โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ประสาทสัมผัสและรายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อย

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ประสาทสัมผัสและรายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อย

ประสาทสัมผัส vs. รายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อย

ประสาทสัมผัส (Sense)"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑" ให้ความหมายของ sense ว่า ความรู้สึก, การรับรู้, การกำหนดรู้, ประสาทสัมผัส เป็นสมรรถภาพในสรีระของสิ่งมีชีวิตที่ให้ข้อมูลเพื่อให้เกิดการรับรู้ (perception) มีการศึกษาประเด็นเกี่ยวกับการทำงาน การจำแนกประเภท และทฤษฎีของประสาทสัมผัส ในวิชาหลายสาขา โดยเฉพาะในวิทยาศาสตร์ประสาท จิตวิทยาปริชาน (หรือประชานศาสตร์) และปรัชญาแห่งการรับรู้ (philosophy of perception) ระบบประสาทของสัตว์นั้นมีระบบรับความรู้สึกหรืออวัยวะรับความรู้สึก สำหรับความรู้สึกแต่ละอย่าง มนุษย์เองก็มีประสาทสัมผัสหลายอย่าง การเห็น การได้ยิน การลิ้มรส การได้กลิ่น การถูกต้องสัมผัส เป็นประสาทสัมผัสห้าทางที่รู้จักกันมาตั้งแต่โบราณ แต่ว่า ความสามารถในการตรวจจับตัวกระตุ้นอื่น ๆ นอกเหนือจากนั้นก็ยังมีอยู่ รวมทั้ง อุณหภูมิ ความรู้สึกเกี่ยวกับเคลื่อนไหว (proprioception) ความเจ็บปวด (nociception) ความรู้สึกเกี่ยวกับการทรงตัว และความรู้สึกเกี่ยวกับตัวกระตุ้นภายในต่าง ๆ (เช่นมีเซลล์รับความรู้สึกเชิงเคมี คือ chemoreceptor ที่ตรวจจับระดับความเข้มข้นของเกลือและคาร์บอนไดออกไซด์ ที่อยู่ในเลือด) และความสามารถต่าง ๆ เหล่านี้สามารถเรียกว่าเป็นประสาทสัมผัสโดยต่างหากได้เพียงไม่กี่อย่าง เพราะว่า ประเด็นว่า อะไรเรียกว่า ประสาทสัมผัส (sense) ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ ทำให้ยากที่จะนิยามความหมายของคำว่า ประสาทสัมผัส อย่างแม่นยำ สัตว์ต่าง ๆ มีตัวรับความรู้สึกเพื่อที่จะสัมผัสโลกรอบ ๆ ตัว มีระดับความสามารถที่ต่าง ๆ กันไปแล้วแต่สปีชีส์ เมื่อเทียบกันแล้ว มนุษย์มีประสาทสัมผัสทางจมูกที่ไม่ดี และสัตว์เหล่าอื่นก็อาจจะไม่มีประสาทสัมผัส 5 ทางที่กล่าวถึงไปแล้วอย่างใดอย่างหนึ่ง สัตว์บางอย่างอาจจะรับข้อมูลเกี่ยวกับตัวกระตุ้นและแปลผลข้อมูลเหล่านั้นต่างไปจากมนุษย์ และสัตว์บางชนิดก็สามารถสัมผัสโลกโดยวิธีที่มนุษย์ไม่สามารถ เช่นมีสัตว์บางชนิดสามารถสัมผัสสนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็ก สามารถสัมผัสแรงดันน้ำและกระแสน้ำ. รายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อย นี้แก้ความเชื่อและความเข้าใจผิด ๆ ที่แพร่หลายในปัจจุบัน ในประเด็นต่าง ๆ ที่น่าสนใจ โดยมีแหล่งอ้างอิงที่ได้กำหนดความเข้าใจผิดคู่กับความจริงแต่ละอย่างแล้ว ให้สังเกตว่า แต่ละรายการเขียนโดยเป็นการแก้ไข และอาจไม่ได้กล่าวถึงความเข้าใจผิดเองตรง.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ประสาทสัมผัสและรายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อย

ประสาทสัมผัสและรายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อย มี 36 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): กลิ่นการกลายพันธุ์การรับรู้อากัปกิริยาการได้ยินยีนระบบการทรงตัวระบบรับความรู้สึกทางกายระบบรู้กลิ่นลิ้นสมองสรีรวิทยาสัตว์ปีกสัตว์เลื้อยคลานสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมสิ่งมีชีวิตสปีชีส์ออกซิเจนอาเจียนอุณหภูมิผิวหนังทางเดินอาหารความยาวคลื่นความโน้มถ่วงคอคาร์บอนไดออกไซด์ค้างคาวตัวรับความรู้สึกตาบอดประชานประเทศออสเตรีย...ปลาฉลามแมวแมงมุมโนซิเซ็ปชันเมตรเซลล์รูปกรวย ขยายดัชนี (6 มากกว่า) »

กลิ่น

กลิ่น (odor) คือ อนุภาคทางเคมี (particle chemical) ที่กระจายตัวอยู่ในอากาศ โดยสามารถรับรู้ได้ด้วยอวัยวะรับกลิ่น อวัยวะรับกลิ่นของมนุษย์และสัตว์คือ จมูก กลิ่นโดยทั่วไปแล้วแบ่งเป็นกลิ่นหอมและกลิ่นเหม็น โดยส่งผลต่อระดับความพึงพอใจของทั้งมนุษย์และสัตว์ ในปัจจุบันมีการนำประโยชน์ของกลิ่นมาใช้ประโยชน์หลายด้าน.

กลิ่นและประสาทสัมผัส · กลิ่นและรายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อย · ดูเพิ่มเติม »

การกลายพันธุ์

การกลายพันธุ์ (mutation) หมายถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพของสิ่งมีชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเปลี่ยนแปลงของยีน ทำให้สิ่งมีชีวิตเกิดขึ้นมาใหม่มีลักษณะแตกต่างจากกลุ่มปกติ, วันที่สืบค้น 25 พฤษภาคม 2559 จาก www.thaibiotech.info.

การกลายพันธุ์และประสาทสัมผัส · การกลายพันธุ์และรายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อย · ดูเพิ่มเติม »

การรับรู้อากัปกิริยา

ซีรีบรัมเป็นส่วนในสมองที่มีหน้าที่ประสานงานเกี่ยวข้องกับการรับรู้อากัปกิริยา การรับรู้อากัปกิริยา"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ proprioception ว่า "การรับรู้อากัปกิริยา" และของ proprioceptor ว่า "ปลายประสาทรับรู้อากัปกิริยา" หรือการรู้ตำแหน่งข้อและการเคลื่อนไหว (proprioception มาจากคำว่า "proprius" ซึ่งแปลว่า "ของตน" หรือ "แต่ละบุคคล" และคำว่า "perception" ซึ่งแปลว่า "การรับรู้") เป็นความรู้สึกเกี่ยวกับตำแหน่ง (limb position sense) และเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของอวัยวะในร่างกาย (kinesthesia หรือ motion sense) ที่ไม่สืบเนื่องกับการมองเห็นให้สังเกตให้ดีว่า คำว่า "proprioception" นั้น เป็นคำที่ชาลส์ สก็อตต์ เชอร์ริงตัน ได้บัญญัติขึ้นตั้งแต่ปี..

การรับรู้อากัปกิริยาและประสาทสัมผัส · การรับรู้อากัปกิริยาและรายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อย · ดูเพิ่มเติม »

การได้ยิน

การได้ยิน หรือ การฟัง หมายถึงการรับรู้เสียงได้ เป็นการรับรู้การสื่อสารจากการพูด และเป็นหนึ่งในสัมผัสทั้งห้า อวัยวะที่ใช้ในการฟังเราเรียกว่าหู การได้ยินเป็นหนึ่งในสัมผัสสามอย่างที่ไม่สามารถปิดกั้นได้(ได้แก่ การได้ยิน การดม และกายสัมผัส).

การได้ยินและประสาทสัมผัส · การได้ยินและรายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อย · ดูเพิ่มเติม »

ยีน

รโมโซมคือสายดีเอ็นเอที่พันประกอบขึ้นเป็นรูปร่าง ยีนคือส่วนหนึ่งของสายดีเอ็นเอที่ถอดรหัสออกมาเพื่อทำหน้าที่ ยีนสมมติในภาพนี้ประกอบขึ้นจากแค่สี่สิบคู่เบส ซึ่งยีนจริงๆ จะมีจำนวนคู่เบสมากกว่านี้ ยีน, จีน หรือ สิ่งสืบต่อพันธุกรรม (gene) คือลำดับดีเอ็นเอหรืออาร์เอ็นเอที่สามารถถอดรหัสออกมาเป็นโมเลกุลหนึ่งๆ ที่สามารถทำหน้าที่ได้ โดยปกติแล้วดีเอ็นเอจะถูกถอดรหัสออกมาเป็นอาร์เอ็รนเอ แล้วอาร์เอ็นเอนั้นอาจทำหน้าที่ได้เองโดยตรง หรือเป็นแบบให้กับขั้นตอนการแปลรหัส ซึ่งเป็นการสร้างโปรตีนเพื่อทำหน้าที่ต่อไปก็ได้ การถ่ายทอดยีนไปยังทายาทของสิ่งมีชีวิตเป็นพื้นฐานที่สำคัญของการส่งต่อลักษณะไปยังรุ่นถัดไป ยีนต่างๆ เหล่านี้ประกอบกันขึ้นเป็นลำดับดีเอ็นเอเรียกว่าจีโนทัยป์หรือลักษณะพันธุกรรม ซึ่งเมื่อประกอบกับปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมและการเจริญเติบโตแล้วจะเป็นตัวกำหนดฟีโนทัยป์หรือลักษณะปรากฏ ลักษณะทางชีวภาพหลายๆ อย่างถูกกำหนดโดยยีนหลายยีน บางอย่างถูกกำหนดโดยปฏิสัมพันธ์ระหว่างยีนกับสิ่งแวดล้อม ลักษณะทางพันธุกรรมบางอย่างอาจปรากฏให้เห็นได้อย่างชัดเจน เช่น สีตา จำนวนแขนขา และบางอย่างก็ไม่ปรากฏให้เห็น เช่น หมู่เลือด ความเสี่ยงของการเกิดโรค รวมถึงกระบวนการทางชีวเคมีนับพันที่เป็นพื้นฐานของชีวิต ยีนอาจเกิดการกลายพันธุ์สะสมในลำดับพันธุกรรมได้ ทำให้เกิดความแตกต่างของการแสดงออกในกลุ่มประชากร เรียกว่าแต่ละรูปแบบที่แตกต่างนี้ว่า อัลลีล แต่ละอัลลีลของยีนยีนหนึ่งจะถอดรหัสออกมาเป็นโปรตีนที่มีความแตกต่างกันเล็กน้อย ทำให้เกิดลักษณะปรากฏทางฟีโนทัยป์ที่แตกต่างกันไป ในระดับคนทั่วไปเมื่อพูดถึงการมียีน เช่น มียีนที่ดี มียีนสีผมน้ำตาล มักหมายถึงการมีอัลลีลที่แตกต่างของยีนยีนหนึ่ง ยีนเหล่านี้จะผ่านกระบวนการคัดเลือกโดยธรรมชาติเพื่อให้เกิดการอยู่รอดของอัลลีลที่เหมาะสมที่สุด ซึ่งเป็นกระบวนการสำคัญที่ทำให้เกิดวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ยีนเป็นส่วนหนึ่งของโครโมโซมที่ถอดรหัสได้เป็นสายพอลิเพปไทด์หนึ่งสายที่ทำงานได้ (single functional polypeptide) หรือได้เป็นอาร์เอ็นเอ ยีนประกอบด้วยส่วนที่สามารถถอดรหัสเป็นอาร์เอ็นเอได้ เรียกว่า exon และบริเวณที่ไม่สามารถถอดรหัสได้ เรียกว่า intron.

ประสาทสัมผัสและยีน · ยีนและรายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อย · ดูเพิ่มเติม »

ระบบการทรงตัว

ห้องหูชั้นใน (labyrinth of the inner ear) ของหูด้านขวา ประกอบด้วย '''คอเคลีย''' (cochlea) เป็นอวัยวะปลายประสาทของระบบการได้ยิน ส่วนอวัยวะรับความรู้สึกของระบบการทรงตัวรวมทั้ง '''หลอดกึ่งวงกลม''' (semicircular ducts) ซึ่งทำหน้าที่รับรู้การเคลื่อนไหวแบบหมุน (คือความเร่งเชิงมุม) '''saccule''' และ '''utricle''' ทำหน้าที่รับรู้ความเร่งเชิงเส้น คอเคลียและ vestibular system ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมโดยมาก ระบบการทรงตัว (vestibular system) เป็นระบบรับความรู้สึกที่ให้ข้อมูลสำคัญที่สุดเกี่ยวกับการกำหนดรู้การทรงตัว (equilibrioception หรือ sense of balance) และการรู้ทิศทางของร่างกายภายในปริภูมิ (spatial orientation) ระบบการทรงตัวพร้อมกับคอเคลียซึ่งเป็นส่วนของระบบการได้ยิน เป็นส่วนประกอบของห้องหูชั้นใน (labyrinth of the inner ear) สำหรับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมโดยมาก เพราะการเคลื่อนไหวร่างกายมีทั้งแบบหมุนและแบบเลื่อน ระบบการทรงตัวจึงมีส่วนประกอบสองอย่างเหมือนกัน คือ ระบบหลอดกึ่งวงกลม (semicircular canal) ซึ่งบอกการเคลื่อนไหวแบบหมุน และระบบ otoliths ซึ่งบอกความเร่งในแนวเส้น ระบบการทรงตัวโดยหลักจะส่งข้อมูลไปยังโครงสร้างประสาทที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของตา เช่นการเคลื่อนไหวแบบ vestibulo-ocular reflex ซึ่งจำเป็นในการเห็นที่ชัดเจน และไปยังกล้ามเนื้อที่ทำให้สามารถทรงตัวไว้ได้ ระบบการทรงตัวมีบทบาทในเรื่อง.

ประสาทสัมผัสและระบบการทรงตัว · ระบบการทรงตัวและรายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อย · ดูเพิ่มเติม »

ระบบรับความรู้สึกทางกาย

การเห็นบกพร่อง สัมผัสเป็นประสาทสัมผัสที่สำคัญเพื่อรับรู้สิ่งแวดล้อม ระบบรับความรู้สึกทางกาย"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ somato-gnosis ว่า "ความรู้สึก-ทางกาย" และของ sensory ว่า "-รับความรู้สึก" แต่สิ่งที่ตีพิมพ์ในวรรณกรรมมักใช้คำอังกฤษว่า somatosensory system โดยไม่แปล (somatosensory system) เป็นส่วนของระบบรับความรู้สึกที่สามารถรับรู้อย่างหลายหลาก ประกอบด้วยตัวรับความรู้สึก/ปลายประสาทรับความรู้สึก (sensory receptor) ที่ระบบประสาทนอกส่วนกลาง และศูนย์ประมวลผลต่าง ๆ ที่ระบบประสาทกลางมากมาย ทำให้รับรู้ตัวกระตุ้นได้หลายแบบรวมทั้งสัมผัส อุณหภูมิ อากัปกิริยา และโนซิเซ็ปชั่น (ซึ่งอาจให้เกิดความเจ็บปวด) ตัวรับความรู้สึกมีอยู่ที่ผิวหนัง เนื้อเยื่อบุผิว กล้ามเนื้อโครงร่าง กระดูก ข้อต่อ อวัยวะภายใน และระบบหัวใจและหลอดเลือด ถึงแม้จะสืบทอดมาตั้งแต่ครั้งโบราณว่า สัมผัสเป็นความรู้สึกอย่างหนึ่งในทวารทั้ง 5 (เช่น "โผฏฐัพพะ" ในพระพุทธศาสนา) แต่ความจริงแล้ว "สัมผัส" เป็นความรู้สึกต่าง ๆ หลายแบบ ดังนั้น การแพทย์จึงมักจะใช้ศัพท์ภาษาอังกฤษว่า "somatic senses (ความรู้สึกทางกาย)" แทนศัพท์ว่า "touch (สัมผัส)" เพื่อให้ครอบคลุมกลไกความรู้สึกทางกายทั้งหมด ความรู้สึกทางกายบางครั้งเรียกว่า "somesthetic senses" โดยที่คำว่า "somesthesis" นั้น รวมการรับรู้สัมผัส (touch) การรับรู้อากัปกิริยา และในบางที่ การรับรู้วัตถุโดยสัมผัส (haptic perception) ระบบรับความรู้สึกทางกายมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งเร้ามากมายหลายแบบ โดยอาศัยตัวรับความรู้สึกประเภทต่าง ๆ รวมทั้งตัวรับอุณหภูมิ โนซิเซ็ปเตอร์ ตัวรับแรงกล และตัวรับรู้สารเคมี ข้อมูลความรู้สึกจะส่งไปจากตัวรับความรู้สึกผ่านเส้นประสาทรับความรู้สึก (sensory nerve) ผ่านลำเส้นใยประสาทในไขสันหลัง ตรงเข้าไปยังสมอง การประมวลผลโดยหลักเกิดขึ้นที่คอร์เทกซ์รับความรู้สึกทางกายปฐมภูมิ (primary somatosensory cortex) ในสมองกลีบข้าง cortical homunculus ที่แสดงไว้โดยไวล์เดอร์ เพ็นฟิลด์ กล่าวอย่างง่าย ๆ ที่สุด ระบบรับความรู้สึกทางกายจะเริ่มทำงานเมื่อตัวรับความรู้สึกที่กายเขตหนึ่งเริ่มทำงาน โดยถ่ายโอนคุณสมบัติของตัวกระตุ้นบางอย่างเช่นความร้อนไปเป็นสัญญาณประสาท ซึ่งในที่สุดก็จะเดินทางไปถึงเขตสมองที่มีหน้าที่เฉพาะเจาะจงต่อเขตกายนั้น และเพราะเฉพาะเจาะจงอย่างนี้ จึงสามารถระบุเขตกายที่เกิดความรู้สึกโดยเฉพาะซึ่งเป็นผลแปลของสมอง ความสัมพันธ์จุดต่อจุดเช่นนี้ปรากฏเป็นแผนที่ผิวกายในสมองที่เรียกว่า homunculus แปลว่า "มนุษย์ตัวเล็ก ๆ" และเป็นส่วนสำคัญในการรับรู้ความรู้สึกที่ส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย แต่แผนที่ในสมองเช่นนี้ ไม่ใช่ว่าจะเปลี่ยนแปลงไม่ได้ และจริง ๆ สามารถเปลี่ยนแปลงได้อย่างน่าทึ่งใจ เพื่อตอบสนองต่อโรคหลอดเลือดสมองหรือความบาดเจ็บอื่น.

ประสาทสัมผัสและระบบรับความรู้สึกทางกาย · ระบบรับความรู้สึกทางกายและรายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อย · ดูเพิ่มเติม »

ระบบรู้กลิ่น

ระบบรู้กลิ่น หรือ ระบบรับกลิ่น (olfactory system) เป็นส่วนของระบบรับความรู้สึกที่ใช้เพื่อรับกลิ่น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมและสัตว์เลื้อยคลานโดยมากจะมีทั้งระบบรับกลิ่นหลัก (main olfactory system) และระบบรับกลิ่นเสริม (accessory olfactory system) ระบบหลักจะรับกลิ่นจากอากาศ ส่วนระบบเสริมจะรับกลิ่นที่เป็นน้ำ ประสาทสัมผัสเกี่ยวกับกลิ่นและรสชาติ บ่อยครั้งเรียกรวมกันว่าระบบรับรู้สารเคมี (chemosensory system) เพราะทั้งสองให้ข้อมูลแก่สมองเกี่ยวกับองค์ประกอบทางเคมีของสิ่งเร้าผ่านกระบวนการที่เรียกว่า การถ่ายโอนความรู้สึก (transduction) กลิ่นช่วยให้ข้อมูลเกี่ยวกับอาหารและแหล่งอาหาร เกี่ยวกับความสุขหรืออันตรายที่อาจได้จากอาหาร เกี่ยวกับอันตรายที่สารอื่น ๆ ในสิ่งแวดล้อมอาจมี ให้ข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง ผู้อื่น และสัตว์ชนิดอื่น ๆ กลิ่นมีผลทางสรีรภาพโดยเริ่มกระบวนการย่อยอาหารและการใช้พลังงาน มีบทบาทในการสืบพันธุ์ การป้องกันตัว และพฤติกรรมเกี่ยวกับอาหาร ในสัตว์บางชนิด มีบทบาทสำคัญทางสังคมเพราะตรวจจับฟีโรโมนซึ่งมีผลทางสรีรภาพและพฤติกรรม ในทางวิวัฒนาการแล้ว ระบบรับกลิ่นเป็นประสาทสัมผัสที่เก่าแก่ที่สุด แม้จะเป็นระบบที่เข้าใจน้อยที่สุดในบรรดาประสาทสัมผัสทั้งหมด ระบบรับกลิ่นจะอาศัยหน่วยรับกลิ่น (olfactory receptor) ซึ่งเป็นโปรตีนหน่วยรับความรู้สึกแบบ G protein coupled receptor (GPCR) และอาศัยกระบวนการส่งสัญญาณทางเคมีที่เกิดตามลำดับภายในเซลล์ซึ่งเรียกว่า second messenger system เพื่อถ่ายโอนข้อมูลกลิ่นเป็นกระแสประสาท หน่วยรับกลิ่นจะแสดงออกอยู่ที่เซลล์ประสาทรับกลิ่นในเยื่อรับกลิ่นในโพรงจมูก เมื่อหน่วยรับกลิ่นต่าง ๆ ทำงานในระดับที่สมควร เซลล์ประสาทก็จะสร้างศักยะงานส่งไปยังส่วนต่าง ๆ ของระบบประสาทกลางเริ่มตั้งแต่ป่องรับกลิ่น ซึ่งก็จะมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมเป็นต้นของสัตว์ นักเคมีเกี่ยวกับกลิ่นก็ประเมินว่า มนุษย์อาจสามารถแยกแยะกลิ่นระเหยได้ถึง 10,000 รูปแบบ โดยที่ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับของหอมอาจแยกแยะกลิ่นได้ถึง 5,000 ชนิด และผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับไวน์อาจแยกแยะส่วนผสมได้ถึง 100 อย่าง โดยสามารถรู้กลิ่นต่าง ๆ ในระดับความเข้มข้นต่าง ๆ กัน เช่น สามารถรู้สารกลิ่นหลักของพริกชี้ฟ้า คือ 2-isobutyl-3-methoxypyrazine ในอากาศที่มีความเข้มข้น 0.01 นาโนโมล ซึ่งประมาณเท่ากับ 1 โมเลกุลต่อ 1,000 ล้านโมเลกุลของอากาศ สามารถรู้กลิ่นเอทานอลที่ความเข้มข้น 2 มิลลิโมล และสามารถรู้กลิ่นโครงสร้างทางเคมีที่ต่างกันเล็กน้อยในระดับโมเลกุล เช่น กลิ่นของ D-carvone จะต่างจากของ L-carvone โดยมีกลิ่นเหมือนกับเทียนตากบและมินต์ตามลำดับ ถึงกระนั้น การได้กลิ่นก็พิจารณาว่าเป็นประสาทสัมผัสที่แย่ที่สุดอย่างหนึ่งในมนุษย์ โดยมีสัตว์อื่น ๆ ที่รู้กลิ่นได้ดีกว่า เช่น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเกินกว่าครึ่ง ซึ่งอาจเป็นเพราะมนุษย์มีประเภทหน่วยรับกลิ่นที่น้อยกว่า และมีเขตในสมองส่วนหน้าที่อุทิศให้กับการแปลผลข้อมูลกลิ่นที่เล็กกว่าโดยเปรียบเที.

ประสาทสัมผัสและระบบรู้กลิ่น · ระบบรู้กลิ่นและรายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อย · ดูเพิ่มเติม »

ลิ้น

ลิ้น เป็นมัดของกล้ามเนื้อโครงร่างขนาดใหญ่ที่อยู่บริเวณฐานของช่องปากเพื่อรองรับอาหาร และช่วยในการเคี้ยวและการกลืน เป็นอวัยวะที่สำคัญในการรับรส บริเวณพื้นผิวของลิ้นปกคลุมไปด้วยปุ่มรับรส (taste bud) ลิ้นสามารถเคลื่อนไหวได้หลายทิศทาง จึงช่วยในการออกเสียง ลิ้นเป็นอวัยวะที่มีน้ำลายให้ความชุ่มชื้นอยู่เสมอ และเลี้ยงโดยเส้นประสาทและหลอดเลือดเป็นจำนวนมากเพื่อช่วยในการทำงานและการเคลื่อนไหว.

ประสาทสัมผัสและลิ้น · รายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อยและลิ้น · ดูเพิ่มเติม »

สมอง

มอง thumb สมอง คืออวัยวะสำคัญในสัตว์หลายชนิดตามลักษณะทางกายวิภาค หรือที่เรียกว่า encephalon จัดว่าเป็นส่วนกลางของระบบประสาท คำว่า สมอง นั้นส่วนใหญ่จะเรียกระบบประสาทบริเวณหัวของสัตว์มีกระดูกสันหลัง คำนี้บางทีก็ใช้เรียกอวัยวะในระบบประสาทบริเวณหัวของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังอีกด้วย สมองมีหน้าที่ควบคุมและสั่งการการเคลื่อนไหว, พฤติกรรม และภาวะธำรงดุล (homeostasis) เช่น การเต้นของหัวใจ, ความดันโลหิต, สมดุลของเหลวในร่างกาย และอุณหภูมิ เป็นต้น หน้าที่ของสมองยังมีเกี่ยวข้องกับการรู้ (cognition) อารมณ์ ความจำ การเรียนรู้การเคลื่อนไหว (motor learning) และความสามารถอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ สมองประกอบด้วยเซลล์สองชนิด คือ เซลล์ประสาท และเซลล์เกลีย เกลียมีหน้าที่ในการดูแลและปกป้องนิวรอน นิวรอนหรือเซลล์ประสาทเป็นเซลล์หลักที่ทำหน้าที่ส่งข้อมูลในรูปแบบของสัญญาณไฟฟ้าที่เรียกว่า ศักยะงาน (action potential) การติดต่อระหว่างนิวรอนนั้นเกิดขึ้นได้โดยการหลั่งของสารเคมีชนิดต่าง ๆ ที่รวมเรียกว่า สารสื่อประสาท (neurotransmitter) ข้ามบริเวณระหว่างนิวรอนสองตัวที่เรียกว่า ไซแนปส์ สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เช่น แมลงต่าง ๆ ก็มีนิวรอนอยู่นับล้านในสมอง สัตว์มีกระดูกสันหลังขนาดใหญ่มักจะมีนิวรอนมากกว่าหนึ่งร้อยล้านตัวในสมอง สมองของมนุษย์นั้นมีความพิเศษกว่าสัตว์ตรงที่ว่ามีความซับซ้อนและใหญ่กว่าเมื่อเทียบกับขนาดตัวของมนุษ.

ประสาทสัมผัสและสมอง · รายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อยและสมอง · ดูเพิ่มเติม »

สรีรวิทยา

"เดอะ วิทรูเวียน แมน" (The Vitruvian Man) โดยเลโอนาร์โด ดา วินชี ประมาณปี 1487 เป็นตัวอย่างที่ดีเกี่ยวกับความรู้ด้านสรีรวิทยา สรีรวิทยา (physiology) เป็นสาขาวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับการทำงานของระบบต่างๆในสิ่งมีชีวิต ทั้งในด้านกลศาสตร์ ด้านกายภาพ และด้านชีวเคมี สรีรวิทยาแบ่งออกเป็นสรีรวิทยาของพืชและสรีรวิทยาของสัตว์ แต่สรีรวิทยาทุกสาขามีหลักการร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาสิ่งมีชีวิตชนิดใด เช่น การศึกษาสรีรวิทยาของเซลล์ยีสต์ สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการศึกษาเซลล์ของมนุษย์ได้ สาขาสรีรวิทยาของสัตว์นั้นหมายรวมถึงเครื่องมือและวิธีการศึกษาสรีรวิทยาของมนุษย์ซึ่งนำมาใช้ศึกษาในสัตว์ด้วย สาขาสรีรวิทยาของพืชก็สามารถใช้วิธีการศึกษาเช่นเดียวกับสัตว์และมนุษย์ด้วยเช่นกัน สาขาวิชาอื่นๆที่ถือกำเนิดจากการศึกษาวิจัยทางสรีรวิทยา ได้แก่ ชีวเคมี ชีวฟิสิกส์ ชีวกลศาสตร์ และเภสัชวิท.

ประสาทสัมผัสและสรีรวิทยา · รายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อยและสรีรวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์ปีก

ัตว์ปีก หรือ นก (รวมถึง ไก่, เป็ด, ห่าน, ไก่ฟ้า) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้น Aves (คำว่า Aves เป็นภาษาละติน หมายถึง นก) โดยมีลักษณะทั่วไปคือ เป็นสัตว์ทวิบาท เลือดอุ่น ออกลูกเป็นไข่ รยางค์คู่หน้าเปลี่ยนแปลงไปเป็นปีก มีขนนก และมีกระดูกที่กลวงเบา ในปัจจุบันทั่วโลกมีนกอยู่ประมาณ 8,800 ถึง 9,800 ชนิด (ตามการจัดอนุกรมวิธานที่ต่างกัน) ซึ่งนับว่านกเป็นชั้นของสัตว์มีกระดูกสันหลังที่มีความหลากหลายมากที่สุด ในบรรดาชั้นของสัตว์มีกระดูกสันหลังทั้งหลายที่อาศัยอยู่บนพื้นดิน ความหลากหลายของนกนับเนื่องไปตั้งแต่ในเรื่องของขนาดตัว สีสัน เสียงร้อง อาหารการกิน และถิ่นที่อยู่อาศัย นกเป็นสัตว์ที่มีความสำคัญเป็นอันมากทั้งต่อระบบนิเวศและต่อชีวิตมนุษย์ ความสัมพันธ์ระหว่างคนกับนกเป็นไปอย่างแน่นแฟ้น และการเกื้อกูลกันระหว่างนกกับสรรพสิ่งต่างๆ ตามธรรมชาติก็เป็นไปอย่างแนบแน่น ถ้าหากปราศจากนก คงเป็นเรื่องยากที่จะจินตนาการถึงการดำรงอยู่ต่อไปของชีวภาคใบนี้.

ประสาทสัมผัสและสัตว์ปีก · รายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อยและสัตว์ปีก · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์เลื้อยคลาน

ัตว์เลื้อยคลาน (reptile) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง โดยคำว่า Reptilia มาจากคำว่า Repera ที่มีความหมายว่า "คลาน" เป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังที่จัดเป็นสัตว์ในกลุ่มแรก ๆ ของโลกที่มีการดำรงชีวิตบนบกอย่างแท้จริง สัตว์เลื้อยคลานในยุคดึกดำบรรพ์ที่รอดชีวิตจากการสูญพันธุ์และยังดำรงชีวิตในปัจจุบัน มีจำนวนมากถึง 7,000 ชนิดชนิดของสัตว์เลื้อยคลาน, สัตววิทยา, บพิธ-นันทพร จารุพันธุ์, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2547, หน้า 364 กระจายอยู่ทั่วโลกทั้งชนิดอาศัยในแหล่งน้ำและบนบก จัดเป็นกลุ่มของสัตว์ที่ประสบความสำเร็จในการปรับเปลี่ยนสภาพร่างกายในการเอาตัวรอดจากเหตุการณ์หินอุกกาบาตพุ่งชนโลกมามากกว่า 100 ล้านปีมาแล้ว ในยุคจูแรสซิกที่อยู่ในมหายุคมีโซโซอิก ซึ่งมีอายุของยุคที่ยาวนานถึง 100 ล้านปี จัดเป็นยุคที่สัตว์เลื้อยคลานมีวิวัฒนาการจนถึงขีดสุด มีสัตว์เลื้อยคลานมากมายหลากหลายขนาด ตั้งแต่กิ้งก่าตัวเล็ก ๆ จนถึงไทรันโนซอรัส เร็กซ์ซึ่งเป็นไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดใหญ่ ที่มีจำนวนมากมายครอบครองพื้นที่ทั่วทุกแห่งในโลก ยุคจูแรสซิกจึงถือเป็นยุคของสัตว์เลื้อยคลานอย่างแท้จริง ต่อมาภายหลังเกิดเหตุการณ์อุกกาบาตพุ่งชนโลก ทำให้กลุ่มสัตว์บกที่อาศัยในยุคจูแรสซิก เกิดล้มตายและสูญพันธุ์อย่างกะทันหันโดยไม่ทราบสาเหตุของการสูญพันธุ์ที่ชัดเจนและแน่นอน.

ประสาทสัมผัสและสัตว์เลื้อยคลาน · รายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อยและสัตว์เลื้อยคลาน · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม

ัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม (Mammalia) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง โดยคำว่า Mammalia มาจากคำว่า Mamma ที่มีความหมายว่า "หน้าอก" เป็นกลุ่มของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ที่มีการวิวัฒนาการและพัฒนาร่างกายที่ดีหลากหลายประการ รวมทั้งมีระบบประสาทที่เจริญก้าวหน้า สามารถดำรงชีวิตได้ในทุกสภาพสิ่งแวดล้อมสัตววิทยา (สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม), บพิธ-นันทพร จารุพันธุ์, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2547, หน้า 411 มีขนาดของร่างกายและรูปพรรณสัณฐานที่แตกต่างกันออกไป รวมถึงการทำงานของระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย ที่มีการปรับเปลี่ยนไปตามลักษณะของสายพันธุ์ มีลักษณะเด่นคือมีต่อมน้ำนมที่มีเฉพาะในเพศเมียเท่านั้น เพื่อผลิตน้ำนมเพื่อใช้เลี้ยงลูกวัยแรกเกิด เป็นสัตว์เลือดอุ่น มีขนเป็นเส้น ๆ (hair) หรือขนอ่อน (fur) ปกคลุมทั่วทั้งร่างกาย เพื่อเป็นการรักษาอุณหภูมิในร่างกาย ยกเว้นสัตว์น้ำที่ไม่มีขน สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ไม่จัดอยู่ในประเภทสัตว์กลุ่มใหญ่ คือมีจำนวนประชากรประมาณ 4,500 ชนิด ซึ่งถือว่าเป็นปริมาณน้อยมากเมื่อเทียบกับนก ที่มีประมาณ 9,200 ชนิด และปลาอีกประมาณ 20,000 ชนิด รวมทั้งแมลงอีกประมาณ 800,000 ชนิด ส่วนใหญ่เป็นสัตว์บก เช่น สุนัข ช้าง ลิง เสือ สิงโต จิงโจ้ เม่น หนู ฯลฯ สำหรับสัตว์น้ำที่จัดเป็นเลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ได้แก่ โลมา วาฬ มานาทีและพะยูน แต่สำหรับสัตว์ปีกประเภทเดียวที่เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมคือค้างคาว ซึ่งกระรอกบินและบ่างนั้น ไม่จัดอยู่ในประเภทของสัตว์ปีก เนื่องจากใช้ปีกในการร่อนไปได้เพียงแค่ระยะหนึ่งเท่านั้น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมส่วนใหญ่ออกลูกเป็นตัว ยกเว้นตุ่นปากเป็ดและอีคิดนาเท่านั้นที่ออกลูกเป็น.

ประสาทสัมผัสและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม · รายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อยและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม · ดูเพิ่มเติม »

สิ่งมีชีวิต

งมีชีวิต จะมีคุณลักษณะ (properties) ที่ไม่พบในสิ่งไม่มีชีวิต อันได้แก่ความสามารถในการใช้สสารและพลังงานเป็นสำคัญ ซึ่งได้รับถ่ายทอดจากบรรพบุรุษของสิ่งมีชีวิตแรกเริ่ม อย่างไรก็ตามสิ่งมีชีวิตเริ่มแรกหรือบรรพบุรุษของสิ่งมีชีวิตซึ่งถือกำเนิดมาบนโลกกว่า 4 พันล้านปี เมื่อผ่านการวิวัฒนาการและการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมในแต่ละช่วงเวลา ก่อให้เกิดความหลากหลายทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิตเป็นจำนวนมากดังที่ปรากฏในปัจจุบัน.

ประสาทสัมผัสและสิ่งมีชีวิต · รายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อยและสิ่งมีชีวิต · ดูเพิ่มเติม »

สปีชีส์

ในวิชาชีววิทยา ชนิด หรือทับศัพท์ว่า สปีชีส์ (species, ย่อ: sp., รูปพหูพจน์ย่อ: spp.) เป็นหน่วยการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานและอันดับอนุกรมวิธานหนึ่ง มักนิยามว่า สปีชีส์เป็นกลุ่มอินทรีย์ใหญ่สุดที่สามารถสืบพันธุ์แล้วออกลูกที่สืบพันธุ์ได้ การมีลักษณะปรับตัวเฉพาะบางท้องถิ่นอาจแบ่งสปีชีส์ต่ออีกได้เป็น "ชื่อต่ำกว่าระดับชนิด" (infraspecific taxa) เช่น ชนิดย่อย (ในทางพฤกษศาสตร์ มีใช้คำอื่น เช่น พันธุ์ (variety) พันธุ์ย่อยและแบบ (forma)).

ประสาทสัมผัสและสปีชีส์ · รายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อยและสปีชีส์ · ดูเพิ่มเติม »

ออกซิเจน

ออกซิเจน (Oxygen) เป็นธาตุในตารางธาตุที่มีสัญลักษณ์ O และเลขอะตอม 8 ธาตุนี้พบมาก ทั้งบนโลกและทั่วทั้งจักรวาล โมเลกุลออกซิเจน (O2 หรือที่มักเรียกว่า free oxygen) บนโลกมีความไม่เสถียรทางเทอร์โมไดนามิกส์จึงเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันกับธาตุอื่น ๆ ได้ง่าย ออกซิเจนเกิดขึ้นครั้งแรกในโลกจากการสังเคราะห์ด้วยแสงของแบคทีเรียและพื.

ประสาทสัมผัสและออกซิเจน · รายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อยและออกซิเจน · ดูเพิ่มเติม »

อาเจียน

อาเจียน เป็นอาการขับออกซึ่งสิ่งต่างๆ ที่อยู่ในท้องอย่างเฉียบพลันออกทางปาก และบางครั้งทางจมูกด้วย การอาเจียนที่ไม่พึงประสงค์เกิดมาจากหลายสาเหตุตั้งแต่เยื่อบุกระเพาะอักเสบ หรือ ได้รับสารพิษ จนไปถึงเนื้องอกในสมอง เมารถเมาเรือ หรือแม้กระทั่งมาจากความดันในกะโหลกสูง อาการที่อยากจะอาเจียนเรียกว่าอาการคลื่นไส้ อาการนี้มักจะเกิดก่อนการอาเจียน แต่ไม่ได้แปลว่ามีอาการนี้แล้วจะต้องอาเจียนเสมอไป ยาแก้อาเจียนอาจจะต้องใช้ระงับการอาเจียนในรายที่มีอาการหนักมาก.

ประสาทสัมผัสและอาเจียน · รายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อยและอาเจียน · ดูเพิ่มเติม »

อุณหภูมิ

อุณหภูมิของก๊าซอุดมคติอะตอมเดี่ยวสัมพันธ์กับค่าเฉลี่ยพลังงานจลน์ของอะตอม อุณหภูมิ คือการวัดค่าเฉลี่ยของพลังงานจลน์ของอนุภาคในสสารใดๆ ซึ่งสอดคล้องกับความร้อนหรือเย็นของสสารนั้น ในอดีตมีแนวคิดเกี่ยวกับอุณหภูมิเกิดขึ้นเป็น 2 แนวทาง คือตามแนวทางของหลักอุณหพลศาสตร์ และตามการอธิบายเชิงจุลภาคทางฟิสิกส์เชิงสถิติ แนวคิดทางอุณหพลศาสตร์นั้น ถูกพัฒนาขึ้นโดยลอร์ดเคลวิน โดยเกี่ยวข้องกับการวัดในเชิงมหภาค ดังนั้นคำจำกัดความอุณหภูมิในเชิงอุณหพลศาสตร์ในเบื้องแรก จึงระบุเกี่ยวกับค่าตัวแปรต่างๆ ที่สามารถตรวจวัดได้จากการสังเกต ส่วนแนวทางของฟิสิกส์เชิงสถิติจะให้ความเข้าใจในเชิงลึกยิ่งกว่าอุณหพลศาสตร์ โดยอธิบายถึงการสะสมจำนวนอนุภาคขนาดใหญ่ และตีความพารามิเตอร์ต่างๆ ในอุณหพลศาสตร์ (เชิงมหภาค) ในฐานะค่าเฉลี่ยทางสถิติของพารามิเตอร์ของอนุภาคในเชิงจุลภาค ในการศึกษาฟิสิกส์เชิงสถิติ สามารถตีความคำนิยามอุณหภูมิในอุณหพลศาสตร์ว่า เป็นการวัดพลังงานเฉลี่ยของอนุภาคในแต่ละองศาอิสระในระบบอุณหพลศาสตร์ โดยที่อุณหภูมินั้นสามารถมองเป็นคุณสมบัติเชิงสถิติ ดังนั้นระบบจึงต้องประกอบด้วยปริมาณอนุภาคจำนวนมากเพื่อจะสามารถบ่งบอกค่าอุณหภูมิอันมีความหมายที่นำไปใช้ประโยชน์ได้ ในของแข็ง พลังงานนี้พบในการสั่นไหวของอะตอมของสสารในสภาวะสมดุล ในแก๊สอุดมคติ พลังงานนี้พบในการเคลื่อนไหวไปมาของอนุภาคโมเลกุลของแก.

ประสาทสัมผัสและอุณหภูมิ · รายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อยและอุณหภูมิ · ดูเพิ่มเติม »

ผิวหนัง

ผิวหนัง คือ สิ่งปกคลุมชั้นนอกที่อ่อนของสัตว์มีกระดูกสันหลัง สิ่งปกคลุมสัตว์อื่น เช่น โครงร่างแข็งภายนอกของสัตว์ขาปล้องมีจุดกำเนิดการเจริญ โครงสร้างและองค์ประกอบทางเคมีต่างออกไป ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ผิวหนังเป็นอวัยวะใหญ่สุดของระบบผิวหนัง ซึ่งประกอบขึ้นจากเนื้อเยื่อเอ็กโทเดิร์มหลายชั้น และป้องกันกล้ามเนื้อ กระดูก เอ็นและอวัยวะภายในที่อยู่ข้างใต้ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิดมีขนที่ผิวหนังด้วย ผิวหนังเป็นส่วนที่เปิดออกสู่สิ่งแวดล้อมและเป็นด่านป้องกันด่านแรกจากปัจจัยภายนอก ตัวอย่างเช่น ผิวหนังมีบทบาทสำคัญในการปกป้องร่างกายจากจุลชีพก่อโรคProksch E, Brandner JM, Jensen JM.

ประสาทสัมผัสและผิวหนัง · ผิวหนังและรายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อย · ดูเพิ่มเติม »

ทางเดินอาหาร

PAGENAME ทางเดินอาหาร (gut, alimentary canal หรือ alimentary tract) ในทางสัตววิทยา เป็นท่อซึ่งสัตว์ที่มีสมมาตรด้านข้าง (bilateria) ส่งอาหารไปยังอวัยวะที่ทำหน้าที่ย่อยอาหาร ทางเดินอาหารในสัตว์ที่มีสมมาตรด้านข้างขนาดใหญ่มักมีทางออกด้วย คือ ทวารหนัก ซึ่งเป็นช่องทางที่สัตว์ถ่ายของเสียออกมาเป็นของแข็ง ส่วนสัตว์ที่มีสมมาตรด้านข้างขนาดเล็กมักไม่มีทวารหนักและขับของเสียออกด้วยวิธีการอื่น เช่น ทางปาก สัตว์ที่มีทางเดินอาหารถูกจัดเข้าเป็นพวกโปรโตสโตม (protostome) หรือดิวเทอโรสโตม (deuterostome) เพราะทางเดินอาหารวิวัฒนาการสองครั้ง เป็นตัวอย่างหนึ่งของวิวัฒนาการเบนเข้า (convergent evolution) การจำแนกดังกล่าวดูจากพัฒนาการของเอ็มบริโอ สัตว์พวกโปรโตสโตมจะวิวัฒนาปากก่อน ขณะที่ดิวเทอโรสโตมจะวิวัฒนาปากเป็นลำดับที่สอง โปรโตสโตม ได้แก่ พวกสัตว์ขาปล้อง (arthropod) สัตว์ในไฟลัมมอลลัสกา (mollusca) และแอนเนลิดา (annelida) ขณะที่พวกดิวเทอโรสโตม ได้แก่ สัตว์ในไฟลัมเอไคโนดอร์มาทา (echinodermata) และคอร์ดาตา (chordata).

ทางเดินอาหารและประสาทสัมผัส · ทางเดินอาหารและรายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อย · ดูเพิ่มเติม »

ความยาวคลื่น

ซน์ ความยาวคลื่นมีค่าเท่ากับระยะห่างระหว่างยอดคลื่น ความยาวคลื่น คือระยะทางระหว่างส่วนที่ซ้ำกันของคลื่น สัญลักษณ์แทนความยาวคลื่นที่ใช้กันทั่วไปคือ อักษรกรีก แลมบ์ดา (λ).

ความยาวคลื่นและประสาทสัมผัส · ความยาวคลื่นและรายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อย · ดูเพิ่มเติม »

ความโน้มถ่วง

หมุนรอบดวงอาทิตย์ ไม่หลุดออกจากวงโคจร (ภาพไม่เป็นไปตามอัตราส่วน) ความโน้มถ่วง (gravity) เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติซึ่งทำให้วัตถุกายภาพทั้งหมดดึงดูดเข้าหากัน ความโน้มถ่วงทำให้วัตถุกายภาพมีน้ำหนักและทำให้วัตถุตกสู่พื้นเมื่อปล่อย แรงโน้มถ่วงเป็นหนึ่งในสี่แรงหลัก ซึ่งประกอบด้วย แรงโน้มถ่วง แรงแม่เหล็กไฟฟ้า แรงนิวเคลียร์แบบอ่อน และ แรงนิวเคลียร์แบบเข้ม ในจำนวนแรงทั้งสี่แรงหลัก แรงโน้มถ่วงมีค่าน้อยที่สุด ถึงแม้ว่าแรงโน้มถ่วงจะเป็นแรงที่เราไม่สามารถรับรู้ได้มากนักเพราะความเบาบางของแรงที่กระทำต่อเรา แต่ก็เป็นแรงเดียวที่ยึดเหนี่ยวเราไว้กับพื้นโลก แรงโน้มถ่วงมีความแรงแปรผันตรงกับมวล และแปรผกผันกับระยะทางยกกำลังสอง ไม่มีการลดทอนหรือถูกดูดซับเนื่องจากมวลใดๆ ทำให้แรงโน้มถ่วงเป็นแรงที่สำคัญมากในการยึดเหนี่ยวเอกภพไว้ด้วยกัน นอกเหนือจากความโน้มถ่วงที่เกิดระหว่างมวลแล้ว ความโน้มถ่วงยังสามารถเกิดขึ้นได้จากการที่เราเปลี่ยนสภาพการเคลื่อนที่ตามกฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน เช่น การเพิ่มหรือลดความเร็วของวัตถุ การเปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนที่ เป็นต้น.

ความโน้มถ่วงและประสาทสัมผัส · ความโน้มถ่วงและรายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อย · ดูเพิ่มเติม »

คอ

อ เป็นส่วนหนึ่งของร่างกายในสัตว์มีกระดูกสันหลังที่มีรยางค์หลายชนิด เป็นโครงสร้างที่แยกศีรษะออกจากลำตัว.

คอและประสาทสัมผัส · คอและรายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อย · ดูเพิ่มเติม »

คาร์บอนไดออกไซด์

ร์บอนไดออกไซด์ (carbon dioxide) หรือ CO2 เป็นก๊าซไม่มีสี ซึ่งหากหายใจเอาก๊าซนี้เข้าไปในปริมาณมากๆ จะรู้สึกเปรี้ยวที่ปาก เกิดการระคายเคืองที่จมูกและคอ และหาจยใจไม่ออกเนื่องจากอาจเกิดการละลายของแก๊สนี้ในเมือกในอวัยวะ ก่อให้เกิดกรดคาร์บอนิกอย่างอ่อน คาร์บอนไดออกไซด์มีความหนาแน่น 1.98 kg/m3 ซึ่งเป็นประมาณ 1.5 เท่าของอากาศ โมเลกุลประกอบด้วยพันธะคู่ 2 พันธะ (O.

คาร์บอนไดออกไซด์และประสาทสัมผัส · คาร์บอนไดออกไซด์และรายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อย · ดูเพิ่มเติม »

ค้างคาว

้างคาว จัดอยู่ในชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มีลำตัวขนาดเล็กมีปีกบินได้ ค้างคาวเป็นอันดับใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม โดยมีค้างคาวกว่า 1,100 สปีชีส์ หมายความว่า กว่า 20% ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเป็นค้างคาว.

ค้างคาวและประสาทสัมผัส · ค้างคาวและรายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อย · ดูเพิ่มเติม »

ตัวรับความรู้สึก

ในระบบรับความรู้สึก (sensory system) ตัวรับความรู้สึก หรือ รีเซ็ปเตอร์รับความรู้สึก หรือ ปลายประสาทรับความรู้สึก (sensory receptor) เป็นส่วนปลายของเส้นประสาทรับความรู้สึก (sensory nerve) ที่ตอบสนองต่อตัวกระตุ้นในสิ่งแวดล้อมทั้งภายในภายนอกของสิ่งมีชีวิต และเมื่อตอบสนองต่อตัวกระตุ้น ตัวรับความรู้สึกก็จะทำการถ่ายโอนความรู้สึกที่รับรู้ โดยการสร้าง graded potential หรือศักยะงาน (action potential) ในเซลล์เดียวกันหรือเซลล์ที่อยู่ใกล้ๆ กัน '''โครงสร้างของระบบรับความรู้สึกในมนุษย์''' (ส่วนบนแสดงตัวรับความรู้สึกประเภทต่างๆ, ส่วนกลางแสดงปมประสาทเกี่ยวข้องกับระบบรับความรู้สึกที่สื่อสัญญาณไปยังระบบประสาทกลาง, และส่วนล่างแสดงระบบประสาทกลาง).

ตัวรับความรู้สึกและประสาทสัมผัส · ตัวรับความรู้สึกและรายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อย · ดูเพิ่มเติม »

ตาบอด

ตาบอด เป็นความพิการในลักษณะหนึ่งของร่างกาย ผู้ที่ตาบอดจะไม่สามารถมองเห็นภาพได้หรือมองเห็นได้เพียงบางส่วน ในอเมริกาเหนือและยุโรป จะถือว่า ผู้ที่ ตาบอดทางกฎหมาย หมายถึงผู้ที่มีวิสัยการมองเห็นภาพได้ไม่เกิน 20 องศา (จากวิสัยของคนปกติประมาณ 180 องศา) หมวดหมู่:การมองเห็น หมวดหมู่:ตาบอด.

ตาบอดและประสาทสัมผัส · ตาบอดและรายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อย · ดูเพิ่มเติม »

ประชาน

ประชาน หรือ ปริชาน หรือ การรับรู้ (Cognition) เป็น "การกระทำหรือกระบวนการทางใจเพื่อให้ได้ความรู้ความเข้าใจผ่านความคิด ประสบการณ์ และประสาทสัมผัส" ซึ่งรวมกระบวนการต่าง ๆ รวมทั้ง.

ประชานและประสาทสัมผัส · ประชานและรายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศออสเตรีย

ออสเตรีย (Austria; Österreich เออสฺตะไรฌ) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐออสเตรีย (Republic of Austria; Republik Österreich) เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลในยุโรปกลาง มีอาณาเขตทางเหนือจรดประเทศเยอรมนีและเช็กเกีย ทางตะวันออกจรดสโลวาเกียและฮังการี ทางใต้จรดสโลวีเนียและอิตาลี และทางตะวันตกจรดสวิตเซอร์แลนด์และลิกเตนสไตน์ มีการปกครองแบบประชาธิปไตยแบบมีผู้แทนภายใต้หลักการของรั.

ประสาทสัมผัสและประเทศออสเตรีย · ประเทศออสเตรียและรายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อย · ดูเพิ่มเติม »

ปลาฉลาม

ปลาฉลาม (ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Selachimorpha) เป็นปลาในชั้นปลากระดูกอ่อนจำพวกหนึ่ง มีรูปร่างโดยรวมเพรียวยาว ส่วนใหญ่มีซี่กรองเหงือก 5 ซี่ ครีบทุกครีบแหลมคม ครีบหางเป็นแฉกเว้าลึก มีจุดเด่นคือ ส่วนหัวและจะงอยปากแหลมยาว ปากเว้าคล้ายพระจันทร์เสี้ยวภายในมีฟันแหลมคม ปลาฉลามทุกชนิดเป็นปลากินเนื้อ มักล่าสัตว์น้ำชนิดต่าง ๆ กินเป็นอาหาร แต่ก็มีฉลามบางจำพวกที่กินแพลงก์ตอนเป็นอาหาร เช่น ปลาฉลามในอันดับ Orectolobiformes ได้แก่ ปลาฉลามวาฬ, ปลาฉลามในอันดับ Lamniformes เช่น ปลาฉลามเมกาเมาท์ (Megachasma pelagios) และปลาฉลามอาบแดด (Cetorhinus maximus) แต่ปลาฉลามบางสกุลในอันดับ Lamniformes เช่น ปลาฉลามมาโก (Isurus spp.) และปลาฉลามในอันดับ Carcharhiniformes มีรูปร่างเพรียวยาว ว่ายน้ำได้ปราดเปรียว โดยอาจทำความเร็วได้ถึง 35 กิโลเมตร/ชั่วโมง เช่น ซึ่งฉลามในอันดับนี้ หลายชนิดเป็นปลาที่ดุร้าย อาจทำร้ายมนุษย์หรือกินสิ่งต่าง ๆ ถึงแม้จะไม่ใช่อาหารได้ด้วย ฉลามในอันดับนี้ได้แก่ ปลาฉลามขาว (Carcharodon carcharias), ปลาฉลามเสือ (Galeocerdo cuvier), ปลาฉลามหัวบาตร (Carcharhinus leucas) เป็นต้น นอกจากนี้แล้ว ยังมีปลาฉลามที่มีรูปร่างประหลาดและพฤติกรรมที่แตกต่างไปจากปลาฉลามส่วนใหญ่ อาทิ ปลาฉลามเสือดาว (Stegostoma fasciatum), ปลาฉลามกบ (Chiloscyllium spp.) ที่อยู่ในอันดับ Orectolobiformes ซึ่งเป็นปลาฉลามที่ไม่ดุร้าย มักหากินและอาศัยอยู่ตามพื้นทะเล มีครีบหางโดยเฉพาะครีบหางตอนบนแหลมยาวและมีขนาดใหญ่ และมักมีสีพื้นลำตัวเป็นลวดลายหรือจุดต่าง ๆ เพื่อพรางตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม หรือ ปลาฉลามโบราณ (Chlamydoselachus anguineus) ที่อยู่ในอันดับ Hexanchiformes ที่มีรูปร่างยาวคล้ายปลาไหล เป็นปลาน้ำลึกที่หาได้ยากมาก ๆ และเดิมเคยเชื่อว่าสูญพันธุ์ไปแล้ว ปลาฉลามโดยมากเป็นปลาที่ออกลูกเป็นตัว ในตัวผู้จะมีอวัยวะเพศเป็นติ่งยื่นยาวออกมาหนึ่งคู่เห็นได้ชัด ซึ่งเรียกว่า "เดือย" หรือ "Clasper" ในภาษาอังกฤษ แต่ก็มีเพียงบางชนิดเท่านั้นที่ออกลูกเป็นไข่ โดยมากแล้วเป็นปลาทะเล อาศัยอยู่ในทะเลทั้งเขตอบอุ่นและขั้วโลก มีเพียงบางสกุลและบางชนิดเท่านั้น ที่อาศัยอยู่ในน้ำจืดหรือน้ำกร่อยได้ อาทิ ปลาฉลามแม่น้ำ (Glyphis spp.) ที่เป็นปลาฉลามน้ำจืดแท้ โดยมีวงจรชีวิตอยู่ในน้ำจืดตลอดทั้งชีวิต และปลาฉลามหัวบาตร หรือ ปลาฉลามครีบดำ (Carcharhinus melanopterus) ที่มักหากินตามชายฝั่งและปากแม่น้ำ ซึ่งอาจปรับตัวให้อยู่ในน้ำจืดสนิทได้.

ประสาทสัมผัสและปลาฉลาม · ปลาฉลามและรายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อย · ดูเพิ่มเติม »

แมว

แมว เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม อยู่ในตระกูล Felidae ต้นตระกูลมาจากเสือไซบีเรีย (Felis tigris altaica) ซึ่งมีช่วงลำตัวตั้งแต่จมูกถึงปลายหางยาวประมาณ 4 เมตร แมวที่เลี้ยงตามบ้าน จะมีรูปร่างขนาดเล็ก ขนาดลำตัวยาว ช่วงขาสั้นและจัดอยู่ในกลุ่มของประเภทสัตว์กินเนื้อ มีเขี้ยวและเล็บแหลมคมสามารถหดซ่อนเล็บได้เช่นเดียวกับเสือ สืบสายเลือดมาจากแมวป่าที่มีขนาดใหญ่กว่า ซึ่งลักษณะบางอย่างของแมวยังคงพบเห็นได้ในแมวบ้านปัจจุบัน แมวเริ่มเข้ามาเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของมนุษย์ตั้งแต่เมื่อประมาณ 9,500 ปีก่อน ซึ่งจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุดของแมวคือการทำมัมมี่แมวที่พบในสมัยอียิปต์โบราณ หรือในพิพิธภัณฑ์อังกฤษในลอนดอน มีการแสดงสมบัติที่นำออกมาจากพีระมิดโบราณแห่งอียิปต์ ซึ่งรวมถึงมัมมี่แมวหลายตัว ซึ่งเมื่อนำเอาผ้าพันมัมมี่ออกก็พบว่า แมวในสมัยโบราณทุกตัวมีลักษณะใกล้เคียงกัน คือเป็นแมวที่มีรูปร่างเล็ก ขนสั้นมีแต้มสีน้ำตาล มีความคล้ายคลึงกับพันธุ์ในปัจจุบัน ที่เรียกว่าแมวอะบิสซิเนี.

ประสาทสัมผัสและแมว · รายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อยและแมว · ดูเพิ่มเติม »

แมงมุม

แมงมุม จัดเป็นสิ่งมีชีวิตพวกสัตว์ขาปล้อง หรืออาร์โธพอด เช่นเดียวกับแมลง, กิ้งกือ, ปู เป็นต้น จัดอยู่ในอันดับ Araneae (/อา-รัค-เน/) มีรูปทรง ลักษณะ และขนาดแตกต่างหลากหลายกันออกไป บางชนิดมีลำตัวที่กว้างมาก บางชนิดมีรูปร่างที่เพรียวยาว ขณะที่บางชนิดกลับมีรูปร่างที่คล้ายกับสัตว์หรือสิ่งมีชีวิตประเภทอื่น เช่น มด หรือปู เพื่อใช้ในการพรางตัว โดยแมงมุมนั้นถูกค้นพบแล้วกว่า 40,000 ชนิด และก็ยังมีชนิดใหม่ ๆ ถูกค้นพบเพิ่มขึ้นทุกปี ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ประเมินว่าจำนวนที่ถูกค้นพบนี้เป็นเพียงแค่ครึ่งเดียวของทั้งหมดที่มีเท่านั้น โดยแมงมุมขนาดเล็กที่สุด พบที่โคลัมเบีย ในทวีปอเมริกาใต้ มีความยาวเพียง 0.4 มิลลิเมตรเท่านั้น และที่ชนิดที่ใหญ่ที่สุดในโลก คือ แมงมุมกินนกโกไลแอท มีความยาวลำตัว 12–13 เซนติเมตร หรือขนาด 25–33 เซนติเมตรเลยทีเดียว แมงมุมพบได้ในแทบทุกภูมิภาคของโลก ไม่เว้นแม้กระทั่งในทะเลทรายที่แห้งแล้งและร้อนอบอ้าว หรือในถ้ำลึก หรือภูเขาสูง หรือในน้ำ แต่ทั้งหมดเป็นสัตว์กินเนื้อ แมงมุมกินอาหารจำพวก เพลี้ยอ่อน, ตัวหนอน, ผีเสื้อ, แมลงวัน, ยุง, ปลวก, ด้วง, มด เป็นตัน จึงมีความสำคัญในระบบนิเวศทางการเกษตร และระบบนิเวศทั่วไป โดยส่วนใหญ่เมื่อจะล่าเหยื่อจะสร้างใยเพื่อเป็นรังอาศัย และดักเหยื่อ ในขณะที่บางชนิดไม่สร้างใยก็มี ซึ่งก็จะมีการใช้เส้นใยที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละชนิด ขึ้นอยู่กับรูปแบบการอยู่อาศัยของแมงมุมในแต่ละชนิดในพื้นที่นั้น.

ประสาทสัมผัสและแมงมุม · รายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อยและแมงมุม · ดูเพิ่มเติม »

โนซิเซ็ปชัน

นซิเซ็ปชั่น (nociception หรือ nocioception หรือ nociperception) คือ "กระบวนการทางประสาทที่เข้ารหัส และประมวลผลตัวกระตุ้นอันตราย" โดยเริ่มที่การทำงานของใยประสาทนำเข้า และเกิดขึ้นที่ทั้งระบบประสาทส่วนปลายและส่วนกลาง เพราะเหตุแห่งตัวกระตุ้นที่มีโอกาสทำเนื้อเยื่อ/ร่างกายให้เสียหาย การทำงานเริ่มต้นที่โนซิเซ็ปเตอร์ (ซึ่งบางครั้งเรียกอย่างไม่ตรงความหมายว่า ตัวรับรู้ความเจ็บปวด) ที่สามารถตรวจจับความเปลี่ยนแปลงเชิงกล เชิงอุณหภูมิ หรือเชิงเคมีที่สูงกว่าระดับขีดเริ่มเปลี่ยนของโนซิเซ็ปเตอร์ และเมื่อถึงขีดนี้แล้ว โนซิเซ็ปเตอร์ก็จะส่งสัญญาณไปยังไขสันหลังแล้วเลยไปถึงสมอง เป็นกระบวนการที่เริ่มการตอบสนองอัตโนมัติของระบบประสาทอิสระหลายอย่าง และอาจจะทำให้เกิดความเจ็บปวดอันเป็นอัตวิสัย ในสัตว์ที่รับรู้ความรู้สึกได้ โนซิเซ็ปเตอร์จะสร้างศักยะงานเป็นขบวนเพื่อตอบสนองต่อตัวกระตุ้นอันตราย และความถี่ของขบวนศักยะงานนั้น จะเป็นตัวบอกระดับอันตรายของตัวกระตุ้น.

ประสาทสัมผัสและโนซิเซ็ปชัน · รายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อยและโนซิเซ็ปชัน · ดูเพิ่มเติม »

เมตร

มตร อักษรย่อ ม. (mètre → metre meter The Metric Conversion Act of 1975 gives the Secretary of Commerce of the US the responsibility of interpreting or modifying the SI for use in the US., m) เป็นหน่วยฐานเอสไอของความยาวในหน่วยเอสไอ แต่เดิมนิยามว่าหนึ่งเมตรเท่ากับ 1/10,000,000 ของระยะทางจากเส้นศูนย์สูตรของโลกไปยังขั้วโลกเหนือวัดจากเส้นรอบวงที่ผ่านเมืองปารีส แต่เนื่องจากความแม่นยำทางมาตรวิทยา ที่มีมากขึ้น ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2526 ความยาวหนึ่งเมตรจึงถูกนิยามไว้ให้เท่ากับความยาวที่แสงเดินทางได้ในสุญญากาศ ในช่วงเวลา วินาที.

ประสาทสัมผัสและเมตร · รายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อยและเมตร · ดูเพิ่มเติม »

เซลล์รูปกรวย

ซลล์รูปกรวย เซลล์รูปกรวย (cone cell) เป็นเซลล์ตัวรับแสงชนิดหนึ่งจากสองชนิดซึ่งอยู่ในจอตา ซึ่งทำหน้าที่เห็นสี เช่นเดียวกับสภาพรู้สึกสีได้ของตา เซลล์รูปกรวยทำหน้าที่ได้ดีที่สุดในแสงค่อนข้างสว่าง ตรงข้ามกับเซลล์รูปแท่งซึ่งทำงานได้ดีกว่าในแสงสลัว เซลล์รูปกรวยอัดแน่นในรอยบุ๋มจอตา อันเป็นพื้นที่ปราศจากเซลล์รูปแท่งเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.3 มิลลิเมตรที่มีเซลล์รูปกรวยอัดแน่นบางมากซึ่งลดจำนวนอย่างรวดเร็วเมื่อออกรอบนอกของจอตา ในตามนุษย์มีเซลล์รูปกรวยหกถึงเจ็ดล้านเซลลล์และส่วนมากกระจุกอยู่บริเวณจุดภาพชัด เซลล์รูปกรวยไวต่อแสงน้อยกว่าเซลล์รูปแท่งในจอตา (ซึ่งสนับสนุนการเห็นในระดับแสงต่ำ) แต่ทำให้รับรู้สี นอกจากนี้ ยังสามารถรับรู้รายละเอียดชัดกว่าและการเปลี่ยนแปลงภาพรวดเร็วกว่า เพราะเวลาการสนองต่อสิ่งเร้าเร็วกว่าของเซลล์รูปแท่ง เซลล์รูปกรวยปกติเป็นหนึ่งในสามชนิด แต่ละชนิดมีสารสีต่างกัน คือ เซลล์รูปกรวย-เอส เซลล์รูปกรวย-เอ็ม และเซลล์รูปกรวย-แอล ฉะนั้นเซลล์รูปกรวยแต่ละเซลล์จึงไวต่อความยาวคลื่นของแสงที่มองเห็นได้ซึ่งสอดคล้องกับแสงความยาวคลื่นสั้น ความยาวคลื่นกลางและความยาวคลื่นยาว เนื่องจากมนุษย์ปกติมี่เซลล์รูปกรวยสามชนิดที่มีโฟตอปซิน (photopsin) ต่างกัน ซึ่งมีโค้งการสนองต่างกันแล้วสนองต่อการแปรผันของสีต่างวิธีกัน มนุษย์จึงมีการรับรู้ภาพสี่สี มีการแสดงว่า สามสารสีซึ่งทำหน้าที่ตรวจจับแสงมีองค์ประกอบทางเคมีที่แน่ชัดแปรผันเนื่องจากการกลายพันธุ์ แต่ละปัจเจกบุคคลจึงมีเซลล์รูปกรวยที่ไวต่อสีต่างกัน การทำลายเซลล์รูปกรวยจากโรคจะส่งผลให้ตาบอ.

ประสาทสัมผัสและเซลล์รูปกรวย · รายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อยและเซลล์รูปกรวย · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ประสาทสัมผัสและรายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อย

ประสาทสัมผัส มี 143 ความสัมพันธ์ขณะที่ รายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อย มี 675 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 36, ดัชนี Jaccard คือ 4.40% = 36 / (143 + 675)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ประสาทสัมผัสและรายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อย หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »