ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ราชวงศ์วาลัวและสงครามร้อยปี
ราชวงศ์วาลัวและสงครามร้อยปี มี 5 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): พระเจ้าชาร์ลที่ 4 แห่งฝรั่งเศสพระเจ้าฟิลิปที่ 4 แห่งฝรั่งเศสพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 แห่งอังกฤษราชวงศ์กาเปเซียงประเทศสกอตแลนด์
พระเจ้าชาร์ลที่ 4 แห่งฝรั่งเศส
ระเจ้าชาร์ลส์ที่ 4 แห่งฝรั่งเศส (Charles IV of France) (18/19 มิถุนายน ค.ศ. 1294/ค.ศ. 1293 - 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1328) ทรงเป็นพระมหากษัตริย์แห่งฝรั่งเศสแห่งราชวงศ์กาเปเตียง ผู้ทรงครองราชบัลลังก์ฝรั่งเศสต่อจากพระเชษฐาพระเจ้าฟิลิปที่ 5 ระหว่างวันที่ 3 มกราคม ค.ศ. 1322 จนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1328 ชาร์ลส์เป็นพระมหากษัตริย์ราชวงศ์กาเปเตียงองค์สุดท้าย นอกจากนั้นก็ยังทรงเป็นกษัตริย์แห่งนาวาร์ (ชาร์ลส์ที่ 1) พระเจ้าชาร์ลส์เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1328 พระร่างของพระองค์ถูกบรรจุที่มหาวิหารแซงต์เดอนีส์ ชาร์ลส์ไม่มีพระโอรส ราชบัลลังก์จึงผ่านไปยังฟิลิปของสายราชวงศ์วาลัวส์ผู้ ขึ้นครองราชย์ต่อมาเป็นพระเจ้าฟิลิปที่ 6 แห่งฝรั่ง.
พระเจ้าชาร์ลที่ 4 แห่งฝรั่งเศสและราชวงศ์วาลัว · พระเจ้าชาร์ลที่ 4 แห่งฝรั่งเศสและสงครามร้อยปี ·
พระเจ้าฟิลิปที่ 4 แห่งฝรั่งเศส
ระเจ้าฟิลิปที่ 4 แห่งฝรั่งเศส (Philip IV of France หรือ Philip the Fair หรือ Philip le Bel) (เมษายน–มิถุนายน ค.ศ. 1268 - 29 พฤศจิกายน ค.ศ. 1314) ทรงเป็นพระมหากษัตริย์แห่งฝรั่งเศสแห่งราชวงศ์กาเปเตียง ผู้ทรงครองราชบัลลังก์ฝรั่งเศสระหว่างวันที่ 5 ตุลาคม ค.ศ. 1285 จนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน ค.ศ. 1314 และเนื่องจากทรงอภิเสกสมรสกับสมเด็จพระราชินีโจนที่ 1 แห่งนาวาร์ ทำให้ทรงเป็นพระเจ้าฟิลิปที่ 1 แห่งราชอาณาจักรนาวาร์ และเคานท์แห่งชองปาญด้วย พระเจ้าฟิลิปที่ 4 เสด็จพระราชสมภพเมื่อราวเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1268 ที่พระราชวังฟองแตงโบลในประเทศฝรั่งเศส พระองค์เป็นพระราชโอรสในพระเจ้าฟิลิปที่ 3 แห่งฝรั่งเศสและ พระราชินีอิสซาเบลลา พระเจ้าฟิลิปที่ 4 ทรงได้รับพระนามว่า “le Bel” เพราะมีพระโฉมงาม แต่แท้จริงพระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ที่ทะเยอทะยานและมีความชาญฉลาดในการปกครอง รัชสมัยของพระองค์เป็นรัชสมัยของการเริ่มรวมอำนาจเข้าสู่ส่วนกลางของฝรั่งเศส จากที่เคยเป็นสังคมแบบขุนศึกศักดินามาก่อน พระเจ้าฟิลิปปกครองโดยอาศัยข้าราชบริพารที่มีทักษะความสามารถสูง เช่น กิโยม เดอ โนกาเร (Guillaume de Nogaret) แทนที่จะอาศัยขุนศึกบารอน พระองค์แสวงหาความเด็ดขาดในอำนาจของสถาบันกษัตริย์โดยการใช้สงครามกดดันขุนศึกใต้ปกครอง และจำกัดการใช้วิธีปกครองแบบศักดินา นอกจากนี้พระองค์ยังขวนขวายให้พระประยูรญาติของพระองค์ได้ครองราชบัลลังก์ในประเทศต่าง ๆ ทั่วยุโรป ความทะเยอทะยานนี้ทำให้พระองค์ทรงมีอิทธิพลในการเมืองระหว่างประเทศสูง และภายใต้รัชสมัยของพระองค์ฝรั่งเศสได้ขยายดินแดนออกไปทางตะวันออกผ่านการรวบรวมเอาพื้นที่ปกครองศักดินา (fief) ที่กระจัดกระจายกันเข้ามาไว้ในอาณัติ การแสวงหาอำนาจที่เด็ดขาดของราชบัลลังก์ทำให้พระองค์พยายามเข้าควบคุมสถาบันสงฆ์ในฝรั่งเศสและนำไปสู่ความขัดแย้งกับสมเด็จพระสันตะปาปาบอนิเฟซที่ 8 (Pope Boniface VIII) เหตุการณ์นี้นำไปสู่สมณสมัยอาวีญง ซึ่งเป็นช่วงที่พระสันตปาปาทรงประทับอยู่ ณ เมืองอาวีญง ราชอาณาจักรฝรั่งเศส แทยที่จะเป็นกรุงโรม ความขัดแย้งทางทหารที่รู้จักกันดีที่สุดในรัชสมัยของพระเจ้าฟิลิปที่ 4 คือสงครามกับพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 1 แห่งอังกฤษ ในช่วงเดียวกันนี้พระองค์ยังได้เข้าเป็นพันธมิตรกับราชอาณาจักรสกอตแลนด์ ซึ่งเริ่มในรัชสมัยของจอห์น บัลลิออลเพื่อต่อต้านแผนการรุกรานฝรั่งเศสของพระเจ้ากรุงอังกฤษ.
พระเจ้าฟิลิปที่ 4 แห่งฝรั่งเศสและราชวงศ์วาลัว · พระเจ้าฟิลิปที่ 4 แห่งฝรั่งเศสและสงครามร้อยปี ·
พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 แห่งอังกฤษ
มเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 แห่งอังกฤษ (Edward III of England; Édouard III d'Angleterre; 13 พฤศจิกายน ค.ศ. 1312 – 21 มิถุนายน ค.ศ. 1377) ทรงเป็นกษัตริย์แห่งราชวงศ์แพลนทาเจเน็ทของราชอาณาจักรอังกฤษระหว่างปี ค.ศ. 1327 ถึงปี ค.ศ. 1377 พระองค์นับเป็นกษัตริย์อังกฤษผู้ประสบความสำเร็จที่สุดพระองค์หนึ่งในยุคกลาง โดยทรงฟื้นฟูความมั่นคงของราชบัลลังก์ หลังจากที่เสื่อมโทรมลงไปมากในรัชสมัยของพระราชบิดา พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 2 และทรงเป็นผู้ที่ทำให้ราชอาณาจักรอังกฤษเป็นรัฐที่มีอำนาจทางทหารมากที่สุดในยุโรป และเป็นรัชสมัยที่มีการวิวัฒนาการทางการปกครองทางนิติบัญญัติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การวิวัฒนาการของระบบรัฐสภา แต่ในสมัยเดียวกันนี้พระองค์ก็ทรงต้องเผชิญกับความหายนะจากกาฬโรคระบาดในยุโรป พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดทรงครองราชย์เป็นเวลานานถึง 50 ปีซึ่งไม่มีพระเจ้าแผ่นดินองค์ใดที่ครองราชย์นานเช่นนั้นตั้งแต่รัชสมัยของพระเจ้าเฮนรีที่ 2 และต่อจากนั้นก็ไม่มีพระองค์ใดจนมาถึงรัชสมัยของพระเจ้าจอร์จที่ 3 ในฐานะกษัตริย์แห่งสหราชอาณาจักร พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดเสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อพระชนมายุได้เพียง 14 พรรษา หลังจากที่พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 2 พระราชบิดา ทรงถูกถอดจากการเป็นกษัตริย์ เมื่อพระชนมายุได้ 17 พรรษา พระองค์ก็ทรงเป็นผู้นำในรัฐประหารโค่นล้มโรเจอร์ มอร์ติเมอร์ เอิร์ลแห่งมาร์ชที่ 1 ผู้เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ และทรงเริ่มครองราชย์ด้วยพระองค์เอง หลังจากที่ทรงได้รับชัยชนะต่อราชอาณาจักรสกอตแลนด์ ก็ทรงประกาศอ้างสิทธิ์ของพระองค์ว่าเป็นผู้สืบทอดอันชอบธรรมต่อราชบัลลังก์ฝรั่งเศสในปี..
พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 แห่งอังกฤษและราชวงศ์วาลัว · พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 แห่งอังกฤษและสงครามร้อยปี ·
ราชวงศ์กาเปเซียง
ราชวงศ์กาเปเซียง (Capétiens) หรือ ราชวงศ์คะพีเชียน (Capetians) คือ ราชวงศ์ที่ปกครองอาณาจักรฝรั่งเศสในสมัยกลาง มีพระเจ้าอูก กาแป (Hugh Capet) แห่งฝรั่งเศส เป็นต้นพระราชวงศ์ ปัจจุบันราชวงศ์กาเปเซียงที่ยังคงมีพระชนม์ชีพและถือพระราชสมบัติอยู่ คือ กษัตริย์แห่งสเปนและแกรนด์ดุ๊กแห่งลักเซมเบิร์กผ่านทางราชวงศ์บูร์บง คำว่า "คาพีเชียน" มาจากพระนามพระเจ้าอูก กาแป ทั้งที่ "กาแป" มิได้เป็นนามสกุลแต่เป็นฉายานาม แต่กษัตริย์ฝรั่งเศสก็ทรงใช้ "กาแป" เป็นพระนามของพระราชสกุล เช่นเมื่อ พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 แห่งฝรั่งเศส ทรงถูกประหารด้วยกิโยตีนใน ค.ศ. 1793 การปกครองปฏิวัติในสมัยนั้นบันทึกในมรณบัตรว่า "หลุยส์ กาแป" บรรพบุรุษของราชวงศ์กาเปเซียง คือ ตระกูลรอแบร์ (Robertian) ซึ่งดำรงตำแหน่งเป็นเคานต์แห่งปารีสในอาณาจักรแฟรงก์ตะวันตก ปัจจุบันคือฝรั่งเศส ในคริสต์ศตวรรษที่ 9 และ 10 ตระกูลรอแบร์อภิเษกกับราชวงศ์คาโรลินเจียน (Carolingian dynasty) ราชวงศ์ที่ปกครองอาณาจักรแฟรงก์ตะวันตกขณะนั้น ทำให้ตระกูลรอแบร์บางคนได้ขึ้นเป็นกษัตริย์ด้วย แต่ใน ค.ศ. 987 ราชวงศ์กาโรแล็งเชียงสิ้นสุดลงในอาณาจักรแฟรงก์ตะวันตก อูก กาแป เคานต์แห่งปารีสที่สืบเชื้อสายจากตระกูลรอแบร์นั้น ได้ขึ้นครองราชย์เป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์กาเปเซียง ราชวงศ์กาเปเซียงในสายตรงฝรั่งเศสสิ้นสุดลงใน ค.ศ. 1328 ด้วยการสิ้นพระชนม์ของพระเจ้าชาร์ลที่ 4 ที่ทรงไร้ทายาท แต่ ราชวงศ์วาลัว (Valois dynasty) และราชวงศ์บูร์บง (Bourbon dynasty) อันเป็นสาขาย่อยของราชวงศ์กาเปเซียงยังคงปกครองฝรั่งเศสต่อไป.
ราชวงศ์กาเปเซียงและราชวงศ์วาลัว · ราชวงศ์กาเปเซียงและสงครามร้อยปี ·
ประเทศสกอตแลนด์
กอตแลนด์ (Scotland; Alba อาละเปอะ) เป็นชาติของชนชาวสก็อตและเป็นส่วนหนึ่งของประเทศสหราชอาณาจักร โดยครอบคลุมพื้นที่หนึ่งในสามทางตอนเหนือของเกาะบริเตนใหญ่ มีพรมแดนร่วมกับประเทศอังกฤษทางทิศใต้ ส่วนที่เหลือล้อมรอบด้วยมหาสมุทรแอตแลนติก ทางตะวันออกเป็นทะเลเหนือ และทิศตะวันตกเฉียงใต้จดช่องแคบเหนือและทะเลไอร์แลนด์ นอกเหนือจากแผ่นดินใหญ่แล้ว ประเทศสกอตแลนด์ยังมีเกาะอีกกว่า 790 เกาะ เอดินบะระ เมืองหลวงและนครใหญ่ที่สุดอันดับสองของประเทศ เป็นศูนย์กลางยุคเรืองปัญญาของชาวสกอตในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ซึ่งเปลี่ยนสกอตแลนด์มาเป็นมหาอำนาจทางพาณิชย์ ทางการศึกษา และทางอุตสาหกรรมเมืองหนึ่งของทวีปยุโรป ฯ กลาสโกว์ นครใหญ่สุดของสกอตแลนด์ เคยเป็นนครอุตสาหกรรมชั้นนำของโลกและปัจจุบันเป็นศูนย์กลางของเขตเมืองขยายเกรตเตอร์กลาสโกว์ น่านน้ำสกอตแลนด์ประกอบด้วยทะเลแอตแลนติกเหนือและทะเลเหนือ ซึ่งมีปริมาณน้ำมันสำรองใหญ่สุดในสหภาพยุโรป ทำให้เมืองแอเบอร์ดีน นครใหญ่สุดอันดับสามในสกอตแลนด์ ได้ชื่อว่าเป็นเมืองหลวงน้ำมันของทวีปยุโรป เดิมราชอาณาจักรสกอตแลนด์เป็นประเทศอิสระที่ไม่ขึ้นกับประเทศอังกฤษจนถึง..
ประเทศสกอตแลนด์และราชวงศ์วาลัว · ประเทศสกอตแลนด์และสงครามร้อยปี ·
รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้
- สิ่งที่ ราชวงศ์วาลัวและสงครามร้อยปี มีเหมือนกัน
- อะไรคือความคล้ายคลึงกันระหว่าง ราชวงศ์วาลัวและสงครามร้อยปี
การเปรียบเทียบระหว่าง ราชวงศ์วาลัวและสงครามร้อยปี
ราชวงศ์วาลัว มี 24 ความสัมพันธ์ขณะที่ สงครามร้อยปี มี 66 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 5, ดัชนี Jaccard คือ 5.56% = 5 / (24 + 66)
การอ้างอิง
บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ราชวงศ์วาลัวและสงครามร้อยปี หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: