โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ราชอาณาจักรเยอรมนีและสมัยกลาง

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ราชอาณาจักรเยอรมนีและสมัยกลาง

ราชอาณาจักรเยอรมนี vs. สมัยกลาง

ออทโทที่ 1 มหาราช ราชอาณาจักรเยอรมนี (ละติน: Regnum Teutonicum) เป็นอาณาจักรอัครสังฆราชที่สืบเนื่องมาจากราชอาณาจักรแฟรงค์ตะวันออกในคริสต์ศตวรรษที่ 10 ดินแดนทางตะวันออกของจักรวรรดิแฟรงค์ที่ได้รับการแยกตัวออกมาตามสนธิสัญญาแวร์เดิงในปี ค.ศ. 843 แทบจะไม่ได้เป็นของจักรวรรดิแฟรงค์อย่างเต็มตัว ที่เป็นบริเวณที่เป็นที่ตั้งถิ่นฐานของชาวแซ็กซอน, ชาวบาวารี, ชาวทูริงกี, ชาวอลามานนิ และ ชาวฟริซี เมื่อราชบัลลังก์ตกไปเป็นของราชวงศ์ที่ไม่ใช่แฟรงค์ (ลุดอล์ฟิง) คำว่า "regnum Teutonicum" (กษัตริย์ทิวทัน) หรือ "Teutonicorum" ก็เริ่มนำเข้ามาใช้อย่างไม่เป็นทางการ เมื่อมาถึงยุคกลางตอนกลาง อาณาจักรดยุคแบบเยอรมัน (Stammesherzogtum) ก็เริ่มมีลักษณะเป็นเอกลักษณ์ที่เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป เมื่อรัฐต่างๆ ของคาโรแล็งเชียงแยกตัวออกไปจากจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์จนเหลือแต่เยอรมนี ที่มีประมุขที่ยังคงถือตำแหน่งพระจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิ ราชอาณาจักรเยอรมนีก็กลายเป็นคำที่พ้องกับจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ เมื่อมาถึงสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา "จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์แห่งชาติเยอรมัน" ก็มีสองความหมายที่เป็น "จักรวรรดิ" และ "ราชอาณาจักร" เมื่อมองในบริบทนี้แล้วราชอาณาจักรเยอรมนีก็ดำรงตัวเป็นราชอาณาจักรต่อมาจนเมื่อสมเด็จพระจักรพรรดิฟรานซ์ที่ 2 สละราชสมบัติและยุบจักรวรรดิในปี ค.ศ. 1806 คำว่า "regnum Teutonicum" (กษัตริย์ทิวทัน หรือ กษัตริย์เยอรมัน) เริ่มนำมาใช้อย่างเป็นทางการในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 11 ระหว่างที่เกิดข้อขัดแย้งในอำนาจการแต่งตั้งสงฆ์ (Investiture Controversy) ที่อาจจะเป็นการใช้เป็นเครื่องมือในการต่อต้านสมเด็จพระจักรพรรดิไฮน์ริคที่ 4 โดยสมเด็จพระสันตะปาปาเกรกอรีที่ 7 ในคริสต์ศตวรรษที่ 12 พระจักรพรรดิก็เริ่มใช้สร้อย "rex Romanorum" (พระมหากษัตริย์แห่งชนโรมัน) ในพระราชอิสริยยศเพื่อเป็นการเน้นพระราชอำนาจและการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งเมื่อได้รับเลือกตั้ง โดยสภาผู้เลือกตั้งพระจักรพรรดิที่ประกอบด้วยพรินซ์อีเล็คเตอร์เจ็ดองค์ ตำแหน่งนี้ใช้ในเยอรมนี อิตาลี และ เบอร์กันดีที่เป็นรัฐที่มีราชสำนัก กฎหมาย และรัฐบาลของตนเอง แต่อยู่ในเครือข่ายของจักรวรรดิมาจนกระทั่งถึงสนธิสัญญาสันติภาพเวสต์ฟาเลียในปี ค.ศ. 1648 หรือจนเมื่อสมเด็จพระจักรพรรดิฟรานซ์ที่ 2 สละราชสมบัติและยุบจักรวรรดิในปี ค.ศ. 1806. แบบจำลองของหมวกหุ้มเกราะซึ่งถูกพบที่ซัททันฮู ในหลุมศพของผู้นำชาวแองโกล-แซกซัน สันนิษฐานว่าเป็นกษัตริย์ราวปี ค.ศ. 620 ในช่วงต้นสมัยกลางNees ''Early Medieval Art'' pp. 109–112 สมัยกลาง หรือ ยุคกลาง (Middle Ages) คือช่วงเวลาในประวัติศาสตร์ยุโรป ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 5 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 15 โดยปกติแล้วเริ่มนับตั้งแต่การล่มสลายลงของจักรวรรดิโรมันตะวันตก (การสิ้นสุดของสมัยคลาสสิก) จนถึงจุดเริ่มตั้นของสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา และยุคแห่งการสำรวจ ซึ่งเป็นยุคที่นำไปสู่สมัยใหม่ในเวลาต่อมา สมัยกลางคือช่วงเวลาตรงกลางของกระบวนการเปลี่ยนผ่านในประวัติศาสตร์ตะวันตกคือ สมัยคลาสสิก สมัยกลาง และสมัยใหม่ นอกจากนี้สมัยกลางยังถูกแบ่งออกเป็นสามช่วงเวลาคือ ต้นสมัยกลาง (Early Middle Ages), สมัยกลางยุครุ่งโรจน์ (High Middle Ages) และปลายสมัยกลาง (Late Middle Ages) ในยุคกลางตอนต้น การลดลงของประชากร, การหดตัวของเมือง และการรุกรานจากอนารยชน เริ่มต้นขึ้นในยุคโบราณตอนปลายและดำเนินไปอย่างรวดเร็ว เหล่าอนารยชนผู้บุกรุกเข้าตั้งอาณาจักรของตนในส่วนที่เหลืออยู่ของจักรวรรดิโรมันตะวันตก ในคริสต์ศตวรรษที่ 7 แอฟริกาเหนือและตะวันออกกลาง ซึ่งเคยเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิโรมันตะวันออก ได้กลายไปเป็นจักรวรรดิอิสลามหลังจากถูกยึดครองโดยผู้สืบทอดของนบีมุฮัมมัด แม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและโครงสร้างทางการเมืองมากมาย แต่ก็ไม่ได้เปลี่ยนไปจากยุคโบราณคลาสสิคอย่างสิ้นเชิง จักรวรรดิโรมันตะวันออกหรือจักรวรรดิไบแซนไทน์ยังคงอยู่รอดและรักษาอำนาจของตนเอาไว้ได้ นอกจากนี้แล้วอาณาจักรเกิดใหม่ส่วนใหญ่ยังคงเกี่ยวพันอยู่กับสถาบันที่หลงเหลืออยู่ของชาวโรมัน ในขณะที่วัดวาอารามของคริสต์ศาสนาได้แผ่ขยายไปทั่วยุโรปตะวันตก ในคริสต์ศตวรรษที่ 7 และ 8 ชาวแฟรงก์ภายใต้การปกครองของราชวงศ์การอแล็งเฌียงได้สถาปนาจักรวรรดิขึ้นซึ่งครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของยุโรปตะวันตกมีนามว่า จักรวรรดิการอแล็งเฌียง ซึ่งยืนยงไปจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 9 เมื่อจักรวรรดิล่มสลายลงจากแรงงกดดันของการรุกรานจากภายนอก เช่น ชาวไวกิงจากทางเหนือ ชาวแมกยาร์จากทางตะวันออก และชาวซาราเซนจากทางใต้ ช่วงต้นสมัยกลางซึ่งเริ่มขึ้นหลังคริสต์ศตวรรษที่ 10 ประชากรของยุโรปขยายตัวอย่างมากจากการที่นวัตกรรมทางเทคโนโลยีและทางการเกษตรทำให้การค้าขายเจริญรุ่งเรืองและการทำเรือกสวนไร่นาขยายตัว ระบบมาเนอร์ - องค์กรของชาวนาตามหมู่บ้านที่ติดค้างค่าเช่าที่ดินและหน้าที่ด้านแรงงานแก่ขุนนาง และระบบเจ้าขุนมูลนาย - โครงสร้างทางการเมืองที่ซึ่งอัศวินและขุนนางศักดิ์ต่ำกว่าติดค้างหน้าที่ด้านการทหารแก่เจ้านายผู้มีศักดิ์สูงกว่าของพวกเขาแลกกับสิทธิ์ในการเก็บค่าเช่าที่ดินและชาวนาใต้ปกครอง สองระบบนี้คือระเบียบของสังคมที่ใช้กันในยุคกลางตอนกลาง ต่อมาอาณาจักรเริ่มรวมศูนย์อำนาจมากขึ้นภายหลังการล่มสลายลงของจักรวรรดิคาโรแล็งเชียง สงครามครูเสดซึ่งเริ่มขึ้นครั้งแรกในปี..

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ราชอาณาจักรเยอรมนีและสมัยกลาง

ราชอาณาจักรเยอรมนีและสมัยกลาง มี 8 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ชาวแฟรงก์ชาวแซกซันพ.ศ. 1386สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาสมเด็จพระสันตะปาปาเกรกอรีที่ 7จักรวรรดิการอแล็งเฌียงจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ข้อขัดแย้งเรื่องการสถาปนาสมณศักดิ์

ชาวแฟรงก์

หนังสือสำหรับทำพิธีศาสนา “Gelasian Sacramentary” จากราว ค.ศ. 750 แฟรงก์ (Franks, Franci) เป็นกลุ่มชนเจอร์มานิกตะวันตกที่เริ่มก่อตัวขึ้นราวคริสต์ศตวรรษที่ 3 โดยมีถิ่นฐานอยู่ทางเหนือและทางตะวันออกของลุ่มแม่น้ำไรน์ตอนล่าง ภายใต้การปกครองโดยราชวงศ์เมโรแว็งเชียง ชนแฟรงก์ก็ก่อตั้งสถาบันพระมหากษัตริย์เจอร์มานิกที่มาแทนจักรวรรดิโรมันตะวันตกตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 5 รัฐของชนแฟรงก์และมารวมตัวกันเป็นอาณาบริเวณส่วนใหญ่ของยุโรปตะวันตกในคริสต์ศตวรรษที่ 8 ที่กลายมาเป็นจักรวรรดิคาโรลินเจียนและรัฐต่างๆ ที่ตามมา ความหมายของคำว่า “ชนแฟรงก์” ที่กลุ่มชนแตกต่างกันไปตามสมัยและปรัชญา โดยทั่วไปแล้วมักจะเป็นความหมายที่ไม่ชัดเจน ภายในกลุ่มแฟรงเคีย “ชนแฟรงก์” เป็นกลุ่มชนที่มีเป็นกลุ่มชนเอกลักษณ์ที่มีวัฒนธรรมเป็นของตนเอง รากของคำว่า “แฟรงก์” อาจจะมาจากภาษาละติน “francisca” (จากเจอร์มานิก “*frankon” ที่เกี่ยวเนื่องกับภาษาอังกฤษเก่า “franca”) ที่แปลว่า “แหลน” ชนแฟรงก์ที่โยนขวานได้รับนามว่า “francisca” (ขว้างขวาน) ซึ่งอาจจะเป็นการเรียกกลุ่มชนตามอาวุธที่ใช้ เอ.

ชาวแฟรงก์และราชอาณาจักรเยอรมนี · ชาวแฟรงก์และสมัยกลาง · ดูเพิ่มเติม »

ชาวแซกซัน

รูปแกะนูนแซกซันของ "irminsul" ที่เชื่อกันว่าเชื่อมระหว่างโลกกับสวรรค์ที่เอ็กซ์เทิร์นชไตเนอ (Externsteine) ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศเยอรมนีปัจจุบัน ชาวแซกซัน (Saxon; Sachsen; ละติน: Saxones) คือกลุ่มชนเผ่าเจอร์แมนิก ในปัจจุบันเป็นบรรพบุรุษของชนทางภาคเหนือของประเทศเยอรมนีที่เรียกว่าชาวเยอรมัน, ชนทางภาคตะวันออกของประเทศเนเธอร์แลนด์ที่เรียกว่าชาวดัตช์ และชนทางภาคใต้ของอังกฤษที่เรียกว่าชาวอังกฤษ ที่ตั้งถิ่นฐานเดิมที่สุดเท่าที่ทราบของชาวแซกซันคือบริเวณทางตอนเหนือของอัลบินเจียในบริเวณฮ็อลชไตน์ (Holstein) ทางตอนเหนือสุดของประเทศเยอรมนีปัจจุบัน ชาวแซกซันมีบทบาทสำคัญในการตั้งถิ่นฐานในอังกฤษโดยเฉพาะทางภาคใต้ที่ประชาชนที่อยู่อาศัยในปัจจุบันเชื่อกันว่าสีบเชี้อสายมาจากชาวแซกซันโบราณ ระหว่างสองร้อยปีที่ผ่านมาชาวแซกซันก็ไปตั้งถิ่นฐานในบริเวณต่าง ๆ ทั่วโลกโดยเฉพาะในทวีปอเมริกา ออสเตรเลีย แอฟริกา และในบริเวณที่เป็นสหภาพโซเวียตแต่เดิม ซึ่งในบางชุมชน ชาวแซกซันยังรักษาประเพณีและภาษาของตนที่เรียกกันทั่วไปว่า "ชาวเยอรมัน" และ "ชาวดัตช์" ความมีอิทธิพลทางภาษาและวัฒนธรรมของชาวแซกซันที่มีต่อบริเวณสแกนดิเนเวีย บริเวณบอลติก และต่อชาวโพเลเบียและชาวพอเมอเรเนียซึ่งเป็นชนสลาฟตะวันตก เป็นผลมาจากเส้นทางการค้าในยุคกลางของสันนิบาตฮันเซียติก ทอเลมีเป็นนักภูมิศาสตร์กรึกคนแรกที่กล่าวถึงการตั้งถิ่นฐานของชาวแซกซันยุคก่อนคริสเตียนว่าตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือและบางส่วนทางใต้ของคาบสมุทรจัตแลนด์, แคว้นแซกโซนีเก่า, และบางส่วนทางตะวันออกของเนเธอร์แลนด์ ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 5 ชาวแซกซันเป็นส่วนหนึ่งของผู้รุกรานมณฑลบริตันนิอา (Britannia) ของจักรวรรดิโรมัน ชนเผ่าหนึ่งของชาวเจอร์แมนิกที่รุกรานคือ ชาวแองเกิล ซึ่งเมื่อรวมกับ "แซกซัน" จึงกลายเป็นคำว่า "แองโกล-แซกซัน" ที่ใช้กันอยู่ทุกวันนี้.

ชาวแซกซันและราชอาณาจักรเยอรมนี · ชาวแซกซันและสมัยกลาง · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1386

ทธศักราช 1386 ใกล้เคียงกั.

พ.ศ. 1386และราชอาณาจักรเยอรมนี · พ.ศ. 1386และสมัยกลาง · ดูเพิ่มเติม »

สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา

รูปสลักเดวิด เมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี หนึ่งในประติมากรรมชิ้นเอกของยุคนี้ สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา (Renaissance; Rinascimento; แปลว่า เกิดใหม่ หรือคืนชีพ) หรือ เรอแนซ็องส์ เป็นช่วงเวลาที่เกิดการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมในทวีปยุโรป ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของวัฒนธรรมยุคใหม่ สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาเป็นการเคลื่อนไหวทางวัฒนธรรมที่กินเวลาตั้งแต่ราวคริสต์ศตวรรษที่ 14 ถึง 17 ประกอบด้วยการเปลี่ยนแปลงทางวรรณกรรม วิทยาศาสตร์ ศิลปะ ศาสนาและการเมือง การฟื้นฟูการศึกษาโดยอาศัยผลงานคลาสสิก การพัฒนาจิตรกรรม และการปฏิรูปการศึกษาอย่างค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้อาศัยพลังของนักมนุษยนิยมและปัจเจกชนนิยมเป็นเครื่องจูงใจ เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาเกิดขึ้นในฟลอเรนซ์ แคว้นทัสกานี ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 14.

ราชอาณาจักรเยอรมนีและสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา · สมัยกลางและสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระสันตะปาปาเกรกอรีที่ 7

thumb สมเด็จพระสันตะปาปาเกรกอรีที่ 7 (Gregory VII) ทรงดำรงตำแหน่งพระสันตะปาปาตั้งแต่ ค.ศ. 1073 ถึง ค.ศ. 1085 เกิดในเมืองทัสคานี่ ได้รับเลือกเป็นพระสันตะปาปา วันที่ 22 เมษายน..1073 มรณะวันที่ 25 พฤษภาคม..1085 พระองค์ทรงเรียกประชุมสังคายนาออกโองการว่า “พระสันตะปาปาเท่านั้น ที่เป็นสากล ไม่มีผู้ใดอาจตัดสินพระองค์ได้”.

ราชอาณาจักรเยอรมนีและสมเด็จพระสันตะปาปาเกรกอรีที่ 7 · สมัยกลางและสมเด็จพระสันตะปาปาเกรกอรีที่ 7 · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิการอแล็งเฌียง

ร์ล มาร์แตลในยุทธการที่ตูร์ที่ทรงหยุดยั้งการรุกรานของอุมัยยะห์เข้ามาในยุโรป จักรวรรดิการอแล็งเฌียง (Carolingian Empire) เป็นคำประวัติศาสตร์ที่บางครั้งก็หมายถึงราชอาณาจักรแฟรงก์ภายใต้การปกครองของราชวงศ์การอแล็งเฌียง ที่เห็นกันว่าเป็นราชวงศ์ที่ก่อตั้งฝรั่งเศสและเยอรมนี จักรวรรดิการอแล็งเฌียงอาจจะถือว่าเป็นปลายสมัยจักรวรรดิแฟรงก์หรือต้นสมัยจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ก็ได้ จักรวรรดิการอแล็งเฌียงเป็นการเน้นถึงการที่สมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 3 ทรงราชาภิเษกชาร์เลอมาญเป็นจักรพรรดิโรมันในปี ค.ศ. 800 ก่อนหน้านั้นชาร์เลอมาญและบรรพบุรุษของพระองค์เป็นประมุขของจักรวรรดิแฟรงก์ (พระอัยกาชาร์ล มาร์แตลเป็นผู้ก่อตั้งจักรวรรดิ) การราชาภิเกมิได้เป็นการประกาศการเป็นจักรพรรดิของจักรวรรดิใหม่ นักประวัติศาสตร์นิยมที่จะใช้คำว่า “กลุ่มราชอาณาจักรแฟรงก์” ("Frankish Kingdoms" หรือ "Frankish Realm") ในการเรียกดินแดนบริเวณที่ปัจจุบันคือเยอรมนีและฝรั่งเศสปัจจุบัน ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 5 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 9.

จักรวรรดิการอแล็งเฌียงและราชอาณาจักรเยอรมนี · จักรวรรดิการอแล็งเฌียงและสมัยกลาง · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์

ักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (ละติน: Sacrum Imperium Romanum, Heiliges Römisches Reich) เป็นอภิมหาอำนาจในอดีต เป็นจักรวรรดิซึ่งประกอบด้วยดินแดนหลากเชื้อชาติในยุโรปกลาง ก่อกำเนิดขึ้นในสมัยกลางตอนต้นและล่มสลายลงในปี..

จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์และราชอาณาจักรเยอรมนี · จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์และสมัยกลาง · ดูเพิ่มเติม »

ข้อขัดแย้งเรื่องการสถาปนาสมณศักดิ์

กษัตริย์สมัยกลางแต่งตั้งบิชอป ข้อขัดแย้งเรื่องการสถาปนาสมณศักดิ์ (Investiture Controversy หรือ Investiture Contest) เป็นความขัดแย้งครั้งสำคัญระหว่างคริสตจักรกับรัฐในยุโรปสมัยกลางที่เกิดขึ้นช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 11 และ 12 พระสันตะปาปาหลายพระองค์ก็เริ่มท้าทายอำนาจของพระมหากษัตริยุโรปในเรื่องการแต่งตั้งและสถาปนาสมณศักดิ์นักบวช เช่น มุขนายก และอธิการอาราม ความขัดแย้งเริ่มขึ้นในปี..

ข้อขัดแย้งเรื่องการสถาปนาสมณศักดิ์และราชอาณาจักรเยอรมนี · ข้อขัดแย้งเรื่องการสถาปนาสมณศักดิ์และสมัยกลาง · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ราชอาณาจักรเยอรมนีและสมัยกลาง

ราชอาณาจักรเยอรมนี มี 21 ความสัมพันธ์ขณะที่ สมัยกลาง มี 97 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 8, ดัชนี Jaccard คือ 6.78% = 8 / (21 + 97)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ราชอาณาจักรเยอรมนีและสมัยกลาง หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »