริ่มต้นจากวงเวียนใหญ่ ตรงไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือในพื้นที่แขวงหิรัญรูจี ผ่านทางแยกบ้านแขก (ตัดกับถนนอิสรภาพ) และเข้าพื้นที่แขวงวัดกัลยาณ์ ข้ามคลองสมเด็จเจ้าพระยา ผ่านวงเวียนเล็ก (ตัดกับถนนอรุณอมรินทร์และถนนสมเด็จเจ้าพระยา) หลังจากนั้นถนนจะแยกออกเป็นสามทาง ทางแรกมุ่งหน้าข้ามสะพานพระปกเกล้า เชื่อมกับถนนจักรเพชรในพื้นที่แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร และทางที่สองมุ่งหน้าข้ามสะพานปฐมบรมราชานุสรณ์ เชื่อมกับถนนตรีเพชรในพื้นที่แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร และทางที่สามมุ่งวัดประยุรวงศาวาส ไปสิ้นสุดที่ใต้สะพานปฐมบรมราชานุสรณ์ โดยมีแนวถนนที่ต่อเนื่องไปคือถนนพญาไม้ในพื้นที่แขวงสมเด็จเจ้าพระยา เขตคลองสาน ระยะทางจากวงเวียนใหญ่ถึงสะพานพระปกเกล้ายาวประมาณ 900 เมตร และยังเป็นเส้นแบ่งระหว่างเขตธนบุรี (ฝั่งขาเข้าเมือง) กับเขตคลองสาน (ฝั่งขาออกเมือง) อีกด้วย ถนนประชาธิปกเป็น "ถนนสายที่ 1" ในโครงการตัดและขยายถนน 11 สายในจังหวัดธนบุรีและจังหวัดพระนครเพื่อรองรับการก่อสร้างสะพานปฐมบรมราชานุสรณ์ (สะพานพระพุทธยอดฟ้า) เมื่อปี พ.ศ.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนประชาธิปก

ถนนประดิษฐ์มนูธรรม

นนประดิษฐ์มนูธรรม (Thanon Pradit Manutham) เป็นถนนเลียบทางพิเศษฉลองรัช (ทางด่วนสายรามอินทรา-อาจณรงค์หรือทางด่วนหมายเลข 3) เป็นถนนสายหลักสายหนึ่งที่เชื่อมระหว่างในเมืองกับชานเมืองด้านตะวันออกเฉียงเหนือของกรุงเทพมหานคร ชื่อถนน "ประดิษฐ์มนูธรรม" ตั้งตามราชทินนามของ "หลวงประดิษฐ์มนูธรรม" (ปรีดี พนมยงค์) รัฐบุรุษอาวุโส ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในรัชกาลที่ 8 นายกรัฐมนตรีคนที่ 7 หัวหน้าขบวนการเสรีไทย และผู้นำพลเรือนในคณะราษฎร เพื่อสดุดีเกียรติคุณของท่านในฐานะบุคคลสำคัญของชาติและในวาระที่องค์การศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติหรือยูเนสโก ประกาศให้ท่านเป็นบุคคลสำคัญของโลกในปี พ.ศ.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนประดิษฐ์มนูธรรม

ถนนประเสริฐมนูกิจ

นนประเสริฐมนูกิจ หรือ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 351 สายมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์–คันนายาว หรือที่นิยมเรียกกันว่า ถนนเกษตร-นวมินทร์ เป็นเส้นทางจราจรระหว่างท้องที่เขตจตุจักร เขตลาดพร้าว เขตบึงกุ่ม และเขตคันนายาว กรุงเทพมหานคร มีระยะทาง 11.656 กิโลเมตร เริ่มจากบริเวณถนนงามวงศ์วานตัดกับถนนพหลโยธินที่สี่แยกเกษตร เขตจตุจักร เป็นถนนขนาด 8 ช่องทางจราจร มุ่งไปทางทิศตะวันออกในพื้นที่แขวงเสนานิคม ข้ามคลองบางบัวเข้าสู่พื้นที่เขตลาดพร้าวในแขวงจรเข้บัว ตัดกับถนนลาดปลาเค้า จากนั้นมุ่งไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ เข้าสู่แขวงลาดพร้าว ตัดกับถนนสุคนธสวัสดิ์และถนนประดิษฐ์มนูธรรม เข้าสู่พื้นที่แขวงนวมินทร์ เขตบึงกุ่ม ข้ามคลองลำเจียก ตัดกับถนนรัชดา-รามอินทรา ซ้อนกับแนวปากทางถนนนวลจันทร์และข้ามคลองบางขวดก่อนตัดกับถนนนวมินทร์ เข้าพื้นที่แขวงคลองกุ่ม ตรงไปทางทิศเดิม วกขึ้นทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ข้ามคลองบวบขม ข้ามคลองลำปลาดุกเข้าสู่พื้นที่แขวงรามอินทรา เขตคันนายาว และข้ามคลองครุก่อนไปสิ้นสุดที่ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3902 (ถนนคู่ขนานกาญจนาภิเษกด้านใน) ซึ่งในอนาคตอาจมีการก่อสร้างเป็นทางแยกต่างระดับด้ว.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนประเสริฐมนูกิจ

ถนนปั้น

นนปั้น ช่วงหน้าวัดพระศรีมหาอุมาเทวี ถนนปั้น เป็นถนนสายหนึ่งในกรุงเทพมหานคร ในพื้นที่แขวงสีลม เขตบางรัก เป็นถนนสายสั้น ๆ ที่มีความยาวเพียง 480 เมตร เชื่อมระหว่างถนนสีลม กับถนนสาทรเหนือ โดยชื่อ "ถนนปั้น" มาจากชื่อของผู้ที่อุทิศที่ดินยกให้ทางการตัดถนน คือ นางปั้น วัชราภัย ผู้เป็นภริยาของหลวงอุปการโกษากร (เวท วัชราภัย) ตรงหัวมุมถนนปั้นที่ถนนสีลม เป็นที่ตั้งของวัดพระศรีมหาอุมาเทวี (วัดแขกสีลม) ศาสนสถานสำคัญของศาสนาฮินดู จึงทำให้ถนนปั้นมีชื่อเรียกติดปากว่า "ตรอกวัดแขก" หรือ "ซอยวัดแขก" เป็นจุดที่มีจำหน่ายข้าวของตลอดจนเครื่องเซ่นไหว้ต่าง ๆ เช่น ขนมลัฑฑู สำหรับบูชาพระพิฆเนศ เป็นต้น และยังมีร้านอาหารและร้านกาแฟตลอดจนบาร์หรือแกลเลอรีเป็นจำนวนมากอีกด้ว.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนปั้น

ถนนนราธิวาสราชนครินทร์

นนนราธิวาสราชนครินทร์ บริเวณสถานีรถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษ หรือบีอาร์ที ถนนนราธิวาสราชนครินทร์ (Thanon Naradhiwas Rajanagarindra) เป็นเส้นทางการคมนาคมในท้องที่เขตบางรัก เขตสาทร และเขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร ลักษณะเป็นถนนคอนกรีตเสริมเหล็กขนาด 8 ช่องจราจร ความกว้าง 60 เมตร ระยะทาง 5.115 กิโลเมตร เริ่มจากถนนสุรวงศ์ในพื้นที่แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก มุ่งตรงไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้พร้อมกับเลียบคลองช่องนนทรี ตัดกับถนนสีลมเข้าพื้นที่แขวงสีลม ตัดกับถนนสาทรเข้าพื้นที่เขตสาทร โดยฝั่งซอยเลขคี่เป็นท้องที่ของแขวงทุ่งมหาเมฆ ส่วนฝั่งซอยเลขคู่เป็นท้องที่แขวงยานนาวา จนถึงปากซอยนราธิวาสราชนครินทร์ 8 (อาคารสงเคราะห์ 6) จึงเข้าท้องที่แขวงทุ่งวัดดอน ตัดกับถนนจันทน์ เฉพาะฝั่งซอยเลขคู่เข้าสู่ท้องที่แขวงช่องนนทรี เขตยานนาวา ส่วนฝั่งซอยเลขคี่ยังอยู่ในท้องที่แขวงทุ่งมหาเมฆจนกระทั่งตัดกับถนนจันทน์เก่า จากนั้นตัดกับถนนรัชดาภิเษก และไปบรรจบกับถนนพระรามที่ 3 ที่แยกพระรามที่ 3-นราธิวาส (ช่องนนทรี) ถนนนราธิวาสราชนครินทร์ตัดขึ้นตามโครงการก่อสร้างระบบระบายน้ำและถนนเลียบคลองช่องนนทรี ในแผนพัฒนากรุงเทพมหานครฉบับที่ 4 (พ.ศ.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนนราธิวาสราชนครินทร์

ถนนนวมินทร์

นนนวมินทร์ (Thanon Nawamin) เป็นถนนสายหนึ่งในกรุงเทพมหานคร เดิมชื่อว่า ถนนสุขาภิบาล 1 มีความยาวประมาณ 9 กิโลเมตร มีจุดเริ่มต้นที่สี่แยกบางกะปิ ซึ่งเป็นจุดตัดระหว่างถนนลาดพร้าว ถนนเสรีไทย และถนนพ่วงศิริ ในแขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ มีทิศทางมุ่งขึ้นไปทางทิศเหนือ ผ่านพื้นที่เขตบึงกุ่ม ไปสิ้นสุดที่แยกตัดกับถนนรามอินทรา (บริเวณกิโลเมตรที่ 8) ในเขตคันนายาว เดิมถนนนวมินทร์ได้รับการกำหนดให้เป็นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3202 ในความดูแลของกรมทางหลวง ต่อมากรมทางหลวงได้โอนให้สำนักการโยธา กรุงเทพมหานคร เป็นผู้ดูแลตลอดระยะทาง.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนนวมินทร์

ถนนนิมิตใหม่

นนนิมิตใหม่ (Thanon Nimit Mai) เป็นเส้นทางการคมนาคมในพื้นที่เขตมีนบุรี เขตคลองสามวา กรุงเทพมหานคร และอำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนนิมิตใหม่

ถนนนครราชสีมา

นนนครราชสีมา (Thanon Nakhon Ratchasima) เป็นถนนสายหนึ่งในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร มีระยะทางเริ่มตั้งแต่ถนนลูกหลวง (แยกประชาเกษม) ท้องที่แขวงดุสิต ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ตัดกับถนนพิษณุโลก (แยกวังแดง) ถนนศรีอยุธยา (แยกหอประชุมทหารบก) ถนนอู่ทองนอก (แยกอู่ทองนอก) ถนนราชวิถี (แยกการเรือน) และถนนสุโขทัย (แยกสวนรื่นฤดี) ข้ามคลองสามเสนเข้าสู่ท้องที่แขวงถนนนครไชยศรี ไปสิ้นสุดที่ถนนอำนวยสงคราม (แยกร่วมจิตต์) ใกล้ที่ทำการไปรษณีย์ดุสิต ถนนนครราชสีมาเดิมชื่อ "ถนนดวงดาว" เป็นถนนที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น เป็นถนนในโครงการถนนอำเภอดุสิต ซึ่งทรงริเริ่มขึ้นพร้อม ๆ กับการสร้างพระราชวังดุสิตใน พ.ศ.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนนครราชสีมา

ถนนนครสวรรค์

นนนครสวรรค์ (Thanon Nakhon Sawan) เป็นถนนสายหนึ่ง ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร มีจุดเริ่มต้นที่สะพานผ่านฟ้าลีลาศ บริเวณแยกผ่านฟ้าลีลาศจากส่วนปลายของถนนราชดำเนินกลาง ทอดผ่านแยกจักรพรรดิพงษ์ ผ่านแยกเทวกรรมข้ามสะพานเทวกรรมรังรักษ์ พื้นที่เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย และไปสิ้นสุดลงที่แยกนางเลิ้ง จุดตัดกับถนนพิษณุโลก บริเวณหน้าราชตฤณมัยสมาคม หรือสนามม้านางเลิ้ง พื้นที่เขตดุสิต รวมระยะทางทั้งสิ้น 1.31 กิโลเมตร ถนนนครสวรรค์เดิมมีชื่อว่า "ถนนตลาด" สร้างขึ้นมาในรัชสมัยรัชกาลที่ 5 และได้เปลี่ยนชื่อมาเป็นถนนนครสวรรค์ดังในปัจจุบัน ในรัชสมัยรัชกาลที่ 6 เมื่อวันที่ 16 กุมภาพัน..

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนนครสวรรค์

ถนนนครปฐม

นนนครปฐม ถนนนครปฐม (Thanon Nakhon Pathom) เป็นถนนสายหนึ่งในกรุงเทพมหานคร เดิมในสมัยรัชกาลที่ ๕ มีชื่อว่า ถนนฮก ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น "ถนนนครปฐม" เมื่อ..

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนนครปฐม

ถนนนครไชยศรี

นนนครไชยศรี (Thanon Nakhon Chai Si) เป็นถนนสายหนึ่งในกรุงเทพมหานคร มีความยาวประมาณ 2.7 กิโลเมตร เริ่มต้นจากถนนพระรามที่ 6 (ทางแยกโรงกรองน้ำ) ในพื้นที่แขวงพญาไท เขตพญาไท ไปทางทิศตะวันตก ผ่านถนนกำแพงเพชร 5 ถนนเทอดดำริและถนนสวรรคโลก (ทางแยกสามเสน) ผ่านทางรถไฟสายเหนือเข้าพื้นที่แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต ผ่านถนนพระรามที่ 5 (ทางแยกราชวัตร) ถนนพิชัย (ทางแยกพิชัย) ถนนนครราชสีมาและถนนร่วมจิตต์ (ทางแยกร่วมจิตต์) และถนนสามเสน (ทางแยกศรีย่าน) สิ้นสุดที่แม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณท่าเรือพายั.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนนครไชยศรี

ถนนแจ้งวัฒนะ

นนแจ้งวัฒนะ ถนนแจ้งวัฒนะ (Thanon Chaeng Watthana) เป็นถนนสายหนึ่งในอำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี เขตหลักสี่ และเขตบางเขน กรุงเทพมหานคร ตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่นายชลอ แจ้งวัฒนะ อดีตนายช่างกำกับแขวงการทางกรุงเทพที่ 2 กรมทางหลวง ซึ่งเป็นนายช่างที่ควบคุมการก่อสร้างถนนสายนี้ - ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 67 ตอน 67 ง, 12 ธันวาคม..

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนแจ้งวัฒนะ

ถนนแปลงนาม

นนแปลงนาม (Thanon Plaeng Nam) เดิมมีชื่อว่า "ตรอกป่าช้าหมาเน่า" เป็นถนนสายหนึ่งในกรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่ในย่านเยาวราช ในท้องที่แขวงสัมพันธวงศ์ เขตสัมพันธวงศ์ เป็นถนนเส้นสั้น ๆ ระยะประมาณ 100 เมตร เชื่อมระหว่างถนนเจริญกรุงและถนนเยาวราช อยู่ตรงข้ามกับถนนพลับพลาไชย และอยู่ใกล้กับถนนผดุงด้าว หรือซอยเท็กซัส โดยอยู่ก่อนถึงแยกหมอมีจากถนนเจริญกรุง สาเหตุที่เรียกว่า ตรอกป่าช้าหมาเน่า ก็เนื่องมาจาก ในอดีตพื้นที่ของตรอกนี้คือจุดทิ้งขยะของย่านเยาวราช ใครที่ผ่านตรอกนี้ก็จะพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า เหม็นเหมือนกลิ่นหมาเน่าหรือซากศพเน่า ต่อมาได้มีการตัดถนนเยาวราช ทางการได้เข้าปรับปรุงเปลี่ยนแปลงและกำจัดขยะออกไป และเปลี่ยนชื่อให้เป็นมงคลเป็น ซอยแปลงนาม และปรับปรุงขยายเป็นถนนในเวลาต่อมา บริเวณถนนแปลงนามนี้มีชาวไทยเชื้อสายจีนอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก และเป็นย่านการค้า ซึ่งในถนนแปลงนามนี้มีของต่าง ๆ ที่ขึ้นชื่อมากมาย เช่น เครื่องดนตรีจีน, ตะเกียงเจ้าพายุและของเก่า, เครื่องครัวจีน ในส่วนของร้านอาหารมีหลายอย่างที่หลากหลาย เช่น รังนกและหูฉลาม, หมูสะเต๊ะ, ข้าวต้มและอาหารตามสั่ง, ข้าวหมูแดง, ขนมจีบ, พระรามลงสรง และเป็นที่ตั้งของวัดมงคลสมาคม (อักษรเวียดนาม: Chùa Hội Khánh; 會慶寺) ศาสนสถานในพุทธศาสนาแบบอนัมนิก.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนแปลงนาม

ถนนเชียงใหม่

นนเชียงใหม่ (Thanon Chiang Mai) เป็นถนนสายหนึ่งในพื้นที่แขวงคลองสาน เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร มีลักษณะเป็นถนนคอนกรีตเสริมเหล็กขนาด 2 ช่องทางจราจร ไม่มีเกาะกลาง เขตถนนกว้าง 16 เมตร ระยะทางยาว 400 เมตร มีจุดเริ่มต้นจากถนนสมเด็จเจ้าพระยาฝั่งตรงข้ามสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา มุ่งไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ไปสิ้นสุดที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณท่าเรือวัดทองธรรมชาติ ถนนเชียงใหม่เป็น "ถนนสายที่ 10" ในโครงการตัดและขยายถนน 11 สายในจังหวัดธนบุรีและจังหวัดพระนครเพื่อรองรับการก่อสร้างสะพานปฐมบรมราชานุสรณ์ (สะพานพระพุทธยอดฟ้า) เมื่อปี พ.ศ.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนเชียงใหม่

ถนนเฟื่องนคร

นนเฟื่องนคร (Thanon Fueang Nakhon) เป็นถนนในเขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เริ่มต้นจากถนนบำรุงเมือง (สี่กั๊กเสาชิงช้า) ในท้องที่แขวงวัดราชบพิธ ไปทางทิศใต้ ข้ามคลองหลอดวัดราชบพิธ เข้าสู่ท้องที่แขวงวังบูรพาภิรมย์ จนถึงถนนเจริญกรุง (สี่กั๊กพระยาศรี) รวมระยะทางประมาณ 0.5 กิโลเมตร ถนนเฟื่องนครเป็นถนนที่สร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นถนนรุ่นแรกที่ใช้เทคนิคการสร้างตามแบบตะวันตก โดยเริ่มตั้งแต่กำแพงเมืองด้านใต้ คือใต้ปากคลองตลาด ผ่านบ้านหม้อ บ้านญวนตัดกับถนนเจริญกรุงเป็นสี่แพร่งหรือสี่กั๊กพระยาศรี และตัดกับถนนบำรุงเมืองเป็นสี่แพร่งหรือสี่กั๊กเสาชิงช้า ผ่านวัดมหรรณพาราม โรงเลี้ยงวัวหลวง หรือบ้านท้าวประดู่ในวรรณกรรมระเด่นลันได ซึ่งปัจจุบันนี้คือ สี่แยกคอกวัว สวนหลวง ไปจนถึงกำแพงเมืองด้านเหนือที่ข้างวัดบวรนิเวศวิหาร โดยเริ่มทำพร้อมถนนบำรุงเมืองใน พ.ศ.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนเฟื่องนคร

ถนนเพชรบุรี

นนเพชรบุรีช่วงแยกประตูน้ำบริเวณหน้าห้างแพลทินัมแฟชันมอลล์ ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ ช่วงหน้าโรงเรียนเซนต์ดอมินิก ถนนเพชรบุรี (Thanon Phetchaburi) เป็นเส้นทางจราจรสำคัญสายหนึ่งในกรุงเทพมหานคร.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนเพชรบุรี

ถนนเพชรเกษม

นนเพชรเกษม (Thanon Phet Kasem) ซึ่งมีระยะทางส่วนใหญ่เป็น ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 สายกรุงเทพมหานคร–จุดผ่านแดนถาวรสะเดา (เขตแดนไทย/มาเลเซีย) เป็นทางหลวงแผ่นดินสายประธานของประเทศไทย ที่มีเส้นทางมุ่งสู่ภาคใต้ของประเทศไทย มีระยะทาง 1277.512 กิโลเมตร นับเป็นทางหลวงหรือถนนสายที่ยาวที่สุดในประเทศไทย ถนนเพชรเกษมมีเส้นทางเริ่มต้นที่สะพานเนาวจำเนียร (ข้ามคลองบางกอกใหญ่) ตั้งอยู่บนเส้นแบ่งการปกครองระหว่างเขตบางกอกใหญ่กับเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร สิ้นสุดที่จุดผ่านแดนถาวรสะเดา อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา บริเวณเขตแดนประเทศไทยกับประเทศมาเลเซีย เชื่อมต่อกับทางด่วนเหนือ–ใต้ สายเหนือ ที่เมืองบูกิตกายูฮีตัม รัฐเกดะห์ ประเทศมาเลเซีย บางช่วงของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 เป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงเอเชียสาย 2 และทางหลวงเอเชียสาย 123.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนเพชรเกษม

ถนนเพลินจิต

นนเพลินจิต ถนนเพลินจิต (Thanon Phloen Chit) เป็นถนนในท้องที่แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร เป็นถนนสายสั้น ๆ มีระยะทางตั้งแต่ถนนราชดำริ (สี่แยกราชประสงค์) โดยต่อเนื่องจากถนนพระรามที่ 1 ตัดกับถนนชิดลม (สี่แยกชิดลม) และถนนวิทยุ (สี่แยกเพลินจิต) ไปจนถึงทางรถไฟเก่าสายช่องนนทรี ซึ่งจากทางรถไฟสายนี้ไปจะเป็นถนนสุขุมวิท ถนนเพลินจิตสร้างขึ้นใน พ.ศ.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนเพลินจิต

ถนนเยาวราช

รรยายกาศของเยาวราชยามค่ำคืนและร้านอาหารริมทาง ถนนเยาวราช (Thanon Yaowarat; 耀華力路) เป็นถนนสายหนึ่งในกรุงเทพมหานคร ระยะทางความยาวตลอดเส้นทางประมาณ 1.5 กิโลเมตร ได้รับการกล่าวขานและขนานนามว่าเป็น "ถนนมังกร" โดยมีจุดเริ่มต้นของหัวมังกรที่ซุ้มประตูเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษาบริเวณวงเวียนโอเดียน ท้องมังกรอยู่ที่บริเวณตลาดเก่าเยาวราชและสิ้นสุดปลายหางมังกรที่บริเวณปลายสุดของถนน สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ใช้ระยะเวลาในการตัดถนน 8 ปี ตั้งแต่ ปี พ.ศ.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนเยาวราช

ถนนเสรีไทย

นนเสรีไทย (Thanon Seri Thai) เริ่มตั้งแต่เขตบางกะปิ ผ่านเขตบึงกุ่ม เขตคันนายาว ไปสิ้นสุดที่เขตมีนบุรี ในกรุงเทพมหานคร เดิมอยู่ในความดูแลของแขวงการทางกรุงเทพ กรมทางหลวง และได้รับการกำหนดเป็น ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3278 ปัจจุบันอยู่ในความดูแลของกรุงเทพมหานคร ถนนสายนี้มีความยาวประมาณ 9 กิโลเมตร มีจุดเริ่มต้นที่แยกบางกะปิ ปลายถนนลาดพร้าวในเขตบางกะปิ ซึ่งเป็นจุดตัดกับถนนนวมินทร์และถนนพ่วงศิริ โดยมีทิศทางมุ่งไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ตัดกับถนนศรีบูรพาที่แยกนิด้า ผ่านเขตบึงกุ่ม ตัดกับถนนกาญจนาภิเษก (ด้านตะวันออก) ถนนสวนสยาม และตัดกับถนนมีนพัฒนาที่แยกบางชัน ไปสิ้นสุดที่แยกเมืองมีน ซึ่งเป็นจุดตัดกับถนนรามอินทรา ถนนสุวินทวงศ์ และถนนสีหบุรานุกิจในเขตมีนบุรี.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนเสรีไทย

ถนนเสือป่า

นนเสือป่า (Thanon Sueapa) เป็นถนนในท้องที่แขวงป้อมปราบ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร โดยแยกจากถนนเจริญกรุงที่แยกเสือป่าไปออกถนนหลวงที่แยกโรงพยาบาลกลาง ถนนเสือป่าสร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อ พ.ศ.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนเสือป่า

ถนนเอกชัย

นนเอกชัย (Thanon Ekkachai) ซึ่งมีระยะทางส่วนใหญ่เป็น ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3242 สายต่อทางขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสาคร - ต่อทางของกรุงเทพมหานคร เป็นเส้นทางเชื่อมต่อระหว่างกรุงเทพมหานครกับจังหวัดสมุทรสาคร เริ่มต้นจากถนนจอมทองบริเวณสะพานคลองด่านในพื้นที่เขตจอมทอง ผ่านถนนกำนันแม้น ข้ามคลองวัดสิงห์เข้าพื้นที่เขตบางบอน จากนั้นตัดกับถนนบางบอน 1 ถนนบางขุนเทียน ถนนกาญจนาภิเษก ถนนบางบอน 3 และถนนบางบอน 5 ผ่านโรงเรียนศึกษานารีวิทยา เข้าเขตอำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร ผ่านวัดโพธิ์แจ้ ถนนเทพกาญจนา ถนนเลียบคลองสี่วาพาสวัสดิ์ ข้ามสะพานตัดกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 35 บริเวณมหาชัยเมืองใหม่ เข้าสู่เขตเทศบาลนครสมุทรสาคร ผ่านถนนเศรษฐกิจ 1 สิ้นสุดที่ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 35 กิโลเมตรที่ 30 ระยะทางจากถนนบางขุนเทียนประมาณ 23 กิโลเมตร ถนนเอกชัยนับตั้งแต่กิโลเมตรที่ 0 ถึงกิโลเมตรที่ 1+191 มีองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสาครเป็นผู้ดูแล นับตั้งแต่กิโลเมตรที่ 1+191 ถึงกิโลเมตรที่ 13+746 อยู่ในความดูแลของหมวดทางหลวงสมุทรสาครที่ 2 แขวงทางหลวงสมุทรสาคร ต่อจากนั้นตั้งแต่กิโลเมตรที่ 13+746 ถึงกิโลเมตรที่ 19+650 อยู่ในความดูแลของหมวดทางหลวงบางขุนเทียน แขวงทางหลวงธนบุรี ก่อนเส้นทางที่เหลือจนถึงถนนจอมทองจะอยู่ในความดูแลของกรุงเทพมหานคร.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนเอกชัย

ถนนเจริญกรุง

นนเจริญกรุงในสมัยรัชกาลที่ 5 ถนนเจริญกรุงในกลางปี พ.ศ. 2559 ช่วงเชิงสะพานพิทยเสถียร (สะพานเหล็กล่าง) ย่านตลาดน้อย เขตสัมพันธวงศ์ ถนนเจริญกรุง (Thanon Charoen Krung) ถนนสายสำคัญสายหนึ่งในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เริ่มต้นตั้งแต่ถนนสนามไชยบริเวณวงเวียน รด.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนเจริญกรุง

ถนนเจริญรัถ

นนเจริญรัถ (Thanon Charoen Rat) ถนนสายหนึ่งในกรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่ในพื้นที่แขวงคลองสาน และแขวงคลองต้นไทร เขตคลองสาน ในฝั่งธนบุรี เดิมเคยเป็นทางรถไฟสายแม่กลองมาก่อน โดยเป็นส่วนต้นของทางรถไฟสายนี้ ที่วิ่งจากสถานีวงเวียนใหญ่ ไปยังสถานีปลายทาง คือ สถานีปากคลองสาน แต่ในรัฐบาลที่มีจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรีได้ยกเลิกทางรถไฟส่วนนี้และยกเลิกสถานีปากคลองสาน และถมที่สร้างเป็นถนนแทน ถนนเจริญรัถ เป็นถนนที่มีลักษณะเป็นซอย เชื่อมระหว่างถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน ด้านวงเวียนใหญ่ กับถนนเจริญนคร ในช่วงต้นถนน ในฝั่งถนนด้านวงเวียนใหญ่ เป็นตลาดวงเวียนใหญ่ เป็นตลาดสดที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในฝั่งธนบุรี และกรุงเทพมหานคร นอกจากนี้แล้วช่วงถัดไป ยังเป็นแหล่งรวมร้านค้าที่ขายสินค้าเกี่ยวกับวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ทำเครื่องหนังและกระเป๋าไว้เป็นจำนวนมาก ทั้งค้าปลีกและค้าส่ง นับเป็นแหล่งรวมร้านค้าประเภทนี้ที่ขึ้นชื่อ ถนนเจริญรัถไปสิ้นสุดที่แยกเจริญนคร ที่เป็นจุดตัดกับถนนเจริญนคร ซึ่งบริเวณนี้เป็นท่าคลองสาน ท่าเรือข้ามฟากที่ข้ามไปยังท่าสี่พระยา ในฝั่งพระนครได้ ซึ่งอยู่ใกล้กับริเวอร์ซิตี้และโรงแรมรอยัลออร์คิดเชอราตัน และสามารถเชื่อมต่อไปยังย่านตลาดน้อย และตรอกกัปตันบุช (ซอยเจริญกรุง 30) อันเป็นย่านเก่าแก่ที่อยู่ใกล้เคียงได้ รถโดยสารประจำทางสาย 57 เป็นเพียงสายเดียวที่วิ่งผ่านถนนเจริญรัถตลอดทั้ง.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนเจริญรัถ

ถนนเจริญราษฎร์

นนเจริญราษฎร์ (Thanon Charoen Rat) เป็นเส้นทางการคมนาคมในพื้นที่เขตสาทรและเขตบางคอแหลม กรุงเทพมหานคร โดยเริ่มต้นจากถนนสาทรใต้ที่แยกสาทร-สุรศักดิ์ในพื้นที่แขวงยานนาวา เขตสาทร แล้วเลียบใต้ทางพิเศษศรีรัชไปทางทิศใต้ เข้าพื้นที่แขวงทุ่งวัดดอน ก่อนตัดกับถนนจันทน์ที่แยกเจริญราษฎร์-จันทน์ จากนั้นจึงแยกออกจากแนวทางพิเศษ เข้าพื้นที่แขวงบางโคล่ เขตบางคอแหลม แล้วมุ่งไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ จนกระทั่งบรรจบกับถนนพระรามที่ 3 ที่แยกเจริญราษฎร์ (ระหว่างคลองบางโคล่กลางกับคลองบางโคล่สาร) ระยะทางรวมประมาณ 3.5 กิโลเมตร ถนนเจริญราษฎร์ตัดขึ้นตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่แขวงยานนาวา แขวงทุ่งวัดดอน และแขวงบางโคล่ เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร พ.ศ.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนเจริญราษฎร์

ถนนเจริญนคร

นนเจริญนคร (Thanon Charoen Nakhon) เป็นถนนสายสำคัญสายหนึ่งทางฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานคร มีความยาวประมาณ 4,900 เมตร จุดเริ่มต้นของถนนอยู่ที่ทางแยกคลองสานในพื้นที่แขวงคลองสาน เขตคลองสาน เลียบแม่น้ำเจ้าพระยาไปทางทิศใต้ ข้ามสะพานเจริญนคร 1 (คลองสาน) ตัดกับถนนเจริญรัถและเข้าพื้นที่แขวงคลองต้นไทร ข้ามสะพานเจริญนคร 2 (คลองวัดทองเพลง) ตัดกับถนนกรุงธนบุรีที่ทางแยกกรุงธนบุรี (เหนือและใต้) เลียบแม่น้ำไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ข้ามสะพานเจริญนคร 3 (คลองต้นไทร) และเข้าพื้นที่แขวงบางลำภูล่าง ข้ามสะพานเจริญนคร 4 (คลองบางลำภูล่าง) ข้ามสะพานเจริญนคร 5 (คลองบางไส้ไก่) และเข้าพื้นที่แขวงสำเหร่ เขตธนบุรี ข้ามสะพานเจริญนคร 6 (คลองสำเหร่) และสะพานเจริญนคร 7 (คลองบางน้ำชน) ตัดกับถนนมไหสวรรย์ที่ทางแยกบุคคโลและเข้าพื้นที่แขวงดาวคะนอง เมื่อผ่านปากซอยเจริญนคร 72 จะโค้งไปทางทิศใต้ ไปสิ้นสุดที่สะพานเจริญนคร 8 (คลองดาวคะนอง) โดยมีแนวถนนที่ตรงต่อเนื่องไปคือถนนราษฎร์บูรณะในพื้นที่เขตราษฎร์บูรณะ ถนนเจริญนครตัดขึ้นในราวปี พ.ศ.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนเจริญนคร

ถนนเจ้าฟ้า

นนเจ้าฟ้า (Thanon Chao Fa) เป็นถนนสายสั้น ๆ สายหนึ่ง ในแขวงชนะสงคราม เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร มีจุดเริ่มต้นที่ถนนพระอาทิตย์ ริมแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณเชิงสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้าและท่าช้างวังหน้า ทอดผ่านตรอกโรงไหม, ซอยรามบุตรี และไปสิ้นสุดที่บริเวณจุดตัดกับถนนจักรพงษ์, ถนนสมเด็จพระปิ่นเกล้า และถนนราชดำเนินกลาง รวมระยะทาง 570 เมตร โดยชื่อถนนนั้นมาจากพระนามพระอิสริยยศ ของพระเจ้าราชวรวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอิศราพงศ์ พระโอรสในสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ กับพระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดาราวดี เนื่องจากในยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์ บริเวณท่าช้าง หรือวังหน้า อันเป็นจุดเริ่มต้นของถนน เคยเป็นที่ตั้งวังประทับของพระองค์มาก่อน.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนเจ้าฟ้า

ถนนเจ้าคำรบ

นนเจ้าคำรบ (Thanon Chao Khamrop) เป็นถนนสายหนึ่งในพื้นที่แขวงป้อมปราบ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร เป็นถนนสายสั้น ๆ ลักษณะเป็นซอย ในย่านเยาวราช มีจุดเริ่มต้นที่บริเวณหน้าศาลเจ้าไต้ฮงกง ตรงข้ามกับมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง โดยเป็นถนนที่ตัดแยกจากถนนพลับพลาไชย ทอดผ่านถนนมังกร จากนั้นตัดกับถนนเสือป่าบริเวณใกล้กับแยกเสือป่า และทอดผ่านจุดตัดกับถนนศรีธรรมาธิราช และทอดผ่านจุดตัดกับถนนมหาจักร ในย่านคลองถม ไปสิ้นสุดที่ถนนวรจักร ด้านตรงข้ามกับวัดพระพิเรนทร์ ถนนเจ้าคำรบ เกิดขึ้นในรัชสมัยรัชกาลที่ 6 เมื่อ..

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนเจ้าคำรบ

ถนนเจ้าคุณทหาร

นนเจ้าคุณทหาร (Thanon Chao Khun Thahan) เป็นถนนที่เชื่อมระหว่างถนนร่มเกล้ากับถนนฉลองกรุง ในพื้นที่แขวงคลองสามประเวศและแขวงลำปลาทิว เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร ระยะทางประมาณ 4 กิโลเมตร ตลอดระยะถนนเจ้าคุณทหารมีถนนที่สำคัญตัดผ่านดังนี้.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนเจ้าคุณทหาร

ถนนเทพรักษ์

นนเทพรักษ์ (Thanon Thep Rak) เป็นถนนสายหนึ่งในท้องที่เขตบางเขนและเขตสายไหม ทางตอนเหนือของกรุงเทพมหานคร.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนเทพรักษ์

ถนนเทพรัตน

นนเทพรัตน (Thanon Debaratana) หรือ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 34 สายบางนา–หนองไม้แดง เป็นทางหลวงแผ่นดินแนวตะวันตก–ตะวันออก แยกออกมาจากถนนสุขุมวิท ในเขตบางนา กรุงเทพมหานคร แล้วไปบรรจบถนนสุขุมวิทที่ทางแยกต่างระดับหนองไม้แดง ในท้องที่อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนเทพรัตน

ถนนเทอดไท

นนเทอดไทช่วงตลาดพลู ถนนเทอดไท (Thanon Thoet Thai) เป็นถนนสายหนึ่งในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เป็นถนนในฝั่งธนบุรี ตัดผ่านตั้งแต่เขตธนบุรี, เขตจอมทอง, เขตภาษีเจริญ ไปสิ้นสุดที่เขตบางแค ถนนเทอดไทจัดเป็นถนนสายรอง บางส่วนเดิมมีชื่อว่า "ถนนพัฒนาการ" เป็นถนนที่มีจุดเริ่มต้นที่แยกบางยี่เรือ จุดตัดกับถนนอินทรพิทักษ์ ในเขตธนบุรี ไปสิ้นสุดลงที่แยกพัฒนาการ จุดตัดกับถนนบางแค ในเขตบางแ.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนเทอดไท

ถนนเดโช

นนเดโช (Thanon Decho) เป็นถนนที่อยู่ในพื้นที่แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร เป็นถนนสั้น ๆ ในลักษณะเป็นซอยเชื่อมระหว่างถนนสุรวงศ์กับถนนสีลม ที่แยกเดโช เป็นถนนที่เกิดขึ้นโดยเจ้าพระยาสุรวงศ์วัฒนศักดิ์ (โต บุนนาค) เป็นผู้จัดซื้อที่ดินและตัดถนนขึ้นสองสาย และท่านผู้หญิงตลับสีหราชเดโช ผู้เป็นภรรยาได้ขอพระราชทานชื่อจากสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ขณะที่ทรงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ พระองค์พระราชทานชื่อว่า ถนนเดโช ตามบรรดาศักดิ์ที่เจ้าพระยาสุรวงศ์วัฒนศักดิ์ดำรงอยู่ในขณะนั้น คือ พระยาสีหราชเดโชชัย พร้อมกับถนนสุรวงศ์ และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวยังทรงรับถนนทั้งสองสายนี้เป็นถนนหลวงด้วย ในปัจจุบันบริเวณถนนเดโชเป็นถนนที่เต็มไปด้วยตึกรามของกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่จำนวนมาก เช่นเดียวกับ ถนนสีลมที่อยู่ใกล้เคียง.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนเดโช

ถนนเฉลิมพระเกียรติ ร.9

นนเฉลิมพระเกียรติ ร.9 ถนนเฉลิมพระเกียรติ ร.9 (Thanon Chaloem Phra Kiat Ratchakan Thi 9) เป็นถนนสายสำคัญของเขตประเวศ กรุงเทพมหานคร เดิมมีชื่อเรียกว่าซอยสุขุมวิท 103 (อุดมสุข) และถนนสุขาภิบาล 1 แต่ทางกรุงเทพมหานครได้เปลี่ยนชื่อเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ประกอบกับมีสวนหลวง ร.9 ตั้งอยู่บริเวณถนนสายนี้ ถนนเฉลิมพระเกียรติ ร.9 มีระยะทางประมาณ 9.8 กิโลเมตร เป็นถนนขนาด 2-6 ช่องทางจราจร เริ่มตั้งแต่แยกศรีอุดม (จุดตัดระหว่างถนนศรีนครินทร์กับถนนอุดมสุข) ในพื้นที่แขวงหนองบอน ไปทางทิศตะวันออก เมื่อถึงปากซอยเฉลิมพระเกียรติ ร.9 ซอย 18 จึงวกขึ้นไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ผ่านสวนหลวง ร.9 จากนั้นข้ามคลองปลัดเปรียงเข้าพื้นที่แขวงดอกไม้ ตัดกับถนนพัฒนาการแล้วโค้งไปทางทิศตะวันออกและทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ข้ามคลองสองห้องเข้าพื้นที่แขวงประเวศ ไปทางทิศเดิม จนกระทั่งถึงปากซอยเฉลิมพระเกียรติ ร.9 ซอย 81 จึงตรงไปทางทิศเหนือ ตัดกับถนนอ่อนนุชที่แยกประเวศ และตรงไปทางทิศเดิมจนสุดถนนที่ทางรถไฟสายตะวันออก.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและถนนเฉลิมพระเกียรติ ร.9

ทางพิเศษศรีรัช

ทางพิเศษศรีรัช หรือ ระบบทางด่วนขั้นที่ 2 (ส่วนในเมือง) เป็นทางพิเศษในกรุงเทพมหานคร ก่อสร้างและเปิดให้บริการเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 2 กันยายน..

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและทางพิเศษศรีรัช

ทางรถไฟสายแม่กลอง

ทางรถไฟสายแม่กลอง เป็นทางรถไฟที่เดินรถจากฝั่งธนบุรี ผ่านจังหวัดสมุทรสาคร สิ้นสุดที่จังหวัดสมุทรสงคราม ตั้งแต่ พ.ศ.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและทางรถไฟสายแม่กลอง

ทางรถไฟสายใต้

ทางรถไฟสายใต้ เป็นทางรถไฟที่เริ่มต้นจากสถานีรถไฟธนบุรี กรุงเทพมหานคร ผ่านจังหวัดนครปฐม, ราชบุรี, เพชรบุรี, ประจวบคีรีขันธ์, ชุมพร, สุราษฎร์ธานี, นครศรีธรรมราช, พัทลุง, สงขลา, ปัตตานี, ยะลา และไปสุดปลายทางที่สถานีรถไฟสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส และไปบรรจบกับทางรถไฟของประเทศมาเลเซีย ที่สถานีรถไฟรันเตาปันจาง ทางรถไฟสายใต้สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจากสถานีรถไฟธนบุรีถึงสถานีรถไฟเพชรบุรี ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ขยายเส้นทางไปภาคใต้และสร้างทางแยกที่สถานีรถไฟชุมทางบางซื่อ ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาที่สะพานพระรามหกไปบรรจบกันที่สถานีรถไฟชุมทางตลิ่งชัน เพื่อเชื่อมทางรถไฟสายใต้กับทางรถไฟสายเหนือ ทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ และสถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) ความยาวของทางรถไฟสายใต้ นับจากสถานีรถไฟธนบุรี ถึง ชายแดนไทย-มาเลเซีย ที่อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส รวมทั้งสิ้น 1,144.29 กิโลเมตร เป็นทางรถไฟสายที่ยาวที่สุดในประเทศไท.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและทางรถไฟสายใต้

ทางรถไฟสายเหนือ

ทางรถไฟสายเหนือ หรือ ทางรถไฟสายชุมทางบ้านภาชี–เชียงใหม่ แยกออกจากทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือที่สถานีรถไฟชุมทางบ้านภาชี ผ่านจังหวัดลพบุรี จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดพิจิตร จังหวัดพิษณุโลก จังหวัดอุตรดิตถ์ จังหวัดแพร่ (อำเภอเด่นชัย อำเภอลอง) จังหวัดลำปาง จังหวัดลำพูน และสุดปลายทางที่สถานีรถไฟเชียงใหม่ ตำบลวัดเกต อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ รวมระยะทาง 751 กิโลเมตร และที่สถานีรถไฟชุมทางบ้านดารา จะมีทางแยกไปยังสถานีรถไฟสวรรคโลก อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย รวมระยะทาง 457 กิโลเมตร (นับตั้งแต่สถานีรถไฟกรุงเทพ).

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและทางรถไฟสายเหนือ

ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7

ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 สายกรุงเทพมหานคร−บ้านฉาง เป็นทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองสายแรกของประเทศไทย มีระยะทางยาว 125.865 กิโลเมตร ทางสายนี้เป็นโครงข่ายทางหลวงที่มีความสำคัญในการพัฒนาเส้นทางคมนาคมขนส่งกับพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก แก้ไขปัญหาการจราจรติดขัดคับคั่งในถนนสุขุมวิท และถนนเทพรัตน และเป็นทางเชื่อมเข้าสู่ท่าอากาศยานสากลแห่งใหม่ คือ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ถนนสายนี้ได้รับการกำหนดให้เป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงเอเชียสาย 19 และทางหลวงเอเชียสาย 123 ปัจจุบันทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 มีเส้นทางตั้งแต่กรุงเทพมหานครไปถึงแค่เพียงเมืองพัทยาเท่านั้น ซึ่งเส้นทางไปยังอำเภอบ้านฉางอยู่ในระหว่างการก่อสร้าง นอกจากนี้ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 ในปัจจุบัน ยังถูกกำหนดในเส้นทางอื่นอีก ได้แก่ ทางแยกไปบรรจบถนนเทพรัตน, ทางแยกเข้าชลบุรี, ทางแยกเข้าท่าเรือแหลมฉบัง และทางแยกเข้าพัทยา รวมถึงทางแยกไปบรรจบทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3 (บ้านอำเภอ) ซึ่งอยู่ในระหว่างการก่อสร้าง.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและทางหลวงพิเศษหมายเลข 7

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 304

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 304 สายปากเกร็ด–สะพานต่างระดับนครราชสีมา เป็นทางหลวงแผ่นดินสายรองประธานที่เชื่อมระหว่างจังหวัดนนทบุรี กรุงเทพมหานคร จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดปราจีนบุรี และจังหวัดนครราชสีมา มีจุดเริ่มต้นบนถนนติวานนท์ (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 306) ที่ห้าแยกปากเกร็ด ในอำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี และสิ้นสุดบนถนนมิตรภาพ กับทางเลี่ยงเมืองนครราชสีมาด้านตะวันตก (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 204) ที่ทางแยกต่างระดับนครราชสีมา ในอำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา ระยะทางทั้งสิ้น 298.515 กิโลเมตร อยู่ในความรับผิดชอบของกรมทางหลวง 296.707 กิโลเมตร.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 304

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 306

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 306 สายพระราม 7–บางพูน เป็นทางหลวงแผ่นดินที่ก่อสร้างเลียบแม่น้ำเจ้าพระยาทางฝั่งตะวันออก โดยเริ่มต้นตั้งแต่ในเขตกรุงเทพมหานคร บริเวณหน้ามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ เข้าเขตจังหวัดนนทบุรี ผ่านท้องที่อำเภอเมืองนนทบุรีและอำเภอปากเกร็ด เข้าสู่เขตจังหวัดปทุมธานี มีขนาด 6 ช่องจราจรตลอดเส้นทาง.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 306

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3256

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3256 สายบางปู - กิ่งแก้ว แบ่งออกเป็น 2 ช่วง มีระยะทางรวมทั้งหมดประมาณ 24 กิโลเมตร อยู่ในความรับผิดชอบของแขวงการทางสมุทรปราการ สังกัดกรมทางหลวง.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3256

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 350

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 350 สายรัชดาภิเษก–รามอินทรา เป็นเส้นทางการจราจรในเขตกรุงเทพมหานคร มีจุดเริ่มต้นโครงการจากถนนรัชดาภิเษก ใกล้กับมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษมในท้องที่แขวงจันทรเกษม เขตจตุจักร ไปตัดกับถนนโชคชัย 4 ถนนประดิษฐ์มนูธรรม ถนนประเสริฐมนูกิจ ถนนนวมินทร์ ถนนกาญจนาภิเษก และไปสิ้นสุดที่ถนนรามอินทราในท้องที่แขวงคันนายาว เขตคันนายาว (แต่ในปัจจุบันได้ก่อสร้างเพียงช่วงถนนประเสริฐมนูกิจถึงถนนรามอินทราเท่านั้น) โดยก่อสร้างตั้งแต่ปี..

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 350

ทางแยกต่างระดับรัชวิภา

ทางแยกต่างระดับรัชวิภา (Ratchawipha Interchange) เป็นชุมทางต่างระดับบริเวณ ถนนวิภาวดีรังสิต ถนนรัชดาภิเษก และถนนกำแพงเพชร 2 ในเขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและทางแยกต่างระดับรัชวิภา

ทางแยกต่างระดับศรีนครินทร์

ทางแยกต่างระดับศรีนครินทร์ (Srinagarindra Interchange) เป็นทางแยกต่างระดับแห่งหนึ่งในพื้นที่เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร เป็นจุดตัดระหว่างถนนศรีนครินทร์ ถนนพระราม 9 และทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 และนอกจากนี้ ทางแยกต่างระดับศรีนครินทร์เป็นทางแยกต่างระดับรูปดอกจิก (Cloverleaf) อีกแห่งหนึ่งในประเทศไท.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและทางแยกต่างระดับศรีนครินทร์

ทางแยกต่างระดับสวนเลียบ

ทางแยกต่างระดับสวนเลียบ เป็นทางแยกต่างระดับแห่งหนึ่งในเขตภาษีเจริญและเขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร เป็นจุดตัดระหว่างถนนราชพฤกษ์ (ช่วงตากสิน-เพชรเกษม) กับถนนกัลปพฤกษ.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและทางแยกต่างระดับสวนเลียบ

ท่าช้างวังหลวง

ท่าช้างวังหลวง หรือที่นิยมเรียกกันสั้น ๆ ว่า ท่าช้าง เป็นท่าเรือริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งอยู่บริเวณสุดถนนหน้าพระลาน แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและท่าช้างวังหลวง

ท่าพระจันทร์

ท่าพระจันทร์ในยุคปัจจุบัน ท่าพระจันทร์ เป็นท่าเรือริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งอยู่บริเวณสุดถนนพระจันทร์ ข้างมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ให้บริการเฉพาะเรือข้ามฟากในเส้นทางท่าพระจันทร์-วังหลัง และท่าพระจันทร์-พระปิ่นเกล้า บริเวณท่าเรือแห่งนี้เคยเป็นที่ตั้งของป้อมพระจันทร์ ซึ่งเป็นป้อมแห่งหนึ่งที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นตามแนวกำแพงพระนครด้านตะวันตก ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ใช้บริเวณพระราชวังบวรสถานมงคลเป็นท้องสนามหลวง ถนนหน้าพระธาตุ ป้อมต่าง ๆ รอบกำแพงพระราชวังบวรสถานมงคลถูกรื้อลงหมดรวมถึงป้อมพระจันทร์ด้วย ถนนที่ตัดตรงสู่บริเวณที่เคยเป็นที่ตั้งของป้อมพระจันทร์จึงมีชื่อว่า "ถนนพระจันทร์" และท่าน้ำในบริเวณที่เคยเป็นที่ตั้งของป้อมพระจันทร์จึงเรียกว่า "ท่าพระจันทร์" มาจนถึงปัจจุบัน ใช้เป็นท่าเรือโดยสารซึ่งมีบริษัทเอกชนเป็นผู้ดำเนินกิจการเดินเรือข้ามฟากที่ประมูลมาจากกรุงเทพมหานคร ปัจจุบัน บริเวณท่าพระจันทร์เป็นแหล่งการค้าที่คึกคักมาก โดยเฉพาะในช่วงเวลาเย็น โดยเป็นที่รู้จักกันดีของการเป็นตลาดพระเครื่องและวัตถุมงคลต่าง ๆ รวมถึงร้านค้า, ร้านอาหาร, ร้านหนังสือต่าง ๆ อีกด้ว.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและท่าพระจันทร์

ท่าวังหลังและท่าพรานนก

ท่าวังหลัง ท่าศิริราช ที่อยู่ใกล้เคียง ท่าวังหลัง หรือ ท่าพรานนก หรือ ท่าศิริราช เป็นท่าน้ำริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตกหรือฝั่งธนบุรี บริเวณปลายถนนวังหลัง ในพื้นที่แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร ประกอบด้วยท่าเรือด่วนเจ้าพระยา และท่าเรือข้ามฟาก โดยแบ่งการให้บริการออกเป็นท่าเรือหลายท่าเรียงรายอยู่ในบริเวณเดียวกัน.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและท่าวังหลังและท่าพรานนก

คลองสนามชัย

ลองสนามชัย หรือ คลองมหาชัย เป็นคลองที่ขุดขึ้นในรัชสมัยสมเด็จพระสรรเพชญที่ 8แห่งกรุงศรีอยุธยา แทนที่คลองโคกขามเดิม ซึ่งมีความคดเคี้ยวอย่างมาก เรียกคลองที่ขุดขึ้นใหม่นี้ว่า คลองพระพุทธเจ้าหลวง แต่ยังไม่ทันแล้วเสร็จก็สวรรคตไปก่อน ต่อมาสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระได้โปรดเกล้าให้พระราชสงครามเป็นนายกอง เกณฑ์คนจากหัวเมืองปักษ์ใต้มาขุดต่อ หัวเมืองปักษ์ใต้ในสมัยนั้น หมายถึงหัวเมืองที่อยู่ทางใต้ของกรุงศรีอยุธยา เช่น เมืองสาครบุรี สามโคก ราชบุรี ธนบุรี นนทบุรี เพชรบุรี ใช้เวลาขุดสองเดือนจึงแล้วเสร็จ จุดเริ่มต้นของคลองอยู่ต่อจากคลองด่าน บริเวณแยกคลองบางขุนเทียน ในเขตจอมทอง แล้วไปออกแม่น้ำท่าจีนที่ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร ตัวคลองลึก 6 ศอก และกว้าง 7 วา ใช้ในการคมนาคมขนส่ง และทำสงคราม และยังมีชาวต่างชาติใช้เส้นทางนี้ไปกรุงศรีอยุธยาโดยไม่ต้องผ่านเข้าทางแม่น้ำเจ้าพระยาอีกด้วย ผลสืบเนื่องที่สำคัญคือการบุกเบิกพื้นที่สองฝั่งคลองมาใช้ในการเกษตรอย่างกว้างขวาง นับเป็นผลงานสำคัญในรัชกาลนี้ นอกจากนั้นแล้ว ในปี พ.ศ.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและคลองสนามชัย

คลองหลอด

นหก คลองหลอด เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2548 คลองหลอด เป็นคลองขุดที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้ขุดขึ้นเมื่อ พ.ศ.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและคลองหลอด

คลองผดุงกรุงเกษม

ลองผดุงกรุงเกษมบริเวณสะพานเจริญสวัสดิ์ (ภาพถ่ายสมัยรัชกาลที่ 5) คลองผดุงกรุงเกษม ในปัจจุบัน คลองผดุงกรุงเกษม เป็นคลองรอบพระนครชั้นนอก ขุดขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้ขุดเมื่อ..

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและคลองผดุงกรุงเกษม

ซอยกัปตันบุช

ซอยกัปตันบุช หรือ ตรอกกัปตันบุช หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า ซอยเจริญกรุง 30 เป็นซอยแยกจากถนนเจริญกรุงในพื้นที่แขวงสี่พระยา เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร ใกล้กับถนนสี่พระยาและท่าน้ำสี่พระยา ติดกับริมฝั่งแม่เจ้าพระยา ชื่อซอยกัปตันบุชมีที่มาจากจอห์น บุช นักเดินเรือชาวอังกฤษ ผู้เข้ามาอาศัยและรับราชการในรัชสมัยรัชกาลที่ 5 จนมีตำแหน่งเป็นอธิบดีกรมเจ้าท่า และได้รับบรรดาศักดิ์เป็นพระวิสูตรสาครดิฐ ซึ่งเคยมีบ้านพำนักอยู่บริเวณแถบนี้ โดยในซอยเป็นที่ตั้งของบ้านเลขที่ 1 ของถนนเจริญกรุง เป็นบ้านที่มีสถาปัตยกรรมสวยงามแบบยุโรปนีโอคลาสสิก ตัวอาคารก่ออิฐถือปูนสองชั้น หลังคาทรงปั้นหยา และออกแบบเป็นหน้าจั่วตรงกลางด้านหน้าอาคาร ผนังทาสีเหลือง หน้าต่างทาสีเขียวมะกอกตัดขอบขาว ประตูหน้าต่างเป็นทรงโค้งแบบโรมัน บ้านหลังนี้มักมีความเข้าใจผิดว่าเป็นบ้านของกัปตันบุช แต่ตามหลักฐานชื่อของเจ้าบ้านเลขที่ 1 ถนนเจริญกรุงของกรมไปรษณีย์โทรเลข พบว่าในปี..

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและซอยกัปตันบุช

แพร่งภูธร

ปากทางเข้าแพร่งภูธรด้านถนนอัษฎางค์ แลเห็นสุขุมาลอนามัย แพร่งภูธร เป็นย่านการค้าที่อยู่ระหว่างถนนตะนาวกับถนนอัษฎางค์ ริมคลองหลอด เชิงสะพานช้างโรงสี เดิมคือ วังสะพานช้างโรงสี วังเหนือ อยู่ทางทิศใต้ของแพร่งนรา ซึ่งเป็นที่ประทับของ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าไพฑูรย์ กรมหมื่นสนิทนเรนทร์ ต้นราชสกุลไพฑูรย์ เมื่อกรมหมื่นสนิทนเรนทร์สิ้นพระชนม์ จึงเป็นที่ประทับของ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชุมแสง กรมหลวงสรรพศิลป์ปรีชา พระอนุชาร่วมเจ้าจอมมารดา ต้นราชสกุลชุมแสง เมื่อกรมหลวงสรรพศิลป์ปรีชาสิ้นพระชนม์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานวังนี้เป็นที่ประทับของ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทวีถวัลยลาภ กรมหมื่นภูธเรศธำรงศักดิ์ ต่อมาเมื่อเมื่อกรมหมื่นภูธเรศธำรงศักดิ์สิ้นพระชนม์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดฯ ให้แบ่งพื้นที่ทำเป็นตึกแถว พระราชทานชื่อถนนย่านนั้นว่า แพร่งภูธร ตามพระนามของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นภูธเรศธำรงศักดิ์ ปัจจุบัน ใจกลางแพร่งภูธรเป็นลานสาธารณะสำหรับพักผ่อนและทำกิจกรรมต่าง ๆ อีกทั้งยังเป็นแหล่งที่ตั้งของร้านอาหารที่มีชื่อเสียงจำนวนหลากหลายร้าน หลากหลายประเภท เช่น ก๋วยเตี๋ยวเนื้อ, บะหมี่และเกี๊ยว, ต้มสมองหมู, เปาะเปี๊ยะสด, ข้าวหมูแดง, ข้าวแกงกะหรี่เนื้อและสตูว์เนื้อ, ไอศกรีมแบบไทย, ขนมเบื้อง, ผัดไทย รวมถึงอาหารตามสั่ง เช่นเดียวกับถนนตะนาว, ถนนมหรรณพ และแพร่งนราที่อยู่ใกล้เคียง ซึ่งบางร้านยังมีชื่อเสียงโด่งดังในระดับโลกด้วย นอกจากนี้แล้วยังเป็นที่ตั้งของสถานีอนามัย สุขุมาลอนามัย ที่ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี..

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและแพร่งภูธร

แพร่งสรรพศาสตร์

ซุ้มประตูวังสรรพสาตรศุภกิจ แพร่งสรรพศาสตร์ หรือ แพร่งสรรพสาตร เป็นย่านการค้าที่อยู่ระหว่างถนนตะนาวกับถนนอัษฎางค์ อยู่ทางทิศเหนือของแพร่งนรา บริเวณนี้เดิมเป็น วังสรรพสาตรศุภกิจ เป็นวังที่ประทับของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทองแถมถวัลยวงศ์ กรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจ ต้นราชสกุลทองแถม ซึ่งก่อสร้างขึ้นอย่างวิจิตรบรรจงเมื่อ..

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและแพร่งสรรพศาสตร์

แพร่งนรา

แพร่งนราด้านถนนอัษฎางค์ แพร่งนรา เป็นย่านการค้าที่ตั้งอยู่ระหว่างวัดสุทัศน์เทพวรารามกับวัดมหรรณพาราม ระหว่างถนนตะนาวกับถนนอัษฎางค์ อยู่ทางทิศเหนือของแพร่งภูธร และอยู่ทางทิศใต้ของแพร่งสรรพศาสตร์ บริเวณนี้เดิมคือ วังวรวรรณ ซึ่งเป็นที่ประทับของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรวรรณากร กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ต้นราชสกุลวรวรรณ ต่อมาวังนี้ถูกเวนคืนเพื่อนำพื้นที่มาสร้างเป็นถนน ตามโครงการขยายความเจริญของพระนครในสมัยนั้น คงเหลือเพียงพระตำหนักไม้เก่าหลังเล็ก ที่เดิมเป็นที่ตั้งของโรงละครปรีดาลัย ซึ่งต่อมาถูกปรับให้เป็นโรงเรียนตะละภัฏศึกษา และมีการแบ่งพื้นที่ริมถนนสร้างเป็นอาคารพาณิชย์ขายให้แก่เอกชน ชาวบ้านแถบนั้นจึงเรียกย่านนั้นว่า แพร่งนรา ตามพระนามของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ปัจจุบัน แพร่งนราเป็นแหล่งที่ตั้งของร้านอาหารที่หลากหลายขึ้นชื่อและหลายประเภท เช่นเดียวกับแพร่งภูธร, ถนนตะนาว และถนนมหรรณพที่อยู่ใกล้เคียง ของขึ้นชื่อของที่นี่ ได้แก่ ลูกชิ้นหมูปิ้ง, ขนมหวานไทย, กล้วยปิ้ง และขนมเบื้อง.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและแพร่งนรา

แม่น้ำเจ้าพระยา

แม่น้ำเจ้าพระยา เป็นแม่น้ำสายหลักสายหนึ่งของประเทศไทย เกิดจากการรวมตัวของแม่น้ำสายหลัก 2 สายจากภาคเหนือ คือแม่น้ำปิงและแม่น้ำน่าน ที่ตำบลปากน้ำโพ อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ จากนั้นไหลลงไปทางทิศใต้ ผ่านจังหวัดอุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี และกรุงเทพมหานคร ก่อนออกสู่อ่าวไทยที่ปากน้ำ ซึ่งอยู่ระหว่างเขตตำบลท้ายบ้าน ตำบลบางปูใหม่ อำเภอเมืองสมุทรปราการ และตำบลแหลมฟ้าผ่า อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและแม่น้ำเจ้าพระยา

แยกบรมราชชนนี

แยกบรมราชชนนี (Borommaratchachonnani Intersection) เป็นสี่แยกจุดตัดถนนจรัญสนิทวงศ์ ถนนสมเด็จพระปิ่นเกล้า และเป็นจุดเริ่มต้นของถนนบรมราชชนนี ในพื้นที่เขตบางกอกน้อยและบางพลัด กรุงเทพมหานคร ในอดีตมีชื่อเรียกว่า "แยกปิ่นเกล้า" หรือ "แยก 35 โบวล์" เนื่องจากเคยเป็นที่ตั้งของสถานบริการโบว์ลิ่งแห่งหนึ่ง ชื่อ "35 โบวล์" ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นแยกบรมราชชนนี ตามชื่อถนนพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ปัจจุบันแยกนี้มีอุโมงค์ลอดทางแยกตามแนวถนนจรัญสนิทวงศ์และมีสะพานข้ามแยกบนถนนบรมราชชนนีและถนนสมเด็จพระปิ่นเกล้.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและแยกบรมราชชนนี

แยกบางยี่เรือ

แยกบางยี่เรือ (Bang Yi Ruea Junction) เป็นทางแยกแห่งหนึ่งในฝั่งธนบุรี เป็นสามแยกที่เป็นจุดที่ถนนเทอดไทบรรจบถนนอินทรพิทักษ์ อยู่ใกล้กับวงเวียนใหญ่ ในพื้นที่แขวงบางยี่เรือ เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและแยกบางยี่เรือ

แยกบางขุนนนท์

แยกบางขุนนนท์ (Bang Khun Non Junction) เป็นทางแยกบริเวณจุดบรรจบระหว่างถนนจรัญสนิทวงศ์กับถนนบางขุนนนท์ ในพื้นที่แขวงบางขุนนนท์ และแขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร ใกล้กับเชิงสะพานข้ามคลองบางกอกน้อยและจุดตัดทางรถไฟบริเวณป้ายหยุดรถไฟจรัญสนิทวงศ์ ซึ่งเป็นจุดบรรจบระหว่างถนนสุทธาวาสกับถนนเลียบทางรถไฟสายใต้ (ตลิ่งชัน).

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและแยกบางขุนนนท์

แยกบางนา

แยกบางนา เป็นทางแยกในเขตบางนา กรุงเทพมหานคร ระหว่างถนนเทพรัตน ถนนสุขุมวิท และถนนสรรพาวุธ และในปัจจุบัน มีทางด่วน 3 สายมารวมกับแยกบางนา ได้แก่ ทางพิเศษเฉลิมมหานคร ทางพิเศษสาย S1 และทางพิเศษบูรพาวิถี สถานที่สำคัญในทางแยกนี้ ได้แก่ ศูนย์แสดงสินค้าไบเทค กรมอุตุนิยมวิทยา สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสบางนา และบริษัท โกลด์ มิ้นท์ โปรดักส์ จำกัด (อยู่ริมถนนเลียบทางพิเศษเฉลิมมหานคร).

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและแยกบางนา

แยกชิดลม

ี่แยกชิดลม (Chit Lom Intersection) เป็นสี่แยกจุดตัดของถนนเพลินจิต ซอยชิดลมและถนนหลังสวน ในเขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและแยกชิดลม

แยกบ้านหม้อ

แยกบ้านหม้อ (Ban Mo Intersection) เป็นสี่แยกจุดตัดระหว่างถนนพระพิทักษ์, ถนนบ้านหม้อ และถนนพาหุรัด ในพื้นที่แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ใจกลางพระนคร เป็นย่านค้าขายอะไหล่เครื่องใช้ไฟฟ้า, วิทยุสื่อสาร, ลำโพง และเครื่องเสียง รวมถึงเครื่องประดับมีค่า จำพวกทองคำ และเพชร ปัจจุบันสี่แยกบ้านหม้อมีการจัดการจราจรแบบทิศทางเดียวทั้ง 4 ด้าน เส้นทางเข้าสู่ทางแยกได้แก่ถนนพระพิทักษ์และถนนบ้านหม้อ (จากปากคลองตลาด) เส้นทางออกจากทางแยกได้แก่ถนนบ้านหม้อ (ไปสี่กั๊กพระยาศรี) และถนนพาหุรัด สถานที่สำคัญบริเวณแยก คือ ตลาดบ้านหม้อ ในรัชสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นตลาดที่คึกคัก ปัจจุบันที่บริเวณเหนือประตูทางเข้ายังคงปรากฏสถาปัตยกรรมรูปหม้อ บ่งบอกถึงชื่อของสถานที่ ซึ่งอาชีพปั้นหม้อดินเผา เป็นอาชีพแต่ดั้งเดิมของชาวชุมชนบริเวณนี้ ซึ่งเป็นชาวมอญ และเป็นที่มาของชื่อถนนรวมถึงสี่แยก รวมถึงยังมีศาลเจ้าบ้านหม้อเล่าปึงเถ่ากง (本頭公廟) ศาลเจ้าจีนเก่าแก่ของชาวแต้จิ๋ว ที่สร้างมาตั้งแต่ปี..

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและแยกบ้านหม้อ

แยกพระราม 9

แยกพระราม 9 หรือเรียกอีกหลายชื่อว่า (แยกอโศก-รัชดา; แยกรัชดา-พระราม 9; แยกฟอร์จูน) เป็นสี่แยกในเขตดินแดง กรุงเทพมหานคร เป็นจุดตัดของถนนรัชดาภิเษก ถนนพระราม 9 และถนนอโศก-ดินแดง.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและแยกพระราม 9

แยกพรานนก

แยกพรานนก (Phran Nok Intersection) เป็นสี่แยกจุดตัดระหว่างถนนพรานนก ถนนวังหลัง และถนนอิสรภาพ ใจกลางย่านตลาดสดพรานนก ในพื้นที่เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและแยกพรานนก

แยกพลับพลาไชย

แยกพลับพลาไชย เป็นทางห้าแยกจุดตัดถนนพลับพลาไชย กับถนนหลวงและถนนไมตรีจิตต์ ในพื้นที่แขวงวัดเทพศิรินทร์และแขวงป้อมปราบ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร เป็นย่านชาวไทยเชื้อสายจีนในกรุงเทพฯ ที่ต่อเนื่องกับย่านถนนเยาวราชและถนนเจริญกรุง บริเวณทางแยกมีร้านข้าวหน้าไก่ ก๋วยเตี๋ยวคั่วไก่ และภัตตาคารอาหารจีนที่ขึ้นชื่อหลายแห่ง.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและแยกพลับพลาไชย

แยกพาณิชยการธนบุรี

แยกพาณิชยการธนบุรี (Phanitchayakan Thon Buri Junction) หรือที่นิยมเรียกว่า แยกพาณิชย์ธนฯ และ แยกจรัญสนิทวงศ์ 13 เป็นสามแยกปากทางถนนพาณิชยการธนบุรี (ซอยจรัญสนิทวงศ์ 13 เดิม) บรรจบถนนจรัญสนิทวงศ์ ในพื้นที่เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นเส้นทางเข้าสู่วิทยาลัยอาชีวศึกษาธนบุรีและวิทยาลัยพณิชยการธนบุรี ทั้งยังสามารถใช้เป็นเส้นทางลัดจากถนนจรัญสนิทวงศ์เชื่อมต่อไปยังถนนบางแวก ออกสู่ถนนราชพฤกษ์ในพื้นที่เขตภาษีเจริญและถนนกาญจนาภิเษกในพื้นที่เขตบางแคได้ โดยมีรถสองแถวให้บริการจากปากทาง นอกจากนี้บริเวณแยกยังเป็นจุดเริ่มต้นของรถโดยสารสี่ล้อเล็กและรถสามล้อสองแถวที่ให้บริการในเส้นทางจรัญฯ 13-แยกไฟฉาย-พรานนก-ท่าน้ำศิริร.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและแยกพาณิชยการธนบุรี

แยกพิบูลสงคราม

แยกพิบูลสงคราม (Pibulsonggram Junction) เป็นสามแยกจุดตัดระหว่างถนนพิบูลสงคราม ถนนประชาราษฎร์ สาย 1 และถนนวงศ์สว่าง ใกล้เชิงสะพานพระราม 7 ในท้องที่แขวงวงศ์สว่าง เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและแยกพิบูลสงคราม

แยกกษัตริย์ศึก

แยกกษัตริย์ศึก (Kasat Suek Intersection) เป็นทางแยกหนึ่งในพื้นที่แขวงคลองมหานาคและแขวงวัดเทพศิรินทร์ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย และแขวงรองเมือง เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร เป็นสี่แยกที่เป็นจุดกันระหว่างถนนพระราม 1, ถนนกรุงเกษม และถนนบำรุงเมือง ชื่อทางแยกมาจาก "สะพานกษัตริย์ศึก" ซึ่งเป็นสะพานข้ามคลองผดุงกรุงเกษม ที่อยู่ตรงทางแยกฝั่งถนนพระราม 1 เดิมสะพานนี้มีชื่อที่เรียกกันว่า "สะพานยศเส" ซึ่งเป็นสะพานไม้ ต่อมาสะพานยศเสมีความชำรุด ในปี..

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและแยกกษัตริย์ศึก

แยกมไหสวรรย์

แยกมไหสวรรย์ (Mahaisawan Intersection) เป็นสี่แยกบริเวณจุดตัดระหว่างถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน, ถนนรัชดาภิเษก และถนนมไหสวรรย์ ตั้งอยู่ในพื้นที่แขวงดาวคะนอง เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร โดยเป็นจุดเริ่มต้นของถนนรัชดาภิเษกและถนนมไหสวรรย์ ทางแยกนี้อยู่ใต้สะพานพระราม 3 (สะพานกรุงเทพ 2) ในฝั่งธนบุรี และมีโครงการก่อสร้างอุโมงค์ลอดทางแยกในแนวถนนสมเด็จพระเจ้าตากสินซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือนมกราคม..

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและแยกมไหสวรรย์

แยกยมราช

แยกยมราช (Yommarat Intersection) เป็นสี่แยกในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร เป็นจุดตัดระหว่างถนนสวรรคโลก ถนนหลานหลวง ถนนพิษณุโลก และถนนเพชรบุรี เป็นแยกที่มีจุดตัดทางรถไฟสายเหนือ, สายตะวันออกและสายใต้และมีสะพานข้ามทางแยก ซึ่งห้ามรถจักรยานยนต์วิ่งข้าม รวมถึงยังเป็นทางขึ้นทางด่วนยมราช (บางโคล่, บางนา-ดาวคะนอง และ ดินแดง-ถนนพระราม 9 แจ้งวัฒนะ) left.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและแยกยมราช

แยกยุคล 2

แยกยุคล 2 (Yukol Song Junction) หรือที่รู้จักกันในนาม สามแยกยุคล หรือ สามแยกสวนมะลิ เป็นทางสามแยกจุดตัดถนนบำรุงเมือง และถนนยุคล 2 ในพื้นที่แขวงวัดเทพศิรินทร์และแขวงคลองมหานาค เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร ในย่านสวนมะล.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและแยกยุคล 2

แยกราชประสงค์

ี่แยกราชประสงค์ (Ratchaprasong Intersection) เป็นสี่แยกใจกลางกรุงเทพมหานคร เป็นจุดตัดของถนนเพลินจิตและถนนราชดำริ เป็นย่านศูนย์การค้าที่สำคัญซึ่งเป็นสถานที่ประดิษฐานศาลเทพเจ้าต่างๆทั้งสิ้น 6 ศาลจนบางคนถึงกับเรียกสี่แยกนี้ว่า "แยก 6 เทพ" ซึ่งเทพทั้งหกองค์นั้นเป็นเทพเจ้าในศาสนาฮินดูทั้งสิ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งท้าวมหาพรหมเอราวัณ จากคำขวัญของเขตปทุมวันที่ว่า "บูชาท้าวมหาพรหม ชื่นชมวังสมเด็จย่า ศูนย์การค้ามากมี ลุมพินีสวนสาธารณะ ศิลปะมวยไทย สถานีรถไฟหัวลำโพง เชื่อมโยงรถไฟฟ้า สถานศึกษาเลื่องชื่อ นามระบือจุฬาลงกรณ์" ล้วนแล้วแต่มีส่วนเกี่ยวข้องกับแยกราชประสงค์นี้อย่างมาก รวมไปถึงการมีจุดเชื่อมโยงรถไฟฟ้าที่สถานีสยาม เพราะสี่แยกราชประสงค์ อยู่ในบริเวณของสามสถานี ตั้งแต่สถานีราชดำริ สถานีสยาม และสถานีชิดลม นอกจากนี้ สี่แยกราชประสงค์ ยังมีสำนักงานราชการที่สำคัญ ตั้งอยู่จำนวนมาก เช่น สำนักงานตำรวจแห่งชาติ การไฟฟ้านครหลวง ราชกรีฑาสโมสร และบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) สำนักงานใหญ่ ฯลฯ.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและแยกราชประสงค์

แยกรามคำแหง-สุวินทวงศ์

แยกรามคำแหง-สุวินทวงศ์ หรือแยกการไฟฟ้ามีนบุรี เป็นสามแยกจุดตัดทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 304 (ถนนสุวินทวงศ์) กับถนนรามคำแหง ในพื้นที่แขวงแสนแสบ เขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและแยกรามคำแหง-สุวินทวงศ์

แยกลาดหญ้า

ทความนี้เกี่ยวกับทางแยกในกรุงเทพมหานคร สำหรับทางแยกในจังหวัดกาญจนบุรี ดูที่ แยกลาดหญ้า (จังหวัดกาญจนบุรี) แยกลาดหญ้า (Lat Ya Intersection) หรือ แยกสามเหลี่ยมลาดหญ้า เป็นแยกที่มีจุดตัดระหว่าง ถนนลาดหญ้า, ถนนอิสรภาพ และ ถนนท่าดินแดง ตั้งอยู่ในพื้นที่ แขวงคลองสาน เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร โดยแยกนี้เป็นจุดเริ่มต้นของถนนอิสรภาพ และ ถนนท่าดินแดง.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและแยกลาดหญ้า

แยกวิทยุ-เพชรบุรี

แยกวิทยุ-เพชรบุรี (Witthayu-Phetchaburi Junction) เป็นสามแยกถนนวิทยุบรรจบถนนเพชรบุรี ใกล้ทางลงทางด่วนเพชรบุรีของทางพิเศษเฉลิมมหานคร ในพื้นที่เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร ถือว่าเป็นจุดสิ้นสุดของถนนวิทยุ เมื่อปี พ.ศ.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและแยกวิทยุ-เพชรบุรี

แยกวงศ์สว่าง

แยกวงศ์สว่าง (Wong Sawang Intersection) เป็นสี่แยกจุดตัดระหว่างถนนกรุงเทพฯ-นนทบุรี ถนนวงศ์สว่าง และถนนรัชดาภิเษก ในท้องที่แขวงวงศ์สว่าง เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและแยกวงศ์สว่าง

แยกวงเวียน รด. และแยกท้ายวัง

แยกวงเวียน ร. และ แยกท้ายวัง เป็นวงเวียนจุดตัดถนนสนามไชย, ถนนเจริญกรุง และถนนท้ายวัง ในพื้นที่แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ซึ่งทางแยกทั้ง 2 แห่งอยู่ที่จุดเดียวกัน แต่แนวถนนเจริญกรุงและถนนท้ายวังจะเยื้องกันเล็กน้อย จึงมีการจัดการจราจรเป็นรูปแบบวงเวียน โดยไม่มีสัญญาณไฟจราจร วงเวียนแห่งนี้เป็นเพียงเครื่องกั้นทางชั่วคราวที่สามารถย้ายออกได้เมื่อมีพระราชพิธีต่าง ๆ ซึ่งต้องใช้พื้นที่บนถนนสนามไชย เช่น พระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เป็นต้น บริเวณทางแยกนี้มีสถานที่สำคัญตั้งอยู่ทั้ง 4 มุมถนน ได้แก่ หน่วยบัญชาการรักษาดินแดน (สวนเจ้าเชตุ) ซึ่งในอดีตใช้ชื่อกรมการรักษาดินแดน มีชื่อย่อว่า ร.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและแยกวงเวียน รด. และแยกท้ายวัง

แยกศรีอุดม

แยกศรีอุดม หรือแยกหนองบอน หรือแยกสุขุมวิท 103 เป็นสี่แยกจุดตัดถนนศรีนครินทร์, ถนนอุดมสุข (สุขุมวิท 103) และถนนเฉลิมพระเกียรติ ร.9 ในพื้นที่แขวงหนองบอน เขตประเวศ กรุงเทพมหานคร ชื่อ ศรีอุดม มาจากคำว่า ศรี ของถนนศรีนครินทร์ และ อุดม ของถนนอุดมสุข เนื่องจาก เป็นจุดเชื่อมต่อกันของทั้ง 2 ถนนนั่นเอง.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและแยกศรีอุดม

แยกศาลาแดง

แยกศาลาแดง (Sala Daeng Intersection) เป็นสี่แยกจุดตัดถนนพระรามที่ 4 ถนนราชดำริและถนนสีลม ในเขตปทุมวันและเขตบางรัก กรุงเทพมหานคร ที่มาของชื่อ "ศาลาแดง" มาจากในอดีตพื้นที่แถบนี้มีสภาพเป็นทุ่งนา และเป็นแหล่งปลูกข้าวที่สำคัญแห่งหนึ่งของกรุงเทพมหานคร ต่อมาในปี..

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและแยกศาลาแดง

แยกสามย่าน

แยกสามย่าน (Sam Yan Intersection) เป็นสี่แยกในเขตปทุมวันและเขตบางรัก เป็นจุดตัดของถนนพระรามที่ 4 ถนนพญาไทและถนนสี่พร.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและแยกสามย่าน

แยกหมอมี

แยกหมอมี (Mo Mi Intersection) หรือที่นิยมเรียกว่า สามแยก หรือ สามแยกถนนเจริญกรุง เป็นห้าแยกจุดตัดถนนเจริญกรุง, ถนนพระรามที่ 4, ถนนทรงสวัสดิ์ และถนนมิตรพันธ์ ในพื้นที่แขวงป้อมปราบ เขตป้อมปราบศัตรูพ่ายและแขวงตลาดน้อย เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร ใจกลางย่านเยาวราช ซึ่งเป็นย่านชาวไทยเชื้อสายจีนที่สำคัญในกรุงเทพฯ ในอดีตพื้นที่แถบนี้มีสถานะเป็นตำบลหนึ่งขึ้นอยู่ในอำเภอสัมพันธวงศ์ จังหวัดพระนคร เรียกว่า "ตำบลสามแยก" ต่อมาในปลายปี..

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและแยกหมอมี

แยกหัวลำโพง

แยกหัวลำโพง (Hua Lamphong Intersection) เป็นทางแยกหนึ่งในพื้นที่แขวงรองเมือง เขตปทุมวัน และแขวงมหาพฤฒาราม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร เป็นสี่แยกที่เป็นทางตัดกันของถนนพระราม 4, ถนนรองเมือง, ถนนมหาพฤฒาราม รวมถึงสะพานเจริญสวัสดิ์ 36 ซึ่งเป็นสะพานข้ามคลองผดุงกรุงเกษม เป็นสี่แยกที่อยู่ด้านหน้าสถานีรถไฟกรุงเทพ หรือสถานีรถไฟหัวลำโพง.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและแยกหัวลำโพง

แยกอังรีดูนังต์

ี่แยกอังรีดูนังต์ (Henri Dunant Intersection) หรือรู้จักกันในนาม สี่แยกเสาวภา และ สี่แยกจุฬาฯ เป็นสี่แยกในเขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร เป็นจุดตัดของถนนพระรามที่ 4 ถนนอังรีดูนังต์และถนนสุรวง.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและแยกอังรีดูนังต์

แยกอุณากรรณ

แยกอุณากรรณ (Unakan Intersection) เป็นสี่แยกจุดตัดถนนเจริญกรุง, ถนนอุณากรรณ และถนนบูรพา ในพื้นที่เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร อยู่ใกล้เคียงกับแยกเฉลิมกรุง ที่ตั้งของโรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมกรุง, ย่านการค้าเก่าแก่วังบูรพา และย่านการค้าพาหุรัด แหล่งค้าขายเสื้อผ้าสำเร็จรูปแห่งใหญ่ นอกจากนี้ บริเวณแยกอุณากรรณยังเป็นย่านร้านค้าอาวุธปืนที่มีชื่อเสียง เนื่องจากมีร้านจำหน่ายปืนรวมไปถึงอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับกีฬายิงปืนเป็นจำนวนมาก.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและแยกอุณากรรณ

แยกจอมทอง

แยกจอมทอง (Chom Thong Junction) เป็นทางแยกบริเวณจุดบรรจบระหว่างถนนจอมทองกับถนนวุฒากาศ ในพื้นที่แขวงจอมทอง เขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร ใกล้กับเชิงสะพานบางขุนเทียน จอมทอง หมวดหมู่:เขตจอมทอง.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและแยกจอมทอง

แยกท่าพระ

แยกท่าพระ (Tha Phra Intersection) เป็นสี่แยกบริเวณจุดตัดระหว่างถนนเพชรเกษม, ถนนรัชดาภิเษกและถนนจรัญสนิทวงศ์ ในพื้นที่แขวงวัดท่าพระ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร นับเป็นสี่แยกที่มีความสำคัญต่อการจราจรในพื้นที่ฝั่งธนบุรี ถือเป็นจุดเริ่มต้นของถนนจรัญสนิทวงศ์ และถนนรัชดาภิเษก ช่วงรัชดา-ท่าพระ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของระบบถนนวงแหวนรอบในของกรุงเทพฯ อีกทั้งยังเป็นทางแยกแรกของถนนเพชรเกษมจากจุดเริ่มต้นบริเวณสะพานเนาวจำเนียรซึ่งทอดยาวลงสู่ภาคใต้ของไทย นับเป็นบริเวณที่มีการจราจรหนาแน่นมากอีกแห่งหนึ่งในพื้นที่ฝั่งธนบุรีรองจากวงเวียนใหญ่ แม้ในปัจจุบันจะมีการตัดถนนในพื้นที่ข้างเคียงอีกหลายสาย เช่นถนนราชพฤกษ์ ซึ่งสามารถแบ่งเบาปริมาณการจราจรจากย่านวงเวียนใหญ่เข้าสู่แยกท่าพระได้ในระดับหนึ่ง โดยชื่อ "ท่าพระ" อันทั้งชื่อของแยกและแขวงในพื้นที่เขตบางกอกใหญ่ด้วย นั้นมาจากชื่อของวัดท่าพระ ซึ่งตั้งอยู่ใกล้เคียงด้านถนนจรัญสนิทวงศ์ เดิมมีชื่อว่า "วัดเกาะ" ต่อมาได้มีการพบหลวงพ่อเกษร อันเป็นประธานในวัดลอยมาติดที่ท่าน้ำ จึงเปลี่ยนชื่อเป็นวัดท่าพระดังเช่นในปัจจุบัน แยกท่าพระเดิมมีสภาพเป็นเพียงสามแยก ต่อมาทางด้านทิศใต้ได้มีการตัดถนนรัชดาภิเษกช่วงรัชดา-ท่าพระ จึงเปลี่ยนมาเป็นสี่แยก กระทั่งปี พ.ศ.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและแยกท่าพระ

แยกตากสิน

แยกตากสิน (Tak Sin Intersection) เป็นจุดตัดระหว่างถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน, ถนนกรุงธนบุรี และถนนราชพฤกษ์ ตั้งอยู่ในพื้นที่แขวงบุคคโล เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร ทางแยกนี้เป็นจุดเริ่มต้นของถนนราชพฤกษ์และถนนกรุงธนบุรี โดยมีสะพานข้ามทางแยกตามแนวถนนราชพฤกษ์และถนนกรุงธนบุรีเพื่อลดความติดขัดการจราจรขาไปและขากลับจากฝั่งพระนครผ่านสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช อีกทั้งยังมีทางของรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม วิ่งผ่านทางแยกนี้ด้ว.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและแยกตากสิน

แยกประชาอุทิศ (เขตราษฎร์บูรณะ)

แยกประชาอุทิศ (Pracha Uthit Junction) เป็นสามแยกจุดตัดระหว่างถนนสุขสวัสดิ์กับถนนประชาอุทิศ ตั้งอยู่ในพื้นที่แขวงราษฎร์บูรณะ เขตราษฎร์บูรณะ กรุงเทพมหานคร โดยแยกนี้เป็นจุดเริ่มต้นของถนนประชาอุทิศ แยกนี้ในบางครั้งอาจเรียกว่า "กิโลเก้า" ซึ่งมีที่มาจากที่ตั้งที่อยู่ในช่วงของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 303 (ถนนสุขสวัสดิ์) ในช่วงกิโลเมตรที่ 9 โดยมีป้ายหยุดรถประจำทางที่สำคัญถัดจากแยกนี้ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเรียกกันว่า "ใต้ทางด่วน กม.9" ตั้งอยู่บนถนนสุขสวัสดิ์ด้านขาเข้า เป็นจุดเริ่มต้นของรถประจำทาง (สองแถว) ในถนนประชาอุทิศ และป้ายรถประจำทางนี้ เนื่องจากมีฝั่งขาเข้าฝั่งเดียว จึงแยกเป็น 2 ป้าย (สำหรับรถเมล์ที่ขึ้นทางด่วน) โดยรถที่ขึ้นทางด่วนจะจอดรับผู้โดยสารด้านนอกฝั่งสวนสุขภาพ ส่วนรถที่ไปมุ่งหน้าเข้าแยกจะจอดรับผู้โดยสารด้านในป้ายรถประจำทางเกาะกลางถนน.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและแยกประชาอุทิศ (เขตราษฎร์บูรณะ)

แยกประตูน้ำ

แยกประตูน้ำ (Pratu Nam Intersection) เป็นสี่แยกหนึ่งในเขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร เป็นจุดตัดระหว่างถนนเพชรบุรี ถนนราชดำริ และถนนราชปรารภ ตั้งอยู่ในบริเวณย่านการค้าประตูน้ำ และใกล้กับศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ (เวิลด์เทรดเซ็นเตอร์) อันเป็นย่านธุรกิจที่สำคัญแห่งหนึ่งของกรุงเทพมหานคร มีการจราจรพลุกพล่านตลอดทั้งวัน นอกจากนี้แล้วยังเป็นที่ตั้งของท่าประตูน้ำ อันเป็นท่าเรือโดยสารคลองแสนแสบ ที่อยู่ใต้สะพานเฉลิมโลก 55 อันเป็นสะพานข้ามคลองแสนแสบอีกด้วย โดยชื่อ "ประตูน้ำ" มาจากประตูน้ำสระปทุมวัน หรือประตูน้ำวังสระปทุม ที่อยู่ในวังสระปทุมที่อยู่ใกล้เคียง อันเป็นประตูน้ำที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้กระทรวงเกษตราธิการสร้างขึ้นเมื่อปี..

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและแยกประตูน้ำ

แยกนพวงศ์ (กรุงเทพมหานคร)

แยกนพวงศ์ (Nopphawong Intersection) เป็นทางแยกหนึ่งในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่ในแขวงวัดเทพศิรินทร์ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย มีลักษณะเป็นห้าแยกตัดกันระหว่างถนนหลวง, ถนนกรุงเกษม และถนนมิตรพันธ์ สะพานนพวงศ์ โดยชื่อ "นพวงศ์" นั้นมาจากสะพานนพวงศ์ที่อยู่ใกล้เคียงบนถนนหลวง (ซึ่งตัวสะพานอยู่ในแขวงรองเมือง เขตปทุมวัน) อันเป็นสะพานข้ามคลองผดุงกรุงเกษม สะพานแห่งนี้สร้างขึ้นเมื่อปี..

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและแยกนพวงศ์ (กรุงเทพมหานคร)

แยกแฮปปี้แลนด์

แยกแฮปปี้แลนด์ (Happy Land Junction) เป็นสามแยกในเขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร เป็นจุดตัดระหว่างถนนลาดพร้าวกับถนนแฮปปี้แลนด์ แยกแฮปปี้แลนด์เป็นสามแยกที่มีการจราจรคับคั่งในชั่วโมงเร่งด่วน เนื่องจากสามารถใช้เป็นเส้นทางจากถนนลาดพร้าวลัดสู่ถนนนวมินทร์ได้ และเป็นสามแยกที่ตั้งอยู่บนถนนลาดพร้าวซึ่งเป็นถนนสายหลักในการเดินทางเข้าและออกกรุงเทพทางทิศตะวันออกสู่ถนนเสรีไทย และตะวันออกเฉียงใต้สู่ถนนศรีนครินทร์ อีกทั้งยังตั้งอยู่ในย่านศูนย์การค้าสำคัญอย่างเดอะมอลล์บางกะปิ, เอ็นมาร์ค, แม็คโคร, ตะวันนา และศูนย์เชื่อมต่อระบบคมนาคมสำคัญทางทิศตะวันออกของกรุงเทพ เช่น รถประจำทาง รถตู้ประจำทาง เรือโดยสารคลองแสนแสบ ซึ่งในแต่ละวันมีผู้สัญจรไปมาเป็นจำนวนมาก.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและแยกแฮปปี้แลนด์

แยกโพธิ์สามต้น

แยกโพธิ์สามต้น (Pho Sam Ton Junction) เป็นสามแยกจุดตัดระหว่างถนนอิสรภาพ กับ ถนนวังเดิม ตั้งอยู่ในพื้นที่แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร โดยแยกนี้เป็นจุดเริ่มต้นของถนนวังเดิม.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและแยกโพธิ์สามต้น

แยกไฟฉาย

แยกไฟฉาย เป็นสี่แยกถนนพรานนกบรรจบถนนจรัญสนิทวงศ์ ใจกลางพื้นที่เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร เป็นจุดเริ่มต้นของถนนพรานนก ซึ่งเชื่อมต่อกับถนนอิสรภาพและถนนอรุณอมรินทร์ ไปยังตลาดสดพรานนก และพื้นที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาของฝั่งธนบุรีชั้นใน ได้แก่ท่าน้ำวังหลัง โรงพยาบาลศิริราช ในเขตบางกอกน้อย และวัดอรุณฯ พระราชวังเดิม ในเขตบางกอกใหญ่ แยกไฟฉายเดิมมีสภาพเป็นสามแยกจนกระทั่งโครงการถนนพรานนกตัดใหม่แล้วเสร็จ จึงเกิดสภาพเป็นสี่แยก โดยเชื่อมถนนจรัญสนิทวงศ์และถนนพรานนกเข้ากับถนนกาญจนาภิเษก ซึ่งจะทำให้การสัญจรระหว่างพื้นที่บางกอกน้อยและพื้นที่รอบนอก เช่น ตลิ่งชัน ทวีวัฒนา สะดวกสบายมากขึ้น ตั้งแต่ปลายปี..

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและแยกไฟฉาย

แยกไมตรีจิตต์

แยกไมตรีจิตต์ (Maitri Chit Intersection) เป็นทางแยกแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร มีลักษณะเป็นห้าแยกตัดกันระหว่างถนนไมตรีจิตต์, ถนนมิตรภาพไทย-จีน, ถนนพระราม 4, ถนนกรุงเกษม และซอยโปริสภา ซึ่งเป็นซอยหนึ่งของถนนข้าวหลาม แยกไมตรีจิตต์ อยู่บริเวณเชิงสะพานเจริญสวัสดิ์ข้ามคลองผดุงกรุงเกษมในด้านที่มาจากแยกหัวลำโพง อยู่ใกล้กับสถานีรถไฟหัวลำโพง ถือได้ว่าเป็นจุดที่เริ่มต้นเข้าสู่ย่านเยาวราช หรือไชน่าทาวน์ของกรุงเทพมหานคร และยังเป็นจุดตัดระหว่างพื้นที่เขตสามเขตอีกด้วย คือ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย, เขตสัมพันธวงศ์ และเขตปทุมวัน ชื่อ "ไมตรีจิตต์" มาจากชื่อของถนนไมตรีจิตต์ อันเป็นถนนสายหนึ่งที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์ระลึกถึงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ที่ประเทศไทยได้เข้าร่วม เช่นเดียวกับ วงเวียน 22 กรกฎาคม, ถนนมิตรพันธ์ และถนนสันติภาพ ที่สร้างขึ้นในวาระเดียวกัน บริเวณใกล้ทางแยก ทางฝั่งถนนไมตรีจิตต์ ยังเป็นที่ตั้งของศาสนสถานสองแห่งในสองศาสนา สองความเชื่อที่แตกต่างกัน คือ คริสตจักรไมตรีจิต เป็นคริสตจักรแบบโปรเตสแตนต์แห่งแรกในประเทศไทยและของทวีปเอเชียด้วย โดยก่อตั้งมาตั้งแต..

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและแยกไมตรีจิตต์

แยกเพชรพระราม

แยกเพชรพระราม (Phet Phra Ram Junction) เป็นทางแยก ลักษณะเป็นสามแยกเชื่อมถนนบรรทัดทองเข้ากับถนนเพชรบุรี ในพื้นที่เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาถนนเพชรบุรี อันเป็นสาขาหนึ่งของธนาคารไทยพาณิชย์ที่มีตัวอาคารที่เป็นสถาปัตยกรรมที่สวยงาม ด้านข้างเป็นเรือนปั้นหยา และเป็นอาคารอนุรักษ.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและแยกเพชรพระราม

แยกเกียกกาย

แยกเกียกกาย (Kiakkai Intersection) เป็นสี่แยกจุดตัดระหว่างถนนประชาราษฎร์ สาย 1, ถนนทหาร และถนนสามเสน ในพื้นที่แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร คำว่า "เกียกกาย" เป็นศัพท์โบราณที่ใช้เรียกกองทหารส่วนดูแลเสบียง หรือเทียบได้กับกองพลาธิการ ในยุคปัจจุบัน รอบ ๆ แยกเกียกกายเป็นแหล่งที่ตั้งของค่ายทหารต่าง ๆ ในส่วนของกองทัพบก เช่น กองพันทหารม้าที่ 3 รักษาพระองค์ กรมทหารม้าที่ 1 รักษาพระองค์, กองพันทหารม้าที่ 4 กองพลที่ 1 รักษาพระองค์, กองพลทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน, กรมทหารปืนใหญ่ที่ 1 รักษาพระองค์ สถานีวิทยุกระจายเสียง ศูนย์การทหารม้า (วิทยุยานเกราะ) เป็นต้น ซึ่งหลายแห่งได้เป็นหน่วยที่ได้เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ความเปลี่ยนแปลงของประเทศชาติในหลายยุคสมัย เช่น การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและแยกเกียกกาย

แยกเมืองมีน

แยกเมืองมีน หรือ แยกมีนบุรี เป็นสี่แยกจุดตัดระหว่างถนนรามอินทรา (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 304) ต่อเนื่องถนนสีหบุรานุกิจ ซึ่งเป็นเส้นทางเข้าสู่ชุมชนตลาดมีนบุรี กับถนนเสรีไทยต่อเนื่องถนนสุวินทวงศ์ (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 304) ในพื้นที่แขวงมีนบุรี เขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและแยกเมืองมีน

แยกเอส. เอ. บี.

แยกเอ.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและแยกเอส. เอ. บี.

แยกเฉลิมกรุง

แยกเฉลิมกรุง (Chaloem Krung Intersection) เป็นสี่แยกจุดตัดถนนตรีเพชร, ถนนตีทอง และถนนเจริญกรุง ในพื้นที่เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร อยู่ใกล้เคียงกับย่านการค้าพาหุรัด แหล่งค้าขายเสื้อผ้าสำเร็จรูปแหล่งใหญ่ และย่านบ้านหม้อ ย่านค้าขายอะไหล่เครื่องใช้ไฟฟ้า ลำโพงและเครื่องเสียง รวมไปถึงร้านขายเครื่องเพชร อัญมณีและเครื่องประดับ บริเวณแยกเฉลิมกรุงเป็นที่ตั้งของศาลาเฉลิมกรุง โรงภาพยนตร์เก่าแก่ที่สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 7 ในงานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 150 ปี พุทธศักราช 2475 ซึ่งเป็นที่มาของชื่อทางแยก และอยู่ถัดจากศูนย์การค้าดิโอลด์สยาม ศูนย์การค้าสมัยใหม่ที่พยายามคงเอกลักษณ์ความเป็นย่านเก่าไว้.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและแยกเฉลิมกรุง

เขตบางบอน

ตบางบอน เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองหลักของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงธนใต้ สภาพทั่วไปทางด้านตะวันออกของเขตเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อยและหนาแน่นปานกลาง โดยมีย่านการค้าและเขตอุตสาหกรรมภายในพื้นที่ ส่วนทางด้านตะวันตกเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อยและเขตเกษตรกรรม.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและเขตบางบอน

เขตบางพลัด

ตบางพลัด เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงธนเหนือ เดิมถือเป็นพื้นที่รอบนอก แต่ปัจจุบันมีความเจริญเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว สภาพทั่วไปเป็นแหล่งการค้าและแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก แต่ก็มีแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมตั้งอยู่ด้วยเช่นกัน.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและเขตบางพลัด

เขตบางกอกน้อย

ตบางกอกน้อย เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงธนเหนือ ซึ่งถือเป็นเขตอนุรักษ์เมืองเก่า แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมทางฝั่งธนบุรี โดยมีคำขวัญประจำเขตว่า "สมเด็จโตวัดระฆัง วังหลังตั้งอยู่ อู่เรือพระราชพิธี สถานีรถไฟ คลองใหญ่มีชื่อ เลื่องลือเครื่องลงหิน นามระบิลช่างหล่อ งามลออวัดวา".

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและเขตบางกอกน้อย

เขตบางกอกใหญ่

ตบางกอกใหญ่ เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงธนบุรี ซึ่งถือเป็นเขตอนุรักษ์เมืองเก่า แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมทางฝั่งธนบุรี.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและเขตบางกอกใหญ่

เขตบางกะปิ

ตบางกะปิ เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงเทพตะวันออก ซึ่งถือเป็นเขตที่อยู่อาศัยรองรับการขยายตัวของเมือง ทางทิศตะวันออก (ตอนใต้).

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและเขตบางกะปิ

เขตบางรัก

ตบางรัก เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตลุมพินี ซึ่งถือเป็นเขตศูนย์กลางธุรกิจ การค้า การบริการ และการทูต.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและเขตบางรัก

เขตบางขุนเทียน

ตบางขุนเทียน เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงธนใต้ สภาพพื้นที่ทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือของเขตเป็นแหล่งที่อยู่อาศัย การค้า และอุตสาหกรรม ในขณะที่พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นเขตเกษตรกรรมและมีแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ เนื่องจากเป็นเขตเดียวของกรุงเทพมหานครที่มีพื้นที่ติดกับอ่าวไทย (เป็นระยะทางประมาณ 5 กิโลเมตร) และยังมีป่าชายเลนหลงเหลืออยู.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและเขตบางขุนเทียน

เขตบางคอแหลม

ตบางคอแหลม เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงเทพใต้ สภาพโดยทั่วไปเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและเขตบางคอแหลม

เขตบางซื่อ

ตบางซื่อ เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร จัดอยู่ในกลุ่มเขตกรุงเทพเหนือ สภาพพื้นที่โดยทั่วไปเป็นแหล่งการค้า การบริการ และแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและเขตบางซื่อ

เขตบางนา

ตบางนา เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงเทพใต้ สภาพทั่วไปเป็นเขตชุมชนเมืองหนาแน่นปานกลางผสมกับชุมชนการเกษตร.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและเขตบางนา

เขตบางแค

ตบางแค เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงธนใต้ ซึ่งถือเป็นเขตเกษตรกรรมผสมผสานแหล่งที่อยู่อาศัยสภาพแวดล้อมดีทางฝั่งธนบุรี ปัจจุบันเขตบางแคเป็นเขตที่มีจำนวนประชากรมากเป็นอันดับที่ 3 ในกรุงเทพมหานครรองจากเขตคลองสามว.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและเขตบางแค

เขตบางเขน

ตบางเขน เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงเทพเหนือ ซึ่งถือเป็นเขตที่อยู่อาศัยรองรับการขยายตัวของเมือง ทางทิศตะวันออก (ตอนเหนือ) ของกรุงเทพมหานคร และเป็นเขตที่มีจำนวนประชากรมากเป็นอันดับที่ 4 ในกรุงเทพมหานครรองจากเขตบางแ.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและเขตบางเขน

เขตบึงกุ่ม

ตบึงกุ่ม เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงเทพตะวันออก สภาพโดยทั่วไปเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย โดยมีย่านการค้าหนาแน่นทางตอนกลางของพื้นที.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและเขตบึงกุ่ม

เขตพญาไท

ตพญาไท เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงเทพกลาง สภาพพื้นที่โดยทั่วไปเป็นแหล่งการค้า การบริการ และแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและเขตพญาไท

เขตพระนคร

ตพระนคร เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงเทพกลาง ถือเป็นเขตอนุรักษ์เมืองเก่า แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมทางฝั่งพระนคร เนื่องจากมีสถานที่สำคัญทั้งทางด้านวัฒนธรรมและด้านการเมืองการปกครองตั้งอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งเขตพระนครเป็นที่ตั้งของเกาะรัตนโกสินทร์ในปัจจุบัน.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและเขตพระนคร

เขตพระโขนง

ตพระโขนง เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงเทพใต้.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและเขตพระโขนง

เขตภาษีเจริญ

ตภาษีเจริญ เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงธนใต้ สภาพโดยทั่วไปมีลักษณะกึ่งชนบทกึ่งชุมชนเมือง แต่ในพื้นที่เนื่องจากมีการขยายตัวของระบบสาธารณูปโภค (โดยเฉพาะด้านการคมนาคม) จึงเกิดการเปลี่ยนแปลงจากชุมชนเกษตรเป็นชุมชนเมืองมากขึ้น.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและเขตภาษีเจริญ

เขตมีนบุรี

ตมีนบุรี เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงเทพตะวันออก สภาพภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่ม มีคลองและลำรางไหลผ่านหลายสาย ในอดีตเป็นเรือกสวนไร่นา บ่อปลา นาบัว และไร่หญ้า แต่ปัจจุบันเริ่มลดน้อยลง เนื่องจากพื้นที่หลายแห่งถูกเปลี่ยนสภาพเป็นที่อยู่อาศัยหนาแน่น หมู่บ้าน อาคารพาณิชย์ สถานที่ประกอบการทั้งเล็กและขนาดใหญ.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและเขตมีนบุรี

เขตยานนาวา

ตยานนาวา เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงเทพใต้ สภาพทั่วไปเป็นแหล่งการค้า การบริการ และแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและเขตยานนาวา

เขตราชเทวี

ตราชเทวี เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงเทพกลาง สภาพโดยทั่วไปเป็นแหล่งการค้า การบริการ และแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและเขตราชเทวี

เขตราษฎร์บูรณะ

ตราษฎร์บูรณะ เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตตากสิน ซึ่งถือเป็นแหล่งจ้างงานใหม่ ที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก และศูนย์ราชการทางทิศตะวันตกของกรุงเทพมหานคร.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและเขตราษฎร์บูรณะ

เขตลาดพร้าว

ตลาดพร้าว เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงเทพเหนือ ซึ่งถือเป็นเขตที่อยู่อาศัยรองรับการขยายตัวของเมือง ทางทิศตะวันออก (ตอนเหนือ).

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและเขตลาดพร้าว

เขตลาดกระบัง

ตลาดกระบัง เป็นเขตการปกครองที่มีพื้นที่มากที่สุดเป็นอันดับที่ 2 ของกรุงเทพมหานคร (รองจากเขตหนองจอก) อยู่ในกลุ่มเขตกรุงเทพตะวันออก สภาพโดยทั่วไปเป็นท้องทุ่ง มีแหล่งชุมชนหนาแน่นทางทิศใต้และมีเขตนิคมอุตสาหกรรมทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของพื้นที.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและเขตลาดกระบัง

เขตวัฒนา

ตวัฒนา เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงเทพใต้ ซึ่งถือเป็นเขตศูนย์กลางธุรกิจ การค้า การบริการ และการทูต.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและเขตวัฒนา

เขตวังทองหลาง

ตวังทองหลาง เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงเทพกลาง สภาพโดยทั่วไปเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลางและหนาแน่นน้อย โดยมีย่านการค้าหนาแน่นทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือของพื้นที.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและเขตวังทองหลาง

เขตสวนหลวง

ตสวนหลวง เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงเทพใต้ สภาพทั่วไปเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อ.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและเขตสวนหลวง

เขตสะพานสูง

ตสะพานสูง เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงเทพตะวันออก สภาพพื้นที่โดยทั่วไปเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อ.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและเขตสะพานสูง

เขตสัมพันธวงศ์

ตสัมพันธวงศ์ เป็นเขตที่เล็กที่สุดของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงเทพกลาง สภาพพื้นที่ประกอบไปด้วยแหล่งการค้าหนาแน่นและแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรม.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและเขตสัมพันธวงศ์

เขตสายไหม

ตสายไหม เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงเทพเหนือ และเป็นเขตที่มีจำนวนประชากรมากที่สุดในกรุงเทพมหานครตั้งแต่ปี..

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและเขตสายไหม

เขตสาทร

ตสาทร เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงเทพใต้ ถือเป็นเขตศูนย์กลางธุรกิจ การค้า การบริการ และการทูต.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและเขตสาทร

เขตหลักสี่

ตหลักสี่ เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงเทพเหนือ ซึ่งถือเป็นเขตที่อยู่อาศัยรองรับการขยายตัวของเมือง ทางทิศตะวันออก (ตอนเหนือ) ของกรุงเทพมหานคร.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและเขตหลักสี่

เขตหนองจอก

ตหนองจอก เป็นเขตการปกครองที่มีพื้นที่มากที่สุดของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงเทพตะวันออก สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นท้องทุ่งและเกษตรกรรม มีลำคลองไหลผ่านหล.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและเขตหนองจอก

เขตหนองแขม

ตหนองแขม เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงธนใต้ สภาพพื้นที่โดยทั่วไปเป็นที่ราบลุ่ม สภาพเศรษฐกิจดั้งเดิมขึ้นอยู่กับการเกษตรกรรม แต่ปัจจุบันสภาพพื้นที่เปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากชุมชนเมืองขยายตัวจากพื้นที่ชั้นใน มีผู้ย้ายถิ่นเข้ามาอยู่อาศัยและประกอบอาชีพมากขึ้น พื้นที่การเกษตรจึงเริ่มถูกเปลี่ยนแปลงเป็นสถานที่ราชการ สถานศึกษา โรงพยาบาล สาธารณสุข สถานีโทรทัศน์ โรงงานอุตสาหกรรม อาคารพาณิชย์ และหมู่บ้านจัดสรร.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและเขตหนองแขม

เขตห้วยขวาง

ตห้วยขวาง เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงเทพกลาง ถือเป็นแหล่งการค้า การบริการ และแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและเขตห้วยขวาง

เขตจอมทอง

ตจอมทอง เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร จัดอยู่ในกลุ่มเขตตากสิน ซึ่งถือเป็นแหล่งจ้างงานใหม่ ที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก และศูนย์ราชการทางทิศตะวันตกของกรุงเทพมหานคร.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและเขตจอมทอง

เขตจตุจักร

ตจตุจักร เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร จัดอยู่ในกลุ่มเขตกรุงเทพเหนือ ซึ่งถือเป็นแหล่งการค้า การบริการ และแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและเขตจตุจักร

เขตธนบุรี

ตธนบุรี เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงธนเหนือ ซึ่งถือเป็นเขตอนุรักษ์เมืองเก่า แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมทางฝั่งธนบุรี.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและเขตธนบุรี

เขตทวีวัฒนา

ตทวีวัฒนา เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงธนเหนือ ปัจจุบันพื้นที่ส่วนใหญ่ของเขตเป็นพื้นที่เกษตรกรรม มีลำคลองหลายสายที่สามารถนำน้ำไปใช้ในการทำสวนผลไม้ อย่างไรก็ตาม พื้นที่เกษตรเหล่านั้นกำลังถูกแทนที่ทีละน้อยด้วยโครงการหมู่บ้านจัดสรรซึ่งเรียงรายอยู่ตามถนนสายหลักในพื้นที.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและเขตทวีวัฒนา

เขตทุ่งครุ

ตทุ่งครุ เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร จัดอยู่ในกลุ่มเขตกรุงธนใต้ สภาพทั่วไปเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อยและหนาแน่นปานกลาง โดยมีพื้นที่ทำการเกษตรเป็นหลักทางทิศตะวันตกเฉียงใต้.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและเขตทุ่งครุ

เขตดอนเมือง

ตดอนเมือง เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงเทพเหนือ สภาพทั่วไปเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย โดยมีแหล่งสถาบันราชการอยู่ทางด้านตะวันออกของพื้นที.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและเขตดอนเมือง

เขตดินแดง

ตดินแดง เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงเทพกลาง สภาพทั่วไปเป็นแหล่งการค้า การบริการ และแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและเขตดินแดง

เขตดุสิต

ตดุสิต เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงเทพกลาง สภาพพื้นที่ประกอบไปด้วยแหล่งการค้า แหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก เขตทหาร แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรม นอกจากนี้ยังเป็นสถานที่ที่ตั้งรัฐสภา กระทรวงต่าง ๆ และพระราชวัง จึงทำให้เขตนี้มีลักษณะราวกับว่าเป็นเขตการปกครองส่วนกลางของประเทศไทย อนึ่ง ที่ทำการสำนักงานส่วนภูมิภาคและสำนักงานประจำประเทศไทย ขององค์การสหประชาชาติ และขององค์การระหว่างประเทศหลายองค์การ ก็อยู่ในพื้นที่เขตนี้.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและเขตดุสิต

เขตคลองสามวา

ตคลองสามวา เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร จัดอยู่ในกลุ่มเขตกรุงเทพตะวันออก สภาพทั่วไปเป็นท้องทุ่ง มีคลองสามวาผ่านกลางพื้นที่และมีคลองซอยเชื่อมระหว่างคลองหลักเป็นก้างปลา ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพกสิกรรม ปัจจุบันเขตคลองสามวาเป็นเขตที่มีจำนวนประชากรมากเป็นอันดับที่ 2 รองจากเขตสายไหม.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและเขตคลองสามวา

เขตคลองสาน

ตคลองสาน เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงธนบุรี ซึ่งถือเป็นเขตอนุรักษ์เมืองเก่า แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมทางฝั่งธนบุรี.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและเขตคลองสาน

เขตคลองเตย

ตลาดคลองเตย เขตคลองเตย เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตเจ้าพระยา ซึ่งถือเป็นเขตเศรษฐกิจใหม่และการพัฒนาตามแนววงแหวนอุตสาหกรรม.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและเขตคลองเตย

เขตคันนายาว

ตคันนายาว เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร จัดอยู่ในกลุ่มเขตกรุงเทพตะวันออก สภาพโดยทั่วไปเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลางและหนาแน่นน้อย โดยมีย่านการค้าหนาแน่นทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือของพื้นที.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและเขตคันนายาว

เขตตลิ่งชัน

ตตลิ่งชัน เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร เป็นพื้นที่รอบนอกทางตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งเรียกว่า "ฝั่งธนบุรี" ปัจจุบันจัดอยู่ในกลุ่มเขตกรุงธนเหนือ สภาพโดยทั่วไปเป็นเขตอนุรักษ์ชนบทและเกษตรกรรมผสมผสานแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย แต่ปัจจุบัน พื้นที่เกษตรกรรมกำลังลดลงไปมากจากการสร้างพื้นที่อยู่อาศัยเพื่อรองรับการขยายตัวของเมืองและการสร้างเส้นทางคมนาคม.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและเขตตลิ่งชัน

เขตประเวศ

ตประเวศ เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตศรีนครินทร์ ซึ่งถือเป็นเขตศูนย์ชุมชนชานเมือง แหล่งงานและการบริการเพื่อรองรับท่าอากาศยานสุวรรณภูม.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและเขตประเวศ

เขตปทุมวัน

ตปทุมวัน เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงเทพใต้ ซึ่งถือเป็นเขตศูนย์กลางธุรกิจ การค้า การบริการ การพยาบาล วัฒนธรรม การศึกษา และการทูต เป็นเขตหนึ่งที่มีที่ตั้งอยู่บริเวณใจกลางที่สุดของกรุงเทพมหานครและที่มีการคมนาคมหลากหลายช่องทาง.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและเขตปทุมวัน

เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย

มุมมองเขตป้อมปราบศัตรูพ่ายจากพระบรมบรรพต เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงเทพกลาง ถือเป็นเขตอนุรักษ์เมืองเก่า แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมทางฝั่งพระนคร.

ดู รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย

หรือที่รู้จักกันในชื่อ รายการถนนในกรุงเทพมหานครถนนจอมทอง

ถนนพัฒนาการถนนพัฒน์พงศ์ถนนพาหุรัดถนนพิชัยถนนพิษณุโลกถนนพุทธบูชาถนนพุทธมณฑล สาย 1ถนนพุทธมณฑล สาย 2ถนนพุทธมณฑล สาย 3ถนนพ่วงศิริถนนกรุงเกษมถนนกรุงเทพฯ-นนทบุรีถนนกะออมถนนกัลยาณไมตรีถนนกัลปพฤกษ์ถนนกาญจนาภิเษกถนนกำแพงเพชรถนนมหรรณพถนนมหาพฤฒารามถนนมหาราชถนนมหาไชยถนนมหาเศรษฐ์ถนนมังกรถนนมีนพัฒนาถนนรัชดาภิเษกถนนราชพฤกษ์ถนนราชวิถี (กรุงเทพมหานคร)ถนนราชวงศ์ถนนราชดำริถนนราชดำเนิน (กรุงเทพมหานคร)ถนนราชปรารภถนนรามบุตรีถนนรามคำแหงถนนราษฎร์บูรณะถนนร่มเกล้าถนนลาดพร้าวถนนลาดพร้าววังหินถนนลาดกระบังถนนลาดหญ้าถนนลาดปลาเค้าถนนลำพูนไชยถนนลิขิตถนนลูกหลวงถนนวรจักรถนนวังหลังถนนวังเดิมถนนวิภาวดีรังสิตถนนวิสุทธิกษัตริย์ถนนวิทยุถนนศรีบูรพาถนนศรีรับสุขถนนศรีอยุธยาถนนศรีนครินทร์ถนนศิริพงษ์ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสินถนนสมเด็จเจ้าพระยาถนนสรรพาวุธถนนสรงประภาถนนสวรรคโลกถนนสามเสนถนนสาธุประดิษฐ์ถนนสาทรถนนสิบสามห้างถนนสิรินธรถนนสุรวงศ์ถนนสุทธาวาสถนนสุทธิสารวินิจฉัยถนนสุขสวัสดิ์ถนนสุขุมวิทถนนสุขุมวิท 71 (ปรีดี พนมยงค์)ถนนสีลมถนนสีหบุรานุกิจถนนสี่พระยาถนนสนามไชยถนนหม่อมเจ้าสง่างาม สุประดิษฐ์ถนนหลวงถนนหลวงแพ่งถนนหลานหลวงถนนหทัยราษฎร์ถนนหน้าพระลานถนนหน้าพระธาตุถนนอรุณอมรินทร์ถนนอัษฎางค์ถนนอังรีดูนังต์ถนนอิสรภาพถนนอินทรพิทักษ์ถนนอุทยานถนนอุณากรรณถนนอุดมสุขถนนอู่ทองถนนอ่อนนุชถนนอโศก-ดินแดงถนนอโศกมนตรีถนนผดุงด้าวถนนจรัญสนิทวงศ์ถนนจักรพงษ์ถนนจักรวรรดิ์ถนนจักรเพชรถนนจตุรทิศถนนทรงวาดถนนทวีวัฒนาถนนทวีวัฒนา-กาญจนาภิเษกถนนทองหล่อถนนทางรถไฟสายเก่าปากน้ำถนนท่าดินแดงถนนข้าวสารถนนข้าวหลาม (กรุงเทพมหานคร)ถนนดำรงรักษ์ถนนดินสอถนนงามวงศ์วานถนนตกถนนตรีมิตรถนนตรีเพชรถนนตะนาวถนนตีทองถนนประชาชื่นถนนประชาอุทิศ (ฝั่งธนบุรี)ถนนประชาธิปกถนนประดิษฐ์มนูธรรมถนนประเสริฐมนูกิจถนนปั้นถนนนราธิวาสราชนครินทร์ถนนนวมินทร์ถนนนิมิตใหม่ถนนนครราชสีมาถนนนครสวรรค์ถนนนครปฐมถนนนครไชยศรีถนนแจ้งวัฒนะถนนแปลงนามถนนเชียงใหม่ถนนเฟื่องนครถนนเพชรบุรีถนนเพชรเกษมถนนเพลินจิตถนนเยาวราชถนนเสรีไทยถนนเสือป่าถนนเอกชัยถนนเจริญกรุงถนนเจริญรัถถนนเจริญราษฎร์ถนนเจริญนครถนนเจ้าฟ้าถนนเจ้าคำรบถนนเจ้าคุณทหารถนนเทพรักษ์ถนนเทพรัตนถนนเทอดไทถนนเดโชถนนเฉลิมพระเกียรติ ร.9ทางพิเศษศรีรัชทางรถไฟสายแม่กลองทางรถไฟสายใต้ทางรถไฟสายเหนือทางหลวงพิเศษหมายเลข 7ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 304ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 306ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3256ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 350ทางแยกต่างระดับรัชวิภาทางแยกต่างระดับศรีนครินทร์ทางแยกต่างระดับสวนเลียบท่าช้างวังหลวงท่าพระจันทร์ท่าวังหลังและท่าพรานนกคลองสนามชัยคลองหลอดคลองผดุงกรุงเกษมซอยกัปตันบุชแพร่งภูธรแพร่งสรรพศาสตร์แพร่งนราแม่น้ำเจ้าพระยาแยกบรมราชชนนีแยกบางยี่เรือแยกบางขุนนนท์แยกบางนาแยกชิดลมแยกบ้านหม้อแยกพระราม 9แยกพรานนกแยกพลับพลาไชยแยกพาณิชยการธนบุรีแยกพิบูลสงครามแยกกษัตริย์ศึกแยกมไหสวรรย์แยกยมราชแยกยุคล 2แยกราชประสงค์แยกรามคำแหง-สุวินทวงศ์แยกลาดหญ้าแยกวิทยุ-เพชรบุรีแยกวงศ์สว่างแยกวงเวียน รด. และแยกท้ายวังแยกศรีอุดมแยกศาลาแดงแยกสามย่านแยกหมอมีแยกหัวลำโพงแยกอังรีดูนังต์แยกอุณากรรณแยกจอมทองแยกท่าพระแยกตากสินแยกประชาอุทิศ (เขตราษฎร์บูรณะ)แยกประตูน้ำแยกนพวงศ์ (กรุงเทพมหานคร)แยกแฮปปี้แลนด์แยกโพธิ์สามต้นแยกไฟฉายแยกไมตรีจิตต์แยกเพชรพระรามแยกเกียกกายแยกเมืองมีนแยกเอส. เอ. บี.แยกเฉลิมกรุงเขตบางบอนเขตบางพลัดเขตบางกอกน้อยเขตบางกอกใหญ่เขตบางกะปิเขตบางรักเขตบางขุนเทียนเขตบางคอแหลมเขตบางซื่อเขตบางนาเขตบางแคเขตบางเขนเขตบึงกุ่มเขตพญาไทเขตพระนครเขตพระโขนงเขตภาษีเจริญเขตมีนบุรีเขตยานนาวาเขตราชเทวีเขตราษฎร์บูรณะเขตลาดพร้าวเขตลาดกระบังเขตวัฒนาเขตวังทองหลางเขตสวนหลวงเขตสะพานสูงเขตสัมพันธวงศ์เขตสายไหมเขตสาทรเขตหลักสี่เขตหนองจอกเขตหนองแขมเขตห้วยขวางเขตจอมทองเขตจตุจักรเขตธนบุรีเขตทวีวัฒนาเขตทุ่งครุเขตดอนเมืองเขตดินแดงเขตดุสิตเขตคลองสามวาเขตคลองสานเขตคลองเตยเขตคันนายาวเขตตลิ่งชันเขตประเวศเขตปทุมวันเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย