โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

คลองชักพระและรายชื่อคลองในกรุงเทพมหานคร

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง คลองชักพระและรายชื่อคลองในกรุงเทพมหานคร

คลองชักพระ vs. รายชื่อคลองในกรุงเทพมหานคร

ลองชักพระเกิดจากการขุดคลองลัดแม่น้ำเจ้าพระยาในช่วงที่๑ คลองชักพระ หรือ คลองบางขุนศรี เคยเป็นส่วนหนึ่งของแม่น้ำเจ้าพระยามาก่อน เดิมแม่น้ำเจ้าพระยาตั้งแต่ช่วงปากคลองบางกอกน้อยไปจนถึงปากคลองบางกอกใหญ่ยังเป็นแผ่นดินอยู่ ส่วนเส้นทางเดิมจะอ้อมจากหน้ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นคุ้งกว้างวกกลับมาข้างวัดท้ายตลาด ถึงปี พ.ศ. 2065 สมเด็จพระไชยราชาธิราชแห่งกรุงศรีอยุธยา โปรดเกล้าให้ขุดคลองลัดขึ้น (หมายเลข ๑ ในภาพ) เพื่อย่นระยะทางและเพื่อสะดวกต่อบรรดาชาวต่างชาติที่เข้ามาติดต่อค้าขาย เจริญสัมพันธไมตรีกับอาณาจักร ต่อมาคลองลัดเริ่มกว้างขึ้นกลายเป็นแม่น้ำ ส่วนแม่น้ำเจ้าพระยาเดิมก็เล็กลงกลายเป็นคลองบางกอกน้อย คลองบางกอกใหญ่ และคลองชักพระไป คลองชักพระ ไหลแยกจากคลองบางกอกน้อยบริเวณวัดสุวรรณคีรีไปเชื่อมกับบริเวณที่คลองมอญตัดกับคลองบางกอกใหญ่ ลำคลองกว้างประมาณ 10-15 เมตร และยาว 5.45 กิโลเมตร ทุกๆวันแรม 2 ค่ำ เดือน 12 จะมีประเพณีชักพระ โดยเรือที่ประดิษฐานพระพุทธรูปจะถูกชักลากจากวัดนางชี คลองภาษีเจริญผ่านคลองชักพระและคลองบางกอกน้อย ออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยา แล้วอ้อมมาเข้าคลองบางกอกใหญ่กลับไปที่วัดนางชีตามเดิม ซึ่งนับเป็นงานประเพณีชักพระแห่งเดียวในกรุงเทพมหานคร และเป็นที่มาของชื่อคลองนี้ ปัจจุบัน คลองชักพระเป็นคลองเพื่อการระบายน้ำ การสัญจร และการท่องเที่ยว มีคลองอื่นๆ ไหลเชื่อม ได้แก่ คลองบ้านไทร คลองบางระมาด และคลองบางพรม และยังเป็นแนวแบ่งเขตบางกอกน้อย กับเขตตลิ่งชันตลอดทั้งสายด้ว. ตัดกันระหว่างคลองบางน้อย กับคลองบางกอกใหญ่ ในพื้นที่แขวงบางเชือกหนัง เขตตลิ่งชัน คลองในกรุงเทพมหานคร มีจำนวน 1,161 คลอง และคูลำกระโดง จำนวน 521 คู รวมเป็น 1,682 คูคลอง ความยาว 2,604 กม.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง คลองชักพระและรายชื่อคลองในกรุงเทพมหานคร

คลองชักพระและรายชื่อคลองในกรุงเทพมหานคร มี 8 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): อาณาจักรอยุธยาคลองบางกอกน้อยคลองบางกอกใหญ่คลองภาษีเจริญคลองมอญแม่น้ำเจ้าพระยาเขตบางกอกน้อยเขตตลิ่งชัน

อาณาจักรอยุธยา

ำหรับความหมายอื่น ดูที่ อยุธยา ระวังสับสนกับ อโยธยา อาณาจักรอยุธยา เป็นอาณาจักรของชนชาติไทยในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาในช่วง พ.ศ. 1893 ถึง พ.ศ. 2310 มีกรุงศรีอยุธยาเป็นศูนย์กลางอำนาจหรือราชธานี ทั้งยังมีความสัมพันธ์ทางการค้ากับหลายชาติ จนถือได้ว่าเป็นศูนย์กลางการค้าในระดับนานาชาติ เช่น จีน เวียดนาม อินเดีย ญี่ปุ่น เปอร์เซีย รวมทั้งชาติตะวันตก เช่น โปรตุเกส สเปน เนเธอร์แลนด์ (ฮอลันดา) อังกฤษ และฝรั่งเศส ซึ่งในช่วงเวลาหนึ่งเคยสามารถขยายอาณาเขตประเทศราชถึงรัฐฉานของพม่า อาณาจักรล้านนา มณฑลยูนนาน อาณาจักรล้านช้าง อาณาจักรขอม และคาบสมุทรมลายูในปัจจุบัน.

คลองชักพระและอาณาจักรอยุธยา · รายชื่อคลองในกรุงเทพมหานครและอาณาจักรอยุธยา · ดูเพิ่มเติม »

คลองบางกอกน้อย

ลองบางกอกน้อยช่วงที่ไหลผ่านวัดศรีสุดาราม มองไปทางด้านทิศตะวันตก คลองบางกอกน้อยเกิดจากการขุดคลองลัดแม่น้ำเจ้าพระยาในช่วงที่๑ ซึ่งทำให้แม่น้ำไหลเปลี่ยนทิศทางไปเป็นอย่างที่เห็นทุกวันนี้ คลองบางกอกน้อย ตั้งอยู่ในเขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร เดิมเคยเป็นส่วนหนึ่งของแม่น้ำเจ้าพระยา จนกระทั่งรัชสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราชแห่งกรุงศรีอยุธยา (พ.ศ. 2077 - 2089) ได้โปรดฯ ให้ขุดคลองลัดแม่น้ำขึ้นจากปากคลองบางกอกน้อยไปยังปากคลองบางกอกใหญ่ ซึ่งกล่าวกันว่าช่วยย่นระยะทางได้ถึง 1 วัน ต่อมากระแสน้ำส่วนใหญ่ได้ไหลเข้าสู่คองลัดทำให้คลองกว้างขึ้นเรื่อยๆ กลายเป็นแม่น้ำเจ้าพระยาสายใหม่ ส่วนแม่น้ำสายเดิมแคบลงกลายเป็นคลองบางกอกน้อย คลองชักพระ และคลองบางกอกใหญ่แทน คลองบางกอกน้อยเริ่มต้นตั้งแต่แม่น้ำเจ้าพระยาทางเหนือของสถานีรถไฟธนบุรี ไหลขึ้นไปบรรจบคลองชักพระ (คลองบางขุนศรี) และคลองลัดบางกรวย ตรงข้ามวัดสุวรรณคีรี มีความกว้างมากถึง 40 เมตร และยาว 3.3 กิโลเมตร คณะรัฐมนตรีมีมติให้คลองบางกอกน้อยเป็นคลองสำคัญซึ่งจะต้องอนุรักษ์ไว้ เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2510 ในปัจจุบันช่วง คลองลัดบางกรวย (หมายเลข ๒ ในภาพ) ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งคลองบางกอกน้อยไปด้วย รวมถึงคลองอ้อม หรือคลองอ้อมนนท์ ก็เรียกกันทั่วไปว่าคลองบางกอกน้อยเช่นกัน ปัจจุบัน คลองบางกอกน้อยใช้ในการคมนาคม สัญจร ทัศนาจร ท่องเที่ยว ใช้ขนส่งสินค้า ใช้เล่นกีฬาทางน้ำ ใช้อาบน้ำ ใช้ล้างภาชนะ ใช้ระบายน้ำ และยังเป็นเส้นทางชักพระของวัดนางชี ซึ่งมีขึ้นในวันแรม 2 ค่ำ เดือน 12 ของทุกปี โดยชักแห่ไปทางน้ำ ผ่านคลองชักพระ คลองบางกอกน้อย แล้ววกลงมาตามแม่น้ำเจ้าพระยา เข้าคลองบางกอกใหญ่ กลับไปยังวัดนางชีตามเดิม ไหลผ่าน เขตบางกอกน้อย เขตตลิ่งชัน อ.บางกรวย อ.บางใหญ่ อ.เมืองนนทบุรี.

คลองชักพระและคลองบางกอกน้อย · คลองบางกอกน้อยและรายชื่อคลองในกรุงเทพมหานคร · ดูเพิ่มเติม »

คลองบางกอกใหญ่

ปากคลองบางกอกใหญ่ บรรจบกับแม่น้ำเจ้าพระยา คลองบางกอกใหญ่ช่วงที่ผ่านวัดอินทารามวรวิหาร (วัดบางยี่เรือนอก) การขุดคลองลัดแม่น้ำเจ้าพระยาในช่วงที่ ๑ ซึ่งทำให้แม่น้ำสายเดิมกลายเป็นคลองบางกอกใหญ่ในปัจจุบัน คลองบางกอกใหญ่ หรือชื่อในอดีตว่า คลองบางหลวง เดิมเคยเป็นส่วนหนึ่งของแม่น้ำเจ้าพระยามาก่อน กล่าวคือบริเวณตั้งแต่ปากคลองบางกอกน้อย ตรงข้ามมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ไปจนถึงปากคลองบางกอกใหญ่ในปัจจุบันนั้น ยังเป็นแผ่นดินอยู่ แม่น้ำเจ้าพระยาเดิมจะอ้อมเลี้ยวจากหน้ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นคุ้งกว้างมาทะลุออกข้างวัดท้ายตลาด ต่อมาในรัชสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราช (พ.ศ. 2077 - 2089) โปรดเกล้าให้ขุดคลองลัดระหว่างคุ้งแม่น้ำทั้งสอง เพื่อย่นระยะทางและอำนวยความสะดวกให้กับบรรดาพ่อค้าทูตานุทูตชาวตะวันตกที่เริ่มเข้ามาติดต่อค้าขายและเจริญสัมพันธไมตรีกับอาณาจักรเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ในสมัยนั้น ต่อมาคลองลัดเริ่มกว้างใหญ่ขึ้นกลายเป็นแม่น้ำ ส่วนแม่น้ำเจ้าพระยาเดิมก็เล็กลงกลายเป็นคลองบางกอกน้อยและคลองบางกอกใหญ่ ถึงสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสิน ราชสำนักย้ายมาอยู่ที่กรุงธนบุรี คลองบางกอกใหญ่กลายมาเป็นชุมชนของข้าหลวง และโปรดเกล้าให้บรรดาชาวจีนซึ่งได้เคยช่วยเหลือพระองค์มาตั้งบ้านเรือนอยู่ริมคลองบางกอกใหญ่ ผู้คนจึงนิยมเรียกกันติดปากว่า "คลองบางข้าหลวง" หรือ "คลองบางหลวง" สืบมาถึงในปัจจุบัน รัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร กำหนดให้คลองบางกอกใหญ่เป็นคลองสำคัญซึ่งจะต้องอนุรักษ์ไว้ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2510 ปากคลองบางกอกใหญ่แยกจากแม่น้ำเจ้าพระยาทางฝั่งขวาของป้อมวิไชยประสิทธิ์ ไปสิ้นสุดที่คลองมอญ ตรงข้ามปากคลองชักพระ มีความยาวประมาณ 6 กิโลเมตร คลองบางกอกใหญ่ในปัจจุบันนั้นถือเป็นเส้นทางสัญจรและระบายน้ำ และยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่สำคัญอย่างมาก มีศาสนสถานตั้งอยู่อย่างหนาแน่นทั้งสองฝั่ง วัดและมัสยิดริมคลองบางกอกใหญ่ได้แก.

คลองชักพระและคลองบางกอกใหญ่ · คลองบางกอกใหญ่และรายชื่อคลองในกรุงเทพมหานคร · ดูเพิ่มเติม »

คลองภาษีเจริญ

ลองภาษีเจริญ เมื่อต้นปี พ.ศ. 2559 มองเห็นพระมหาเจดีย์มหารัชมงคล วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ คลองภาษีเจริญ บริเวณสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสบางหว้า คลองภาษีเจริญ เริ่มต้นที่บริเวณปากคลองบางกอกใหญ่และคลองบางขุนศรีมาบรรจบกัน ไปเชื่อมแม่น้ำท่าจีนที่ตำบลดอนไก่ดี จังหวัดสมุทรสาคร รวมความยาว 28 กิโลเมตร โดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้พระภาษีสมบัติบริบูรณ์ (ยิ้ม พิศลยบุตร) เจ้าภาษีฝิ่นเป็นแม่กองขุด ใช้เงินภาษีฝิ่นพระราชทานเป็นเงิน 112,000 บาท พระราชทานนามว่า “คลองภาษีเจริญ” แล้วเสร็จในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินเปิดคลองในปี พ.ศ. 2415 ได้คลองมีความยาว 620 เส้น กว้าง 7 วา ลึก 5 ศอก ต่อมาในปี พ.ศ. 2428 -พ.ศ. 2429 และพ.ศ. 2446 ได้มีการขุดลอกอีกครั้ง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้า ฯ ให้ทำพิธีเปิดคลองเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม มีประตูน้ำ 2 แห่ง สร้างเมื่อปี..

คลองชักพระและคลองภาษีเจริญ · คลองภาษีเจริญและรายชื่อคลองในกรุงเทพมหานคร · ดูเพิ่มเติม »

คลองมอญ

ลองมอญ คลองมอญ เป็นคลองธรรมชาติคลองหนึ่งที่ตั้งอยู่ระหว่างเขตบางกอกใหญ่กับเขตบางกอกน้อย ที่มาของชื่อคลองมาจากที่ริมสองฝั่งคลองเป็นชุมชนชาวมอญเรียงรายกันไปตลอดแนว คลองมอญแยกจากแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก พาดผ่านเป็นแนวแบ่งเขตแดนระหว่างเขตบางกอกน้อย และบางกอกใหญ่ ไปออกยังบริเวณที่คลองบางน้อยและคลองบางเชือกหนังไหลมาบรรจบกัน ในรอยต่อเขตภาษีเจริญและเขตตลิ่งชัน คลองมอญมีความยาวประมาณ 3 กิโลเมตร มีศาสนสถานและวัดสำคัญ ๆ มากมาย เช่น วัดเครือวัลย์ วัดนาคกลาง วัดพระยาทำ วัดครุฑ วัดโพธิ์เรียง วัดบางเสาธง วัดปากน้ำฝั่งใต้ วัดเกาะ คลองมอญจึงมีความสำคัญต่อการระบายน้ำและการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในเขตกรุงเทพมหานครชั้นในเป็นอย่างมาก ชื่ออื่นๆ ของคลองมอญที่นิยมเรียกกัน ก็คือคลองบางเสาธง ซึ่งเรียกกันในช่วงที่มารวมกับคลองบางน้อย และบางเชือกหนัง หรือบางครั้งก็ถือว่าคลองช่วงนี้เป็นส่วนหนึ่งของคลองบางน้อ.

คลองชักพระและคลองมอญ · คลองมอญและรายชื่อคลองในกรุงเทพมหานคร · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำเจ้าพระยา

แม่น้ำเจ้าพระยา เป็นแม่น้ำสายหลักสายหนึ่งของประเทศไทย เกิดจากการรวมตัวของแม่น้ำสายหลัก 2 สายจากภาคเหนือ คือแม่น้ำปิงและแม่น้ำน่าน ที่ตำบลปากน้ำโพ อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ จากนั้นไหลลงไปทางทิศใต้ ผ่านจังหวัดอุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี และกรุงเทพมหานคร ก่อนออกสู่อ่าวไทยที่ปากน้ำ ซึ่งอยู่ระหว่างเขตตำบลท้ายบ้าน ตำบลบางปูใหม่ อำเภอเมืองสมุทรปราการ และตำบลแหลมฟ้าผ่า อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ.

คลองชักพระและแม่น้ำเจ้าพระยา · รายชื่อคลองในกรุงเทพมหานครและแม่น้ำเจ้าพระยา · ดูเพิ่มเติม »

เขตบางกอกน้อย

ตบางกอกน้อย เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงธนเหนือ ซึ่งถือเป็นเขตอนุรักษ์เมืองเก่า แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมทางฝั่งธนบุรี โดยมีคำขวัญประจำเขตว่า "สมเด็จโตวัดระฆัง วังหลังตั้งอยู่ อู่เรือพระราชพิธี สถานีรถไฟ คลองใหญ่มีชื่อ เลื่องลือเครื่องลงหิน นามระบิลช่างหล่อ งามลออวัดวา".

คลองชักพระและเขตบางกอกน้อย · รายชื่อคลองในกรุงเทพมหานครและเขตบางกอกน้อย · ดูเพิ่มเติม »

เขตตลิ่งชัน

ตตลิ่งชัน เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร เป็นพื้นที่รอบนอกทางตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งเรียกว่า "ฝั่งธนบุรี" ปัจจุบันจัดอยู่ในกลุ่มเขตกรุงธนเหนือ สภาพโดยทั่วไปเป็นเขตอนุรักษ์ชนบทและเกษตรกรรมผสมผสานแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย แต่ปัจจุบัน พื้นที่เกษตรกรรมกำลังลดลงไปมากจากการสร้างพื้นที่อยู่อาศัยเพื่อรองรับการขยายตัวของเมืองและการสร้างเส้นทางคมนาคม.

คลองชักพระและเขตตลิ่งชัน · รายชื่อคลองในกรุงเทพมหานครและเขตตลิ่งชัน · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง คลองชักพระและรายชื่อคลองในกรุงเทพมหานคร

คลองชักพระ มี 14 ความสัมพันธ์ขณะที่ รายชื่อคลองในกรุงเทพมหานคร มี 149 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 8, ดัชนี Jaccard คือ 4.91% = 8 / (14 + 149)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง คลองชักพระและรายชื่อคลองในกรุงเทพมหานคร หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »