โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ราชอาณาจักรอังกฤษและราชอาณาจักรเมอร์เซีย

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ราชอาณาจักรอังกฤษและราชอาณาจักรเมอร์เซีย

ราชอาณาจักรอังกฤษ vs. ราชอาณาจักรเมอร์เซีย

ราชอาณาจักรอังกฤษ (Kingdom of England.) เป็นราชอาณาจักรระหว่างปี.. ราชอาณาจักรเมอร์เซีย (Mercia) เป็นหนึ่งในอาณาจักรแองโกล-แซ็กซอนเจ็ดอาณาจักรที่มีศูนย์กลางอยู่ในลุ่มแม่น้ำแม่น้ำเทร้นท์และในบริเวณที่ปัจจุบันเป็นอังกฤษมิดแลนด์ส (English Midlands) ชื่อเมอร์เซียเป็นภาษาอังกฤษเก่า “Mierce” ที่แผลงเป็นแบบละติน (Latinization) แปลว่า “ชนชายแดน” ราชอาณาจักรเมอร์เซียมีอาณาเขตติดต่อกับราชอาณาจักรนอร์ทธัมเบรีย, เพาวิส, ราชอาณาจักรต่างๆ ทางตอนใต้ของเวลส์, เวสเซ็กซ์, ซัสเซ็กซ์, เอสเซ็กซ์ และ อีสต์แองเกลีย ทุกวันนี้ชื่อ “เมอร์เซีย” ยังใช้กันทั่วไปในชื่อองค์การต่างๆ ได้แก่ หน่วยทหาร หรือองค์การทั้งของรัฐและของเอกชน.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ราชอาณาจักรอังกฤษและราชอาณาจักรเมอร์เซีย

ราชอาณาจักรอังกฤษและราชอาณาจักรเมอร์เซีย มี 2 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ภาษาอังกฤษเก่าเจ็ดอาณาจักร

ภาษาอังกฤษเก่า

ษาอังกฤษเก่า (Ænglisc, Anglisc, Englisc; Old English ย่อว่า OE) หรือ ภาษาแองโกล-ซัคเซิน (Anglo-Saxon) เป็นภาษาอังกฤษยุคแรก ที่พูดกันในบริเวณที่ปัจจุบันคือแคว้นอิงแลนด์ อังกฤษและสกอตแลนด์ตอนใต้ ในระหว่าง กลางคริสต์ศตวรรษที่ 5 ถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 12 นับเป็นภาษาเจอร์แมนิกตะวันตก ด้วยเหตุนี้ จึงมีความคล้ายคลึงกับภาษาฟริเซียนเก่า (Old Frisian) และภาษาแซกซันเก่า (Old Saxon) นอกจากนี้ยังมีความสัมพันธ์กับภาษานอร์สเก่า (Old Norse) และเชื่อมโยงไปถึงภาษาไอซ์แลนด์ปัจจุบัน (modern Icelandic) ด้วย ไวยกรณ์ของภาษาอังกฤษเก่ามีความใกล้เคียงกับไวยกรณ์ของภาษาเยอรมันสมัยใหม่ กล่าวคือ คำนาม คำวิเศษณ์ คำสรรพนาม และคำกริยา มีการผันเปลี่ยนรูปข้างท้ายของคำอยู่หลากหลายแบบ และการลำดับคำในประโยคก็มีอิสระมากกว่า ตัวอักษรของภาษาอังกฤษเก่าแค่เดิมเป็นระบบอักษรรูน (runic system) แต่ถูกแทนที่ด้วยอักษรละตินนับแต่ศตวรรษที่ 9 เป็นต้นมา ภาษาอังกฤษเก่านั้นมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และมีการใช้งานตลอดระยะเวลาประมาณ 700 ปี นับตั้งแต่ชนแองโกล-แซ็กซอนอพยพเข้ามายังเกาะบริเตน สร้างอิงแลนด์ขึ้น ในคริสต์ศวรรษที่ 5 จนถึงระยะเวลาหลังพวกนอร์มันบุกรุกเข้าไปเมื่อ ค.ศ. 1066 หลังจากนั้นภาษาอังกฤษก็เคลื่อนเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่สำคัญ ในยุคแรกๆ นี้ ภาษาอังกฤษเก่าได้ผสมกลมกลืนเข้ากับภาษาอื่นๆ ที่มีการติดต่อด้วย เช่น ภาษาเคลติก (Celtic) และภาษาถิ่นสองภาษาของภาษานอร์สเก่า (บรรพบุรุษของภาษาแดนิชในปัจจุบัน) จากการบุกรุกของพวกไวกิงจากทางเดนมาร์ก ซึ่งเข้ามาครอบครองและปกครองอาณาเขตในอิงแลนด์ตอนเหนือและตะวันออก หลังจากชาวนอร์แมนยกทัพเข้าชิงอังกฤษจากกษัตริย์แซ็กซอนมาปกครองได้ ใรปี..

ภาษาอังกฤษเก่าและราชอาณาจักรอังกฤษ · ภาษาอังกฤษเก่าและราชอาณาจักรเมอร์เซีย · ดูเพิ่มเติม »

เจ็ดอาณาจักร

อังกฤษแสดงที่ตั้งของแองโกล-แซ็กซอนราวปี ค.ศ. 600 อังกฤษราวปี ค.ศ. 800 แสดงให้เห็นบริเวณเวสเซ็กซ์ทางตะวันตกเฉียงใต้; เมอร์เซียตอนกลาง; นอร์ทธัมเบรียทางตะวันออกเฉียงเหนือ; และ อีสแองเกลีย เอสเซ็กซ์ เค้นท์ และ ซัสเซ็กซ์ทางตะวันออกเฉียงใต้ เจ็ดอาณาจักร หรือ เครือจักรภพแองโกล-แซ็กซอน (ภาษาอังกฤษ: Heptarchy) Heptarchy (ภาษากรีก: ἑπτά + ἀρχή หรือ “เจ็ด” + “อาณาจักร”) เป็นชื่อที่ใช้เรียกรวมอาณาจักรแองโกล-แซ็กซอนต่างๆ ในบริเวณทางใต้ ตะวันออก และตอนกลางของสหราชอาณาจักรในปลายสมัยโบราณและต้นสมัยยุคกลาง ซึ่งต่อมารวมตัวกันเป็นดินแดนแองเกิล (อังกฤษ) (ในขณะนั้นดินแดนที่รู้จักกันในนาม สกอตแลนด์ และ เวลส์ ยังแยกตัวเป็นแคว้นเล็กแคว้นน้อย) หลักฐานแรกที่กล่าวถึง เครือจักรภพแองโกล-แซ็กซอนเป็นหลักฐานจากคริสต์ศตวรรษที่ 12 ที่บันทึกโดยนักประวัติศาสตร์ชาวอังกฤษ เฮนรี ฮันทิงดัน (Henry of Huntingdon) และเป็นคำที่ใช้กันมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 16 เครือจักรภพแองโกล-แซ็กซอนครอบคลุมระยะเวลาระหว่าง ค.ศ. 500 ถึง ค.ศ. 850 ซึ่งเป็นระยะเวลาตั้งแต่ทหารโรมันถอนตัวจากอังกฤษไปจนกระทั่งถึงรัชสมัยของการรวมอาณาจักรต่างๆ เข้าด้วยกันโดยพระเจ้าเอ็กเบิร์ตแห่งเวสเซ็กซ์ คำว่า “เจ็ดอาณาจักร” หมายถึงราชอาณาจักรเจ็ดราชอาณาจักรซึ่งต่อมารวมตัวกันเป็นราชอาณาจักรอังกฤษ ซึ่งประกอบด้วยราชอาณาจักร: นอร์ทธัมเบรีย, เมอร์เซีย, อีสต์แองเกลีย, เอสเซ็กซ์, เค้นท์, ซัสเซ็กซ์ และ เวสเซ็กซ์ ในช่วงเวลานี้แต่ละอาณาจักรก็รวบรวมแคว้นเล็กแคว้นน้อยให้เป็นอาณาจักรที่มั่นคงขึ้นแต่เหตุการณ์สำคัญที่ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงนั้นยังเป็นที่ถกเถึยงกันอยู่ นอกจากนั้นแต่ละอาณาจักรประมุขบางคนเช่นประมุขของนอร์ทธัมเบรีย เมอร์เซีย และ เวสเซ็กซ์ก็พยายามอ้างสิทธิในดินแดนอื่นของอังกฤษ แม้ว่าจะรวมตัวกันแล้วแต่ในภาษาพูดในหมู่ประชาชนก็ยังมีการกล่าวถึงอาณาจักรต่างๆ เหล่านี้อย่างอิสระต่อกันมาจนถึงรัชสมัยของ พระเจ้าเอ็ดวี และ พระเจ้าเอ็ดการ์ ราวกลางคริสต์ศตวรรษที่ 10 ตามความเป็นจริงแล้วการรวมเจ็ดอาณาจักรเป็นกระบวนการต่อเนื่อง ในคริสต์ศตวรรษที่ 9 ไวกิงเข้ามารุกรานปล้นสดมภ์อังกฤษและตั้งถิ่นฐานบริเวณยอร์คซึ่งกลายมาเป็นบริเวณเดนลอว์ซึ่งมีความแข็งแกร่งพอที่จะเป็นอันตรายต่ออาณาจักร์ทางใต้ที่มักจะมีความขัดแย้งกัน อาณาจักรจึงจำเป็นต้องพยายามรวมตัวกันเพื่อต่อต้านศัตรูร่วมกัน ฉะนั้นเมื่อสมเด็จพระเจ้าอัลเฟรดมหาราชทรงต่อต้านชนเดนมาร์กเมื่อปลายคริสต์ศตวรรษที่ 9 ก็ทรงทำในฐานะผู้นำของแองโกล-แซ็กซอน พระเจ้าแผ่นดินแห่งเวสเซ็กซ์องค์ต่อๆ มาโดยเฉพาะสมเด็จพระเจ้าเอเธลสตันแห่งอังกฤษทรงเน้นความสำคัญของความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันจนกระทั่งการแยกเป็นอาณาจักรเล็กอาณาจักรน้อยอย่างที่เป็นมาก่อนหมดความหมายลง เมื่อไม่นานมานี้จากหลักฐานการค้นคว้าพบว่าบางอาณาจักรในเครือจักรภพแองโกล-แซ็กซอนโดยเฉพาะเอสเซ็กซ์ และ ซัสเซ็กซ์ ไม่มีฐานะเท่าเทียมกับอาณาจักรอื่นๆ นอกไปจากนั้นในบรรดาสมาชิกของเครือจักรภพก็มิได้มีเพียงเจ็ดแต่ยังมีอาณาจักรย่อยอีกหลายอาณาจักรที่มีบทบาทสำคัญมากกว่าที่เคยคาดไว้ เช่นอนุอาณาจักรเบอร์นิเซีย (Bernicia) และ อนุอาณาจักรไดรา (Deira) ภายในราชอาณาจักรนอร์ทธัมเบรีย หรือ อาณาจักรลินด์ซีย์ (Lindsey) ในลิงคอล์นเชอร์ และอื่นๆ อีกมาก ฉะนั้นคำว่า “เจ็ดอาณาจักร” จึงเป็นคำที่ไม่เหมาะสมที่จะใช้เมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 และนักประวัติศาสตร์บางคนก็ไม่ใช้คำนี้กันแล้วเนื่องด้วยเห็นว่าความหมายของคำไม่ตรงกับความเป็นจริง แต่ก็ยังมีการใช้เพื่อความสะดวกในการบรรยายการก่อตั้งราชอาณาจักรอังกฤษในสมัยนั้น.

ราชอาณาจักรอังกฤษและเจ็ดอาณาจักร · ราชอาณาจักรเมอร์เซียและเจ็ดอาณาจักร · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ราชอาณาจักรอังกฤษและราชอาณาจักรเมอร์เซีย

ราชอาณาจักรอังกฤษ มี 27 ความสัมพันธ์ขณะที่ ราชอาณาจักรเมอร์เซีย มี 15 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 2, ดัชนี Jaccard คือ 4.76% = 2 / (27 + 15)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ราชอาณาจักรอังกฤษและราชอาณาจักรเมอร์เซีย หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »