โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

จักรวรรดิและรายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง จักรวรรดิและรายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่

จักรวรรดิ vs. รายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่

ความแตกต่างระหว่าง จักรวรรดิและรายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่ ไม่สามารถใช้ได้

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง จักรวรรดิและรายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่

จักรวรรดิและรายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่ มี 62 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ฟินิเชียรัฐเคาะลีฟะฮ์ราชวงศ์ชิงราชวงศ์สุยราชวงศ์หมิงราชวงศ์หยวนราชวงศ์ฮั่นราชวงศ์จาลุกยะราชวงศ์ถังราชวงศ์ตีมูร์ราชวงศ์ฉินราชวงศ์ซาฟาวิดราชวงศ์ซ่งราชวงศ์โมริยะราชวงศ์โจฬะราชวงศ์เหลียวอัสซีเรียอาณาจักรมัชปาหิตอาณาจักรศรีวิชัยอาณาจักรอักซุมอาณาจักรโคกูรยออาณานิคมโพ้นทะเลของเบลเยียมจักรวรรดิบราซิลจักรวรรดิบริติชจักรวรรดิกุษาณะจักรวรรดิญี่ปุ่นจักรวรรดิมราฐาจักรวรรดิมองโกลจักรวรรดิมาลีจักรวรรดิรัสเซีย...จักรวรรดิละตินจักรวรรดิวิชัยนครจักรวรรดิสวีเดนจักรวรรดิสเปนจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีจักรวรรดิออตโตมันจักรวรรดิอะคีเมนิดจักรวรรดิอาณานิคมฝรั่งเศสจักรวรรดิอาณานิคมเยอรมันจักรวรรดิอาณานิคมเดนมาร์กจักรวรรดิอิตาลีจักรวรรดิอินคาจักรวรรดิขแมร์จักรวรรดิดัตช์จักรวรรดิคุปตะจักรวรรดิซองไฮจักรวรรดิปาละจักรวรรดิแอกแคดจักรวรรดิแอซเท็กจักรวรรดิโมกุลจักรวรรดิโรมันจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์จักรวรรดิโรมันตะวันตกจักรวรรดิโปรตุเกสจักรวรรดิไบแซนไทน์จักรวรรดิเซลจุคจักรวรรดิเซอร์เบียจักรวรรดิเปอร์เชียประเทศอิหร่านนาซีเยอรมนีโกลเดนฮอร์ดเอลาม ขยายดัชนี (32 มากกว่า) »

ฟินิเชีย

ฟินิเชีย (Phoenicia) เป็นเซเมติกสาขาหนึ่ง อพยพมาจากทะเลทรายอาหรับ เมื่อประมาณ 3,000 ปีก่อนคริสตกาล เข้ามาตั้งหลักแหล่งในบริเวณตะวันตกของทวีปเอเชียบริเวณทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ได้ชื่อว่าเป็นกลุ่มปัญญาชนของเอเชียตะวันตก สร้างเมืองสำคัญ ๆ เช่น ไทรน์ ไซดอน ไบบลอส เป็นพวกที่ร่ำรวย มีชื่อเสียงทางด้านการเดินเรือและค้าขาย มีการตั้งอาณานิคมในส่วนอื่น ๆ เช่น กาดิซในสเปน คาร์เทจทางตอนเหนือของแอฟริกา มรดกชิ้นสำคัญของชาวฟินิเชียคือ ตัวอักษร ซึ่งกรีกและลาตินใช้เป็นแบบในการสร้างตัวอักษรของตนในสมัยต่อมา ตัวอักษรในยุโรปปัจจุบันก็มาจากตัวอักษรเหล่านี้.

จักรวรรดิและฟินิเชีย · ฟินิเชียและรายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐเคาะลีฟะฮ์

รัฐเคาะลีฟะฮ์ (Caliphate จาก خليفة khilāfa) เป็นเขตการปกครองแบบหนึ่งในอาณาจักรมุสลิมที่มีประมุขเป็นเคาะลีฟะฮ์ที่มาจากปรัชญาว่าเป็นผู้สืบอำนาจมาจากนบีมุฮัมมัดศาสดาของศาสนาอิสลาม ซุนนีย์ระบุว่าเคาะลีฟะฮ์ควรจะเป็นผู้ที่ได้รับเลือกโดยชูรา ผู้ได้รับเลือกโดยมุสลิมหรือผู้แทน ชีอะฮ์เชื่อว่าเคาะลีฟะฮ์คืออิมามผู้สืบเชื้อสายมาจากอะฮฺลุลบัยตฺ (Ahl al-Bayt) ตั้งแต่สมัยมุฮัมมัดมาจนถึงปี..

จักรวรรดิและรัฐเคาะลีฟะฮ์ · รัฐเคาะลีฟะฮ์และรายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่ · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์ชิง

ราชวงศ์ชิง (พ.ศ. 2187 - 2455)(ภาษาแมนจู: 16px daicing gurun; ภาษาจีน:清朝; พินอิน: qīng cháo ชิงเฉา) หรือบางครั้งเรียกว่า ราชวงศ์แมนจู ปกครองแผ่นดินจีนต่อจากราชวงศ์หมิง และถือเป็นราชวงศ์สุดท้ายของประเทศจีน ตั้งแต..

จักรวรรดิและราชวงศ์ชิง · ราชวงศ์ชิงและรายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่ · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์สุย

ราชวงศ์สุย (Sui Dynasty, ค.ศ. 581 – ค.ศ. 618) (37 ปี) เป็นราชวงศ์ที่ทรงอำนาจทางการทหารแต่มีระยะเวลาการปกครองที่ค่อนข้างสั้น สถาปนาขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 581 ภายหลังจากยุคสามก๊ก โดยจักรพรรดิสุยเหวินตี้(หยางเจียน) อดีตแม่ทัพแห่งราชวงศ์โจวเหนือ โดยในรัชกาลของพระองค์ทรงสามารถรวบรวมแผ่นดินจีนให้เป็นปึกแผ่นอีกครั้ง แต่ราชวงศ์สุยมีอันต้องล่มสลายลงในปี ค.ศ. 617 ในรัชกาลจักรพรรดิสุยหยางตี้(หยางกว่าง) พระราชโอรสองค์รองของสุยเหวินตี้ ฮ่องเต้หยางเจียน ทรงดำเนินนโยบายอย่างแยบยล โดยการหล่อหลอมเอาวัฒนธรรมแต่ละแคว้นเข้าด้วยกัน เพื่อผสมผสานให้แต่ละแคว้นมีความเป็นปึกแผ่น หลังจากที่แตกสลายหลังสิ้นสุดราชวงศ์ฮั่น โดยมีการผสมผสานหลักการของศาสนาพุทธที่หยางเจียนนับถือ เข้ากับลัทธิขงจื๊อและลัทธิเต๋า แล้วนำมาพัฒนาเป็นการสร้างความมั่นคงให้แก่กฎหมายของราชวงศ์ โดยแม้ต่อมา ราชวงศ์ถังจะสถาปนาขึ้น ก็ยังรับเอาวัฒนธรรมการหล่อหลอมคำสอนศาสนามาใช้ต่อเนื่อง หลังจากนั้น ทรงดำเนินนโยบายให้ขุนนางในราชสำนักรวมไปถึงเชื้อพระวงศ์ได้แต่งงานกับชนเผ่าต่าง ๆ เพื่อเป็นการเจริญสัมพันธไมตรี เพราะโดยพื้นเพเดิมนั้น ทั้งหยางเจียนและพระมเหสี ก็ทรงเป็นตระกูลจีนแท้ผสมกับชนเผ่าเติร์กอยู่แล้ว หยางเจียนทรงดำเนินนโยบาย ขุดคลองต้ายุ่นเหอขนาดมหึมา ยาวกว่า 1,800 กิโลเมตร เชื่อมต่อกรุงปักกิ่ง ซึ่งอยู่ในจีนซีกเหนือ กับเมืองหางโจว ซึ่งเป็นจีนซีกใต้ เพื่อเป็นการเชื่อมแม่น้ำฮวงโหกับแม่น้ำแยงซีเกียง เพื่อผูกขาดเศรษฐกิจของจีนให้เป็นหนึ่งเดียว รวมไปถึง การสร้างยุ้งฉางกักตุนสินค้าขนาดใหญ่โต เพื่อรองรับสินค้าเกือบตลอดแนวคลอง มีการริเริ่มการสอบจอหงวน เป็นครั้งแรก ทั่วราชอาณาจักร เพื่อคัดเลือกผู้ที่มีความสามารถเข้ามารับราชการในตำแหน่งขุนนาง ทำให้แต่เดิม ที่ขุนนางจะมีเพียงแต่ชนชั้นสูงที่สืบทอดสกุลต่อกันมา ทำให้อาจจะมีแต่ตำแหน่งแต่ไร้ความสามารถ จึงได้ผู้ที่มีฝีมือและความรู้อย่างแท้จริง ซ้ำยังทำให้ประชาชนได้มีโอกาสมารับราชการในราชวัง นับว่าเป็นการลดการเหลื่อมล้ำทางสังคมอีกด้วย แต่ต่อมา เมื่อหยางกว่างขึ้นครองราชย์ ทรงประกาศสงครามกับชนเผ่าต่าง ๆ ทำให้ทรงขยายพื้นที่ทางด้านตะวันตกได้พอสมควร ซ้ำยังยกทัพไปบุกเกาหลีและแมนจู แต่ไม่ประสบความสำเร็จเพราะด้วยประสบกับความหนาวเหน็บ ซ้ำยังไม่มีการควบคุมทัพที่ดีพอ ทำให้พ่ายศึก ตามพงศาวดารกล่าวไว้ว่า ซึ่งสุยหยางตี้บัญชาให้ยกทัพขนาดมหึมานี้ ถึง 4 ครั้ง ทำให้ราชวงศ์สุย เสียหายอย่างหนัก ด้วยเหตุนี้ จึงการการก่อจลาจลทั่วทุกหัวระแหง ที่ใหญ่ ๆ มี 3 กลุ่ม อันได้แก่ กองกำลังหวากัง นำโดยใจ๋หยางและหลี่มี่ กองกำลังเจียงไหว นำโดยตู้ฝูเว่ย และกองกำลังเหอเป่ย นำโดยโต้วเจี้ยนเต๋อ รวมไปถึงการก่อกบฏในราชสำนักเองอีกด้วย สุดท้าย สุยหยางตี้ถูกลอบปลงพระชนม์โดยพระประยูรฐาติของพระองค์ นำโดยอวี้เหวินฮั่วจี๋ ราชวงศ์สุยถึงกาลอาวสาน เมื่อปีพ.ศ. 1161.

จักรวรรดิและราชวงศ์สุย · ราชวงศ์สุยและรายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่ · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์หมิง

ราชวงศ์หมิง หรือ ราชวงศ์เบ๋ง (ฮกเกี้ยน) หรือ ราชวงศ์เม้ง (แต้จิ๋ว) หรือเป็นที่รู้จักกันในชื่อ จักรวรรดิต้าหมิง เป็นราชวงศ์ที่ปกครองจักรวรรดิจีน ระหว่าง พ.ศ. 1911 (ค.ศ. 1368) ถึง พ.ศ. 2187 (ค.ศ. 1644) ดำรงอยู่เป็นเวลารวม 276 ปี โดยปกครองต่อจากราชวงศ์หยวนของชาวมองโกล และพ่ายแพ้ให้กับราชวงศ์ชิงของชาวแมนจูในภายหลัง ราชวงศ์หมิงเป็นราชวงศ์ที่รุ่งเรืองในด้านวัฒนธรรมเป็นอย่างมาก ในยุคนี้มีการสำรวจทางทะเลอย่างกว้างขวาง ราชวงศ์หมิงในตอนต้น (1368 - 1464) ถือเป็นอาณาจักรที่ก้าวหน้าที่สุดในโลก ณ ช่วงเวลานั้น ราชวงศ์หมิงถือเป็นหนึ่งในยุคที่ถูกจัดโดยนักวิชาการชาวตะวันตกว่ามีการปกครองที่เป็นระบบและสังคมที่มีเสถียรภาพในประวัติศาสตร์มนุษย์ชาติก่อนที่จะล่มสลาย ราชวงศ์หมิงถือเป็นราชวงศ์ที่ปกครองประเทศจีนราชวงศ์สุดท้ายที่ปกครองโดยชาวฮั่น ปฐมจักรพรรดิต้าหมิง จูหยวนจาง หรือ จักรพรรดิหงหวู่ หลังจากที่ได้ทรงประกาศปลดแอกชาวฮั่นจากภายใต้การปกครองของราชวงศ์หยวนของชาวมองโกล ได้สถาปนาราชวงศ์หมิงขึ้น พระองค์ได้ทรงพยายามปฏิรูปการปกครองอาณาจักรเสียใหม่ ทรงพยายามสร้างระบบสังคมชุมชนชนบทแบบพึ่งพาตนเอง ปฏิรูประบบราชการ, กฎหมาย จักรพรรดิหงหวู่ได้สร้างระบบที่เป็นระเบียบที่ยืดหยุ่นเปลี่ยนแปลงได้ที่จะสามารถรองรับและสนับสนุนการทหารของราชวงศ์หมิงอย่างยั่งยืน ทำให้ด้านการทหารในช่วงนั้นราชวงศ์หมิงประสบความสำเร็จมีกองทัพภาคพื้นดินเกินกว่า 1 ล้านคนและกองทัพเรือมีอู่ต่อเรือที่หนานจิงเป็นอู่ต่อเรือที่ใหญ่ที่สุดในโลกในขณะนั้น พระองค์ยังได้ทรงตระหนักถึงการลดทอนอำนาจของเหล่าขันทีในราชสำนักCrawford, Robert.

จักรวรรดิและราชวงศ์หมิง · ราชวงศ์หมิงและรายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่ · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์หยวน

ตแดนของจักรวรรดิจีนสมัยราชวงศ์หยวน เครื่องปั้นดินเผา สมัยราชวงศ์หยวน ราชวงศ์หยวน (หยวนเฉา) (พ.ศ. 1814 - 1911) คือหนึ่งในราชวงศ์ของจักรวรรดิจีน ก่อตั้งขึ้นเมื่อกุบไลข่านผู้นำเผ่าชาวมองโกล ได้โค่นอำนาจราชวงศ์ซ่งลง แล้วเปิดศักราชชาวมองโกลครองประเทศจีน ชาวมองโกลได้เข้ายึดครองภาคเหนือของจีนเป็นเวลากว่าทศวรรษ ได้มีความพยายามเปลี่ยนเป็นจีน ตั้งแต่สมัย มองเกอ ข่าน พระเชษฐาของกุบไลข่าน แต่ไม่สำเร็จ จนกระทั่งในสมัยของกุบไลข่าน ในปี..

จักรวรรดิและราชวงศ์หยวน · ราชวงศ์หยวนและรายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่ · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์ฮั่น

มเด็จพระจักรพรรดิฮั่นเกาจู ปฐมจักรพรรดิแห่งราชวงศ์ฮั่น เขตแดนของราชวงศ์ฮั่นสมัยสมเด็จพระจักรพรรดิฮั่นอู่ตี้ ราชวงศ์ฮั่น (ภาษาจีน: 漢朝 พ.ศ. 337 - พ.ศ. 763) เป็นราชวงศ์จีนที่ปกครองต่อจากราชวงศ์ฉิน.

จักรวรรดิและราชวงศ์ฮั่น · ราชวงศ์ฮั่นและรายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่ · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์จาลุกยะ

ราชวงศ์จาลุกยะ (กันนาดา: ಚಾಲುಕ್ಯರು, Chalukya dynasty) คือราชวงศ์อินเดียผู้ปกครองดินแดนอันกว้างใหญ่ในอินเดียใต้และอินเดียกลางระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 6 จนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 12 แม้ว่าความเห็นในเรื่องต้นกำเนิดของราชวงศ์จาลุกยะจะมีด้วยกันหลายทฤษฎีแต่โดยทั่วไปแล้วต่างก็เห็นพ้องกันว่าผู้ก่อตั้งจักรวรรดิที่บาดามีเป็นผู้ที่มาจากบริเวณรัฐกรณาฏกะN.

จักรวรรดิและราชวงศ์จาลุกยะ · ราชวงศ์จาลุกยะและรายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่ · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์ถัง

ราชวงศ์ถัง (พ.ศ. 1161-1450) ราชวงศ์นี้สร้างความเจริญรุ่งเรืองให้จีนอย่างมาก ทั้งด้านศิลปกรรม วัฒนธรรม และอีกหลาย ๆ ด้าน หลี่ยวนได้ตั้งตัวเองเป็น จักรพรรดิถังเกาจู่ หลังจากรวมแผ่นดินให้เป็นปึกแผ่นแล้ว ก็เกิดการแย่งชิงตำแหน่งรัชทายาทขึ้น ระหว่างโอรสหลี่เจี้ยนเฉิง หลี่ซื่อหมิน และหลี่หยวนจี๋ หลี่ซื่อหมินนั้น มีความดีความชอบมาก เนื่องจากรบชนะมาหลายครั้ง ต่อมา ถังเกาจู่ก็สละราชสมบัติ ตั้งตนเองเป็นไท่ช่างหวง ราชวงศ์ถังปกครองประเทศนานถึง 289 ปีตั้งแต..

จักรวรรดิและราชวงศ์ถัง · ราชวงศ์ถังและรายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่ · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์ตีมูร์

ราชวงศ์ตีมูร์ หรือ จักรวรรดิตีมูร์ (Timurid dynasty, تیموریان ตั้งตนเป็นGurkānī, گوركانى) เป็นราชวงศ์หนึ่งของจักรวรรดิเปอร์เชียของซุนนีย์มุสลิมในเอเชียกลางที่เดิมมาจากผู้สืบเชื้อสายจากราชวงศ์เติร์ก-มองโกล (Turko-Mongol)Encyclopædia Britannica, "", Online Academic Edition, 2007.

จักรวรรดิและราชวงศ์ตีมูร์ · ราชวงศ์ตีมูร์และรายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่ · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์ฉิน

เขตแดนราชวงศ์ฉิน ราชวงศ์ฉิน (Qin Dynasty; 秦朝) หรือจิ๋น เป็นราชวงศ์ที่ปกครองแผ่นดินจีนระหว่าง พ.ศ. 323–พ.ศ. 338 (221 ปีก่อนค.ศ. – 207 ปีก่อนค.ศ.) ก่อนหน้านี้จีนได้แตกแยกออกเป็น 7 รัฐและทำสงครามกันอยู่เนืองๆ ต่อมากษัตริย์แห่งรัฐฉินได้ทำสงครามรวบรวมแผ่นดินให้เป็นหนึ่งเดียว และสถาปนาตนเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ฉินโดยใช้พระนามว่า ฉินสื่อหวงตี้ คนไทยจึงออกเสียงเพี้ยนเป็น จิ๋นซีฮ่องเต้ หรือ ฉินซีฮ่องเต้ จิ๋นซีฮ่องเต้ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 322–พ.ศ. 333 ในช่วงนี้แผ่นดินจีนมีความเป็นปึกแผ่นมั่นคงมาก แต่เมื่อจิ๋นซีฮ่องเต้เสด็จสวรรคต ราชวงศ์ฉินก็สั่นคลอนอย่างหนัก และล่มสลายลงใน พ.ศ. 337 อ๋องแห่งรัฐฉิน ได้รวมประเทศจีนเป็นหนึ่งเดียวเป็นครั้งแรก และสถาปนาตัวเองเป็นจักรพรรดิ (ฮ่องเต้) คือ จิ๋นซีฮ่องเต้ หรือ ฉินซีฮ่องเต้ นั่นเอง นครหลวงอยู่ที่เมืองเสียนหยาง (หรือซีอานในปัจจุบัน) ฉินอ๋องได้หาชื่อใหม่ให้ตนเอง เนื่องจากเห็นว่า ตนสามารถรวบรวมแผ่นดินเป็นปึกแผ่นได้ คำว่า อ๋อง ไม่ยิ่งใหญ่พอ จึงได้เลือกคำว่า หวงตี้ (ฮ่องเต้) ซึ่งแปลว่า "เจ้าแผ่นดิน หวาง หรือ อ๋อง แปลว่า เจ้า ตี๋ลี่ หรือ ตี้ แปลว่า แผ่นดิน" มาใช้ แล้วเรียกชื่อตน ตามชื่อราชวงศ์ว่า ฉินซีฮ่องเต้ ฮ่องเต้เรียกตัวเองว่า "เจิ้น" (เดิมเรียกว่า "กู") เป็นการเปิดฉากโอรสแห่งสวรรค์ครองเมือง มีการปฏิรูประบบตัวอักษร ระบบชั่ง, ตวง, วัด (เช่น เพลารถ) ให้เหมือนกันทั้งประเทศ (สำหรับตัวอักษรนั้น อ่านออกเสียงต่างกันได้ แต่จะต้องเขียนเหมือนกัน เช่นเลข 1 เขียนด้วยขีดแนวนอนขีดเดียว จีนกลางออกเสียงว่า "อิ๊" แต่แต้จิ๋วอ่านว่า "เจ๊ก") และแบ่งการปกครองเป็นระบบจังหวัด, อำเภอ นับเป็นผลงานอันยิ่งใหญ่ของพระองค์ ต่อมาฉินซีฮ่องเต้ได้ให้ขุนศึกเหมิงเถียนหรือเม่งเถียน ยกทัพไปปราบชนเผ่าซ่งหนู (เฉียนหนู) แล้วก่อสร้างกำแพงเมืองจีนขึ้น เพื่อป้องกันการรุกรานของอนารยชน ฉินซีฮ่องเต้ ได้ชื่อว่า เป็นทรราชที่โหดร้ายทารุณมาก ปกครองด้วยความเฉียบขาด อำมหิต กล่าวกันว่า แค่มีคนจับกลุ่มคุยกัน ก็จะถูกจับไปประหารทันที ข้อหาให้ร้ายราชสำนัก มีการยัดเยียดข้อหาแล้วประหารทั้งโคตร การประหารมีทั้งตัดหัว, ตัดหัวเสียบประจาน หรือ "ห้าม้าแยกร่าง" (เอาเชือกมัดแขนขาไว้กับม้าหรือรถม้า 5 ทิศ แล้วให้ม้าควบไป ฉีกร่างออกเป็นชิ้นๆ) และกรณีที่อื้อฉาวมากคือ การเผาตำราสำนักขงจื๊อ แล้วจับบัณฑิตสำนักขงจื๊อสังหารหมู่ ด้วยการเผาทั้งเป็น, ฝังทั้งเป็น หรือฝังดินแล้วตัดหัว แม้แต่รัชทายาทฝูซู (พระโอรสองค์โต) ยังถูกเนรเทศไปชายแดน ไป "ช่วย" เหมิงเถียนสร้างกำแพงเมืองจีน ด้วยข้อหา ขัดแย้งกับพระองค์ จึงมีคนหาทางปลงพระชนม์ตลอดเวลา แม้แต่พระสหายที่สนิทก็ตาม นอกจากนี้ พระองค์ยังกลัวความตายมาก พยายามเสาะแสวงหายาอายุวัฒนะมาทุกวิถีทาง แต่สุดท้าย ฉินซีฮ่องเต้ก็ป่วยหนัก และสิ้นพระชนม์ลง ในระหว่างที่ออกตามหายาอายุวัฒนะ ในแดนทุรกันดารนั่นเอง และได้มีพระราชโองการเรียกฝูซู รัชทายาทกลับมา เพื่อสืบราชบัลลังก์ (โอรสองค์นี้มีนิสัยอ่อนโยนกว่าบิดา และยังเก่งกาจอีกด้วย จึงเป็นที่คาดหวังจากราษฎรเป็นอย่างมาก) แต่หูไห่ โอรสอีกองค์ ได้ร่วมมือกับเจ้าเกา ขันทีและอัครเสนาบดี และหลี่ซือ ปลอมราชโองการ ให้ฝูซูและเหมิงเถียนฆ่าตัวตาย แล้วตั้งหูไห่เป็นฮ่องเต้องค์ถัดมา เรียกว่า พระเจ้าฉินที่สอง หรือฉินเอ้อซื่อ ซึ่งเป็นฮ่องเต้ที่โหดเหี้ยม แต่ไร้สามารถ ผิดกับพระบิดา แถมยังอยู่ใต้การชักใยของขันทีเจ้าเกา ทำให้ราชวงศ์ฉินล่มจม หูไห่ได้ใช้เงินทองจำนวนมหาศาล ในการก่อสร้างสุสานของฉินซีฮ่องเต้ และยังรีดภาษีจากราษฎรอีก ทำให้ประชาชนก่อกบฏขึ้น ในเวลานั้น มีกบฏอยู่หลายชุด มีข้อตกลงกันว่า หากใครบุกเข้าทางกวนจง ของราชวงศ์ฉินได้ก่อน จะได้เป็นใหญ่ หลิวปัง ได้ก่อกบฏต่อต้านราชวงศ์ฉินขึ้น และได้ผู้ช่วยมือดีมา 3 คน คือ หานซิ่น จางเหลียง และเซียวเหอ มาช่วยในการวางแผนรบ และประสานงานต่างๆ จึงโค่นราชวงศ์ฉินลงได้ โดยเจ้าเกาได้ฆ่าหลี่ซือ ปลงพระชนม์หูไห่ แล้วตั้งจื่ออิง หลานของหูไห่เป็นฮ่องเต้แทน แต่เจ้าเกาก็ถูกจื่ออิงฆ่าตาย จื่ออิงยอมสวามิภักดิ์ต่อหลิวปัง เวลาเดียวกัน เซี่ยงอี้ ได้ละเมิดข้อตกลง โดยตั้งตัวเป็นซีฉู่ป้าอ๋อง หรือฌ้อป้าอ๋อง (แปลว่า อ๋องแห่งแคว้นฉู่ ที่ยิ่งใหญ่เหนืออ๋องอื่นๆ ว่ากันว่า เซี่ยงอี้นิยมสงคราม และคิดจะทำให้แผ่นดินแตกแยก กลับไปสู่ยุคจ้านกว๋ออีกครั้ง) เซี่ยงอี้ได้เผาพระราชวังอาฝางกงของฉินซีฮ่องเต้ ปลงพระชนม์จื่ออิง แล้วสู้รบกับหลิวปัง การสู้รบได้ยืดเยื้ออยู่นาน เซี่ยงอี้คิดจะแบ่งแผ่นดินปกครองกับหลิวปัง แต่ในที่สุด หลิวปังได้ยกทัพเข้าสู้รบขั้นเด็ดขาด ทำให้เซี่ยงอี้ต้องฆ่าตัวตายในที่สุด เรื่องราวสมัยราชวงศ์ฉิน มีอยู่ในวรรณกรรมไซ่ฮั่น ซึ่งกล่าวถึงการสิ้นสุดราชวงศ์ฉินและการสถาปนาราชวงศ์ฮั่น ปัจจุบัน ราชวงศ์ฉินได้รับการยอมรับจากนักประวัติศาสตร์ให้เป็นราชวงศ์แรกของจีน ด้วยมีหลักฐานทางโบรารคดีและประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการมากที่สุดและแผ่นดินก็ยงได้ถูกรวมเป็นหนึ่งครั้งแรก และยกให้ จิ๋นซีฮ่องเต้ เป็นจักรพรรดิองค์แรกของจีนด้วย ด้วยคำว่า "China" ในภาษาอังกฤษ หรือคำว่า "จีน" ในภาษาไทยก็ล้วนเพี้ยนมาจากคำว่าฉินนี้ทั้งสิ้น หมวดหมู่:อาณาจักรโบราณ หมวดหมู่:ราชวงศ์จีน หมวดหมู่:ราชวงศ์ฉิน หมวดหมู่:ยุคเหล็ก หมวดหมู่:รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 323 หมวดหมู่:รัฐและดินแดนที่สิ้นสุดในศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสตกาล หมวดหมู่:สิ้นสุดในศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสตกาล.

จักรวรรดิและราชวงศ์ฉิน · ราชวงศ์ฉินและรายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่ · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์ซาฟาวิด

ราชวงศ์ซาฟาวิยะห์ (صفویان; صفوی‌لر; სეფიანთა დინასტია; Safavid dynasty) เป็นหนึ่งในราชวงศ์ที่ปกครองอิหร่านในอดีต ราชวงศ์ซาฟาวิยะห์ปกครองจักรวรรดิอันยิ่งใหญ่ที่สุดจักรวรรดิหนึ่งตั้งแต่การพิชิตจักรวรรดิเปอร์เซียของอิสลาม (Islamic conquest of Persia) เป็นต้นมา และเป็นผู้ก่อตั้ง “Ithnāˤashari” (อิมามชีอะหฺ) R.M. Savory, Safavids, Encyclopedia of Islam, 2nd edition ซึ่งเป็นลัทธิทางการของจักรวรรดิ ซึ่งเป็นจุดสำคัญของประวัติศาสตร์ของศาสนาอิสลาม ราชวงศ์ซาฟาวิยะห์มาจากหลายเผ่าพันธุ์ (ชาวอาเซอร์ไบจาน,ชาวเซอร์คาสเซียน/ชาวจอร์เจียRUDI MATTHEE, "GEORGIANS IN THE SAFAVID ADMINISTRATION" in Encyclopedia Iranica, ชาวกรีก,ชาวเคิร์ด) และมีอำนาจปกครองอิหร่านระหว่างปี ค.ศ. 1501/ค.ศ. 1502 มาจนถึงกระทั่งถึงปี ค.ศ. 1722 ราชวงศ์ซาฟาวิยะห์มีรากฐานมาจากการก่อตั้งลัทธิซูฟีย์ (Safaviya sufi order) ในเมืองอาร์ดาบิล (Ardabil) ในบริเวณอาเซอร์ไบจานของอิหร่าน จากนั้นราชวงศ์ซาฟาวิยะห์ก็ขยายอิทธิพลออกไปอย่างกว้างขวางจนสามารถครอบครองจักรวรรดิเปอร์เซียได้ทั้งหมด และริเริ่มการก่อตั้งวัฒนธรรมของความเป็นอิหร่านในบริเวณที่ปกครอง ราชวงศ์ซาฟาวิยะห์จึงกลายเป็นราชวงศ์แรกของอิหร่านตั้งแต่ซาสซานิยะห์ที่เริ่มการรวบรวมอิหร่านเข้าเป็นรัฐที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน แม้ว่าการปกครองของราชวงศ์ซาฟาวิยะห์จะสิ้นสุดลงในปี ค.ศ. 1736 แต่ก็ได้ทิ้งร่องรอยมาจนถึงสมัยปัจจุบันโดยการก่อตั้งและเผยแพร่ชีอะหฺในบริเวณส่วนใหญ่ของคอเคซัส และเอเชียตะวันออกและโดยเฉพาะในอิหร่านเอง.

จักรวรรดิและราชวงศ์ซาฟาวิด · ราชวงศ์ซาฟาวิดและรายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่ · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์ซ่ง

ราชวงศ์ซ่ง ตามสำเนียงกลาง หรือ ซ้อง ตามสำเนียงฮกเกี้ยน เป็นหนึ่งในราชวงศ์ซึ่งปกครองประเทศจีนอยู่ระหว่างปี พ.ศ. 1503 ถึง ปีพ.ศ. 1822 รัฐบาลซ่งเป็นรัฐบาลแรกในโลกที่ใช้เงินตราแบบกระดาษ เจ้า ควงอิ้น ได้ชื่อว่า พระเจ้าซ่งไท่จู่ ได้พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมขึ้นมาใหม่ แต่กลับตัดทอนอำนาจทางการทหาร ของแม่ทัพ เนื่องจากความระแวง กลัวจะยึดอำนาจ ทำให้การทหารอ่อนแอ อย่างไรก็ดี ในราชวงศ์นี้ ศิลปกรรมและวัฒนธรรมรุ่งเรืองมาก การศึกษาของประชาชนดีขึ้น และเปาบุ้นจิ้น ก็ได้มาเกิดในยุคในสมัยของจักรพรรดิซ่งเหรินจง ซึ่งเป็นยุคที่ฮ่องเต้อ่อนแอ อำนาจอยู่ในมือพวกกังฉิน ท่านตัดสินคดีอย่างยุติธรรม และเด็ดขาด ไม่เกรงหน้าอินทร์หน้าพรหมใดๆ จนเป็นที่เลื่องลือมาถึงปัจจุบัน ในสมัยราชวงศ์ซ่ง จีนถูกรุกรานโดยชนเผ่าต่างๆ คือ พวกเซี่ย พวกชิตัน (เมืองเหลียว) จึงมีศึกอยู่ตลอดมา แถมยังต้องยอมเซ็นสัญญาสงบศึกกับ "คนป่าเถื่อน" ต้องส่งบรรณาการให้ ทำให้การเงินไม่คล่องตัว จนมีนักปฏิรูปชื่อ "หวังอั้นจี่" ออกกฎหมายมาควบคุมการใช้เงิน ของบรรดาเชื้อพระวงศ์ แต่สุดท้าย ก็ต้องยกเลิก เพราะไปขัดผลประโยชน์เจ้าใหญ่นายโต ครั้นต่อมา มีชนเผ่าจินหรือกิม (บรรพบุรุษของแมนจู) เข้ามาตี และเนื่องจากมีขุนนางกังฉิน ไปเข้ากับศัตรู (ดังเช่น ฉินไคว่ กังฉินชื่อดัง ซึ่งใส่ความแม่ทัพงักฮุย และสังหารงักฮุยกับลูกชายเสีย ทำให้ชาวจีนเคียดแค้นชิงชังอย่างยิ่ง) บวกกับการทหารที่อ่อนแออยู่แล้ว (ผสมกับฮ่องเต้ที่ไร้สามารถ หูเบา เชื่อฟังกังฉิน) ทำให้พวกจินสามารถบุกจนถึงเมืองไคฟง (เมืองหลวง) จึงต้องย้ายเมืองหลวง ไปอยู่ทางทิศใต้ มีชื่อเรียกว่า ซ่งใต้ ซึ่งพวกจินก็ยังตามล้างผลาญตลอด แต่ต่อมา ในที่สุด พวกจิน, เซี่ยกับชิตันก็ถูกมองโกล ซึ่งนำโดย เจงกิสข่าน (เตมูจิน) เข้าตี แล้วหันมาตีจีนต่อจนถึงปักกิ่ง หลังจากนั้น กุบไลข่าน หลานปู่ของเจงกิสข่าน ได้โจมตีราชวงศ์ซ่งใต้ โดยได้ความร่วมมือจากขุนนาง และทหารของราชวงศ์ซ่งบางคน ที่กลับลำหันมาช่วยเหลือมองโกล โจมตีพวกของตัวเอง จนสิ้นราชวงศ์ในที่สุด แล้วกุบไลข่านจึงตั้งราชวงศ์หยวนขึ้นมาแทน.

จักรวรรดิและราชวงศ์ซ่ง · ราชวงศ์ซ่งและรายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่ · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์โมริยะ

มริยะ (เขียนตามภาษาบาลี) หรือ เมารยะ (เขียนตามภาษาสันสกฤต: मौर्य, เมารฺย) เป็นจักรวรรดิซึ่งมีเนื้อที่กว้างใหญ่และมีอิทธิพลมากที่สุดจักรวรรดิหนึ่งในอินเดีย ปกครองโดยราชวงศ์โมริยะ (मौर्य राजवंश, เมารฺย ราชวํศ) ตั้งแต..

จักรวรรดิและราชวงศ์โมริยะ · ราชวงศ์โมริยะและรายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่ · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์โจฬะ

ราชวงศ์โจฬะ (Chola Dynasty, சோழர் குலம்) เป็นราชวงศ์ทมิฬทราวิฑที่ส่วนใหญ่ปกครองทางตอนใต้ของอินเดียมาจนกระทั่งคริสต์ศตวรรษที่ 13 ถิ่นกำเนิดของราชวงศ์อยู่ที่ลุ่มแม่น้ำกาเวรี (Kaveri River) พระเจ้าการิกาลาโจฬะ (Karikala Chola) เป็นบุคคลสำคัญที่สุดในยุคโจฬะตอนต้น ขณะที่จักรพรรดิองค์อื่นๆ หลายองค์ทรงมีชื่อเสียงในยุคกลาง ราชวงศ์โจฬะรุ่งเรืองตลอดมาตั้งแต่ครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 9 มาจนถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 13K.A. Nilakanta Sastri, A History of South India, p 5 ในรัชสมัยของพระเจ้าราชาราชะโจฬะที่ 1 และพระเจ้าราเชนทระโจฬะที่ 1 ผู้เป็นพระราชโอรส ราชวงศ์โจฬะก็กลายเป็นมหาอำนาจทางการทหาร เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมของเอเชียKulke and Rothermund, p 115Keay, p 215 ระหว่างปี ค.ศ. 1010 ถึงปี ค.ศ. 1200 ดินแดนของจักรวรรดิโจฬะก็ครอบคลุมตั้งแต่เกาะมัลดีฟส์ทางตอนใต้ขึ้นไปทางเหนือจนจรดแม่น้ำโคทาวารีในรัฐอานธรประเทศMajumdar, p 407 พระเจ้าราชาราชะโจฬะที่ 1 ทรงพิชิตคาบสมุทรอินเดียใต้ ผนวกดินแดนที่ปัจจุบันคือศรีลังกา และยึดครองมัลดีฟส์ ต่อมาพระเจ้าราเชนทระโจฬะที่ 1 ทรงรณรงค์ขึ้นไปทางเหนือของอินเดียจนไปถึงแม่น้ำคงคาและสามารถพิชิตนครหลวงปาฏลีบุตรแห่งจักรวรรดิปาละ นอกจากนั้นก็ยังทรงไปรุกรานราชอาณาจักรของกลุ่มเกาะมลายู และขยายดินแดนไปถึงพม่า และ เวียดนามและภาคใต้ของไทย The kadaram campaign is first mentioned in Rajendra's inscriptions dating from his 14th year. The name of the Srivijaya king was Sangrama Vijayatungavarman. K.A. Nilakanta Sastri, The CōĻas, pp 211–220Meyer, p 73 ราชวงศ์โจฬะมาเริ่มเสื่อมโทรมลงเมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 13 และสลายตัวไปเมื่อราชอาณาจักรปัณฑยะและจักรวรรดิฮอยซาลาขึ้นมาเรืองอำนาจK.A. Nilakanta Sastri, A History of South India, p 192 สิ่งที่สำคัญของราชวงศ์โจฬะคือการเป็นผู้อุปถัมภ์วรรณคดีทมิฬ และการก่อสร้างวัด พระมหากษัตริย์ของราชวงศ์โจฬะทรงนิยมสร้างวัด ที่ไม่แต่จะเป็นสถานที่สำหรับการสักการะ แต่ยังเป็นศูนย์กลางของกิจการทางเศรษฐกิจด้วยVasudevan, pp 20-22 และ ยังริเริ่มระบบการปกครองจากศูนย์กลางและระบบราชการที่เป็นระเบียบแบบแผน.

จักรวรรดิและราชวงศ์โจฬะ · ราชวงศ์โจฬะและรายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่ · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์เหลียว

ราชวงศ์เหลียว (Liao Dynasty; ชี่ตัน: Mos Jælud; มองโกล: Ляо Улс/Lyao Uls) หรือเป็นที่รู้จักกันในชื่อ จักรวรรดิชี่ตัน (Khitan Empire; ชี่ตัน: Mos diau-d kitai huldʒi gur; มองโกล: Хятан (Khyatan) Гүрэн, Кидан (Kidan) Гүрэн) เป็นชื่อจักรวรรดิหนึ่งในเอเชียตะวันออก มีอำนาจในมองโกเลีย ภาคตะวันออกไกลบางส่วนของรัสเซีย เกาหลีเหนือ และภาคเหนือของจีนส่วนในตั้งแต่ปี 907 ถึง 1125 พระเจ้าไท่จู่ (Taizu) ข่านแห่งชาวชี่ตัน สถาปนาจักรวรรดินี้ขึ้นหลังจากราชวงศ์ถังของประเทศจีนล่มสลาย และไม่ช้าไม่นานหลังก่อตั้งขึ้น ราชวงศ์เหลียวก็เริ่มขยายดินแดน โดยพระเจ้าไท่จู่ทรงเอาชัยเหนือพวกพัลแฮ (Balhae) เป็นผลสำเร็จ พระเจ้าแผ่นดินองค์ถัด ๆ มายังทรงได้สิบหกมณฑลของจีนไว้โดยใช้วิธียุแยงให้รัฐที่สามส่งการก่อกวนเข้ามา แล้วราชวงศ์เหลียวจึงคอยตีกิน ทำให้ราชวงศ์ถังอวสานลง และราชวงศ์โครยอ (Goryeo) แห่งเกาหลี กับราชวงศ์ซ่ง (Song) แห่งจีน ตกเป็นเมืองออกของราชวงศ์เหลียวในที่สุด คำว่า "เหลียว" นี้ในภาษาจีนหมายความว่า ห่าง หรือไกล จุดเด่นของราชวงศ์เหลียว คือ ความตึงเครียดระหว่างจารีตประเพณีทางสังคมและการเมืองแบบชี่ตันกับแบบจีนซึ่งนำไปสู่วิกฤติการณ์ทางการสืบสันตติวงศ์ เพราะพระเจ้าแผ่นดินเหลียวฝักใฝ่คติบุตรหัวปีเป็นใหญ่ตามแบบจีน แต่ผู้ลากมากดีชาวชี่ตันส่วนใหญ่นิยมประเพณีที่ให้ผู้แข็งแกร่งที่สุดสืบเชื้อสาย ความแตกต่างกันระหว่างจารีตประเพณีชี่ตันและจีนนี้ยังเป็นเหตุให้พระเจ้าไท่จู่แห่งราชวงศ์เหลียวทรงตั้งการปกครองสองแบบขนานกัน ภาคเหนือซึ่งเป็นอาณาเขตชี่ตันให้ปกครองตามประเพณีชี่ตัน ภาคใต้ซึ่งประชากรส่วนใหญ่ไม่ใช่ชี่ตันให้ปกครองตามประเพณีจีน ความแตกต่างทางสังคมแบบชี่ตันกับแบบจีนยังได้แก่ บทบาทของบุคคลแต่ละเพศและยุทธวิธี ชาวชี่ตันเห็นว่า บุคคลเสมอภาคกันไม่ว่าเพศใด ขณะที่ประเพณีทางวัฒนธรรมจีนถือว่า สตรีต้องอยู่ในโอวาทบุรุษ ฉะนั้น หญิงชี่ตันจึงเล่าเรียนการรบ ทั้งยังจัดการทรัพย์สินครัวเรือน และดำรงตำแหน่งทางทหาร ทั้งยังไม่มีการคลุมถุงชน ตลอดจนสตรีไม่จำต้องครองความบริสุทธิ์ทางเพศไว้จนถึงการสมรสครั้งแรก กับมีสิทธิที่จะหย่าและสมรสใหม่ด้วย ในปี 1125 ชาวนฺหวี่เจิน (Jurchen) จากราชวงศ์จิน (Jin) ของพวกแมนจู จับกุมพระเจ้าเทียนจั้ว (Tianzuo) แห่งเหลียวไว้ได้ และทำลายราชวงศ์เหลียวลงสิ้น แต่ชาวชี่ตันที่ยังเหลืออยู่มีเยลฺวี่ ต้าฉือ (Yelü Dashi) เป็นผู้นำ พากันก่อตั้งราชวงศ์ใหม่เรียกว่า "เหลียวตะวันตก" (Western Liao) ปกครองกันอยู่ในเอเชียกลางบางส่วนเป็นเวลายาวนานเกือบหนึ่งศตวรรษ ก่อนจะถูกทัพพระเจ้าไท่จู่ (Taizu) แห่งราชวงศ์หยวนของพวกมองโกล เข้ายึดครอง แม้ความสำเร็จทางวัฒนธรรมที่เกี่ยวเนื่องกับราชวงศ์เหลียวจะสลักสำคัญ กับทั้งเครื่องปั้นและศิลปวัตถุอื่น ๆ ก็มีอยู่ในพิพิธภัณฑ์และสถานสะสมต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก แต่สภาพที่แท้จริงและขอบข่ายของอิทธิพลที่วัฒนธรรมเหลียวมีต่อพัฒนาการในระยะหลัง ๆ เช่น ด้านศิลปะการแสดงและการสังคีตนั้น ยังเป็นที่ถกเถียงกันอย่างยิ่ง.

จักรวรรดิและราชวงศ์เหลียว · ราชวงศ์เหลียวและรายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่ · ดูเพิ่มเติม »

อัสซีเรีย

อัสซีเรีย หรือ จักรวรรดิอัสซีเรีย (Assyria หรือ Assyrian Empire) เป็นอาณาจักรที่มีศูนย์กลางอยู่ที่แม่น้ำไทกริสในเมโสโปเตเมีย (อิรัก) ที่มามีอำนาจปกครองจักรวรรดิเป็นช่วงๆ หลายครั้งในประวัติศาสตร์ “อัสซีเรีย” เป็นชื่อที่ตั้งตามชื่อเมืองหลวงเดิม “อัสเซอร์” (Assur) (Aššur; أشور; אַשּׁוּר) นอกจากนั้นคำว่า “อัสซีเรีย” ก็ยังหมายถึงภูมิภาคทางภูมิศาสตร์หรือดินแดนที่เป็นศูนย์กลางของจักรวรรดิด้วย ระหว่างสมัยอัสซีเรียเก่าระหว่างศตวรรษที่ 20 ถึง 15 ก่อนคริสต์ศักราชอัสเซอร์มีอำนาจในบริเวณส่วนใหญ่ของเมโสโปเตเมียเหนือ ในยุคกลางของอัสซีเรียระหว่างศตวรรษที่ 15 ถึง 10 ก่อนคริสต์ศักราชอำนาจของอัสซีเรียก็เสื่อมโทรมลง แต่ต่อมาก็สามารถกู้ดินแดนที่เสียไปคืนได้ในชัยชนะที่ได้รับหลายครั้ง เมื่อมาถึงสมัยจักรวรรดิอัสซีเรียในยุคเหล็กตอนต้นระหว่างปี 911 ถึง 612 ก่อนคริสต์ศักราชอัสซีเรียก็ขยายอำนาจไกลออกไป และภายใต้การปกครองของอัสเชอร์บานิปาล (Ashurbanipal) (ปกครอง 668 – 627 ก่อนคริสต์ศักราช) อัสซีเรียก็ปกครอง Fertile Crescent ทั้งหมด รวมทั้งอียิปต์จนกระทั่งมาพ่ายแพ้เมื่อจักรวรรดิบาบิโลเนียใหม่ และเปอร์เชียขยายอำนาจ และในที่สุดก็มาล่มสลายเมื่อราชวงศ์ชาลเดียของจักรวรรดิบาบิโลเนียใหม่ปล้นทำลายเมืองนิเนเวห์ในปี 612 ก่อนคริสต์ศักร.

จักรวรรดิและอัสซีเรีย · รายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่และอัสซีเรีย · ดูเพิ่มเติม »

อาณาจักรมัชปาหิต

อาณาจักรมัชปาหิต เป็นอาณาจักรในชวาตะวันออก มีอำนาจอยู่ระหว่าง ค.ศ. 1293 ถึงประมาณ ค.ศ. 1500.

จักรวรรดิและอาณาจักรมัชปาหิต · รายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่และอาณาจักรมัชปาหิต · ดูเพิ่มเติม »

อาณาจักรศรีวิชัย

อาณาจักรศรีวิชัย หรือ อาณาจักรศรีโพธิ์ เกิดในปี พ.ศ. 1202 (ราวพุทธศตวรรษที่ 13) ก่อตั้งโดยราชวงศ์ไศเลนทร์ ในช่วงที่อาณาจักรฟูนันล่มสลาย เป็นอาณาจักรของชาติพันธุ์มลายูโบราณ มีอาณาเขตครอบคลุมมลายู เกาะชวา เกาะสุมาตรา ช่องแคบมะละกา ช่องแคบซุนดา และบริเวณภาคใต้ของประเทศไทย พื้นที่อาณาจักรแบ่งได้สามส่วน คือส่วนคาบสมุทรมลายู เกาะสุมาตรา และหมู่เกาะชวา โดยส่วนของชวาได้แยกตัวออกไปตั้งเป็นอาณาจักรมัชปาหิต ต่อมาเมื่ออาณาจักรศรีวิชัยอ่อนแอลง อาณาจักรมัชปาหิตได้ยกทัพเข้ามาตีศรีวิชัย ได้ดินแดนสุมาตราและบางส่วนของคาบสมุทรมลายูไป และทำให้ศรีวิชัยล่มสลายไปในที่สุด ส่วนพื้นที่คาบสมุทรที่เหลือ ต่อมาเชื้อพระวงศ์จากอาณาจักรเพชรบุรี ได้เสด็จมาฟื้นฟูและตั้งเป็นอาณาจักรนครศรีธรรมร.

จักรวรรดิและอาณาจักรศรีวิชัย · รายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่และอาณาจักรศรีวิชัย · ดูเพิ่มเติม »

อาณาจักรอักซุม

ักรวรรดิอัคซูไมท์ (Aksumite Empire หรือ Axumite Empire) เป็นจักรวรรดิสำคัญทางการค้าขายที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของแอฟริกาที่เริ่มก่อตัวมาตั้งแต่ราวศตวรรษที่ 4 ก่อนคริสต์ศักราชและมารุ่งเรืองเอาเมื่อคริสต์ศักราชที่ 1 เมืองหลวงเก่าก่อตั้งทางตอนเหนือของเอธิโอเปีย อาณาจักรใช้คำว่า “เอธิโอเปีย” มาตั้งแต่คริสต์ศักราชที่ 4Stuart Munro-Hay, Aksum: An African Civilization of Late Antiquity.

จักรวรรดิและอาณาจักรอักซุม · รายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่และอาณาจักรอักซุม · ดูเพิ่มเติม »

อาณาจักรโคกูรยอ

กูรยอ (เสียงอ่าน::; 37 ปีก่อนค.ศ. - ค.ศ. 668) เป็นอาณาจักรเกาหลีโบราณที่พระเจ้าทงมย็องซ็องทรงสถาปนาขึ้น ปัจจุบันดินแดนส่วนใหญ่อยู่ในประเทศเกาหลีเหนือและคาบสมุทรเหลียวตงของประเทศจีน ราชวงศ์นี้มีอาณาเขตตั้งแต่เกาหลีเหนือปัจจุบันแมนจูเรียถึงรัสเซียบางส่วนเป็นราชวงศ์แรก ที่ถูกบันทึกหลักฐานราชวงศ์นี้มีพระมหากษัตริย์ที่เป็นมหาราชพระองค์แรกของเกาหลีคือพระเจ้าควังแกโทมหาราช รัชกาลที่ 19 ของราชวงศ์ ผู้ทรงพระปรีชาสามารถทั้งเรื่องรบและเรื่องรัก ทรงขยายพระราชอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวางต่อมาจักรวรรดินี้เริ่มมีปัญหารบรากับอาณาจักรแพ็กเจและอาณาจักรชิลลา ในสมัยราชวงศ์ถัง (618-907) ในขณะนั้นตรงกับรัชสมัยจักรพรรดิถังเกาจง (หลี่จื้อ) จักรพรรดิองค์ที่ 3 ประมาณปี..

จักรวรรดิและอาณาจักรโคกูรยอ · รายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่และอาณาจักรโคกูรยอ · ดูเพิ่มเติม »

อาณานิคมโพ้นทะเลของเบลเยียม

อาณานิคมโพ้นทะเลของเบลเยียม (Belgian overseas colonies) เป็นดินแดนสามอาณานิคมของเบลเยียมระหว่างปี..1885-1962 คือ คองโกของเบลเยียม (ปัจจุบันคือสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก), รวันดา-บุรุนดี, เทียนจิน และ แทนเจียร.

จักรวรรดิและอาณานิคมโพ้นทะเลของเบลเยียม · รายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่และอาณานิคมโพ้นทะเลของเบลเยียม · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิบราซิล

ักรวรรดิบราซิล (Empire of Brazil) เป็นจักรวรรดิที่เป็นประเทศบราซิลปัจจุบัน จักรวรรดิบราซิลที่ปกครองโดยจักรพรรดิเปดรูที่ 1 และพระราชโอรสจักรพรรดิเปดรูที่ 2 เป็นจักรวรรดิที่ก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1822 และต่อมาแทนที่ด้วยสาธารณรัฐในปี ค.ศ. 1889 หลังจากการยึดครองโปรตุเกสโดยจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ราชวงศ์บราแกนซาก็ย้ายราชสำนักลี้ภัยไปตั้งอยู่ที่บราซิลซึ่งเป็นอาณานิคมที่สำคัญที่สุดของโปรตุเกส หลังจากนั้นบราซิลก็กลายเป็นเมืองหลวงของสหราชอาณาจักรโปรตุเกส บราซิล และแอลการ์ฟ ซึ่งเป็นฐานะใหม่และเป็นการมีรัฐบาลที่ปกครองตนเองโดยไม่ต้องคำนึงถึงอำนาจจากลิสบอน ความคิดที่ว่ารัฐบาลจะกลับไปตั้งอยู่ในโปรตุเกสเมื่อนโปเลียนถูกโค่นจึงเป็นความคิดที่ไม่เป็นที่ต้องใจเท่าใดนัก ฉะนั้นแม้ว่าจะได้รับการปกครองจากสมาชิกของราชวงศ์โปรตุเกสแต่บราซิลก็มีความรู้สึกว่าเป็นอิสระจากโปรตุเกส หลังจากที่ได้รับอิสรภาพจากโปรตุเกสเมื่อวันที่ 7 กันยายน ค.ศ. 1822 แล้วบราซิลก็ปกครองโดยระบอบราชาธิปไตย จักรวรรดิบราซิลรุ่งเรืองมาจนถึงการก่อตั้งรัฐบาลสาธารณรัฐเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน..

จักรวรรดิและจักรวรรดิบราซิล · จักรวรรดิบราซิลและรายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่ · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิบริติช

ักรวรรดิบริติช (British Empire) หรือ จักรวรรดิอังกฤษ ประกอบด้วยประเทศในเครือจักรภพ, คราวน์โคโลนี, รัฐในอารักขา, รัฐในอาณัติ และดินแดนอื่นซึ่งสหราชอาณาจักรปกครองหรือบริหาร จักรวรรดิกำเนิดจากดินแดนอาณานิคมโพ้นทะเลและสถานีการค้าที่ราชอาณาจักรอังกฤษก่อตั้งระหว่างปลายคริสต์ศตวรรษที่ 16 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 18 ในช่วงที่เจริญถึงขีดสุด จักรวรรดิบริติชเป็นจักรวรรดิที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ และเป็นมหาอำนาจโลกชั้นแนวหน้านานกว่าหนึ่งศตวรรษ ใน..

จักรวรรดิและจักรวรรดิบริติช · จักรวรรดิบริติชและรายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่ · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิกุษาณะ

ที่ตั้งอาณาจักรโบราณของอินเดีย อาณาจักรกุษาณะ (กุชาน หรือ กุษาณ) ทางตะวันตกเฉียงเหนือของอินเดีย (เมืองหลวงของอาณาจักรนี้ปัจจุบันคือเมืองเปศวาร์ในปากีสถาน).

จักรวรรดิและจักรวรรดิกุษาณะ · จักรวรรดิกุษาณะและรายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่ · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิญี่ปุ่น

ักรวรรดิญี่ปุ่น หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ มหาจักรวรรดิญี่ปุ่น เป็นจักรวรรดิที่อยู่ทางตะวันออกที่สุดและเป็นหนึ่งในมหาอำนาจของโลก ในคริสต์ศตวรรษที่ 19-20 สถาปนาขึ้นภายหลังจากการปฏิรูปเมจิ เมื่อวันที่ 3 มกราคม..

จักรวรรดิและจักรวรรดิญี่ปุ่น · จักรวรรดิญี่ปุ่นและรายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่ · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิมราฐา

ักรวรรดิมราฐา (मराठा साम्राज्य;Maratha Empire) เป็นจักรวรรดิที่มีอำนาจในช่วง ค.ศ. 1674 - ค.ศ. 1818 โดยมีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของประเทศอินเดีย บางส่วนของประเทศปากีสถาน และพื้นที่บางส่วนของประเทศบังกลาเทศในปัจจุบัน มีจักรพรรดิองค์แรกคือ สมเด็จพระจักรพรรดิศิวาจี.

จักรวรรดิและจักรวรรดิมราฐา · จักรวรรดิมราฐาและรายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่ · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิมองโกล

อาณาเขตของจักรวรรดิมองโกล จักรวรรดิมองโกล (มองโกล: Mongolyn Ezent Güren; Mongol Empire) ซึ่งมีอยู่ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 13 และ 14 เป็นจักรวรรดิทางบกที่มีอาณาเขตต่อเนื่องใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ กำเนิดในสเต็ปป์เอเชียกลาง สุดท้ายจักวรรดิมองโกลมีอาณาเขตครอบคลุมยุโรปตะวันออกจนถึงทะเลญี่ปุ่น ขยายไปทางเหนือเข้าไปในไซบีเรีย ทางตะวันออกและใต้เข้าไปในอนุทวีปอินเดีย อินโดจีนและที่ราบสูงอิหร่าน และทางตะวันตกไปไกลถึงเลแวนต์และคาบสมุทรอาหรับ จักรวรรดิรวมเผ่าชนเร่ร่อนมองโกเลียในประวัติศาสตร์ภายใต้การนำของเจงกิสข่าน ผู้ได้รับประกาศเป็นผู้ปกครองชาวมองโกลทั้งปวงใน..

จักรวรรดิและจักรวรรดิมองโกล · จักรวรรดิมองโกลและรายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่ · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิมาลี

ักรวรรดิมาลี หรือ จักรวรรดิมานดิง หรือ มานเดนคูรูฟา (Mali Empire หรือ Manding Empire หรือ Manden Kurufa) คือวัฒนธรรมแอฟริกาตะวันตกของชนมันดิงคา ที่รุ่งเรืองระหว่างราว คริสต์ทศวรรษ 1230 จนถึง คริสต์ทศวรรษ 1600 จักรวรรดิก่อตั้งโดย Sundiata Keita และมีชื่อเสียงถึงความมั่งคั่งของประมุขโดยเฉพาะมันซามูซา จักรวรรดิมาลีมีอิทธิพลทางวัฒนธรรมอันลึกซึ้งต่อแอฟริกาตะวันตก ซึ่งทำให้เกิดการเผยแพร่ของภาษา กฎหมาย และประเพณีตามลำแม่น้ำไนเจอร์ อาณาบริเวณของมาลีรวมกันมีขนาดใหญ่กว่ายุโรปตะวันตกและประกอบด้วยอาณาจักรบริวารและจังหวัดต่าง.

จักรวรรดิและจักรวรรดิมาลี · จักรวรรดิมาลีและรายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่ · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิรัสเซีย

ักรวรรดิรัสเซีย (Российская империя; Russian Empire) คืออดีตประเทศรัสเซียก่อนที่จะมีการปฏิวัติการปกครองของซาร์นิโคลัสที่ 2 เป็นสหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตในปี 1917 จักรวรรดิรัสเซียสถาปนาขึ้นในปี 1721 โดยจักรพรรดิซาร์ปีเตอร์มหาราชสถาปนาขึ้นแทนที่อาณาจักรซาร์แห่งรัสเซีย จักรวรรดิรัสเซียมีพื้นที่กว้างใหญ่ครอบคลุมยุโรปตะวันออก, เอเชีย จนไปถึงทวีปอเมริกา นับได้ว่าเป็นหนึ่งในจักรวรรดิที่ใหญ่ที่สุดในโลกและเป็นจักรวรรดิหนึ่งที่เจริญรุ่งเรืองที่สุดในประวัติศาสตร์รัสเซี.

จักรวรรดิและจักรวรรดิรัสเซีย · จักรวรรดิรัสเซียและรายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่ · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิละติน

ักรวรรดิละติน หรือ จักรวรรดิละตินแห่งคอนสแตนติโนเปิล (Latin Empire หรือ Latin Empire of Constantinople, Imperium Romaniae (จักรวรรดิโรมาเนีย)) เป็นชื่อที่ใช้โดยนักประวัติศาสตร์ที่หมายถึงนครรัฐครูเสดที่ก่อตั้งโดยผู้นำต่างๆ ของสงครามครูเสดครั้งที่ 4 จากบริเวณที่ยึดได้จากจักรวรรดิไบแซนไทน์ จักรวรรดิละตินก่อตั้งขึ้นหลังการยึดเมืองคอนสแตนติโนเปิลใน..

จักรวรรดิและจักรวรรดิละติน · จักรวรรดิละตินและรายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่ · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิวิชัยนคร

ักรวรรดิวิชัยนคร (ವಿಜಯನಗರ ಸಾಮ್ರಾಜ್ಯ, విజయనగర సామ్రాజ్యము, Vijayanagara Empire) เป็นจักรวรรดิที่ตั้งอยู่บนที่ราบสูงเด็คคาน (มทุไร นาย) ทางตอนใต้ของประเทศอินเดียปัจจุบัน จักรวรรดิวิชัยนครก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1336 โดยพระเจ้าหริหระราชาที่ 1และพระอนุชาพระเจ้าบุคคราชาที่ 1 (Bukka Raya I) และรุ่งเรืองต่อมาจนกระทั่งปี ค.ศ. 1646 แม้ว่าอำนาจจะลดถอยลงบ้างเมื่อพ่ายแพ้ต่ออาณาจักรสุลต่านแห่งเด็คคาน (Deccan sultanates) จักรวรรดิตั้งตามชื่อเมืองหลวงวิชัยนคร ซึ่งยังคงมีร่องรอยเหลือให้เห็นในรัฐกรณาฏกะในประเทศอินเดียปัจจุบัน บันทึกของนักเดินทางชาวยุโรปเป็นแหล่งสำคัญของข้อมูลที่เกี่ยวกับจักรวรรดิ ควบกับหลักฐานที่พบทางโบราณคดีทำให้ทราบถึงอำนาจและความมั่งคั่งของจักรวรรดิวิชัยนคร.

จักรวรรดิและจักรวรรดิวิชัยนคร · จักรวรรดิวิชัยนครและรายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่ · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิสวีเดน

ักรวรรดิสวีเดน หรือ ราชอาณาจักรสวีเดน ในช่วงระหว่างปีค.ศ. 1561 (หลังจากสวีเดนยึดเอสโตเนีย) และในปีค.ศ. 1721 (เมื่อสวีเดนยกพื้นที่ขนาดใหญ่ในบริเวณตะวันออกเฉียงใต้ของฟินแลนด์ต่อมหาอำนาจรัสเซีย) ระหว่างนั้น สวีเดนเป็นหนึ่งในมหาอำนาจของยุโรป ในสวีเดน สมัยก่อนจะเรียกว่า stormaktstiden ซึ่งหมายถึง มหาอำนาจที่ยิ่งใหญ่ โดยเริ่มต้นในปี 1611 (เมื่อ กุสตาวัส อาดอลฟัส ขึ้นเป็นกษัตริย์) และจบลงในปีค.ศ. 1718 (การสวรรคตของพระเจ้าคาร์ลที่ 12 แห่งสวีเดน และจุดจบของมหาสงครามเหนือ) โดยการเพิ่มอำนาจทางการเมือง จุดประเด็นสำคัญคือการกลายเป็นหนึ่งในสองอำนาจเพื่อค้ำประกันสันติภาพแห่งเวสต์ฟาเลีย (Peace of Westphalia) ซึ่งถูกเข้าร่วมเพื่อเพิ่มดินแดนที่อนุญาตให้อยู่ใกล้ได้อย่างสมบูรณ์ตามแนวคิดทะเลบอลติก เป็นจุดเริ่มต้นและสิ้นสุดของระยะเวลาที่แตกต่างกันในประวัติศาสตร์ยุโรป หลังจากการตายของกุสตาวัส อดอลฟัส ในปี 1632 จักรวรรดิที่ยืนยาวนี้ถูกควบคุมโดยพวกขุนนางชั้นสูง โดยส่วนมากเป็นพวกของตระกูลออกเซนสเตียร์นาเป็นผู้สำเร็จราชการแทน ความน่าสนใจของขุนนางชั้นสูงตรงกันข้ามกับวิถีทางแห่งเท่าเทียมกัน เช่น การส่งเสริมความเท่าเทียมกันแบบดั้งเดิมในที่ดินภายในสวีเดนถูกเห็นชอบโดยพระมหากษัตริย์และชาวบ้านในพื้นที่ที่ได้รับในช่วงระหว่างสมัยกฎตระกูลเดอ แฟคโต ระบบข้าแผ่นดินไม่ถูกยกเลิก และมีแนวโน้มที่จะจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมถูกกฎหมายในสวีเดนอย่างชอบธรรม แต่การปรับปรุงครั้งใหญ่ในปีค.ศ. 1680 ผลักดันให้ความพยายามของชนชั้นสูงสิ้นสุดลง และเรียกร้องพวกเขาให้คืนนิคมอุตสาหกรรมที่พวกเขาได้รับจากมกุฎกษัตริย์ ระบบข้าแผ่นดินนี้ อย่างไรก็ตาม ยังคงถูกบังคับใช้ในจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์และชาวสวีดิชในเอสโตเนีย ที่ที่ใช้ประโยชน์จากผลพลอยได้ของวิถีทางแห่งความเท่าเทียมกันถูกขัดขวางโดนสนธิสัญญาจากสิ่งที่พวกเขาได้รั.

จักรวรรดิและจักรวรรดิสวีเดน · จักรวรรดิสวีเดนและรายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่ · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิสเปน

ักรวรรดิสเปน (Imperio Español, Spanish Empire) เป็นหนึ่งในจักรวรรดิที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์โลก และเป็นหนึ่งในจักรวรรดิโลก (global empire) จักรวรรดิแรก ที่มีดินแดนและอาณานิคมในยุโรป, อเมริกา, เอเชีย และ โอเชียเนีย มาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 15 ส่วนอาณานิคมในแอฟริกาเป็นดินแดนที่ได้มาในตอนปลายของคริสต์ศตวรรษที่ 20 สเปนก่อตัวขึ้นเป็นสหอาณาจักรในปี..

จักรวรรดิและจักรวรรดิสเปน · จักรวรรดิสเปนและรายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่ · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี

ักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี รู้จักกันในนาม ออสเตรีย-ฮังการี (Austria-Hungary) เป็นจักรวรรดิที่มีระบอบการปกครองแบบควบคู่ (Dual Monarchy) เจริญรุ่งเรืองตั้งแต่ปีพ.ศ. 2410 จนถึง พ.ศ. 2461 หลังจากนั้น จักรวรรดินี้ถูกล้มล้างหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 1 จักรวรรดินี้ได้สืบทอดมาจากจักรวรรดิออสเตรีย (ค.ศ. 1804-ค.ศ. 1867) โดยมีอาณาเขตพื้นที่เดียวกัน โดยมีต้นกำเนิดจากการเจรจาต่อรองระหว่างออสเตรียและฮังการี เมื่อปีพ.ศ. 2410 ซึ่งทั้งสองประเทศนี้ถูกปกครองโดยราชวงศ์ฮับส์บูร์กมาช้านาน โดยเจรจาให้มีการรวมอาณาจักรเป็นหนึ่งเดียว โดยจักรวรรดินี้เป็นอาณาจักรที่มีหลากหลายเชื้อชาติและมีความเจริญรุ่งเรืองขีดสุด ทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจ และอุตสาหกรรม ราชวงศ์ฮับส์บูร์กนั้นได้ปกครองประเทศในฐานะจักรพรรดิแห่งออสเตรีย (Emperor of Austria) และราชอาณาจักรฮังการีในฐานะกษัตริย์แห่งฮังการี (Apostolic King of Hungary) ผู้ทรงเปรียบเสมือนเบื้องขวาแห่งองค์พระผู้เป็นเจ้า นอกจากนั้นยังได้ปกครองทั่วทั้งทางตะวันตกและทางเหนือ รวมทั้งครึ่งหนึ่งของทวีปยุโรปเลยทีเดียว โดยทุกประเทศที่อยู่ภายใต้จักรวรรดินี้ มีรัฐบาลเป็นของตนเอง มิได้มีรัฐบาลและศูนย์กลางทางการเมืองหรือรัฐบาลที่ประเทศเดียว เมืองหลวงของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีนั้น มีอยู่ 2 เมืองด้วยกันคือ กรุงเวียนนา ที่ประเทศออสเตรีย และกรุงบูดาเปสต์ที่ประเทศฮังการี จักรวรรดินี้มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับสองรองจากจักรวรรดิรัสเซีย และเป็นอาณาจักรที่มีประชากรหนาแน่นเป็นอันดับ 3 รองจากจักรวรรดิรัสเซียและจักรวรรดิเยอรมัน ซึ่งปัจจุบันนี้ พื้นที่ที่เคยเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดินั้นมีประชากรรวมทั้งหมดถึง 73 ล้านคน.

จักรวรรดิและจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี · จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีและรายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่ · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิออตโตมัน

ักรวรรดิออตโตมัน (Ottoman Empire, Osmanlı İmparatorluğu, โอสมานลือ อิมพาราโทรลู) ถือกำเนิดขึ้นในปี พ.ศ. 1996 (ค.ศ. 1453) หลังการล่มสลายของจักรวรรดิไบแซนไทน์ ซึ่งมีคอนสแตนติโนเปิล (อิสตันบูล) เป็นเมืองหลวง สุลต่านเมห์เหม็ดที่ 2 เป็นผู้นำในการทำสงคราม ตอนแรกที่ยึดคอนสแตนติโนเปิลได้ พระองค์ได้ทรงเปลี่ยนชื่อเมืองคอนสแตนติโนเปิลใหม่เป็น อิสตันบูล และเปลี่ยนโบสถ์ฮาเจีย โซเฟีย ที่เป็นโบสถ์ในศาสนาคริสต์ เป็นมัสยิดในศาสนาอิสลาม จักรวรรดิออตโตมันมีอาณาเขตที่ครอบคลุมถึง 3 ทวีป ได้แก่ เอเชีย แอฟริกา และยุโรป ซึ่งขยายไปไกลสุดถึงช่องแคบยิบรอลตาร์ทางตะวันตก นครเวียนนาทางทิศเหนือ ทะเลดำทางทิศตะวันออก และอียิปต์ทางทิศใต้ จักรวรรดิออตโตมันล่มสลายในปี พ.ศ. 2466 (ค.ศ. 1923) มีจักรพรรดิเมห์เหม็ดที่ 6 เป็นจักรพรรดิองค์สุดท้าย และมีสาธารณรัฐตุรกี ขึ้นมาแทนที่ และมีมุสตาฟา เคมาล อตาเติร์ก เป็นประธานาธิบดีคนแรก.

จักรวรรดิและจักรวรรดิออตโตมัน · จักรวรรดิออตโตมันและรายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่ · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิอะคีเมนิด

ักรวรรดิอะคีเมนียะห์ หรือ จักรวรรดิเปอร์เชียอะคีเมนียะห์ (Achaemenid Empire หรือ Achaemenid Persian Empire, هخامنشیان) (550–330 ก.ค.ศ.) เป็นหนึ่งในจักรวรรดิแรกของจักรวรรดิเปอร์เชียที่ปกครองอาณาบริเวณส่วนใหญ่ของเกรตเตอร์อิหร่านที่ตามมาจากจักรวรรดิมีเดีย ในยุคที่รุ่งเรืองที่สุดจักรวรรดิอะคีเมนียะห์มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 7.5 ล้านตารางกิโลเมตร ที่ทำให้เป็นจักรวรรดิที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในยุคโบราณ และเป็นจักรวรรดิที่วางรากฐานของระบบการปกครองจากศูนย์กลางSchmitt Achaemenid dynasty (i. The clan and dynasty) จักรวรรดิอะคีเมนียะห์ที่ก่อตั้งขึ้นโดยจักรพรรดิไซรัสมหาราชครอบคลุมอาณาบริเวณสามทวีปที่รวมทั้งดินแดนในอัฟกานิสถาน และ ปากีสถาน, บางส่วนของเอเชียกลาง, อานาโตเลีย, เธรซ, บริเวณริมฝั่งทะเลดำส่วนใหญ่, อิรัก, ตอนเหนือของซาอุดีอาระเบีย, จอร์แดน, ปาเลสไตน์, เลบานอน, ซีเรีย และอียิปต์ไปจนถึงลิเบีย จักรวรรดิอะคีเมนียะห์เป็นศัตรูของนครรัฐกรีกในสงครามกรีซ-เปอร์เชีย เพราะไปปล่อยชาวยิวจากบาบิโลเนีย และในการก่อตั้งให้ภาษาอราเมอิกเป็นภาษาราชการ และพ่ายแพ้ต่ออเล็กซานเดอร์มหาราชในปี 330 ก่อนคริสต์ศักราช ความสำคัญทางประวัติศาสตร์โลกของจักรวรรดิอะคีเมนียะห์ที่ก่อตั้งโดยจักรพรรดิไซรัสมหาราชก็คือกาวางรากฐานที่ได้รับความสำเร็จของระบบการบริหารการปกครองจากศูนย์กลาง และของรัฐบาลที่มีปรัชญาในการสร้างประโยชน์ให้แก่มวลชนSchmitt Achaemenid dynasty (i. The clan and dynasty).

จักรวรรดิและจักรวรรดิอะคีเมนิด · จักรวรรดิอะคีเมนิดและรายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่ · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิอาณานิคมฝรั่งเศส

ักรวรรดิอาณานิคมฝรั่งเศส (French colonial empire) ประกอบด้วยอาณานิคมโพ้นทะเล, รัฐในอารักขา และ รัฐบริวารที่อยู่ภายใต้การปกครองของรัฐบาลฝรั่งเศสในกรุงปารีส ซึ่งเริ่มต้นขึ้นในศตวรรษที่ 16 โดยจักรวรรดิอาณานิคมฝรั่งเศสถูกแบ่งออกเป็นสองยุค คือจักรวรรดิอาณานิคมฝรั่งเศสที่หนึ่ง ซึ่งสิ้นสุดลงในปี..

จักรวรรดิและจักรวรรดิอาณานิคมฝรั่งเศส · จักรวรรดิอาณานิคมฝรั่งเศสและรายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่ · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิอาณานิคมเยอรมัน

ักรวรรดิอาณานิคมเยอรมัน (German colonial empire) เป็นดินแดนโพ้นทะเลของจักรวรรดินิยมเยอรมัน ซึ่งเยอรมันมีความพยายามในการสร้างอาณานิคมที่เริ่มมาตั้งแต่ก่อนหน้านั้โดยนครรัฐต่างๆ ในเยอรมนีไม่ประสบความสำเร็จเท่าใดนัก เยอรมันมีอาณานิคมโพ้นทะเลอยู่ในทวีปแอฟริกา, เอเชีย และโอเชียเนี.

จักรวรรดิและจักรวรรดิอาณานิคมเยอรมัน · จักรวรรดิอาณานิคมเยอรมันและรายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่ · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิอาณานิคมเดนมาร์ก

ักรวรรดิอาณานิคมเดนมาร์กช่วงที่อาณาเขตกว้างขวางที่สุดเมื่อกลางศตวรรษที่ 18 จักรวรรดิอาณานิคมเดนมาร์ก (Danish colonial empire) เป็นจักรวรรดิของเดนมาร์ก (หรือเดนมาร์ก-นอร์เวย์จนถึงปี1814) โดยเริ่มตั้งแต่ปี..1536-1945 ช่วงที่อาณาเขตกว้างขวางที่สุดจักรวรรดินั้นครอบคลุม ยุโรป, อเมริกาใต้, แอฟริกา และ เอเชี.

จักรวรรดิและจักรวรรดิอาณานิคมเดนมาร์ก · จักรวรรดิอาณานิคมเดนมาร์กและรายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่ · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิอิตาลี

ักรวรรดิอิตาลี (Italian Empire) ก่อตั้งขึ้นโดยราชอาณาจักรอิตาลี (อิตาลีสมัยใหม่ที่เกิดขึ้นจากการรวมชาติอิตาลี (Italian unification) ที่เพิ่งเริ่มก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1861) โดยอิตาลีได้ร่วมมือกับมหาอำนาจอื่นๆ ในยุโรปใน “การล่าอาณานิคมในแอฟริกา” ในช่วงนี้จักรวรรดิโปรตุเกส, สเปน, เนเธอร์แลนด์, อังกฤษ และ ฝรั่งเศส ต่างก็เป็นเจ้าของอาณานิคมกันมาเป็นเวลาหลายร้อยปีแล้ว ดินแดนสุดท้ายที่ยังคงเหลือสำหรับยึดเป็นอาณานิคมคือทวีปแอฟริกาเท่านั้น เมื่อสงครามโลกครั้งที่หนึ่งเริ่มขึ้นในปี..

จักรวรรดิและจักรวรรดิอิตาลี · จักรวรรดิอิตาลีและรายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่ · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิอินคา

ักรวรรดิอินคา (Inca Empire; Imperio Incar) (ค.ศ. 1438-1533) เป็นจักรวรรดิโบราณที่ใหญ่ที่สุดในทวีปอเมริกาใต้ในยุคก่อนโคลัมบัส จักรวรรดิอินคามีอำนาจขึ้นบริเวณที่ราบสูงของประเทศเปรูในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 13 ช่วงปี..

จักรวรรดิและจักรวรรดิอินคา · จักรวรรดิอินคาและรายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่ · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิขแมร์

ักรวรรดิขแมร์ หรือ อาณาจักรเขมร หรือบางแหล่งเรียกว่า อาณาจักรขอม เป็นหนึ่งในอาณาจักรโบราณ เริ่มต้นขึ้น ราวพุทธศตวรรษที่ 6 โดยเริ่มจากอาณาจักรฟูนัน มีที่ตั้งอยู่ในบริเวณประเทศกัมพูชา โดยมีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของ ประเทศไทย ลาว และบางส่วนของเวียดนามในปัจจุบัน นับเป็นอาณาจักรที่มีแสนยานุภาพมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ต่อมาได้อ่อนกำลังลงจนเสียดินแดนบางส่วนให้กับอาณาจักรสุโขทัย และแตกสลายในที่สุดเมื่อตกเป็นเมืองขึ้นของอาณาจักรอยุธยา อาณาจักรเขมรสืบทอดอำนาจจากอาณาจักรเจนฬา มีสงครามผลัดกันแพ้ผลัดกันชนะกับอาณาจักรข้างเคียง เช่น อาณาจักรล้านช้าง อาณาจักรอยุธยา และอาณาจักรจามปา มรดกที่สำคัญที่สุดของอาณาจักรเขมรคือ นครวัด และ นครธม ซึ่งเคยเป็นนครหลวงเมื่อครั้งอาณาจักรแห่งนี้มีความเจริญรุ่งเรืองที่สุด และยังมีลัทธิความเชื่อต่างๆ อย่างหลากหลาย ศาสนาหลักของอาณาจักรนี้ได้แก่ ศาสนาฮินดู พุทธศาสนามหายาน และพุทธศาสนาเถรวาทซึ่งได้รับจากศรีลังกา เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 13.

จักรวรรดิและจักรวรรดิขแมร์ · จักรวรรดิขแมร์และรายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่ · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิดัตช์

ักรวรรดิดัตช์ (Dutch Empire) เป็นหนึ่งในจักรวรรดิอาณานิคมของโลกที่เป็นดินแดนโพ้นทะเลของสาธารณรัฐดัตช์ซึ่งได้ประกาศเอกราชจากจักรวรรดิสเปน และเป็นมหาอำนาจทางทะเลเช่นเดียวกับ สเปน โปรตุเกสและสหราชอาณาจักร เนเธอร์แลนด์เป็นมหาอำนาจทางทะเลและเศรษฐกิจชั้นนำของยุโรปในเวลานั้น และกรุงอัมสเตอร์ดัมก็ได้กลายมาเป็นศูนย์กลางการเงินของยุโรป จนมีนักเศรษฐศาสตร์หลายคนถือให้เนเธอแลนด์เป็นประเทศระบอบทุนนิยมประเทศแรกของโลก.

จักรวรรดิและจักรวรรดิดัตช์ · จักรวรรดิดัตช์และรายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่ · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิคุปตะ

ักรวรรดิคุปตะ (Gupta Empire) เป็นจักรวรรดิอินเดียโบราณที่รุ่งเรืองระหว่างปี ค.ศ. 280 จนกระทั่งปี ค.ศ. 550 จักรวรรดิ โดยมีอาณาบริเวณที่ครอบคลุมตางตอนเหนือและตอนกลางของอินเดียทั้งหมด และบังคลาเทศปัจจุบัน จักรวรรดิก่อตั้งขึ้นโดยพระเจ้าศรีคุปต์ โดยมีเมืองหลวงอยู่ที่ปาฏลีบุตรที่ปัจจุบันคือปัฏนาทางตอนเหนือของรัฐพิหาร ความรุ่งเรืองของจักรวรรดิภายใต้การนำของพระมหากษัตริย์ราชวงศ์คุปตะทำให้มีความเจริญในด้านวิทยาศาสตร์และศิลปะ ในด้านความเจริญทางด้านวัฒนธรรมนักประวัติศาสตร์จัดราชวงศ์คุปตะในระดับเดียวกับราชวงศ์ฮั่น, ราชวงศ์ถัง และจักรวรรดิโรมัน สมัยจักรวรรดิคุปตะถือกันโดยนักวิชาการบางคนว่าเป็นยุคทองของอินเดียในด้านวิทยาศาสตร์, เทคโนโลยี, วิศวกรรม, ศิลปะ, วรรณคดี, ตรรกศาสตร์, คณิตศาสตร์, ดาราศาสตร์, ศาสนา และปรัชญ.

จักรวรรดิและจักรวรรดิคุปตะ · จักรวรรดิคุปตะและรายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่ · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิซองไฮ

ักรวรรดิซองไฮ หรือ จักรวรรดิซองเฮย์ (Songhai Empire หรือ Songhay Empire) เป็นจักรวรรดิที่ตั้งอยู่ในบริเวณแอฟริกาตะวันตกเฉียงเหนือ ตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 15 จนถึงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 16 จักรวรรดิซองไฮก็เป็นจักรวรรดิที่ใหญ่ที่สุดในบรรดาจักรวรรดิของแอฟริกาโดยมีเมืองหลวงอยู่ที่กาว ชื่อจักรวรรดิเป็นชื่อเดียวกับกลุ่มชาติพันธุ์ชาวซองไฮ ที่เดิมเป็นรัฐเล็กๆ มาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 11 บริเวณที่มีอำนาจอยู่ตรงโค้งแม่น้ำไนเจอร์ที่ปัจจุบันคือประเทศไนเจอร์และบูร์กินาฟาโซ.

จักรวรรดิและจักรวรรดิซองไฮ · จักรวรรดิซองไฮและรายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่ · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิปาละ

ักรวรรดิปาละ (Pala Empire) เป็นจักรวรรดิที่ปกครองบริเวณตะวันออกเฉียงเหนือของเอเชียใต้ ปาละมักจะได้รับการบรรยายโดยศัตรูว่าเป็น “ประมุขแห่งกวาดา” (Gaur, West Bengal) คำว่า “ปาละ” ในภาษาเบงกอล (পাল pal) แปลว่า “ผู้พิทักษ์” และใช้เป็นสร้อยพระนามของกษัตริย์ทุกพระองค์ ปาละเป็นผู้นับถือศาสนาพุทธนิกายมหายานและลัทธิตันตระ พระเจ้าโคปาละทรงเป็นกษัตริย์องค์แรกของราชวงศ์ผู้ขึ้นครองราชย์ในปี..

จักรวรรดิและจักรวรรดิปาละ · จักรวรรดิปาละและรายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่ · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิแอกแคด

ักรวรรดิแอกแคด (Akkadian Empire) เป็นจักรวรรดิในสมัยโบราณมีเมืองศูนย์กลางอยู่ที่เมืองแอกแคด ตั้งอยู่บริเวณดินแดนเมโสโปเตเมีย หรือประเทศอิรักในปัจจุบัน ประชาชนในจักรวรรดิทั้งหมดพูดภาษาเดียวกัน และอยู่ภายใต้กฎหมายเดียวกันMish, Frederick C., Editor in Chief.

จักรวรรดิและจักรวรรดิแอกแคด · จักรวรรดิแอกแคดและรายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่ · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิแอซเท็ก

แอซเท็ก (Aztec Empire) เป็นคำที่หมายถึงกลุ่มชาติพันธ์ในทางตอนกลางของเม็กซิโกโดยเฉพาะกลุ่มที่พูดภาษานาวาตล์ (Nahuatl) ผู้มีอำนาจทางการเมืองและทางการทหารในบริเวณเมโสอเมริกา ในคริสต์ศตวรรษที่ 14, 15 และ 16 ในสมัยที่เรียกว่าปลายยุคคลาสสิกตอนหลังในลำดับเหตุการณ์ในเมโสอเมริกา (Mesoamerican chronology) ส่วนใหญ่แล้ว “แอซเท็ก” มักจะหมายถึงเฉพาะชาวเตนอชตีตลัน (Tenochtitlan) ที่ตั้งถิ่นฐานอยู่บนเกาะในทะเลสาบเท็กซ์โคโคที่เรียกตนเองว่า “เม็กซิกาเทน็อคคา” หรือ “โคลฮูอาเม็กซิกาเทน็อคคา” บางครั้งคำนี้ก็รวมทั้งผู้ที่พำนักอาศัยของเตนอชตีตลันในนครรัฐพันธมิตรอีกสองเมือง Acolhua แห่ง เตซโกโก และ เทพาเน็คแห่งทลาโคพานที่รวมกันเป็นสามพันธมิตรแอซเท็ก (Aztec Triple Alliance) หรือที่เรียกกันว่า “จักรวรรดิแอซเท็ก” กลุ่มกองกิสตาดอร์ หรือนักสำรวจดินแดนชาวสเปนนำโดย เอร์นัน กอร์เตส เข้ารุกรานและยึดครองจักรวรรดิแอซเท็ก จนกระทั่งล่มสลายในปี..

จักรวรรดิและจักรวรรดิแอซเท็ก · จักรวรรดิแอซเท็กและรายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่ · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิโมกุล

ักรวรรดิโมกุล (เปอร์เซีย: سلطنت مغولی هند; อูรดู: مغلیہ سلطنت; Mughal Empire) เป็นจักรวรรดิซึ่งปกครองบริเวณอนุทวีปอินเดียในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16 ถึง 19 จักรวรรดินี้สืบทอดอำนาจมาจากราชวงศ์ตีมูร์ เริ่มก่อตั้งอาณาจักรในปี..

จักรวรรดิและจักรวรรดิโมกุล · จักรวรรดิโมกุลและรายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่ · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิโรมัน

ักรวรรดิโรมันในช่วงเวลาต่างๆกัน จักรวรรดิโรมัน (Imperivm Romanvm; Ῥωμαϊκὴ Αὐτοκρατορία หรือ Ἡ Ῥωμαίων βασιλεία; Roman Empire) เป็นช่วงระยะเวลาหนึ่งของอารยธรรมโรมันโบราณซึ่งปกครองโดยรูปแบบอัตตาธิปไตย จักรวรรดิโรมันได้สืบต่อการปกครองมาจากสาธารณรัฐโรมัน (510 ปีก่อนคริสตกาล - ศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสตาล) ซึ่งได้อ่อนแอลงหลังจากความขัดแย้งระหว่างไกอุส มาริอุสและซุลลา และสงครามกลางเมืองระหว่างจูเลียส ซีซาร์และปอมปีย์ มีวันหลายวันที่ได้ถูกเสนอให้เป็นเส้นแบ่งของการเปลี่ยนแปลงระหว่างสาธารณรัฐและจักรวรรดิ ได้แก.

จักรวรรดิและจักรวรรดิโรมัน · จักรวรรดิโรมันและรายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่ · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์

ักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (ละติน: Sacrum Imperium Romanum, Heiliges Römisches Reich) เป็นอภิมหาอำนาจในอดีต เป็นจักรวรรดิซึ่งประกอบด้วยดินแดนหลากเชื้อชาติในยุโรปกลาง ก่อกำเนิดขึ้นในสมัยกลางตอนต้นและล่มสลายลงในปี..

จักรวรรดิและจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ · จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์และรายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่ · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิโรมันตะวันตก

ักรวรรดิโรมันตะวันตก (Western Roman Empire) หมายถึงครึ่งตะวันตกของจักรวรรดิโรมันหลังจากการแบ่งโดยไดโอคลีเชียนในปี..

จักรวรรดิและจักรวรรดิโรมันตะวันตก · จักรวรรดิโรมันตะวันตกและรายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่ · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิโปรตุเกส

ักรวรรดิโปรตุเกส (Portuguese Empire, Império Português) เป็นหนึ่งในจักรวรรดิอาณานิคมของโลกจักรวรรดิแรกที่มีดินแดนในหลายทวีปที่รวมทั้งอเมริกาใต้, แอฟริกา, อินเดีย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภายใต้การปกครอง และเป็นจักรวรรดิอาณานิคมที่รุ่งเรืองอยู่นานที่สุดในยุโรปที่รุ่งเรืองอยู่เป็นเวลาเกือบห้าร้อยปีตั้งแต่การพบบราซิลในปี ค.ศ. 1500 จนกระทั่งถึงการคืนมาเก๊าในปี ค.ศ. 1999 ซึ่งเป็นระยะเวลายาวนานกว่าจักรวรรดิสเปน และ จักรวรรดิฝรั่งเศส ความต้องการที่จะขยายดินแดนไปทั่วโลกของโปรตุเกสเริ่มขึ้นอย่างจริงจังเมื่อนักสำรวจเริ่มดินทางไปสำรวจทางฝั่งทะเลของแอฟริกาในปี ค.ศ. 1419 หลังจากที่ได้รับชัยชนะต่อเมืองเซวตา (Ceuta) ทางตอนเหนือของแอฟริกาในปี ค.ศ. 1415 โปรตุเกสใช้ความก้าวหน้าล่าสุดทางการเดินเรือ, การเขียนแผนที่ และเทคโนโลยีทางทะเลเช่นการใช้เรือคาราเวล (Caravel) ในการแสวงหาเส้นทางการค้าขายเครื่องเทศซึ่งเป็นสินค้าที่มีค่าที่สุดในยุคนั้น ในปี ค.ศ. 1488 บาร์ตูลูเมว ดีอัช (Bartolomeu Dias) เดินทางรอบแหลมกูดโฮปสำเร็จ และในปี ค.ศ. 1498 วาสโก ดา กามาก็เดินทางรอบอินเดีย ขณะที่การสำรวจเหล่านี้เป็นการแสดงถึงอำนาจของโปรตุเกสในต่างประเทศแต่จุดประสงค์ที่แท้จริงของการสำรวจก็เพื่อเป็นการขยายเส้นทางการค้าที่เน้นการแสวงหาเส้นทางใหม่ไปยังตะวันออกไกล โดยไม่ต้องเดินทางผ่านทะเลเมดิเตอร์เรเนียนที่ขณะนั้นอยู่ภายใต้อิทธิพลของอำนาจของฝ่ายปฏิปักษ์โดยเฉพาะจักรวรรดิออตโตมัน ความเปลี่ยนแปลงในปี ค.ศ. 1500 เกิดขึ้นเมื่อมีผู้พบฝั่งทะเลอเมริกาใต้โดยบังเอิญ และเมื่อเปดรู อัลวาเรซ กาบรัลเป็นผู้เดินทางสำรวจไปพบและยึดบราซิลเป็นอาณานิคม นโยบายที่เคยเป็นการสำรวจเพื่อการค้าจึงเริ่มเปลี่ยนไปเป็นการสำรวจเพื่อแสวงหาอาณานิคม ในช่วงเวลาหลายสิบปีต่อมานักเดินเรือชาวโปรตุเกสก็ดำเนินการสำรวจฝั่งทะเลและเกาะต่างๆ ในเอเชียตะวันออกต่อไป ก่อตั้งป้อม และ สถานีการค้า (trading post) ขึ้นตามสถานที่ต่างๆ ที่พบ ภายในปี ค.ศ. 1571 โปรตุเกสก็มีสถานีการค้าระไปตั้งแต่ลิสบอนเองไปจนถึงนะงะซะกิในญี่ปุ่น การขยายดินแดนทำให้โปรตุเกสกลายเป็นจักรวรรดิโลกที่มีความมั่งคั่งอันมหาศาล ระหว่างปี ค.ศ. 1580 ถึงปี ค.ศ. 1640 โปรตุเกสก็กลายเป็นพันธมิตรรองของสเปนของสองราชบัลลังก์ในการรวมตัวกันเป็นสหภาพไอบีเรีย (Iberian Union) แม้ว่าสองราชอาณาจักรนี้จะมีการบริหารแยกกันแต่อาณานิคมของโปรตุเกสก็กลายเป็นเป้าในการโจมตีโดยศัตรูของสเปนในยุโรปผู้มีความไม่พึงพอใจต่อความสำเร็จในอำนาจทางทะเลในต่างประเทศของจักรวรรดิในคาบสมุทรไอบีเรียที่รวมทั้งจักรวรรดิดัตช์ (ผู้ในที่สุดก็เข้าสงครามสงครามอิสรภาพต่อต้านสเปน), จักรวรรดิอังกฤษ และ จักรวรรดิฝรั่งเศส แต่โปรตุเกสเป็นประเทศเล็กและมีประชากรเพียงจำนวนไม่มากนักซึ่งทำให้ไม่สามารถป้องกันอาณานิคมในการปกครองของตนเองในดินแดนต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพได้ ซึ่งในที่สุดก็เป็นผลทำให้อำนาจของโปรตุเกสเริ่มลดถอยลง นอกจากนั้นการสูญเสียบราซิลซึ่งเป็นอาณานิคมที่ใหญ่ที่สุดและสร้างผลกำไรให้มากที่สุดแก่โปรตุเกสในปี ค.ศ. 1822 ในช่วงการปลดปล่อยอาณานิคมในอเมริกา (Decolonization of the Americas) เป็นความสูญเสียอันใหญ่หลวงที่ทำให้โปรตุเกสไม่อาจฟื้นตัวขึ้นได้หลังจากนั้น การล่าอาณานิคมในแอฟริกาที่เริ่มขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ทำให้โปรตุเกสพอจะได้ดินแดนมาบ้าง ดินแดนส่วนใหญ่ในแอฟริกาที่ได้มาตกอยู่ภายใต้การบริหารและอิทธิพลของโปรตุเกสเป็นเวลาหลายร้อยปี เมืองเช่นลูอันดา (Luanda) และ เบงเกลา (Benguela) และที่ตั้งถิ่นฐานต่างๆ หลายแห่งได้รับการก่อตั้งขึ้นและปกครองโดยโปรตุเกสมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 16 หลังจากสงครามโลกครั้งที่สอง อันโตนิโอ เดอ โอลิเวรา ซาลาซาร์ (António de Oliveira Salazar) ผู้นำของโปรตุเกสก็ยังพยายามรักษาจักรวรรดิโปรตุเกสไว้โดยไม่ยอมเปลี่ยนแปลงในขณะที่ประเทศต่างๆ ในยุโรปเริ่มถอนตัวจากอาณานิคมต่างๆ ในปี ค.ศ. 1961 กองกำลังจำนวนเพียงเล็กน้อยของโปรตุเกสที่ประจำอยู่ที่รัฐกัวก็ไม่สามารถต้านทานกองทหารอินเดียที่รุกเข้ามาในอาณานิคมได้ ซาลาซาร์จึงเริ่มสงครามอาณานิคมโปรตุเกสอันเป็นสงครามนองเลือดอันยาวนานเพื่อที่จะปราบปรามนักต่อต้านอาณานิคมในอาณานิคมแอฟริกา สงครามอันไม่เป็นที่นิยมมาสิ้นสุดลงเมื่อคณะรัฐบาลของซาลาซาร์ถูกโค่นอำนาจในปี ค.ศ. 1974 ที่เรียกกันว่าการปฏิวัติคาร์เนชัน (Carnation Revolution) หลังจากนั้นรัฐบาลโปรตุเกสก็เปลี่ยนนโยบายทันทีและอนุมัติอิสรภาพของประเทศต่างๆ ในอาณานิคมโปรตุเกสทั้งหมดยกเว้นมาเก๊าที่มาคืนให้แก่ประเทศจีนในปี ค.ศ. 1999 ซึ่งเท่ากับเป็นการสิ้นสุดของจักรวรรดิโปรตุเก.

จักรวรรดิและจักรวรรดิโปรตุเกส · จักรวรรดิโปรตุเกสและรายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่ · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิไบแซนไทน์

ักรวรรดิไบแซนไทน์ (Byzantine Empire) หรือ จักรวรรดิไบแซนทิอุม (Βασιλεία των Ρωμαίων) เป็นจักรววรรดิที่สืบทอดโดยตรงจากจักรวรรดิโรมันในปลายสมัยโบราณ และยุคกลาง มีศูนย์กลางอยู่ที่กรุงคอนสแตนติโนเปิล ในบริบทสมัยโบราณตอนปลาย จักรวรรดิยังถูกเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า จักรวรรดิโรมันตะวันออก ขณะที่ยังมีจักรวรรดิโรมันตะวันตกอยู่ ทั้งคำว่า "จักรวรรดิไบแซนไทน์" และ "จักรวรรดิโรมันตะวันออก" เป็นคำทางภูมิประวัติศาสตร์ที่สร้างขึ้นและใช้กันในหลายศตวรรษต่อมา ขณะที่พลเมืองยังเรียกจักรวรรดิของตนว่า "จักรวรรดิโรมัน" หรือ "โรมาเนีย" เรื่อยมากระทั่งล่มสลายไป ขณะที่จักรวรรดิโรมันตะวันตกล่มสลายไปในคริสต์ศตวรรษที่ 5 ส่วนตะวันออกยังดำเนินต่อมาอีกพันปีก่อนจะเสียแก่เติร์กออตโตมันใน..

จักรวรรดิและจักรวรรดิไบแซนไทน์ · จักรวรรดิไบแซนไทน์และรายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่ · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิเซลจุค

มหาจักรวรรดิเซลจุค (سلجوقیان.) เป็นจักรวรรดิแบบเปอร์เชียM.A. Amir-Moezzi, "Shahrbanu", Encyclopaedia Iranica, Online Edition,: "...

จักรวรรดิและจักรวรรดิเซลจุค · จักรวรรดิเซลจุคและรายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่ · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิเซอร์เบีย

ักรวรรดิเซอร์เบีย (Serbian Empire, เซอร์เบีย: Српско царство) เป็นจักรวรรดิของยุคกลางที่ตั้งอยู่ในคาบสมุทรบอลข่านที่มีที่มาจากราชอาณาจักรเซอร์เบียในคริสต์ศตวรรษที่ 14 จักรวรรดิเซอร์เบียก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1346 และรุ่งเรืองมาจนกระทั่งปี ค.ศ. 1371.

จักรวรรดิและจักรวรรดิเซอร์เบีย · จักรวรรดิเซอร์เบียและรายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่ · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิเปอร์เชีย

ักรวรรดิเปอร์เชีย (Persian Empire) คือจักรวรรดิและอาณาจักรต่างๆในประวัติศาสตร์ของเปอร์เชียที่ปกครองต่อเนื่องกันมาในบริเวณที่ราบสูงอิหร่าน, ถิ่นกำเนิดของเปอร์เชีย และไกลไปทางเอเชียตะวันตก, เอเชียใต้, เอเชียกลาง และ บริเวณคอเคซัส จักรวรรดิเปอร์เชียจักรวรรดิแรกก่อตั้งภายใต้จักรวรรดิมีเดีย (728–559 ปีก่อนคริสต์ศักราช) หลังจากการโค่นจักรวรรดิอัสซีเรียด้วยความช่วยเหลือของบาบิโลเนีย จักรวรรดิเปอร์เชียอคีเมนียะห์ (550–330 ปีก่อนคริสต์ศักราช) เป็นจักรวรรดิที่ใหญ่ที่สุดในยุคโบราณ และมารุ่งเรืองที่สุดในรัชสมัยของพระเจ้าดาไรอัสมหาราช และ พระเจ้าเซอร์ซีสมหาราช — ผู้มีชื่อเสียงว่าเป็นศัตรูคนสำคัญของรัฐกรีกโบราณ (ดู สงครามกรีก-เปอร์เชีย) บริเวณที่ตั้งเดิมอยู่ในบริเวณที่ในปัจจุบันรู้จักกันว่าจังหวัดพาร์ส (จังหวัดฟาร์ส) ในประเทศอิหร่านปัจจุบัน จักรวรรดิเปอร์เชียก่อตั้งภายใต้พระเจ้าไซรัสมหาราชผู้ทรงยึดจักรวรรดิจากชนมีดีส (Medes) และทรงขยายดินแดนออกไปทางตะวันออกกลางที่รวมทั้งดินแดนของบาบิโบเนีย, อัสซีเรีย, ฟินิเซีย และ ลิเดีย หลังจากนั้นพระเจ้าแคมไบซีสที่ 2 แห่งเปอร์เชีย (Cambyses II of Persia) พระราชโอรสในพระเจ้าไซรัสก็ทรงดำเนินนโยบายการขยายดินแดนต่อไปยังอียิปต์ จักรวรรดิอคีเมนียะห์มาสิ้นสุดลงระหว่างสงครามอเล็กซานเดอร์มหาราช แต่ก็มาฟื้นตัวอีกครั้งในรูปของจักรวรรดิพาร์เธียน และ จักรวรรดิซาสซานิยะห์ แห่ง อิหร่าน ที่ตามมาด้วยยุคประวัติศาสตร์หลังศาสนาอิสลามของจักรวรรดิต่างๆ เช่น จักรวรรดิทาฮิริยะห์, จักรวรรดิซาฟาริยะห์, จักรวรรดิไบอิยะห์, จักรวรรดิซามานิยะห์, จักรวรรดิกาสนาวิยะห์, จักรวรรดิเซลจุค และ จักรวรรดิควาเรซเมีย มาจนถึงอิหร่านปัจจุบัน จักรวรรดิต่างๆ ที่รุ่งเรืองต่อเนื่องกันมาในเกรตเตอร์อิหร่าน ก่อนเดือนมีนาคม..

จักรวรรดิและจักรวรรดิเปอร์เชีย · จักรวรรดิเปอร์เชียและรายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอิหร่าน

อิหร่าน (ایران, อีรอน) หรือ เปอร์เซีย มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน (جمهوری اسلامی ايران) เป็นประเทศในเอเชียตะวันตก มีเขตแดนติดกับประเทศอาร์มีเนีย สาธารณรัฐนากอร์โน-คาราบัคโดยพฤตินัย และอาเซอร์ไบจานทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ติดประเทศคาซัคสถานและรัสเซียโดยมีทะเลแคสเปียนคั่น ติดประเทศเติร์กเมนิสถานทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ติดประเทศอัฟกานิสถานและปากีสถานทางทิศตะวันออก ติดอ่าวเปอร์เซียและอ่าวโอมานทางทิศใต้ และติดประเทศตุรกีและอิรักทางทิศตะวันตก มีพื้นที่ดินแดน 1,648,195 ตารางกิโลเมตร เป็นประเทศใหญ่ที่สุดอันดับที่สองในตะวันออกกลางและอันดับที่ 18 ในโลก มีประชากร 78.4 ล้านคน มากที่สุดเป็นอันดับที่ 17 ของโลก เป็นประเทศเดียวที่มีชายฝั่งทะเลแคสเปียนและมหาสมุทรอินเดีย ประเทศอิหร่านมีความสำคัญทางภูมิรัฐศาสตร์มาช้านานเนื่องจากที่ตั้งอยู่ในกลางยูเรเชียและเอเชียตะวันตก และอยู่ใกล้กับช่องแคบฮอร์มุซ อิหร่านเป็นประเทศที่มีวัฒนธรรมหลากหลายที่มีกลุ่มชาติพันธุ์และภาษาต่างๆมากมาย เปอร์เซียที่ใหญ่ที่สุด (61%) อาเซอร์ไบจาน (16%), Kurds (10%) และ Lorestan (6%) ประเทศอิหร่านเป็นที่ตั้งของอารยธรรมเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก เริ่มต้นด้วยการตั้งราชอาณาจักรก่อนเอลามและเอลามใน 3200–2800 ปีก่อน..

จักรวรรดิและประเทศอิหร่าน · ประเทศอิหร่านและรายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่ · ดูเพิ่มเติม »

นาซีเยอรมนี

นาซีเยอรมนี (Nazi Germany) หรือ ไรช์ที่สาม (Drittes Reich) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ ไรช์เยอรมัน (Deutsches Reich) เป็นชื่อเรียกยุคหนึ่งในประวัติศาสตร์เยอรมนีระหว่างปี 1933 ถึง 1945 เมื่อประเทศเยอรมนีอยู่ภายใต้การควบคุมระบอบเผด็จการของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์และพรรคนาซี ในการปกครองของฮิตเลอร์ ประเทศเยอรมนีกลายเป็นรัฐฟาสซิสต์ซึ่งควบคุมแทบทุกแง่มุมของชีวิต นาซีเยอรมนีล่มสลายหลังฝ่ายสัมพันธมิตรพิชิตเยอรมนีในเดือนพฤษภาคม 1945 ซึ่งยุติสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐไวมาร์ เพาล์ ฟอน ฮินเดนบูร์กแต่งตั้งฮิตเลอร์เป็นนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 มกราคม 1933 จากนั้น พรรคนาซีเริ่มกำจัดคู่แข่งทางการเมืองและรวบอำนาจ ฮินเดนบูร์กถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 1934 และฮิตเลอร์เป็นผู้เผด็จการแห่งเยอรมนีโดยการรวมอำนาจและตำแหน่งของนายกรัฐมนตรีกับประธานาธิบดี มีการจัดการลงประชามติทั่วประเทศเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 1934 ทำให้ฮิตเลอร์เป็นฟือเรอร์ (ผู้นำ) เยอรมนีเพียงผู้เดียว อำนาจเบ็ดเสร็จทั้งหมดรวมอยู่ในมือของฮิตเลอร์ และคำของเขาอยู่เหนือกฎหมายทั้งปวง รัฐบาลมิได้เป็นหน่วยที่ร่วมมือประสานกัน หากแต่เป็นหมู่กลุ่มแยกต่าง ๆ ที่แก่งแย่งอำนาจและความนิยมจากฮิตเลอร์ ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ นาซีฟื้นฟูเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและยุติการว่างงานขนานใหญ่โดยใช้รายจ่ายทางทหารอย่างหนักและเศรษฐกิจแบบผสม มีการดำเนินการโยธาสาธารณะอย่างกว้างขวาง รวมการก่อสร้างเอาโทบาน การคืนเสถียรภาพทางเศรษฐกิจส่งเสริมความนิยมของรัฐบาลให้เพิ่มพูนขึ้น คตินิยมเชื้อชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การต่อต้านยิว เป็นลักษณะหัวใจของนาซีเยอรมนี โดยถือว่า กลุ่มชนเจอร์มานิค หรือเชื้อชาตินอร์ดิก (Nordic race) เป็นเชื้อชาติอารยันซึ่งบริสุทธิ์ที่สุด ฉะนั้นจึงเป็นเชื้อชาติปกครอง (master race) ชาวยิวและชนกลุ่มอื่นที่ถือว่าไม่พึงปรารถนาถูกเบียดเบียนหรือฆ่า และการค้านการปกครองของฮิตเลอร์ถูกปราบปรามอย่างโหดเหี้ยม สมาชิกฝ่ายค้านเสรีนิยม สังคมนิยมและคอมมิวนิสต์ถูกฆ่า จำคุกหรือเนรเทศ โบสถ์คริสต์ก็ถูกกดขี่เช่นกัน โดยผู้นำหลายคนถูกจำคุก การศึกษามุ่งเน้นชีววิทยาเชื้อชาติ นโยบายประชากร และสมรรถภาพทางกายสำหรับราชการทหาร โอกาสในอาชีพและการศึกษาของสตรีถูกตัดทอน มีการจัดนันทนาการและการท่องเที่ยวผ่านโครงการความแข็งแรงผ่านความรื่นเริง (Strength Through Joy) มีการใช้โอลิมปิกฤดูร้อน 1936 เป็นตัวนำเสนอไรช์ที่สามในเวทีระหว่างประเทศ รัฐมนตรีโฆษณาการ โยเซฟ เกิบเบิลส์ ใช้ภาพยนตร์ การชุมนุมมวลชน และวาทศิลป์จับจิตของฮิตเลอร์เพื่อควบคุมมติมหาชนอย่างได้ผล รัฐบาลควบคุมการแสดงออกทางศิลปะ โดยสนับสนุนศิลปะบางรูปแบบ แต่ขัดขวางหรือห้ามศิลปะรูปแบบอื่น เริ่มตั้งแต่ปลายคริสต์ทศวรรษ 1930 นาซีเยอรมนีเรียกร้องดินแดนอย่างก้าวร้าวมากขึ้นเรื่อย ๆ และขู่ทำสงครามหากไม่สนองข้อเรียกร้อง เยอรมนียึดออสเตรียและเชโกสโลวาเกียในปี 1938 และ 1939 ฮิตเลอร์ทำสนธิสัญญาไม่รุกรานกับโจเซฟ สตาลิน และบุกครองโปแลนด์ในเดือนกันยายน 1939 เป็นการเปิดฉากสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป เยอรมนีเข้าเป็นพันธมิตรกับอิตาลีและฝ่ายอักษะที่เล็กกว่าและพิชิตทวีปยุโรปส่วนใหญ่เมื่อถึงปี 1940 และคุกคามสหราชอาณาจักร ไรช์ซคอมมิสซารีอัทควบคุมพื้นที่ที่ถูกพิชิตอย่างโหดร้ายและมีการสถาปนาการปกครองของเยอรมนีในประเทศโปแลนด์ที่เหลืออยู่ ชาวยิวและกลุ่มอื่นที่ถือว่าไม่พึงปรารถนาถูกจำคุกในค่ายกักกันและค่ายกำจัดนาซี การนำนโยบายเชื้อชาติของระบอบไปปฏิบัติลงเอยด้วยการสังหารชาวยิวและชนกลุ่มน้อยอื่นเป็นอันมากในฮอโลคอสต์ หลังการรุกรานสหภาพโซเวียตในปี 1941 นาซีเยอรมนีก็เริ่มเป็นรอง และปราชัยทางทหารสำคัญหลายครั้งในปี 1943 การทิ้งระเบิดทางอากาศต่อประเทศเยอรมนีทวีขึ้นในปี 1944 และฝ่ายอักษะถอยจากยุโรปตะวันออกและยุโรปใต้ หลังการบุกครองฝรั่งเศสของสัมพันธมิตร ประเทศเยอรมนีถูกโซเวียตจากทิศตะวันออกและฝ่ายสัมพันธมิตรจากทิศตะวันตกพิชิตและยอมจำนนในหนึ่งปี การที่ฮิตเลอร์ปฏิเสธยอมรับความปราชัยนำให้โครงสร้างพื้นฐานของเยอรมนีถูกทำลายล้างขนานใหญ่และการเสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับสงครามเพิ่มในเดือนท้าย ๆ ของสงคราม ฝ่ายสัมพันธมิตรผู้กำชัยริเริ่มนโยบายขจัดความเป็นนาซี (denazification) และนำผู้นำนาซีที่เหลือรอดหลายคนมาพิจารณาคดีอาชญากรรมสงครามในการพิจารณาคดีเนือร์นแบร์ก ส่วนประเทศเยอรมนีถูกยึดครองโดยมหาอำนาจฝ่ายสัมพันธมิตรคือ ฝรั่งเศส สหภาพโซเวียต สหรัฐอเมริกา และสหราชอาณาจักร.

จักรวรรดิและนาซีเยอรมนี · นาซีเยอรมนีและรายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่ · ดูเพิ่มเติม »

โกลเดนฮอร์ด

กลเดนฮอร์ด (Алтан Орд, Altan Ord; Алтын Урда, Altın Urda; Золотая Орда, Zolotaya Orda, Golden Horde หรือ Ulus of Jochi) เป็นคำที่สลาฟตะวันออกใช้เรียกมองโกล"", The Columbia Encyclopedia, Sixth Edition, 2001-05.

จักรวรรดิและโกลเดนฮอร์ด · รายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่และโกลเดนฮอร์ด · ดูเพิ่มเติม »

เอลาม

อลาม หรือ จักรวรรดิเอลาไมท์ (Elam หรือ Elamite Empire) เป็นอารยธรรมโบราณที่ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของอิหร่านปัจจุบัน เอลามเป็นศูนย์กลางทางตะวันตกสุดและทางตะวันตกเฉียงใต้ของอิหร่านปัจจุบันที่ครอบคลุมตั้งแต่ที่ลุ่มคูเซสสถาน (Khuzestan) และ จังหวัดอิลาม (Ilam Province) ที่เป็นต้นกำเนิดของคำว่า “เอลาม” ไปจนถึงจิรอฟท์ในจังหวัดเคอร์มาน (Kerman province) และเบอร์เนดในซาโบล (Zabol) และรวมทั้งบางส่วนเล็กน้อยของทางใต้ของอิรัก จักรวรรดิเอลาไมท์รุ่งเรืองอยู่ระหว่าง 2800 ปีจนถึง 550 ปีก่อนคริสต์ศักราช ตั้งอยู่ทางตะวันออกของเมโสโปเตเมียเอลามเป็นส่วนหนึ่งของเมืองในตะวันออกโบราณระหว่างยุคทองแดง (Chalcolithic) การเริ่มใช้บันทึกโดยตัวอักษรจากตั้งแต่ 3000 ปีก่อนคริสต์ศักราชประจวบกับประวัติศาสตร์ของเมโสโปเตเมีย ในสมัยเอลาไมท์โบราณ (ยุคสัมริดตอนกลาง) เอลามประกอบด้วยกลุ่มราชอาณาจักรบนที่ราบสูงอิหร่านที่มีศูนย์กลางอยู่ที่อันชาน และจากราวศตวรรษที่ 2 ก่อนคริสต์ศักราชศูนย์กลางก็ย้ายไปอยู่ที่ซูซา (Susa) บนที่ราบต่ำคูเซสสถาน วัฒนธรรมของเอลามมีบทบาทสำคัญในหมู่ชนกูเทียน (Gutian people) โดยเฉพาะในสมัยที่จักรวรรดิอคีเมนียะห์เข้ามาแทนที่และภาษาเอลาไมท์ยังคงใช้เป็นภาษาราชการ ภาษาเอลาไมท์ไม่มีความเกี่ยวข้องกับตระกูลภาษาใดๆ และดูเหมือนจะเป็นภาษาอิสระเช่นภาษาสุเมเรียน แต่นักค้นคว้าบางคนเชื่อว่าเป็นส่วนหนึ่งของภาษาเอลาโม-ดราวิเดียน (Elamo-Dravidian).

จักรวรรดิและเอลาม · รายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่และเอลาม · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง จักรวรรดิและรายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่

จักรวรรดิ มี 237 ความสัมพันธ์ขณะที่ รายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่ มี 128 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 62, ดัชนี Jaccard คือ 16.99% = 62 / (237 + 128)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง จักรวรรดิและรายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »